โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ศุภะ สุขะ ไจนะ

ดัชนี ศุภะ สุขะ ไจนะ

"ศุภะ สุขะ ไจนะ" เป็นชื่อเพลงชาติ (قومی ترانہ) ของรัฐบาลเฉพาะกาลแห่งอินเดียอิสระ (Arzi Hukumat-e-Azad Hind เรียกโดยย่อ Azad Hind) เพลงนี้มีพื้นฐานมาจากบทกวี ชนะ คณะ มนะ ซึ่งเป็นบทกวีภาษาเบงกาลีดัดแปลงเป็นภาษาสันสกฤต ผลงานของรพินทรนาถ ฐากูร หลังจากย้ายการเคลื่อนไหวจากเยอรมนีมาสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปี ค.ศ. 1943 สุภาษ จันทระ โพส โดยความช่วยเหลือของมุมตัซ ฮุสเซ็น (Mumtaz Hussain) นักเขียนประจำสถานีวิทยุอินเดียอิสระ และพันเอกอะบิด ฮะซัน ซัฟฟรานี (Abid Hassan Saffrani) แห่งกองทัพแห่งชาติอินเดีย เขาได้เขียนเพลงชนะ คณะ มนะ ของฐากูรขึ้นใหม่เป็นภาษาฮินดูสตานี ในชื่อ "ศุภะ สุขะ ไจนะ" เพื่อใช้เป็นเพลงชาติ เนตาชี (ฉายาของสุภาษ จันทระ โพส) ให้ความสำคัญกับบทเพลงไว้ในฐานะที่มาของพลังในในการเตรียมใจสู้จนถึงที่สุด เขาได้ลงมายังสถานีวิทยุกระจายเสียงกองทัพแห่งชาติอินเดีย ณ อาคารคาเธย์บิลดิ้ง ในประเทศสิงคโปร์ และให้ร้อยเอกราม สิงห์ ฐากูร (Ram Singh Thakur) ประพันธ์ทำนองสำหรับใช้กับเพลงที่ได้แปลมาจากผลงานต้นฉบับภาษาเบงกาลีของรพินทรนาถ ฐากูร โดยขอให้เขาแต่งเป็นทำนองมาร์ชซึ่งไม่ทำให้คนฟังแล้วหลับ แต่ปลุกคนที่หลับอยู่ให้ตื่นขึ้นมาแทน ต่อมาอินเดียได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1947 ในวันถัดมา ชวาหระลาล เนห์รู ได้ชักธงติรังคะขึ้นเหนื้อเชิงเทินป้อมแดงเมืองเดลลี และกล่าวคำปราศรัยต่อประชาชาติ ในโอกาสนี้ ร้อยเอกราม สิงห์ ฐากูร ได้รับเชิญให้เล่นทำนอง "เพลงชาติ" (Qaumi Tarana) ของกองทัพแห่งชาติอินเดียพร้อมกับวงออร์เคสตร้าของเขาเป็นกรณีพิเศษ.

29 ความสัมพันธ์: ชวาหะร์ลาล เนห์รูชนะ คณะ มนะพ.ศ. 2484พ.ศ. 2485พ.ศ. 2486พ.ศ. 2490พ.ศ. 2493ภาษาสันสกฤตภาษาฮินดูสตานีภาษาเบงกาลีมุสลิมรพินทรนาถ ฐากุรวันเดมาตรัมศาสนาฮินดูสุภาษ จันทระ โพสสงครามโลกครั้งที่สองอักษรเทวนาครีอามาร์ โชนาร์ บังกลาฮัมบวร์คธงชาติอินเดียประเทศสิงคโปร์ประเทศเยอรมนีป้อมแดงเพลงชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้11 กันยายน15 สิงหาคม2 พฤศจิกายน24 มกราคม

ชวาหะร์ลาล เนห์รู

วาหะร์ลาล เนห์รู (जवाहरलाल नेहरू ชวาหรลาล เนหรู; Jawaharlal Nehru; 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1889 – 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1964) รัฐบุรุษของอินเดีย และนายกรัฐมนตรีคนแรก หลังได้รับเอกราชจากอังกฤษ ดำรงตำแหน่งเป็นเวลา 17 ปี ตั้งแต..

ใหม่!!: ศุภะ สุขะ ไจนะและชวาหะร์ลาล เนห์รู · ดูเพิ่มเติม »

ชนะ คณะ มนะ

"ชนะ คณะ มนะ" (জন গণ মন, Jôno Gôno Mono; แปลว่า "จิตใจแห่งปวงชน") เป็นชื่อของเพลงชาติแห่งสาธารณรัฐอินเดีย บทเพลงนี้เขียนขึ้นด้วยภาษาเบงกาลีสันสกฤตและประพันธ์ทำนองโดยรพินทรนาถ ฐากูร นักเขียนรางวัลโนเบลชาวเบงกาลี โดยบทที่นำมาใช้เป็นเพลงชาตินี้นำมาจากบทแรกของเพลงเดิมซึ่งเป็นเพลงสรรเสริญแบบพฺราหฺมะ (ব্রাহ্ম, Brahmo) ของแคว้นเบงกอล มีเนื้อหาทั้งหมด 5 บท เพลงดังกล่าวได้มีการขับร้องอย่างเป็นทางการครั้งแรกในที่ประชุมคองเกรสแห่งชาติของอินเดีย (Indian National Congress) ที่เมืองกัลกัตตา เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ. 1911 ภายหลังเพลง "ชนะ คณะ มนะ" ได้รับการยอมรับให้ใช้เป็นเพลงชาติอินเดียอย่างเป็นทางการโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 24 มกราคม ค.ศ. 1950 Ganpuley's Memoirs.1983.

ใหม่!!: ศุภะ สุขะ ไจนะและชนะ คณะ มนะ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2484

ทธศักราช 2484 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1941 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: ศุภะ สุขะ ไจนะและพ.ศ. 2484 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2485

ทธศักราช 2485 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1942 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: ศุภะ สุขะ ไจนะและพ.ศ. 2485 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2486

ทธศักราช 2486 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1943.

ใหม่!!: ศุภะ สุขะ ไจนะและพ.ศ. 2486 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2490

ทธศักราช 2490 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1947.

ใหม่!!: ศุภะ สุขะ ไจนะและพ.ศ. 2490 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2493

ทธศักราช 2493 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1950 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ศุภะ สุขะ ไจนะและพ.ศ. 2493 · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสันสกฤต

ษาสันสกฤต เป็นภาษาที่รับอิทธิพลมาจากอินเดียและส่งผลมาถึงอาณาจักรในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (संस्कृता वाक्, สํสฺกฺฤตา วากฺ; Sanskrit) เป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน (หรืออินเดีย-ยุโรป) สาขาย่อยอินโด-อิเรเนียน (อินเดีย-อิหร่าน) และอยู่ในกลุ่มย่อยอินโด-อารยัน (อินเดีย-อารยะ) โดยมีระดับวิวัฒนาการในระดับใกล้เคียงกับภาษาละตินและภาษากรีก เป็นต้น โดยทั่วไปถือว่าเป็นภาษาที่ตายแล้ว ทว่ายังมีผู้ใช้ภาษาสันสกฤตอยู่บ้างในแวดวงที่จำกัดในประเทศอินเดีย เช่น หมู่บ้านมัททูร์ ในรัฐกรณาฏกะ โดยมีการคิดคำศัพท์ใหม่ๆ ขึ้นมาด้วย ในศาสนาฮินดูเชื่อว่า ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาสื่อที่เทพเจ้าใช้สื่อสารกับมวลมนุษย์ เพื่อถ่ายทอดความรู้แจ้งและปัญญาญาณแก่เหล่าฤๅษีทั้งหลายแต่ครั้งดึกดำบรร.

ใหม่!!: ศุภะ สุขะ ไจนะและภาษาสันสกฤต · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฮินดูสตานี

ภาษาฮินดูสตานี (เทวนาครี: हिन्दुस्तानी; อาหรับ: ہندوستانی) เป็นคำที่เกิดในสมัยที่อังกฤษครอบครองอินเดียและปากีสถาน โดยอังกฤษนำภาษาฮินดีกับภาษาอูรดูมารวมกันแล้วให้ชื่อว่าฮินดูสตานี เขียนได้ทั้งอักษรไกถี อักษรเทวนาครี และอักษรอาหรับ แต่คำศัพท์และไวยากรณ์ของสองภาษานั้นแตกต่างกันมาก เนื่องจากภาษาฮินดีได้รับอิทธิพลมาจากภาษาสันสกฤตและภาษาปรากฤต แต่ภาษาอูรดูได้รับอิทธิพลมาจากภาษาเปอร์เซียและภาษาอาหรับ ในทางภาษาศาสตร์จึงไม่ถือว่าเป็นภาษาใหม่ ปัจจุบันยังคงแยกเป็นภาษาฮินดีซึ่งเป็นภาษาทางการของอินเดีย และภาษาอูรดูซึ่งเป็นภาษาทางการของปากีสถาน ฮินดูสตานี.

ใหม่!!: ศุภะ สุขะ ไจนะและภาษาฮินดูสตานี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเบงกาลี

ษาเบงกาลี (বাংলা, บังคลา) เป็นภาษาที่พูดโดยประชากรของประเทศบังคลาเทศ และรัฐเบงกอลตะวันตกในประเทศอินเดีย ที่ติดกับบังคลาเทศ นอกจากนี้ยังมีชุมชนของคนที่พูดภาษาเบงกอลที่ใหญ่พอควรในรัฐอัสสัม (อีกรัฐในอินเดีย ติดกับทั้งรัฐเบงกอลตะวันตกและประเทศบังคลาเทศ) และในประชากรที่อพยพไปทางตะวันตกและตะวันออกกลาง รูปแบบมาตรฐานของภาษานี้เรียกว่า cholit bhaashaa: จลิตภาษา เป็นภาษาย่อยที่พูดกันมากที่สุด มีแบบมาจาก "Calcutta Bengali" (ภาษาเบงกอลที่พูดในเมืองกัลกัตตา) ในประเทศบังกลาเทศ เขียนด้วยอักษรเบงกาลี ในภาษาอังกฤษ Bengali ใช้เรียกทั้งภาษาและคนที่พูดภาษานี้ ในภาษาเบงกาลีเองเรียกภาษาว่า Bangla: บังคลา (বাঙলা), ซึ่งเป็นคำที่เริ่มใช้มากขึ้นในภาษาอังกฤษ ส่วนในภาษาบังคลา ชาวเบงกอลเรียกว่า Bangali: บางกาลี (বাংলা) ถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมเนียมของชาวเบงกาลีเรียกว่า Bengal: เบงกอล ในภาษาอังกฤษ และ Bongo: บองโก Banga: บางกา หรือ Bangla: บังคลา ในภาษาเบงกาลี "Bangadesh: บางกาเทศ" และ "Bangladesh: บังคลาเทศ" เป็นคำที่ใช้เรียกภูมิภาคของชาวเบงกอลก่อนที่จะมีการแยกเป็นสองส่วน คือ เบงกอลตะวันตก (West Bengal หรือ Poshchim Bongo: ปอจิม บองโก หรือ ประจิมบังกา) ซึ่งได้กลายเป็นรัฐของอินเดีย และส่วนตะวันออก (เบงกอลตะวันออก: East Bengal หรือ Purbo Bongo: ปูร์โบ บองโก หรือ บูรพาบังกา) กลายเป็นประเทศบังคลาเทศ เนื่องจากมีผู้ใช้ภาษาเบงกาลีมากกว่า250ล้านคนทั่วโลก ชีค ฮาซินา วาเจด นายกรัฐมนตรีบังกลาเทศ เสนอเมื่อ เดือนกันยายน..

ใหม่!!: ศุภะ สุขะ ไจนะและภาษาเบงกาลี · ดูเพิ่มเติม »

มุสลิม

มุสลิม ผู้นับถือศาสนาอิสลาม หากเป็นบุรุษจะเรียกว่า มุสลิม หรือเป็นสตรีจะเรียกว่า มุสลิมะฮ์ หรือเรียกโดยรวมว่า อิสลามิกชน คำว่า "มุสลิม" เป็นคำที่ยืมมาจากภาษาอาหรับ مسلم แปลว่า ผู้ศิโรราบ ผู้ภักดี มนุษย์ทุกคนสามารถเป็นมุสลิมได้โดยการปฏิญาณตน มุสลิมนั้นไม่จำกัดเผ่าพันธุ์ อายุ เพศ และวรรณะ ผู้ที่เป็นมุสลิมจะต้องปฏิบัติตามศาสนวินัยต่าง ๆ ของอิสลาม (ทั้งวาญิบ และฮะรอม) ผู้ที่เป็นมุสลิมต้องปฏิบัติตามหลักศาสนกิจ 5 ประการดังนี้ คือ การกล่าวคำปฏิญานตนเข้ารับอิสลาม, การละหมาด 5 เวลาในแต่ละวัน, การถือศีลอดในเดือนรอมดอน, การบริจาคทาน (ซะกาต), และการทำฮัจญ์ ผู้ที่เป็นมุสลิมมีหลักความเชื่อหลัก 6 ประการ นั่นคือ เชื่อในพระเจ้าองค์เดียว (อัลลอฮ์), เชื่อในบรรดามลาอีกะฮ์, เชื่อในคัมภีร์ที่ถูกประทานมาจากพระเจ้า, เชื่อในบรรดาศาสนทูตต่างๆ, เชื่อในวันสิ้นโลก (วันกียามะฮ์), และเชื่อในกฎแห่งความดีความชั่ว (กอดอและกอดัร).

ใหม่!!: ศุภะ สุขะ ไจนะและมุสลิม · ดูเพิ่มเติม »

รพินทรนาถ ฐากุร

รพินทรนาถ ฐากุร (রবীন্দ্রনাথ ঠাকুর, Robindronath Ţhakur) (7 พฤษภาคม 2404 - 7 สิงหาคม 2484) มีสมัญญานามว่า "คุรุเทพ" เป็นนักปรัชญาพรหโมสมัช นักธรรมชาตินิยม และกวีภาษาเบงกาลี เขาเริ่มเขียนบทกวีครั้งแรกตั้งแต่อายุเพียง 8 ปี ครั้นอายุได้ 16 ปี ก็ได้ตีพิมพ์เผยแพร่งานกวีนิพนธ์ภายใต้นามปากกา ภาณุสิงโห และเริ่มเขียนเรื่องสั้นกับบทละครในปี..

ใหม่!!: ศุภะ สุขะ ไจนะและรพินทรนาถ ฐากุร · ดูเพิ่มเติม »

วันเดมาตรัม

วันเดมาตรัม (বন্দে মাতরম্‌; वन्दे मातरम्; Vande Mataram) เป็นบทกวีภาษาเบงกาลี มาจากนวนิยายในปี..

ใหม่!!: ศุภะ สุขะ ไจนะและวันเดมาตรัม · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาฮินดู

ัญลักษณ์ “โอม” สัญลักษณ์ของศาสนาฮินดู หมายถึงพระตรีมูรติ เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ทั้ง 3 ศาสนาฮินดู (Hinduism) หรือ สนาตนธรรม เป็นศาสนาแบบพหุเทวนิยมที่พัฒนาการต่อมาจากศาสนาพราหมณ์ จึงมักเรียกรวมกันว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นศาสดา มีพระเวทเป็นคัมภีร์หลัก มีศาสนิกชนมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก มีจำนวนประมาณ 900 ล้านคน ศาสนานี้นับถือเทพเจ้าหลายองค์ เรียกว่า "พหุเทวนิยม" เทพเจ้าแต่ละองค์ในแต่ละยุคสมัย มีบทบาท และตำนานต่างกันไป ในแต่ละท้องถิ่นยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าองค์หนึ่งๆ แตกต่างกันไปด้วย โดยทั่วไปถือว่าชาวฮินดูเชื่อว่ามีเทพเจ้าสูงสุด ที่ได้อวตารแยกร่างออกมาเป็น 3 องค์ เรียกว่า "ตรีมูรติ" คือ.

ใหม่!!: ศุภะ สุขะ ไจนะและศาสนาฮินดู · ดูเพิ่มเติม »

สุภาษ จันทระ โพส

ษ จันทระ โพส สุภาษ จันทระ โพส (Subhash Chandra Bose; सुभाष चन्द्र बोस; 23 มกราคม ค.ศ. 1897 – 18 สิงหาคม ค.ศ. 1945) หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ เนตาชี (Netaji; नेता जी; "ท่านผู้นำ") เป็นผู้นำกลุ่มอิสระชาวอินเดียที่ต้องการการปลดปล่อยประเทศอินเดียให้เป็นเอกราชจากการปกครองของอังกฤษในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2.

ใหม่!!: ศุภะ สุขะ ไจนะและสุภาษ จันทระ โพส · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: ศุภะ สุขะ ไจนะและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

อักษรเทวนาครี

อักษรเทวนาครี (देवनागरी อ่านว่า เท-วะ-นา-คะ-รี; Devanagari) พัฒนามาจากอักษรพราหมีในราวคริสต์ศตวรรษที่ 11 ใช้เขียนภาษาฮินดี ภาษาสันสกฤต ภาษามราฐี ภาษาบาลี ภาษาสินธี ภาษาเนปาล และภาษาอื่นๆในประเทศอินเดีย อักษรเทวนาครีมีลักษณะการเขียนจากซ้ายไปขวา มีเส้นเล็กๆ อยู่เหนือตัวอักษร หากเขียนต่อกัน จะเป็นเส้นยาวคล้ายเส้นบรรทัด มีการแยกพยัญชนะ สระ และเครื่องหมายต่าง.

ใหม่!!: ศุภะ สุขะ ไจนะและอักษรเทวนาครี · ดูเพิ่มเติม »

อามาร์ โชนาร์ บังกลา

อามาร์ โชนาร์ บังกลา (เบงกาลี: আমার সোনার বাংলা) หรือ "บังกลาแดนทองของข้า" เป็นบทเพลงภาษาเบงกาลีซึ่งรพินทรนาถ ฐากูร กวีรางวัลโนเบลชาวเบงกอล ได้ประพันธ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2449 เนื้อร้องในสิบบทแรกของเพลงนี้ได้มีการนำมาใช้เป็นเพลงชาติของประเทศบังคลาเทศเมื่อปี พ.ศ. 2515 หลังจากประเทศบังกลาเทศได้รับเอกราชจากประเทศปากีสถานอย่างเป็นทางการในปี..

ใหม่!!: ศุภะ สุขะ ไจนะและอามาร์ โชนาร์ บังกลา · ดูเพิ่มเติม »

ฮัมบวร์ค

ัมบวร์ค (Hamburg) เป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศเยอรมนี รองลงมาจาก เบอร์ลิน และเป็นเมืองที่ใหญ่อันดับ 8 ของยุโรป โดยมีประชากรอาศัยอยู่ในเมืองฮัมบวร์คมากกว่า 1.8 ล้านคน ในขณะที่รวมปริมณฑลรอบ ๆ ไปด้วยแล้วจะทำให้ นครฮัมบวร์คมีประชากรทั้งสิ้น 5 ล้านคน ท่าเรือฮัมบวร์คเป็นท่าเรือสำคัญ ซึ่งนับเป็นท่าเรือที่ใหญ่เป็นอันดับสองของสหภาพยุโรป และใหญ่เป็นอันดับที่ 10 ของโลก พื้นที่ท่าเรือส่วนใหญ่เป็นบริเวณปลอดภาษี ฮัมบวร์ค ถือเป็นศูนย์กลางการขนส่งที่สำคัญและถือเป็นหนึ่งใน เมืองที่รวยที่สุดในยุโรปและเป็นเขตเมือง อุตสาหกรรมที่แห่งหนึ่งที่สำคัญของ เยอรมันมีบริษัท ห้างร้านที่สำคัญ ๆ ของเยอรมนี อยู่ที่เมืองนี้ และที่สะคัญ ฮัมบวร์คได้รับการศูนย์กลางทางการเงินที่สำคัญมานานหลายศตวรรษและเป็นที่ตั้งของธนาคารที่เก่าแก่ในประเทศเยอรมันคือ ธนาคารแบร์มเบริก ธนาคารนองจากนนี้ ฮัมบวร์คยังเป็น เมืองที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญสำหรับนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศจากการจัดอันดับโดยได้อันดับที่ ที่ 17 ของโลกในปี 2555 และในปี 2553 ก็ได้อันดับที่ 10 ชื่ออย่างเป็นทางการของฮัมบวร์คคือ นครอิสระและฮันเซียติกแห่งฮัมบวร์ค (เยอรมัน: Freie und Hansestadt Hamburg) คำว่าฮันเซียติกนั้นหมายถึงการเป็นสมาชิกสันนิบาตฮันเซียติกของฮัมบวร์คตั้งแต่ยุคกลาง และบ่งบอกว่าฮัมบวร์คมีฐานะเป็นนครรัฐ ถือเป็น 1 ใน 16 รัฐสหพันธ์ของเยอรมนี ฮัมบวร์คอยู่ทางทิศใต้ของคาบสมุทรจัตแลนด์ ตำแหน่งทางภูมิศาสตร์นั้นอยู่ระหว่างสแกนดิเนเวียกับพื้นทวีปยุโรป ระหว่างทะเลเหนือกับทะเลบอลติก ปัจจุบันฮัมบวร์คเป็นศูนย์กลางการค้านานาชาติ และศูนย์กลางวัฒนธรรมของเยอรมนีทางภาคเหนือ.

ใหม่!!: ศุภะ สุขะ ไจนะและฮัมบวร์ค · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติอินเดีย

(ดูทั้งสีแถบทั้งสีธรรมจักร) ธงชาติสาธารณรัฐอินเดีย หรือ ติรังคา (तिरंगा) คำนี้เป็นคำเดียวกับคำว่า "ไตรรงค์" ซึ่งเป็นชื่ออีกอย่างของธงชาติไทย แปลว่า "สามสี" เป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ภายในแบ่งเป็นแถบ 3 สี ตามแนวนอน ได้แก่ สีแสด สีขาว สีเขียว เรียงลำดับจากบนลงล่าง กลางแถบสีขาวมีรูปธรรมจักรของพระเจ้าอโศกมหาราชสีน้ำเงิน ภายในแบ่งกำเป็น 24 ซี่ วงธรรมจักรนั้นกว้างเป็น 3 ใน 4 ของความกว้างแถบสีขาว.

ใหม่!!: ศุภะ สุขะ ไจนะและธงชาติอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสิงคโปร์

ประเทศสิงคโปร์ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐสิงคโปร์ เป็นนครรัฐสมัยใหม่และประเทศเกาะที่มีขนาดเล็กที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่นอกปลายทิศใต้ของคาบสมุทรมลายูและอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร 137 กิโลเมตร ดินแดนของประเทศประกอบด้วยเกาะหลักรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ซึ่งมักเรียกว่าเกาะสิงคโปร์ในภาษาอังกฤษ และเกาะอูจง (Pulau Ujong) ในภาษามลายู และเกาะที่เล็กกว่ามากอีกกว่า 60 เกาะ ประเทศสิงคโปร์แยกจากคาบสมุทรมลายูโดยช่องแคบยะฮอร์ทางทิศเหนือ และจากหมู่เกาะเรียวของประเทศอินโดนีเซียโดยช่องแคบสิงคโปร์ทางทิศใต้ ประเทศมีลักษณะแบบเมืองอย่างสูง และคงเหลือพืชพรรณดั้งเดิมเล็กน้อย ดินแดนของประเทศขยายอย่างต่อเนื่องโดยการแปรสภาพที่ดิน หมู่เกาะมีการตั้งถิ่นฐานในคริสต์ศตวรรษที่ 2 และต่อมาเป็นของจักรวรรดิท้องถิ่นต่าง ๆ สิงคโปร์สมัยใหม่ก่อตั้งใน..

ใหม่!!: ศุภะ สุขะ ไจนะและประเทศสิงคโปร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเยอรมนี

ประเทศเยอรมนี (Germany; Deutschland ดอยฺชลันฺท) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Federal Republic of Germany; Bundesrepublik Deutschland) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐแบบรัฐสภาในยุโรปกลาง มีรัฐองค์ประกอบ 16 รัฐ มีพื้นที่ 357,021 ตารางกิโลเมตร และมีภูมิอากาศตามฤดูกาลแบบอบอุ่นเป็นส่วนใหญ่ มีประชากรประมาณ 82 ล้านคน ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในสหภาพยุโรป ประเทศเยอรมนีเป็นจุดหมายการเข้าเมืองยอดนิยมอันดับสองในโลกรองจากสหรัฐ เมืองหลวงและมหานครใหญ่สุดของประเทศคือ กรุงเบอร์ลิน ขณะที่เขตเมืองขยายใหญ่สุด คือ รูร์ โดยมีศูนย์กลางหลักดอร์ทมุนด์และเอสเซิน นครหลักอื่นของประเทศ ได้แก่ ฮัมบวร์ค มิวนิก โคโลญ แฟรงก์เฟิร์ต ชตุทท์การ์ท ดึสเซิลดอร์ฟ ไลพ์ซิจ เบรเมิน เดรสเดิน ฮันโนเฟอร์และเนือร์นแบร์ก ประเทศนี้มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเชิงเสรีภาพและรัฐสวัสดิการ พรมแดนทางทิศเหนือติดทะเลเหนือ เดนมาร์ก และทะเลบอลติก ทิศตะวันออกติดโปแลนด์และเช็กเกีย ทิศใต้ติดออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ ทิศตะวันตกติดฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ มีเมืองหลวงและเมืองใหญ่ของประเทศคือเบอร์ลิน เยอรมนีมีประชากรประมาณ 80 ล้านคนและเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นประชากรสูงสุดแห่งหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นประเทศที่มีคนย้ายถิ่นมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก หลังจากที่สหรัฐอเมริกาเยอรมนีเป็นปลายทางการย้ายถิ่นที่สองได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก เยอรมนีเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและยังก่อตั้งสหภาพการเงินกับสมาชิกในสหภาพยุโรปอีก 17 ประเทศ โดยใช้ชื่อว่ายูโรโซน เยอรมนีเป็นสมาชิกของกลุ่ม UNO, OECD, NATO, G7 และ G20 เยอรมนีเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อประเทศอื่นๆในยุโรปและเป็นประเทศที่มีความสามารถที่จะแข่งขันในระดับโลก หากวัดจากผลผลิตมวลรวมภายในประเทศแบบปกติแล้ว เยอรมนีเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก ในปี 2012 เป็นประเทศที่มีการนำเข้าส่งออกมากที่สุดเป็นอันดับสาม ดัชนีการพัฒนามนุษย์ถือว่าสูงมาก.

ใหม่!!: ศุภะ สุขะ ไจนะและประเทศเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

ป้อมแดง

ป้อมแดง (Red Fort, रक्तदुर्गम्) (ชื่อแปลตามศัพท์จากภาษาอินเดียจาก ลา คิลลาห์ (Lal Qil'ah) หรือ ลาล คิลา (Lal Qila) คือป้อมปราการในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 ในสมัยจักรวรรดิโมกุล โดยสมเด็จพระจักรพรรดิชาห์ชะฮัน ซึ่งตั้งอยู่ภายในเขตกำแพงเมืองของเดลีเก่า (Old Delhi) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในเดลี ประเทศอินเดีย โดยป้อมปราการแห่งนี้ใช้เป็นที่ประทับของจักรพรรดิแห่งราชวงศ์โมกุล และยังเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงแห่งใหม่ในรัชสมัยของสมเด็จพระจักรพรรดิชาห์ชะฮัน ที่มีชื่อว่า "ชาห์ชะฮันนาบาด" (Shahjahanabad) ซึ่งเป็นเมืองแห่งที่ 7 ที่ก่อตั้งภายในบริเวณเขตเดลี โดยพระองค์ทรงย้ายมาจากอัคราเพื่อที่จะสร้างความสวยงามและอลังการในรัชสมัยของพระองค์ โดยใช้โอกาสนี้ในการสร้างสรรค์สิ่งก่อสร้างและอาคารใหม่ๆได้ตามที่สนพระทัย ซึ่งเมืองหลวงแห่งใหม่นี้ตั้งอยู่ที่เดลีจนถึงปีค.ศ. 1857 เมื่อจักรพรรดิบาฮาดูร์ชาห์ซาฟาร์ เสด็จลี้ภัยจากรัฐบาลของบริติชอินเดีย ป้อมแดงตั้งอยู่ริมแม่น้ำยมุนา ซึ่งเป็นที่มาของน้ำภายในคูเมืองโดยรอบกำแพงเมืองของป้อม บริเวณกำแพงเมืองทางมุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือนั้นติดกับป้อมที่เก่ากว่า มีชื่อว่า "ป้อมซาลิมการห์" สร้างในรัชสมัยของสุลต่านอิสลามชาห์สุรี ในปีค.ศ. 1546 โดยการก่อสร้างป้อมแดงนั้นใช้เวลาตั้งแต่ค.ศ. 1638 จนถึงเสร็จสิ้นเมื่อค.ศ. 1648 ต่อมาได้มีการปรับปรุงต่อเติมครั้งใหญ่ๆในรัชสมัยของสมเด็จพระจักรพรรดิออรังเซพ และประปรายในรัชสมัยถัดๆมา ในปัจจุบันป้อมแดงได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก โดยองค์การยูเนสโก ในปีค.ศ. 2007.

ใหม่!!: ศุภะ สุขะ ไจนะและป้อมแดง · ดูเพิ่มเติม »

เพลงชาติ

ภาพยนตร์หรือวีดิทัศน์ประกอบเพลงชาติ มักมีการใช้ภาพประกอบเพลงที่แสดงถึงความฮึกเหิมและปลุกใจให้รักชาติ (ตัวอย่างในที่นี้ เป็นภาพยนตร์เพลงชาติสหรัฐอเมริกา สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2487) เพลงชาติ (National anthem) หมายถึง บทเพลงที่ประพันธ์ขึ้น เพื่อปลุกเร้าให้หวนระลึกถึงหรือสรรเสริญประวัติศาสตร์ชาติ ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติ หรือการต่อสู้ของชนในชาติ โดยได้รับการยอมรับจากรัฐบาลของชาตินั้น ๆ อย่างเป็นทางการ หรือความตกลงใจร่วมกันของประชาชนในชาติว่า เพลงดังกล่าวเป็นเพลงประจำชาติของตน ในหนังสือ "เพลงชาติ" โดย สุกรี เจริญสุข ได้กล่าวถึงความหมายของเพลงชาติไว้ 4 ประการ คือ.

ใหม่!!: ศุภะ สุขะ ไจนะและเพลงชาติ · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อเชียตะวันออกเฉียงใต้, อุษาคเนย์ หรือ เอเชียอาคเนย์ เป็นอนุภูมิภาคของทวีปเอเชีย ประกอบด้วยประเทศต่าง ๆ ซึ่งทิศเหนือติดจีน ทิศตะวันตกติดอินเดีย ทิศตะวันออกติดปาปัวนิวกินี และทิศใต้ติดออสเตรเลีย ภูมิภาคดังกล่าวตั้งอยู่บนรอยต่อของแผ่นทวีปหลายแผ่นที่ยังมีการไหวสะเทือนรุนแรงและการปะทุของภูเขาไฟอยู่ต่อเนื่อง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งได้ภาคภูมิศาสตร์ได้สองภาค ได้แก่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่หรืออินโดจีน ประกอบด้วย กัมพูชา ลาว พม่า ไทย เวียดนาม และมาเลเซียตะวันตก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร ประกอบด้วยบรูไน มาเลเซียตะวันออก ติมอร์-เลสเต อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร.

ใหม่!!: ศุภะ สุขะ ไจนะและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ · ดูเพิ่มเติม »

11 กันยายน

วันที่ 11 กันยายน เป็นวันที่ 254 ของปี (วันที่ 255 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 111 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ศุภะ สุขะ ไจนะและ11 กันยายน · ดูเพิ่มเติม »

15 สิงหาคม

วันที่ 15 สิงหาคม เป็นวันที่ 227 ของปี (วันที่ 228 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 138 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ศุภะ สุขะ ไจนะและ15 สิงหาคม · ดูเพิ่มเติม »

2 พฤศจิกายน

วันที่ 2 พฤศจิกายน เป็นวันที่ 306 ของปี (วันที่ 307 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 59 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ศุภะ สุขะ ไจนะและ2 พฤศจิกายน · ดูเพิ่มเติม »

24 มกราคม

วันที่ 24 มกราคม เป็นวันที่ 24 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 341 วันในปีนั้น (342 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: ศุภะ สุขะ ไจนะและ24 มกราคม · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »