โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สงครามเย็น

ดัชนี สงครามเย็น

กำแพงเบอร์ลินจากฝั่งตะวันตก กำแพงถูกสร้างใน ค.ศ. 1961 เพื่อป้องกันมิให้ชาวเยอรมันตะวันออกหนีและหยุดการหลั่งไหลของแรงงานซึ่งเป็นภัยพิบัติทางเศรษฐกิจ มันเป็นสัญลักษณ์ของสงครามเย็นและการทลายกำแพงใน ค.ศ. 1989 เป็นสัญลักษณ์ว่าสงครามเย็นใกล้ยุติ สงครามเย็น (Cold War Холодная война) เป็นสถานะความตึงเครียดทางการเมืองและการทหารหลังสงครามโลกครั้งที่สองระหว่างประเทศในกลุ่มตะวันตก (สหรัฐอเมริกา พันธมิตรเนโท ฯลฯ) และประเทศในกลุ่มตะวันออก (สหภาพโซเวียตและพันธมิตรในสนธิสัญญาวอร์ซอ) นักประวัติศาสตร์ยังไม่ตกลงกันทั้งหมดว่าสงครามเย็นคือช่วงใดกันแน่ แต่ส่วนใหญ่ถือ..

49 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2490พ.ศ. 2534กลัสนอสต์กลุ่มตะวันออกกลุ่มตะวันตกการล่มสลายของสหภาพโซเวียตการสำรวจอวกาศการปฏิวัติฮังการี ค.ศ. 1956การปิดกั้นเบอร์ลินกติกาสัญญาวอร์ซอมีฮาอิล กอร์บาชอฟยุโรปตะวันออกยุโรปตะวันตกระบอบนาซีรัฐบาลปฏิวัติชั่วคราวสาธารณรัฐเวียดนามใต้ลัทธิทรูแมนวิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบาวิกฤตการณ์คลองสุเอซสหภาพโซเวียตสหรัฐสงครามกลางเมืองกรีซสงครามการบั่นทอนกำลังสงครามยมคิปปูร์สงครามหกวันสงครามตัวแทนสงครามโลกครั้งที่สองสงครามโซเวียต–อัฟกานิสถานสงครามเกาหลีสงครามเวียดนามอภิมหาอำนาจอาวุธนิวเคลียร์อาณานิคมจอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุชขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดความพยายามรัฐประหารในสหภาพโซเวียต พ.ศ. 2534ความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลความแตกแยกระหว่างจีน–โซเวียตประเทศจีนประเทศตุรกีประเทศเยอรมนีปรากสปริงนาซีเยอรมนีแผนมาร์แชลล์โครงการอวกาศโซเวียตโคเรียนแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 007เบอร์ลินตะวันออกเบอร์ลินตะวันตกเปเรสตรอยคาเนโท

พ.ศ. 2490

ทธศักราช 2490 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1947.

ใหม่!!: สงครามเย็นและพ.ศ. 2490 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2534

ทธศักราช 2534 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1991 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: สงครามเย็นและพ.ศ. 2534 · ดูเพิ่มเติม »

กลัสนอสต์

กลัสนอสต์ (гла́сность, Glasnost; ท. "การเผยแพร่") เป็นนโยบายเรียกร้องให้เพิ่มความเปิดเผยและความโปร่งใสในสถาบันและกิจกรรมรัฐบาลในสหภาพโซเวียต มีฮาอิล กอร์บาชอฟริเริ่มนโยบายดังกล่าวในครึ่งหลังของคริสต์ทศวรรษ 1980 มักถูกจับคู่กับเปเรสตรอยคา (Perestroika) ซึ่งเป็นอีกการปฏิรูปที่กอร์บาชอฟริเริ่มในห้วงเวลาเดียวกัน กอร์บาชอฟมักใช้คำนี้เพื่อเจาะจงนโยบายที่เขาเชื่อว่าอาจช่วยลดการฉ้อราษฎร์บังหลวงในผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์และรัฐบาลโซเวียต และบรรเทาการละเมิดอำนาจบริหารในคณะกรรมการกลาง กลัสนอสต์ยังหมายถึงสมัยที่เจาะจงในประวัติศาสตร์สหภาพโซเวียตระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1980 เมื่อมีการตรวจพิจารณาลดลงและมีเสรีภาพในสารสนเทศเพิ่มขึ้น.

ใหม่!!: สงครามเย็นและกลัสนอสต์ · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มตะวันออก

นการณ์ทางการเมืองของโลกตะวันออกในยุคสงครามเย็น. โลกตะวันออกในยุคสงครามเย็น คำว่า กลุ่มตะวันออก (Eastern Bloc) เป็นชื่อเรียกที่หมายถึงอดีตรัฐซึ่งปกครองด้วยระบอบสังคมนิยมแบบคอมมิวนิสต์ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในยุโรปตะวันออก และอาจหมายรวมถึงประเทศที่เข้าร่วมสนธิสัญญาวอร์ซอด้วยเช่นกัน คำว่า "กลุ่มตะวันออก" เป็นชื่อที่ใช้เรียกในยุคสงครามเย็น (ค.ศ. 1946 - ค.ศ. 1989) รัฐต่างๆ ที่อยู่ในโลกตะวันออกส่วนใหญ่เป็นรัฐที่ถูก สหภาพโซเวียตเข้ายึดครองในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง หลังจากที่สหภาพโซเวียตล่มสลาย รัฐแต่ละรัฐที่อยู่ภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียตก็ได้แยกตัวตั้งตนเป็นอิสระและเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสังคมนิยมเป็นระบอบประชาธิปไตยแทน รวมอีกทั้งประเทศเยอรมันทั้งตะวันออกและตะวันตกก็ได้รวมตัวกันเป็นหนึ่งภายหลังการทำลายกำแพงเบอร์ลิน ทำให้กลุ่มตะวันออกล่มสล.

ใหม่!!: สงครามเย็นและกลุ่มตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มตะวันตก

นการณ์ทางการเมืองของโลกตะวันตกในยุคสงครามเย็น. สีน้ำเงินคือฝ่ายตะวันตก ค่ายตะวันตก (อังกฤษ: Western Bloc) เป็นชื่อเรียกที่หมายถึงประเทศรัฐซึ่งปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในยุโรปตะวันตก และอาจหมายรวมถึงประเทศที่เข้าร่วมสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือหรือนาโต้ด้วยเช่นกัน คำว่า "ค่ายตะวันตก" เป็นชื่อที่ใช้เรียกในยุคสงครามเย็น (ค.ศ. 1946 - ค.ศ. 1989) ประเทศรัฐต่างๆ ที่อยู่ในโลกตะวันตกส่วนใหญ่เป็นรัฐที่ถูกสหรัฐอเมริกาและสัมพันธมิตรทำการช่วยเหลือปลดปล่อยให้พ้นจากการปกครองของนาซีเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง.

ใหม่!!: สงครามเย็นและกลุ่มตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

การล่มสลายของสหภาพโซเวียต

หภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตถูกยุบอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2534 ตามปฏิญญาหมายเลข 142-เอชแห่งสภาโซเวียตแห่งสาธารณรัฐ (Soviet of the Republics)Declaration № 142-Н of the Soviet of the Republics of the Supreme Soviet of the Soviet Union, formally establishing the dissolution of the Soviet Union as a state and subject of international law.

ใหม่!!: สงครามเย็นและการล่มสลายของสหภาพโซเวียต · ดูเพิ่มเติม »

การสำรวจอวกาศ

การสำรวจอวกาศ คือการใช้วิทยาการด้านดาราศาสตร์และอวกาศเพื่อสำรวจและศึกษาห้วงอวกาศภายนอก การศึกษาอวกาศในทางกายภาพสามารถทำได้ทั้งโดยยานอวกาศที่ควบคุมโดยมนุษย์หรือโดยหุ่นยนต์ การเฝ้าสังเกตการณ์วัตถุท้องฟ้า หรือที่เรียกว่าวิชาดาราศาสตร์ ได้กระทำกันมานานดังปรากฏในบันทึกประวัติศาสตร์ ทว่าการใช้จรวดเชื้อเพลิงเหลวขนาดใหญ่ที่เริ่มขึ้นในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ทำให้การสำรวจอวกาศในทางกายภาพมีความเป็นจริงเป็นจังมากขึ้น ความก้าวหน้าในการสำรวจอวกาศเป็นผลจากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ล้ำยุครวมถึงการร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อความอยู่รอดในอนาคตของมนุษย์ชาติ ขณะเดียวกันก็เป็นการสร้างประโยชน์ในทางทหารหรือทางกลยุทธ์ที่เหนือกว่าประเทศอื่นๆ ในบางครั้งจึงมีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงประโยชน์ของการสำรวจอวกาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นเรื่องค่าใช้จ่ายและความปลอดภัย ครั้งหนึ่งการสำรวจอวกาศเป็นประเด็นการแข่งขันที่สำคัญระหว่างขั้วอำนาจ เช่นในระหว่างสงครามเย็น การสำรวจอวกาศยุคใหม่ช่วงแรกเป็นการแข่งขันกันระหว่างสหภาพโซเวียตกับสหรัฐอเมริกา ได้แก่ การส่งยานที่สร้างด้วยมนุษย์ออกไปโคจรรอบโลกได้เป็นครั้งแรกในดาวเทียมสปุตนิก 1 ของสหภาพโซเวียต เมื่อ 4 ตุลาคม ค.ศ. 1957 และการพิชิตดวงจันทร์เป็นครั้งแรกของยานอพอลโล 11 ของสหรัฐอเมริกาเมื่อ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1969 โดยมากโครงการสำรวจอวกาศของโซเวียตจะสามารถบรรลุเป้าหมายเป็นครั้งแรกได้ก่อน ภายใต้การนำของ Sergey Korolyov และ Kerim Kerimov เช่นการส่งนักบินอวกาศออกไปนอกโลกได้เป็นครั้งแรกใน..

ใหม่!!: สงครามเย็นและการสำรวจอวกาศ · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิวัติฮังการี ค.ศ. 1956

การปฏิวัติฮังการี..

ใหม่!!: สงครามเย็นและการปฏิวัติฮังการี ค.ศ. 1956 · ดูเพิ่มเติม »

การปิดกั้นเบอร์ลิน

วเบอร์ลินกำลังดูเครื่องบิน Douglas C-54 Skymaster ลงจอดที่สนามบิน Tempelhof Airport ในปี 1948 เยอรมนีส่วนที่ปกครองโดยสหภาพโซเวียต การปิดกั้นเบอร์ลิน (Berlin Blockade) เป็นหนึ่งในวิกฤตการณ์หลักของสงครามเย็น ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน ค.ศ. 1948- 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1949 ประเทศมหาอำนาจที่ชนะสงครามโลกครั้งที่สองได้เข้ายึดครองประเทศเยอรมนี สหภาพโซเวียตซึ่งยึดครองกรุงเบอร์ลินอยู่ในเวลานั้นตั้งด่านปิดกั้นถนนไม่ให้สามมหาอำนาจฝ่ายตะวันตก (สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และฝรั่งเศส) เข้าถึงกรุงเบอร์ลินได้ วิกฤตการณ์นี้คลี่คลายลงหลังจากมหาอำนาจฝ่ายตะวันตกร่วมกันจัดตั้ง การขนส่งทางอากาศที่เบอร์ลิน (Berlin Airlift) เพื่อแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการขนส่งเสบียงสู่พื้นที่ของตน พร้อมทั้งเป็นการแสดงขีดความสามารถทางการผลิตและแสนยานุภาพทางอากาศของฝ่ายตะวันตก.

ใหม่!!: สงครามเย็นและการปิดกั้นเบอร์ลิน · ดูเพิ่มเติม »

กติกาสัญญาวอร์ซอ

กติกาสัญญาวอร์ซอ (Warsaw Pact) หรือชื่อทางการว่า สนธิสัญญาแห่งไมตรี ความร่วมมือ และการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน (Treaty of Friendship, Co-operation, and Mutual Assistance; Договор о дружбе, сотрудничестве и взаимной помощи) บางครั้งเรียกขานอย่างไม่เป็นทางการว่า วอร์แพ็ก (WarPac) เป็นกติกาสัญญาด้านความมั่นคงร่วมกันระหว่างสหภาพโซเวียตกับรัฐบริวารของตนอีกเจ็ดแห่งในยุโรปตอนกลางและตะวันออกระหว่างช่วงสงครามเย็น กติกาสัญญาวอร์ซอเป็นส่วนเพิ่มด้านการทหารของคณะกรรมาธิการเพื่อการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจระหว่างกันหรือ โคเมคอน (Council for Mutual Economic Assistance; CoMEcon) ซึ่งเป็นองค์การทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคสำหรับรัฐคอมมิวนิสต์ในยุโรปตอนกลางและตะวันออก ทั้งนี้กติกาสัญญาวอร์ซอก่อตั้งขึ้นเพื่อตอบโต้การที่เยอรมนีตะวันตกเข้าร่วมกับองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (เนโท)"In reaction to West Germany’s NATO accession, the Soviet Union and its Eastern European client states formed the Warsaw Pact in 1955." Citation from: ในปี..

ใหม่!!: สงครามเย็นและกติกาสัญญาวอร์ซอ · ดูเพิ่มเติม »

มีฮาอิล กอร์บาชอฟ

มีฮาอิล เซียร์เกเยวิช กอร์บาชอฟ (Михаи́л Серге́евич Горбачёв, Mikhail Sergeyevich Gorbachyov) เป็นอดีตประธานาธิบดีสหภาพโซเวียต ทั้งยังเคยดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตอีกด้วย ความพยายามปฏิรูปสหภาพของกอร์บาชอฟได้นำไปสู่การล่มสลายของสหภาพโซเวียต และการยุติสงครามเย็น เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพประจำปี..

ใหม่!!: สงครามเย็นและมีฮาอิล กอร์บาชอฟ · ดูเพิ่มเติม »

ยุโรปตะวันออก

แผนที่ยุโรปตะวันออก ยุโรปตะวันออก (Eastern Europe) มีพื้นที่อยู่ระหว่างละติจูดที่ 40 - 53 องศาเหนือ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวสลาฟ สภาพความเป็นอยู่เป็นแบบชนบท ประกอบไปด้วยประเทศที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต, อดีตเช็กโกสโลวาเกีย (ปัจจุบันคือเช็กเกียและสโลวาเกีย), โปแลนด์, ฮังการี, โรมาเนีย, บัลแกเรีย และอดีตยูโกสลาเวีย ประเทศส่วนใหญ่ในยุโรปตะวันออกในอดีต ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ แต่ในปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนาเป็นประชาธิปไตยบ้างแล้ว ศาสนาที่นับถือส่วนใหญ่ในภูมิภาคนี้คือศาสนาคริสต์ ภาษาที่ใช้เป็นภาษากลุ่มโรแมนซ์และกลุ่มสลาวอนิก.

ใหม่!!: สงครามเย็นและยุโรปตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

ยุโรปตะวันตก

แผนที่ยุโรปตะวันตก ยุโรปตะวันตก ตั้งอยู่ติดกับทะเลเหนือ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และ มหาสมุทรแอตแลนติก ซึ่งทำให้ดินแดนยุโรปตะวันตกนี้ไม่ห่างจากทะเลมากนัก เป็นผลทำให้มีความชื้นในอากาศสูงและอุณหภูมิหน้าหนาวไม่เย็นจัดเหมือนยุโรปที่อยู่ในภาคพื้นทวีปยุโรปเหนือ ยุโรปตะวันตกมีพื้นที่ประมาณ 36,933,412 ตารางกิโลเมตร ภาษาในภูมิภาคนี้มีมากมายเช่น กลุ่มภาษาโรมานซ์ เช่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษาสเปน ฯลฯ กลุ่มภาษาเยอรมานิค เช่น ภาษาเยอรมัน ภาษาอังกฤษ ภาษาสวีเดน ฯลฯ และ ภาษากรีก ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ทั้งนิกายโปรเตสแตนท์และโรมันคาทอลิก ความแตกต่างของประเทศในยุโรปตะวันตกกับยุโรปตะวันออกคือระบอบการปกครองและการเมืองช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศที่มักจะกล่าวถึงว่าเป็นประเทศในยุโรปตะวันตก.

ใหม่!!: สงครามเย็นและยุโรปตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

ระบอบนาซี

นาซี (Nazism; บ้างสะกดว่า Naziism "JAPAN: Imitation of Naziism?"; Nationalsozialismus) หรือ ชาติสังคมนิยม เป็นอุดมการณ์และวิถีปฏิบัติของพรรคนาซีและนาซีเยอรมนีPayne, Stanley G. 1995.

ใหม่!!: สงครามเย็นและระบอบนาซี · ดูเพิ่มเติม »

รัฐบาลปฏิวัติชั่วคราวสาธารณรัฐเวียดนามใต้

รัฐบาลปฏิวัติเฉพาะกาลแห่งสาธารณรัฐเวียดนามใต้ (Chính phủ Cách mạng lâm thời Cộng hoà miền Nam Việt Nam, Provisional Revolutionary Government of the Republic of South Vietnam; PRG) เป็นรัฐบาลใต้ดินซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน..

ใหม่!!: สงครามเย็นและรัฐบาลปฏิวัติชั่วคราวสาธารณรัฐเวียดนามใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิทรูแมน

ลัทธิทรูแมน (Truman Doctrine) เป็นนโยบายซึ่งเสนอโดยประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา แฮร์รี เอส. ทรูแมน เมื่อวันที่ 12 มีนาคม..

ใหม่!!: สงครามเย็นและลัทธิทรูแมน · ดูเพิ่มเติม »

วิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา

ประธานาธิบดีเคนเนดี พบปะกับเอกอัครราชทูตโซเวียต อังเดร โกรมิโก ที่ทำเนียบขาว เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม ก่อนเกิดการเผชิญหน้า แผนที่แสดงรัศมีของการใช้ขีปนาวุธที่คิวบา วิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา (Cuban Missle Crisis) คือการเผชิญหน้าทางทหารระหว่างสหรัฐอเมริกาฝ่ายหนึ่ง กับสหภาพโซเวียตและประเทศคิวบาอีกฝ่ายหนึ่ง ในช่วงเวลาที่สงครามเย็นอยู่ในช่วงความตึงเครียดจนเกือบจะกลายไปเป็นสงครามปรมาณู ชาวรัสเซียเรียกเหตุการณ์นี้ว่าวิกฤตการณ์แคริบเบียน ส่วนชาวคิวบาเรียกมันว่าวิกฤตการณ์เดือนตุลาคม เหตุการณ์ครั้งนี้ถือเป็นหนึ่งในการเผชิญหน้าครั้งสำคัญในสงครามเย็นนอกจากการปิดล้อมเบอร์ลิน การเผชิญหน้าเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 1962 เมื่อภาพถ่ายจากเครื่องบินสังเกตการณ์ ยู-2 ของสหรัฐอเมริกา เผยให้เห็นฐานปล่อยขีปนาวุธ กำลังถูกสร้างขึ้นในคิวบา ภายใต้การปกครองของฟีเดล กัสโตร เพื่อตอบโต้การสร้างฐานขีปนาวุธของสหรัฐอเมริกา ณ บริเวณพรมแดนของตุรกีและสหภาพโซเวียต ทางสหรัฐอเมริกาได้กำหนดมาตรการกักกัน ส่งเรือรบเข้าปิดล้อมคิวบา ห้ามเรือบรรทุกสินค้าทุกลำผ่านเข้ามาในน่านน้ำทะเลแคริบเบียน เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม..

ใหม่!!: สงครามเย็นและวิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา · ดูเพิ่มเติม »

วิกฤตการณ์คลองสุเอซ

วิกฤตการณ์สุเอซ (The Suez Crisis หรือ Tripartite Aggression) เป็นวิกฤตการณ์ที่เกิดสงครามระหว่าง อียิปต์, อังกฤษ, ฝรั่งเศส และอิสราเอล มีมูลเหตุมาจากที่อียิปต์ต้องการให้คลองสุเอซ (ที่ขุดโดยเงินทุนของอียิปต์ กับฝรั่งเศส) กลายเป็นของประเทศ แต่คลองนี้มีความสำคัญต่ออังกฤษเพราะเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญ มายังอาณานิคมทั้งหลายทั้ง อินเดีย, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์ และตะวันออกไกล ดังนั้นอังกฤษจึงซื้อหุ้นส่วนของอียิปต์ในคลองนี้ มาทำให้ตัวเองมีอำนาจเหนือคลองดังกล่าวและคานอำนาจกับฝรั่งเศส คลองนี้มีส่วนสำคัญในการรบทั้ง สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และสงครามโลกครั้งที่สอง.

ใหม่!!: สงครามเย็นและวิกฤตการณ์คลองสุเอซ · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพโซเวียต

หภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (Сою́з Сове́тских Социалисти́ческих Респу́блик - CCCP; Union of Soviet Socialist Republics - USSR) หรือย่อเป็น สหภาพโซเวียต (Soviet Union) เป็นประเทศอภิมหาอำนาจในอดีตบนทวีปยูเรเชีย ระหว่างปี..

ใหม่!!: สงครามเย็นและสหภาพโซเวียต · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: สงครามเย็นและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามกลางเมืองกรีซ

งครามกลางเมืองกรีซ (Greek Civil War; ο Eμφύλιος o Emfýlios, "the Civil ") เป็นการต่อสู้ในกรีซในปี..

ใหม่!!: สงครามเย็นและสงครามกลางเมืองกรีซ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามการบั่นทอนกำลัง

งครามการบั่นทอนกำลัง (حرب الاستنزاف Ḥarb al-Istinzāf, מלחמת ההתשה Milhemet haHatashah) ที่เกี่ยวข้องกับการต่อสู้ระหว่างอิสราเอลและอียิปต์จอร์แดน PLO และพันธมิตร 1967-1970 หลังจากที่ 1967 สงครามหกวันไม่มีความพยายามทางการทูตอย่างรุนแรงพยายามที่จะแก้ไขปัญหาที่เป็นหัวใจของความขัดแย้งอาหรับอิสราเอล.ในเดือนกันยายนปี 1967 รัฐอาหรับไดมีนโยบายปิดกั้นสันติภาพ, การรับรู้หรือการเจรจากับอิสราเอล".ประธานาธิบดีอียิปต์ญะมาล อับดุนนาศิร เชื่อว่ามีเพียงวิธีเดียวที่สามารถทำให้กองกำลังอิสราเอลออกจากคาบสมุทรไซนายได้คือการใช้กำลัง.

ใหม่!!: สงครามเย็นและสงครามการบั่นทอนกำลัง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามยมคิปปูร์

งครามยมคิปปูร์, สงครามเราะมะฎอนหรือสงครามตุลาคม (Yom Kippur War, Ramadan War, หรือ October War; หรือ מלחמת יום כיפור) เป็นสงครามรบกันระหว่างแนวร่วมรัฐอาหรับซึ่งมีประเทศอียิปต์และซีเรียเป็นผู้นำต่ออิสราเอลตั้งแต่วันที่ 6 ถึง 25 ตุลาคม 2516 การสู้รบส่วนใหญ่เกิดในคาบสมุทรไซนายและที่ราบสูงโกลัน ดินแดนซึ่งอิสราเอลยึดครองตั้งแต่สงครามหกวันเมื่อปี 2510 ประธานาธิบดีอียิปต์ อันวัร อัสซาดาต ยังต้องการเปิดคลองสุเอซอีกครั้ง ทั้งสองประเทศมิได้วางแผนเจาะจงทำลายอิสราเอล แต่ผู้นำอิสราเอลไม่อาจมั่นใจได้ สงครามเริ่มต้นเมื่อแนวร่วมอาหรับเปิดฉากจู่โจมร่วมต่อที่ตั้งของอิสราเอลในดินแดนที่อิสราเอลยึดครองในวันยมคิปปูร์ (Yom Kippur) ซึ่งเป็นวันศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในศาสนายูดาย ซึ่งในปีนั้นยังตรงกับเดือนเราะมะฎอนศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาอิสลามด้วย กำลังอียิปต์และซีเรียข้ามเส้นหยุดยิงเข้าสู่คาบสมุทรไซนายและที่ราบสูงโกลันตามลำดับ ทั้งสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตเริ่มความพยายามส่งกำลังบำรุงแก่พันธมิตรของตนระหว่างสงคราม และนำไปสู่การเกือบเผชิญหน้ากันระหว่างอภิมหาอำนาจนิวเคลียร์สองประเทศ สงครามเริ่มต้นด้วยการข้ามคลองสุเอซครั้งใหญ่ที่สำเร็จของอียิปต์ หลังข้ามเส้นหยุดยิง กำลังอียิปต์รุดหน้าโดยแทบไม่มีการต้านทานเข้าสู่คาบสมุทรไซนาย หลังสามวันผ่านไป อิสราเอลได้ระดมพลกำลังส่วนใหญ่และหยุดยั้งการรุกของอียิปต์ ทำให้เกิดการตรึงอำนาจทางทหาร ฝ่ายซีเรียประสานงานการโจมตีที่ราบสูงโกลันให้พร้อมกับการรุกของอียิปต์ และทีแรกได้ดินแดนเพิ่มอย่างคุกคามสู่ดินแดนที่อิสราเอลถือครอง ทว่า ภายในสามวัน กำลังอิสราเอลผลักซีเรียเข้าสู่เส้นหยุดยิงก่อนสงคราม จากนั้นกำลังป้องกันอิสราเอลเปิดฉากการตีโต้ตอบสี่วันลึกเข้าไปในประเทศซีเรีย ภายในหนึ่งสัปดาห์ ปืนใหญ่อิสราเอลเริ่มระดมยิงชานกรุงดามัสกัส เมื่อประธานาธิบดีอียิปต์ซาดาตเริ่มกังวลเกี่ยวกับบูรณภาพของพันธมิตรหลักของเขา เขาเชื่อว่าการยึดจุดผ่านยุทธศาสตร์สองจุดซึ่งตั้งอยู่ลึกในไซนายจะทำให้ฐานะของเขาแข็งแรงขึ้นระหว่างการเจรจาหลังสงคราม ฉะนั้นเขาจึงสั่งให้อียิปต์กลับไปรุกอีก แต่การเข้าตีนั้นถูกขับกลับมาอย่างรวดเร็ว จากนั้นอิสราเอลตีโต้ตอบที่แนวต่อระหว่างกองทัพอียิปต์สองกองทัพ ข้ามคลองสุเอซเข้าประเทศอียิปต์ และเริ่มรุกหน้าอย่างช้า ๆ ลงใต้และไปทางตะวันตกสู่นครสุเอซในการสู้รบอย่างหนักกว่าหนึ่งสัปดาห์ซึ่งทำให้ทั้งสองฝ่ายเสียกำลังพลมาก วันที่ 22 ตุลาคม การหยุดยิงที่สหประชาชาติเป็นนายหน้าคลี่คลายอย่างรวดเร็ว โดยต่างฝ่ายต่างโทษอีกฝ่ายว่าละเมิด ในวันที่ 24 ตุลาคม อิสราเอลพัฒนาฐานะของตนอย่างมากและสำเร็จการล้อมกองทัพที่สามของอียิปต์และนครสุเอซ การพัฒนานี้นำไปสู่ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต ผลคือ มีการกำหนดการหยุดยิงครั้งที่สองด้วยความร่วมมือตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคมถึงสิ้นสงคราม สงครามนี้มีการส่อความกว้างขวาง โลกอาหรับซึ่งประสบความอับอายในการแตกล่าฝ่ายเดียวของพันธมิตรอียิปต์–ซีเรีย–จอร์แดนในสงครามหกวัน รู้สึกว่าได้แก้ตัวทางจิตใจจากความสำเร็จขั้นต้นในความขัดแย้งนี้ ในประเทศอิสราเอล แม้มีความสำเร็จทางปฏิบัติการและยุทธวิธีอันน่าประทับใจในสมรภูมิ แต่สงครามนี้นำให้มีการตระหนักว่าไม่มีการรับประกันว่าประเทศอิสราเอลจะครอบงำรัฐอาหรับในทางทหารได้เสมอไป ดังที่เคยเป็นมาตลอดสงครามอาหรับ–อิสราเอลครั้งที่หนึ่ง สงครามสุเอซและสงครามหกวันก่อนหน้านี้ การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ปูทางสู่กระบวนการสันติภาพต่อมา ข้อตกลงค่ายเดวิดปี 2521 ในภายหลังนำสู่การคืนคาบสมุทรไซนายให้ประเทศอียิปต์และการคืนความสัมพันธ์ ซึ่งเป็นการรับรองอิสราเอลอย่างสันติโดยประเทศอาหรับเป็นครั้งแรก ประเทศอียิปต์ยังตีตนออกห่างจากสหภาพโซเวียตต่อไปและออกจากเขตอิทธิพลโซเวียตโดยสิ้นเชิง.

ใหม่!!: สงครามเย็นและสงครามยมคิปปูร์ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามหกวัน

งครามหกวัน (Six-Day War., מלחמת ששת הימים) เป็นสงครามระหว่างอิสราเอลกับอียิปต์ หลังจากวิกฤตการณ์สุเอซ ญะมาล อับดุนนาศิร ประธานาธิบดีของประเทศอียิปต์ได้ขอให้สหประชาชาติถอนกำลังออกไปจากอียิปต์แล้ว กองทัพของอียิปต์ได้เคลื่อนที่เข้ายึดฉนวนกาซาและปิดล้อมอ่าวอะกาบา และห้ามไม่ให้เรือสินค้าของอิสราเอลผ่าน อิสราเอลจึงได้โจมตีอียิปต์ก่อน ทำให้เกิดสงครามระหว่างยิวกับอาหรับขึ้นเป็นครั้งที่ 3 โดยสงครามนี้เริ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน ถึง 10 มิถุนายน..

ใหม่!!: สงครามเย็นและสงครามหกวัน · ดูเพิ่มเติม »

สงครามตัวแทน

งครามตัวแทน (proxy war) เป็นความขัดแย้งระหว่างรัฐหรือตัวแสดงที่มิใช่รัฐสองฝ่ายซึ่งต่างฝ่ายต่างมิได้ประจัญบานโดยตรงกับอีกฝ่ายหนึ่ง แม้คำนี้ครอบคลุมการเผชิญหน้าด้วยอาวุธต่าง ๆ แต่บทนิยามแกนกลางของ "สงครามตัวแทน" ตั้งอยู่บนอำนาจสองฝ่ายใช้การต่อสู้ภายนอกเพื่อโจมตีผลประโยชน์หรือการถือครองดินแดนของอีกฝ่าย สงครามตัวแทนมักเกี่ยวข้องกับทั้งสองประเทศต่อสู้กับพันธมิตรของคู่แข่ง หรือสนับสนุนพันธมิตรของตนในการต่อสู้กับคู่แข่ง สงครามตัวแทนพบมากเป็นพิเศษช่วงใกล้สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองและช่วงสงครามเย็น และเป็นมุมมองนิยามความขัดแย้งทั่วโลกระหว่างครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ส่วนมากได้รับการจูงใจจากความกลัวว่าความขัดแย้งโดยตรงระหว่างสหรัฐและสหภาพโซเวียตจะส่งผลให้เกิดการฆ่าล้างบางนิวเคลียร์ ทำให้สงครามตัวแทนเป็นวิธีแสดงออกซึ่งความเป็นปรปักษ์ที่ปลอดภัยกว่า นอกจากนี้ยังมีเหตุผลประชิดกว่าสำหรับการถือกำเนิดของสงครามตัวแทนในเวทีโลก คือระหว่างช่วงปีหลัง ๆ สหภาพโซเวียตพบว่าการติดอาวุธหรือจัดตั้งภาคีปฏิปักษ์ต่อเนโทแทนการเผชิญหน้าโดยตรงมีราคาถูกกว่าProf CJ.

ใหม่!!: สงครามเย็นและสงครามตัวแทน · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: สงครามเย็นและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโซเวียต–อัฟกานิสถาน

| casualties1.

ใหม่!!: สงครามเย็นและสงครามโซเวียต–อัฟกานิสถาน · ดูเพิ่มเติม »

สงครามเกาหลี

งครามเกาหลี (25 มิถุนายน 1950 – 27 กรกฎาคม 1953) เป็นสงครามระหว่างสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) โดยได้รับการสนับสนุนจากสหประชาชาติฝ่ายหนึ่ง กับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) โดยได้รับการสนับสนุนจากสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นหลัก อีกฝ่ายหนึ่ง สงครามเกาหลีเป็นผลจากเขตทางการเมืองของเกาหลีโดยความตกลงที่ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้ชนะกระทำเมื่อสงครามแปซิฟิกยุติ คาบสมุทรเกาหลีถูกจักรวรรดิญี่ปุ่นปกครองตั้งแต่ปี 1910 กระทั่งสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุด หลังการยอมจำนนของจักรวรรดิญี่ปุ่นในเดือนกันยายน 1945 นักปกครองชาวอเมริกันได้แบ่งคาบสมุทรตามเส้นขนานที่ 38 โดยกองกำลังทหารสหรัฐยึดครองส่วนใต้ และกองกำลังทหารโซเวียตยึดครองส่วนเหนือ ความล้มเหลวในการจัดการเลือกตั้งเสรีทั่วคาบสมุทรเกาหลีในปี 1948 ยิ่งตอกลึกการแบ่งแยกระหว่างสองฝ่าย เกาหลีเหนือจึงสถาปนารัฐบาลคอมมิวนิสต์ ขณะที่เกาหลีใต้สถาปนารัฐบาลประชาธิปไตยในนาม เส้นขนานที่ 38 กลายเป็นพรมแดนทางการเมืองเพิ่มขึ้นระหว่างสองรัฐเกาหลี แม้การเจรจาเพื่อรวมประเทศยังคงดำเนินต่อมาหลายเดือนก่อนเกิดสงคราม แต่ความตึงเครียดยิ่งทวีขึ้น เกิดการรบปะทะและการตีโฉบฉวยข้ามพรมแดนเส้นขนานที่ 38 อยู่เนือง ๆ สถานการณ์บานปลายเป็นการสงครามเปิดเผยเมื่อกองกำลังเกาหลีเหนือบุกครองเกาหลีใต้เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 1950 ปีเดียวกัน สหภาพโซเวียตคว่ำบาตรคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เพื่อเป็นการประท้วงที่รัฐบาลก๊กมินตั๋ง/สาธารณรัฐจีนเป็นผู้แทนของจีน ซึ่งลี้ภัยไปยังเกาะไต้หวันหลังปราชัยสงครามกลางเมืองจีน เมื่อขาดเสียงไม่เห็นพ้องจากสหภาพโซเวียต ซึ่งมีอำนาจยับยั้งข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงฯ สหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นจึงผ่านข้อมติที่อนุญาตให้แทรกแซงทางทหารในเกาหลี สหรัฐอเมริกาจัดหาทหารคิดเป็น 88% ของทหารนานาชาติ 341,000 นาย ที่ถูกส่งไปช่วยเหลือกองกำลังเกาหลีใต้ขับการบุกครอง โดยมีรัฐสมาชิกสหประชาชาติอื่นอีก 20 ประเทศเสนอความช่วยเหลือ หลังประสบความสูญเสียอย่างหนักในช่วงสองเดือนแรก ฝ่ายตั้งรับถูกผลักดันกลับไปยังพื้นที่เล็ก ๆ ทางใต้ของคาบสมุทรเกาหลี ซึ่งมีชื่อว่า วงรอบปูซาน จากนั้น การรุกโต้ตอบอย่างรวดเร็วของสหประชาชาติได้ขับทหารเกาหลีเหนือผ่านเส้นขนานที่ 38 ขึ้นไปเกือบถึงแม่น้ำยาลู เมื่อสาธารณรัฐประชาชนจีนเข้าสู่สงครามโดยอยู่ฝ่ายเดียวกับเกาหลีเหนือ การเข้าแทรกแซงของจีนบีบให้กองกำลังเกาหลีใต้และพันธมิตรถอยกลับไปใต้เส้นขนานที่ 38 อีกครั้ง แม้สหภาพโซเวียตจะมิได้ส่งทหารเข้าร่วมในความขัดแย้งโดยตรง แต่ก็ให้ความช่วยเหลือด้านยุทธปัจจัยแก่ทั้งกองทัพเกาหลีเหนือและจีน การสู้รบยุติลงเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 1953 เมื่อมีการลงนามในความตกลงการสงบศึก ความตกลงดังกล่าวฟื้นฟูพรมแดนระหว่างประเทศใกล้กับเส้นขนานที่ 38 และสถาปนาเขตปลอดทหารเกาหลี แนวกันชนที่มีการป้องกันกว้าง 4.0 กิโลเมตร ระหว่างสองชาติเกาหลี อุบัติการณ์ขนาดย่อมยังคงดำเนินต่อมาตราบจนปัจจุบัน ปัจจัยที่ทำให้สงครามเกาหลียุติเพราะ สตาลินเสียชีวิต และรัฐบาลใหม่โซเวียต ให้บอกให้จีนและเกาหลีเหนือยุติสงครามเกาหลี จากมุมมองวิทยาศาสตร์การทหาร สงครามเกาหลีเป็นการรวมยุทธศาสตร์และยุทธวิธีของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งที่สองเข้าด้วยกัน โดยเริ่มต้นจากการสงครามเคลื่อนที่ด้วยการเข้าตีของทหารราบอย่างรวดเร็ว ตามด้วยการตีโฉบฉวยทิ้งระเบิดทางอากาศ แต่กลายเป็นสงครามสนามเพลาะที่อยู่นิ่งเมื่อถึงเดือนกรกฎาคม 1951.

ใหม่!!: สงครามเย็นและสงครามเกาหลี · ดูเพิ่มเติม »

สงครามเวียดนาม

งครามเวียดนาม หรือ สงครามอินโดจีนครั้งที่สอง หรือที่ชาวเวียดนามรู้จักกันในชื่อ สงครามอเมริกา เป็นสงครามตัวแทนสมัยสงครามเย็นที่เกิดขึ้นในประเทศเวียดนาม ลาวและกัมพูชาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2498 กระทั่งกรุงไซ่ง่อนแตกเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2518 สงครามเวียดนามนี้เกิดขึ้นหลังสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง และมีเวียดนามเหนือซึ่งได้รับการสนับสนุนจากจีน สหภาพโซเวียตและพันธมิตรคอมมิวนิสต์อื่นเป็นคู่สงครามฝ่ายหนึ่ง กับรัฐบาลเวียดนามใต้ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐและประเทศที่ต่อต้านคอมมิวนิสต์อื่นเป็นคู่สงครามอีกฝ่ายหนึ่ง เวียดกง (หรือ แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติ) เป็นแนวร่วมประชาชนคอมมิวนิสต์เวียดนามใต้ที่ติดอาวุธเบาซึ่งมีเวียดนามเหนือสั่งการ สู้รบในสงครามกองโจรต่อกำลังต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค กองทัพประชาชนเวียดนาม (กองทัพเวียดนามเหนือ) ต่อสู้ในสงครามตามแบบมากกว่า และบางครั้งส่งหน่วยขนาดใหญ่เข้าสู่ยุทธการ เมื่อสงครามดำเนินไป ส่วนการต่อสู้ของเวียดกงลดลงขณะที่บทบาทของกองทัพประชาชนเวียดนามเพิ่มขึ้น กำลังสหรัฐและเวียดนามใต้อาศัยความเป็นเจ้าเวหาและอำนาจการยิงที่เหนือกว่าเพื่อดำเนินปฏิบัติการค้นหาและทำลาย ซึ่งรวมถึงกำลังภาคพื้นดิน ปืนใหญ่และการโจมตีทางอากาศ ตลอดห้วงสงคราม สหรัฐดำเนินการทัพทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ขนานใหญ่ต่อเวียดนามเหนือ และต่อมาน่านฟ้าเวียดนามเหนือกลายเป็นน่านฟ้าที่มีการป้องกันหนาแน่นที่สุดในโลก รัฐบาลสหรัฐมองว่าการเข้ามามีส่วนในสงครามของตนเป็นหนทางป้องกันการยึดเวียดนามใต้ของคอมมิวนิสต์อันเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การจำกัดการขยายตัวของลัทธิที่ไม่พึงปรารถนาที่ใหญ่กว่า โดยมีเป้าหมายที่แถลงไว้เพื่อหยุดการแพร่ของคอมมิวนิสต์ ตามทฤษฎีโดมิโนของสหรัฐ หากรัฐหนึ่งกลายเป็นคอมมิวนิสต์ รัฐอื่นในภูมิภาคก็จะเป็นไปด้วย ฉะนั้น นโยบายของสหรัฐจึงถือว่าการผ่อนปรนการแพร่ของคอมมิวนิสต์ทั่วประเทศเวียดนามนั้นยอมรับไม่ได้ รัฐบาลเวียดนามเหนือและเวียดกงต่อสู้เพื่อรวมเวียดนามอยู่ในการปกครองคอมมิวนิสต์ ทั้งสองมองข้อพิพาทนี้เป็นสงครามอาณานิคม ซึ่งเริ่มแรกสู้กับฝรั่งเศส โดยได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ แล้วต่อมาสู้กับเวียดนามใต้ ซึ่งถูกมองว่าเป็นรัฐหุ่นเชิดของสหรัฐ ที่ปรึกษาทางทหารชาวอเมริกันมาถึงอินโดจีนขณะนั้นเริ่มตั้งแต่ปี 2493 การเข้ามามีส่วนของสหรัฐเพิ่มขึ้นในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1960 โดยมีระดับทหารเพิ่มเป็นสามเท่าในปี 2494 และเพิ่มอีกสามเท่าในปีต่อมา การเข้ามามีส่วนของสหรัฐทวีขึ้นอีกหลังเหตุการณ์อ่าวตังเกี๋ย ปี 2507 ซึ่งเรือพิฆาตของสหรัฐปะทะกับเรือโจมตีเร็วของเวียดนามเหนือ ซึ่งตามติดด้วยข้อมติอ่าวตังเกี๋ยซึ่งอนุญาตให้ประธานาธิบดีสหรัฐเพิ่มทหารในพื้นที่ หน่วยรบปกติของสหรัฐถูกจัดวางเริ่มตั้งแต่ปี 2498 ปฏิบัติการข้ามพรมแดนระหว่างประเทศ โดยพื้นที่ติดต่อกับประเทศลาวและกัมพูชาถูกกองทัพสหรัฐทิ้งระเบิดอย่างหนักขณะที่การเข้ามามีส่วนในสงครามของสหรัฐเพิ่มขึ้นสูงสุดในปี 2511 ปีเดียวกัน ฝ่ายคอมมิวนิสต์เปิดฉากการรุกตรุษญวน การรุกตรุษญวนไม่สัมฤทธิ์ผลในการโค่นรัฐบาลเวียดนามใต้ แต่ได้กลายเป็นจุดพลิกผันของสงคราม เพราะได้แสดงว่าเวียดนามใต้ไม่อาจป้องกันตัวเองจากเวียดนามเหนือได้ แม้สหรัฐจะทุ่มความช่วยเหลือทางทหารอย่างมหาศาลหลายปี ด้วยจุดชัยชนะของสหรัฐนั้นไม่ชัดเจน จึงค่อย ๆ มีการถอนกำลังภาคพื้นดินของสหรัฐโดยเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายเรียก การแผลงเป็นเวียดนาม (Vietnamization) ซึ่งมุ่งยุติการเข้ามามีส่วนในสงครามของสหรัฐขณะที่โอนภารกิจต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ให้เวียดนามใต้เอง แม้ภาคีทุกฝ่ายลงนามข้อตกลงสันติภาพปารีสในเดือนมกราคม 2516 แล้วก็ตาม แต่การสู้รบยังดำเนินต่อไป ในสหรัฐและโลกตะวันตก มีการพัฒนาขบวนการต่อต้านสงครามเวียดนามขนาดใหญ่ขึ้น ขบวนการนี้ทั้งเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมต่อต้าน (Counterculture) แห่งคริสต์ทศวรรษ 1960 และเป็นปัจจัยหนึ่งของมัน การมีส่วนร่วมทางทหารของสหรัฐยุติลงเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2516 อันเป็นผลมาจากคำแปรญัตติเคส–เชิร์ช (Case–Church Amendment) ที่รัฐสภาสหรัฐผ่าน การยึดกรุงไซ่ง่อนโดยกองทัพประชาชนเวียดนามในเดือนเมษายน 2518 เป็นจุดสิ้นสุดของสงคราม และมีการรวมชาติเวียดนามเหนือกับเวียดนามใต้ในปีต่อมา สงครามนี้คร่าชีวิตมนุษย์ไปมหาศาล ประเมินตัวเลขทหารและพลเรือนชาวเวียดนามที่ถูกสังหารมีตั้งแต่น้อยกว่า 1 ล้านคนเล็กน้อย ไปถึงกว่า 3 ล้านคน ชาวกัมพูชาเสียชีวิตราว 2-3 แสนคนHeuveline, Patrick (2001).

ใหม่!!: สงครามเย็นและสงครามเวียดนาม · ดูเพิ่มเติม »

อภิมหาอำนาจ

แผนที่อภิมหาอำนาจในปีค.ศ. 1945 สหรัฐอเมริกา (น้ำเงิน), สหภาพโซเวียต (แดง), และ จักรวรรดิอังกฤษ (เขียวน้ำเงิน) รัสเซีย อภิมหาอำนาจ (superpower) คือ รัฐซึ่งเป็นผู้นำในระบบระหว่างประเทศและความสามารถในการใช้อำนาจชักจูงให้เกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ และก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนและวางแผนใช้อำนาจในระดับทั่วโลกเพื่อปกป้องผลประโยชน์เหล่านี้ รัฐ "อภิมหาอำนาจ" ถูกพิจารณาว่ามีความเหนือกว่ารัฐ "มหาอำนาจ" อลิซ ไลแมน มิลเลอร์ ศาสตราจารย์แห่งกิจการความมั่นคงแห่งชาติ ณ บัณฑิตวิทยาลัยกองทัพเรือ ให้คำจำกัดความของอภิมหาอำนาจว่า "ประเทศซึ่งมีความสามารถจะรักษาอำนาจครอบงำและส่งอิทธิพลได้ในทุกพื้นที่ในโลก และในบางครั้ง ในมากกว่าหนึ่งภูมิภาคของโลกในเวลาใดเวลาหนึ่ง และอาจกล่าวได้ว่าบรรลุสถานะความเป็นเจ้าโลก คำดังกล่าวเริ่มถูกใช้เป็นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: สงครามเย็นและอภิมหาอำนาจ · ดูเพิ่มเติม »

อาวุธนิวเคลียร์

ญี่ปุ่น เมื่อปี พ.ศ. 2488 ปลายสงครามโลกครั้งที่สอง อาวุธนิวเคลียร์ เป็นวัตถุระเบิดซึ่งมีอำนาจทำลายล้างมาจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ ไม่ว่าจะเป็นปฏิกิริยาฟิชชัน(atomic bomb)อย่างเดียว หรือ ฟิชชันและฟิวชัน(hydrogen bomb)รวมกัน ปฏิกิริยาทั้งสองปลดปล่อยพลังงานปริมาณมหาศาลจากสสารปริมาณค่อนข้างน้อย การทดสอบระเบิดฟิชชัน ("อะตอม") ลูกแรกปลดปล่อยพลังงานออกมาเทียบเท่ากับทีเอ็นทีประมาณ 20,000 ตัน การทดสอบระเบิดเทอร์โมนิวเคลียร์ ("ระเบิดไฮโดรเจน") ลูกแรก ปลดปล่อยพลังงานออกมาเท่ากับทีเอ็นทีประมาณ 10,000,000 ตัน อาวุธเทอร์โมนิวเคลียร์สมัยใหม่ที่หนักกว่า 1,100 กิโลกรัมเล็กน้อย สามารถก่อให้เกิดแรงระเบิดเทียบเท่ากับการจุดจามทีเอ็นทีมากกว่า 1.2 ล้านตัน ดังนั้น กระทั่งวัตถุนิวเคลียร์ลูกเล็กๆ ที่ขนาดไม่ใหญ่ไปกว่าระเบิดธรรมดา สามารถทำลายล้างนครทั้งนครได้ ด้วยแรงระเบิด ไฟและกัมมันตรังสี อาวุธนิวเคลียร์ถูกพิจารณาว่าเป็นอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูง และการใช้และควบคุมอาวุธนิวเคลียร์ได้กลายเป็นจุดสนใจสำคัญของนโยบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนับแต่ถือกำเนิดขึ้น มีอาวุธนิวเคลียร์เพียงสองชิ้นเท่านั้นที่เคยใช้ตลอดห้วงการสงคราม ทั้งสองครั้งโดยสหรัฐอเมริกายามสงครามโลกครั้งที่สองใกล้ยุติ วันที่ 6 สิงหาคม..

ใหม่!!: สงครามเย็นและอาวุธนิวเคลียร์ · ดูเพิ่มเติม »

อาณานิคม

ในทางการเมืองและประวัติศาสตร์ อาณานิคม (Colony) หมายถึงดินแดนที่อยู่ภายใต้การควบคุมทางการเมืองของรัฐๆหนึ่ง ไม่มีอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเอง อาณานิคมสามารถเกิดขึ้นได้จาก 2 กรณีคือ กรณีแรกคือการจัดตั้งอาณานิคม ในอดีต เจ้าอาณานิคมมักส่งคณะบุกเบิกไปตั้งอาณานิคมในดินแดนที่ไม่มีเจ้าของ กรณีที่สองคือการเข้ายึดครองดินแดนซึ่งเดิมอาจเคยเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์ของตนเองมาก่อน หรืออาจมีชนพื้นเมืองอาศัยอยู่ก่อน อย่างไรก็ตาม วัตถุประสงค์หลักของการมีอาณานิคม คือการแสวงหาทรัพยากรและผลประโยชน์ป้อนแก่แผ่นดินบ้านเกิดของเจ้าอาณานิคมที่เรียกว่า "แผ่นดินแม่" อาณานิคมไม่เหมือนกับ รัฐหุ่นเชิด หรือ รัฐบริวาร เนื่องจากอาณานิคมไม่ได้มีฐานะเป็น รัฐ จึงไม่มีจุดยืนในเวทีระหว่างประเทศ เนื่องจากฝ่ายบริหารสูงสุดของอาณานิคม ยังคงต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของแผ่นดินแม่ ในปัจจุบัน อาณานิคมที่มีอยู่ทั้งหมดเป็นอาณานิคมโพ้นทะเล รัฐบาลกลางบางประเทศ อาจยินยอมให้อาณานิคมมีรัฐบาลเป็นของตนเองซึ่งเป็นการลดภาระของรัฐบาลกลาง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า รัฐบาลอาณานิคมจะดูแลทุกอย่างภายในอาณานิคม ด้านกฎหมาย, การคลัง, กลาโหม, ต่างประเทศ ยังคงถูกกำหนดจากรัฐบาลกลาง.

ใหม่!!: สงครามเย็นและอาณานิคม · ดูเพิ่มเติม »

จอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุช

อร์จ เฮอร์เบิร์ต วอล์กเกอร์ บุช (George Herbert Walker Bush) เป็นประธานาธิบดีคนที่ 41 ของสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2532-พ.ศ. 2536) และเป็นบิดาของจอร์จ ดับเบิลยู. บุช ประธานาธิบดีคนที่ 43 จอร์จ บุช เป็นรองประธานาธิบดีให้กับประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน จากพรรคริพับลิกัน และลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีหลังจากหมดสมัยของเรแกน เหตุการณ์สำคัญในสมัยของเขาคือสงครามอ่าวเปอร์เซีย จอร์จ บุช จบจากมหาวิทยาลัยเยล เคยเป็นนักบินในสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำองค์การสหประชาชาติ เคยเป็นผู้อำนวยการใหญ่ซีไอเอ.

ใหม่!!: สงครามเย็นและจอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุช · ดูเพิ่มเติม »

ขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด

วนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (Non-Aligned Movement; NAM) เป็นองค์การระหว่างประเทศที่มีนโยบายว่าจะไม่เป็นพันธมิตรหรือต่อต้านกับขั้วอำนาจฝ่ายใด เป็นผลสืบเนื่องจากแนวคิดของชวาหระลาล เนห์รู นายกรัฐมนตรีคนแรกของอินเดีย, ญะมาล อับดุนนาศิร อดีตประธานาธิบดีของอียิปต์ และยอซีป บรอซ ตีโต ประธานาธิบดีของยูโกสลาเวีย ขบวนการนี้ก่อตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: สงครามเย็นและขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด · ดูเพิ่มเติม »

ความพยายามรัฐประหารในสหภาพโซเวียต พ.ศ. 2534

วามพยายามรัฐประหารในสหภาพโซเวียต..

ใหม่!!: สงครามเย็นและความพยายามรัฐประหารในสหภาพโซเวียต พ.ศ. 2534 · ดูเพิ่มเติม »

ความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอล

วามขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอล (الصراع العربي الإسرائيلي Al-Sura'a Al'Arabi A'Israili; הסכסוך הישראלי-ערבי Ha'Sikhsukh Ha'Yisraeli-Aravi) หมายถึงความตึงเครียดทางการเมืองและความขัดแย้งทางทหารระหว่างสันนิบาตอาหรับและอิสราเอล และระหว่างชาวอาหรับกับชาวอิสราเอล ต้นตอของความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลสมัยใหม่นี้เกิดจากความรุ่งเรืองของขบวนการไซออนิสต์และลัทธิชาตินิยมอาหรับช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ดินแดนที่ชาวยิวมองว่าเป็นบ้านเกิดทางประวัติศาสตร์ของพวกตนนั้น ก็ถูกมองโดยขบวนการรวมอาหรับว่าเป็นดินแดนประวัติศาสตร์ ซึ่งปัจจุบันเป็นของชาวอาหรับปาเลสไตน์ และเป็นดินแดนของมุสลิมในบริบทรวมอิสลาม ความขัดแย้งระหว่างชาวยิวและชาวอาหรับปาเลสไตน์อุบัติขึ้นในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ระหว่างเหตุจลาจลนบีมูซาเมื่อปี 1920 และบานปลายเป็นสงครามกลางเมืองเต็มขั้นในปี 1947 และขยายเป็นประเทศสันนิบาตอาหรับทั้งหมดเมื่อมีการสถาปนารัฐอิสราเอลสมัยใหม่ขึ้นในเดือนพฤษภาคม 1948 เมื่อเวลาผ่านไป ความขัดแย้งดังกล่าว ซึ่งเริ่มต้นเป็นความขัดแย้งทางการเมืองและชาตินิยมเหนือความปรารถนาดินแดนที่แข่งกันหลังจักรวรรดิออตโตมันล่มสลาย ได้เปลี่ยนแปลงจากความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลในภูมิภาคเต็มขั้น ไปเป็นความขัดแย้งอิสราเอล-ปาเลสไตน์ที่จำกัดบริเวณกว่า โดยความเป็นปรปักษ์เต็มขั้นส่วนใหญ่สิ้นสุดลงด้วยการหยุดยิง หลังสงครามเดือนตุลาคม ปี 1973 ต่อมา มีการลงนามความตกลงสันติภาพระหว่างอิสราเอลกับอียิปต์ในปี 1979 และอิสราเอลกับจอร์แดนในปี 1994 ข้อตกลงออสโลนำไปสู่การสถาปนาองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ในปี 1993 แม้จะยังไม่บรรลุความตกลงสันติภาพขั้นสุดท้ายก็ตาม ปัจจุบัน การหยุดยิงยังมีผลระหว่างอิสราเอลกับซีเรีย เช่นเดียวกับเลบานอนที่เพิ่งลงนามไป (ตั้งแต่ปี 2006) ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับกาซาที่ปกครองโดยฮามาส แม้จะไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสันนิบาตอาหรับ แต่โดยปกตินับเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งอิสราเอล-ปาเลสไตน์ จึงเป็นความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลด้วย แม้จะบรรลุความตกลงสันติภาพและการหยุดยิงต่าง ๆ แต่โลกอาหรับและอิสราเอลโดยทั่วไปยังหมางใจกันอยู่เหนือบางดินแดน.

ใหม่!!: สงครามเย็นและความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอล · ดูเพิ่มเติม »

ความแตกแยกระหว่างจีน–โซเวียต

เหมา เจ๋อ ตุงและนิกิตา ครุสชอฟในจีน 1958 ความแตกแยกระหว่างจีน-โซเวียต (Sino-Soviet split, Советско-китайский раскол) (1960-1989) เป็นความเสื่อมของความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีน (P.R.C.) และสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (U.S.S.R.) ซึ่งมีสาเหตุเกิดจากความแตกต่างจากการตีความแตกต่างกันของลัทธิมากซ์-เลนินซึ่งเป็นอิทธิพลในการปกครองของจีนและโซเวียตChambers Dictionary of World History, B.P. Lenman, T. Anderson editors, Chambers: Edinburgh:2000.

ใหม่!!: สงครามเย็นและความแตกแยกระหว่างจีน–โซเวียต · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: สงครามเย็นและประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศตุรกี

ประเทศตุรกี (Turkey; Türkiye ทือรคีเย) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐตุรกี (Republic of Turkey; Türkiye Cumhuriyeti) เป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภาในยูเรเซีย พื้นที่ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันตก โดยมีส่วนน้อยในอีสเทรซในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศตุรกีมีพรมแดนติดต่อกับ 8 ประเทศ ได้แก่ ประเทศซีเรียและอิรักทางใต้ ประเทศอิหร่าน อาร์มีเนียและดินแดนส่วนแยกนาคีชีวันของอาเซอร์ไบจานทางตะวันออก ประเทศจอร์เจียทางตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศบัลแกเรียทางตะวันตกเฉียงเหนือ และประเทศกรีซทางตะวันตก ทะเลดำอยู่ทางเหนือ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางใต้ และทะเลอีเจียนทางตะวันตก ช่องแคบบอสฟอรัส ทะเลมาร์มะราและดาร์ดะเนลส์ (รวมกันเป็นช่องแคบตุรกี) แบ่งเขตแดนระหว่างเทรซและอานาโตเลีย และยังแยกทวีปยุโรปกับทวีปเอเชีย ที่ตั้งของตุรกี ณ ทางแพร่งของยุโรปและเอเชียทำให้ตุรกีมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างยิ่ง ประเทศตุรกีมีผู้อยู่อาศัยมาตั้งแต่ยุคหินเก่า มีอารยธรรมอานาโตเลียโบราณต่าง ๆ เอโอเลีย โดเรียและกรีกไอโอเนีย เทรซ อาร์มีเนียและเปอร์เซีย หลังการพิชิตของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ดินแดนนี้ถูกทำให้เป็นกรีก เป็นกระบวนการซึ่งสืบต่อมาภายใต้จักรวรรดิโรมันและการเปลี่ยนผ่านสู่จักรวรรดิไบแซนไทน์ เติร์กเซลจุคเริ่มย้ายถิ่นเข้ามาในพื้นที่ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 เริ่มต้นกระบวนการทำให้เป็นเติร์ก ซึ่งเร่งขึ้นมากหลังเซลจุคชนะไบแซนไทน์ที่ยุทธการที่มันซิเคิร์ต..

ใหม่!!: สงครามเย็นและประเทศตุรกี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเยอรมนี

ประเทศเยอรมนี (Germany; Deutschland ดอยฺชลันฺท) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Federal Republic of Germany; Bundesrepublik Deutschland) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐแบบรัฐสภาในยุโรปกลาง มีรัฐองค์ประกอบ 16 รัฐ มีพื้นที่ 357,021 ตารางกิโลเมตร และมีภูมิอากาศตามฤดูกาลแบบอบอุ่นเป็นส่วนใหญ่ มีประชากรประมาณ 82 ล้านคน ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในสหภาพยุโรป ประเทศเยอรมนีเป็นจุดหมายการเข้าเมืองยอดนิยมอันดับสองในโลกรองจากสหรัฐ เมืองหลวงและมหานครใหญ่สุดของประเทศคือ กรุงเบอร์ลิน ขณะที่เขตเมืองขยายใหญ่สุด คือ รูร์ โดยมีศูนย์กลางหลักดอร์ทมุนด์และเอสเซิน นครหลักอื่นของประเทศ ได้แก่ ฮัมบวร์ค มิวนิก โคโลญ แฟรงก์เฟิร์ต ชตุทท์การ์ท ดึสเซิลดอร์ฟ ไลพ์ซิจ เบรเมิน เดรสเดิน ฮันโนเฟอร์และเนือร์นแบร์ก ประเทศนี้มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเชิงเสรีภาพและรัฐสวัสดิการ พรมแดนทางทิศเหนือติดทะเลเหนือ เดนมาร์ก และทะเลบอลติก ทิศตะวันออกติดโปแลนด์และเช็กเกีย ทิศใต้ติดออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ ทิศตะวันตกติดฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ มีเมืองหลวงและเมืองใหญ่ของประเทศคือเบอร์ลิน เยอรมนีมีประชากรประมาณ 80 ล้านคนและเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นประชากรสูงสุดแห่งหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นประเทศที่มีคนย้ายถิ่นมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก หลังจากที่สหรัฐอเมริกาเยอรมนีเป็นปลายทางการย้ายถิ่นที่สองได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก เยอรมนีเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและยังก่อตั้งสหภาพการเงินกับสมาชิกในสหภาพยุโรปอีก 17 ประเทศ โดยใช้ชื่อว่ายูโรโซน เยอรมนีเป็นสมาชิกของกลุ่ม UNO, OECD, NATO, G7 และ G20 เยอรมนีเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อประเทศอื่นๆในยุโรปและเป็นประเทศที่มีความสามารถที่จะแข่งขันในระดับโลก หากวัดจากผลผลิตมวลรวมภายในประเทศแบบปกติแล้ว เยอรมนีเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก ในปี 2012 เป็นประเทศที่มีการนำเข้าส่งออกมากที่สุดเป็นอันดับสาม ดัชนีการพัฒนามนุษย์ถือว่าสูงมาก.

ใหม่!!: สงครามเย็นและประเทศเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

ปรากสปริง

อเล็กซานเดอร์ ดุปเชค บุกเชโกสโลวาเกีย เหตุการณ์ปรากสปริง ปรากสปริง (Prague Spring, Pražské jaro, Pražská jar) เป็นช่วงเวลาของการเปิดเสรีทางการเมืองในเชโกสโลวาเกีย ในยุคของการปกครองของสหภาพโซเวียตหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เริ่มต้นเมื่อวันที่ 5 มกราคม..

ใหม่!!: สงครามเย็นและปรากสปริง · ดูเพิ่มเติม »

นาซีเยอรมนี

นาซีเยอรมนี (Nazi Germany) หรือ ไรช์ที่สาม (Drittes Reich) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ไรช์เยอรมัน (Deutsches Reich) เป็นชื่อเรียกยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์เยอรมนีระหว่างปี 1933 ถึง 1945 เมื่อประเทศเยอรมนีอยู่ภายใต้การควบคุมระบอบเผด็จการของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ในการปกครองของฮิตเลอร์ ประเทศเยอรมนีกลายเป็นรัฐฟาสซิสต์ซึ่งควบคุมแทบทุกแง่มุมของชีวิต นาซีเยอรมนีล่มสลายหลังฝ่ายสัมพันธมิตรพิชิตเยอรมนีในเดือนพฤษภาคม 1945 ซึ่งยุติสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ เพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์กแต่งตั้งฮิตเลอร์เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มกราคม 1933 จากนั้น พรรคนาซีเริ่มกำจัดคู่แข่งทางการเมืองและรวบอำนาจ ฮินเดนบูร์กถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 1934 และฮิตเลอร์เป็นผู้เผด็จการแห่งเยอรมนีโดยการรวมอำนาจและตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดี มีการจัดการลงประชามติทั่วประเทศเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 1934 ทำให้ฮิตเลอร์เป็นฟือเรอร์ (ผู้นำ) เยอรมนีเพียงผู้เดียว อำนาจเบ็ดเสร็จทั้งหมดรวมอยู่ในมือของฮิตเลอร์ และคำของเขาอยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง รัฐบาลมิได้เป็นหน่วยที่ร่วมมือประสานกัน หากแต่เป็นหมู่กลุ่มแยกต่าง ๆ ที่แก่งแย่งอำนาจและความนิยมจากฮิตเลอร์ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ นาซีฟื้นฟูเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและยุติการว่างงานขนานใหญ่โดยใช้รายจ่ายทางทหารอย่างหนักและเศรษฐกิจแบบผสม มีการดำเนินการโยธาสาธารณะอย่างกว้างขวาง รวมการก่อสร้างเอาโทบาน การคืนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจส่งเสริมความนิยมของรัฐบาลให้เพิ่มพูนขึ้น คตินิยมเชื้อชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การต่อต้านยิว เป็นลักษณะหัวใจของนาซีเยอรมนี โดยถือว่า กลุ่มชนเจอร์มานิค หรือเชื้อชาตินอร์ดิก (Nordic race) เป็นเชื้อชาติอารยันซึ่งบริสุทธิ์ที่สุด ฉะนั้นจึงเป็นเชื้อชาติปกครอง (master race) ชาวยิวและชนกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกเบียดเบียนหรือฆ่า และการค้านการปกครองของฮิตเลอร์ถูกปราบปรามอย่างโหดเหี้ยม สมาชิกฝ่ายค้านเสรีนิยม สังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ถูกฆ่า จำคุกหรือเนรเทศ โบสถ์คริสต์ก็ถูกกดขี่เช่นกัน โดยผู้นำหลายคนถูกจำคุก การศึกษามุ่งเน้นชีววิทยาเชื้อชาติ นโยบายประชากร และสมรรถภาพทางกายสำหรับราชการทหาร โอกาสในอาชีพและการศึกษาของสตรีถูกตัดทอน มีการจัดนันทนาการและการท่องเที่ยวผ่านโครงการความแข็งแรงผ่านความรื่นเริง (Strength Through Joy) มีการใช้โอลิมปิกฤดูร้อน 1936 เป็นตัวนำเสนอไรช์ที่สามในเวทีระหว่างประเทศ รัฐมนตรีโฆษณาการ โยเซฟ เกิบเบิลส์ ใช้ภาพยนตร์ การชุมนุมมวลชน และวาทศิลป์จับจิตของฮิตเลอร์เพื่อควบคุมมติมหาชนอย่างได้ผล รัฐบาลควบคุมการแสดงออกทางศิลปะ โดยสนับสนุนศิลปะบางรูปแบบ แต่ขัดขวางหรือห้ามศิลปะรูปแบบอื่น เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 นาซีเยอรมนีเรียกร้องดินแดนอย่างก้าวร้าวมากขึ้นเรื่อย ๆ และขู่ทำสงครามหากไม่สนองข้อเรียกร้อง เยอรมนียึดออสเตรียและเชโกสโลวาเกียในปี 1938 และ 1939 ฮิตเลอร์ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกับโจเซฟ สตาลิน และบุกครองโปแลนด์ในเดือนกันยายน 1939 เป็นการเปิดฉากสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป เยอรมนีเข้าเป็นพันธมิตรกับอิตาลีและฝ่ายอักษะที่เล็กกว่าและพิชิตทวีปยุโรปส่วนใหญ่เมื่อถึงปี 1940 และคุกคามสหราชอาณาจักร ไรช์ซคอมมิสซารีอัทควบคุมพื้นที่ที่ถูกพิชิตอย่างโหดร้ายและมีการสถาปนาการปกครองของเยอรมนีในประเทศโปแลนด์ที่เหลืออยู่ ชาวยิวและกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกจำคุกในค่ายกักกันและค่ายกำจัดนาซี การนำนโยบายเชื้อชาติของระบอบไปปฏิบัติลงเอยด้วยการสังหารชาวยิวและชนกลุ่มน้อยอื่นเป็นอันมากในฮอโลคอสต์ หลังการรุกรานสหภาพโซเวียตในปี 1941 นาซีเยอรมนีก็เริ่มเป็นรอง และปราชัยทางทหารสำคัญหลายครั้งในปี 1943 การทิ้งระเบิดทางอากาศต่อประเทศเยอรมนีทวีขึ้นในปี 1944 และฝ่ายอักษะถอยจากยุโรปตะวันออกและยุโรปใต้ หลังการบุกครองฝรั่งเศสของสัมพันธมิตร ประเทศเยอรมนีถูกโซเวียตจากทิศตะวันออกและฝ่ายสัมพันธมิตรจากทิศตะวันตกพิชิตและยอมจำนนในหนึ่งปี การที่ฮิตเลอร์ปฏิเสธยอมรับความปราชัยนำให้โครงสร้างพื้นฐานของเยอรมนีถูกทำลายล้างขนานใหญ่และการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสงครามเพิ่มในเดือนท้าย ๆ ของสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้กำชัยริเริ่มนโยบายขจัดความเป็นนาซี (denazification) และนำผู้นำนาซีที่เหลือรอดหลายคนมาพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก ส่วนประเทศเยอรมนีถูกยึดครองโดยมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรคือ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: สงครามเย็นและนาซีเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

แผนมาร์แชลล์

แผนมาร์แชลล์ (Marshall Plan) หรือชื่อทางการคือ แผนงานฟื้นฟูยุโรป (European Recovery Programme: ERP) เกิดขึ้นเมื่อ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1947 ของนายพล จอร์จ แคตเลตต์ มาร์แชลล์ (George Catlett Marshall) เป็นโครงการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาแก่ยุโรปตะวันตก เพื่อป้องกันการพังทลายทางเศรษฐกิจ และเพื่อฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมรัฐชาติของยุโรปตะวันตกขึ้นมาใหม่ โดยในแผนมาร์แชลล์นี้ยุโรปได้รับมากกว่า 12 พันล้านดอลลาร์ทั้งในรูปเงินกู้และเงินช่วยเหลือตลอดระยะเวลาระหว่างปี ค.ศ. 1948-1951 แผนมาร์แชลล์อย่างเป็นทางการโปรแกรมกู้ยุโรปที่เรียกว่าช่วยมาร์แชลล์เป็นโปรแกรมช่วยสหรัฐมุ่งเป้าไปที่ยุโรปซึ่งเปิดตัวในปี 1947 หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองโดยสหรัฐอเมริกาเลขานุการของรัฐโปรแกรมจอร์จมาร์แชลล์ได้ริเริ่มขึ้นหลังจากที่มาร์แชลล์ได้รับเมื่อสัปดาห์ที่หก การเดินทางไปทั่วยุโรปซึ่งเขาก็เชื่อว่าทวีปสงครามฉีกขาดไม่สามารถอยู่รอดได้โดยปราศจากความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกาและสั่งขนาดใหญ่โปรแกรมการช่วยเหลือสหรัฐ แผนเปิดตัวโดยมาร์แชลล์ในการพูดที่ Harvard University 5 มิถุนายน 1947 แต่ทว่าทางสหภาพโซเวียตได้มองแผนมาร์แชลล์ว่า เป็นแผนอุบายอันแยบยลของสหรัฐอเมริกาที่จะดึงประเทศอันเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออกเพื่อเปลี่ยนการปกครองเป็นประชาธิปไตยแทน จึงได้บังคับเหล่าประเทศบริวารในยุโรปตะวันออกไม่ให้ยอมรับแผนมาร์แชลและเริ่มดำเนินแผนโมโลตอฟคือการฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจตามแบบคอมมิวนิสต์แทน อันเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามเย็น.

ใหม่!!: สงครามเย็นและแผนมาร์แชลล์ · ดูเพิ่มเติม »

โครงการอวกาศโซเวียต

รวดอาร์-7 โครงการอวกาศโซเวียต ประกอบด้วยการพัฒนา จรวด และ การสำรวจอวกาศเป็นโครงการที่จัดทำโดยอดีต สหภาพโซเวียตจากช่วงทศวรรษที่ 1930 จนถึงการ สลายตัว ในปี..

ใหม่!!: สงครามเย็นและโครงการอวกาศโซเวียต · ดูเพิ่มเติม »

โคเรียนแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 007

รียนแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 007 (หรือ KAL 007 หรือ KE 007) เป็นเที่ยวบินของโคเรียนแอร์ไลน์ตามกำหนดการจากนครนิวยอร์กสู่โซล แวะพักที่แองเคอเรจ วันที่ 1 กันยายน 2526 เครื่องบินโดยสารของเที่ยวบินดังกล่าวถูกเครื่องบินสกัดกั้นซู-15 ของสหภาพโซเวียตยิงตกใกล้เกาะโมเนรอน ทางตะวันตกของเกาะซาฮาลิน ในทะเลญี่ปุ่น นักบินของเครื่องบินสกัดกั้นลำนั้น คือ นาวาอากาศตรี เกนนาดี โอซีโปวิช ผู้โดยสารและลูกเรือทั้ง 269 คนบนเครื่องเสียชีวิต รวมทั้งลอว์เรนซ์ แมคโดนัลด์ ผู้แทนรัฐจอร์เจียในสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐอเมริกา อากาศยานลำดังกล่าวกำลังอยู่ในเส้นทางจากแองเคอเรจสู่โซลเมื่อบินผ่านน่านฟ้าโซเวียตที่ถูกห้ามในเวลาไล่เลี่ยกับภารกิจสอดแนมของสหรัฐ ทีแรก สหภาพโซเวียตปฏิเสธรู้เห็นเหตุการณ์ดังกล่าว แต่ภายหลังยอมรับการยิง โดยอ้างว่าอากาศยานดังกล่าวอยู่ระหว่างภารกิจสอดแนม โปลิตบูโรแถลงว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นการยั่วยุโดยเจตนาของสหรัฐ เพื่อทดสอบความพร้อมทางทหารของสหภาพโซเวียต หรือกระทั่งยั่วยุให้เกิดสงคราม ทำเนียบขาวกล่าวหาสหภาพโซเวียตว่าขัดขวางปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยCongressional Record, September 20, 1983, pp.

ใหม่!!: สงครามเย็นและโคเรียนแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 007 · ดูเพิ่มเติม »

เบอร์ลินตะวันออก

อร์ลินตะวันออก ฤดูร้อน ค.ศ. 1989 เบอร์ลินตะวันออก เป็นชื่อที่เรียกส่วนตะวันออกของเบอร์ลินระหว่างปี ค.ศ. 1949 ถึง 1990 ประกอบด้วยเขตเบอร์ลินใต้ปกครองของโซเวียตซึ่งก่อตั้งใน..

ใหม่!!: สงครามเย็นและเบอร์ลินตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

เบอร์ลินตะวันตก

แสดงอาณาเขตของกรุงเบอร์ลินที่อยู่ในการปกครองของประเทศต่างๆ โดยที่เบอร์ลินตะวันตกจะแสดงด้วยสีน้ำเงิน ม่วงและฟ้า เบอร์ลินตะวันตก เป็นชื่อเรียกของฝั่งตะวันตกของเมืองเบอร์ลิน ในช่วงปี ค.ศ. 1949 ถึง ปี ค.ศ. 1990.

ใหม่!!: สงครามเย็นและเบอร์ลินตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

เปเรสตรอยคา

''เปเรสตรอยคา'' ในไปรษณียากรของสหภาพโซเวียต ในปี 1988 เปเรสตรอยคา (перестро́йка, Perestroika) เป็นขบวนการทางการเมืองเพื่อการปฏิรูปภายในพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1980 ซึ่งสัมพันธ์กับผู้นำโซเวียต มีฮาอิล กอร์บาชอฟ และการปฏิรูปนโยบายกลัสนอสต์ของเขา มีความหมายตามอักษรว่า "การปรับโครงสร้าง" ซึ่งหมายถึง การปรับโครงสร้างระบบการเมืองและเศรษฐกิจของโซเวียต มักแย้งว่าเปเรสตรอยคาเป็นสาเหตุแห่งการล่มสลายของสหภาพโซเวียต การปฏิวัต..

ใหม่!!: สงครามเย็นและเปเรสตรอยคา · ดูเพิ่มเติม »

เนโท

องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Treaty Organization; Organisation du traité de l'Atlantique nord) ย่อว่า เนโท (NATO) หรือ ออต็อง (OTAN) หรือ นาโต (ตามที่คนไทยเรียก) เป็นพันธมิตรทางทหารระหว่างรัฐบาล ก่อตั้งเมื่อวันที่ 4 เมษายน..

ใหม่!!: สงครามเย็นและเนโท · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Cold Warยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »