โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาษาอราเมอิกใหม่ตะวันตก

ดัชนี ภาษาอราเมอิกใหม่ตะวันตก

ษาอราเมอิกใหม่ตะวันตก เป็นภาษาอราเมอิกใหม่ที่ใช้พูดในซีเรียตะวันตก เป็นสำเนียงของภาษาอราเมอิกตะวันตกสำเนียงเดียวที่เหลืออยู่ ส่วนภาษาอราเมอิกใหม่ที่เหลืออื่นๆอยู่ในกลุ่มตะวันออก คาดว่าภาษานี้อาจเป็นส่วนที่เหลืออยู่ของสำเนียงยุคกลางตะวันตกที่เคยใช้พูดในหุบเขาดอโรนเตสในพุทธศตวรรษที่ 15 ปัจจุบันใช้พูดในหมู่บ้านมาอัลโออูลา (ภาษาอาหรับ: معلولة‎) บาคอา (ภาษาอาหรับ: بخعة‎) และ จุบบาดิน (ภาษาอาหรับ: جبّعدين‎) ที่อยู่ทางเหนือของดามัสกัสไป 60 กม.

10 ความสัมพันธ์: กลุ่มภาษาเซมิติกกลุ่มภาษาเซมิติกกลางภาษาอราเมอิกใหม่ภาษาอาหรับภาษาแอราเมอิกศาสนาอิสลามศาสนาคริสต์ดามัสกัสประเทศซีเรียประเทศเลบานอน

กลุ่มภาษาเซมิติก

หมายของอมาร์นา เขียนด้วย ภาษาอัคคาเดีย กลุ่มภาษาเซมิติก (Semitic languages) เป็นกลุ่มของภาษาที่มีผู้พูดมากกว่า 300 ล้านคนในปริเวณแอฟริกาเหนือ ตะวันออกกลางและจะงอยของแอฟริกา เป็นสาขาย่อยในตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก และเป็นสาขาเดียวของตระกูลนี้ที่มีผู้พูดในทวีปเอเชีย กลุ่มภาษาเซมิติกที่มีผู้พูดมากที่สุดคือภาษาอาหรับ (ภาษาแม่ 325 ล้านคน) รองลงมาคือภาษาอัมฮารา (27 ล้านคน) ภาษาตึกรึญญา (6.9 ล้านคน) และภาษาฮีบรู (5 ล้านคน) กลุ่มภาษาเซมิติกเป็นกลุ่มภาษาแรกๆ ที่มีระบบการเขียน ภาษาอัคคาเดียเริ่มเขียนตั้งแต่ราว 2,000 ปีก่อนพุทธศักราช นอกจากนั้นยังมีอักษรโบราณที่ใช้เขียนกลุ่มภาษาเซมิติกมากมาย เช่น อักษรฟินิเชีย อักษรอาหรับ อักษรแอราเมอิก อักษรซีรีแอก อักษรอาระเบียใต้ และอักษรเอธิโอปิก มีภาษามอลตาเท่านั้นที่เป็นกลุ่มภาษานี้แต่เขียนด้วยอักษรโรมัน ชื่อของกลุ่มภาษานี้มาจาก เซม บุตรชายของโนอาห์ ในไบเบิล.

ใหม่!!: ภาษาอราเมอิกใหม่ตะวันตกและกลุ่มภาษาเซมิติก · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาเซมิติกกลาง

กลุ่มภาษาเซมิติกกลาง เป็นกลุ่มย่อยของกลุ่มภาษาเซมิติก ประกอบด้วยภาษาอาหรับและกลุ่มภาษาเซมิติกตะวันตกเฉียงเหนือ (รวม ภาษาคานาอันไนต์ ภาษาฮีบรู ภาษาอราเมอิก และภาษายูการิติก)ในบางครั้ง ในกลุ่มนี้ ยังแบ่งเป็นกลุ่มภาษาเซมิติกกลางใต้ (รวมภาษาอาหรับและภาษาฮีบรู) กับภาษาอราเมอิก การแบ่งแยกระหว่างภาษาอาหรับกับกลุ่มภาษาเซมิติกตะวันตกเฉียงเหนือคือการสร้างรูปพหูพจน์ ภาษาอาหรับสร้างโดยการแทรกสระ ส่วนกลุ่มภาษาเซมิติกตะวันตกเฉียงเหนือสร้างด้วยปัจจัย เช่น.

ใหม่!!: ภาษาอราเมอิกใหม่ตะวันตกและกลุ่มภาษาเซมิติกกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอราเมอิกใหม่

ษาอราเมอิกใหม่ เป็นภาษาที่พัฒนามาจากภาษาอราเมอิกในสมัยโบราณ มีหลายภาษาได้แก.

ใหม่!!: ภาษาอราเมอิกใหม่ตะวันตกและภาษาอราเมอิกใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอาหรับ

ษาอาหรับ (العربية; Arabic Language) เป็นภาษากลุ่มเซมิติก ที่มีผู้พูดมากที่สุด ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดพอควรกับภาษาฮีบรูและภาษาอราเมอิก โดยพัฒนามาจากภาษาเดียวกันคือภาษาเซมิติกดั้งเดิม ภาษาอาหรับสมัยใหม่ถือว่าเป็นภาษาขนาดใหญ่ แบ่งเป็นสำเนียงย่อยได้ถึง 27 สำเนียง ในระบบ ISO 639-3 ความแตกต่างของการใช้ภาษาพบได้ทั่วโลกอาหรับ โดยมีภาษาอาหรับมาตรฐานซึ่งใช้ในหมู่ผู้นับถือศาสนาอิสลาม ภาษาอาหรับสมัยใหม่มาจากภาษาอาหรับคลาสสิกซึ่งเป็นภาษาเดียวที่เหลืออยู่ในภาษากลุ่มอาหรับเหนือโบราณ เริ่มพบในพุทธศตวรรษที่ 11 และกลายเป็นภาษาทางศาสนาของศาสนาอิสลามตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 เป็นภาษาของคัมภีร์อัลกุรอาน และภาษาของการนมาซและบทวิงวอนของชาวมุสลิมทั่วโลก ชาวมุสลิมจะเริ่มศึกษาภาษาอาหรับตั้งแต่ยังเด็ก เพื่ออ่านอัลกุรอานและทำการนมาซ ภาษาอาหรับเป็นแหล่งกำเนิดของคำยืมจำนวนมากในภาษาที่ใช้โดยมุสลิมและภาษาส่วนใหญ่ในยุโรป ภาษาอาหรับเองก็มีการยืมคำจากภาษาเปอร์เซียและภาษาสันสกฤตด้วย ในช่วงยุคกลาง ภาษาอาหรับเป็นภาษาหลักในการขับเคลื่อนวัฒนธรรมโดยเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และปรัชญา จึงทำให้ภาษาในยุโรปจำนวนมากยืมคำไปจากภาษาอาหรับ โดยเฉพาะภาษาสเปนและภาษาโปรตุเกส ทั้งนี้เพราะอารยธรรมอาหรับเคยแผ่ขยายไปถึงคาบสมุทรไอบีเรี.

ใหม่!!: ภาษาอราเมอิกใหม่ตะวันตกและภาษาอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาแอราเมอิก

ษาแอราเมอิก (Aramaic language) เป็นภาษาตระกูลเซมิติกที่มีความเป็นมายาวนานกว่า 3,000 ปืเป็นภาษากลางของบริเวณตะวันออกใกล้ในช่วง 157 ปีก่อนพุทธศักราชถึง..

ใหม่!!: ภาษาอราเมอิกใหม่ตะวันตกและภาษาแอราเมอิก · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาอิสลาม

นาอิสลาม (Islam) เป็นศาสนาเอกเทวนิยมและศาสนาอับราฮัม บัญญัติไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของอิสลามซึ่งสาวกถือว่าเป็นพระวจนะคำต่อคำของพระเป็นเจ้า (อัลลอฮฺ) และสำหรับสาวกส่วนใหญ่ เป็นคำสอนและตัวอย่างเชิงบรรทัดฐาน (เรียกว่า สุนัต และประกอบด้วยหะดีษ) ของมุฮัมมัด (ประมาณ 570–8 มิถุนายน 632)เป็นศาสดา (นบี) องค์สุดท้ายของพระเป็นเจ้า สาวกของศาสนาอิสลาม เรียกว่า มุสลิม มุสลิมเชื่อว่า พระเจ้าเป็นหนึ่งและหาที่เปรียบไม่ได้ และจุดประสงค์ของการดำรงอยู่ คือ เพื่อรักและรับใช้พระเป็นเจ้า มุสลิมยังเชื่อว่า ศาสนาอิสลามเป็นบรรพศรัทธาฉบับสมบูรณ์และเป็นสากลที่สุดซึ่งได้ประจักษ์มาหลายครั้งก่อนหน้านั้น ผ่านศาสดาซึ่งรวมอาดัม โนอาห์ อับราฮัม โมเสส และพระเยซู พวกเขายึดมั่นว่า สารและวิวรณ์ถูกแปลผิดหรือเปลี่ยนแปลงบางส่วนตามกาลดู.

ใหม่!!: ภาษาอราเมอิกใหม่ตะวันตกและศาสนาอิสลาม · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์

นาคริสต์ (Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 156 เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์" Briggs, Charles A. The fundamental Christian faith: the origin, history and interpretation of the Apostles' and Nicene creeds. C. Scribner's sons, 1913.

ใหม่!!: ภาษาอราเมอิกใหม่ตะวันตกและศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ดามัสกัส

มัสกัส (Damascus) เป็นเมืองหลวงของประเทศซีเรีย เป็นเมืองเก่าแก่ซึ่งมีผู้อยู่อาศัยอย่างต่อเนื่อง มีความสำคัญในประวัติศาสตร์ตั้งแต่ 2,457 ปีก่อนพุทธศักราช มีมัสยิดเก่าที่สร้างตั้งแต..

ใหม่!!: ภาษาอราเมอิกใหม่ตะวันตกและดามัสกัส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศซีเรีย

ประเทศซีเรีย (Syria; سورية ซูริยา) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย (Syrian Arab Republic; الجمهورية العربية السورية) เป็นประเทศในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ มีพรมแดนทิศตะวันตกจดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศเหนือจดประเทศตุรกี ทิศตะวันออกจดประเทศอิรัก ทิศใต้จดประเทศจอร์แดน และทิศตะวันตกเฉียงใต้จดประเทศอิสราเอล กรุงดามัสกัส เมืองหลวง เป็นนครที่มีผู้อยู่อาศัยต่อเนื่องที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ประเทศซีเรียเป็นที่ราบอุดมสมบูรณ์ ภูเขาสูงและทะเลทราย มีประชากรกลุ่มชาติพันธุ์และศาสนาหลากหลาย ส่วนมากเป็นชาวอาหรับ ซึ่งรวมอลาวียะห์ ดรูซ มุสลิมซุนนีย์และคริสต์ศาสนิกชน กลุ่มชาติพันธุ์อื่น ได้แก่ ชาวอาร์มีเนีย อัสซีเรีย เคิร์ดและเติร์ก ชาวอาหรับซุนนีย์เป็นกลุ่มประชากรใหญ่ที่สุดในประเทศซีเรีย ในภาษาอังกฤษ เดิมชื่อ "ซีเรีย" สมนัยกับเลแวนต์ (ภาษาอาหรับว่า al-Sham) ขณะที่รัฐสมัยใหม่ครอบคลุมที่ตั้งของราชอาณาจักรและจักรวรรดิโบราณหลายแห่ง รวมถึงอารยธรรมเอบลา (Ebla) ในสหัสวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล ในสมัยอิสลาม ดามัสกัสเป็นเมืองหลวงของรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ และเมืองเอกในรัฐสุลต่านมัมลุกในอียิปต์ รัฐซีเรียสมัยใหม่สถาปนาขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งโดยเป็นอาณาเขตในอาณัติของฝรั่งเศส และเป็นรัฐอาหรับใหญ่ที่สุดที่กำเนิดขึ้นจากเลแวนต์อาหรับที่เดิมออตโตมันปกครอง ประเทศซีเรียได้รับเอกราชในเดือนเมษายน 2489 เป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภา สมัยหลังได้รับเอกราชมีความวุ่นวาย และกลุ่มรัฐประหารและความพยายามรัฐประหารสะเทือนประเทศในสมัยปี 2492–2514 ระหว่างปี 2501 ถึง 2504 ประเทศซีเรียเข้าร่วมสหภาพช่วงสั้น ๆ กับอียิปต์ ซึ่งสิ้นสุดลงด้วยรัฐประหาร ประเทศซีเรียอยู่ภายใต้กฎหมายฉุกเฉินระหว่างปี 2506 ถึง 2554 ระงับการคุ้มครองพลเมืองส่วนใหญ่ของรัฐธรรมนูญอย่างชะงัด และระบบรัฐบาลถูกพิจารณาว่าไม่เป็นประชาธิปไตย บัชชาร อัลอะซัดเป็นประธานาธิบดีตั้งแต่ปี 2543 สืบทอดจากฮาเฟซ อัลอะซัด บิดา ซึ่งดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2513 ถึง 2543 ประเทศซีเรียเป็นสมาชิกสหประชาชาติและขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ปัจจุบันถูกระงับสมาชิกภาพจากสันนิบาตอาหรับและองค์การความร่วมมืออิสลาม และระงับตนเองจากสหภาพเพื่อเมดิเตอร์เรเนียน นับแต่เดือนมีนาคม 2554 ประเทศซีเรียเกิดสงครามกลางเมืองในห้วงการก่อการกำเริบ (ถือว่าเป็นผลขยายของอาหรับสปริง) ต่ออะซัดและรัฐบาลพรรคบะอัธ กลุ่มต่อต้านตั้งรัฐบาลทางเลือกขึ้น คือ แนวร่วมแห่งชาติซีเรีย (Syrian National Coalition) ในเดือนมีนาคม 2555 ต่อมา ผู้แทนรัฐบาลนี้ได้รับเชิญให้แทนที่ประเทศซีเรียในสันนิบาตอาหรั.

ใหม่!!: ภาษาอราเมอิกใหม่ตะวันตกและประเทศซีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเลบานอน

ลบานอน (Lebanon; لُبْنَان) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐเลบานอน (Republic of Lebanon, Lebanese Republic; جمهورية لبنان) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และถือเป็นหนึ่งใน 15 ดินแดนที่ประกอบเป็น "แหล่งกำเนิดแห่งมนุษยชาติ" (Cradle of Humanity) เลบานอนมีพรมแดนติดกับประเทศซีเรียและประเทศอิสราเอล พรมแดนที่ติดกับประเทศอิสราเอลได้รับการรับรองจากองค์การสหประชาชาติแล้ว แต่พื้นที่บางส่วน เรียกว่า "ชีบาฟาร์ม" (Shebaa farms) ตั้งอยู่ในที่ราบสูงโกลันยังคงครอบครองโดยอิสราเอล ซึ่งอ้างว่าเป็นพื้นที่ของซีเรีย กองทัพต่อต้านอ้างว่า "ชีบาฟาร์ม" เป็นพื้นที่ของเลบานอน และในบางโอกาสก็โจมตีที่มั่นของอิสราเอลภายในพื้นที่ดังกล่าว นอกจากนี้ ซีเรียบำรุงรักษากองทัพที่มีทหารประมาณ 14,000 นายในเลบานอน ชาวเลบานอนที่สนับสนุนเลบานอนอ้างว่าเป็นการอยู่อย่างถูกต้องเนืองจากรัฐบาลเลบานอนได้ขอไว้ ตอนเริ่มสงครามกลางเมืองเมื่อ พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) ผู้ที่ไม่เห็นด้วยอ้างว่า การอยู่ของซีเรียเป็นประหนึ่งการยึดครองโดยอำนาจต่างชาต.

ใหม่!!: ภาษาอราเมอิกใหม่ตะวันตกและประเทศเลบานอน · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »