โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ลายวงกต

ดัชนี ลายวงกต

“วงกตคลาสสิก” เจ็ดชั้น เขาวงกตครีตทำด้วย 2500 TeaLights การเผาไหม้ในศูนย์คริสเตียนสมาธิและจิตวิญญาณของสังฆมณฑลบูร์กที่โบสถ์ Holy Cross ใน แฟรงก์เฟิร์ต-Bornheim ลายวงกตยุคสำริดแอตแลนติก ลายวงกตในภาพวาดในถ้ำในอิตาลี วงกตบนพื้นที่มหาวิหารอาเมียงส์ในฝรั่งเศส คนอสซอส ลายวงกต หรือ ลาบรินธ์ (Labyrinth) ในตำนานเทพเจ้ากรีก “Labyrinth” (λαβύρινθος, labyrinthos) คือโครงสร้างอันซับซ้อนที่ออกแบบและสร้างโดยเดดาลัสสำหรับกษัตริย์ไมนอสแห่งครีตที่คนอสซอส โดยมีวัตถุประสงค์ในการใช้เป็นกับดักมิโนทอร์ที่เป็นสิ่งที่มีร่างเป็นมนุษย์หัวเป็นวัว ผู้ในที่สุดก็ถูกสังหารโดยวีรบุรุษชาวเอเธนส์เธเซียส (Theseus) เดดาลัสสร้างวงกตอย่างวกวนจนเมื่อสร้างเสร็จตนเองก็แทบจะหาทางออกมาไม่ได้ อารีอัดเน (Ariadne) ให้ความช่วยเหลือเธเซียสให้หาทางออกจากได้โดยการมอบม้วนด้ายให้ม้วนหนึ่งให้วางตามเส้นทางเพื่อที่จะเดินตามรอยด้ายกลับออกมาจากวงกตได้ ในภาษาพูดของภาษาอังกฤษ “Labyrinth” มีความหมายพ้องกับคำว่า “Maze” (วงกตปริศนา) แต่นักวิชาการร่วมสมัยให้ความแตกต่างว่า “วงกตปริศนา” หมายถึงลวดลายวกวนที่ซับซ้อนที่มีทางเข้าทางออกได้หลายทาง แต่ “ลายวงกต” จะมีทางเข้าทางออกทางเดียว และทางจะไม่แตกออกไปเป็นทางย่อยเช่นที่เกิดขึ้นในวงกตปริศนาที่นำ ที่จะนำเข้าไปยังศูนย์กลาง ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่าลายวงกตจะเป็นเส้นทางที่ไม่กำกวมที่นำเข้าไปยังศูนย์กลางของวงกตและนำออกมา และไม่มีวัตถุประสงค์ที่ทำให้ยากต่อการเดินตามเส้นทางเข้าไปและออกมา แม้ว่าเหรียญครีตยุคแรกบางเหรียญจะเป็นลายวกวนซ้อน (multicursal patterns) แต่ลายวกวนเดี่ยวเจ็ดชั้นแบบคลาสสิกก็กลายมาเป็นลวดลายที่ใช้บนเหรียญส่วนใหญ่มาตั้งแต่ราว 430 ปีก่อนคริสต์ศักราช และใช้กันโดยทั่วไปในการเรียกว่าเป็นวงกต – แม้ว่าในการบรรยายจะกล่าวว่ามิโนทอร์ติดกับอยู่ในวงกตปริศนาก็ตาม แม้เมื่อลายวงกตพัฒนาซับซ้อนขึ้น แต่ลายวงกตตั้งแต่สมัยโรมันมาจนถึงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา แต่ก็เป็นลายวกวนทางเดียว (unicursal) “วงกตปริศนา” เพิ่งเริ่มมาเป็นที่นิยมกันเมื่อใช้ในการออกแบบสวนวงกตที่นิยมกันในสมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยา ลายวงกตอาจจะปรากฏเป็นลวดลายบนเครื่องปั้นดินเผา, ตะกร้า, ลายสักบนร่างกาย, ลายบนผนังหรือกำแพงของคริสต์ศาสนสถาน โรมันใช้ลายวงกตในการตกแต่งบนผนัง, พื้นด้วยโมเสก ลายวงกตที่สร้างบนพื้นบางครั้งก็จะมีขนาดใหญ่พอที่จะใช้ในการเดินตามเส้นเข้าออกได้สำหรับการเดินกรรมฐาน.

64 ความสัมพันธ์: ชูอัน มีโรพลินีผู้อาวุโสพีระมิดกรรมฐานกลุ่มชนพื้นเมืองอเมริกันในสหรัฐการจาริกแสวงบุญมหาภารตะมหาวิหารมหาวิหารซีเอนามอนทรีออลมินะทอร์ยุคก่อนประวัติศาสตร์รหัสยลัทธิรัฐกัวรามเกียรติ์วัชรยานวิดีโอเกมวินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544วีลาร์ เดอ ออนกูร์วงกตหญ้าวงธัญพืชศิลปะสกัดหินสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาสมัยกลางสถาปัตยกรรมกอทิกสแกนดิเนเวียหมู่เกาะซอโลเวตสกีหมู่เกาะซิลลีอักษรไลเนียร์บีอารยธรรมไมนอสอาสนวิหารชาทร์อาสนวิหารอาเมียงอาสนวิหารแร็งส์อีเลียดอคิลลีสทะเลขาวดอลเมนครีตคนอสซอสซานฟรานซิสโกประเทศฝรั่งเศสประเทศสกอตแลนด์ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ประเทศอิตาลีประเทศอินเดียประเทศเบลเยียมปริศนาปาโบล ปีกัสโซแอฟริกาเหนือแคว้นตอสคานา...โบราณคดีโบสถ์คริสต์โรเจอร์ เซลาซนีโสกราตีสโฮเมอร์โทรลโทรอนโตไมนอสเพลโตเมาริตส์ กอร์เนลิส แอ็ชเชอร์เยรูซาเลมเอดินบะระเฮอรอโดทัสเทพปกรณัมกรีก ขยายดัชนี (14 มากกว่า) »

ชูอัน มีโร

ูอัน มีโร ภาพงานจิตรกรรมชื่อ "กลางคืน (Nocturne)" ของชูอัน มีโร ชูอัน มีโร อี ฟาร์รา (Joan Miró i Ferrà) เป็นจิตรกรและประติมากรชาวกาตาลา (ประเทศสเปน) ในสกุลศิลปะลัทธิเหนือจริง (surrealism) ภาพของเขาที่แสดงความเคลื่อนไหวไปมาอย่างน่าประหลาดนั้น เขาทำขึ้นจากความเคลื่อนไหวของลายเส้นที่พันกันชุลมุนและความสว่างสดใสของสี ภาพของมีโรเป็นการแปลสิ่งมหัศจรรย์ ซึ่งเป็นความแท้จริงที่พบใหม่นี้ มีความเป็นอยู่อย่างเหมาะสมดีแท้ทีเดียว เพราะโดยข้อเท็จจริงแล้ว ความแท้จริงใหม่นี้ ไม่สามารถจะจับเอาเป็นคำพูด ความคิด หรือภาพให้สมบูรณ์แบบได้เลย ศิลปินลัทธิเหนือจริงและศิลปินเอกของศิลปะนามธรรมผู้นี้ได้พัฒนามาเป็นแบบอย่างศิลปะส่วนตัวอย่างเต็มที่ กลายเป็นผลงานที่สีสันอุดมสมบูรณ์ โดยได้รับอิทธิพลมาจากคันดินสกี อาร์พ และเคล ผลงานของเขาเผยให้เห็นภาษาเชิงกวีนิพนธ์ มีโรได้รับการยอมรับว่ามีเอกลักษณ์ในการถ่ายทอดวัฒนธรรมท้องถิ่น ออกมาเป็นภาพวาดได้อย่างลงตัวและงดงามหาที่เปรียบมิได้ เป็นศิลปินยุค 1893-1983 ซึ่งถือว่าโดดเด่นมากเมื่อเทียบกับรุ่นพี่อย่างปาโบล ปีกัสโซ ร่วมพิสูจน์ภาพเขียนแนวเหนือจริงที่ฉีกจากกรอบและกฎเกณฑ์เดิม.

ใหม่!!: ลายวงกตและชูอัน มีโร · ดูเพิ่มเติม »

พลินีผู้อาวุโส

ลินีผู้อาวุโส (Pliny the Elder) หรือ กาอิอุส ปลีนิอุส แซกุนดุส (Gaivs Plinivs Secvndvs; ค.ศ. 23 – 25 สิงหาคม ค.ศ. 79) เป็นนักธรรมชาติวิทยา นักประพันธ์ และแม่ทัพชาวโรมันในสมัยจักรวรรดิโรมันตอนต้น และเป็นพระสหายของจักรพรรดิแว็สปาซิอานุส พลินีใช้เวลาส่วนใหญ่ในการศึกษา การเขียน และการสืบสวนเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและภูมิศาสตร์ งานชิ้นสำคัญที่สุดที่เขียนคือสารานุกรมชื่อ ธรรมชาติวิทยา (Natvralis Historia) ที่กลายมาเป็นแบบอย่างในการเขียนงานประเภทนี้ต่อมา พลินีเป็นลุงของพลินีผู้เยาว์ (Pliny the Younger).

ใหม่!!: ลายวงกตและพลินีผู้อาวุโส · ดูเพิ่มเติม »

พีระมิด

ีระมิดคาเฟร พีระมิด (pyramid) เป็นสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ ที่มีจุดยอดรวมอยู่ที่เดียวกัน โดยแต่ละด้านจะมีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมประกอ.

ใหม่!!: ลายวงกตและพีระมิด · ดูเพิ่มเติม »

กรรมฐาน

กรรมฐาน (บาลี:kammaṭṭhāna, กมฺมฏฺาน) (สันสกฤต: karmasthana) หมายถึง ที่ตั้งแห่งการทำงานของจิต สิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญภาวนา อุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกอบรมจิต หรืออุบายหรือกลวิธีเหนี่ยวนำให้เกิดสมาธิ กรรมฐานจึงเป็นสิ่งที่เอามาให้จิตกำหนด เพื่อให้จิตสงบอยู่ได้ ไม่เที่ยวเตลิดเลื่อนลอยฟุ้งซ่าน ไปอย่างไร้จุดหมาย อย่าง อย่างไรในพระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวงแปลคำว่า กมฺมฏฺาน ว่า ฐานะแห่งการงาน มากไปกว่านั้นในพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐพบคำว่า กมฺมฏฺาน เฉพาะในเล่มที่ 13 ข้อที่ 711 ถึง 713 เท่านั้น.

ใหม่!!: ลายวงกตและกรรมฐาน · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มชนพื้นเมืองอเมริกันในสหรัฐ

กลุ่มชนพื้นเมืองอเมริกันในสหรัฐอเมริกา (Native Americans in the United States) เป็นวลีที่หมายถึงชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกาจากทวีปอเมริกาเหนือที่รวมแผ่นดินใหญ่ของสหรัฐอเมริกาและบางส่วนของอะแลสกาและฮาวาย ที่ประกอบด้วยกลุ่มชนพื้นเมืองอเมริกันหลายกลุ่มที่เป็นชนเผ่าอินเดียน (Indian tribe) แต่เป็นคำที่ถือว่าไม่สุภาพต่อคนหลายคนที่รวมทั้งรัสเซลล์ มีนส์นักปฏิกิริยาของขบวนการอเมริกันอินเดียน (American Indian Movement) ตามความเห็นของมีนส์ “ในการสัมนานานาชาติของอินเดียนจากทวีปอเมริกาที่กรุงเจนีวาในสวิตเซอร์แลนด์ที่สหประชาชาติ ใน..

ใหม่!!: ลายวงกตและกลุ่มชนพื้นเมืองอเมริกันในสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

การจาริกแสวงบุญ

นักแสวงบุญมุสลิมที่มักกะหฺ การจาริกแสวงบุญ (Pilgrimage) ทางด้านศาสนาและจิตวิญญาณ “การจาริกแสวงบุญ” คือการเดินทางหรือการแสวงหาสิ่งที่มีความสำคัญทางจริยธรรมต่อจิตใจ บางครั้งก็จะเป็นการเดินทางไปยังศาสนสถานที่มีความสำคัญต่อความเชื่อหรือความศรัทธาของผู้นั้น สมาชิกของศาสนาหลักของโลกมักจะร่วมในการเดินทางไปแสวงบุญ ผู้ที่เดินทางไปทำการจาริกแสวงบุญเรียกว่านักแสวงบุญ พระพุทธศาสนามีสังเวชนียสถานที่สำคัญที่สุดที่มีความเกี่ยวข้องกับองค์สมเด็จพระพุทธเจ้าสำหรับนักแสวงบุญอยู่สี่แห่ง: ลุมพินีวันที่ตั้งอยู่ในแคว้นอูธในประเทศเนปาลที่เป็นสถานที่ประสูติ, พุทธคยาที่ตั้งอยู่ในรัฐพิหารในประเทศอินเดียที่เป็นสถานที่ตรัสรู้, สารนาถที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเมืองพาราณสีในรัฐอุตตรประเทศในประเทศอินเดียซึ่งเป็นสถานที่ทรงแสดงปฐมเทศนา และ กุสินาราที่ตั้งอยู่ตำบลมถากัวร์ อำเภอกุสินครในรัฐอุตตรประเทศในประเทศอินเดียเป็นสถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพาน ในศาสนาเอบราฮัมที่ประกอบด้วยศาสนายูดาย, ศาสนาคริสต์, ศาสนาอิสลาม และ ศาสนาบาไฮ ถือว่าดินแดนศักดิ์สิทธิ์ในอิสราเอลปัจจุบันเป็นศูนย์กลาง ในราชอาณาจักรอิสราเอล และ ราชอาณาจักรยูดาห์ การเดินทางไปยังศูนย์กลางของสิ่งที่มีความสัมพันธ์กับความเชื่อบางแห่งถูกยกเลิกไปในศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสต์ศักราช เมื่อการสักการะพระเยโฮวาห์จำกัดอยู่แต่เพียงที่วัดแห่งเยรุซาเล็มเท่านั้น “การจาริกแสวงบุญ” บนแผ่นดินใหญ่ของกรีซก็จะเป็นการเดินทางไปยังเดลฟี หรือโหรซูสที่โดโดนา และทุกสี่ปีระหว่างสมัยกีฬาโอลิมปิค เทวสถานซูสก็จะเต็มไปด้วยผู้มาแสวงบุญจากดินแดนต่างๆ ทุกมุมเมืองของกรีซ เมื่ออเล็กซานเดอร์มหาราชไปถึงอียิปต์ พระองค์ก็ทรงหยุดยั้งทุกสิ่งทุกอย่างลงชั่วคราว และทรงนำผู้ติดตามไม่กี่คนลึกเข้าไปในทะเลทรายลิเบียเพื่อไปปรึกษาโหรที่อัมมุน ระหว่างสมัยการปกครองของราชวงศ์ทอเลมีต่อมา ศาสนสถานไอซิสที่ฟิเล (Philae) ก็มักจะได้รับเครื่องสักการะที่มีคำจารึกภาษากรีกจากผู้มีความเกี่ยวพันที่อยู่จากบ้านเมืองเดิมในกรีซ แม้ว่า “การจาริกแสวงบุญ” มักจะอยู่ในบริบทของศาสนา แต่การจาริกแสวงบุญก็แปรเปลี่ยนไปใช้ในกิจการที่ไม่เกี่ยวกับกับศาสนาได้เช่นการเดินทางไปแสดงความเคารพคนสำคัญของลัทธินิยมเช่นในกรณีที่ทำกันในประเทศคอมมิสนิสต์ ตัวอย่างเช่นการเดินทางไปเยี่ยมชมที่บรรจุศพเลนิน (Lenin's Mausoleum) ที่จัตุรัสแดงก่อนที่สหภาพโซเวียตจะแตกแยกออกจากกัน ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่มีลักษณะเดียวกับที่เรียกว่า “การจาริกแสวงบุญ”.

ใหม่!!: ลายวงกตและการจาริกแสวงบุญ · ดูเพิ่มเติม »

มหาภารตะ

ียนการรบในมหาภารตะ จากต้นฉบับภาษาสันสกฤต รูปอรชุนทรงราชรถออกศึก มีพระกฤษณะเป็นนายสารถี (ศิลปะอินเดีย สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18 - 19) มหาภารตะ (publisher ด้วยมีจำนวนคำ 1.8 ล้านคำ นับว่ายาวกว่ามหากาพย์อีเลียด หรือมหากาพย์โอดิสซี ของกรีกโบราณจุดประกาย 4 บันเทิง, Ranclamoozhan จากบทกวีสู่หนังอินเดียที่ 'แพง' ที่สุด. "โลกนี้มีมายา" โดย ลีนาร์. กรุงเทพธุรกิจปีที่ 29 ฉบับที่ 10441: วันจันทร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2560 มีเนื้อหาซับซ้อน เล่าเรื่องอันยืดยาวที่เกี่ยวข้องกับเทพปกรณัม การสงคราม และหลักปรัชญาของอินเดีย ทั้งนี้ยังมีเรื่องย่อย ๆ แทรกอยู่มากมาย ซี่งหลายเรื่องก็เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในเมืองไทย เช่น ภควัทคีตา ศกุนตลา สาวิตรี พระนล กฤษณาสอนน้อง อนิรุทธ์ เป็นต้น ทั้งนี้ ยังถือว่าเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญของศาสนาฮินดูด้วย นอกจากนี้ มหาภารตะนี้ยังสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี วิถีชีวิต ศาสนา การเมือง ศิลปะหลายแขนง ประวัติความเป็นมาของวงศ์ตระกูลต่าง ๆ ในเรื่อง และธรรมเนียมประเพณีการรบการสงครามของอินเดียยุคโบราณด้วย มหาภารตะ เป็น เรื่องราวความขัดแย้ง ของ พี่น้องสองตระกูล ระหว่าง ตระกูลเการพ และตระกูลปาณฑพ ซึ่งทั้งสองตระกูลต่างก็สืบเชื้อสายมาจากท้าวภรต แห่ง กรุงหัสตินาปุระ จนบานปลายไปสู่ มหาสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตร ซึ่งมีพันธมิตร ของแต่ละฝ่ายเข้าร่วมรบด้วยเป็นจำนวนมาก กล่าวกันว่านี่คือการต่อสู้ระหว่าง ฝ่ายธรรมะ และฝ่ายอธรรม ความดี และความชั่ว ซึ่งในที่สุดแล้ว ฝ่ายปาณฑพก็เป็นผู้ชนะในสงครามครั้งนี้.

ใหม่!!: ลายวงกตและมหาภารตะ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิหาร

มหาวิหาร หมายถึง วิหารหรือเทวสถานขนาดใหญ่; ในพุทธศาสนสถาน อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ลายวงกตและมหาวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิหารซีเอนา

อาสนวิหารแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ (cattedrale metropolitana di Santa Maria Assunta) หรือ มหาวิหารซีเอนา (Duomo di Siena) เป็นอาสนวิหารของคริสตจักรโรมันคาทอลิก ตั้งอยู่ที่เมืองซีเอนาในประเทศอิตาลี เป็นอาสนวิหารประจำอัครมุขมณฑลซีเอนา-กอลเลดีวัลเดลซา-มอนตัลชีโน มหาวิหารซีเอนาเริ่มออกแบบและสร้างเป็นครั้งแรกระหว่างปี ค.ศ. 1215 ถึง ค.ศ. 1263 บนฐานของโบสถ์หลังเดิม แผนผังมหาวิหารเป็นแบบกางเขนละตินโดยมีส่วนขวางด้านหนึ่งยื่นออกมากว่าปกติ พร้อมกับโดมและหอระฆัง โดมที่ตั้งอยู่บนหอแปดเหลี่ยมมาสร้างเพิ่มโดยจัน โลเรนโซ แบร์นีนี ทางเดินกลางแยกจากทางเดินข้างด้วยซุ้มโค้งครึ่งวงกลม ภายนอกและภายในตกแต่งด้วยแถบหินอ่อนขาวสลับเขียวดำยกเว้นด้านหน้าที่แทรกด้วยหินอ่อนสีชมพูแก่เกือบแดง สีขาวดำเป็นสีสัญลักษณ์ของเมืองเซียนาซึ่งตามตำนานกล่าวว่าเป็นสีของม้าของเซเนียสและอาสเคียสผู้ก่อตั้งเมือง.

ใหม่!!: ลายวงกตและมหาวิหารซีเอนา · ดูเพิ่มเติม »

มอนทรีออล

มอนทรีออล (Montreal) หรือ มงเรอาล (Montréal) เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในเขตการปกครองของรัฐควิเบก และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของประเทศแคนาดา มอนทรีออลเคยเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดถึงในยุคทศวรรษ 1970 หลังจากนั้นเมืองโทรอนโตก็แซงหน้าไป เดิมเมืองนี้มีชื่อว่า วีล-มารี (Ville-Marie 'เมืองของมารี') ภาษาทางการของมอนทรีออลคือ ภาษาฝรั่งเศส จากข้อมูลในเอกสารทางการ มอนทรีออลยังเป็นเมืองใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ที่มีประชากรพูดภาษาฝรั่งเศสมากที่สุดในโลก รองจากปารีส ในปี 2007 นิตยสารฟอบส์จัดอันดับให้เมืองมอนทรีออลอยู่อันดับ 10 ของเมืองที่สะอาดที่สุดในโลก และในปี 2008 นิตยสารโมโนเคิลจัดอันดับให้เมืองมอนทรีออลอยู่ที่อันดับ 16 ใน 25 เมืองที่น่าอยู่ที่สุดในโลก.

ใหม่!!: ลายวงกตและมอนทรีออล · ดูเพิ่มเติม »

มินะทอร์

มินะทอร์บนหม้อดินเผาสมัยกรีก ราว 515 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในเทพปกรณัมกรีก มินะทอร์ (Minotaur) เป็นสิ่งมีชีวิตซึ่งมีศีรษะเป็นโค มีกายเป็นคน หรือที่โอวิด (Ovid) กวีโรมัน พรรณนาว่า "กึ่งคนกึ่งโค" มินะทอร์พำนักอยู่ในวงกตซึ่งเป็นหมู่อาคารมีทางเดินคดเคี้ยว ณ กลางเกาะครีต และเป็นผลงานที่สถาปนิกเดดาลัส (Daedalus) กับอีคารัส (Icarus) บุตร ร่วมกันสร้างสรรค์ขึ้นตามพระราชโองการพระเจ้าไมนอส (Minos) แห่งเกาะครีต ภายหลัง มินะทอร์ถูกธีเซียส (Theseus) วีรบุรุษชาวเอเธนส์ ประหารในวงกตนั้นเอง คำ "มินะทอร์" ในภาษาอังกฤษมาจากคำ "Μῑνώταυρος" (Mīnṓtauros) ในภาษากรีกโบราณ แปลว่า โคแห่งพระเจ้าไมนอส โดยในภาษาอังกฤษนั้น คำ "มินะทอร์" เป็นทั้งวิสามานยนามใช้เรียกสิ่งมีชีวิตตามตำนานข้างต้น และเป็นสามานยนามใช้เรียกสิ่งมีชีวิตกึ่งโคกึ่งคนตัวอื่น ๆ โดยทั่วไป ส่วนชาวครีตเองเรียกสัตว์นี้ด้วยวิสามานยนามว่า "แอสเตเรียน (Asterion) ซึ่งเป็นนามของปู่มินะทอร์ (พระบิดาบุญธรรมของพระเจ้าไมนอส) เช่นกัน.

ใหม่!!: ลายวงกตและมินะทอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคก่อนประวัติศาสตร์

ก่อนประวัติศาสตร์ (อังกฤษ: Prehistory) โดยทั่วไปหมายถึงช่วงเวลาที่ไม่มีการบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ โดยมนุษย์ (ในบางครั้งหมายถึง ช่วงเวลาก่อนมีอารยธรรมมนุษย์).

ใหม่!!: ลายวงกตและยุคก่อนประวัติศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

รหัสยลัทธิ

รหัสยลัทธิ หรือลัทธิรหัสยนิยม (mysticism) คือลัทธิหรือความเชื่อที่ว่ามีรหัสยภาวะ (mystery) เป็นภาวะความจริงหรือคุณค่าบางอย่างซึ่งบุคคลจะรู้ได้ด้วยการใช้ความสามารถพิเศษเหนือกว่าการรับรู้โดยทั่วไปของมนุษย์ เช่น การเข้าฌาน การเข้าถึงพระเจ้า เป็นต้น ผู้ที่เข้าถึงรหัสยภาวะนี้ได้เรียกว่ารหัสยิก (mystic).

ใหม่!!: ลายวงกตและรหัสยลัทธิ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐกัว

รัฐกัว หรือ รัฐโคอา คือหนึ่งในรัฐของประเทศอินเดีย เป็นรัฐที่เล็กที่สุดของประเทศตั้งอยู่ทางชายฝั่งตะวันตกของประเทศอินเดียติดกับทะเลอาหรับเป็นรัฐที่มีชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยว เคยเป็นอาณานิคมของโปรตุเกสนาน 450 ปี จึงมีวัฒนธรรมโปรตุเกสผสมผสานอยู่ด้วย มีท่าเรือสำคัญซึ่งมีบทบาทในการขนส่งแร่เหล็ก.

ใหม่!!: ลายวงกตและรัฐกัว · ดูเพิ่มเติม »

รามเกียรติ์

ตัวละครหลักที่ปรากฏในเรื่อง มีดังนี้ ฝ่ายพระราม.

ใหม่!!: ลายวงกตและรามเกียรติ์ · ดูเพิ่มเติม »

วัชรยาน

วัชรยาน (Vajrayāna) มันตรยาน (Mantrayāna) คุยหยาน (Esoteric Buddhism) หรือ ตันตรยาน (Tantric Buddhism) เป็นศาสนาพุทธแบบคุยหลัทธิ ที่สืบทอดขนบความเชื่อและการปฏิบัติแบบตันตระมาจากอินเดียสมัยกลาง วัชรยาน หมายถึง ยานเพชร ซึ่งผู้ศรัทธาในสายนี้เชื่อว่าเป็นยานที่ประเสริฐกว่าหีนยานและมหายาน.

ใหม่!!: ลายวงกตและวัชรยาน · ดูเพิ่มเติม »

วิดีโอเกม

กม ''ป็อง'' ถือได้ว่าเป็นวิดีโอเกมส์ชนิดแรกที่เกิดขึ้น เกม ''Space Invaders'' เป็นอีกหนึ่งเกมดังในยุคกำลังพัฒนาของวิดีโอเกม เกม ''Pac-Man'' เป็นเกมที่โด่งดังที่สุดในขณะวิดีโอเกมกำลังพัฒนา วิดีโอเกม (Video game) คือ เครื่องเกมอิเล็กทรอนิกส์ที่มนุษย์ใช้ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ (user interface) ส่งผลการกระทำ (input) กลับเข้าไปยังหน่วยประมวลผลกลาง (Central Processor Unit) ในตัวเครื่อง ให้คิดคำนวณแล้วแสดงผลโต้ตอบกลับมาด้วย แสง-เสียง-การสั่น-หรือภาพบนจอภาพ วิดีโอ คำว่า วิดีโอ ในวิดีโอเกม แต่เดิมหมายถึงอุปกรณ์แสดงภาพแบบแรสเตอร์ แต่ปัจจุบันสามารถใช้เรียกอุปกรณ์แสดงภาพใด ๆ ก็ได้ที่สร้างภาพสองมิติหรือสามมิติขึ้นมา ตัวอย่างเช่นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และเครื่องเล่นวิดีโอเกม อุปกรณ์เหล่านี้เป็นไปได้ตั้งแต่เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ไปจนถึงอุปกรณ์มือถือขนาดเล็ก วิดีโอเกมแบบเฉพาะอย่างเช่น เกมตู้ เคยมีแพร่หลายในอดีต แต่ปัจจุบันค่อย ๆ มีใช้น้อยลง วิดีโอเกมได้พัฒนาไปจนกลายเป็นอุตสาหกรรมและงานศิลปะ อุปกรณ์นำข้อมูลเข้าเป็นที่ใช้กันในการบังคับวิดีโอเกมเรียกว่า อุปกรณ์ควบคุมเกม (game controller) และแตกต่างกันไปในเครื่องเล่นแบบต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น อุปกรณ์ควบคุมอาจประกอบด้วยเพียงแค่ปุ่มกดและก้านควบคุม (joystick) หรืออาจมีปุ่มกดถึงสิบปุ่ม และอาจจะมีมากกว่าหนึ่งก้านควบคุมก็ได้ เกมคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลยุคแรกจำเป็นต้องใช้คีย์บอร์ดในการเล่นเกม หรือต้องการให้ผู้ใช้ซื้อก้านควบคุมที่มีปุ่มกดอย่างน้อยหนึ่งปุ่มด้วย เกมคอมพิวเตอร์สมัยใหม่จำนวนมากให้ผู้เล่นหรือต้องการให้ผู้เล่นใช้คีย์บอร์ดควบคู่ไปกับเมาส์ อุปกรณ์ควบคุมเกมที่พบได้บ่อยกันคือ เกมแพด เมาส์ คีย์บอร์ด และก้านควบคุม ในหลายปีที่ผ่านมานี้ มีวิธีการนำข้อมูลเข้าเพิ่มเติมเช่น การให้ผู้เล่นสังเกตการณ์ในเครื่องเล่นที่ใช้กล้อง และระบบจอสัมผัสบนโทรศัพท์มือถือ วิดีโอเกมโดยทั่วไปใช้วิธีการเพิ่มเติมมากมายเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์และสารสนเทศให้กับผู้เล่น เสียงออดิโอในวิดีเกมนั้นเกือบจะเป็นสากล คือใช้อุปกรณ์ผลิตเสียง อย่างเช่น ลำโพง และหูฟัง ผลป้อนกลับอาจมาจากอุปกรณ์ต่อพ่วงสัมผัส (haptic peripheral) เช่นระบบการสั่น หรือผลป้อนกลับโดยใช้กำลัง (force feedback) บางครั้งการสั่นใช้กระตุ้นผลป้อนกลับแบบใช้กำลัง ผู้เล่นบางส่วนเชื่อว่าวิดีโอเกมสามารถพัฒนาทักษะทางจิตใจได้.

ใหม่!!: ลายวงกตและวิดีโอเกม · ดูเพิ่มเติม »

วินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544

หตุวินาศกรรม 11 กันยายน..

ใหม่!!: ลายวงกตและวินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 · ดูเพิ่มเติม »

วีลาร์ เดอ ออนกูร์

คาดว่าเป็นภาพของวีลาร์ เดอ ออนกูร์ จาก The Portfolio of Villard de Honnecourt (ราวปี 1230) วีลาร์ เดอ ออนกูร์ (Villard de Honnecourt) เป็นสถาปนิกและนักประดิษฐ์ ที่มีชีวิตอยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13 ณ เมือง Picardy ทางเหนือของฝรั่งเศส ออนกูร์ได้รับการยกย่องจากผลงานที่หลงเหลือไว้เพียงแต่ในกระดาษของเขา โดยมีทั้งหมด 33 แผ่น ซึ่งประกอบไปด้วยแบบก่อสร้าง 250 ชิ้น ซึ่งเขียนขึ้นในช่วงทศวรรษ 1230 (ปัจจุบันถูกเก็บบันทึกไว้ที่หอสมุดแห่งชาติฝรั่งเศส (Bibliothèque Nationale, Paris) แบบที่พบนั้น เป็นแบบของทั้งสถาปัตยกรรม แบบรูปด้าน เครื่องกล งานศิลปะ รวมทั้งรูปของคนและสัตว์ด้วย สิ่งที่น่าสนใจที่สุดที่พบคือ แบบของเครื่องเลื่อยไม้ที่ใช้พลังงานต่อจากกังหันลม เครื่องยกที่คล้าย ๆ กับลิฟต์ เครื่องกลที่ใช้ระบบฟันเฟืองต่าง ๆ (แบบเดียวกับที่ค้นพบในจีน สมัยราชวงศ์ซ่ง) โดยบันทึกของออนกูร์นี้ เป็นบันทึกที่เก่าแก่ที่สุดเกี่ยวกับระบบเครื่องกลฟันเฟืองที่พบได้ในโลกตะวันตก ออนกูร์ได้ทำการท่องเที่ยวไปมากมายหลาย ๆ ที่เพื่อศึกษาสถาปัตยกรรม โดยมีการบันทึกการเดินทางโดยละเอียดทั้งในลักษณะของตัวอักษรและภาพ หนึ่งในข้อมูลที่น่าสนใจคือ ภาพร่าง (Sketch) ของหอระฆังโบสถ์แห่งเมือง Laon และโถงกลาง (nave) ของโบสถ์แห่งเมืองแรงส์ ในขณะที่กำลังได้รับการก่อสร้าง ซึ่งได้กลายมาเป็นข้อมูลสำคัญในการทำการศึกษาสถาปัตยกรรมรูปแบบไฮกอทิก (High Gothic Architecture) ออนกูร์ ออนกูร์.

ใหม่!!: ลายวงกตและวีลาร์ เดอ ออนกูร์ · ดูเพิ่มเติม »

วงกตหญ้า

วิง, รัทแลนด์ที่เชื่อกันว่าสร้างมาตั้งแต่ยุคกลาง วงกตหญ้า (Turf maze) คือวงกตที่เป็นทางวกวนที่สร้างบนลานหญ้าสั้นราบ วงกตหญ้าบางครั้งก็จะมีชื่อเรียกเช่น “วงกตมิซ” ที่แคว้นแฮมป์เชอร์ในอังกฤษ, “วงกตมิซ”, “วงกตเมืองทรอย” (Troy Town) ที่เชื่อกันว่าเป็นวงกตที่สร้างโดยหมู่บ้านชาวประมงในบริเวณสแกนดิเนเวีย เพื่อดักโทรลล์หรือลมในขดวงกตเพื่อให้การเดินทางไปหาปลาปลอดภัย, วงกตหญ้าจูเลียนส์เบาเวอร์ในลิงคอล์นเชอร์ หรือ “Shepherd's Race” ในนอร์ทแธมป์ตันเชอร์ ซึ่งเป็นวงกตประเภทที่วิลเลียม เชคสเปียร์กล่าวถึงในบทละคร “A Midsummer Night's Dream” วงกตหญ้ามักจะเป็นวงกตประเภทที่เรียกว่า “วงกตปริศนา” (maze) แม้ว่าคำว่า “วงกต” และคำว่า “วงกตซ้อน” จะถือว่าเป็นคำที่ใช้แทนที่กันไม่ได้แล้ว “วงกตซ้อน” จะเป็นลวดลายวกวนที่มีทางเข้าและทางภายในลวดลายที่แยกออกไปเป็นสาขา และอาจจะมีทางตัน ซึ่งต่างกับ “วงกต” หรือ “labyrinth” ที่จะเป็นทางเดียวที่นำไปสู่ศูนย์กลางโดยไม่มีทางแยก (unicursal) วงกตหญ้าบางวงก็จะมีทางที่ตัดเป็นร่องสำหรับเดินที่อาจจะหมายไว้ด้วยกรวดหรืออิฐ และที่พบบ่อยคือทางเดินจะเป็นทางที่ยกสูงต่างระดับขึ้นโดยมีร่องแคบๆ สองข้างขนาบทางเดิน ตัวอย่างวงกตหญ้าของอังกฤษส่วนใหญ่จะมีสองลักษณะคือ “วงกตคลาสสิก” ที่เป็นวงกตเจ็ดชั้นง่ายๆ และ “วงกตยุคกลาง” ที่พัฒนามาจากวงกตคลาสสิกที่ซับซ้อนขึ้น.

ใหม่!!: ลายวงกตและวงกตหญ้า · ดูเพิ่มเติม »

วงธัญพืช

วงข้าวโพดล้ม หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า ครอปเซอร์เคิล วงธัญพืช หรือ วงข้าวโพดล้ม หรือ ครอปเซอร์เคิล (crop circle) เป็นคำที่ใช้อธิบายถึงรูปแบบพืชที่ล้มลง ซึ่งเริ่มต้นจาก ข้าวโพด โดยคำนี้รวมถึง ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ถั่วเหลือง วงข้าวโพดล้มนี้พบได้หลายแห่งทั่วโลก.

ใหม่!!: ลายวงกตและวงธัญพืช · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะสกัดหิน

อุทยานแห่งชาติแคนยอนแลนด์ในยูทาห์ในสหรัฐอเมริกา งานสลักลายหินที่รู้จักกันว่า "Meerkatze" ที่เป็นภาพสิงโตต่อสู้กันที่ Wadi Methkandoushที่ลิเบีย ศิลปะสกัดหิน (Petroglyph หรือ Rock engravings) เป็นแผนภูมิรูปภาพ (pictogram) และ แผนภูมิโลโก (logogram) ที่สร้างโดยการสกัด, เซาะ, ถาก, แกะ หรือ ครูดหินจนเป็นภาพ นอกทวีปอเมริกาเหนือนักวิชาการมักจะใช้คำว่า "สลัก", "แกะ" หรือคำบรรยายอื่นในการบรรยายวิธีการสร้างภาพดังกล่าว ศิลปะสกัดหินพบทั่วไปในโลกและมักจะเกี่ยวข้อง (แต่ไม่เสมอไป) กับชนยุคก่อนประวัติศาสตร์ ในภาษาอังกฤษคำว่า "Petroglyph" มาจากคำสองคำในภาษากรีก คำว่า "Petros" ที่แปลว่า "หิน" และ "glyphein" ที่แปลว่า "แกะสลัก" เดิมเป็นคำที่คิดขึ้นในภาษาฝรั่งเศสว่า "pétroglyphe" "ศิลปะสกัดหิน" ไม่ควรจะสับสนกับคำว่า "ศิลปะวาดบนหิน" ซึ่งเป็นภาพที่วาดบนหน้าหิน แต่ศิลปะทั้งสองแบบจัดอยู่ในกลุ่มศิลปะหิน (Rock art) หรือ ศิลปะวางหิน (Petroform) ซึ่งเป็นศิลปะของการวางก้อนหินให้เป็นลวดลายหรือทรงต่างๆ บนพื้น หรือศิลปะก่อหิน (Inukshuk) ซึ่งเป็นศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งที่พบเฉพาะในบริเวณอาร์กติก.

ใหม่!!: ลายวงกตและศิลปะสกัดหิน · ดูเพิ่มเติม »

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

รูปสลักเดวิด เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี หนึ่งในประติมากรรมชิ้นเอกของยุคนี้ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance; Rinascimento; แปลว่า เกิดใหม่ หรือคืนชีพ) หรือ เรอแนซ็องส์ เป็นช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในทวีปยุโรป ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมยุคใหม่ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเป็นการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมที่กินเวลาตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึง 17 ประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงทางวรรณกรรม วิทยาศาสตร์ ศิลปะ ศาสนาและการเมือง การฟื้นฟูการศึกษาโดยอาศัยผลงานคลาสสิก การพัฒนาจิตรกรรม และการปฏิรูปการศึกษาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้อาศัยพลังของนักมนุษยนิยมและปัจเจกชนนิยมเป็นเครื่องจูงใจ เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเกิดขึ้นในฟลอเรนซ์ แคว้นทัสกานี ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14.

ใหม่!!: ลายวงกตและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

สมัยกลาง

แบบจำลองของหมวกหุ้มเกราะซึ่งถูกพบที่ซัททันฮู ในหลุมศพของผู้นำชาวแองโกล-แซกซัน สันนิษฐานว่าเป็นกษัตริย์ราวปี ค.ศ. 620 ในช่วงต้นสมัยกลางNees ''Early Medieval Art'' pp. 109–112 สมัยกลาง หรือ ยุคกลาง (Middle Ages) คือช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ยุโรป ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยปกติแล้วเริ่มนับตั้งแต่การล่มสลายลงของจักรวรรดิโรมันตะวันตก (การสิ้นสุดของสมัยคลาสสิก) จนถึงจุดเริ่มตั้นของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และยุคแห่งการสำรวจ ซึ่งเป็นยุคที่นำไปสู่สมัยใหม่ในเวลาต่อมา สมัยกลางคือช่วงเวลาตรงกลางของกระบวนการเปลี่ยนผ่านในประวัติศาสตร์ตะวันตกคือ สมัยคลาสสิก สมัยกลาง และสมัยใหม่ นอกจากนี้สมัยกลางยังถูกแบ่งออกเป็นสามช่วงเวลาคือ ต้นสมัยกลาง (Early Middle Ages), สมัยกลางยุครุ่งโรจน์ (High Middle Ages) และปลายสมัยกลาง (Late Middle Ages) ในยุคกลางตอนต้น การลดลงของประชากร, การหดตัวของเมือง และการรุกรานจากอนารยชน เริ่มต้นขึ้นในยุคโบราณตอนปลายและดำเนินไปอย่างรวดเร็ว เหล่าอนารยชนผู้บุกรุกเข้าตั้งอาณาจักรของตนในส่วนที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 แอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันตะวันออก ได้กลายไปเป็นจักรวรรดิอิสลามหลังจากถูกยึดครองโดยผู้สืบทอดของนบีมุฮัมมัด แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและโครงสร้างทางการเมืองมากมาย แต่ก็ไม่ได้เปลี่ยนไปจากยุคโบราณคลาสสิคอย่างสิ้นเชิง จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ยังคงอยู่รอดและรักษาอำนาจของตนเอาไว้ได้ นอกจากนี้แล้วอาณาจักรเกิดใหม่ส่วนใหญ่ยังคงเกี่ยวพันอยู่กับสถาบันที่หลงเหลืออยู่ของชาวโรมัน ในขณะที่วัดวาอารามของคริสต์ศาสนาได้แผ่ขยายไปทั่วยุโรปตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 และ 8 ชาวแฟรงก์ภายใต้การปกครองของราชวงศ์การอแล็งเฌียงได้สถาปนาจักรวรรดิขึ้นซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันตกมีนามว่า จักรวรรดิการอแล็งเฌียง ซึ่งยืนยงไปจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 9 เมื่อจักรวรรดิล่มสลายลงจากแรงงกดดันของการรุกรานจากภายนอก เช่น ชาวไวกิงจากทางเหนือ ชาวแมกยาร์จากทางตะวันออก และชาวซาราเซนจากทางใต้ ช่วงต้นสมัยกลางซึ่งเริ่มขึ้นหลังคริสต์ศตวรรษที่ 10 ประชากรของยุโรปขยายตัวอย่างมากจากการที่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีและทางการเกษตรทำให้การค้าขายเจริญรุ่งเรืองและการทำเรือกสวนไร่นาขยายตัว ระบบมาเนอร์ - องค์กรของชาวนาตามหมู่บ้านที่ติดค้างค่าเช่าที่ดินและหน้าที่ด้านแรงงานแก่ขุนนาง และระบบเจ้าขุนมูลนาย - โครงสร้างทางการเมืองที่ซึ่งอัศวินและขุนนางศักดิ์ต่ำกว่าติดค้างหน้าที่ด้านการทหารแก่เจ้านายผู้มีศักดิ์สูงกว่าของพวกเขาแลกกับสิทธิ์ในการเก็บค่าเช่าที่ดินและชาวนาใต้ปกครอง สองระบบนี้คือระเบียบของสังคมที่ใช้กันในยุคกลางตอนกลาง ต่อมาอาณาจักรเริ่มรวมศูนย์อำนาจมากขึ้นภายหลังการล่มสลายลงของจักรวรรดิคาโรแล็งเชียง สงครามครูเสดซึ่งเริ่มขึ้นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: ลายวงกตและสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมกอทิก

มหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมกอทิก สถาปัตยกรรมกอทิก (Gothic architecture) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่รุ่งเรืองในช่วงกลางสมัยกลางถึงปลายสมัยกลาง โดยวิวัฒนาการมาจากสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และตามด้วยสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา สถาปัตยกรรมกอทิกเกิดขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึง 16 โดยเริ่มขึ้นในประเทศฝรั่งเศสก่อนที่จะเผยแพร่ไปยังประเทศอังกฤษ และต่อไปยังทวีปยุโรปโดยทั่วไป สถาปัตยกรรมกอทิกเริ่มขึ้นในฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 12 และรุ่งเรืองต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในระยะแรก สถาปัตยกรรมทรงนี้เรียกกันว่า "แบบฝรั่งเศส" (Opus Francigenum) คำว่า "กอทิก" มาเริ่มใช้กันในตอนปลายยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในทางที่เป็นการหมิ่นลักษณะสถาปัตยกรรม ลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมแบบกอทิกที่เป็นที่รู้จักกันดีคือการใช้โค้งแหลม เพดานสัน และ ค้ำยันแบบปีก สถาปัตยกรรมกอทิกเป็นสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการสร้างอาสนวิหาร แอบบี และคริสต์ศาสนสถานอื่น ๆ ของยุโรป นอกจากนั้นก็ยังใช้ในกาสร้างปราสาท, วัง, ตึกเทศบาลเมือง, มหาวิทยาลัย และบางครั้งก็สำหรับที่อยู่อาศัยแต่ก็ไม่มากนัก สถาปัตยกรรมกอทิกที่ใช้ในการก่อสร้างโบสถ์และอาสนวิหาร และในสิ่งก่อสร้างบางสิ่งของฆราวาสที่เป็นการแสดงลักษณะการก่อสร้างอันมีพลัง ลักษณะรูปทรงของสิ่งก่อสร้างแบบกอทิกเป็นลักษณะที่ก่อให้เกิดความสะเทือนทางอารมณ์ ซึ่งทำให้เป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นที่นิยมใช้ในการก่อสร้างสถาปัตยกรรมทางศาสนา และสิ่งก่อสร้างหลายแห่งก็มีคุณค่าสูงพอที่จะได้รับการมอบฐานะให้เป็นมรดกโลก ในอังกฤษในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ก็เริ่มมีการก่อสร้างสถาปัตยกรรมที่เลียนแบบสถาปัตยกรรมกอทิก ที่เรียกว่าสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก ที่เผยแพร่ไปยังยุโรป ที่เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานและมหาวิทยาลัย ความนิยมสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิกดำเนินต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 สถาปัตยกรรมกอทิกพัฒนาขึ้นจากปัญหาทางโครงสร้าง โบสถ์ในสมัยนั้นได้เปลี่ยนแปลงมาใช้โครงสร้างหลังคาโค้งแหลม (point vault) แรงกดของโครงสร้างหลังคาโค้งแหลม จึงพุ่งเป็นเส้นดิ่งมากกว่าโค้งครึ่งวงกลมและถ่ายน้ำหนักจากหลังคาโค้งไปยังเสา (pier) ที่รองรับซึ่งจะสูงชะลูดและมีส่วนค้ำยันผนังเป็นครีบอยู่ภายนอกอาคาร ที่เรียกว่า ครีบยัน ซึ่งตั้งต้นจากยอดของเสาด้านในเอียงมาจดผนังครีบริมนอก ช่วยรับน้ำหนักของโค้งอีกด้วย ส่วนน้ำหนักที่พุ่งออกมาจากด้านข้างของโค้งตรงส่วนข้างของโบสถ์อาศัยผนังครีบด้านนอกรับไว้ ช่วงแต่ละช่วงจึงมีระยะห่างไม่ได้มาก ดังนั้น ส่วนสัดของช่องระหว่างเสาและรูปทรงโบสถ์สมัยกอทิกจะสูงชะลูดและแคบ และเนื่องจากไม่ได้ใช้ผนังรับน้ำหนักอีกต่อไป จึงสามารถเจาะช่องหน้าต่างซึ่งมักทำเป็นรูปวงกลมมีลวดลาย และประดับด้วยกระจกสีที่เรียกว่า หน้าต่างกุหลาบ ได้มากขึ้น ทางด้านจังหวะในงานสถาปัตยกรรม ในสมัยแรก ๆ มักใช้จังหวะตายตัวและซ้ำ ๆ กัน ภายในอาคารมักใช้เสารายเป็นแนว เพื่อดึงความสนใจไปเพียงที่แห่งเดียวคือ แท่นบูชา แต่ต่อมาก็เปลี่ยนแปลงไปจะใช้จังหวะที่เป็นอิสระมากขึ้น.

ใหม่!!: ลายวงกตและสถาปัตยกรรมกอทิก · ดูเพิ่มเติม »

สแกนดิเนเวีย

แกนดิเนเวีย (Scandinavia; Skandinavia; Skandinavien) เป็นภูมิภาคทางภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ มีศูนย์กลางอยู่ที่คาบสมุทรสแกนดิเนเวียในยุโรปเหนือ มาจากชื่อเดิมว่า มณฑลสกาเนียน (Scanian Province) ประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวีย ได้แก่ ราชอาณาจักรสวีเดน นอร์เวย์ และเดนมาร์ก อาจรวมถึงประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มนอร์ดิก เช่น ประเทศไอซ์แลนด์ และประเทศฟินแลนด์ จากความสัมพันธ์ใกล้ชิดทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางภาษาและวัฒนธรรม นิยามของสแกนดิเนเวียอาจขยายไปถึงดินแดนที่เคยมีการพูดภาษานอร์เวย์โบราณและดินแดนที่มีการพูดภาษากลุ่มเจอร์แมนิกเหนือ ดังนั้น ในทางภาษาและวัฒนธรรม สแกนดิเนเวียจึงรวมถึงประเทศไอซ์แลนด์และหมู่เกาะแฟโร นอกจากนี้ ในทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม สแกนดิเนเวียอาจรวมถึงฟินแลนด์ จากการที่ฟินแลนด์เป็นส่วนหนึ่งของสวีเดนมายาวนาน ถึงแม้ว่าฟินแลนด์จะมีความเกี่ยวข้องทางวัฒนธรรมกับชาติสแกนดิเนเวียอื่นๆ แต่ชาวฟินแลนด์มีเชื่อชาติและภาษาแบบฟินโน-ยูกริก ซึ่งมีลักษณะของทั้งยุโรปตะวันตกและตะวันออก ถึงแม้ว่าความหมายของสแกนดิเนเวียอาจขึ้นอยู่กับบริบท กลุ่มนอร์ดิก นั้นหมายถึงนอร์เวย์ สวีเดน เดนมาร์ก ฟินแลนด์ และไอซ์แลนด์ รวมถึงหมู่เกาะแฟโร กรีนแลนด์ และหมู่เกาะโอลันด์ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันทั้งในด้านการเมืองและด้านวัฒนธรรม.

ใหม่!!: ลายวงกตและสแกนดิเนเวีย · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะซอโลเวตสกี

หมู่เกาะซอโลเวตสกี (Солове́цкие острова́; Solovetsky Islands) เป็นหมู่เกาะในประเทศรัสเซีย ในอ่าวโอเนกา ทางตะวันตกเฉียงใต้ของทะเลขาว ในอาร์คันเกลสค์โอบลาสต์ เดินทางเข้าถึงหมู่เกาะโดยสนามบินซอโลเวตสกี แต่เดิมเป็นสถานที่เนรเทศ นับตั้งแต่ทศวรรษ 1970 เป็นแหล่งอนุรักษ์ทางประวัติศาสตร์และธรรมชาติ ซอโลเวตสกี ซอโลเวตสกี ซอโลเวตสกี หมวดหมู่:อาร์ฮันเกลสค์โอบลาสต์‎.

ใหม่!!: ลายวงกตและหมู่เกาะซอโลเวตสกี · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะซิลลี

หมู่เกาะซิลลี หมู่เกาะซิลลี (Isles of Scilly; Ynysek Syllan; Les Sorlingues) เป็น "กลุ่มเกาะ" (Archipelago) ที่ตั้งอยู่ที่ปลายคาบสมุทรคอร์นวอลล์ของสหราชอาณาจักร ตามธรรมเนียมแล้วเป็นส่วนการบริหารของมณฑลคอร์นวอลล์ แต่หมู่เกาะซิลลีมีเทศบาลท้องถิ่น (Unitary authority) ของตนเองมาตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: ลายวงกตและหมู่เกาะซิลลี · ดูเพิ่มเติม »

อักษรไลเนียร์บี

อักษรไลเนียร์บีเป็นอักษรโบราณชนิดหนึ่งที่พบในประเทศกรีซและบริเวณใกล้เคียง มมีลักษณะใกล้เคียงกับอักษรไลเนียร์เอ.

ใหม่!!: ลายวงกตและอักษรไลเนียร์บี · ดูเพิ่มเติม »

อารยธรรมไมนอส

วนหนึ่งของพระราชวังที่คนอสซอสที่สร้างขึ้นให้เห็นภาพจากการขุดค้นของนักโบราณคดี อารยธรรมไมนอส (Minoan civilization) เป็นวัฒนธรรมของยุคสำริดที่เกิดขึ้นในครีต อารยธรรมไมนอสรุ่งเรืองระหว่างราวศตวรรษที่ 27 จนถึงกลางศตวรรษที่ 15 ก่อนคริสต์ศักราช หลังจากนั้นอารยธรรมไมซีนี (Mycenaean civilization) ก็เข้ามาแทนที่ อารยธรรมไมนอสพบเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยนักโบราณคดีชาวอังกฤษชื่อเซอร์อาร์เธอร์ อีแวนส์ ตามคำกล่าวของวิลล์ ดูรันต์วัฒนธรรมครีตไมนอสมีตำแหน่งในประวัติศาสตร์ว่าเป็น “สิ่งแรกที่เชื่อมวัฒนธรรมยุโรป”.

ใหม่!!: ลายวงกตและอารยธรรมไมนอส · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารชาทร์

อาสนวิหารชาทร์ (Cathédrale de Chartres) หรือ อาสนวิหารแม่พระแห่งชาทร์ (Cathédrale Notre-Dame de Chartres) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิกประจำมุขมณฑลชาทร์ ตั้งอยู่ที่เมืองชาทร์ในประเทศฝรั่งเศส (ราว 80 กิโลเมตรทางตะวันตกเฉียงใต้) ของกรุงปารีส เป็นสิ่งก่อสร้างตามสถาปัตยกรรมกอทิกแบบฝรั่งเศสชิ้นที่งามที่สุดชิ้นหนึ่งของฝรั่งเศส เมื่อมองจากนอกเมืองอาสนวิหารเหมือนกับผุดขึ้นมาจากทุ่งข้าวสาลี จนเมื่อเข้าไปใกล้เข้าจึงเห็นว่าตั้งอยู่เหนือกลุ่มบ้านเรือนที่เกาะกันเป็นกระจุกบนเนินรอบ ๆ ด้านหน้าอาสนวิหารเป็นหอสองหอที่มีลักษณะต่างกัน — หอหนึ่งเป็นหอพีระมิดเรียบ ๆ ที่สร้างราวคริสต์ทศวรรษ 1140 ที่สูง 105 เมตร อีกหอหนึ่งสูง 113 เมตร สร้างราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่ตกแต่งอย่างวิจิตรกว่าหอแรก ภายนอกอาสนวิหารเป็นค้ำยันแบบปีกที่กางออกไปรอบตัวอาสนวิหาร อาสนวิหารชาทร์ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโกในปี..

ใหม่!!: ลายวงกตและอาสนวิหารชาทร์ · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารอาเมียง

รูปสลักนักบุญด้านหน้าอาสนวิหาร อาสนวิหารอาเมียง (Cathédrale d'Amiens) มีชื่อเต็มว่า อาสนวิหารแม่พระแห่งอาเมียง (Cathédrale Notre-Dame d'Amiens) เป็นอาสนวิหารที่สูงที่สุดในประเทศฝรั่งเศส มีฐานะเป็นอาสนวิหารประจำมุขมณฑลอาเมียง มีเนื้อที่ภายในกว้างใหญ่ถึง 200,000 ตารางเมตร หลังคาโค้งกอทิกสูง 42.30 เมตรซึ่งเป็นหลังคาแบบกอทิกที่สูงที่สุดในฝรั่งเศส ตัวอาสนวิหารตั้งอยู่ที่เมืองอาเมียงซึ่งเป็นเมืองสำคัญของแคว้นโอดฟร็องส์ในหุบเขาซอม ห่างจากกรุงปารีสไปทางทิศเหนือประมาณ 100 กิโลเมตร.

ใหม่!!: ลายวงกตและอาสนวิหารอาเมียง · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารแร็งส์

อาสนวิหารแร็งส์ (Cathédrale de Reims) หรือชื่อทางการว่า อาสนวิหารแม่พระแห่งแร็งส์ (Cathédrale Notre-Dame de Reims) เป็นอาสนวิหารสำคัญของเมืองแร็งส์ จังหวัดมาร์น ประเทศฝรั่งเศส ที่เคยใช้ในพิธีสวมมงกุฎกษัตริย์ของประเทศฝรั่งเศส อาสนวิหารที่เห็นในปัจจุบันสร้างบนฐานของวิหารเดิมที่ถูกเพลิงไหม้ไปเมื่อ..

ใหม่!!: ลายวงกตและอาสนวิหารแร็งส์ · ดูเพิ่มเติม »

อีเลียด

ปกมหากาพย์ ''อีเลียด'' เชื่อว่าพิมพ์ในปี ค.ศ. 1572 อีเลียด (Ἰλιάς Ilias; Iliad) เป็นหนึ่งในสองบทกวีมหากาพย์กรีกโบราณของโฮเมอร์ ซึ่งเล่าเรื่องราวของสงครามเมืองทรอยในช่วงปีที่สิบอันเป็นปีที่สิ้นสุดสงคราม เชื่อกันว่า อีเลียด ถูกแต่งขึ้นในช่วงศตวรรษที่แปดก่อนคริสตกาล นักวิชาการหลายคนเชื่อว่า บทกวีเรื่องนี้เป็นวรรณกรรมที่เก่าแก่ที่สุดในภาษากรีกโบราณ จึงถือได้ว่าเป็นวรรณกรรมชิ้นแรกของยุโรป แม้จะมีชื่อผู้ประพันธ์ปรากฏเพียงคนเดียว แต่จากลักษณะของบทกวีที่บอกเล่าสืบต่อกันมาแบบปากเปล่ารุ่นต่อรุ่น จึงมีความเป็นไปได้ว่ามีผู้ประพันธ์มากกว่าหนึ่งคน เรื่องราวในบทกวีบรรยายถึงเหตุการณ์ในปีที่สิบซึ่งเป็นปีสุดท้ายของเหตุการณ์ที่ชาวกรีกบุกยึดนครอีเลียน หรือเมืองทรอย คำว่า "อีเลียด" หมายถึง "เกี่ยวกับอีเลียน" (ภาษาละตินเรียก อีเลียม (Ilium)) อันเป็นชื่อเรียกส่วนนครหลวง ซึ่งแตกต่างกับ ทรอย (Truva; Τροία, Troía; Troia, Troiae) อันหมายถึงนครรัฐที่อยู่ล้อมรอบอีเลียม แต่คำทั้งสองคำนี้มักใช้รวมๆ กันหมายถึงสถานที่แห่งเดียวกัน.

ใหม่!!: ลายวงกตและอีเลียด · ดูเพิ่มเติม »

อคิลลีส

ทิสมอบเกราะและโล่ที่เทพช่างเหล็กฮิฟีสตัสตีขึ้นแก่อคิลลีสลูกชาย อคิลลีส (Achilles, Akhilleus, Achilleus; ภาษากรีกโบราณ: Ἀχιλλεύς) เป็นวีรบุรุษในตำนานกรีกโบราณว่าด้วยเรื่องสงครามเมืองทรอย เป็นตัวละครหลักและนักรบผู้ยิ่งใหญ่ในมหากาพย์อีเลียดของโฮเมอร์ เป็นแก่นของแนวเรื่องหลักในมหากาพย์นั้น คือ "โทสะของอคิลลีส" อคิลลีสเป็นบุตรของท้าวพีลูส กษัตริย์ชาวเมอร์มิดอน กับนางพรายทะเลเธทิส เกิดที่เมืองฟาร์สะลา แคว้นเทสสะลี แต่เดิมนางพรายทะเลเธทิสเป็นที่หมายปองของเทพซูสและโพไซดอน แต่ภายหลังโปรมีธูสแจ้งคำพยากรณ์ต่อเทพทั้งสองว่า บุตรของเธทิสจะเป็นผู้ยิ่งใหญ่กว่าบิดา เทพทั้งสองจึงยกนางให้แก่พีลูส เมื่ออคิลลีสเกิด เธทิสได้จุ่มร่างของบุตรลงในแม่น้ำสติกส์เพื่อให้เป็นคงกระพัน ร่างกายของอคิลลีสจึงแข็งแกร่ง ไม่มีอาวุธใดทำอันตรายได้ อย่างไรก็ดีขณะนางจุ่มร่างบุตร เธทิสใช้มือกุมข้อเท้าบุตรไว้ ดังนั้นทั่วร่างอคิลลีสจึงมีเพียงข้อเท้าที่ไม่ได้อาบน้ำศักดิ์สิทธิ์ เป็นจุดอ่อน ซึ่งในภาษาอังกฤษมีสำนวนว่า "Achilles' heel" หมายถึง จุดอ่อน อคิลลีสได้ชื่อว่าเป็นสุดยอดแห่งนักรบ เป็นผู้ที่มีฝีมือการต่อสู้ฉกาจฉกรรจ์มาก เมื่อพระเจ้าอกาเมมนอนรวบรวมทัพเพื่อยกไปตีเมืองทรอย จึงได้เชิญตัวอคิลลีสไปด้วย คำพยากรณ์มีว่า กรีกไม่มีวันเอาชนะทรอยได้หากปราศจากอคิลลีส กระนั้นก็มีคำพยากรณ์สำหรับอคิลลีสว่า เขาจะสิ้นชีวิตหากสังหารแม่ทัพทรอย คือ เฮกเตอร์ อคิลลีสไปถึงเมืองทรอยด้วยอายุเพียง 10 ขวบ และตั้งกองทัพอยู่ชายฝั่งเมืองทรอยนานถึง 15 ปี ระยะแรกอคิลลีสยังไม่มีความมุ่งมาดที่จะเอาชนะ จนกระทั่งเปรโตคัส เพื่อนรักอย่างยิ่งของอคิลลิส ถูกเฮกเตอร์สังหาร อคิลลิสจึงมีโทสะอย่างมากในการรบ จึงได้ขอดวลเดี่ยวกับเฮกเตอร์เพื่อล้างแค้นและสามารถสังหารเฮกเตอร์ได้ และลากศพของเฮกเตอร์ไปรอบ ๆ เมืองทรอยด้วยรถม้าเป็นการประจาน อคิลลีสเป็นผู้ที่บุกตะลุยเข้าไปในเมืองหลังจากเข้าเมืองได้ด้วยอุบายม้าไม้ของโอดิซูส และอคิลลีสก็ถูกสังหารจริง ๆ ตามคำทำนายด้วยลูกธนูที่ข้อเท้าจากการยิงของปารีส เมื่ออคิลลีสเสียชีวิตไปแล้ว ได้ทิ้งชื่อไว้เป็นตำนานให้เลื่องลือ กล่าวกันว่า โล่ห์ของอคิลลีส (Shield of Achilles) ซึ่งเป็นโลห์ที่อคิลลีสใช้สู้กับเฮคเตอร์เป็นสิ่งที่ใครต่อใครต้องการแสวงหา และอเล็กซานเดอร์มหาราชก็นับถืออคิลลีสเป็นอย่างมาก โดยถือว่าพระองค์สืบเชื้อสายมาจากอคิลลีส และพระองค์ยังออกตามหาหลุมศพของอคิลลีสรวมทั้งปรารถนาจะครอบครองโล่ห์ของอคิลลีสด้วย ซึ่งเชื่อว่าได้ถูกฝังอยู่ในหลุมศพของอคิลลี.

ใหม่!!: ลายวงกตและอคิลลีส · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลขาว

ทะเลขาว ภาพถ่ายทะเลขาวจากดาวเทียม ทะเลขาว (Белое море; White Sea) ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศรัสเซีย ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรคานินกับคาบสมุทรโคลา หมวดหมู่:ทะเลแบเร็นตส์ ขาว หมวดหมู่:ทะเลในประเทศรัสเซีย.

ใหม่!!: ลายวงกตและทะเลขาว · ดูเพิ่มเติม »

ดอลเมน

"ดอลเมนพูลนาบรอน" ในไอร์แลนด์ “Dólmen da Aboboreira” ใน โปรตุเกส ดอลเมน (dolmen, Welsh: anta, Hünengrab, Hunebed, Goindol และ portal dolmen) เป็นที่เก็บศพก่อนประวัติศาสตร์ (megalithic tomb) ชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเป็นห้องเดียว ที่มักจะสร้างด้วยการตั้งหินสามก้อนหรือกว่านั้นรองรับแผ่นหินแบบที่ตั้งตามแนวราบเหมือนโต๊ะ ดอลเมนสร้างกันมาตั้งแต่สมัยยุคหินใหม่ราว 4000 ถึง 3000 ก่อนคริสต์ศักราช และมักจะคลุมด้วยดินหรือกรวดจนมีลักษณะเป็นเนินทิวมิวลัส (Tumulus) เมื่อเวลาผ่านไปดินหรือหินก็หลุดร่วงหรือกร่อนไปทำให้เหลือแต่โครงสร้างที่เป็นหินที่ยังคงตั้งอยู.

ใหม่!!: ลายวงกตและดอลเมน · ดูเพิ่มเติม »

ครีต

รีต (Crete) หรือ ครีตี (Κρήτη: Krētē, Kriti) เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในหมู่เกาะกรีกและเป็นเกาะที่ใหญ่เป็นลำดับห้าในบรรดาเกาะในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ที่มีเนื้อที่ 8,336 ตารางกิโลเมตร ครีตเป็นศูนย์กลางของอารยธรรมมิโนอัน (Minoan civilization) ที่เป็นอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดในบรรดาอารยธรรมกรีกที่รุ่งเรืองระหว่างราว 2600 ถึง 1400 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในปัจจุบันครีตเป็นหนึ่งในสิบสามเขตการปกครองของกรีซ (Peripheries of Greece) และมีความสำคัญทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมต่อกรีซ เดิมเกาะครีตรู้จักกันในชื่อภาษาอิตาลีว่า “คันเดีย” (Candia) จากชื่อเมืองหลวงในยุคกลางเฮราคลิออน (Heraklion) “Chandax” (ภาษากรีก: Χάνδαξ หรือ Χάνδακας, "คู", ตุรกี: Kandiye) ในภาษาละตินเรียกว่า “เครตา” (Creta) และในภาษาตุรกีเรียกว่า “กิริต” (Girit) ที่ตั้งของครีตมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ในปัจจุบันเป็นสถานที่ที่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว ครีตเป็นที่ตั้งของ สถาที่สำคัญของอารยธรรมมิโนอันที่รวมทั้งคนอสซอส และ ไฟทอส (Phaistos), กอร์ทิส (Gortys), เมืองท่าคาเนีย (Chania) ของเวนิส, ปราสาทเวนิสที่เรธิมโน (Rethymno) และ ซอกเขาซามาเรีย (Samaria Gorge) ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเกาะครีตเป็นฐานทัพเรือของอิตาลี.

ใหม่!!: ลายวงกตและครีต · ดูเพิ่มเติม »

คนอสซอส

วนหนึ่งของพระราชวังที่คนอสซอสที่สร้างขึ้นให้เห็นภาพจากการขุดค้นของนักโบราณคดี คนอสซอส (Knossos,; Κνωσός) หรือที่เรียกว่า "ลายวงกต" หรือ "พระราชวังคนอสซอส" คือแหล่งโบราณคดีที่ใหญ่ที่สุดของยุคสัมฤทธิ์บนเกาะครีตที่อาจจะใช้เป็นสถานที่สำหรับบริหารราชการและทำพระราชพิธีของอารยธรรมและวัฒนธรรมไมนวน พระราชวังเป็นกลุ่มห้องอันซับซ้อนที่ประกอบด้วยห้องทำงาน ที่อยู่อาศัย และที่เก็บของไม่ไกลจากจตุรัสกลางพระราชวัง บนผนังของพระราชวังเป็นภาพรายละเอียดของชีวิตชาวครีตในปลายยุคสัมริด ในปัจจุบันคนอสซอสเป็นสถานที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวเพราะตั้งอยู่ใกล้กับเมืองใหญ่ฮีราคลีออน คนอสซอสได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์เป็นอันมากโดยนักโบราณคดีชาวอังกฤษเซอร์อาร์เทอร์ อีแวนส์ เมืองคนอสซอสมีความสำคัญจนตลอดสมัยคลาสสิกและสมัยโรมัน แต่ชาวเมืองย้ายไปอยู่ในเมืองคันดักส์ซึ่งเป็นเมืองใหม่ (ฮีราคลีออนในปัจจุบัน) ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 9 เมื่อมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 13 คนอสซอสก็มีชื่อใหม่ว่า "มาครีเทคอส" (Makryteikhos หรือ "กำแพงยาว") แต่บิชอปแห่งกอร์ทินยังคงเรียกตนเองว่าบิชอปแห่งคนอสซอสมาจนกระทั่งถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในปัจจุบันคำว่า "คนอสซอส" ใช้เฉพาะในการเรียกแหล่งโบราณคดีที่ตั้งอยู่ที่ปริมณฑลของเมืองฮีราคลีออนเท่านั้น.

ใหม่!!: ลายวงกตและคนอสซอส · ดูเพิ่มเติม »

ซานฟรานซิสโก

ซานฟรานซิสโก หรือ แซนแฟรนซิสโก (San Francisco) คือเมืองในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา มีประชากร ประมาณ 808,976 คน ซึ่งเป็นเมืองที่มีความหนาแน่นประชากรเป็นอันดับสองของประเทศ เมืองซานฟรานซิสโกตั้งอยู่บริเวณอ่าวซานฟรานซิสโก ชาวยุโรปกลุ่มแรกที่มาตั้งรกรากในซานฟรานซิสโกคือชาวสเปน โดยในปี ค.ศ. 1776 เมืองมีชื่อว่า เซนต์ฟรานซิส (St. Francis) ในภายหลังจากช่วงยุคตื่นทองในปี ค.ศ. 1848 ทำให้ประชากรในซานฟรานซิสโกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และเมืองเติบโตอย่างมาก ถึงแม้ว่าซานฟรานซิสโกจะประสบปัญหา แผ่นดินไหวและไฟไหม้ขนาดใหญ่ในช่วงปี..

ใหม่!!: ลายวงกตและซานฟรานซิสโก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

ใหม่!!: ลายวงกตและประเทศฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสกอตแลนด์

กอตแลนด์ (Scotland; Alba อาละเปอะ) เป็นชาติของชนชาวสก็อตและเป็นส่วนหนึ่งของประเทศสหราชอาณาจักร โดยครอบคลุมพื้นที่หนึ่งในสามทางตอนเหนือของเกาะบริเตนใหญ่ มีพรมแดนร่วมกับประเทศอังกฤษทางทิศใต้ ส่วนที่เหลือล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติก ทางตะวันออกเป็นทะเลเหนือ และทิศตะวันตกเฉียงใต้จดช่องแคบเหนือและทะเลไอร์แลนด์ นอกเหนือจากแผ่นดินใหญ่แล้ว ประเทศสกอตแลนด์ยังมีเกาะอีกกว่า 790 เกาะ เอดินบะระ เมืองหลวงและนครใหญ่ที่สุดอันดับสองของประเทศ เป็นศูนย์กลางยุคเรืองปัญญาของชาวสกอตในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งเปลี่ยนสกอตแลนด์มาเป็นมหาอำนาจทางพาณิชย์ ทางการศึกษา และทางอุตสาหกรรมเมืองหนึ่งของทวีปยุโรป ฯ กลาสโกว์ นครใหญ่สุดของสกอตแลนด์ เคยเป็นนครอุตสาหกรรมชั้นนำของโลกและปัจจุบันเป็นศูนย์กลางของเขตเมืองขยายเกรตเตอร์กลาสโกว์ น่านน้ำสกอตแลนด์ประกอบด้วยทะเลแอตแลนติกเหนือและทะเลเหนือ ซึ่งมีปริมาณน้ำมันสำรองใหญ่สุดในสหภาพยุโรป ทำให้เมืองแอเบอร์ดีน นครใหญ่สุดอันดับสามในสกอตแลนด์ ได้ชื่อว่าเป็นเมืองหลวงน้ำมันของทวีปยุโรป เดิมราชอาณาจักรสกอตแลนด์เป็นประเทศอิสระที่ไม่ขึ้นกับประเทศอังกฤษจนถึง..

ใหม่!!: ลายวงกตและประเทศสกอตแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

วิตเซอร์แลนด์ (Switzerland; die Schweiz; la Suisse; Svizzera; Svizra) มีชื่อทางการว่า สมาพันธรัฐสวิส (Swiss Confederation; Confoederatio Helvetica) เป็นประเทศขนาดเล็กที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล และตั้งอยู่ในทวีปยุโรปตะวันตก โดยมีพรมแดนติดกับ ประเทศเยอรมนี ประเทศฝรั่งเศส ประเทศอิตาลี ประเทศออสเตรีย และประเทศลิกเตนสไตน์ นอกจากจะมีความเป็นกลางทางการเมืองแล้ว สวิตเซอร์แลนด์นับว่ามีการร่วมมือกันระหว่างประเทศเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นที่ตั้งขององค์กรนานาชาติหลายแห่ง นอกจากนี้ลักษณะของประเทศยังคล้ายกับประเทศเบลเยียม.

ใหม่!!: ลายวงกตและประเทศสวิตเซอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิตาลี

อิตาลี (Italy; Italia อิตาเลีย) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐอิตาลี (Italian Republic; Repubblica italiana) เป็นประเทศในทวีปยุโรป บริเวณยุโรปใต้ ตั้งอยู่ในคาบสมุทรอิตาลีที่มีรูปทรงคล้ายรองเท้าบูต และมีเกาะ 2 เกาะใหญ่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คือ เกาะซิซิลีและเกาะซาร์ดิเนีย และพรมแดนตอนเหนือแบ่งประเทศโดยเทือกเขาแอลป์ กับประเทศฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย และสโลวีเนีย ประเทศอิตาลีเป็นประเทศสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ นาโต และกลุ่มจี 8 มีประเทศอิสระ 2 ประเทศ คือ ซานมารีโนและนครรัฐวาติกัน เป็นดินแดนที่ล้อมรอบไปด้วยพื้นที่ของอิตาลี ในขณะที่เมืองกัมปีโอเนดีตาเลีย เป็นดินแดนส่วนแยกของอิตาลีที่ถูกล้อมรอบด้วยพื้นที่ประเทศสวิตเซอร์แลน.

ใหม่!!: ลายวงกตและประเทศอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ใหม่!!: ลายวงกตและประเทศอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเบลเยียม

ลเยียม (Belgium) หรือชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรเบลเยียม (Kingdom of Belgium) เป็นประเทศในยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเนเธอร์แลนด์ เยอรมนี ลักเซมเบิร์ก ฝรั่งเศส และทะเลเหนือ เบลเยียมเป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งของสหภาพยุโรป และเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ เช่นเดียวกับของอีกหลายองค์กรระหว่างประเทศรวมถึงองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ ทั้งนี้ ลักษณะของประเทศ ยังคล้ายกับ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์อีกด้วย เบลเยียมมีความหลากหลายทางภาษาค่อนข้างสูง ส่งผลต่อระบบการปกครองที่ค่อนข้างซับซ้อน เบลเยียมแบ่งออกเป็นสองภูมิภาคใหญ่ ๆ ได้แก่ฟลานเดอส์ ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาดัตช์ และวัลโลเนีย ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาฝรั่งเศส บรัสเซลส์ เมืองหลวงของเบลเยียม เป็นเขตทวิภาษา ตั้งอยู่ในฟลานเดอส์ นอกจากนี้ยังมีชุมชนที่พูดภาษาเยอรมันในทางตะวันออกของวัลโลเนียด้วย คำว่าเบลเยียม (Belgium ในภาษาอังกฤษ België และ Belgique ในภาษาดัตช์และฝรั่งเศส) มีที่มาจาก Gallia Belgica ซึ่งเป็นจังหวัดในยุคโรมัน มีกลุ่มชาว Belgae อยู่อาศั.

ใหม่!!: ลายวงกตและประเทศเบลเยียม · ดูเพิ่มเติม »

ปริศนา

ปริศนา (puzzle) คือปัญหาสำหรับท้าทายความเฉลียวฉลาด (ingenuity) ของมนุษย์ ปริศนามักจะถูกออกแบบมาเพื่อความบันเทิง แต่บางครั้งก็กลายเป็นปัญหาทางตรรกศาสตร์หรือคณิตศาสตร์อย่างจริงจัง สำหรับกรณีหลัง ผลสำเร็จของปริศนาอาจมีความสำคัญในการพิสูจน์และการวิจัยทางด้านคณิตศาสตร์ การหาผลสำเร็จของปริศนาบางอย่างอาจต้องใช้แบบแผน (pattern) และขั้นตอนที่เฉพาะเจาะจง บุคคลที่มีความสามารถในการเรียนรู้ได้เร็ว อาจสามารถไขปัญหาได้ดีกว่าบุคคลอื่น ปริศนาซึ่งมีพื้นฐานอยู่บนการเสาะหาและการค้นพบแนวทางในการแก้ปัญหา อาจแก้ได้รวดเร็วกว่าด้วยทักษะการอนุมานที่ดี.

ใหม่!!: ลายวงกตและปริศนา · ดูเพิ่มเติม »

ปาโบล ปีกัสโซ

Signatur Pablo Picasso ปาโบล รุยซ์ ปีกัสโซ (Pablo Ruiz Picasso;;; 25 ตุลาคม ค.ศ. 1881 – 8 เมษายน ค.ศ. 1973) จิตรกรเอกของโลก เป็นบุคคลที่นิตยสาร TIME ยกย่องให้เป็นศิลปินที่มีพรสวรรค์ในการสร้างสรรค์มากที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ปีกัสโซเกิดเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม..

ใหม่!!: ลายวงกตและปาโบล ปีกัสโซ · ดูเพิ่มเติม »

แอฟริกาเหนือ

นแดนแอฟริกาเหนือ แอฟริกาเหนือ หรือ แอฟริกาตอนเหนือ เป็นภูมิภาคที่อยู่ทางตอนเหนือของทวีปแอฟริกาประกอบไปด้วย 7 ประเทศคือ.

ใหม่!!: ลายวงกตและแอฟริกาเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นตอสคานา

ตอสคานา (Toscana) หรือ ทัสกานี (Tuscany) เป็นแคว้นหนึ่งของประเทศอิตาลี มีเมืองฟลอเรนซ์ (ฟีเรนเซ) เป็นเมืองหลัก มีเนื้อที่ทั้งหมด 22,990 ตารางกิโลเมตร และมีผู้คนอาศัยอยู่ 3.6 ล้านคน แคว้นตอสคานามีความสำคัญในทางประวัติศาสตร์ ศิลปกรรม (เนื่องจากเป็นที่กำเนิดของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา) สถาปัตยกรรม ศาสนา วัฒนธรรม และอุตสาหกรรม (เนื่องจากมีโรงงานผลิตเสื้อผ้า เสื้อนุ่งห่ม เครื่องหนังจำนวนมาก) ของประเทศอิตาลี แคว้นแห่งนี้เองที่เป็นที่ตั้งของหอเอนเมืองปิซาอันโด่งดัง นอกจากนี้ แคว้นตอสคานายังขึ้นชื่อว่ามีทิวทัศน์งดงามมาก และมีไวน์รสชาติดีเยี่ยม ภาษาอิตาลีที่พูดกันในแคว้นตอสคานาเป็นที่ยอมรับว่าเป็นการพูดแบบชาวอิตาลีโดยแท้จริงและยอมรับให้เป็นสำเนียงราชการ สำหรับชื่อแคว้น ชาวอิตาลีเรียกชื่อแคว้นนี้ว่า "ตอสคานา" แต่ภาษาอังกฤษเรียกชื่อแคว้นนี้ว่า "ทัสกานี" ในภาษาอื่น ๆ ก็มีชื่อเรียกต่างกันไปอีก เช่น ภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า Toscane ในภาษาละตินเรียกว่า Toscia เป็นต้น.

ใหม่!!: ลายวงกตและแคว้นตอสคานา · ดูเพิ่มเติม »

โบราณคดี

การขุดค้นซากโบราณ โบราณคดี (Archaeology) คือ วิชาที่ว่าด้วย การศึกษาเรื่องราวในอดีตของมนุษย์ โดยผ่านทางการศึกษาหลักฐานทางโบราณคดี ที่ได้มาจากการสำรวจ การขุดค้น (โบราณวัตถุ) การขุดแต่ง (โบราณสถาน) และการศึกษาเอกสารทางประวัติศาสตร์ประเภทต่างๆ (ศิลาจารึก จดหมายเหตุ พงศาวดาร) โดยทั่วไป จะต้องใช้ศาสตร์ด้านอื่นๆ ประกอบในการวิเคราะห์และตีความหลักฐานทางโบราณคดีที่ได้จากกระบวนการข้างต้น เพื่อให้เรื่องราวในอดีตของมนุษย์มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ศาสตร์เหล่านั้น เช่น ประวัติศาสตร์ศิลปะ ธรณีวิทยา สัตววิทยา พฤกษศาสตร์ เรณูวิทยา การกำหนดอายุทางวิทยาศาสตร์ เป็นต้น ที่ประเทศไทย มีการเปิดสอนคณะโบราณคดี ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ เป็นเพียงที่เดียวในประเทศไท.

ใหม่!!: ลายวงกตและโบราณคดี · ดูเพิ่มเติม »

โบสถ์คริสต์

อารามเอททัล โบสถ์แบบฟื้นฟูคลาสสิกเซนต์นิโคโลที่เมืองมองทู โรโร ประเทศอิตาลี มหาวิหารแฮรฟอร์ด, อังกฤษ ด้านหน้ามหาวิหารปิซา, อิตาลี โบสถ์น้อยที่ Malsch ประเทศเยอรมนี แท่นบูชาภายในคูหาสวดมนต์ มหาวิหารอาเคิน ประเทศเยอรมนี ภายในโบสถ์น้อยแม่พระในมหาวิหารกลอสเตอร์, อังกฤษ อนุสาวรีย์พระตรีเอกภาพที่ประเทศสโลเวเนีย หอล้างบาปที่ปิซา อิตาลี สักการสถานริมทางในประเทศโปแลนด์ โบสถ์คริสต์ หมายถึง ศาสนสถานที่ใช้ประกอบพิธีกรรมในศาสนาคริสต.

ใหม่!!: ลายวงกตและโบสถ์คริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

โรเจอร์ เซลาซนี

รเจอร์ เซลาซนี (Roger Zelazny) (13 พ.ค. 1937 - 14 มิ.ย. 1995) เป็นนักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์และนิยายแฟนตาซีชาวอเมริกัน.

ใหม่!!: ลายวงกตและโรเจอร์ เซลาซนี · ดูเพิ่มเติม »

โสกราตีส

''การตายของโสกราตีส'' โดยจาค์หลุยส์ ดาวิด พ.ศ. 2330 โสกราตีส (Σωκράτης; Socrates; 4 มิถุนายน 470 ปีก่อนคริสตกาล — 7 พฤษภาคม 399 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นนักปราชญ์ของกรีกโบราณและเป็นชาวเมืองเอเธนส์ ซึ่งถือกันว่าเป็นผู้วางรากฐานของปรัชญาตะวันตก.

ใหม่!!: ลายวงกตและโสกราตีส · ดูเพิ่มเติม »

โฮเมอร์

รูปปั้นของโฮเมอร์ โฮเมอร์ (กรีกโบราณ: Ὅμηρος Hómēros โฮแมโรส; Homer) เป็นนักแต่งกลอนในตำนานชาวกรีก ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นผู้แต่งมหากาพย์เรื่อง อีเลียด และ โอดิสซีย์ ชาวกรีกโบราณเชื่อกันว่าโฮเมอร์เป็นนักประวัติศาสตร์ แต่นักวิชาการในปัจจุบันกลับมองโฮเมอร์ด้วยความรู้สึกสงสัย เพราะเป็นข้อมูลชีวประวัติที่สืบต่อกันมายาวนานมาก อีกทั้งตัวกาพย์เอง ก็ถูกเล่าแบบปากต่อปากมานานนับศตวรรษ และถูกแก้ไขใหม่จนกลายมาเป็นกวี มาติน เวสต์ เชื่อว่า "โฮเมอร์" ไม่ใช่นามของกวีในประวัติศาสตร์ แต่เป็นเพียงชื่อที่ถูกสร้างขึ้นมา ช่วงเวลาที่โฮเมอร์มีชีวิตนั้นเองก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่มาแต่โบราณและจนถึงทุกวันนี้ โดยเฮโรโดตุสอ้างว่าโฮเมอร์เกิดก่อนเขาประมาณ 400 ปี ซึ่งน่าจะเป็นช่วงประมาณ 850 ปีก่อนคริสตกาล แต่ทว่าแหล่งอ้างอิงโบราณอื่น ๆ กลับให้ข้อมูลที่ซึ่งใกล้เคียงกับเวลาที่น่าจะเกิดสงครามเมืองทรอยมากกว่า ซึ่งช่วงเวลาที่อาจจะเกิดสงครามเมืองทรอยนั้น เอราทอสเทนีส กล่าวว่าเกิดในช่วง 1194–1184 ปีก่อนคริสตกาล.

ใหม่!!: ลายวงกตและโฮเมอร์ · ดูเพิ่มเติม »

โทรล

John Bauer โทรล (troll) เป็นสิ่งเหนือธรรมชาติในเทพปกรณัมนอร์สและคติชาวบ้านสแกนดิเนเวีย แต่เดิม โทรลอาจเป็นไวพจน์ลบของโยตุน ในแหล่งข้อมูลนอร์สเก่า สิ่งที่อธิบายว่าโทรลอาศัยอยู่ตามหิน ภูเขาหรือถ้ำสันโดษ โดยอยู่กันเป็นหน่วยครอบครัวเล็ก ๆ และแทบไม่ช่วยมนุษย์ ต่อมา ในคติชาวบ้านสแกนดิเนเวีย โทรลเป็นสิ่งแยกต่างหาก ซึ่งอาศัยอยู่ไกลจากที่มนุษย์อาศัย และไม่เข้ารีตศาสนาคริสต์ และถือว่าเป็นอันตรายต่อมนุษย์ ลักษณะของโทรลแตกต่างกันมาก ขึ้นอยู่กับภูมิภาคซึ่งนิยายนั้นกำเนิด อาจอัปลักษณ์และโง่หรือดูและประพฤติเหมือนมนุษย์ทุกประการ โดยไม่มีลักษณะวิลักษณ์เฉพาะเกี่ยวกับพวกมัน.

ใหม่!!: ลายวงกตและโทรล · ดูเพิ่มเติม »

โทรอนโต

ใจกลางเมืองโทรอนโต โดยมี ซีเอ็นทาวเวอร์ตั้งอยู่ใจกลาง โทรอนโต (Toronto) เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศแคนาดา และเป็นเมืองที่ใหญ่อันดับที่ 4 ในทวีปอเมริกาเหนือ และโทรอนโตเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของรัฐออนแทรีโอ ของแคนาดา โทรอนโตมีประชากรประมาณ 5,555,912 คน (ข้อมูลคาดการณ์ ในปี พ.ศ. 2549)The fact that these municipalities form the GTA is stated in โทรอนโตได้ชื่อว่าเป็นเมืองที่มีหลายเชื้อชาติมากที่สุดเมืองหนึ่ง และโทรอนโตเป็นศูนย์กลางทาด้านเศรษฐกิจ ศิลปะ วัฒนธรรมของประเทศแคนาดา โดยในปี..

ใหม่!!: ลายวงกตและโทรอนโต · ดูเพิ่มเติม »

ไมนอส

มนอส (Minos, Μίνως) เป็นพระมหากษัตริย์เกาะครีตพระองค์แรก พระโอรสแห่งซูสและยูโรปา ทุกเก้าปี พระองค์ทรงให้พระเจ้าเอจยูส (Aegeus) ทรงเลือกเด็กหนุ่มและเด็กสาวอย่างละเจ็ดคนส่งไปยังวงกตสิ่งประดิษฐ์ของเดดาลัส ให้ถูกมิโนทอร์กิน นักโบราณคดี อาเธอร์ เอฟแวนส์ (Arthur Evans) ตั้งชื่ออารยธรรมไมนวนครีตตามพระนามพระองค์ พระองค์มีมเหสีพระนามว่า พาซีฟาอี (Pasiphaë) (บ้างก็ว่าพระนาม ครีต).

ใหม่!!: ลายวงกตและไมนอส · ดูเพิ่มเติม »

เพลโต

"แนวคิดหลักทางปรัชญาของยุโรป ล้วนแต่เป็นเชิงอรรถของเพลโต" -- อัลเฟรด นอร์ท ไวท์เฮด, Process and Reality, ค.ศ. 1929 เพลโต (ในภาษากรีก: Πλάτων Plátōn, Plato.) (427 - 347 ปีก่อน ค.ศ.) เป็นนักปรัชญาชาวกรีกโบราณที่มีอิทธิพลอย่างสูงต่อแนวคิดตะวันตก เขาเป็นลูกศิษย์ของโสกราตีส เป็นอาจารย์ของอริสโตเติล เป็นนักเขียน และเป็นผู้ก่อตั้งอาคาเดมีซึ่งเป็นสำนักวิชาในกรุงเอเธนส์ เพลโตใช้เวลาส่วนใหญ่สอนอยู่ที่อาคาเดมี แต่เขาก็ได้เขียนเกี่ยวกับปัญหาทางปรัชญาไว้เป็นจำนวนมาก โลกปัจจุบันรู้จักเขาผ่านทางงานเขียนที่หลงเหลืออยู่ ที่ถูกนำขึ้นมาแปลและจัดพิมพ์เป็นในช่วงการเคลื่อนไหวด้านมนุษยนิยม งานเขียนของเพลโตนั้นส่วนมากแล้วเป็นบทสนทนา คำคม และจดหมาย ผลงานที่เป็นที่รู้จักของเพลโตนั้นหลงเหลืออยู่ทั้งหมด อย่างไรก็ตามชุดรวมงานแปลปัจจุบันของเพลโตมักมีบางบทสนทนาที่นักวิชาการจัดว่าน่าสงสัย หรือคิดว่ายังขาดหลักฐานที่จะยอมรับว่าเป็นของแท้ได้ ในบทสนทนาของเพลโลนั้น บ่อยครั้งที่มีโสกราตีสเป็นตัวละครหลัก ซึ่งเป็นสิ่งที่สร้างความสับสนว่าความเห็นส่วนใดเป็นของโสกราตีส และส่วนใดเป็นของเพลโต.

ใหม่!!: ลายวงกตและเพลโต · ดูเพิ่มเติม »

เมาริตส์ กอร์เนลิส แอ็ชเชอร์

''ภาพเหมือนตนเอง'' (ค.ศ. 1943) โดยเมาริตส์ กอร์เนลิส แอ็ชเชอร์ เมาริตส์ กอร์เนลิส แอ็ชเชอร์ (Maurits Cornelis Escher หรือ M.C. Escher) เกิดเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 1898 ที่เมืองเลววาร์เดิน (Leeuwarden) ประเทศเนเธอร์แลนด์ ถึงแก่กรรม 27 มีนาคม ค.ศ. 1972 เป็นศิลปินสาขาเลขนศิลป์ ผู้มีผลงานที่ใช้หลักการทางเรขาคณิต ไม่ว่าจะเป็นรูปทรง มิติ ภาพลวงตา และเทสเซลเลชัน ถึงแม้ว่าเขาจะมีความรู้ทางคณิตศาสตร์ไม่มากนักก็ตาม.

ใหม่!!: ลายวงกตและเมาริตส์ กอร์เนลิส แอ็ชเชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เยรูซาเลม

รูซาเลม (Jerusalem), เยรูชาลายิม (יְרוּשָׁלַיִם) หรือ อัลกุดส์ (القُدس) เป็นเมืองในตะวันออกกลาง ตั้งอยู่บนที่ราบของภูเขายูดาห์ ระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับทะเลเดดซี เยรูซาเลมเป็นเมืองที่พระยาห์เวห์ทรงเลือกสรรไว้ให้เป็นป้อมแห่งความเชื่อถึงพระเป็นเจ้าแต่เพียงองค์เดียว ประเทศอิสราเอลและรัฐปาเลสไตน์ต่างอ้างสิทธิเหนือเยรูซาเลมว่าเป็นเมืองหลวงของตน อย่างไรก็ตาม การกล่าวอ้างของทั้งสองฝ่ายไม่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ เยรูซาเลมถือเป็นหนึ่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยได้รับการกล่าวถึงในชื่อ "อูรูซาลิมา" ในแผ่นศิลาจารึกของเมโสโปเตเมีย ซึ่งมีความหมายว่า "นครแห่งชาลิม" อันเป็นนามของพระเจ้าในแผ่นดินคานาอันเมื่อราว 2,400 ปีก่อนคริสตกาล และเมื่อมาถึงยุคของวงศ์วานอิสราเอล การก่อร่างสร้างเมืองเยรูซาเลมอย่างจริงจังก็ได้เริ่มขึ้นในศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสตกาล (ยุคเหล็กช่วงปลาย) และในศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล เยรูซาเลมก็ได้เป็นศูนย์กลางการปกครองและทางศาสนาของอาณาจักรยูดาห์ ตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนานของเยรูซาเลม นครแห่งนี้ได้ถูกทำลายไปอย่างน้อย 2 ครั้ง, ถูกปิดล้อม 23 ครั้ง, ถูกโจมตี 52 ครั้ง, ถูกยึดและเอาคืน 44 ครั้ง According to Eric H. Cline's tally in Jerusalem Besieged.

ใหม่!!: ลายวงกตและเยรูซาเลม · ดูเพิ่มเติม »

เอดินบะระ

อดินบะระ (Edinburgh เอดินเบอระ; Dùn Èideann; บางคนอ่าน/เขียนผิดเป็น: เอดินเบิร์ก) เป็นเมืองหลวงของประเทศสกอตแลนด์ สหราชอาณาจักร ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของสกอตแลนด์ เป็นเมืองเก่าแก่ที่มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัยกลาง ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงอยู่กลางเมือง เป็นที่ตั้งของปราสาทเอดินบะระอันเป็นทำเลที่ได้เปรียบเชิงยุทธศาสตร์ในสมัยก่อน โดยรอบภูเขาถูกปรับพื้นที่เป็นคูเมืองเพื่อประโยชน์ในเชิงการทหาร รอบนอกเป็นที่ราบลดหลั่นเป็นขั้น ๆ กระจายออกโดยรอบ เอดินบะระเป็นที่ตั้งของรัฐสภาแห่งใหม่ของสกอตแลนด์ (เพิ่งแยกออกมาจากรัฐสภาของสหราชอาณาจักร) ตั้งอยู่บนถนนสายหลักของเอดินบะระคือ รอยัลไมล์ (The Royal Mile) ซึ่งสร้างตามแนวสันเขาเชื่อมโยงพื้นที่ประวัติศาสตร์ระหว่างปราสาทเอดินบะระและพระราชวัง สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ ได้แก่ บริเวณรอยัลไมล์ ปราสาทเอดินบะระ และสวนพฤกษศาสตร์ โดยเฉพาะปราสาทเอดินบะระเป็นปราสาทที่เป็นสถานที่เปิดตัวของหนังสือเรื่องแฮรี่ พอตเตอร์ เนื่องจากมีลักษณะใกล้เคียงฉากเมืองแม่มดในท้องเรื่อง เอดินบะระเป็นเมืองที่เจริญมากที่สุดเมืองหนึ่งในสหราชอาณาจักร มีศูนย์กลางเมืองตั้งอยู่รอบ ๆ ปราสาทเอดินบะระ เมืองเอดินบะระนั้นขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองแห่งเทศกาลต่าง ๆ ตัวอย่างงานสำคัญที่ถูกจัดขึ้นในเมืองเอดินบะระ ได้แก่ เทศกาลศิลปะนานาชาติ Fringe ภาพยนตร์ วิทยาศาสตร์ งานหนังสือเด็ก เพลงแจ๊ส และเพลงพื้นบ้าน ในช่วงเทศกาลเหล่านี้ โดยเฉพาะช่วงเดือนสิงหาคมหรือช่วงหน้าร้อนของสหราชอาณาจักร ที่เมืองเอดินบะระจะมีจัดงานเทศกาลประจำปีที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวมาที่เมืองนี้เป็นจำนวนมาก จนทำให้เมืองเอดินบะระติดอันดับเมืองที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดเป็นอันดับสองของสหราชอาณาจักรรองจากลอนดอน นอกจากนั้น เมืองเอดินบะระยังเป็นเมืองที่ได้ชื่อว่าเป็น "เมืองที่เป็นมิตรกับเด็ก" (The Child Friendly City) เนื่องจากภายในเมืองมีสถานที่ท่องเที่ยวที่เหมาะสำหรับเด็กมากมาย เช่น พิพิธภัณฑ์วัยเด็กและเรื่องเล่าของผู้คน (Museum of Childhood and People’s Story) สวนสัตว์ที่มีศูนย์การศึกษาที่เคลื่อนไหวได้จริง (Dynamic Education Centre) โลกแห่งผีเสื้อและแมลง (Butterfly & Insect World) และโลกทะเลลึก (Deep Sea World) เป็นต้น ในแง่ของเศรษฐศาสตร์ เมืองเอดินบะระเป็นเมืองศูนย์กลางทางการเงินที่ใหญ่เป็นอันดับสองของสหราชอาณาจักรรองจากลอนดอนและใหญ่เป็นอันดับห้าของยุโรป โดยมีมหาวิทยาลัยตั้งอยู่ถึงสามแห่งด้วยกันคือ มหาวิทยาลัยเอดินบะระ มหาวิทยาลัยแฮเรียต-วัตต์ และมหาวิทยาลัยเนเปียร์ ภาพ:Edinburgh1.JPG|ปราสาทเอดินบะระ ตั้งอยู่บนยอดเขากลางเมือง ภาพ:Edinburgh2.JPG|อาคารรัฐสภาของสกอตแลนด์ ตั้งอยู่ในเมืองเอดินบะร.

ใหม่!!: ลายวงกตและเอดินบะระ · ดูเพิ่มเติม »

เฮอรอโดทัส

รูปแกะสลักเฮอโรโดทัส เฮอโรโดทัส (Herodotos หรือ Herodotus – ประมาณ พ.ศ. 58-118) นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกผู้บันทึกสงครามเปอร์เซีย ผู้เริ่มต้นประวัติศาสตร์นิพนธ์ตะวันตก เกิดที่เมืองฮาลิคาร์นาสซัส ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของเอเชียไมเนอร์ซึ่งในขณะนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของเปอร์เซีย เฮอโรโดทัสได้เดินทางท่องเที่ยวศึกษาทั่วดินแดนในเอเชียไมเนอร์และตะวันออกกลาง และยังได้เดินทางลงใต้ไปอียิปต์ถึงเมืองเอเลแฟนทีน (อัสวานในปัจจุบัน) Oikumene) ประมาณ พ.ศ. 90 หรือ 450 ปีก่อนคริสตกาล โดยจำลองจากบันทึกของเฮอโรโดทัส เฮอโรโดทัส เคยอาศัยอยู่ที่กรุงเอเธนส์ หรืออย่างน้อยก็ตอนกลางของกรีกและได้พบกับโสโฟเคิลส์ (Sophocles) ก่อนที่จะไปเข้าเป็นพลเมืองร่วมอยู่กับอาณานิคมกรีกที่เมืองธุริ (Thurii) เมื่อปี..

ใหม่!!: ลายวงกตและเฮอรอโดทัส · ดูเพิ่มเติม »

เทพปกรณัมกรีก

รูปปั้นครึ่งตัวของซูส, ที่เมือง Otricoli พิพิธภัณฑ์ Pio-Clementino วาติกัน) เทพปกรณัมกรีก (ΜΥΘΟΛΟΓΊΑ ΕΛΛΗΝΙΚΉ) เป็นเรื่องปรัมปราและตำนานที่เกี่ยวข้องกับเทพเจ้า, วีรบุรุษ, ธรรมชาติของโลก รวมถึงจุดกำเนิดและความสำคัญของขนบ คติและจารีตพิธีในทางศาสนาของชาวกรีกโบราณ เทพปกรณัมกรีกเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาในกรีซโบราณ นักวิชาการสมัยใหม่มักอ้างถึงและศึกษาเรื่องปรัมปราเหล่านี้ เพื่อที่จะทราบเกี่ยวกับสถาบันทางศาสนา, สถาบันทางการเมืองในกรีซโบราณ, อารยธรรมของชาวกรีก และเพื่อเพิ่มความเข้าใจในธรรมชาติของการสร้างตำนานเทพปกรณัมขึ้น เทพปกรณัมกรีกได้ถูกรวบรวมขึ้นจากเรื่องเล่าและศิลปะที่แสดงออกในวัฒนธรรมกรีก เช่น การระบายสีแจกันและของแก้บน ตำนานกรีกอธิบายถึงการถือกำเนิดของโลก และรายละเอียดของเรื่องราวในชีวิต และการผจญภัยของบรรดาเทพเจ้า เทพธิดา วีรบุรุษ วีรสตรี และสิ่งมีชีวิตในตำนานอื่น ๆ ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้ในตอนแรกเป็นเพียงการสืบทอดผ่านบทกวีตามประเพณีมุขปาฐะเท่านั้น ซึ่งอาจสืบย้อนหลังไปได้ถึงสมัยไมนอส และสมัยไมซีนี ตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 ก่อน..

ใหม่!!: ลายวงกตและเทพปกรณัมกรีก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

LabyrinthLabyrinthineThe Labyrinthวงกต

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »