โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สัตยยุค

ดัชนี สัตยยุค

ัตยยุค (เทวนาครี: सत्य युग) เป็นยุคแห่งสัจธรรมอันมั่นคง มีพระพรหมองค์เดียวเป็นใหญ่ ไม่มีเทพเทวาอื่นๆ ไม่มีมาร ใครปรารถนาสิ่งใดก็สำเร็จตามปรารถนา ไม่มีการค้าขาย แลกเปลี่ยน ไม่มีโลภ โกรธ หลง ทุจริต คดโกง และไม่มีความเศร้าเสียใจใดๆ บุคคลที่เกิดในยุคนี้จะเป็น "สัตตบุรุษ" ทั้งหมด ไม่มีบุคคลที่เป็น "อันธพาล" เป็นสังคมที่น่าอยู่ มีแต่บัณฑิต ไม่ทำบาป ไม่เบียดเบียนกัน มีคุณธรรมสูง ทำให้อยู่ร่วมกันด้วยความผาสุก สัตยยุค มีชื่อเรียกอื่นๆ อีก เช่น สัตยุค หรือ กฤตยุค นับว่าเป็นยุคทองของมนุษยชาติ สัตยยุค มีอายุ 1,728,000 ปี บ้างก็ว่า 100,000 ปี โคธรรมะ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์หมายถึงศีลธรรมนั้น ยืน 4 ขาในยุคนี้ ต่อมาในเตรตยุคจะยืน 3 ขา ในทวาปรยุค ยืน 2 ขา และปัจจุบัน (กลียุค) ยืนขาเดียว.

7 ความสัมพันธ์: พระนารายณ์กลียุคยุคอวตารทศาวตารปรศุรามเตรตายุค

พระนารายณ์

ระนารายณ์บรรมบนหลังพญาอนันตนาคราช ณ เกษียรสมุทร และให้กำเนิดพระพรหม ดูบทความหลักที่ พระวิษณุ พระนารายณ์ (สันสกฤต: नारायण; Narayana; ความหมาย: ผู้ที่ได้เคลื่อนไหวอยู่ในน้ำ) เป็นเทพเจ้าสูงสุดหนึ่งในสามพระองค์ (ตรีมูรติ) ในความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู โดยมากถือว่าเป็นองค์เดียวกันกับพระวิษณุ แต่ทว่าชาวไทยส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับพระนาม พระนารายณ์ มากกว่า เหตุที่มีพระนามแตกต่างกัน เนื่องจากมีบางคัมภีร์ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูเล่าว่า เดิมทีมีเทพเจ้าเพียงองค์เดียว คือ พระนารายณ์ ซึ่งเรียกว่าปรพรหม ซึ่งเป็นพระผู้สร้างทุกสรรพสิ่ง เมื่อพระนารายณ์รำพึงถึงการสร้างโลก ก็ทรงคำนึงถึงการปกปักรักษา แต่พระปรพรหมนั้นเป็นอรูปกเทพ คือ ไม่มีตัวตน จึงไม่สามารถที่จะสร้างโลกได้ จึงแบ่งภาคแยกร่างออกมาเป็น พระวิษณุ ซึ่งทรงประทานพระนามให้ และเมื่อพระวิษณุบรรทมหลับในเกษียรสมุทร ก็ทรงสุบินถึงการสร้างทุกสรรพสิ่ง ซึ่งพระวิษณุเป็นเทพผู้สร้างโลก สิ่งมีชีวิต รวมถึงมนุษย์ และที่พระนาภีของพระองค์ก็บังเกิดมีดอกบัวหลวงผุดขึ้นมา และภายในดอกบัวนั้นก็มี พระพรหม ซึ่งเป็นหนึ่งในตรีมูรติอยู่ภายใน ซึ่งพระวิษณุก็เป็นผู้ให้กำเนิดพระพรหมด้วย บางตำราก็กล่าวว่าเดิมมีพระนามว่า วิษณุ หรือ พิษณุ และได้เปลี่ยนเป็น นารายณ์ ในระยะหลัง โดยพระองค์มีสีพระวรกายเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยของโลก ในกฤตยุค ยุคแรกของโลก ยุคที่คุณธรรมความดีของมนุษย์มีเต็มเปี่ยม สีกายพระนารายณ์สีขาว ยุคที่สอง ไตรดายุค ธรรมะและคุณธรรมมนุษย์เหลือสามในสี่ สีกายพระนารายณ์เป็นสีแดง ยุคที่สาม ทวาปรยุค คุณธรรมมนุษย์เหลือครึ่งเดียว สีกายเป็นสีเหลือง ยุคปัจจุบัน เป็นยุคที่สี่ กลียุค คุณธรรมของมนุษย์ลดลงเหลือหนึ่งในสี่ สีกายพระนารายณ์ เปลี่ยนเป็นสีนิลแก่หรือสีดำ.

ใหม่!!: สัตยยุคและพระนารายณ์ · ดูเพิ่มเติม »

กลียุค

กลียุค (อักษรเทวนาครี: कली युग) คือหนึ่งในช่วงเวลาในสี่ช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงของโลก ซึ่งอธิบายไว้ในคัมภีร์ฮินดู โดยมียุคอื่นอีกได้แก่ สัตยยุค เตรตายุค และทวาปรยุค ซึ่งทั้ง 4 ยุครวมกันเรียกว่ามหายุค กลียุคมีอายุ 432,000 ปี การตีความคัมภีร์ฮินดูว่าปัจจุบันนี้โลกอยู่ในกลียุคมีคนเชื่อมากที่สุด การตีความคัมภีร์ฮินดูแบบอื่นๆ เชื่อว่าโลกอยู่ในช่วงเริ่มทวาปรยุค โดยทั่วไปแล้วกลียุคก็คือยุคมืดเพราะผู้คนห่างเหินจากพระเจ้าอย่างถึงที่สุด ตามคติของศาสนาพราหมณ์ เมื่อโลกมาถึงกลียุค เชื่อกันว่าพระศิวะ หรือพระอิศวร จะทรงเปิดพระเนตรดวงที่อยู่กลางหน้าผากขึ้น และโลกจะถูกทำลาย เพื่อคืนสมดุลของโลกให้เกิดการสร้างโลกขึ้นใหม.

ใหม่!!: สัตยยุคและกลียุค · ดูเพิ่มเติม »

ยุค

หลายศาสนามีความเชื่อว่าโลกแบ่งออกเป็นหลายยุค (युग).

ใหม่!!: สัตยยุคและยุค · ดูเพิ่มเติม »

อวตาร

กัลกยาวตาร (อัศวินม้าขาว) อวตาร (अवतार, avatāra) คือการที่เทพเจ้าองค์ต่าง ๆ ตามความเชื่อของศาสนาฮินดูแบ่งภาคมาเกิดบนโลกมนุษย์ โดยเทพแบ่งพลังงานส่วนหนึ่งลงมาเกิดเป็นมนุษย์หรือสัตว์ เพื่อทำหน้าที่อย่างหนึ่งอย่างใด ในลัทธิไวษณพถือว่าเมื่อศีลธรรมของมนุษย์เสื่อมลง จนเกิดความเดือดร้อนไปทั่ว พระวิษณุจะอวตารลงมาปราบยุคเข็ญ การอวตารส่วนใหญ่มักจะเกี่ยวข้องกับพระวิษณุ แต่ก็ยังมีที่เชื่อมโยงกับเทวดาอื่น ๆ รายชื่อของพระนารายณ์อวตารปรากฏในคัมภีร์ฮินดูจำนวนมากรวมทั้งอวตารทั้งสิบในครุฑ ปุราณะ และอวตาร 22 ปางในภควัตปุราณะ รวมทั้งที่เพิ่มอีกภายหลังจนนับไม่ถ้วน พระวิษณุอวตารเป็นความเชื่อหลักของลัทธิไวษณพ หลักฐานเกี่ยวกับอวตารยุคแรก ๆ อยู่ในภควัทคีตา มีเรื่องราวเกี่ยวกับอวตารของพระศิวะและพระพิฆเนศ และเทพีต่าง ๆ โดยเฉพาะในหมู่ผู้นับถือลัทธิศักติ อย่างไรก็ตาม อวตารของพระนารายณ์เป็นที่รู้จักมากที.

ใหม่!!: สัตยยุคและอวตาร · ดูเพิ่มเติม »

ทศาวตาร

อวตารของพระวิษณุ โดยราชา รวิ วรรมา วาดในช่วงศตวรรษที่ 19. ทศาวตาร () หมายถึง อวตารหลักทั้งสิบปางของพระวิษณุ เทพเจ้าในศาสนาฮินดู คำว่าทศาวตาร เป็นคำสมาสของคำว่า ทศ หมายถึง สิบ และ อวตาร หมายถึง การแบ่งภาคมาเก.

ใหม่!!: สัตยยุคและทศาวตาร · ดูเพิ่มเติม »

ปรศุราม

ปรศุราม หรือ ปรศุรามาวตาร เป็นอวตารปางที่ ๖ ของพระวิษณุ โดยทรงอวตารเป็นพราหมณ์นามว่า "ปรศุราม" (มีอีกชื่อว่า ภควาจารย์)เพื่อลงมาปราบกษัตริย์ผู้ชั่วช้านามว่า "อรชุน" ซึ่งมี ๑,๐๐๐ มือ ซึ่งปรศุรามาวตารถือว่าเป็นปางแรกของพระวิษณุในช่วงทวาปรยุค ซึ่งเป็นยุคที่ ๓ จากทั้งหมด ๔ ยุคตามความเชื่อของศาสนาฮินดูอันได้แก่ สัตยยุค เตรตายุค ทวาปรยุค กลียุค โดยพราหมณ์ปรศุรามมีอาวุธคือขวานวิเศษซึ่งพระศิวะเป็นผู้ประทานให้แก่ปรศุราม ซึ่งต่อมาปรศุรามได้ใช้ขวานนี้สังหารกษัตริย์อรชุน(กรรตวีรยะ)นั่นเอง หลังจากการสังหารกษัตริยอรชุน หรือ กรรตวีรยะ แล้วนั้น.โอรสของกษัตริย์อรชุนเมื่อรู้เข้า ก็โกรธเป็นฟืนเป็นไฟ เดินทาไปแก้แค้นให้พระบิดาด้วยการสังหารฤๅษีชมทัคนี ผู้เป็นบิดาของปรศุราม จนถึงแก่ความตาย เมื่อปรศุรามมาเห็นร่างของบิดาที่ไร้ลมหายใจเพราะถูกสังหาร พร้อมกับสภาพของบ้านของตนที่ถูกทำลาย จึงเกิดความรู้สึกโกรธแค้น และได้สัญญาเอาไว้ว่าจะเป็นปฏิปักษ์ต่อกษัตริย์ทั้งโลกา พร้อมกับนำขวานคู่ใจเดินทางไปสังหารโอรสของกษัตริย์อรชุนพร้อมทั้งเหล่าเชื้อพระวงศ์ทั้งหลายที่เป็นผู้ชาย จะยกเว้นราชินีและเชื้อพระวงศ์ที่เป็นผู้หญิงไว้ ซึ่งปรศุรามได้ทำอย่างนี้ถึง 21 ครั้ง ก่อนที่จะวางขวานและบำเพ็ญเพียรเพื่อไถ่บาป ปรศุรามเป็นหนึ่งผู้มีอายุยืนทั้ง 7 ในวรรณคดีอินเดีย ซึ่งมีบทบาทในรามายณะและมหาภารตะ ซึ่งเขาจะมีชีวิตจนถึงการอวตารร่างที่ 10 ของพระนารายณ์คือ กัลกยาวตาร (พระกัลกี/อัศวินขี่ม้าขาว) ซึ่งเขาจะเป็นผุ้ส่งมอบอาวุธพระกัลกี ใน มหาภารตะ ปรศุรามเป็นอาจารย์ของ ภีษมะ,โทรณาจารย์ และ กรรณะ หมวดหมู่:ศาสนาฮินดู หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ หมวดหมู่:ตัวละครในรามเกียรติ์.

ใหม่!!: สัตยยุคและปรศุราม · ดูเพิ่มเติม »

เตรตายุค

ตรตายุค (อักษรเทวนาครี: त्रेता युग)หรือไตรดายุค คือหนึ่งในช่วงเวลาในสี่ช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงของโลก ซึ่งอธิบายไว้ในคัมภีร์ฮินดู โดยมียุคอื่นอีกได้แก่ สัตยยุค ทวาปรยุค และ กลียุค ซึ่งทั้ง 4 ยุครวมกันเรียกว่ามหายุค มีระยะเวลา ๓,๖๐๐ ปีเทวดา หรือ1,296,000 ปีโลกมนุษย์ ซึ่งถือเป็นยุคเงิน.

ใหม่!!: สัตยยุคและเตรตายุค · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

กฤตยุค

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »