โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

โบสถ์คริสต์

ดัชนี โบสถ์คริสต์

อารามเอททัล โบสถ์แบบฟื้นฟูคลาสสิกเซนต์นิโคโลที่เมืองมองทู โรโร ประเทศอิตาลี มหาวิหารแฮรฟอร์ด, อังกฤษ ด้านหน้ามหาวิหารปิซา, อิตาลี โบสถ์น้อยที่ Malsch ประเทศเยอรมนี แท่นบูชาภายในคูหาสวดมนต์ มหาวิหารอาเคิน ประเทศเยอรมนี ภายในโบสถ์น้อยแม่พระในมหาวิหารกลอสเตอร์, อังกฤษ อนุสาวรีย์พระตรีเอกภาพที่ประเทศสโลเวเนีย หอล้างบาปที่ปิซา อิตาลี สักการสถานริมทางในประเทศโปแลนด์ โบสถ์คริสต์ หมายถึง ศาสนสถานที่ใช้ประกอบพิธีกรรมในศาสนาคริสต.

64 ความสัมพันธ์: บอสตันบัมแบร์คบาทหลวงพระสันตะปาปาพระนางมารีย์พรหมจารีพิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์พิธีรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชนการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัลการนมัสการภราดาฆราวาสภาษาละตินมหาวิหารมหาวิหาร (ศาสนาคริสต์)มหาวิหารซันตามาเรียมัจโจเรมุขมณฑลรัฐแมสซาชูเซตส์รูปเคารพศาลเจ้าศาสนสถานศาสนาคริสต์ศาสนาคริสต์ยุคแรกศีลศักดิ์สิทธิ์สถาปัตยกรรมบาโรกสถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตกสถาปัตยกรรมโรมันหอล้างบาปอัครมหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรันอารามอารามเชินทัลอาสนวิหารอาสนวิหารวุร์สเตอร์อาสนวิหารในสหราชอาณาจักรอธิการอารามอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์อ่างล้างบาปผังอาสนวิหารจักรวรรดิโรมันที่เก็บศพคอนแวนต์คาทีดราตรีเอกภาพประเทศกรีซประเทศลิทัวเนียประเทศสเปนประเทศอังกฤษประเทศอิตาลีประเทศโปแลนด์ประเทศเช็กเกียประเทศเยอรมนีปาร์มา...นักพรตนักพรตหญิงนิกายลูเทอแรนแบล็กเดทแอบบีย์แองกลิคันโบสถ์น้อยโรมโรมันคาทอลิกโปรเตสแตนต์ไวน์เรลิกเอาคส์บวร์คเขตแพริช ขยายดัชนี (14 มากกว่า) »

บอสตัน

อสตัน (Boston) เป็นเมืองหลวงของรัฐแมสซาชูเซตส์ในสหรัฐอเมริกา และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในเขตนิวอิงแลนด์ บอสตันเป็นเมืองที่เก่าแก่ที่สุด มั่งคั่งที่สุด และมีวัฒนธรรมที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศ ธุรกิจที่สำคัญในบอสตัน ได้แก่ การศึกษา สถานพยาบาล การเงิน และเทคโนโลยี บอสตันได้ชื่อว่าเป็นศูนย์กลางการศึกษาที่สำคัญแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยกว่า 100 แห่งในเมืองบอสตัน โดยเฉพาะ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา มหาวิทยาลัยที่สำคัญและมีชื่อเสียงอื่นๆ ได้แก่ มหาวิทยาลัยบอสตัน วิทยาลัยบอสตัน มหาวิทยาลัยทัฟส์ และ สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ ทีมกีฬาหลายทีมประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียงในบอสตัน ได้แก.

ใหม่!!: โบสถ์คริสต์และบอสตัน · ดูเพิ่มเติม »

บัมแบร์ค

ัมแบร์ค (Bamberg) เป็นเมืองในแคว้นบาวาเรียในประเทศเยอรมนีที่ตั้งอยู่ในอัปเปอร์ฟรังโกเนียบนฝั่งแม่น้ำเรกนิทซ์ไม่ไกลจากจุดที่บรรจบกับแม่น้ำไมน์ บัมแบร์คเป็นเมืองเพียงไม่กี่เมืองในประเทศเยอรมนีที่มิได้ถูกทำลายโดยลูกระเบิดในสงครามโลกครั้งที่ 2 บัมแบร์คเป็นที่พำนักของชาวต่างประเทศเกือบ 7,000 คนรวมทั้งกว่า 4,100 คนที่เป็นทหารจากสหรัฐอเมริกา ชื่อเมือง “บัมแบร์ค” เชื่อว่ามีที่มาจากตระกูลบาเบนแบร์ก.

ใหม่!!: โบสถ์คริสต์และบัมแบร์ค · ดูเพิ่มเติม »

บาทหลวง

ทหลวงดนัย วรรณะ (อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์) และ ขวา-บาทหลวงสมเกียรติ บุญอนันตบุตร (โรมันคาทอลิก) บาทหลวง (priest)ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 387-8 หมายถึง นักบวชในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกและออร์ทอดอกซ์ ส่วนนิกายโปรเตสแตนต์เรียก priest ว่า ปุโรหิต.

ใหม่!!: โบสถ์คริสต์และบาทหลวง · ดูเพิ่มเติม »

พระสันตะปาปา

หลุมฝังพระศพพระสันตะปาปาในมหาวิหารนักบุญเปโตร พระสันตะปาปา (Santo Papa; Pope) หมายถึง มุขนายกแห่งคริสตจักรกรุงโรม (Bishop of the Church of Rome) และผู้นำคริสตจักรโรมันคาทอลิกทั่วโลก คริสตจักรนี้ถือว่าพระสันตะปาปาเป็นผู้สืบตำแหน่งจากนักบุญซีโมนเปโตรอัครทูตของพระเยซู สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสเป็นพระสันตะปาปาพระองค์ปัจจุบันตามการประชุมเลือกตั้งพระสันตะปาปาในวันที่ 13 มีนาคม..

ใหม่!!: โบสถ์คริสต์และพระสันตะปาปา · ดูเพิ่มเติม »

พระนางมารีย์พรหมจารี

ริสต์ศาสนิกชนโรมันคาทอลิกเรียกนางมารีย์ (มารดาพระเยซู) ว่า พระนางมารีย์พรหมจารี (the Blessed Virgin Mary) เพราะเชื่อว่าพระแม่มารีย์เป็นพรหมจารีเสมอ และพระเยซูซึ่งเชื่อว่าเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้าก็มารับสภาพมนุษย์ผ่านทางครรภ์ของพระแม่มารีย์ จึงทำให้พระแม่มารีย์มีสถานะเป็น "พระมารดาพระเจ้า" ด้วย คริสตจักรโรมันคาทอลิกได้รับรองความเชื่อนี้มาตั้งแต่สังคายนาเอเฟซัสครั้งที่หนึ่ง ในปี..

ใหม่!!: โบสถ์คริสต์และพระนางมารีย์พรหมจารี · ดูเพิ่มเติม »

พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์

ีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 248 หรือพิธีมหาสนิท(Eucharist; Holy Communion) คริสต์ศาสนิกชนโรมันคาทอลิก, อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และโปรเตสแตนต์บางคณะเรียกว่าศีลมหาสนิท เป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาคริสต์ เพื่อแสดงถึงการร่วมสนิทกับพระเยซู โดยการรับประทานขนมปัง (สัญลักษณ์แทนพระกายของพระองค์) และไวน์ (สัญลักษณ์แทนพระโลหิต) การประกอบพิธีมหาสนิท เพื่อให้ชาวคริสต์ระลึกถึงคุณของพระเป็นเจ้า เพื่อการประกาศยอมรับว่าพระเจ้าได้สถิตอยู่ในกายตน เพื่อแนบแน่นเป็นหนึ่งเดียวกับพระองค์ และเพื่ออยู่ร่วมกันด้วยความรักในประชาคมเดียวกัน ในนิกายโปรเตสแตนต์ กล่าวคำที่ใช้ในพิธีมหาสนิทตามพระวรสารนักบุญลูกา ส่วนนิกายโรมันคาทอลิก กล่าวคำที่ใช้ในพิธีมหาสนิทเฉพาะตามที่พระศาสนจักรคาทอลิกกำหน.

ใหม่!!: โบสถ์คริสต์และพิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

พิธีรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน

การให้บัพติศมาแก่ Neophytes วาดโดยมาซัชโช เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 15 ปัจจุบันเก็บอยู่ที่ฟลอเรนซ์ พิธีรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน (ศัพท์ประชากรศาสตร์) พิธีบัพติศมาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 88 (ศัพท์โปรเตสแตนต์) หรือ ศีลล้างบาป (ศัพท์คาทอลิก) (Baptism มาจากภาษากรีก baptismos แปลว่า การล้าง) เป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาคริสต์ ทำขึ้นเพื่อรับ "ผู้ที่เพิ่งรับเชื่อ" เข้าเป็นสมาชิกใหม่ของคริสตจักร คัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ระบุว่ายอห์นผู้ให้บัพติศมาเริ่มประกอบพิธีนี้ให้สาวกของตน โดยให้ผู้รับจุ่มตัวลงในแม่น้ำลึก ถือเป็นสัญลักษณ์ของการกลับใจและรอคอยอาณาจักรสวรรค์ซึ่งกำลังจะมาถึง พระเยซูทรงรับบัพติศมาจากยอห์นในครั้งนั้นด้วย จากนั้นจึงเริ่มปฏิบัติพระภารกิจของพระองค์ ต่อมาในศาสนาคริสต์ยุคแรก ผู้ให้บัพติศมาจะให้ผู้รับเปลือยกายลงแช่ในแม่น้ำ ซึ่งมีทั้งแบบให้จุ่มทั้งตัว ยืน หรือคุกเข่าในน้ำ แล้ว "ผู้ให้บัพติศมา" จะตักน้ำรดลงบน "ผู้รับบัพติศมา" ในปัจจุบันบางคริสตจักรยังรักษาวิธีการแบบเดิม บางคริสตจักรก็ใช้วิธีเทน้ำรดลงบนหน้าผากของผู้รับสามครั้ง การเป็นมรณสักขีในศาสนาคริสต์ก็ถือว่าเป็นการรับบัพติศมาด้วย เรียกว่า "พิธีบัพติศมาด้วยเลือด" เชื่อว่ามรณสักขีนั้นได้รับความรอดแล้วแม้จะยังไม่ได้รับบัพติศมาด้วยน้ำก็ตาม คริสตจักรโรมันคาทอลิกปัจจุบันรับรอง "พิธีบัพติศมาแห่งความปรารถนา" ซึ่งหมายถึงความตั้งใจจะรับบัพติศมาแต่เสียชีวิตเสียก่อนเข้าพิธี ก็ถือว่าได้รับความรอดแล้ว คริสต์ศาสนิกชนบางนิกายประกอบพิธีบัพติศมาแก่ทารกด้วย เพราะเชื่อว่าบัพติศมาเป็นทางแห่งความรอด จนเมื่อฮุลดริช ซวิงลี นักเทววิทยาศาสนาคริสต์สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 16 กล่าวว่าพิธีนี้ไม่จำเป็น คริสตจักรแบปทิสต์จึงประกอบพิธีบัพติศมาแก่ผู้เชื่อเองเท่านั้น ทุกวันนี้คริสต์ศาสนิกชนหลายกลุ่ม โดยเฉพาะเควเกอร์และแซลเวชันอาร์มีถือว่าพิธีนี้ไม่จำเป็นและไม่ประกอบพิธีนี้เลย แต่กลุ่มที่ยังมีพิธีนี้อยู่ก็มีรูปแบบพิธีแตกต่างกันไป ส่วนมากรับบัพติศมา "ในพระนามของพระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์" (โปรเตสแตนต์) หรือ "เดชะพระนามพระบิดา พระบุตร และพระจิต" (คาทอลิก) โดยถือตามพระมหาบัญชาก่อนการเสด็จขึ้นสวรรค์ของพระเยซู.

ใหม่!!: โบสถ์คริสต์และพิธีรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน · ดูเพิ่มเติม »

การจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล

การจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล (Episcopal polity /ɪˈpɪs.kə.pəl/) เป็นการปกครองคริสตจักรรูปแบบหนึ่งที่มีโครงสร้างเป็นลำดับชั้นบังคับบัญชา โดยมีบิชอปหรือมุขนายกเป็นผู้นำของคริสตจักรในระดับท้องถิ่น โครงสร้างเช่นนี้มีมาตั้งแต่สมัยคริสตจักรยุคโบราณ ซึ่งสืบทอดมาเป็นคริสตจักรโรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ แองกลิคันคอมมิวเนียน ทั้งนี้บางคริสตจักรที่ไม่ได้สืบสายมาจากสายนี้แต่รับวิธีการบริหารเช่นนี้มาก็มี คำว่า อิปิสโคปัล มาจากภาษากรีก επίσκοπος (อีปิสโคปอส) แปลว่าผู้ปกครองดูแล ซึ่งเป็นศัพท์ที่มีที่มาเดียวกับคำว่า bishop ในภาษาอังกฤษ คริสตจักรที่มีการจัดระเบียบองค์การแบบอีปิสโคปัลจะมีบิชอปหรือมุขนายกเป็นผู้ปกครอง แบ่งการปกครองออกเป็นมุขมณฑล ที่ประชุมร่วม หรือซิโนด บิชอปทำหน้าที่ประธานทั้งในศาสนาและการเมือง และประกอบพิธีสำคัญ เช่น การบวช การยืนยันความเชื่อ และการอภิเษก หลาย ๆ คริสตจักรถือว่าบิชอปเป็นตำแหน่งที่มีการสืบต่อจากอัครทูตของพระเยซู จึงเป็นผู้มีสิทธิอำนาจในการปกครองคริสตจักร และถือว่าการปกครองโดยบิชอปเป็นวิธีการบริหารคริสตจักรที่ถูกต้องตามที่ระบุในคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ ในบางคริสตจักรได้แบ่งบิชอปหรือมุขนายกออกเป็นหลายชั้นหลายประเภท เช่น แบ่งมุขนายกออกเป็นมุขนายกประจำมุขมณฑลและมุขนายกเกียรตินาม มุขนายกแต่ละประเภทยังแบ่งออกเป็นมุขนายกและอัครมุขนายก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนบของแต่ละคริสตจักร บิชอปทั้งหลายจะร่วมสามัคคีธรรมกันในรูปของสภาหรือซิโนด สภามักมีหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้กับบิชอปในการดูแลเขตปกครองของตน (ตัวอย่างเช่น สภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย) ตั้งแต่มีการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ ชาวโปรเตสแตนต์ส่วนใหญ่ก็เปลี่ยนไปใช้วิธีการปกครองแบบอื่น ได้แก่ แบบเพรสไบทีเรียน แบบคองกริเกชันนาลิสต์ ซึ่งเป็นผลจากแนวคิดของฌ็อง กาลแว็ง นักปฏิรูปศาสนาชาวฝรั่ง.

ใหม่!!: โบสถ์คริสต์และการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล · ดูเพิ่มเติม »

การนมัสการ

การนมัสการ (โปรเตสแตนต์) หรือ คารวกิจ (โรมันคาทอลิก) เป็นการบูชาพระเป็นเจ้าของคริสต์ศาสนิกชน ภาษาอังกฤษใช้คำว่า “worship” มาจากภาษา Anglo-Saxon ว่า “worthscipe” หรือ “worthship” หมายถึง การตอบสนองภายในจิตใจด้วยการแสดงออกมา อันเนื่องมาจากการที่เห็นความสำคัญและคุณค่าของสิ่งนั้น หรือคนนั้น หนังสือสดุดี บทที่ 96 ข้อ 8 กล่าวว่า “จงถวายพระสิริ ซึ่งควรแก่พระนามของพระองค์แด่พระเจ้า จงนำเครื่องบูชาและมายังบริเวณพระนิเวศของพระองค์” นั่นคือภาพในสมัยก่อนการเสด็จมากำเนิดของพระเยซูคริสต์ คนที่เห็นคุณค่าพระเจ้าจะนำเครื่องบูชามาถวายแด่พระเจ้าเป็นการนมัสการ.

ใหม่!!: โบสถ์คริสต์และการนมัสการ · ดูเพิ่มเติม »

ภราดาฆราวาส

ในคริสตจักรโรมันคาทอลิก ภราดาฆราวาส เรียกโดยย่อว่า ภราดา หมายถึงบุรุษที่เป็นสมาชิกคณะนักบวชคาทอลิก แต่ไม่ได้รับศีลอนุกรมขั้นใด ๆ ดังนั้นจึงไม่สามารถโปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ได้ การเรียกว่า "ภราดาฆราวาส" เพื่อให้ต่างจากผู้ได้รับศีลบวชแล้วหรือเตรียมจะรับศีลบวชต่อไป แม้จะมีชื่อว่า “ฆราวาส” แต่ภราดาฆราวาสก็มีสถานะเป็นนักบวชคาทอลิก เพราะได้ถือคำปฏิญาณของนักบวชเพื่อรับใช้พระเป็นเจ้าผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ที่คณะนักบวชที่ตนสังกัดได้กำหนดไว้ คณะนักบวชชายแต่ละคณะอาจกำหนดบทบาทหน้าที่ของภราดาฆราวาสแตกต่างกันไป.

ใหม่!!: โบสถ์คริสต์และภราดาฆราวาส · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาละติน

ษาละติน (Latin) เป็นภาษาโบราณในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน มีต้นกำเนิดในที่ราบลาติอุม (Latium) ซึ่งเป็นพื้นที่รอบๆกรุงโรม และได้ชื่อว่าเป็นภาษาทางการในการสื่อสารของจักรวรรดิโรมัน ต่อมาภาษาละตินได้ถูกกำหนดให้เป็นภาษาสื่อสารและในพิธีสวดของศาสนจักรโรมันคาทอลิก และยังเป็นภาษาที่ใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา และนักเทววิทยาของยุโรป ตั้งแต่ตลอดยุคกลางจนมาถึงยุคสมัยใหม่ ภาษาละตินจึงเป็นภาษาต้นฉบับของงานเขียนที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และทางวรรณกรรมเป็นจำนวนมาก ภาษาอังกฤษได้รับคำในภาษาละตินเข้ามาในภาษาตนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอิทธิพลของเจ้าปกครองชาวแองโกล-นอร์มัน ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้คำศัพท์ที่ใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ล้วนเป็นคำศัพท์ภาษาละตินหรือสร้างจากภาษาละติน ภาษาละตินเป็นภาษามีวิภัติปัจจัย (การผันคำ) มีการก 7 การก (case), มีเพศ 3 เพศ, และมีพจน์ 2 พจน์ ภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน พัฒนาสืบต่อมาจากภาษาละตินพื้นบ้าน ซึ่งจะเรียกกลุ่มภาษาเหล่านี้ว่า ภาษากลุ่มโรมานซ์ ภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ที่สำคัญได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมาเนีย ภาษาอิตาลี ภาษาโปรตุเกส และภาษาสเปน ภาษาส่วนใหญ่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนก็มีความสัมพันธ์บางอย่างกับภาษาละติน แม้ภาษาละตินในปัจจุบัน จะมีผู้ใช้น้อยมากจนถูกนับว่าเกือบเป็นภาษาสูญแล้ว แต่การศึกษาภาษาละตินในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยก็ยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้อักษรละติน (ที่พัฒนามาจากอักษรกรีก) ยังคงมีใช้ในหลายภาษา และเป็นอักษรที่ใช้มากที่สุดในโลก.

ใหม่!!: โบสถ์คริสต์และภาษาละติน · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิหาร

มหาวิหาร หมายถึง วิหารหรือเทวสถานขนาดใหญ่; ในพุทธศาสนสถาน อาจหมายถึง.

ใหม่!!: โบสถ์คริสต์และมหาวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิหาร (ศาสนาคริสต์)

มหาวิหาร (basilica) คำว่า “basilica” มาจากภาษากรีก “Stoa Basileios” ที่เดิมใช้ในการบรรยายสิ่งก่อสร้างสาธารณะในโรมโบราณ (เช่นในกรีซที่ส่วนใหญ่เป็นสิ่งก่อสร้างที่ใช้ในการศาล) ที่มักจะตั้งอยู่ในจัตุรัส (Roman forum) ของเมืองโรมัน ในเมืองกรีกมหาวิหารสาธารณะเริ่มสร้างกันราวสองร้อยปีก่อนคริสต์ศักราช นอกจากนั้น “มหาวิหาร” ก็ยังมีความหมายทางศาสนา ซากมหาวิหารตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ก็มีการพบมหาวิหารนีโอไพธากอเรียนที่ปอร์ตามัจโจเร (Porta Maggiore) ในปี..

ใหม่!!: โบสถ์คริสต์และมหาวิหาร (ศาสนาคริสต์) · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิหารซันตามาเรียมัจโจเร

มหาวิหารซันตามาเรียมัจโจเร (Basilica di Santa Maria Maggiore) ในภาษาอังกฤษมักเรียกว่า St.

ใหม่!!: โบสถ์คริสต์และมหาวิหารซันตามาเรียมัจโจเร · ดูเพิ่มเติม »

มุขมณฑล

มุขมณฑลราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 139 (diocese) คริสต์ศาสนิกชนโรมันคาทอลิกเรียกว่า สังฆมณฑล ในประเทศไทยกรมการศาสนาเรียกว่า เขตมิสซังกรมการศาสนา, รายงานการศาสนา ประจำปี ๒๕๔๓, กรมการศาสนา, 2543, หน้า 194-6 เป็นเขตการปกครองของคริสตจักรซึ่งมีมุขนายกเป็นประมุข แต่ละมุขมณฑลจะแบ่งออกเป็นเขตแพริช ในกรณีที่เป็นมุขมณฑลขนาดใหญ่และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มากกว่ามุขมณฑลอื่นที่อยู่รอบ ๆ มุขมณฑลนั้นจะถูกยกสถานะขึ้นเป็นอัครมุขมณฑล โดยมีอัครมุขนายกเป็นประมุข อัครมุขนายกมีสถานะเป็นมุขนายกมหานคร มีอำนาจสูงกว่ามุขนายกปริมุขมณฑลซึ่งเป็นมุขนายกประจำมุขมณฑลอื่น ๆ ในภาคคริสตจักรเดียวกัน โครงสร้างการปกครองคริสตจักรแบบนี้เรียกว่า การจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล มุขมณฑลยังอาจหมายถึง เขตมุขนายก (bishopric) หรือ อิปิสโคปัลซี (Episcopal see) แต่คำว่าอิปิสโคปัลซีมักใช้หมายถึงอาณาเขตที่ปกครองโดยบิชอป ขณะที่ bishopric อาจหมายถึงตำแหน่งบิชอปก็ได้.

ใหม่!!: โบสถ์คริสต์และมุขมณฑล · ดูเพิ่มเติม »

รัฐแมสซาชูเซตส์

รัฐแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts) เป็นรัฐหนึ่งในเขตนิวอิงแลนด์ ในสหรัฐอเมริกา มีมหาวิทยาลัยชื่อดังหลายแห่ง อาทิ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ มหาวิทยาลัยทัฟส์ ประกอบไปด้วย 50 เมืองขนาดใหญ่ และ 301 เมืองขนาดเล็กใน 14 เคาน์ตี เมืองขนาดใหญ่ในรัฐได้แก่ บอสตัน สปริงฟิลด์ วูสเตอร์ โลเวลล์ บล็อกตัน และเคมบร.

ใหม่!!: โบสถ์คริสต์และรัฐแมสซาชูเซตส์ · ดูเพิ่มเติม »

รูปเคารพ

“พระเยซู” โดยอันเดร รูเบลฟ (Andrei Rublev) ราวปี ค.ศ. 1410 รูปเคารพทำจากเซรามิคจากราวปีค.ศ. 900 จากเพรสลาฟ ประเทศบัลกาเรีย รูปเคารพ (ภาษาอังกฤษ: icon; ภาษากรีก: εἰκών, eikon) คือรูป, รูปเหมือน หรือสิ่งที่สร้างแทน ที่ทำขึ้นเพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ในสมัยปัจจุบัน “รูปเคารพ” โดยเฉพาะในวัฒนธรรมสมัยนิยมโดยทั่วไปจะหมายถึงสัญลักษณ์เช่นชื่อ, หน้า, รูป หรือคนที่เป็นที่รู้จักที่มีชื่อเสียงที่มีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง การใช้สิ่งของหรือรูปเป็นสัญลักษณ์ของสิ่งที่มีความสำคัญเหนือกว่าไม่ว่าจะเป็นตามตัวอักษรหรือตามการตีความหมายมักจะใช้ในศาสนา, วัฒนธรรม, การเมือง, หรือทางเศรษฐกิจ ในประวัติศาสตร์ลัทธินิยมทางศาสนาหรือวัฒนธรรมทางศาสนารูปเคารพจะมีอิทธิพลมาจากรูปที่เป็นตัวเป็นตนไม่ว่าจะเป็นรูปสองหรือสามมิติ ความประสงค์ของรูปเคารพไม่ว่าจะเป็นเพื่อการสั่งสอนหรือเป็นแรงบันดาลใจ หรือวิธีใช้เช่นเพื่อการบูชาหรือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือความสำคัญของการใช้รูปเคารพก็ขึ้นอยู่กับสถาบันที่ใช้และสมัยของการใช้.

ใหม่!!: โบสถ์คริสต์และรูปเคารพ · ดูเพิ่มเติม »

ศาลเจ้า

ักการสถานของโฮเดเกเทรีย มหาวิหารอัสสัมชัญในกรุงสโมเลงสค์ ประเทศรัสเซีย ค.ศ. 1912 หีบสามกษัตริย์ของมหาวิหารโคโลญในเยอรมนีที่บรรจุกระดูกของโหราจารย์ถือกันว่าเป็น “หีบสักการะ” ภาพเขียน “The Shrine” โดยจอห์น วิลเลียม วอเทอร์เฮาส์ ค.ศ. 1895 ศาลเจ้า ชาวคาทอลิกเรียกว่าสักการสถาน ตรงภาษาอังกฤษว่า “Shrine” มาจากภาษาละติน “Scrinium” ที่แปลว่า “หีบสำหรับหนังสือหรือเอกสาร” และภาษาฝรั่งเศสเก่า “escrin” ที่แปลว่า “กล่องหรือหีบ” คือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่อุทิศให้แก่บุคคลสำคัญทางศาสนา บรรพบุรุษ วีรบุรุษ มรณสักขี นักบุญ หรือบุคคลที่มีความสำคัญหรือเป็นที่นับถือผู้เป็นที่สักการะ ในศาลมักจะประกอบด้วยรูปเคารพ วัตถุมงคล หรือสิ่งของต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้เป็นที่สักการะ ศาลที่สร้างขึ้นเพื่อรับสิ่งสักการะเรียกว่า “แท่นบูชา” ศาลเจ้าเป็นสิ่งที่พบในศาสนาแทบทุกศาสนาในโลกที่รวมทั้งศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ ศาสนาฮินดู ศาสนาพื้นบ้านจีน และศาสนาชินโต และการใช้ในทางที่ไม่เกี่ยวกับศาสนาเช่นรำลึกสถานเกี่ยวกับสงคราม ศาลเจ้ามีลักษณะต่างกันไปหลายอย่าง ปูชนียสถานบางแห่งก็ตั้งอยู่ภายในโบสถ์ วัด สุสาน หรือแม้แต่ในบ้านเรือนที่อยู่อาศัย หรือบางครั้งก็จะเป็นแบบที่เคลื่อนย้ายได้ เช่นในลักษณะของ “หีบวัตถุมงคล” ศาลเจ้าบางครั้งก็อาจจะกลายมาเป็นศูนย์กลางที่ประดิษฐานเทวรูปต่าง.

ใหม่!!: โบสถ์คริสต์และศาลเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนสถาน

นสถาน (Place of worship) คือสถานทางศาสนา ใช้ประกอบศาสนพิธี เช่น การอาราธนาศีลและสมาทานศีลในวัด และการละหมาดในมัสยิดอิสลาม เป็นต้น.

ใหม่!!: โบสถ์คริสต์และศาสนสถาน · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์

นาคริสต์ (Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 156 เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์" Briggs, Charles A. The fundamental Christian faith: the origin, history and interpretation of the Apostles' and Nicene creeds. C. Scribner's sons, 1913.

ใหม่!!: โบสถ์คริสต์และศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์ยุคแรก

นาคริสต์ยุคแรก (Early Christianity) หมายถึงศาสนาคริสต์ช่วงก่อนการสังคายนาที่ไนเชียครั้งที่หนึ่ง (ค.ศ. 325) แบ่งออกได้เป็นสองยุคย่อย คือ สมัยอัครทูตและสมัยก่อนไนเซีย ตามที่ระบุในบทแรกของหนังสือกิจการของอัครทูต คริสต์ศาสนิกชนยุคแรกเป็นชาวยิวทั้งหมด ไม่ว่าโดยกำเนิดหรือมาเข้ารีตภายหลัง จึงเรียกกลุ่มนี้ว่าคริสต์ศาสนิกชนชาวยิว การประกาศข่าวดีในสมัยนั้นเป็นแบบมุขปาฐะและใช้ภาษาแอราเมอิก หนังสือ "กิจการของอัครทูต" และ "จดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวกาลาเทีย" ระบุว่าในสมัยนั้นกรุงเยรูซาเลมเป็นศูนย์กลางของคริตชน โดยมีซีโมนเปโตร ยากอบผู้ชอบธรรม และยอห์นอัครทูต เป็นผู้ปกครองชุมชนร่วมกัน ต่อมาเปาโลซึ่งเคยเป็นปฏิปักษ์กับคริสตชนได้กลับใจมารับเชื่อ และประกาศตนเป็น "อัครทูตมายังพวกต่างชาติ" และมีอิทธิพลอย่างมากต่อคริสตชนยิ่งกว่าผู้ปกครองท่านอื่น ๆ ที่ร่วมกันเขียนพันธสัญญาใหม่Oxford Dictionary of the Christian Church ed.

ใหม่!!: โบสถ์คริสต์และศาสนาคริสต์ยุคแรก · ดูเพิ่มเติม »

ศีลศักดิ์สิทธิ์

''7 ศีลศักดิ์สิทธิ์'' (''The Seven Sacraments'') โดย โรเคียร์ ฟัน เดอร์ไวเดิน, ราว ค.ศ. 1448 ศีลศักดิ์สิทธิ์ เป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ (Sacraments) ในคริสตจักรโรมันคาทอลิก เป็นเครื่องหมายภายนอกที่แสดงว่าผู้รับศีลศักดิ์สิทธิ์นั้นเป็นคริสต์ศาสนิกชน.

ใหม่!!: โบสถ์คริสต์และศีลศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมบาโรก

วิหารซุพเพอร์กา (Basilica di Superga) ใกล้เมืองตูริน ประเทศอิตาลี โดย ฟิลิโป คูวารา (Filippo Juvarra) วิการตกแต่งภายในของวัดวีส์ ประเทศเยอรมนี ที่แสดงถึงความแยกไม่ออกระหว่างประติมากรรมและสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมบาโรก (ภาษาอังกฤษ: Baroque architecture) เป็นคำที่บรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมตะวันตกที่เริ่มราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ที่ประเทศอิตาลี เป็นสถาปัตยกรรมที่บ่งถึงความหรูหราโอ่อ่าและความมีอำนาจของสถาบันคริสต์ศาสนาและการปกครอง และจะเน้นเรื่องแสง สี เงา และคุณค่าของประติมากรรม ขณะที่สถาปัตยกรรมเรอเนซองส์จะเน้นความมั่งคั่งและอำนาจของราชสำนักอิตาลี และประสมประสานศิลปะศาสนาและศิลปะทางโลก สถาปัตยกรรมบาโรกเมื่อเริ่มแรกเป็นสถาปัตยกรรมที่มาจากปฏิกิริยาต่อการปฏิรูปศาสนาของนิกายโปรเตสแตนต์ซึ่งเป็นกระบวนการของสถาบันคาทอลิกต่อต้านการปฏิรูปดังกล่าว โดยการปฏิรูปภายในสถาบันคาทอลิกเอง การประชุมสังคายนาที่เมืองเทร้นต์ ระหว่างวันที่ 13 ธันวาคม..

ใหม่!!: โบสถ์คริสต์และสถาปัตยกรรมบาโรก · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก

อาสนวิหารโคโลญ, ประเทศเยอรมนี มีหอสูงที่สุดในโลก อาสนวิหารซอลสบรี (1220-1380) จากมุมตะวันออก มีหอสูงที่สุดในอังกฤษ อาสนวิหารเบอร์มิงแฮม (Birmingham Cathedral) อังกฤษ อาสนวิหารเกิร์ค (Gurk Dom) ออสเตรีย สถาปัตยกรรมการก่อสร้างอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก เป็นบทความที่บรรยายถึงลักษณะสิ่งก่อสร้างของอาสนวิหารทางคริสต์ศาสนา ที่รวมทั้งสิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะใกล้เคียงกับอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก อาสนวิหาร คือโบสถ์ประจำตำแหน่งของมุขนายก ที่ใช้เป็นศูนย์กลางของมุขมณฑลมุขนายกตามที่กำหนดไว้ อาสนวิหารเป็นที่เป็นที่ตั้งของ “คาเทดรา” (bishop's cathedra) และเป็นสถานที่ทางคริสต์ศาสนาที่ใช้ในการนมัสการ (โดยเฉพาะสำหรับนิกายที่มีระบบฐานันดรการปกครองเช่น โรมันคาทอลิก ออร์ทอดอกซ์ หรือแองกลิคัน) ขนาดของสิ่งก่อสร้างที่เป็นอาสนวิหารไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่โตเสมอไป อาจจะมีขนาดเล็กอย่างเช่นอาสนวิหารอ๊อกซฟอร์ด หรือ อาสนวิหารเชอร์ที่ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ก็ได้ แต่โดยทั่วไปแล้วอาสนวิหารมักจะเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดและเด่นที่สุดในท้องถิ่นที่ตั้งอยู.

ใหม่!!: โบสถ์คริสต์และสถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมโรมัน

ลอสเซียมในกรุงโรม สถาปัตยกรรมโรมัน (Architecture of ancient Rome) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมของโรมันโบราณที่ประยุกต์มาจากสถาปัตยกรรมกรีกตั้งแต่ราวศตวรรษที่ 12 ก่อนคริสต์ศักราชมาเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมของตนเอง ลักษณะสถาปัตยกรรมทั้งสองถือว่าเป็น “สถาปัตยกรรมคลาสสิก” นอกจากลักษณะสถาปัตยกรรมที่นำมาจากกรีกแล้วโรมันยังรับอิทธิพลเกี่ยวเนื่องเช่นการสร้าง “ห้องทริคลิเนียม” (Triclinium) ในคฤหาสน์โรมันเป็นห้องกินข้าวอย่างเป็นทางการ และจากผู้ที่มีอำนาจมาก่อนหน้านั้น--วัฒนธรรมอีทรัสคัน--โรมันก็นำความรู้ต่างทางสถาปัตยกรรมมาประยุกต์ใช้เช่นการใช้ระบบไฮดรอลิคและการก่อสร้างซุ้มโค้ง ปัจจัยทางสังคมเช่นความมั่งคั่งและจำนวนประชากรที่หนาแน่นในมหานครทำให้โรมันต้องพยายามหาหนทางใหม่ในการแก้ปัญหาทางสถาปัตยกรรมอันเป็นผลที่ตามมา การใช้ ยอดโค้ง (Vault) และ ซุ้มโค้ง ประกอบกับความรู้เกี่ยวกับวัสดุสำหรับการก่อสร้างเป็นต้นที่สามารถทำให้โรมันประสบกับความสำเร็จเช่นที่ไม่เคยมีมาก่อนในการก่อสร้างสิ่งก่อสร้างอันใหญ่โตน่าประทับใจสำหรับสาธารณชน ตัวอย่างเช่นสะพานส่งน้ำโรมัน, โรงอาบน้ำไดโอคลีเชียน และ โรงอาบน้ำคาราคัลลา, บาซิลิกา และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือโคลอสเซียมในกรุงโรม ซึ่งกลายมาเป็นแบบจำลองในการสร้างสถาปัตยกรรมแบบเดียวกันที่มีขนาดย่อมกว่าตามมหานครและนครต่างๆ ไปทั่วทั้งจักรวรรดิ สิ่งก่อสร้างบางชิ้นก็ยังหลงเหลืออยู่ในรูปแบบที่เกือบสมบูรณ์เช่นกำแพงเมืองลูโกในฮิสปาเนียทาร์ราโคเนนซิสทางตะวันตกเฉียงเหนือของสเปน การก่อสร้างสิ่งก่อสร้างอันใหญ่โตนอกจากจะเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสามารถทางสถาปัตยกรรมแล้วก็ยังเป็นเครื่องมือในการโฆษณาชวนเชื่อถึงความเป็นมหาอำนาจของจักรวรรดิโรมันอีกด้วย ดังจะเห็นได้จากตึกแพนธีอันโดยเฉพาะในการสร้างใหม่ตามแบบของจักรพรรดิเฮเดรียนที่ยังคงตั้งอยู่อย่างสง่างดงามเช่นเมื่อสร้างใหม่ นอกจากแพนธีอัน จักรพรรดิเฮเดรียนก็ยังทรงทิ้งร่องรอยทางสถาปัตยกรรมอันยิ่งใหญ่ไว้ทางตอนเหนือของบริเตนในรูปของกำแพงเฮเดรียนที่ใช้เป็นเส้นพรมแดนทางตอนเหนือสุดของจักรวรรดิ และเมื่อพิชิตสกอตแลนด์เหนือขึ้นไปจากกำแพงเฮเดรียนได้ ก็ได้มีการสร้างกำแพงอันโตนินขึ้น.

ใหม่!!: โบสถ์คริสต์และสถาปัตยกรรมโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

หอล้างบาป

หอล้างบาปกลมเมืองปีซาตั้งอยู่ข้างตัวมหาวิหาร หอล้างบาปประจำมหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรัน หอล้างบาปที่ฟลอเรนซ์ หอล้างบาป หรือ หอบัพติศมา (Baptistery หรือ BaptistryCatholic Encyclopedia. ''Baptistery''. http://www.newadvent.org/cathen/02276b.htm.) เป็นคริสต์ศาสนสถาน ที่สร้างเป็นอิสระจากสิ่งก่อสร้างอื่นโดยมีอ่างล้างบาปเป็นศูนย์กลาง หอล้างบาปอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของโบสถ์หรืออาสนวิหารซึ่งมีแท่นบูชาและคูหาสวดมนต์ของตนเอง ในศาสนาคริสต์ยุคแรกหอล้างบาปจะเป็นสถานสำหรับผู้จะเข้ารีตเรียนรู้เรื่องศาสนาก่อนจะรับศีลล้างบาป และเป็นที่ทำพิธีล้างบาป การสร้างหอล้างบาปอย่างสวยงามเป็นการแสดงถึงความสำคัญของการล้างบาปในศาสนาคริสต์ หอล้างบาปทรงแปดเหลี่ยมของมหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรันเป็นหอล้างบาปแรกที่สร้างเพื่อการพิธีนี้โดยเฉพาะ ซึ่งเป็นแบบลักษณะตัวอย่างของหอล้างบาปที่สร้างกันต่อมา ซึ่งบางครั้งจะเป็นสิบสองเหลี่ยม หรือกลมอย่างที่ปิซา ในบริเวณโถงทางเข้าโบสถ์คริสต์เป็นบริเวณที่ใช้สำหรับใช้เรียนคำสอนและสารภาพความศรัทธาก่อนที่จะทำการรับศีลล้างบาป โถงกลางจะมีอ่างล้างบาปป็นหลัก ซึ่งจะเป็นที่ที่ผู้รับศีลจะลงไปใต้น้ำสามหน จากอ่างจะเป็นบันไดสามขั้นลงไปในอ่าง ห้อยอยู่เหนืออ่างอาจจะเป็นนกพิลาปทองหรือเงินซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระวิญญาณบริสุทธิ์ รูปเคารพที่ทำจากโมเสกบนผนัง หรือจิตรกรรมฝาผนังมักจะเป็นฉากชีวิตของนักบุญยอห์นผู้ให้บัพติศมา อ่างล้างบาปในระยะแรกมักจะทำด้วยหิน แต่ต่อมาก็มีการทำด้วโลหะบ้าง แหล่งน้ำของหอล้างบาปของมหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรันมาจากน้ำพุธรรมชาติ ก่อนที่จะมาเป็นมหาวิหารสิ่งก่อสร้างเดิมเป็นวังของครอบครัวพลอติอิ แลเตอร์รัน (Plautii Laterani) ผู้เป็นผู้บริหารของจักรพรรดิโรมัน จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 เป็นผู้ถวายวังนี้ให้กับบิชอปมิลทิอาเดส (Bishop Miltiades) น้ำพุธรรมชาติเป็นแหล่งน้ำของสิ่งก่อสร้างหลายสิ่งก่อสร้างภายในวัง เมื่อมีการเปลี่ยนศาสนาผู้เปลี่ยนก็ต้องรับล้างบาปทำให้แหล่งน้ำกลายเป็นความจำเป็น คาสสิโอโดรัสนักการเมืองและนักเขียนชาวโรมันบรรยายไว้ในปี..

ใหม่!!: โบสถ์คริสต์และหอล้างบาป · ดูเพิ่มเติม »

อัครมหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรัน

อัครมหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรัน ในพระสันตะปาปา (Arcibasilica Papale di San Giovanni in Laterano) หรือรู้จักกันทั่วไปในชื่อ มหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรัน (Basilica di San Giovanni in Laterano) หรือเรียกอย่างสั้นว่า มหาวิหารลาเตรัน เป็นมหาวิหารเอกในกรุงโรมและเป็นอาสนวิหารประจำตำแหน่งมุขนายกแห่งกรุงโรม นับเป็นมหาวิหารที่เก่าแก่ที่สุดและมีตำแหน่งสูงสุดในบรรดามหาวิหารเอกทั้งสี่แห่งในกรุงโรม และมีสถานะเป็นโบสถ์แม่ของโบสถ์ทั้งปวงในคริสตจักรโรมันคาทอลิก อัครมหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรัน เป็นมหาวิหารที่เก่าแก่มากที่สุดและมีความอาวุโสสูงสุดในบรรดามหาวิหารเอกทั้งสี่ในพระสันตะปาปาซึ่งทั้งหมดตั้งอยู่ในโรม มีลำดับศักดิ์อยู่เหนือแม้กระทั่งมหาวิหารนักบุญเปโตร และเป็นเพียงอาสนวิหารเพียงแห่งเดียวในโลกที่มีฐานะเป็น อัครมหาวิหาร และเนื่องจากเป็นอาสนวิหารที่เก่าแก่ที่สุด จึงได้รับการยกย่องให้เป็นอาสนวิหารแม่ของศาสนจักรโรมันคาทอลิก หัวหน้าพระคนบัจจุบันคือ พระคาร์ดินัลอากอสตีโน วัลลี ซึ่งเป็นคาร์ดินัลใหญ่แห่งมุขมณฑลโรม ในขณะที่ประธานาธิบดีฝรั่งเศสเป็นแคนันกิตติมศักดิ์ (honorary canon) ประจำมหาวิหารฯ โดยตำแหน่ง ซึ่งตำแหน่งแคนันกิตติมศักดิ์นี้เป็นตำแหน่งที่สืบทอดในหมู่ประมุขแห่งฝรั่งเศสมาตั้งแต่สมัยของพระเจ้าอ็องรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส ด้านหน้าบริเวณทางเข้า มีศิลาจารึกเป็นภาษาละตินขนาดใหญ่ว่า Clemens XII Pont Max Anno V Christo Salvatori In Hon SS Ioan Bapt et Evang ซึ่งแปลอย่างย่อได้ว่า "สมเด็จพระสันตะปาปาเคลเมนต์ที่ 12 ในปีที่ 5 แห่งสมณสมัย ได้ทรงอุทิศอาคารหลังนี้แก่พระคริสต์เจ้าผู้ช่วยให้รอด ด้วยเกียรติของนักบุญยอห์นผู้ให้บัพติศมาและนักบุญยอห์นผู้นิพนธ์พระวรสาร" หรือมีความหมายก็คือ เดิมดี มหาวิหารแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้แก่พระเยซู และในหลายศตวรรษต่อมาก็ประกาศร่วมอุทิศให้แก่นักบุญยอห์นทั้งสอง คือยอห์นผู้ให้บัพติศมาและยอห์นผู้นิพนธ์พระวรสาร อัครมหาวิหารฯตั้งอยู่ในกรุงโรม แต่อยู่นอกเขตแดนของนครรัฐวาติกันประมาณ 4 กิโลเมตรไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ แม้จะไม่ได้อยู่ในวาติกัน แต่อัครมหาวิหารแห่งนี้มีสิทธิสภาพนอกอาณาเขตในฐานะสมบัติของสันตะสำนัก จากผลของสนธิสัญญาลาเตรัน..

ใหม่!!: โบสถ์คริสต์และอัครมหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรัน · ดูเพิ่มเติม »

อาราม

อาราม (monastery) คือสิ่งก่อสร้างหรือกลุ่มสิ่งก่อสร้างที่ใช้เป็นที่พักอาศัยและที่ทำงานของนักพรต ซึ่งอาจอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม หรืออยู่โดดเดี่ยว เช่น ฤๅษี (hermit) ในทางตะวันตก (คริสต์ศาสนา) “อาราม” มาจากภาษาอังกฤษคำว่า “Monastery” ที่มีที่มาจากภาษากรีก “μοναστήριον” - “monasterios” (จากคำว่า “μονάζειν'” - “monazein” ที่แปลว่าอยู่ตามลำพัง) คำว่า “monastērion” ใช้เป็นครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 1 ในบทที่สามของหนังสือ “On The Contemplative Life” เขียนโดยนักปรัชญาชาวยิวชื่อไฟโล ศาสนาและปรัชญาต่าง ๆ ในโลกล้วนมีประเพณีการใช้ชีวิตอารามวาสีที่นักพรตหรือกลุ่มนักพรตที่มีความตั้งใจแน่วแน่ในการใช้ชีวิตเพื่อศาสนามารวมตัวกันเป็นชุมชน และก่อสร้างศาสนสถานและที่พำนักอาศัยที่แยกจากชุมชนของคฤหัสถ์ บริเวณที่เรียกว่าอารามปรากฏในหลายศาสนา เช่น อารามหรือวัดใน พุทธศาสนา คริสต์ศาสนา รวมไปถึงลัทธิขงจื๊อด้วย ในศาสนาเกือบทุกศาสนาชีวิตภายในอารามจะปกครองโดยกฎที่วางขึ้นโดยเฉพาะสำหรับชุมชนของตนโดยเฉพาะ เช่น กฎการสวดมนต์และเวลาสวด, กฎการใช้ชีวิต และอื่น ๆ เช่นกฎว่าด้วยเพศของสมาชิก หรือกฎที่ห้ามการมีภรรยา หรือการห้ามมีสมบัติเป็นของตนเองเป็นต้น นอกจากนั้นกฎที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของอารามกับอารามอื่นในกลุ่มเดียวกันหรือนอกกลุ่ม หรือกับชุมชนรอบข้างก็จะแตกต่างกันออกไป บางอารามก็เน้นการอยู่ร่วมกับชุมชนรอบข้างเช่นในการให้การศึกษาหรือบริการการรักษาพยาบาลหรือการสอนศาสนา แต่บางอารามก็เน้นการใช้ชีวิตที่แยกกันอย่างเด็ดขาดจากชุมชน.

ใหม่!!: โบสถ์คริสต์และอาราม · ดูเพิ่มเติม »

อารามเชินทัล

้านหน้าอารามเชินทัล อารามเชินทัล (Schöntal Abbey, Kloster Schöntal/ Reichskloster Schöntal) เดิมเป็นแอบบีย์ของนักพรตคณะซิสเตอร์เชียนที่ตั้งอยู่ที่เมืองเชินทาล ในรัฐบาเดิน-เวือร์ทเทมแบร์ก (Baden-Württemberg) ทางใต้ของประเทศเยอรมนี ความสำคัญของอารามนี้คือศิลปะบารอกที่สวยงามมาก ในปัจจุบันแอบบีย์ใช้เป็นสถานที่สำหรับการฝึกอบรมและเข้าเงียบ แอบบีย์นี้เริ่มสร้างในปี..

ใหม่!!: โบสถ์คริสต์และอารามเชินทัล · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหาร

อาสนวิหาร อาสนวิหารเซ็นต์บาร์บารา (St Barbara's church) เมือง Kutná Hora สาธารณรัฐเช็ก อาสนะบิชอปที่อาสนวิหารโวลเทอร์รา (Volterra Cathedral) ประเทศอิตาลี อาสนวิหาร (Cathedral; Cathédrale; Kathedrale/Dom; Cattedrale/Duomo) คือคริสต์ศาสนสถานประเภทหนึ่งที่คริสต์ศาสนิกชนใช้ทำการนมัสการพระเจ้า (โดยเฉพาะในคริสตจักรที่มีการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล เช่น โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ แองกลิคัน และลูเทอแรน อาสนวิหารจะเป็นโบสถ์ประจำตำแหน่งของมุขนายก ที่ใช้เป็นศูนย์กลางของมุขมณฑลซึ่งเป็นเขตปกครองของบิชอป คำว่าอาสนวิหารใช้ได้หลายความหมาย บางอาสนวิหารของคริสตจักรปฏิรูปที่สกอตแลนด์ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของคริสตจักรแห่งสกอตแลนด์ยังใช้คำว่าเรียกตัวเองว่าอาสนวิหารอยู่ทั้งที่โบสถ์นั้นไม่มีตำแหน่งมุขนายกประจำ ฉะนั้นในบางกรณีคำว่าอาสนวิหารจึงใช้เรียกโบสถ์ที่ไม่ได้เป็นที่ตั้งอาสนะของบิชอปแต่มีลักษณะใหญ่โตน่าประทับใจ นิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์จะไม่ใช้คำว่าอาสนวิหารแต่จะใช้คำว่าโบสถ์ใหญ่ (the great church) แต่เมื่อแปลเป็นภาษาอังกฤษก็จะใช้คำว่า “cathedral” เมื่อพูดถึงโบสถ์ใหญ่ นิกายออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์จะไม่มีอาสนวิหารอย่างที่ว่าแต่จะมีโบสถ์หลักเช่นโบสถ์เซนต์มาร์กที่ไคโรซึ่งก็เรียกกันว่า “cathedral” เช่นกัน อาสนวิหารหลายแห่งในทวีปยุโรปไม่เรียกตัวเองว่าอาสนวิหารแต่จะเรียกตัวเองว่า Minster หรือ Münster เช่น ที่เมืองยอร์ก หรือ ลิงคอล์น ในประเทศอังกฤษ แต่คนทั่วไปก็ยังเรียกทั้งสองแห่งนี้ว่า “อาสนวิหาร” ในประเทศเยอรมนี ทั้งสองคำนี้มีรากมาจากคำว่า monasterium ใน ภาษาละติน เพราะแต่เดิมอาสนวิหารเหล่านี้เคยอยู่ภายใต้การปกครองของแคนัน (canon) ที่อยู่ในชุมชนนั้นหรืออาจจะเคยเป็นแอบบีย์มาก่อนการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต.

ใหม่!!: โบสถ์คริสต์และอาสนวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารวุร์สเตอร์

อาสนวิหารวุร์สเตอร์ (ภาษาอังกฤษ: Worcester cathedral) เป็นอาสนวิหารนิกายอังกลิคันตั้งอยู่ที่เมืองวูสเตอร์ บนฝั่งแม่น้ำเซเวิร์น (Severn) ใน สหราชอาณาจักร ชื่อทางการของอาสนวิหารวูสเตอร์ คือ “The Cathedral Church of Christ and the Blessed Virgin Mary” อาสนวิหารวุร์สเตอร์เดิมก่อตั้งเป็นสำนักสงฆ์เมื่อ..

ใหม่!!: โบสถ์คริสต์และอาสนวิหารวุร์สเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารในสหราชอาณาจักร

อาสนวิหารซอลสบรี อาสนวิหาร (Cathedral) ในสหราชอาณาจักร มีทั้งที่ยังใช้เป็นอาสนวิหารหรือโบสถ์ประจำเขตแพริชอยู่ และที่ยกเลิกไปแล้ว.

ใหม่!!: โบสถ์คริสต์และอาสนวิหารในสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

อธิการอาราม

อธิการอาราม (abbot) เป็นสมณศักดิ์สำหรับนักพรตที่เป็นอธิการของอาราม พบในหลายศาสนารวมทั้งศาสนาคริสต์ ถ้าเป็นนักพรตหญิงเรียกว่าอธิการิณีอาราม ส่วนอธิการอารามในศาสนาพุทธเรียกว่า "เจ้าอาวาส" หรือ "สมภาร" ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า abbot ซึ่งมาจากภาษาแอราเมอิก ܐܒܐ/אבא (อับบา) แปลว่า คุณพ่อ.

ใหม่!!: โบสถ์คริสต์และอธิการอาราม · ดูเพิ่มเติม »

อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์

อาสนวิหารพระโลหิตของพระผู้ช่วยให้รอด เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย คริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ (Eastern Orthodox Church) เรียกโดยย่อว่าคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ (The Orthodox Church) หรือคริสตจักรไบแซนไทน์ (The Byzantine Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่เป็นอันดับสองในโลก คริสตจักรนี้ปฏิบัติตามหลักการทางเทววิทยาอย่างไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่สมัยศาสนาคริสต์ยุคแรก ศาสนจักรนี้เชื่อว่าคริสตจักรออร์โธด็อกซ์เป็นคริสตจักรแท้จริงเพียงหนึ่งเดียวที่ก่อตั้งโดยพระผู้เป็นเจ้า โดยสืบเนื่องมาจากอัครทูตของพระเยซูคริสต์ ออร์ทอดอกซ์ (Orthodox) หมายความว่า หลักคำสอนที่ถูกต้อง ซึ่งมาจากภาษากรีกคือ orthos แปลว่าถูกต้อง และ doxa แปลว่าคำสอน เมื่อในช่วงศาสนาคริสต์ยุคแรก ได้มีการเผยแพร่หลักคำสอนที่ผิด ซึ่งจะทำให้เกิดความผิดเพี้ยนของศาสนาจักร ซึ่งทางศาสนจักรออร์ทอดอกซ์ จึงได้เรียกตนเองว่าออร์ทอดอกซ์ เพื่อความเป็นศาสนจักรดั้งเดิม และต่อต้านหลักคำสอนนอกรีต อาจจะทำให้เกิดความแตกแยก ชาวออร์โธดอกซ์ถือว่าศาสนจักรออร์โธดอกซ์เป็นคริสตจักรแท้จริง ดั้งเดิม ศักดิ์สิทธิ์ สากล มีหลักคำสอนที่แท้จริงและดั้งเดิม มาตั้งแต่ศาสนาคริสต์ยุคแรกโดยไม่เคยเปลี่ยนหลักคำสอนใดๆ คริสตจักรออร์ทอดอกซ์แบ่งเป็นคริสตจักรย่อย ๆ แต่ละคริสตจักรมีอัครบิดร (หรือชาวอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทยเรียกว่า พระสังฆราช) เป็นประมุข ผู้มีหน้าที่เป็นผู้พิทักษ์ประเพณีของศาสนจักร และสามารถสืบสายกลับไปได้ถึงอัครทูตของพระเยซูโดยเฉพาะนักบุญอันดรูว์ คริสตจักรในกลุ่มอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์มักจะไม่เรียกตนเองว่า “อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์” แต่จะใช้ชื่อเฉพาะของกลุ่มที่บอกที่ตั้งของกลุ่มเช่น “คริสตจักรรัสเซียนออร์ทอดอกซ์” หรือ “คริสตจักรกรีกออร์ทอดอกซ์” "คริสตจักรเซอเบียร์ออร์ทอดอกซ์ หรือชาติอื่น ๆ คริสตจักรยุโรปตะวันออก เอเชียตะวันตก และทวีปแอฟริกาเหนือก็ใช้คำว่า “ออร์ทอดอกซ์” แต่ทางปฏิบัติจะแตกต่างกับ อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และจะเรียกตัวเองว่า ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ.

ใหม่!!: โบสถ์คริสต์และอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

อ่างล้างบาป

อ่างล้างบาปที่มหาวิหารวอมส์ ประเทศเยอรมนี อ่างล้างบาปสมัยกลาง จากเมือง Norrköping ประเทศสวีเดน อ่างล้างบาป (Baptismal font) คือภาชนะที่ใช้ทำพิธีบัพติศมาสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ “พิธีบัพติศมา” ก็มีหลายแบบ -- พรมน้ำ รดน้ำ หรือจุ่มลงไปในน้ำทั้งตัว อย่างคำในภาษากรีกว่า βαπτιζω คำนี้แปลว่าดำลงไป แต่อ่างล้างบาปโดยทั่วไปจะเล็กเกินกว่าที่จะใช้วิธีนี้ได้นอกจากกับเด็กทารก.

ใหม่!!: โบสถ์คริสต์และอ่างล้างบาป · ดูเพิ่มเติม »

ผังอาสนวิหาร

ผังของอาสนวิหารอาเมียง ที่ประเทศฝรั่งเศส แสดงให้เห็นเสาใหญ่รับน้ำหนักหอด้านหน้าวัด; แขนกางเขนสั้น; ชาเปล 7 ชาเปล ที่เรียกว่า “chevet” รอบมุขโค้งด้านสกัดออกมาจากจรมุข ผังอาสนวิหาร (Cathedral diagram, Cathedral plan, Cathedral floorplan) แสดงให้เห็นลักษณะโครงสร้างและองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก แผนผังจะแสดงกำแพง แนวเสาทำให้เห็นโครงสร้าง เส้นสองเส้นบนกำแพงด้านนอกคือหน้าต่างกระจก เส้น x เป็นสัญลักษณ์สำหรับเพดานโค้ง ตามปกติผังของวัดทางคริสต์ศาสนาจะวางเหมือนการวางแผนที่ ด้านเหนืออยู่บน ด้านตะวันตกถือกันว่าเป็นด้านหน้าของวัด ด้านตะวันออกที่เป็นบริเวณที่ทำคริสต์ศาสนพิธีอยู่ทางขว.

ใหม่!!: โบสถ์คริสต์และผังอาสนวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมัน

ักรวรรดิโรมันในช่วงเวลาต่างๆกัน จักรวรรดิโรมัน (Imperivm Romanvm; Ῥωμαϊκὴ Αὐτοκρατορία หรือ Ἡ Ῥωμαίων βασιλεία; Roman Empire) เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งของอารยธรรมโรมันโบราณซึ่งปกครองโดยรูปแบบอัตตาธิปไตย จักรวรรดิโรมันได้สืบต่อการปกครองมาจากสาธารณรัฐโรมัน (510 ปีก่อนคริสตกาล - ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตาล) ซึ่งได้อ่อนแอลงหลังจากความขัดแย้งระหว่างไกอุส มาริอุสและซุลลา และสงครามกลางเมืองระหว่างจูเลียส ซีซาร์และปอมปีย์ มีวันหลายวันที่ได้ถูกเสนอให้เป็นเส้นแบ่งของการเปลี่ยนแปลงระหว่างสาธารณรัฐและจักรวรรดิ ได้แก.

ใหม่!!: โบสถ์คริสต์และจักรวรรดิโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

ที่เก็บศพ

ที่เก็บศพแบบหนึ่ง: มอโซเลียมโมฮัมหมัดที่ 5 ที่โมร็อกโก ที่เก็บศพแบบหนึ่ง: ฝาครอบโลงหินของอิทรัสกันที่อิตาลี ที่เก็บศพ (Tomb) คือที่เก็บร่างของผู้ตายซึ่งมิใช่การฝัง คำนี้โดยทั่วไปจะหมายถึงสิ่งก่อสร้างที่มีที่เก็บร่างของผู้ตายที่มีขนาดต่างๆ กัน.

ใหม่!!: โบสถ์คริสต์และที่เก็บศพ · ดูเพิ่มเติม »

คอนแวนต์

อนแวนต์ Beguine ในกรุงอัมสเตอร์ดัม คอนแวนต์ (convent) คือชุมชนของบาทหลวง นักพรตหญิง ภราดา หรือภคินี หรืออาจหมายถึงตัวอาคารที่ชุมชนนักบวชเหล่านี้ใช้พักอาศัย พบได้ทั้งในคริสตจักรโรมันคาทอลิกและแองกลิคันคอมมิวเนียน ในปัจจุบันคำว่าคอนแวนต์มักใช้หมายถึงเฉพาะชุมชนนักบวชหญิง ขณะที่อาราม ไพรออรี หรือไฟรอารี จะใช้กับชุมชนนักบวชชาย แต่ในอดีตคำเหล่านี้มักใช้แทนกันได้ ในทางเทคนิค คำว่า "อาราม" จะหมายถึงชุมชนนักพรต ขณะที่ "คอนแวนต์" คือชุมชนของนักบวชภิกขาจาร (ถ้าเป็นของไฟรเออร์จะมีชื่อเรียกเฉพาะว่า "ไฟรอารี") ส่วน "แคนันรี" คือชุมชนแคนันที่สังกัดคณะนักบวช คำว่า "แอบบีย์" และ "ไพรออรี" คืออารามและแคนันรีนั่นเอง แต่ต่างกันที่แอบบีย์มีคุณพ่ออธิการเป็นหัวหน้า แต่ไพรออรีเป็นสำนักที่มิอิสระน้อยกว่าและปกครองโดยไพรเออร.

ใหม่!!: โบสถ์คริสต์และคอนแวนต์ · ดูเพิ่มเติม »

คาทีดรา

ทีดราที่มหาวิหารโวลเทอร์ราในอิตาลี คาทีดราของพระสันตะปาปาในมุขโค้งด้านสกัดของมหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรันซึ่งเป็นมหาวิหารของกรุงโรม คาทีดรา (cathedra) หรือ อาสนะบิชอป (bishop's throne) เป็นเก้าอี้ของบิชอป เป็นสัญลักษณ์แห่งอำนาจในการเทศนาของบิชอปในคริสตจักรคาทอลิก คริสจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และกลุ่มอังกลิคัน คริสต์ศาสนสถานซึ่งเป็นที่ตั้งของอาสนะบิชอปจึงเรียกว่า อาสนวิหาร (cathedral) คำว่า "cathedra" ปรากฏในวรรณกรรมคริสเตียนยุคแรกในวลี "cathedrae apostolorum" ซึ่งบ่งบอกถึงอำนาจที่รับมาโดยตรงจากอัครทูต.

ใหม่!!: โบสถ์คริสต์และคาทีดรา · ดูเพิ่มเติม »

ตรีเอกภาพ

จิตรกรรมฝาผนัง “ตรึเอกภาพ” โดยลูคา โรสเซ็ทที (Luca Rossetti) แสดงให้เห็นพระเจ้าพระบิดา (พระยาห์เวห์) พระเจ้าพระบุตร (พระเยซู) และพระวิญญาณบริสุทธิ์ ในรูปของนกพิราบ (ค.ศ. 1738-ค.ศ. 1739) ที่โบสถ์เซนต์กอเซนซิโอ ที่เมื่องอิฟเรีย ใกล้ตูริน ตรีเอกภาพ (ศัพท์โรมันคาทอลิกและอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์) หรือ ตรีเอกานุภาพ (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (Trinity) คือภาวะที่พระเป็นเจ้าพระองค์เดียวเป็นเอกภาพ แต่ปรากฏเป็นสามพระบุคคล คือ พระบิดา พระบุตร (เชื่อว่ามาเกิดเป็นพระเยซู) และพระวิญญาณบริสุทธิ์ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 4 เทววิทยาศาสนาคริสต์ทั้งทางตะวันออกและตะวันตกยอมรับว่า “ในพระเจ้าเดียว มีสามพระบุคคล” สามสิ่งนี้ต่างบุคคลกันแต่มีธรรมชาติเดียวคือความเป็นพระเจ้า ทางปรัชญายังกล่าวต่อไปว่าพระบุตรหรือพระเยซูมีสองธรรมชาติรวมอยู่ในบุคคลเดียวกัน คือความเป็นพระเจ้าและขณะเดียวกันก็เป็นมนุษย์ (hypostatic union) ความเชื่อเรื่อง “ตรีเอกภาพ” เรียกว่า “ตรีเอกภาพนิยม” คริสตจักรเกือบทุกคริสตจักรในคริสต์ศาสนามีความเชื่อแบบ “ตรีเอกภาพนิยม” และถือว่าเป็นรากฐานของคำสอนของคริสต์ศาสนาHarris, Stephen L. (1985) Understanding the Bible Palo Alto: Mayfield.

ใหม่!!: โบสถ์คริสต์และตรีเอกภาพ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศกรีซ

กรีซ (Greece; Ελλάδα, Elládha เอลาฑา หรือ Ελλάς, Ellás) หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐเฮลเลนิก (Hellenic Republic; Ελληνική Δημοκρατία, Ellinikí Dhimokratía) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป ตอนใต้สุดของคาบสมุทรบอลข่าน มีพรมแดนทางเหนือติดกับประเทศบัลแกเรีย มาซิโดเนีย และแอลเบเนีย มีพรมแดนทางตะวันออกติดกับประเทศตุรกี อยู่ติดทะเลอีเจียนทางด้านตะวันออก ติดทะเลไอโอเนียนและทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางด้านตะวันตกและใต้ กรีซนับว่าเป็นแหล่งอารยธรรมตะวันตกอันยิ่งใหญ่ และมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ซึ่งกรีซได้แผ่อิทธิพลไปยัง 3 ทวีป ชาวกรีกเรียกประเทศตัวเองว่า Hellas ซึ่งภาษากรีกในปัจจุบันออกเสียง ว่า Ellas โดยในการพูดทั่วไปจะใช้คำว่า Ellada และมักจะเรียกตัวเองว่า Hellenes แม้กระทั่งในภาษาอังกฤษ ซึ่งคำภาษาอังกฤษ "Greece" มาจากชื่อละตินว่า Graecia หมายถึงพื้นที่ทางเหนือของกรีซในปัจจุบัน ซึ่งมีกลุ่มคนที่เรียกว่า Graikos อาศัยอยู.

ใหม่!!: โบสถ์คริสต์และประเทศกรีซ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศลิทัวเนีย

ลิทัวเนีย (Lithuania; Lietuva เลฺยียทุวะ) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐลิทัวเนีย (Republic of Lithuania; Lietuvos Respublika) ตั้งอยู่กลางทวีปยุโรป ทางฝั่งตะวันออกของทะเลบอลติก ทิศเหนือจรดลัตเวีย ทิศตะวันออกและทิศใตัจรดเบลารุส และทิศตะวันตกเฉียงใต้จรดโปแลนด์และรัสเซีย (แคว้นคาลินินกราด) เคยเป็นส่วนหนึ่งของประเทศรัสเซี.

ใหม่!!: โบสถ์คริสต์และประเทศลิทัวเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสเปน

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: โบสถ์คริสต์และประเทศสเปน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอังกฤษ

อังกฤษ (England อิง(ก)ลันด์) หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ยๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน..

ใหม่!!: โบสถ์คริสต์และประเทศอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิตาลี

อิตาลี (Italy; Italia อิตาเลีย) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐอิตาลี (Italian Republic; Repubblica italiana) เป็นประเทศในทวีปยุโรป บริเวณยุโรปใต้ ตั้งอยู่ในคาบสมุทรอิตาลีที่มีรูปทรงคล้ายรองเท้าบูต และมีเกาะ 2 เกาะใหญ่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คือ เกาะซิซิลีและเกาะซาร์ดิเนีย และพรมแดนตอนเหนือแบ่งประเทศโดยเทือกเขาแอลป์ กับประเทศฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย และสโลวีเนีย ประเทศอิตาลีเป็นประเทศสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ นาโต และกลุ่มจี 8 มีประเทศอิสระ 2 ประเทศ คือ ซานมารีโนและนครรัฐวาติกัน เป็นดินแดนที่ล้อมรอบไปด้วยพื้นที่ของอิตาลี ในขณะที่เมืองกัมปีโอเนดีตาเลีย เป็นดินแดนส่วนแยกของอิตาลีที่ถูกล้อมรอบด้วยพื้นที่ประเทศสวิตเซอร์แลน.

ใหม่!!: โบสถ์คริสต์และประเทศอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโปแลนด์

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: โบสถ์คริสต์และประเทศโปแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเช็กเกีย

็กเกีย (Czechia; Česko) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐเช็ก (Czech Republic; Česká republika) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล อยู่ในภูมิภาคยุโรปกลาง พรมแดนทางตอนเหนือจรดประเทศโปแลนด์ ทางตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือจรดเยอรมนี ทางใต้จรดออสเตรีย และทางตะวันออกจรดสโลวาเกีย เช็กเกียประกอบด้วยภูมิภาคที่เก่าแก่สองส่วน คือ โบฮีเมียและมอเรเวีย และส่วนหนึ่งของภูมิภาคที่สาม เรียกว่า ไซลีเซีย ประเทศนี้ได้เข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 เมืองหลวงของประเทศคือ ปราก เป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศด้วย เมืองสำคัญอื่น ๆ ของประเทศ ได้แก่ เบอร์โน, ออสตราวา, เปิลเซน, ฮราเดตส์กราลอเว, เชสเกบุดเยยอวีตเซ และอูสตีนัดลาเบม นับตั้งแต่การยุบเลิกประเทศเชโกสโลวาเกียเมื่อปลายปี พ.ศ. 2535 กระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงศึกษาธิการของสาธารณรัฐเช็กได้สนับสนุนให้ใช้ชื่อประเทศแบบสั้นเป็นภาษาอังกฤษว่า "เช็กเกีย" (Czechia) แต่ก็ยังไม่เป็นที่แพร่หลายนัก จนกระทั่งในวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 คณะรัฐมนตรีสาธารณรัฐเช็กได้มีมติเห็นชอบให้ใช้ชื่อ "เช็กเกีย" เป็นชื่อเรียกประเทศแบบสั้นอย่างเป็นทางการ.

ใหม่!!: โบสถ์คริสต์และประเทศเช็กเกีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเยอรมนี

ประเทศเยอรมนี (Germany; Deutschland ดอยฺชลันฺท) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Federal Republic of Germany; Bundesrepublik Deutschland) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐแบบรัฐสภาในยุโรปกลาง มีรัฐองค์ประกอบ 16 รัฐ มีพื้นที่ 357,021 ตารางกิโลเมตร และมีภูมิอากาศตามฤดูกาลแบบอบอุ่นเป็นส่วนใหญ่ มีประชากรประมาณ 82 ล้านคน ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในสหภาพยุโรป ประเทศเยอรมนีเป็นจุดหมายการเข้าเมืองยอดนิยมอันดับสองในโลกรองจากสหรัฐ เมืองหลวงและมหานครใหญ่สุดของประเทศคือ กรุงเบอร์ลิน ขณะที่เขตเมืองขยายใหญ่สุด คือ รูร์ โดยมีศูนย์กลางหลักดอร์ทมุนด์และเอสเซิน นครหลักอื่นของประเทศ ได้แก่ ฮัมบวร์ค มิวนิก โคโลญ แฟรงก์เฟิร์ต ชตุทท์การ์ท ดึสเซิลดอร์ฟ ไลพ์ซิจ เบรเมิน เดรสเดิน ฮันโนเฟอร์และเนือร์นแบร์ก ประเทศนี้มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเชิงเสรีภาพและรัฐสวัสดิการ พรมแดนทางทิศเหนือติดทะเลเหนือ เดนมาร์ก และทะเลบอลติก ทิศตะวันออกติดโปแลนด์และเช็กเกีย ทิศใต้ติดออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ ทิศตะวันตกติดฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ มีเมืองหลวงและเมืองใหญ่ของประเทศคือเบอร์ลิน เยอรมนีมีประชากรประมาณ 80 ล้านคนและเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นประชากรสูงสุดแห่งหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นประเทศที่มีคนย้ายถิ่นมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก หลังจากที่สหรัฐอเมริกาเยอรมนีเป็นปลายทางการย้ายถิ่นที่สองได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก เยอรมนีเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและยังก่อตั้งสหภาพการเงินกับสมาชิกในสหภาพยุโรปอีก 17 ประเทศ โดยใช้ชื่อว่ายูโรโซน เยอรมนีเป็นสมาชิกของกลุ่ม UNO, OECD, NATO, G7 และ G20 เยอรมนีเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อประเทศอื่นๆในยุโรปและเป็นประเทศที่มีความสามารถที่จะแข่งขันในระดับโลก หากวัดจากผลผลิตมวลรวมภายในประเทศแบบปกติแล้ว เยอรมนีเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก ในปี 2012 เป็นประเทศที่มีการนำเข้าส่งออกมากที่สุดเป็นอันดับสาม ดัชนีการพัฒนามนุษย์ถือว่าสูงมาก.

ใหม่!!: โบสถ์คริสต์และประเทศเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

ปาร์มา

ปาร์มา (Parma) เป็นเมืองในแคว้นเอมีเลีย-โรมัญญา จังหวัดปาร์มา ประเทศอิตาลี มีชื่อเสียงในด้านการผลิตแฮม,ชีส และด้านสถาปัตยกรรม เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยปาร์มา และสโมสรฟุตบอลปาร์มา มีประชากร 184,044 คน (ค.ศ.2009) หมวดหมู่:เมืองในประเทศอิตาลี หมวดหมู่:แคว้นเอมีเลีย-โรมัญญา หมวดหมู่:ปาร์มา.

ใหม่!!: โบสถ์คริสต์และปาร์มา · ดูเพิ่มเติม »

นักพรต

นักพรต (monk)กีรติ บุญเจือ, แก่นปรัชญายุคกลาง, พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550, หน้า 131 คือผู้บำเพ็ญพรต หรือผู้ประพฤติตามข้อกำหนดการปฏิบัติทางศาสนาเพื่อข่มกาย ใจ ของตนราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน..

ใหม่!!: โบสถ์คริสต์และนักพรต · ดูเพิ่มเติม »

นักพรตหญิง

นจักรออร์โธดอกซ์ นักพรตหญิง (nun) คือสตรีที่ปฏิญาณอุทิศตนใช้ชีวิตเพื่อศาสนา อาจจะถือวัตรคล้ายนักพรตที่เลือกสละทางโลกแล้วหันไปใช้ชีวิตกับการอธิษฐานและการเพ่งพินิจ อาศัยในอารามหรือคอนแวนต์ "นักพรตหญิง" พบได้ทั้งในศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ (ทั้งในคริสตจักรโรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ แองกลิคัน และลูเทอแรน) ศาสนาเชน และศาสนาเต๋า ในศาสนาคริสต์คำว่า "นักพรตหญิง" และ "ภคินี" ใช้แทนหรือสลับกันได้เพราะถือว่ามีความหมายเดียวกัน แต่ในบางกรณีก็ถูกจำแนกให้ต่างกันว่านักพรตหญิงคือนักบวชหญิงที่ใช้ชีวิตเป็นนักพรต อยู่แต่ภายในเขตพรต เน้นการเพ่งพินิจ การอธิษฐาน และการรำพึงธรรม ขณะที่ภคินีเป็นนักบวชหญิงที่เน้นนการอธิษฐาน การบริการผู้ยากไร้ เจ็บป่วย ยากจน และขาดการศึกษ.

ใหม่!!: โบสถ์คริสต์และนักพรตหญิง · ดูเพิ่มเติม »

นิกายลูเทอแรน

ัญลักษณ์กุหลาบลูเทอแรน นิกายลูเทอแรน (Lutheranism) เป็นนิกายหนึ่งในศาสนาคริสต์ตะวันตกฝ่ายโปรเตสแตนต์ มาร์ติน ลูเทอร์ เป็นผู้ก่อตั้งนิกายนี้ขึ้นจากการปฏิรูปหลักเทววิทยาและการปฏิบัติของนิกายโรมันคาทอลิก.

ใหม่!!: โบสถ์คริสต์และนิกายลูเทอแรน · ดูเพิ่มเติม »

แบล็กเดท

การฝังศพผู้เสียชีวิตจากแบล็กเดทในเมืองตูร์แน ภาพประกอบจากบันทึกของฌีล ลี มุยซี (Gilles Li Muisis) อธิการอารามนักบุญมาร์แต็งแห่งตูร์แน แบล็กเดท (Black Death) หรือ กาฬมรณะ เป็นโรคระบาดทั่วครั้งที่ก่อความเสียหายมากที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษย์ ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตประเมินไว้ราว 75 ถึง 100 ล้านคน และทวีความรุนแรงที่สุดในทวีปยุโรประหว่างปี 1348–50 การวิเคราะห์ดีเอ็นเอของผู้เสียชีวิตในทวีปยุโรปตอนเหนือและใต้บ่งชี้ว่า จุลชีพก่อโรคอันเป็นสาเหตุของโรค คือ แบคทีเรีย Yersinia pestis ซึ่งอาจก่อกาฬโรคได้หลายแบบ คาดว่าแบล็กเดทเริ่มต้นในจีนหรือเอเชียกลาง จากนั้นแพร่มาตามเส้นทางสายไหมและถึงไครเมียในปี 1346 และหมัดหนูตะวันออก (Xenopsylla cheopis) ซึ่งอาศัยอยู่ในหนูดำอันอยู่บนเรือพาณิชย์ทั่วไป น่าจะเป็นตัวนำโรคจากไครเมีย กาฬโรคได้แพร่ไปทั่วเมดิเตอร์เรเนียนและทวีปยุโรป ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตเป็น 30–60% ของประชากรทั้งทวีปยุโรป กาฬโรคลดประชากรโลกจากที่ประเมินไว้ 450 ล้านคน ลงเหลือ 350–375 ล้านคนในคริสต์ศตวรรษที่ 14 กาฬโรคมีผลต่อเส้นทางประวัติศาสตร์ยุโรป ก่อให้เกิดทั้งกลียุคทางศาสนา สังคมและเศรษฐกิจ ประชากรยุโรปกว่าจะกลับคืนจำนวนก็ใช้เวลา 150 ปี กาฬโรคอุบัติซ้ำเป็นครั้งคราวในทวีปยุโรปกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 19.

ใหม่!!: โบสถ์คริสต์และแบล็กเดท · ดูเพิ่มเติม »

แอบบีย์

“แอบบีย์คลูนี” ในประเทศฝรั่งเศส แอบบีย์ (Abbey) คืออารามหรือคอนแวนต์ในนิกายโรมันคาทอลิก ที่อยู่ภายใต้การปกครองของอธิการอาราม (Abbot) หรืออธิการิณีอาราม (Abbess) ซึ่งทำหน้าที่เป็นพ่อหรือแม่ฝ่ายจิตวิญญาณของเหล่านักพรตที่อาศัยในแอบบีย์ “แอบบีย์” เดิมมาจาก “abbatia” ในภาษาละติน (ซึ่งแผลงจากคำ “abba” ในภาษาซีเรียค ที่แปลว่า “พ่อ”) คำว่า “แอบบีย์” อาจจะหมายถึงคริสต์ศาสนสถานที่ในปัจจุบันไม่มีฐานะเป็นแอบบีแล้ว แต่ยังคงใช้ชื่ออยู่ ซึ่งบางครั้งก็ใช้ต่อมาเป็นเวลาหลายร้อยปี เช่น แอบบีเวสต์มินสเตอร์ หรือใช้เรียกคฤหาสน์ชนบท หรือสิ่งก่อสร้างอื่นที่เดิมเป็นแอบบี แต่มาเปลี่ยนมือเป็นของคฤหัสถ์หลังจากการประกาศพระราชกฤษฎีกายุบอารามโดยพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 16 เช่น มิสเซนเดนแอบบีย์ (Missenden Abbey).

ใหม่!!: โบสถ์คริสต์และแอบบีย์ · ดูเพิ่มเติม »

แองกลิคัน

นิกายแองกลิคัน (Anglicanism) คือคำที่กล่าวถึงความเชื่อหรือการปฏิบัติของนิกายศาสนาคริสต์ที่มีประวัติเกี่ยวข้องกับ หรือ มีการปฏิบัติที่คล้ายคลึงกับคริสตจักรแห่งอังกฤษ คำว่า “อังกลิคัน” มาจากคำว่า “ecclesia anglicana” ในภาษาละตินยุคกลางที่ใช้กันมาตั้งแต..

ใหม่!!: โบสถ์คริสต์และแองกลิคัน · ดูเพิ่มเติม »

โบสถ์น้อย

น้อยในประเทศเบลเยียม โบสถ์น้อย หรือ วัดน้อย (chapel) เป็นสิ่งก่อสร้างอิสระหรือโครงสร้างภายในสิ่งก่อสร้างของคริสต์ศาสนสถาน ถ้าเป็นสิ่งก่อสร้างอิสระก็มีขนาดต่างๆ ตั้งแต่ใหญ่ขนาดมหาวิหารย่อย ๆ ไปจนถึงโบสถ์น้อยเล็ก ๆ ข้างทาง เช่นเดียวกับถ้าเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งก่อสร้างขนาดก็ขึ้นอยู่กับฐานะของผู้สร้าง โบสถ์น้อยที่เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งก่อสร้างอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิหาร, โบสถ์ใหญ่ ๆ, ปราสาท, วัง, คฤหาสน์, วิทยาลัย, โรงพยาบาล คุก หรือสุสาน บางครั้งโบสถ์น้อยที่สร้างในมหาวิหารจะสร้างเพื่อจุดประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นพิเศษ เช่น "โบสถ์น้อยแม่พระ" ที่มักจะสร้างเป็นโบสถ์น้อยที่อยู่ทางตะวันออกสุดของโบสถ์ หรือ "โบสถ์น้อยศีลศักดิ์สิทธิ์" ที่ตั้งติดกับโบสถ์และใช้เป็นที่เก็บไวน์ และขนมปังที่ใช้ในพิธีศีลมหาสนิท ถ้าโบสถ์น้อยมีขนาดค่อนข้างเล็กที่สร้างเป็นคูหาภายในทางด้านข้างหรือทางด้านหลังของมหาวิหารหรือโบสถ์ก็อาจจะเรียกว่า "คูหาสวดมนต์" ความหมายเป็นนัยยะของโบสถ์น้อยคือเป็นสิ่งก่อสร้างที่เป็นส่วนบุคคลหรือกลุ่มบุคคลไม่ใช่สถาบันศาสนา เช่น โบสถ์น้อยของปราสาท หรือโบสถ์น้อยส่วนตัวภายในมหาวิหารเป็นต้น.

ใหม่!!: โบสถ์คริสต์และโบสถ์น้อย · ดูเพิ่มเติม »

โรม

ลอสเซียม สัญลักษณ์ที่สำคัญของโรม โรม (Rome; Roma) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของแคว้นลัตซีโยและประเทศอิตาลี ตั้งอยู่ทางตอนกลางของประเทศ ในเขตตัวเมืองมีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 2.5 ล้านคน ถ้ารวมเมืองโดยรอบจะมีประมาณ 4.3 ล้านคน โดยมีจำนวนประชากรใกล้เคียงกับมิลานและเนเปิลส์ นอกจากนี้ โรมยังเป็นที่ตั้งของนครรัฐวาติกัน ซึ่งเป็นดินแดนที่ประทับของพระสันตะปาปาแห่งศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกอีกด้วย หลังสิ้นสุดยุคกลาง โรมได้อยู่ภายใต้การปกครองของพระสันตะปาปา เช่น สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 และสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10 ผู้ซึ่งสร้างสรรค์ให้โรมกลายเป็นหนึ่งในศูนย์กลางของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีเช่นเดียวกับฟลอเรนซ์ ซึ่งในยุคสมัยดังกล่าว ได้มีการก่อสร้างมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์แบบที่เห็นในปัจจุบัน และมีเกลันเจโลได้วาดภาพปูนเปียกประดับภายในโบสถ์น้อยซิสทีน ศิลปินและสถาปนิกที่มีชื่อเสียงอย่างบรามันเต แบร์นินี และราฟาเอล ซึ่งพำนักอยู่ในโรมเป็นครั้งคราว ได้มีส่วนช่วยสรางสรรค์สถาปัตยกรรมแบบสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและแบบบารอกในโรมด้วยเช่นกัน ใน พ.ศ. 2550 โรมเป็นเมืองที่มีผู้มาเยือนมากเป็นอันดับที่ 11 ของโลก มากเป็นอันดับสามในสหภาพยุโรป และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในอิตาลี ศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์ใจกลางเมืองได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก นอกจากนี้ อนุสรณ์สถานและพิพิธภัณฑ์อย่างพิพิธภัณฑ์วาติกันและโคลอสเซียมยังจัดอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวเยี่ยมชมมากที่สุด 50 อันดับแรกของโลก (พิพิธภัณฑ์วาติกันมีนักท่องเที่ยว 4.2 ล้านคนต่อปี และโคลอสเซียมมี 4 ล้านคนต่อปี).

ใหม่!!: โบสถ์คริสต์และโรม · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

ใหม่!!: โบสถ์คริสต์และโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

โปรเตสแตนต์

นิกายโปรเตสแตนต์ (Protestantism) เป็นนิกายหนึ่งในศาสนาคริสต์ ใช้หมายถึงคริสต์ศาสนิกชนใด ๆ ที่ไม่ใช่โรมันคาทอลิกและออร์ทอดอกซ์ โปรเตสแตนต์เป็นขบวนการศาสนาที่มีจุดเริ่มต้นที่ประเทศเยอรมนีช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 เพื่อคัดค้านหลักความเชื่อและการปฏิบัติแบบโรมันคาทอลิก โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวกับความรอด การทำให้ชอบธรรม และคริสตจักรวิทยา โปรเตสแตนต์แบ่งออกเป็นหลายคริสตจักรย่อย ซึ่งยึดหลักความเชื่อแตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปจะยอมรับหลักการเหมือนกันว่ามนุษย์จะเป็นคนชอบธรรมได้ก็โดยอาศัยพระคุณจากพระเจ้าผ่านทางความเชื่อเท่านั้น (เรียกว่าหลักโซลากราเซียและโซลาฟีเด) เชื่อว่าผู้เชื่อทุกคนเป็นปุโรหิต และคัมภีร์ไบเบิลมีอำนาจสูงสุดในการกำหนดหลักความเชื่อและศีลธรรม (เรียกว่าหลักโซลาสกริปตูรา) ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ศิษย์ของมาร์ติน ลูเทอร์ ได้ตั้งคริสตจักรอิแวนเจลิคัลแห่งเยอรมนีและสแกนดิเนเวียขึ้น ส่วนคริสตจักรปฏิรูปในประเทศฮังการี สวิตเซอร์แลนด์ สกอตแลนด์ และฝรั่งเศส ตั้งขึ้นโดยฌ็อง กาลแว็ง และนักปฏิรูปศาสนาคนอื่น ๆ เช่น ฮุลดริช ซวิงลี นอกจากนี้ยังมีจอห์น น็อกซ์ ที่ตั้งคริสตจักรปฏิรูปในฮังการีขึ้น ในประเทศอังกฤษการปฏิรูปศาสนานำโดยคริสตจักรแห่งอังกฤษ และยังมีขบวนการปฏิรูปศาสนาอีกหลายกลุ่มเกิดขึ้นทั่วยุโรปภาคพื้นทวีป เช่น การปฏิรูปแบบรุนแรง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของกลุ่มอนาแบ๊บติสต์ โมราเวียน และขวนการไพเอทิสต์อื่น.

ใหม่!!: โบสถ์คริสต์และโปรเตสแตนต์ · ดูเพิ่มเติม »

ไวน์

วน์แดง (หน้า) และไวน์ขาว (หลัง) บนโต๊ะอาหาร ไวน์ (wine) เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทำจากองุ่นหรือผลไม้อื่นหมัก สมดุลเคมีธรรมชาติขององุ่นทำให้มันหมักโดยไม่ต้องเพิ่มน้ำตาล กรด เอ็นไซม์ น้ำหรือสารอาหารอื่น ยีสต์บริโภคน้ำตาลในองุ่นแล้วเปลี่ยนเป็นเอทานอลและคาร์บอนไดออกไซด์ พันธุ์ขององุ่นและสายพันธุ์ของยีสต์ที่ต่างกันทำให้ได้ไวน์คนละแบบ แบบที่รู้จักกันดีเกิดจากอันตรกิริยาที่ซับซ้อนยิ่งระหว่างการเจริญทางชีวเคมีของผลไม้ ปฏิกิริยาที่เกี่ยวข้องในการหมัก แหล่งที่ปลูก (terrior) และการระบุแหล่ง (appellation) ตลอดจนการแทรกแซงของมนุษย์ในกระบวนการโดยรวม.

ใหม่!!: โบสถ์คริสต์และไวน์ · ดูเพิ่มเติม »

เรลิก

รลิก (relic) คือชิ้นส่วนร่างกายของนักบุญหรือบุคคลที่เป็นที่นับถือ หรือศาสนวัตถุโบราณอื่นๆ ที่มีการเก็บรักษาไว้ให้ศาสนิกชนได้บูชา หรือเป็นเครื่องระลึกถึง ความเชื่อเกี่ยวกับเรลิกมีความสำคัญในหลายศาสนา เช่น ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ ศาสนาฮินดู ลัทธิเชมัน ฯลฯ คำว่า relic มาจาก ภาษาละติน “reliquiae” แปลว่าสิ่งที่หลงเหลืออยู่ และคำว่า “reliquary” หมายถึงที่เก็บรักษาเรลิกซึ่งอาจเป็นหีบหรือตู้ หรือศาสนสถานสถานที่เช่นมหาวิหารหรือวั.

ใหม่!!: โบสถ์คริสต์และเรลิก · ดูเพิ่มเติม »

เอาคส์บวร์ค

ลาว่าการเมืองเอาคส์บวร์ค เอาคส์บวร์ค (Augsburg) เป็นนครที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐบาวาเรียในประเทศเยอรมนี เอาคส์บวร์คเป็นเมืองมหาวิทยาลัยและเป็นที่ตั้งของที่ทำการบริหารของส่วนภูมิภาคชวาเบิน ในปี..

ใหม่!!: โบสถ์คริสต์และเอาคส์บวร์ค · ดูเพิ่มเติม »

เขตแพริช

ตแพริช (Parish) หรือที่ชาวคาทอลิกในประเทศไทยเรียกว่าเขตวัด เป็นเขตปกครองในคริสต์ศาสนา ใช้หลายคริสตจักร เช่น โรมันคาทอลิก แองกลิคัน เป็นต้น นอกจากใช้ในทางศาสนาแล้วในบางประเทศ เช่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ยังใช้เขตแพริชหมายถึงเขตปกครองส่วนท้องถิ่นด้ว.

ใหม่!!: โบสถ์คริสต์และเขตแพริช · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Church (building)วัดคริสต์วัดคริสต์ศาสนาสิ่งก่อสร้างของคริสต์ศาสนาสถาปัตยกรรมทางคริสต์ศาสนาสถาปัตยกรรมคริสต์ศาสนาคริสต์ศาสนสถานโบสถ์ (คริสต์ศาสนา)

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »