โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เฉลียว ปทุมรส

ดัชนี เฉลียว ปทุมรส

กรณีรัชกาลที่ 8 สวรรคต เฉลียว ปทุมรส (25 มีนาคม พ.ศ. 2445 — 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498) เป็นอดีตสมาชิกคณะราษฎรสายพลเรือน อดีตราชเลขาธิการในสมัยรัชกาลที่ 8 อดีตสมาชิกพฤฒสภาสังกัดพรรคแนวรัฐธรรมนูญ ตกเป็นผู้ต้องหาในเหตุการณ์รัชกาลที่ 8 สวรรคต โดยถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวพันในการวางแผนลอบปลงพระชนม์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ในที่สุดศาลฎีกาได้พิพากษาให้ได้รับโทษประหารชีวิต จึงถูกนำตัวไปประหารชีวิตที่เรือนจำบางขวางในเช้ามืดวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 พร้อมด้วยจำเลยอีก 2 คนในคดีนี้ คือ ชิต สิงหเสนี และบุศย์ ปัทมศริน เฉลียว ปทุมรส มีบุตรสี่คน คือ สมวงศ์ ปทุมรส, เครือพันธ์ (ปทุมรส) บำรุงพงศ์, ฉายศรี (ปทุมรส) โสภณศิริ และ เพิ่มศักดิ์ ปทุมรส ตามลำดั.

18 ความสัมพันธ์: ชิต สิงหเสนีบุศย์ ปัทมศรินพ.ศ. 2445พ.ศ. 2481พ.ศ. 2498พรรคแนวรัฐธรรมนูญพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรกรุงเทพธุรกิจการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลรายนามสมาชิกคณะราษฎรวุฒิสภาไทยศาลฎีกาคณะราษฎรโทษประหารชีวิตเรือนจำกลางบางขวางเหรียญรัตนาภรณ์17 กุมภาพันธ์25 มีนาคม

ชิต สิงหเสนี

ต สิงหเสนี เกิดเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม..

ใหม่!!: เฉลียว ปทุมรสและชิต สิงหเสนี · ดูเพิ่มเติม »

บุศย์ ปัทมศริน

มจำเลยผู้ถูกประหารชีวิตในกรณีสวรรคต รัชกาลที่ 8 พ.ศ. 2489 (จากซ้าย) นายชิต สิงหเสนี '''นายบุศย์ ปัทมศริน''' และนายเฉลียว ปทุมรส บุศย์ ปัทมศริน เป็นอดีตมหาดเล็กห้องบรรทมในรัชกาลที่ 8 ผู้ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องในการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เมื่อ พ.ศ. 2489 ต่อมาได้ตกเป็นผู้ต้องหาในคดีดังกล่าวและได้รับการตัดสินโทษประหารชีวิตในปี พ.ศ. 2498 นายบุศย์ ปัทมศริน เป็นบุตรของขุนวิสูตรเสนีย์กับนางปุก ปัทมศริน เกิดเมื่อ พ.ศ. 2443 จบการศึกษาระดับมัธยมศีกษาปีที่ 5 จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เข้ารับราชการครั้งแรกในกรมปลัดบัญชี ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เสด็จนิวัติพระนครใน พ.ศ. 2488 จึงได้เลื่อนเป็นมหาดเล็กตั้งเครื่อง และมหาดเล็กห้องบรรทมตามลำดับ เมื่อเกิดเหตุการณ์การสวรรคตของรัชกาลที่ 8 นายบุศย์ได้ขึ้นให้การต่อคณะกรรมการสอบสวนพฤตติการณ์ในการที่พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลเสด็จสวรรคต หรือ "ศาลกลางเมือง" ในฐานะพยานสำคัญ เนื่องจากนายบุศย์เป็น 1 ใน 2 คนที่อยู่ใกล้ชิดกับห้องพระบรรทมของรัชกาลที่ 8 มากที่สุด แต่ภายหลังเหตุการณ์รัฐประหาร พ.ศ. 2490 นายบุศย์พร้อมด้วยบุคคลอื่นอีก 4 คน ได้ถูกจับกุมด้วยข้อหามีส่วนร่วมในการวางแผนลอบปลงพระชนม์รัชกาลที่ 8 ซึ่งต่อมาอัยการได้สั่งฟ้องนายบุศย์พร้อมกับผู้ต้องหาอีก 2 คน คือ นายเฉลียว ปทุมรส และนายชิต สิงหเสนี ในการพิจารณาคดีชั้นศาล ศาลอาญาได้พิพากษาให้ปล่อยตัวนายบุศย์ แต่ในชั้นศาลอุทธรณ์ได้กลับคำพิพากษาให้ประหารชีวิตนายบุศย์พร้อมกับนายชิต ที่สุดแล้วเมื่อมีการพิจารณาในชั้นศาลฎีกา ได้มีการพิพากษาให้ประหารชีวิตจำเลยในคดีนี้ทั้ง 3 คนเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2497ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ศาลยุติธรรม.

ใหม่!!: เฉลียว ปทุมรสและบุศย์ ปัทมศริน · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2445

ทธศักราช 2445 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1902 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เฉลียว ปทุมรสและพ.ศ. 2445 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2481

ทธศักราช 2481 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1938.

ใหม่!!: เฉลียว ปทุมรสและพ.ศ. 2481 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2498

ทธศักราช 2498 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1955 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เฉลียว ปทุมรสและพ.ศ. 2498 · ดูเพิ่มเติม »

พรรคแนวรัฐธรรมนูญ

รรคแนวรัฐธรรมนูญ เป็นพรรคการเมืองในประเทศไทย เกิดขึ้นหลังการสลายตัวของขบวนการเสรีไทยหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยสมาชิกส่วนใหญ่เป็นบุคคลที่ในขบวนการเสรีไทยและบุคคลในคณะราษฎร พ.ศ. 2475 ที่สนับสนุน นายปรีดี พนมยงค์ อาทิ พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์, นายสงวน จูฑะเตมีย์, นายทองเปลว ชลภูมิ, นายดิเรก ชัยนาม, หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์, พันเอก ช่วง เชวงศักดิ์สงคราม เป็นต้น โดยมี พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นหัวหน้าพรรค และ นายทองเปลว ชลภูมิ เป็นเลขาธิการพรรค พรรคแนวรัฐธรรมนูญเคยชนะการเลือกตั้ง ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป สิงหาคม พ.ศ. 2489 ได้เป็นพรรคจัดตั้งรัฐบาล โดยมี พล.ร.ต.ถวัลย์ หัวหน้าพรรคเป็นนายกรัฐมนตรี พรรคแนวรัฐธรรมนูญถูกยุบพรรคหลังการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2494 ตามคำสั่งของคณะรัฐประหารที่ให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ. 2492 ที่ใช้อยู่ขณะนั้น และนำรัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ. 2475 กลับมาใช้อีกครั้ง.

ใหม่!!: เฉลียว ปทุมรสและพรรคแนวรัฐธรรมนูญ · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร

ระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร (20 กันยายน พ.ศ. 2468 – 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489) เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ (ภายหลังดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก) และหม่อมสังวาลย์ (ภายหลังดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) มีพระเชษฐภคินีและพระอนุชาร่วมพระชนกชนนีอีก 2 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช (ภายหลังทรงขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช) พระองค์เสด็จขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี เมื่อวันที่ 2 มีนาคม..

ใหม่!!: เฉลียว ปทุมรสและพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพธุรกิจ

กรุงเทพธุรกิจ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2530 ในเครือเนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป เป็นหนังสือพิมพ์ธุรกิจรายวันฉบับแรกของไทย ที่นำเสนอข้อมูล ข่าวสาร การวิเคราะห์ ทั้งด้านธุรกิจ การเงิน การค้า การลงทุน ประกอบด้วยเนื้อหาด้านการบริหารจัดการ ความรู้ วิทยาการและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ตลอดจนแนวทางการจัดการธุรกิจในโลกยุคใหม.

ใหม่!!: เฉลียว ปทุมรสและกรุงเทพธุรกิจ · ดูเพิ่มเติม »

การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล

ระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร สวรรคตเพราะต้องพระแสงปืนเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะเทือนต่อการเมืองไทยอย่างรุนแรง และนำไปสู่การเถลิงถวัลยราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และการลดบทบาททางการเมืองของปรีดี พนมยงค์ ภายหลังรัฐประหาร พ.ศ. 2490 โดยกลุ่มจอมพล ป. พิบูลสงคราม ทุกวันนี้กรณีดังกล่าวยังคงมีการถกเถียงกันอยู่และได้รับความสนใจในหมู่ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยใหม่ แต่ไม่เป็นประเด็นสาธารณะเพราะกรณีดังกล่าวพาดพิงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยโดยตรง.

ใหม่!!: เฉลียว ปทุมรสและการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล · ดูเพิ่มเติม »

รายนามสมาชิกคณะราษฎร

ณะราษฎรพบปะกันที่กรุงปารีส เมื่อ พ.ศ. 2468 (นายปรีดี พนมยงค์-ที่ 4 จากซ้าย, ร้อยโท แปลก ขีตตะสังคะ-ขวาสุด, ร.ท.ประยูร ภมรมนตรี-นั่งติดกับ ร.ท.แปลก และนายควง อภัยวงศ์-ยืน) สมาชิกคณะราษฎรประกอบด้วยราษฎร ข้าราชการ ทหาร และพลเรือน จำนวน 115 คน.

ใหม่!!: เฉลียว ปทุมรสและรายนามสมาชิกคณะราษฎร · ดูเพิ่มเติม »

วุฒิสภาไทย

วุฒิสภาไทย หรือเดิมมีชื่อว่า "พฤฒสภา" เป็นวุฒิสภาของประเทศไทย โดยเป็นสภาสูงในรัฐสภาไทยคู่กับสภาผู้แทนราษฎรไทยซึ่งเป็นสภาล่าง วุฒิสภาไทยเริ่มก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2489 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 แบ่งรูปแบบสำคัญออกเป็น 2 ยุค คือ ยุคสมาชิกวุฒิสภาจากการแต่งตั้ง และยุคสมาชิกวุฒิสภาจากการเลือกตั้งและการสรรหา ปัจจุบันสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่แทนวุฒิสภา โดยมี นายนัฑ ผาสุข เป็นเลขาธิการว.

ใหม่!!: เฉลียว ปทุมรสและวุฒิสภาไทย · ดูเพิ่มเติม »

ศาลฎีกา

ัญลักษณ์ของศาลฎีกา ศาลฎีกา เป็นศาลยุติธรรมชั้นสูงสุด มีเขตอำนาจทั่วทั้งราชอาณาจักร มีอำนาจพิจารณาพิพากษาบรรดาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค ภายใต้เงื่อนไขของกฎหมายว่าด้วยการฎีกา และมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นโดยตรงต่อศาลฎีกาไม่ต้องผ่านศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคตามกฎหมายเฉพาะ เช่น คดีแรงงาน คดีภาษีอากร คดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ คดีล้มละลายเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการ เป็นต้น และคดีที่กฎหมายอื่นบัญญัติให้ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาพิพากษา รวมทั้งมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดหรือสั่งคำร้องคำขอที่ยื่นต่อศาลฎีกาตามกฎหมาย (พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 23) คำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลฎีกาเป็นที่สุด (พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 23).

ใหม่!!: เฉลียว ปทุมรสและศาลฎีกา · ดูเพิ่มเติม »

คณะราษฎร

ณะราษฎร (อ่านว่า "คะ-นะ-ราด-สะ-ดอน"; มักสะกดผิดเป็น คณะราษฎร์) คือ กลุ่มบุคคลที่ดำเนินการการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ยึดอำนาจจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของประเทศสยาม จากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ อาจได้ชื่อว่าเป็นพรรคการเมืองพรรคแรกของไท.

ใหม่!!: เฉลียว ปทุมรสและคณะราษฎร · ดูเพิ่มเติม »

โทษประหารชีวิต

ประเทศที่เลิกใช้โทษประหารชีวิต: 103 ประเทศ โทษประหารชีวิต หรือ อุกฤษฏ์โทษ (capital punishment, death penalty) เป็นกระบวนการทางกฎหมายซึ่งรัฐลงโทษอาชญากรรมของบุคคลด้วยการทำให้ตาย คำสั่งของศาลที่ให้ลงโทษบุคคลในลักษณะนี้ เรียก การลงโทษประหารชีวิต ขณะที่การบังคับใช้โทษนี้ เรียก การประหารชีวิต อาชญากรรมที่มีโทษประหารชีวิต เรียก "ความผิดอาญาขั้นอุกฤษฏ์โทษ" คำว่า capital มาจากคำภาษาละตินว่า capitalis ความหมายตามตัวอักษร คือ "เกี่ยวกับหัว" (หมายถึงการประหารชีวิตโดยการตัดหัว) สังคมอดีตส่วนมากนั้นมีโทษประหารชีวิตโดยเป็นการลงโทษอาชญากร และผู้ไม่เห็นด้วยทางการเมืองหรือศาสนา ในประวัติศาสตร์ การลงโทษประหารชีวิตมักสัมพันธ์กับการทรมาน และมักประหารชีวิตในที่สาธารณะ ปัจจุบันมีประเทศที่ยังคงโทษประหารชีวิต 58 ประเทศ ประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตสำหรับอาชญากรรมทุกรูปแบบโดยนิตินัย 98 ประเทศ ประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตเฉพาะอาชญากรรมปรกติ 7 ประเทศ (โดยคงไว้สำหรับพฤติการณ์พิเศษ เช่น อาชญากรรมสงคราม) และประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตโดยพฤตินัย (คือ ไม่ได้ใช้โทษประหารชีวิตอย่างน้อยสิบปี และอยู่ระหว่างงดใช้โทษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง) องค์การนิรโทษกรรมสากลมองว่าประเทศส่วนใหญ่เป็นผู้ยกเลิก (abolitionist) โดยองค์การฯ พิจารณาว่า 140 ประเทศเป็นผู้ยกเลิกในทางกฎหมายหรือทางปฏิบัติ การประหารชีวิตเกือบ 90% ทั่วโลกเกิดในทวีปเอเชีย แทบทุกประเทศในโลกห้ามการประหารชีวิตบุคคลอายุต่ำกว่า 18 ปีขณะก่อเหตุ นับแต่ปี 2552 มีเพียงประเทศอิหร่าน ซาอุดิอาระเบียและซูดานที่ยังประหารชีวิตลักษณะนี้ กฎหมายระหว่างประเทศห้ามการประหารชีวิตประเภทนี้ โทษประหารชีวิตกำลังเป็นประเด็นการถกเถียงอยู่ในหลายประเทศ และจุดยืนอาจมีได้หลากหลายในอุดมการณ์ทางการเมืองหรือภูมิภาคทางวัฒนธรรมหนึ่ง ๆ ในรัฐสมาชิกสหภาพยุโรป ข้อ 2 แห่งกฎบัตรสิทธิมูลฐานแห่งสหภาพยุโรปห้ามการใช้โทษประหารชีวิต สภายุโรปซึ่งมีรัฐสมาชิก 47 ประเทศ ยังห้ามสมาชิกใช้โทษประหารชีวิต สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติลงมติรับข้อมติไม่ผูกพันในปี 2550, 2551 และ 2553 เรียกร้องให้มีการผ่อนเวลาการประหารชีวิตทั่วโลก ซึ่งมุ่งให้ยกเลิกในที่สุด แม้หลายชาติยกเลิกโทษประหารชีวิตแล้ว แต่ประชากรโลกกว่า 60% อาศัยอยู่ในประเทศซึ่งเกิดการประหารชีวิต เช่น สี่ประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก คือ จีน อินเดีย สหรัฐอเมริกาและอินโดนีเซีย ซึ่งยังใช้บังคับโทษประหารชีวิต ทั้งสี่ประเทศออกเสียงคัดค้านข้อมติสมัชชาใหญ่ดังกล่าว.

ใหม่!!: เฉลียว ปทุมรสและโทษประหารชีวิต · ดูเพิ่มเติม »

เรือนจำกลางบางขวาง

รือนจำกลางบางขวาง หรือ เรือนจำมหันตโทษ เป็นเรือนจำที่ใช้คุมขังนักโทษคดีอุกฉกรรจ์ อยู่ในความดูแลของกรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม ที่มีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป จนถึงโทษประหารชีวิต ตั้งอยู่เลขที่ 117 หมู่ 3 ถนนนนทบุรี 1 ตำบลสวนใหญ่ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี อยู่ติดกับวัดบางแพรกใต้.

ใหม่!!: เฉลียว ปทุมรสและเรือนจำกลางบางขวาง · ดูเพิ่มเติม »

เหรียญรัตนาภรณ์

หรียญรัตนาภรณ์ เป็นเหรียญราชอิสริยาภรณ์อันเป็นบำเน็จในพระองค์พระมหากษัตริย์ สถาปนาขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2412 โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สำหรับพระราชทานผู้ที่ทำความดีความชอบทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ทั้งส่วนราชการและส่วนพระองค์ เดิมชื่อ เหรียญรจนาภรณ์ และเปลี่ยนชื่อเป็นเหรียญรัตนาภรณ์ ในปี พ.ศ. 2416 เหรียญรัตนาภรณ์ มีลำดับชั้นทั้งหมด 5ชั้น มีหลักเกณฑ์ในการรับพระราชทานดังนี้ ชั้นที่ 1และ 2 มักจะพระราชทานให้ พระราชวงศ์, ขุนนางข้าราชการชั้นสูงที่ถวายงานใกล้ชิดและทรงสนิทสนมเป็นพิเศษ, นายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรี, ประธานองคมนตรี, องคมนตรี ฯลฯ ชั้นที่ 3 และ 4 พระราชทานให้ ขุนนางช้าราชการชั้นสูงที่ถวายงานใกล้ชิด, ข้าราชบริพารที่ทรงสนิทสนม, พระอนุวงศ์และราชนิกุล ฯลฯ ชั้นที่ 5 พระราชทานให้ ผู้ที่ทำความดีความชอบทั้งส่วนราชการหรือส่วนพระองค์, ผู้ที่สร้างชื่อเสียงคุณงามความดีให้กับประเทศ ฯลฯ แต่ทั้งนี้การพระราชทานขึ้นอยู่กับพระราชอัธยาศัยส่วนพระองค์ บุคคลที่มียศตำแหน่งตามที่ระบุอาจได้รับพระราชทานชั้นที่สูงหรือต่ำกว่านี้ ก็สุดแท้แต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ.

ใหม่!!: เฉลียว ปทุมรสและเหรียญรัตนาภรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

17 กุมภาพันธ์

วันที่ 17 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 48 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 317 วันในปีนั้น (318 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: เฉลียว ปทุมรสและ17 กุมภาพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

25 มีนาคม

วันที่ 25 มีนาคม เป็นวันที่ 84 ของปี (วันที่ 85 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 281 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: เฉลียว ปทุมรสและ25 มีนาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

นายเฉลียว ปทุมรส

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »