โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รายนามสมาชิกคณะราษฎร

ดัชนี รายนามสมาชิกคณะราษฎร

ณะราษฎรพบปะกันที่กรุงปารีส เมื่อ พ.ศ. 2468 (นายปรีดี พนมยงค์-ที่ 4 จากซ้าย, ร้อยโท แปลก ขีตตะสังคะ-ขวาสุด, ร.ท.ประยูร ภมรมนตรี-นั่งติดกับ ร.ท.แปลก และนายควง อภัยวงศ์-ยืน) สมาชิกคณะราษฎรประกอบด้วยราษฎร ข้าราชการ ทหาร และพลเรือน จำนวน 115 คน.

35 ความสัมพันธ์: ช่วง เชวงศักดิ์สงครามพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)พระยาฤทธิอัคเนย์ (สละ เอมะศิริ)พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน)พระประศาสน์พิทยายุทธ (วัน ชูถิ่น)กระจ่าง ตุลารักษ์มังกร พรหมโยธีวิลาศ โอสถานนท์วนิช ปานะนนท์สงวน รุจิราภาหลวงชำนาญยุทธศิลป์ (เชย รมยะนันท์)หลวงกาจสงคราม (กาจ กาจสงคราม)หลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย)หลวงสิริราชไมตรี (จรูญ สิงหเสนี)หลวงสินธุสงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน)หลวงทัศนัยนิยมศึก (ทัศนัย มิตรภักดี)หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต (พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต)หลวงเดชาติวงศ์วราวัฒน์ (หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์)อดุล อดุลเดชจรัสจรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์จรูญ สืบแสงถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ทวี บุณยเกตุทหาร ขำหิรัญทองเปลว ชลภูมิดิเรก ชัยนามควง อภัยวงศ์คณะราษฎรตั้ว ลพานุกรมประยูร ภมรมนตรีปรีดี พนมยงค์แช่ม พรหมยงค์แปลก พิบูลสงครามแนบ พหลโยธินเฉลียว ปทุมรส

ช่วง เชวงศักดิ์สงคราม

ันเอก ช่วง เชวงศักดิ์สงคราม หรือ หลวงเชวงศักดิ์สงคราม (10 มีนาคม พ.ศ. 2442 - 9 มีนาคม พ.ศ. 2505) นามเดิม ช่วง ขวัญเชิด อดีตรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ.

ใหม่!!: รายนามสมาชิกคณะราษฎรและช่วง เชวงศักดิ์สงคราม · ดูเพิ่มเติม »

พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)

ระยาพหลพลพยุหเสนา (แถวหน้าซ้ายมือ) นำคณะรัฐมนตรีของไทยเข้าเยือนประเทศญี่ปุ่น และพบกับ ฮิเดกิ โตโจ (แถวหน้าตรงกลาง) นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เมื่อปี พ.ศ. 2485 ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา เดิมชื่อว่า "พจน์ พหลโยธิน" เป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 2 เกิดวันที่ 29 มีนาคม..

ใหม่!!: รายนามสมาชิกคณะราษฎรและพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) · ดูเพิ่มเติม »

พระยาฤทธิอัคเนย์ (สละ เอมะศิริ)

ันเอก พระยาฤทธิอัคเนย์ สมาชิกคณะราษฎรผู้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อ พ.ศ. 2475 จัดเป็น 1 ใน "4 ทหารเสือ" คือ ทหารบกชั้นผู้ใหญ่ เป็นระดับผู้บังคับบัญชาและคุมกำลังพล ซึ่งประกอบด้วย พระยาพหลพลพยุหเสนา, พระยาทรงสุรเดช, พระยาฤทธิอัคเนย์ และพระประศาสน์พิทยายุทธ พระยาฤทธิอัคเนย์ มีชื่อเดิมว่า สละ เอมะศิริ เกิดเมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2432 เป็นบุตรชายของพระยามนูสารศาสตรบัญชา (ศิริ เอมะศิริ) และคุณหญิง เหลือบ เอมะศิริ พระยาฤทธิอัคเนย์เป็นนายทหารปืนใหญ่ ในช่วงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง มีตำแหน่งเป็น ผู้บังคับการกรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ (ป. 1 รอ.) และถือเป็นผู้เดียวที่มีกองกำลังพลในบังคับบัญชา ในเช้าตรู่ของวันที่ 24 มิถุนายน..

ใหม่!!: รายนามสมาชิกคณะราษฎรและพระยาฤทธิอัคเนย์ (สละ เอมะศิริ) · ดูเพิ่มเติม »

พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน)

4 ทหารเสือ (จากซ้าย) พ.อ.พระยาทรงสุรเดช, พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา, พ.อ.พระยาฤทธิอัคเนย์ และ พ.ท.พระประศาสน์พิทยายุทธ พันเอก พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) (12 สิงหาคม พ.ศ. 2435 - 1 มิถุนายน พ.ศ. 2516) เป็น 1 ใน 4 ทหารเสือที่ร่วมก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เป็นผู้ที่วางแผนการยึดอำนาจทั้งหมด เป็นผู้ได้รับการสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ไม่ได้เป็น และถูกกล่าวหาว่าคิดก่อการกบฏล้มล้างรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ในกบฏพระยาทรงสุรเดช ถูกเนรเทศไปอยู่ในกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชาจนเสียชีวิตเมื่อ..

ใหม่!!: รายนามสมาชิกคณะราษฎรและพระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) · ดูเพิ่มเติม »

พระประศาสน์พิทยายุทธ (วัน ชูถิ่น)

ลตรี พระประศาสน์พิทยายุทธ (วัน ชูถิ่น) เป็นหนึ่งในคณะราษฎร ผู้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 จัดเป็น 1 ใน "4 ทหารเสือ" คือ นายทหารบกชั้นผู้ใหญ่ ระดับเสนาธิการและคุมกำลังพล ซึ่งประกอบด้วย พระยาพหลพลพยุหเสนา, พระยาทรงสุรเดช, พระยาฤทธิอัคเนย์ และพระประศาสน์พิทยายุทธ โดยพระประศาสน์พิทยายุทธ ถือเป็นทหารเสือที่อาวุโสน้อยที่สุด ด้วยวัยวุฒิ, ยศ และบรรดาศักดิ์ พระประศาสน์พิทยายุทธ มีชื่อเดิมว่า วัน ชูถิ่น เกิดเมื่อปี..

ใหม่!!: รายนามสมาชิกคณะราษฎรและพระประศาสน์พิทยายุทธ (วัน ชูถิ่น) · ดูเพิ่มเติม »

กระจ่าง ตุลารักษ์

ร้อยโท กระจ่าง ตุลารักษ์ หรือ นายกระจ่าง ตุลารักษ์ (2456 — 23 มิถุนายน 2552) หนึ่งในสมาชิกคณะราษฎร ผู้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 และอดีตกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ นายกระจ่าง เป็นชาวไทยเชื้อสายจีน เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2456 ที่อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา เข้าร่วมกับคณะราษฎรด้วยวัยเพียง 19 ปี ขณะยังเป็นนักเรียนช่างกลอยู่ จากการชักชวนของพี่ชาย คือ นายสงวน ตุลารักษ์ โดยเข้ามาเป็นสมาชิกคณะราษฎรในสายพลเรือนเพียง 5 วัน ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองเท่านั้น โดยนายสงวนได้มอบหมายให้นายกระจ่างพาเพื่อนร่วมอุดมการณ์ที่มีพฤติกรรมดี ไม่ดื่มเหล้า ไม่ติดการพนัน เข้าร่วมเป็นคณะราษฎรเพิ่มด้วย 2-3 คน ในเช้าวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง นายกระจ่างรับหน้าที่ควบคุมตัวบุคคลสำคัญและเจ้านายชั้นสูงในพระที่นั่งอนันตสมาคม รวมถึงอารักขาหัวหน้าคณะราษฎรด้วย โดยไม่ได้รับรู้มาก่อนเลยว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เพราะเป็นบุคคลระดับเล็ก ๆ ไม่ได้รับรู้ถึงแผนการชั้นสูง ภายหลังเปลี่ยนแปลงการครอง ที่สมาชิกคณะราษฎรหลายคนได้มีตำแหน่งและบทบาททางการเมือง แต่นายกระจ่างก็ได้กลับไปเป็นลูกจ้างตามเดิม โดยไม่มีตำแหน่งใด ๆ ทั้งสิ้น เนื่องจากอายุยังน้อยอยู่ จนกระทั่งเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพาขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2484 นายกระจ่างได้ร่วมกับขบวนการเสรีไทย โดยได้ปฏิบัติหน้าที่เล็ดรอดเข้าไปในประเทศจีนเพื่อให้ความคุ้มครองบุคคลสำคัญต่าง ๆ และปฏิบัติงานอยู่ตามตะเข็บชายแดนไทย-ลาว และลาว-เวียดนาม หลังเสร็จสงครามแล้วได้รับยศเป็น ร้อยโท (ร.ท.) จากนั้น ร.ท.กระจ่างก็ได้กลับไปใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัวที่จังหวัดยะลา โดยได้เปิดกิจการโรงเลื่อยที่อำเภอรามัน และได้สมรสกับนางพวงเพ็ชร (นามเดิม: สวนเพ็ชร โกวิทยา) ซึ่งเป็นภรรยา มีบุตรธิดารวมทั้งสิ้น 4 คน ร.ท.กระจ่าง เคยเป็น ส.ส. จังหวัดขอนแก่น จากการเลือกตั้งเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2489 จากนั้น เมื่อหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช อดีตหัวหน้าเสรีไทยสาย สหรัฐอเมริกา ได้เข้ารับตำแหน่งหัวหน้า พรรคประชาธิปัตย์ ต่อจากนายควง อภัยวงศ์ ที่ถึงแก่อสัญกรรมไปเมื่อปี พ.ศ. 2511 ร.ท.กระจ่างได้สมัครเป็นสมาชิกพรรค และได้ลงเลือกตั้งเป็น ส.ส. ในจังหวัดยะลา แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง หลังจากนั้นชีวิตก็ได้วนเวียนอยู่ในแวดวงการเมืองมาโดยตลอด เช่น เป็นนักการเมืองท้องถิ่น และปลูกฝังทัศนคติทางการเมือง การปกครองแก่บุตรหลานและคนใกล้ชิด เป็นต้นกระทั่ง..

ใหม่!!: รายนามสมาชิกคณะราษฎรและกระจ่าง ตุลารักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

มังกร พรหมโยธี

ลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก มังกร พรหมโยธี หรือ หลวงพรหมโยธี (16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2439 - 24 มีนาคม พ.ศ. 2509) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม และอดีตรัฐมนตรี.

ใหม่!!: รายนามสมาชิกคณะราษฎรและมังกร พรหมโยธี · ดูเพิ่มเติม »

วิลาศ โอสถานนท์

ันตรี วิลาศ โอสถานนท์ หนึ่งในคณะราษฎรสายพลเรือน ผู้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อ พ.ศ. 2475 อดีตประธานพฤฒสภาและประธานรั.

ใหม่!!: รายนามสมาชิกคณะราษฎรและวิลาศ โอสถานนท์ · ดูเพิ่มเติม »

วนิช ปานะนนท์

นายวนิช ปานะนนท์ (แถวที่ 2 ด้านขวา) และคณะรัฐมนตรีจากประเทศไทย ขณะเยือนประเทศญี่ปุ่น และเข้าพบ ฮิเดกิ โตโจ (แถวหน้า คนกลาง) นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เมื่อปี พ.ศ. 2485 ช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา วนิช ปานะนนท์ อดีตนักการเมือง, นักธุรกิจชาวไทย และหนึ่งในคณะราษฎร นายวนิช เป็นบุตรของนายปานและนางแจ่ม ปานะนนท์ โดยที่บิดาเป็นพ่อค้าขายข้าวเปลือก เกิดที่บ้านพานทอง หมู่ที่ 4 ตำบลพานทอง อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2446 เมื่อนายวนิชอายุได้ 7 ขวบ บิดาและมารดาได้ให้เริ่มเรียนหนังสือไทยที่บ้านโดยสอนเองบ้าง ให้พี่ๆสอนบ้าง พออ่านเขียนได้ก็ให้เข้าเรียนชั้นประถมที่โรงเรียนวัดพานทอง การเรียนของนายวนิชเป็นไปโดยเรียบร้อยจนจบหลักสูตรชั้นประถม ต่อมาได้เข้าศึกษาในโรงเรียนมัธยมวัดเขาบางทรายจนถึงชั้นมัธยม 2 เมื่อปี 2460 แล้วมาศึกษาต่อที่โรงเรียนมัธยมวัดปทุมคงคา เมื่อสอบไล่ได้มัธยมศึกษาปีที่ 5 ในปล..

ใหม่!!: รายนามสมาชิกคณะราษฎรและวนิช ปานะนนท์ · ดูเพิ่มเติม »

สงวน รุจิราภา

ลเรือตรี สงวน รุจิราภา อดีตนายทหารเรือชาวไทย ผู้เป็นหนึ่งในคณะราษฎร ผู้กระทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 พล.ร.ต.สงวน เกิดเมื่อปี..

ใหม่!!: รายนามสมาชิกคณะราษฎรและสงวน รุจิราภา · ดูเพิ่มเติม »

หลวงชำนาญยุทธศิลป์ (เชย รมยะนันท์)

ณะราษฎรสายทหารบก ที่สนามหญ้าหน้าวังปารุสกวัน ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 (หลวงชำนาญยุทธศิลป์ คือ คนที่ 9 จากซ้าย แถวหลัง) พลตรี หลวงชำนาญยุทธศิลป์ อดีตนายทหารบกผู้เป็นหนึ่งในคณะราษฎร ผู้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเศรษฐการ และผู้ต้องหาในคดีกบฏพระยาทรงสุรเดช หลวงชำนาญยุทธศิลป์ มีชื่อจริงว่า เชย รมยะนันทน์ เกิดเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม..

ใหม่!!: รายนามสมาชิกคณะราษฎรและหลวงชำนาญยุทธศิลป์ (เชย รมยะนันท์) · ดูเพิ่มเติม »

หลวงกาจสงคราม (กาจ กาจสงคราม)

ลโท พลอากาศโท กาจ กาจสงคราม หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ หลวงกาจสงคราม หนึ่งในสมาชิกคณะราษฎร สมาชิกขบวนการเสรีไทย อดีตแม่ทัพภาคที่ 1 ของกองทัพบกไทย ช่วงปี..

ใหม่!!: รายนามสมาชิกคณะราษฎรและหลวงกาจสงคราม (กาจ กาจสงคราม) · ดูเพิ่มเติม »

หลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย)

นาวาเอก หลวงศุภชลาศัย ร.น. (22 มกราคม พ.ศ. 2438 - 26 ตุลาคม พ.ศ. 2508) มีชื่อจริงว่า บุง ศุภชลาศัย รองผู้บัญชาการทหารเรือ อธิบดีกรมพลศึกษาคนแรก เป็นผู้ดำเนินการจัดสร้าง กรีฑาสถานแห่งชาติ เมื่อ..

ใหม่!!: รายนามสมาชิกคณะราษฎรและหลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย) · ดูเพิ่มเติม »

หลวงสิริราชไมตรี (จรูญ สิงหเสนี)

อำมาตย์ตรี หลวงสิริราชไมตรี อดีตอัครราชทูตไทยประจำกรุงโรม ประเทศอิตาลี และสมาชิกคณะราษฎร.

ใหม่!!: รายนามสมาชิกคณะราษฎรและหลวงสิริราชไมตรี (จรูญ สิงหเสนี) · ดูเพิ่มเติม »

หลวงสินธุสงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน)

ลเรือเอก หลวงสินธุสงครามชัย มีชื่อจริงว่า สินธุ์ กมลนาวิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คนแรก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ คนแรก ภายหลังเปลี่ยนชื่อจากกระทรวงธรรมการเป็นกระทรวงศึกษาธิการ, อดีตผู้บัญชาการทหารเรือ, แม่ทัพเรือ หนึ่งในสมาชิกคณะราษฎร และเป็นหัวหน้าคณะราษฎรสายทหารเรือ.

ใหม่!!: รายนามสมาชิกคณะราษฎรและหลวงสินธุสงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน) · ดูเพิ่มเติม »

หลวงทัศนัยนิยมศึก (ทัศนัย มิตรภักดี)

ณะราษฎรสายทหารบก ที่สนามหญ้าหน้าวังปารุสกวันในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 (หลวงทัศนัยนิยมศึก - ทัศนัย มิตรภักดี คือ คนที่ 2 จากซ้ายแถวกลาง) พันตรี หลวงทัศนัยนิยมศึก มีชื่อตัวว่า ทัศนัย มิตรภักดี (22 กันยายน พ.ศ. 2443–10 พฤษภาคม พ.ศ. 2476) อดีตนายทหารม้าชาวไทย และผู้ร่วมก่อตั้งคณะราษฎรชุดแรก (7 คนแรก) ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และทำการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475.

ใหม่!!: รายนามสมาชิกคณะราษฎรและหลวงทัศนัยนิยมศึก (ทัศนัย มิตรภักดี) · ดูเพิ่มเติม »

หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต (พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต)

ลโท พลเรือโท พลอากาศโท หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต (20 กรกฎาคม พ.ศ. 2439 - 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2507) อดีตแม่ทัพกองทัพภาคอีสานในสงครามไทย-อินโดจีน, อดีตผู้บัญชาการทหารบก, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข, อดีตสมาชิกคณะราษฎร และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 (ส.ส.ประเภทที่ 2) ในปี..

ใหม่!!: รายนามสมาชิกคณะราษฎรและหลวงเกรียงศักดิ์พิชิต (พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต) · ดูเพิ่มเติม »

หลวงเดชาติวงศ์วราวัฒน์ (หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์)

ันตรี หลวงเดชาติวงศ์วราวัฒน์ (หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์) อำมาตย์ตรี นายพันตรี หลวงเดชาติวงศ์วราวัฒน์ อดีตนักการเมือง และรัฐมนตรีหลายกระทรวง หลวงเดชาติวงศ์วราวัฒน์ มีชื่อจริงว่า หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์ เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม..

ใหม่!!: รายนามสมาชิกคณะราษฎรและหลวงเดชาติวงศ์วราวัฒน์ (หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์) · ดูเพิ่มเติม »

อดุล อดุลเดชจรัส

ลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก พลตำรวจเอก อดุล อดุลเดชจรัส หรือ หลวงอดุลเดชจรัส (28 มิถุนายน พ.ศ. 2437 - 17 ธันวาคม พ.ศ. 2512) นามเดิม บัตร พึ่งพระคุณ อดีตองคมนตรี รองนายกรัฐมนตรี อธิบดีกรมตำรวจ ผู้บัญชาการทหารบก มีสมญานามว่า "นายพลตาดุ" เป็นหนึ่งในคณะราษฎร ผู้มีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 โดยขณะนั้นหลวงอดุลเดชจรัส มียศเป็น ร้อยโท (ร.ท.) ประจำกรมทหารปืนใหญ่ นครราชสีมา และได้หนีราชการมาพระนครด้วยรถไฟเพื่อร่วมในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จนถูกหมายจับจากทางต้นสังกัด ซึ่งตัวของหลวงอดุลเดชจรัสก็ได้อาศัยบ้านของพรรคพวกหลบซ่อนสลับกันไป โดยเฉพาะบ้านของหลวงพิบูลสงคราม ซึ่งเป็นเพื่อนสนิท หรือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ในเวลาต่อมา เป็นรองนายกรัฐมนตรีและผู้สั่งราชการแทนนายกรัฐมนตรี จอมพล ป. พิบูลสงคราม ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นรองหัวหน้าขบวนการเสรีไทยในประเทศไทย ในช่วงปลายสงคราม หลังจากมีการผลัดเปลี่ยนรัฐบาล ซึ่งมีส่วนอย่างมากที่ทำให้การดำเนินงานเสรีไทยเป็นไปโดยราบรื่น ทั้งที่เป็นอธิบดีกรมตำรวจภายใต้รัฐบาลที่เป็นพันธมิตรกับกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น และเป็นหนึ่งในอภิรัฐมนตรีทำหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์และองคมนตรี หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองแล้ว หลวงอดุลเดชจรัส ยังได้ร่วมกับนักการเมืองกลุ่มหนึ่ง ก่อตั้งพรรคสหชีพขึ้น โดยมีแนวทางสนับสนุนนายปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง และหัวหน้าขบวนการเสรีไทย โดยหลวงอดุลเดชจรัส เป็นหัวหน้าพรรค และ นายเดือน บุนนาค เป็นเลขาธิการพรร.

ใหม่!!: รายนามสมาชิกคณะราษฎรและอดุล อดุลเดชจรัส · ดูเพิ่มเติม »

จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์

ลเอก จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ (27 ตุลาคม พ.ศ. 2438 - 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2526) อดีตอธิบดีกรมรถไฟ และผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไท.

ใหม่!!: รายนามสมาชิกคณะราษฎรและจรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

จรูญ สืบแสง

รูญ สืบแสง จรูญ สืบแสง อดีตนักการเมืองชาวไทย และหนึ่งในคณะราษฎร ผู้กระทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 นายจรูญ เกิดเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2447 ที่ตำบลอาเนาะรู อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี เป็นบุตรของขุนวรเวชวิชกิจ (ซุ้ย สืบเแสง) และนางอุ่น สืบแสง มีศักดิ์เป็นน้องชายของนายเจริญ สืบแสง อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จังหวัดปัตตานี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2 จากโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดปัตตานี, มัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย และมัธยมศึกษาปีที่ 8 จากโรงเรียนเทพศิรินทร์ เมื่อ พ.ศ. 2466 และสำเร็จการศึกษาได้รับเกษตรศาสตรบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์แห่งลอส บานอส ประเทศฟิลิปปินส์ พ.ศ. 2470 นายจรูญ เริ่มรับราชการเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2471 ในตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการเพาะปลูก กรมเพาะปลูก กระทรวงเกษตราธิการ เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม..

ใหม่!!: รายนามสมาชิกคณะราษฎรและจรูญ สืบแสง · ดูเพิ่มเติม »

ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์

ล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ (ซ้าย) ขณะเดินสนทนากับ พ.ต.ควง อภัยวงศ์ ในงานเปิดสมาคมนักข่าว นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2484 พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เดิมคือ หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ (ถวัลย์ ธารีสวัสดิ์) (21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2444 — 3 ธันวาคม พ.ศ. 2531) นายกรัฐมนตรีคนที่ 8 ของประเทศไทยในช่วง..

ใหม่!!: รายนามสมาชิกคณะราษฎรและถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ · ดูเพิ่มเติม »

ทวี บุณยเกตุ

นายทวี บุณยเกตุ (10 พฤศจิกายน 2447 - 3 พฤศจิกายน 2514) นายกรัฐมนตรีคนที่ 5 (รัฐบาลที่ 12) หนึ่งในคณะราษฎรสายพลเรือน และขบวนการเสรีไทยและเป็นผู้แต่งหนังสือเรื่อง พ่อสอนลูก.

ใหม่!!: รายนามสมาชิกคณะราษฎรและทวี บุณยเกตุ · ดูเพิ่มเติม »

ทหาร ขำหิรัญ

ลเรือตรี ทหาร ขำหิรัญ อดีตนายทหารนาวิกโยธินชาวไทย อดีตนักการเมือง และหนึ่งในคณะราษฎรสายทหารเรือ ผู้กระทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 พล.ร.ต.ทหาร เดิมมีชื่อว่า ทองหล่อ ขำหิรัญ เป็นนายทหารเรือพรรคนาวิกโยธิน ในเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อเช้าตรู่วันที่ 24 มิถุนายน..

ใหม่!!: รายนามสมาชิกคณะราษฎรและทหาร ขำหิรัญ · ดูเพิ่มเติม »

ทองเปลว ชลภูมิ

ร.ทองเปลว ชลภูมิ ดร.ทองเปลว ชลภูมิ (6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455 - 4 มีนาคม พ.ศ. 2492) เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปราจีนบุรี และอดีตรัฐมนตรี เป็นนักการเมือง หนึ่งใน "สี่รัฐมนตรี" ที่ถูกสังหารเมื่อ..

ใหม่!!: รายนามสมาชิกคณะราษฎรและทองเปลว ชลภูมิ · ดูเพิ่มเติม »

ดิเรก ชัยนาม

นายดิเรก ชัยนาม ศาสตราจารย์ ดิเรก ชัยนาม (18 มกราคม พ.ศ. 2447 - 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2510) อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงโตเกียว กรุงลอนดอน และกรุงบอนน์ รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมและคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เคยได้รับการเสนอชื่อจากนายปรีดี พนมยงค์ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่ได้ปฏิเสธที่จะรับตำแหน่ง และเคยได้รับการเสนอชื่อจากรัฐบาลไทย ต่อองค์การยูเนสโกให้ประกาศเกียรติคุณเป็นบุคคลสำคัญแห่งโลก แต่ไม่ได้รับพิจารณาเนื่องจากข้อเสนอของรัฐบาลไทยไม่เข้าข่ายที่จะได้รับการพิจารณ.

ใหม่!!: รายนามสมาชิกคณะราษฎรและดิเรก ชัยนาม · ดูเพิ่มเติม »

ควง อภัยวงศ์

รองอำมาตย์เอก หลวงโกวิทอภัยวงศ์ หรือ พันตรี ควง อภัยวงศ์ (17 พฤษภาคม 2445 – 15 มีนาคม 2511) อดีตนายกรัฐมนตรีไทย 4 สมัย ผู้ก่อตั้งและหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนแรก ควง อภัยวงศ์เป็นสมาชิกคณะราษฎรสายพลเรือนซึ่งร่วมการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 เคยมีบรรดาศักดิ์เป็น รองอำมาตย์เอก หลวงโกวิทอภัยวง.ต.ควง ถือเป็นผู้บุกเบิกก่อตั้งกระทรวงคมนาคมยุคใหม่ เนื่องจากดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการคนแรก ด้วยประสบการณ์ที่เคยรับราชการจนมีตำแหน่ง เป็นถึงอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข นอกจากนี้ยังเคย ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์, กระทรวงการคลัง, กระทรวงเกษตราธิการ และกระทรวงมหาดไทยด้ว.

ใหม่!!: รายนามสมาชิกคณะราษฎรและควง อภัยวงศ์ · ดูเพิ่มเติม »

คณะราษฎร

ณะราษฎร (อ่านว่า "คะ-นะ-ราด-สะ-ดอน"; มักสะกดผิดเป็น คณะราษฎร์) คือ กลุ่มบุคคลที่ดำเนินการการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ยึดอำนาจจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของประเทศสยาม จากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ อาจได้ชื่อว่าเป็นพรรคการเมืองพรรคแรกของไท.

ใหม่!!: รายนามสมาชิกคณะราษฎรและคณะราษฎร · ดูเพิ่มเติม »

ตั้ว ลพานุกรม

รองอำมาตย์เอก ตั้ว ลพานุกรม (21 ตุลาคม พ.ศ. 2441- 27 สิงหาคม พ.ศ. 2484)น้าชาด สำนักพิมพ์ข่าวสด ฉบับวันที่ 5 ตุลาคม..

ใหม่!!: รายนามสมาชิกคณะราษฎรและตั้ว ลพานุกรม · ดูเพิ่มเติม »

ประยูร ภมรมนตรี

รองอำมาตย์เอก นายพลโท ประยูร ภมรมนตรี ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ เป็นหนึ่งในคณะผู้ก่อการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ฝ่ายพลเรือน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นเหลนของพระยาราชมนตรี (ภู่ ภมรมนตรี) เสนาบดีพระคลังในรัชกาลที่๓ เป็นบุตรของ พันตรี พระชำนาญคุรุวิทย์ (แย้ม ภมรมนตรี) ทูตทหารประจำจักรวรรดิเยอรมัน กับมารดาที่เป็นชาวเยอรมัน ซึ่งเป็นครูสอนภาษาเยอรมันให้กับนักเรียนในจักรวรรดิเยอรมันขณะนั้น2475: สองฝั่งประชาธิปไตย, สารคดี: ทีวีไทย พฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 ชื่อ แพทย์หญิงแอนเนลี ไฟร์ พลโท ประยูร ภมรมนตรี เป็นผู้เสนอจัดตั้งโรงแรมขนาดใหญ่ เพื่อรองรับความเจริญของกรุงเทพมหานคร หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อปี..

ใหม่!!: รายนามสมาชิกคณะราษฎรและประยูร ภมรมนตรี · ดูเพิ่มเติม »

ปรีดี พนมยงค์

ตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ หรือ อำมาตย์ตรี หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (11 พฤษภาคม พ.ศ. 2443 – 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2526) เป็นรัฐบุรุษอาวุโส ผู้นำคณะราษฎรสายพลเรือน ผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองของสยามจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน..

ใหม่!!: รายนามสมาชิกคณะราษฎรและปรีดี พนมยงค์ · ดูเพิ่มเติม »

แช่ม พรหมยงค์

นายแช่ม พรหมยงค์ มีชื่อและนามสกุลเดิมว่า ซำซุดดิน มุสตาฟา เกิดเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2444 ที่ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ บิดาชื่อ นายจำปา หรือ มุสตาฟา เป็นโต๊ะอิหม่าม แห่งมัสยิดพระประแดงและเป็นอาจารย์สอนศาสนาอิสลาม นายแช่มเองนั้นจบการศึกษาด้านศาสนาอิสลามจากมหาวิทยาลัยอัลอัซฮัร ณ กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ ในทางการเมือง นายบรรจง ศรีจรูญ เพื่อนสนิทซึ่งศึกษาอยู่ในเวลาเดียวกันได้ชักชวน นายแช่ม ให้เข้าเป็นสมาชิกคณะราษฎร ในวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง นายแช่มและนายบรรจง ทำหน้าที่ควบคุมตัวเจ้านายและพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูง ให้เข้าประทับในพระที่นั่งอนันตสมาคม และทำหน้าที่แจกใบปลิวเพื่อทำความเข้าใจในระบอบประชาธิปไตยแก่ราษฎร นายแช่ม พรหมยงค์ มีความสนิทสนมและนับถือ นายปรีดี พนมยงค์ หัวหน้าคณะราษฎรฝ่ายมันสมองเป็นอย่างมาก ถึงกับเปลี่ยนนามสกุลเป็น พรหมยงค์ เพื่อให้คล้ายคลึงกับ พนมยงค์ นามสกุลของนายปรีดี อีกด้วย ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เข้าเป็นสมาชิกขบวนการเสรีไทย นายแช่ม พรหมยงค์ ขณะนำเสด็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ชมมัสยิดต้นสน (พ.ศ. 2489) เมื่อนายปรีดี พนมยงค์ได้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และมีดำริที่จะฟื้นฟูตำแหน่งจุฬาราชมนตรีขึ้นมาใหม่ หลังจากที่ชะงักไปหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง นายแช่มซึ่งเป็นข้าราชการกรมโฆษณาการและมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาชายแดนภาคใต้ในขณะนั้น จึงได้รับการแต่งตั้งเป็นจุฬาราชมนตรีเมื่อ..

ใหม่!!: รายนามสมาชิกคณะราษฎรและแช่ม พรหมยงค์ · ดูเพิ่มเติม »

แปลก พิบูลสงคราม

งครามอินโดจีน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งผนวชทรงรับบาตรจากจอมพล ป. นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น จอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ แปลก พิบูลสงคราม (14 กรกฎาคม พ.ศ. 2440 – 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "จอมพล ป.พิบูลสงคราม" เป็นนายกรัฐมนตรีไทยที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุด คือ 14 ปี 11 เดือน 18 วัน รวม 8 สมัย และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มีนโยบายที่สำคัญคือ การมุ่งมั่นพัฒนาประเทศไทย ให้มีความเจริญรุ่งเรืองทัดเทียมนานาอารยประเทศ มีการปลุกระดมให้คนไทยรู้สึกรักชาติ โดยออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย "รัฐนิยม" หลายอย่าง ซึ่งบางอย่างได้ประกาศเป็นกฎหมายในภายหลัง หลายอย่างกลายเป็นวัฒนธรรมของชาติ เช่น การรำวง, ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย เป็นผู้เปลี่ยนชื่อ "ประเทศสยาม" เป็น "ประเทศไทย" และเป็นผู้เปลี่ยน "เพลงชาติไทย" มาเป็นเพลงที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน คำขวัญที่รู้จักกันดีของนายกรัฐมนตรีผู้นี้คือ "เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย" หรือ "ท่านผู้นำไปไหนฉันไปด้วย" และ "ไทยอยู่คู่ฟ้า" ในสายตานักวิชาการประวัติศาสตร์การเมืองไทยส่วนหนึ่งเห็นว่า จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นเผด็จการทางทหารที่มีบทบาททางการเมืองสูง และให้ความสนใจกับความคิดที่ส่อไปในทางเชื้อชาตินิยม จอมพล ป. พิบูลสงคราม ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507 ในเวลาประมาณ 20.30 น. ณ บ้านพักส่วนตัว ชานกรุงโตเกียว สิริอายุได้ 67 ปี.

ใหม่!!: รายนามสมาชิกคณะราษฎรและแปลก พิบูลสงคราม · ดูเพิ่มเติม »

แนบ พหลโยธิน

แนบ พหลโยธิน แนบ พหลโยธิน อดีตนักการเมืองและหนึ่งในสมาชิกคณะราษฎร ผู้กระทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 แนบ พหลโยธิน เป็นบุตรของ พลโท พระยาพหลโยธินรามินทรภักดี (นพ พหลโยธิน) บิดาเป็นพี่ชายของพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) จบการศึกษาจากโรงเรียนราชวิทยาลัย (โรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในปัจจุบัน) จบการศึกษาเนติบัณฑิต ประเทศอังกฤษ ระหว่างการศึกษาอยู่ยังประเทศอังกฤษนั้น ได้ร่วมกับนักเรียนไทยที่ประเทศอังกฤษ และประเทศฝรั่งเศสส่วนหนึ่ง ก่อตั้งคณะราษฎรขึ้นมา โดยที่แนบ ถือเป็นสมาชิกรุ่นแรก ที่มีด้วยกันทั้งหมด 7 คน ซึ่งนอกจากนายแนบแล้ว ยังประกอบด้วย ปรีดี พนมยงค์, ร้อยโท แปลก ขีตตะสังคะ, จรูญ สิงหเสนี, ประยูร ภมรมนตรี, ร้อยโท ทัศนัย มิตรภักดี และตั้ว ลพานุกรม ในการประชุมครั้งแรกที่บ้านพักเลขที่ 9 ถนนซอมเมอราร์ด กรุงปารีส เมื่อวันที่ 5 กุมภาพัน..

ใหม่!!: รายนามสมาชิกคณะราษฎรและแนบ พหลโยธิน · ดูเพิ่มเติม »

เฉลียว ปทุมรส

กรณีรัชกาลที่ 8 สวรรคต เฉลียว ปทุมรส (25 มีนาคม พ.ศ. 2445 — 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498) เป็นอดีตสมาชิกคณะราษฎรสายพลเรือน อดีตราชเลขาธิการในสมัยรัชกาลที่ 8 อดีตสมาชิกพฤฒสภาสังกัดพรรคแนวรัฐธรรมนูญ ตกเป็นผู้ต้องหาในเหตุการณ์รัชกาลที่ 8 สวรรคต โดยถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวพันในการวางแผนลอบปลงพระชนม์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ในที่สุดศาลฎีกาได้พิพากษาให้ได้รับโทษประหารชีวิต จึงถูกนำตัวไปประหารชีวิตที่เรือนจำบางขวางในเช้ามืดวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 พร้อมด้วยจำเลยอีก 2 คนในคดีนี้ คือ ชิต สิงหเสนี และบุศย์ ปัทมศริน เฉลียว ปทุมรส มีบุตรสี่คน คือ สมวงศ์ ปทุมรส, เครือพันธ์ (ปทุมรส) บำรุงพงศ์, ฉายศรี (ปทุมรส) โสภณศิริ และ เพิ่มศักดิ์ ปทุมรส ตามลำดั.

ใหม่!!: รายนามสมาชิกคณะราษฎรและเฉลียว ปทุมรส · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

รายชื่อสมาชิกคณะราษฎรสมาชิกคณะราษฎร

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »