โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พิสัยการได้ยิน

ดัชนี พิสัยการได้ยิน

ัยการได้ยิน (Hearing range) หมายถึงพิสัยความถี่เสียงที่มนุษย์หรือสัตว์อื่น ๆ ได้ยิน แม้ก็อาจหมายถึงระดับความดังเสียงได้ด้วยเหมือนกัน มนุษย์ปกติจะได้ยินในพิสัยความถี่ 20-20,000 เฮิรตซ์ (Hz) แต่ก็จะต่างไปตามบุคคลพอสมควรโดยเฉพาะเสียงความถี่สูง และการสูญความไวเสียงความถี่สูงอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามอายุก็เป็นเรื่องปกติ ความไวต่อความถี่ต่าง ๆ แม้ในบุคคลก็ยังไม่เท่ากันอีกด้วย (ดูหัวข้อ เส้นชั้นความดังเสียงเท่า) มีสัตว์หลายอย่างที่สามารถได้ยินเสียงเกินพิสัยของมนุษย์ ยกตัวอย่างเช่น โลมาและค้างคาวสามารถได้ยินเสียงสูงจนถึง 100,000 Hz ช้างสามารถได้ยินเสียงต่ำจนถึง 14-16 Hz ในขณะที่วาฬบางชนิดสามารถได้ยินเสียงต่ำในน้ำจนถึง 7 Hz.

64 ความสัมพันธ์: บรรยากาศของโลกช้างพอร์พอยส์พูเดิลกรวยกระดูกหูกระดูกทั่งกระดูกค้อนกระดูกโกลนการสื่อสารมิลลิวินาทีมนุษย์ระบบการได้ยินระบบประสาทระยะทางรูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบลอการิทึมลิงลิงกังญี่ปุ่นลีเมอร์วอลรัสวาฬวาฬมีฟันวิวัฒนาการวงศ์ใหญ่สัตว์ตีนครีบสมองสัตว์สัตว์ปีกสัตว์เลื้อยคลานสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมสิงโตทะเลสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของสหรัฐอเมริกาหมาหูหูชั้นกลางหูชั้นในรูปหอยโข่งหูฟังหนูหริ่งอันดับวานรอันดับสัตว์ฟันแทะอันดับปลาหนังอุณหภูมิความยาวคลื่นค้างคาวประสาทสัมผัสประเทศมาดากัสการ์ปรากฏการณ์ดอปเพลอร์ปลาปลาทองปลาทูน่า...ปาสกาล (หน่วยวัด)นกหวีดนกเค้าแมลงแมวโลมาโลมาปากขวดโลมาแม่น้ำแอมะซอนเยอรมันเชเพิร์ดเสียงเฮิรตซ์เดซิเบลเซลล์ขนStereocilia ขยายดัชนี (14 มากกว่า) »

บรรยากาศของโลก

ลักษณะบรรยากาศของโลก บรรยากาศของโลก คือ อากาศที่ห่อหุ้มโลกอยู่โดยรอบ วันที่สืบค้น 6 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: พิสัยการได้ยินและบรรยากาศของโลก · ดูเพิ่มเติม »

ช้าง

รงกระดูกช้างแอฟริกา ช้าง เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมขนาดใหญ่วงศ์ Elephantidae โดยแบ่งเป็นสองสกุล ได้แก่ Elephas และ Loxodonta ช้างในปัจจุบันเหลือ 3 สปีชีส์ คือ ช้างแอฟริกา, ช้างป่าแอฟริกา และช้างเอเชีย (หรือที่รู้จักกันในชื่อ ช้างอินเดีย) ส่วนสปีชีส์และสกุลอื่นของวงศ์ Elephantidae ล้วนสูญพันธุ์ไปหมดแล้ว บางสปีชีส์หรือสกุลสูญพันธุ์ไปตั้งแต่ยุคน้ำแข็งครั้งหลังสุด ถึงแม้ว่าช้างแมมมอธในรูปแคระอาจสืบสายพันธุ์ต่อมาจนถึง 2,000 ปีก่อนคริสตกาล ช้างและสัตว์ในวงศ์ Elephantidae อื่น ๆ เคยถูกจัดเป็นประเภทเดียวกับสัตว์หนังหนาอื่น ๆ ชื่อว่าอันดับ Pachydermata ซึ่งปัจจุบันเลิกใช้แล้ว ช้างนับเป็นสัตว์บกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน ใช้เวลาการตั้งครรภ์ถึง 22 เดือน ซึ่งนับว่านานที่สุดในบรรดาสัตว์บกทุกชนิด ช้างแรกเกิดมีน้ำหนักเฉลี่ย 120 กิโลกรัม มีอายุขัยอยู่ระหว่าง 50 ถึง 70 ปี แต่ช้างอายุมากที่สุดที่เคยบันทึกไว้มีอายุถึง 109 ปี ช้างขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยบันทึกไว้อาศัยอยู่ในแองโกลาในปี..

ใหม่!!: พิสัยการได้ยินและช้าง · ดูเพิ่มเติม »

พอร์พอยส์

อร์พอยส์ (Porpoise; การออกเสียง) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับวาฬและโลมา (Cetacea) ขนาดเล็กวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Phocoenidae พอร์พอยส์ จัดเป็นวาฬมีฟันขนาดเล็ก ลักษณะทั่วไปคล้ายกับโลมาทะเล (Delphinidae) แต่มีความแตกต่างไปจากโลมาทั่วไป คือ มีรูปร่างที่เล็กกว่า และมีรูปทรงที่อ้วนกลมกว่า อีกทั้งสรีระร่างกายของพอร์พอยส์ไม่อาจจะเก็บความอบอุ่นไว้ได้นาน ทำให้สูญเสียพลังงานในร่างกายได้รวดเร็วกว่า จึงต้องกินอาหารบ่อยครั้งและมากกว่าโลมาทะเลเพื่อสร้างพลังงานและความอบอุ่นให้แก่ร่างกาย นอกจากนี้แล้ว ครีบหลังของพอร์พอยส์นั้นเป็นรูปสามเหลี่ยมคล้ายกับครีบของปลาฉลาม แต่มีความสั้นทู่ ซึ่งในบางครั้งจะมีปุ่มขนาดเล็กเรียกว่า ทูเบอร์เคิล อยู่ตรงขอบครีบ ลักษณะของจมูกของพอร์พอยส์นั้นสั้นทู่และกลมกว่าโลมาทั่วไป ลักษณะของฟันก็มีลักษณะเล็ก ๆ เป็นตุ่มไม่แหลมคม ส่วนกระดูกคอนั้นติดต่อกับกระดูกสันหลัง ทำให้ไม่อาจจะขยับส่วนคอไปมาได้อย่างอิสระเหมือนโลมา และพฤติกรรมก็แตกต่างไปจากโลมาด้วย ได้แก่ ฝูงของพอร์พอยส์มีขนาดเล็กกว่า คือ มีจำนวนสมาชิกในฝูงเพียง 2–4 ตัวเท่านั้น ไม่ได้มีกันหลายสิบหรือร้อยตัวเหมือนโลมาทะเล และมีพฤติกรรมขี้อาย เกรงกลัวมนุษย์ ผิดกับโลมาทะเล และเป็นโลมาที่มีอายุขัยสั้นเพียงแค่ 20 ปีเท่านั้น พอร์พอยส์ นับเป็นสัตว์ในอันดับนี้ที่มีขนาดเล็กที่สุด โดยชนิดที่มีขนาดเล็กที่สุด คือ วิกีตา พบกระจายพันธุ์ทางตอนเหนือของอ่าวแคลิฟอร์เนีย มีขนาดโตเต็มที่ไม่ถึง 2 เมตรด้วยซ้ำ ขณะที่ชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ก็มีความยาวเพียง 2.3 เมตรเท่านั้น.

ใหม่!!: พิสัยการได้ยินและพอร์พอยส์ · ดูเพิ่มเติม »

พูเดิล

พูเดิลขนาดMinature พูเดิล (Poodle) มีถิ่นกำเนิดในประเทศฝรั่งเศสและเยอรมนี พูเดิลเป็นสุนัขที่มีร่างกายเล็ก มีขนสั้นปุกปุย หยิกเล็กน้อย พูเดิลมีสีได้หลายสี รวมถึงสีดำ สีขาว สีแดง สีน้ำตาลแอพริคอท สีเงิน และสีน้ำตาล บางตัวอาจมีสีแต้มได้ แต่ไม่สามารถส่งเข้าประกวดใน American Kennel Club (AKC), Canadian Kennel Club (CKC) หรือFederation Cynologique Internationale (FCI) อย่างไรก็ตาม สามารถประกวดใน United Kennel Club (UKC) และการประกวดความสามารถได้ พูเดิล.

ใหม่!!: พิสัยการได้ยินและพูเดิล · ดูเพิ่มเติม »

กรวย

กรวย อาจหมายถึง.

ใหม่!!: พิสัยการได้ยินและกรวย · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกหู

กระดูกหู (ossicles หรือ auditory ossicles) เป็นกระดูกขนาดเล็ก 3 ชิ้นในร่างกายมนุษย์ ซึ่งอยู่ภายในช่องว่างในหูชั้นกลาง ทำหน้าที่ในการส่งผ่านเสียงจากอากาศไปยังห้องหูชั้นใน (labyrinth) ที่บรรจุไปด้วยของเหลว (อวัยวะรูปหอยโข่ง (cochlea)) หากไม่มีกระดูกหูจะทำให้เกิดภาวะสูญเสียการได้ยินระดับกลางหรือระดับรุนแรง.

ใหม่!!: พิสัยการได้ยินและกระดูกหู · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกทั่ง

กระดูกทั่ง (Incus or anvil) เป็นกระดูกหูขนาดเล็กที่อยู่ในหูชั้นกลาง มีรูปร่างเหมือนทั่ง เชื่อมต่อกับกระดูกค้อน (malleus) และกระดูกโกลน (stapes) กระดูกชิ้นนี้ค้นพบครั้งแรกโดย Alessandro Achillin of Bologna กระดูกทั่งทำหน้าที่ส่งผ่านการสั่นสะเทือนจากกระดูกค้อนไปยังกระดูกโกลน กระดูกนี้พบเฉพาะในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม และวิวัฒนาการมาจากกระดูกขากรรไกรบนของสัตว์เลื้อยคลานเรียกว่า กระดูกควอเดรต (quadrate bone).

ใหม่!!: พิสัยการได้ยินและกระดูกทั่ง · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกค้อน

กระดูกค้อน (malleus or hammer) เป็นกระดูกหูขนาดเล็กรูปร่างเหมือนค้อน อยู่ภายในหูชั้นกลางซึ่งติดต่อกับกระดูกทั่งและยึดเกาะกับพื้นผิวด้านในของเยื่อแก้วหู (eardrum) ทำหน้าที่ส่งผ่านความสั่นสะเทือนของเสียงจากเยื่อแก้วหูไปยังกระดูกทั่ง กระดูกค้อนเป็นลักษณะเฉพาะของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม วิวัฒนาการมาจากกระดูกขากรรไกรล่างในสัตว์มีถุงน้ำคร่ำ เรียกว่า กระดูกอาร์ติคิวลาร์ (articular) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้อต่อขากรรไกรของสัตว์เลื้อยคลาน.

ใหม่!!: พิสัยการได้ยินและกระดูกค้อน · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกโกลน

กระดูกโกลน (stapes or stirrup) เป็นกระดูกหูขนาดเล็กรูปร่างเหมือนโกลน อยู่ภายในหูชั้นกลางซึ่งติดต่อกับกระดูกทั่ง (incus) และช่องรูปไข่ (fenestra ovalis) ซึ่งอยู่ชิดกับเวสทิบูลของหูชั้นใน กระดูกชิ้นนี้เป็นกระดูกที่เล็กและเบาที่สุดในร่างกายมนุษย์ กระดูกโกลนทำหน้าที่ส่งผ่านความสั่นสะเทือนของเสียงจากกระดูกทั่งไปยังเยื่อแผ่นในหูชั้นในภายในช่องรูปไข่ กระดูกโกลนมีกล้ามเนื้อที่ช่วยให้เสถียรชื่อว่า กล้ามเนื้อสเตปีเดียส (stapedius) ซึ่งเลี้ยงโดยเส้นประสาทเฟเชียล (facial nerve) ในสัตว์มีกระดูกสันหลังที่ไม่ใช่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม กระดูกที่มีต้นกำเนิดเดียว (homologous) กับกระดูกโกลนมักเรียกว่า คอลัมเมลลา (columella) อย่างไรก็ตาม ในสัตว์เลื้อยคลานจะใช้คำเรียกได้ทั้งสองคำ.

ใหม่!!: พิสัยการได้ยินและกระดูกโกลน · ดูเพิ่มเติม »

การสื่อสาร

การสื่อสาร คือกระบวนการสำหรับแลกเปลี่ยนสาร รูปแบบอย่างง่ายของสาร คือ จะต้องส่งจากผู้ส่งสารหรืออุปกรณ์เข้ารหัส ไปยังผู้รับสารหรืออุปกรณ์ถอดรหัส อาจอยู่ในรูปแบบของท่าทางสัญลักษณ์ บางอย่างอยู่ในรูปแบบของภาษา การสื่อสารเกิดจากความต้องการที่คนจะส่งข้อมูลหากัน การศึกษาเกี่ยวกับการสื่อสารอาจจำแนกได้หลายหมวดหมู.

ใหม่!!: พิสัยการได้ยินและการสื่อสาร · ดูเพิ่มเติม »

มิลลิวินาที

มิลลิวินาที (ตัวย่อ: ms) เป็นหนึ่งในหนึ่งพันของวินาที 10 มิลลิวินาที (หนึ่งในร้อยของวินาที) เรียกว่า เซนติวินาที 100 มิลลิวินาที (หนึ่งในสิบของวินาที) เรียกว่า เดชิวินาที ในหนึ่งวันมี 86,400,000 (24×60×60×1000) มิลลิวินาทีในหนึ่งวัน.

ใหม่!!: พิสัยการได้ยินและมิลลิวินาที · ดูเพิ่มเติม »

มนุษย์

มนุษย์ (ภาษาละตินแปลว่า "คนฉลาด" หรือ "ผู้รู้") เป็นสปีชีส์เดียวที่ยังมีชีวิตอยู่ในสกุล Homo ในทางกายวิภาค มนุษย์สมัยใหม่ถือกำเนิดขึ้นในทวีปแอฟริการาว 200,000 ปีที่แล้ว และบรรลุความนำสมัยทางพฤติกรรม (behavioral modernity) อย่างสมบูรณ์เมื่อราว 50,000 ปีที่แล้ว เชื้อสายมนุษย์แยกออกจากบรรพบุรุษร่วมสุดท้ายกับชิมแพนซี สิ่งมีชีวิตที่ใกล้ชิดที่สุด เมื่อราว 5 ล้านปีที่แล้วในแอฟริกา ก่อนจะวิวัฒนาการไปเป็นออสตราโลพิเธซีน (Australopithecines) และสุดท้ายเป็นสกุล Homo สปีชีส์ โฮโม แรก ๆ ที่อพยพออกจากแอฟริกา คือ Homo erectus, Homo ergaster ร่วมกับ Homo heidelbergensis ซึ่งถูกมองว่าเป็นบรรพบุรุษสายตรงของมนุษย์สมัยใหม่ Homo sapiens ยังเดินหน้าตั้งถิ่นฐานในทวีปต่าง ๆ โดยมาถึงยูเรเซียระหว่าง 125,000-60,000 ปีที่แล้ว ทวีปออสเตรเลียราว 40,000 ปีที่แล้ว ทวีปอเมริการาว 15,000 ปีที่แล้ว และเกาะห่างไกล เช่น ฮาวาย เกาะอีสเตอร์ มาดากัสการ์และนิวซีแลนด์ระหว่าง..

ใหม่!!: พิสัยการได้ยินและมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบการได้ยิน

ระบบการได้ยิน (auditory system) เป็นระบบรับความรู้สึก/ระบบประสาทสัมผัส ซึ่งรวมทั้งอวัยวะการฟังคือหู และระบบประสาทเกี่ยวกับการฟัง กายวิภาคของหู แม้ว่าช่องหูจะยาวเกินสัดส่วนในรูป.

ใหม่!!: พิสัยการได้ยินและระบบการได้ยิน · ดูเพิ่มเติม »

ระบบประสาท

ระบบประสาทของมนุษย์ ระบบประสาทของสัตว์ มีหน้าที่ในการออกคำสั่งการทำงานของกล้ามเนื้อ ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย และประมวลข้อมูลที่รับมาจากประสาทสัมผัสต่างๆ และสร้างคำสั่งต่าง ๆ (action) ให้อวัยวะต่าง ๆ ทำงาน (ดูเพิ่มเติมที่ ระบบประสาทกลาง) ระบบประสาทของสัตว์ที่มีสมองจะมีความคิดและอารมณ์ ระบบประสาทจึงเป็นส่วนของร่างกายที่ทำให้สัตว์มีการเคลื่อนไหว (ยกเว้นสัตว์ชั้นต่ำที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เช่น ฟองน้ำ) สารเคมีที่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทหรือเส้นประสาท (nerve) เรียกว่า สารที่มีพิษต่อระบบประสาท (neurotoxin) ซึ่งมักจะมีผลทำให้เป็นอัมพาต หรือตายได้.

ใหม่!!: พิสัยการได้ยินและระบบประสาท · ดูเพิ่มเติม »

ระยะทาง

ลยืนอยู่ในระยะทางต่างๆ กัน ระยะทาง หมายถึงตัวเลขที่อธิบายว่า วัตถุแต่ละอย่างอยู่ห่างกันเท่าไรในช่วงเวลาหนึ่ง ในทางฟิสิกส์ ระยะทางอาจหมายถึงความยาวทางกายภาพ ระยะเวลา หรือการประมาณค่าบนสิ่งที่พิจารณาสองอย่าง ส่วนทางคณิตศาสตร์จะพิจารณาอย่างเฉพาะเจาะจงมากกว่า โดยทั่วไปแล้ว "ระยะทางจาก A ไป B" มีความหมายเหมือนกับ "ระยะทางระหว่าง A กับ B".

ใหม่!!: พิสัยการได้ยินและระยะทาง · ดูเพิ่มเติม »

รูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ

รูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ (portable document format (ย่อ: pdf)) คือ รูปแบบแฟ้มลักษณะหนึ่ง ที่พัฒนาโดยบริษัทอะโดบีซิสเต็มส์ สำหรับแสดงเอกสารที่สามารถใช้งานได้ในทุกระบบปฏิบัติการ และยังคงลักษณะเอกสารเหมือนต้นฉบับ เอกสารในรูปแบบนี้สามารถจัดเก็บ ตัวอักษร รูปภาพ รูปลายเส้น ในลักษณะเป็นหน้าหนังสือ ตั้งแต่ หนึ่งหน้า หรือหลายพันหน้าได้ในแฟ้มเดียวกัน รูปแบบเป็นมาตรฐานที่เปิดให้คนอื่นสามารถเขียนโปรแกรมมาทำงานร่วมกันได้ รูปแบบนี้ เหมาะสมสำหรับงานที่ต้องการให้แสดงผลลักษณะเดียวกับต้นฉบับ ซึ่งแตกต่างกับการใช้งานรูปแบบอื่น เช่น HTML เพราะการแสดงผลของ HTML จะขึ้นอยู่กับโปรแกรมเบราว์เซอร์และคอมพิวเตอร์ที่ใช้ และเพราะฉะนั้น จะแสดงผลต่างกัน ถ้าใช้ต่างกัน.

ใหม่!!: พิสัยการได้ยินและรูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ · ดูเพิ่มเติม »

ลอการิทึม

ีม่วงคือฐาน 1.7 กราฟทุกเส้นผ่านจุด (1, 0) เนื่องจากจำนวนใด ๆ ที่ไม่เป็นศูนย์ เมื่อยกกำลัง 0 แล้วได้ 1 และกราฟทุกเส้นผ่านจุด (''b'', 1) สำหรับฐาน ''b'' เพราะว่าจำนวนใด ๆ ยกกำลัง 1 แล้วได้ค่าเดิม เส้นโค้งทางซ้ายเข้าใกล้แกน ''y'' แต่ไม่ตัดกับแกน ''y'' เพราะมีภาวะเอกฐานอยู่ที่ ''x''.

ใหม่!!: พิสัยการได้ยินและลอการิทึม · ดูเพิ่มเติม »

ลิง

แสม (''Macaca fascicularis'') ลิงที่คุ้นเคยและพบได้บ่อยที่สุดในประเทศไทย อาจพบได้ถึงในชุมชนเมืองhttp://1081009.tourismthailand.org/trip/dcp?id.

ใหม่!!: พิสัยการได้ยินและลิง · ดูเพิ่มเติม »

ลิงกังญี่ปุ่น

ลิงกังญี่ปุ่น หรือ ลิงหิมะญี่ปุ่น (Japanese macaque, Snow japanese monkey; ニホンザル) เป็นลิงชนิดหนึ่ง ในวงศ์ลิงโลกเก่า (Cercopithecidae) เป็นลิงพื้นเมืองของหมู่เกาะญี่ปุ่น พบได้ตามภูมิภาคต่าง ๆ ของญี่ปุ่น ในที่มีอากาศหนาวเย็น มีหิมะและน้ำแข็ง มีขนสีน้ำตาลเทาหรือเหลืองอ่อน ตัวผู้มีน้ำหนักเต็มที่ประมาณ 11-13 กิโลกรัม ขณะที่ตัวเมียมีขนาดตัวที่เล็กและน้ำหนักเบากว่า คือประมาณ 8 กิโลกรัม มีขนหนาตลอดทั้งลำตัว ยกเว้นใบหน้าที่มีสีแดง ส่วนหางสั้น มี 2 ชนิดย่อย (ดูในตาราง) มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง ลิงตัวเมียที่มีอาวุโสสูงสุดจะเป็นจ่าฝูง หากินได้ทั้งบนพื้นดินและต้นไม้ โดยลิงตัวเมียจะใช้เวลาในการหาอาหารมากกว่าตัวผู้ สามารถว่ายน้ำได้เป็นอย่างดี มีรายงานว่าสามารถว่ายน้ำได้ไกลกว่าครึ่งกิโลเมตร และยังสามารถอาศัยอยู่ในที่ ๆ มีอุณหภูมิต่ำถึง -20 องศาเซลเซียสได้อีกด้วย เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 6 ปี แต่ลิงตัวเมียจะเข้าสู่เร็วกว่า มีอายุยืนประมาณ 28 ปีในตัวผู้ ขณะที่ตัวเมีย 32 ปี ลิงตัวเมียจะเลี้ยงลูกนานเป็นเวลา 2 ปี เมื่ออายุได้ 4 ปี ลูกลิงตัวผู้ก็จะจากฝูงไปเพื่อเข้าร่วมกับฝูงใหม่ สร้างครอบครัวต่อไป ส่วนลิงตัวเมียจะอาศัยอยู่กับฝูงไปชั่วชีวิต ลิงกังญี่ปุ่นจะมีลูกในช่วงฤดูใบไม้ผลิ นอกจากนี้แล้วยังพบว่าลิงกังญี่ปุ่นตัวผู้บางตัวยังมีพฤติกรรมพยายามที่จะผสมพันธุ์กับกวางซีกา ซึ่งเป็นกวางพื้นเมืองของญี่ปุ่นด้วย โดยเป็นลิงตัวผู้ที่อาศัยอยู่บนเกาะยะกุ ทางตอนใต้ของญี่ปุ่น เชื่อว่าคงเป็นเพราะลิงตัวนี้เป็นลิงที่มีอายุน้อย หรือไม่ก็หาคู่ตัวเมียผสมพันธุ์ด้วยไม่ได้ ลิงกังญี่ปุ่น ถือว่าเป็นไพรเมตที่อาศัยอยู่ห่างไกลเส้นศูนย์สูตรมากที่สุดที่ไม่ใช่มนุษย์ หลักฐานทางดีเอ็นเอและซากฟอสซิลพบว่า บรรพบุรุษของลิงกังญี่ปุ่นเดินทางมาจากแผ่นดินใหญ่เอเชียเมื่อกว่า 500,000 ปีที่แล้ว และได้ปรับตัววิวัฒนาการให้เหมาะสมกับการใช้ชีวิตอยู่ที่เกาะญี่ปุ่น โดยบรรพบุรุษของลิงกังญี่ปุ่นมีความใกล้เคียงกับลิงวอกและลิงกังไต้หวัน ที่มีหาง เมื่อใช้ชีวิตอยู่ที่ญี่ปุ่นที่มีสภาพอากาศหนาวเย็นแล้ว ลิงกังญี่ปุ่นได้วิวัฒนาการให้ตัวเองมีรูปร่างที่ใหญ่กว่าลิงกังที่พบในแผ่นดินใหญ่ของเอเชีย มีขนหนา 2 ชั้นเพื่อรักษาความอบอุ่น หางหดสั้นลงเพื่อรักษาความอบอุ่นและป้องกันการโดนหิมะกัด ในฤดูหนาวที่อากาศหนาวเย็นและหิมะทับถมหนาได้ถึง 6 ฟุต โดยเฉพาะบนเกาะฮนชู ลิงกังญี่ปุ่นจะเริ่มกินอาหารจำนวนมากถึงร้อยละ 10 ของน้ำหนักตัวเพื่อที่จะสะสมพลังงานและไขมันในตัวก่อนหน้านั้น โดยเฉพาะตัวเมียเพื่อที่จะผลิตน้ำนมเลี้ยงลูก และยามเมื่อถึงฤดูหนาวแล้ว ยังสามารถที่จะกัดเปลือกไม้บางชนิด เพื่อกินเนื้อไม้ที่อ่อนนุ่ม และอุดมด้วยสารอาหารในนั้น รวมทั้งรู้จักที่จะล้วงเก็บลูกสนที่ถูกหิมะทับไว้อย่างหนาแน่นได้อีกด้วย แต่ในช่วงนี้จะมีลูกลิงบางส่วนที่ต้องตายไป เพราะไม่อาจทนทานต่อสภาพอากาศได้ ในอดีตจากการศึกษาทางดีเอ็นเอ พบว่า ในยุคน้ำแข็งยุคสุดท้าย ลิงกังญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือเมื่อถึงฤดูหนาวจะอพยพลงใต้ที่ ๆ จากฮนชู ไปคิวชู และกระจายไปที่อื่น ๆ อันเป็นที่สภาพอากาศอบอุ่นกว่า แต่ก็ยังคงมีประชากรบางส่วนที่ยังอาศัยอยู่ยังที่เดิม พบกระจายพันธุ์อยู่ตามภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วญี่ปุ่น เช่น ฮนชู, คิวชู และชิโกกุ ลิงกังญี่ปุ่นยังมีพฤติกรรมที่แตกไปจากลิงชนิดอื่น ๆ คือ ชอบที่จะแช่น้ำร้อนตามบ่อน้ำพุร้อนต่าง ๆ โดยเฉพาะที่อุทยานลิงจิโกะกุดะนิ ในจังหวัดนะงะโนะ ลิงที่นี่ชอบที่จะแช่น้ำร้อนมากกว่าลิงชนิดเดียวกันที่อื่น ๆ บางครั้งอาจเผลอหลับไปในขณะที่แช่ได้เลย จึงเป็นที่ชื่นชอบอย่างยิ่งของนักท่องเที่ยว และชอบที่จะปั้นหิมะเป็นลูกบอลเขวี้ยงเล่นเพื่อความสนุกสนาน อีกทั้งก่อนที่จะกินอาหารยังชอบที่นำไปล้างน้ำทะเลก่อนด้วย ส่วนในบ่อน้ำร้อน จะมีพฤติกรรมดำน้ำลงไปก้นบ่อเก็บกินข้าวสาลีที่มีผู้โยนมาให้เป็นอาหารกิน ลิงที่อาศัยแถบแม่น้ำซุซุกิ มีพฤติกรรมพลิกก้อนหินหาแมลงน้ำและตัวอ่อนแมลงน้ำที่หลบซ่อนตัวจากลำธารกินได้ และลิงที่อาศัยอยู่แถบชายทะเลยังรู้จักที่จะเก็บสาหร่ายทะเลกินเป็นอาหารได้อีกด้วย พฤติกรรมการหากินและการปรับตัวเหล่านี้ เชื่อว่า เป็นผลมาจากการเรียนรู้ของลิงตัวเมียที่สืบทอดกันมาจากรุ่นเป็นรุ่นเป็นเวลาราว 3 รุ่น และเป็นการเรียนรู้กันเฉพาะกลุ่มJapan, "Mutant Planet".

ใหม่!!: พิสัยการได้ยินและลิงกังญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ลีเมอร์

ลีเมอร์ (Lemur) เป็นอันดับฐานของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับไพรเมตหรือลิง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lemuriformes ลักษณะโดยรวมของลีเมอร์ คือ มีรูปร่างทั่วไปคล้ายกับลิง แต่ทว่ามีส่วนหัวคล้ายหมาจิ้งจอก คือ มีจมูกและปากแหลมยาว มีดวงตากลมโต ขนหนาฟู มีหางยาวเป็นพวงเหมือนกระรอก โดยลีเมอร์เป็นไพรเมตที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม Prosimian ซึ่งรวมถึงลิงลม, กาเลโก และทาร์เซีย เพราะมีสายวิวัฒนาการที่ใกล้เคียงกัน จากการศึกษาทางดีเอ็นเอ ซึ่งคำว่า "Prosimian" นั้น มีความหมายว่า "ก่อนลิง" คำว่า "ลีเมอร์" แปลงมาจากคำว่า Lemures ในเทพปกรณัมโรมันหมายถึง "ดวงวิญญาณ, ผี หรือปีศาจ" ขนาดโดยทั่วไปโดยเฉลี่ยของลีเมอร์ขนาดเท่าแมว น้ำหนักตัวประมาณ 9 กิโลกรัม โดยที่ชนิดที่มีขนาดเล็กมีรูปร่างใกล้เคียงกับหนู มีการกระจายพันธุ์เฉพาะบนเกาะมาดากัสการ์ทางชายฝั่งแอฟริกาตะวันออกที่เดียวเท่านั้น เหตุเพราะสันนิษฐานว่า ที่เกาะแห่งนี้ห่างไกลจากแผ่นดินใหญ่ ทำให้สัตว์หลายชนิดมีการวิวัฒนาการเป็นของตัวเองโดยเฉพาะ และไม่มีสัตว์กินเนื้อขนาดใหญ่คอยคุกคาม โดยอาศัยอยู่ในป่าดิบ บนต้นไม้ใหญ่ หากินในเวลากลางวัน และนอนหลับในเวลากลางคืน โดยที่สันนิษฐานอีกว่า บรรพบุรุษของลีเมอร์ เดินทางมายังเกาะมาดากัสการ์ด้วยกอพรรณพืชหรือต้นไม้เมื่อ 60 ล้านปีก่อน โดยลีเมอร์ได้วิวัฒนาการตัวเองแยกมาเป็นชนิดต่าง ๆ จากถิ่นที่อยู่ที่แตกต่างกัน เนื่องด้วยสภาพแวดล้อมที่แตกต่าง อันเป็นผลจากการที่น้ำท่วมเกาะ ก่อให้เกิดเป็นเกาะแก่งต่าง ๆ มากมาย และลีเมอร์ชนิดต่าง ๆ ต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยวและถูกจำกัดในเรื่องอาหาร จากพายุไซโคลนที่พัดถล่มในมหาสมุทรอินเดีย โดยเฉพาะชายฝั่งแอฟริกาตะวันออก โดยเชื่อว่าบรรพบุรุษของลีเมอร์นั้นแรกเริ่มมีขนาดเล็ก และอาจเกาะกับต้นไม้ลอยน้ำมาในรูปแบบของการจำศีลMadagascar, "Mutant Planet" สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต.

ใหม่!!: พิสัยการได้ยินและลีเมอร์ · ดูเพิ่มเติม »

วอลรัส

วอลรัส (walrus) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดเดียวในวงศ์ Odobenidae และสกุล Odobenus อาศัยอยู่แถบขั้วโลกเหนือ รูปร่างคล้ายสิงโตทะเล แต่ตัวใหญ่กว่ามากและมีเขี้ยวยาว วอลรัสเพศผู้โตเต็มวัยอาจมีน้ำหนักได้มากถึง 2,000 กิโลกรัม และมีอายุยืนถึง 20-30 ปี วอลรัสมีความสำคัญต่อชนพื้นเมืองที่อาศัยในเขตอาร์กติก การล่าวอลรัสในช่วงศตวรรษที่ 19-20 ส่งผลให้จำนวนวอลรัสลดลง.

ใหม่!!: พิสัยการได้ยินและวอลรัส · ดูเพิ่มเติม »

วาฬ

การพ่นน้ำของวาฬเพชฌฆาต (''Orcinus orca'') ครีบหางของวาฬหลังค่อม ซึ่งวาฬแต่ละตัวและมีลักษณะของครีบและหางแตกต่างกันออก ใช้เป็นสิ่งสำคัญในการจำแนก ตัวอย่างเสียงร้องของวาฬ วาฬ หรือที่นิยมเรียกกันติดปากว่า "ปลาวาฬ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่อาศัยอยู่แต่เฉพาะในทะเลหรือมหาสมุทร เป็นสัตว์ที่มีรูปร่างคล้ายปลา คือ รูปร่างเพรียวยาว มีครีบและมีหางเหมือนปลา แต่หางของวาฬจะเป็นไปในลักษณะแนวนอน มิใช่แนวตั้งเหมือนปลา วาฬมิใช่ปลา แต่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีสายรก ที่จัดอยู่ในอันดับวาฬและโลมา (Cetacea) บรรพบุรุษของวาฬ เป็นสัตว์กินเนื้อบนบกมี 4 ขา ในยุคพาลีโอจีน เมื่อประมาณ 65 ล้านปีก่อน มีชื่อว่า "มีโซนิก" จากนั้นก็วิวัฒนาการเริ่มใช้ชีวิตแบบสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำภายในเวลาเพียง 10 ล้านปีต่อมาในยุคอีโอซีน หรือเมื่อประมาณ 55 ล้านปีก่อน โดยจากสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำจากนั้นขาหลังก็ค่อยหดและเล็กลงจนต่อมาเมื่อประมาณ 24-26 ล้านปี ก่อนกระดูกและข้อต่อก็หดเล็กลงจนไม่มีโผล่ออกมาให้เห็น แต่ในปัจจุบันกระดูกส่วนของขาหลังก็ยังคงมีอยู่โดยเป็นอวัยวะภายในที่มีขนาดเล็ก และทำหน้าที่เพียงเป็นที่ยึดติดของอวัยวะสืบพันธุ์เท่านั้น วาฬ เป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ นับเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก แม้จะอาศัยอยู่แต่เฉพาะในทะเล มีรูปร่างคล้ายปลา แต่มิใช่ปลา ด้วยเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แม้จะไม่มีขนปกคลุมลำตัวเหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอันดับอื่น ๆ แต่วาฬจะรักษาความอบอุ่นในร่างกายด้วยไขมันในชั้นใต้ผิวหนัง วาฬ เป็นสัตว์ที่หายใจด้วยปอด เหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอันดับอื่น ๆ วาฬสามารถกลั้นหายใจใต้น้ำได้นานนับชั่วโมง (โดยเฉลี่ยประมาณ 20 นาที) ด้วยการเก็บออกซิเจนปริมาณมากไว้ในปอด เมื่อใช้ออกซิเจนหมด วาฬจะขึ้นมาหายใจบนผิวน้ำเพื่อปล่อยลมหายใจออก ซึ่งขณะที่ปล่อยลมหายใจออกนั้นจะมีไอน้ำและฝอยน้ำพ่นออกมาจากอวัยวะพิเศษที่อยู่ตรงส่วนหัวเป็นรูกลม ๆ เหมือนน้ำพุด้วย เพราะวาฬมีกล้ามเนื้อพิเศษปิดรูจมูกไว้แน่นเพื่อกันไม่ให้น้ำเข้าไปจมูกซึ่งเป็นอวัยวะที่ติดต่อกับปอดโดยตรง ส่วนปากนั้นไม่มีทางติดต่อกับปอดและจมูกเลย ทั้งนี้เพื่อจะกันไม่ให้น้ำเข้าสู่ปอดในขณะที่ดำน้ำ ในวาฬขนาดใหญ่อย่าง วาฬสีน้ำเงิน สามารถพ่นน้ำได้สูงถึง 9 เมตร วาฬ อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ลูกของวาฬจะกินนมจากเต้านมของแม่เหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไป เต้านมของวาฬมี 1 คู่ อยู่ในร่องท้องของวาฬตัวเมีย ขณะที่กินนมลูกวาฬจะว่ายน้ำเคียงข้างไปพร้อมกับแม่ จึงจำเป็นต้องใช้เวลาให้น้อยที่สุด โดยเพียงแค่จ่อปากที่หัวนม แม่วาฬจะปล่อยน้ำนมเข้าปากลูก เป็นระยะเวลาสั้น ๆ เพียงแค่ไม่กี่วินาทีเท่านั้น เมื่อลูกวาฬคลอดออกมาใหม่ ๆ จะพุ่งตัวขึ้นผิวน้ำเพื่อหายใจทันที แม่วาฬจะช่วยดันลูกขึ้นสู่ผิวน้ำด้วยส่วนหัว และขณะที่แม่วาฬคลอดลูกนั้น วาฬตัวอื่น ๆ ในฝูง โดยเฉพาะวาฬตัวเมียจะช่วยกันปกป้องแม่และลูกวาฬมิให้ได้รับอันตราย ลูกวาฬเมื่อแรกเกิดจะมีลำตัวประมาณร้อยละ 40 ของแม่วาฬ และในบางชนิดจะมีขนติดตัวมาด้วยในช่วงแนวปากบนเมื่อแรกเกิด และจะหายไปเมื่อโตขึ้น วาฬ เป็นสัตว์ที่มีนัยน์ตาขนาดเล็ก จึงไม่ได้ใช้ประสาทการมองเห็นเท่าใดนัก อีกทั้งระบบประสาทการรับกลิ่นก็ไม่มีประสิทธิภาพที่ดีด้วย หากแต่วาฬจะใช้ระบบการรับฟังเสียงเป็นประสาทสัมผัสเป็นหลัก คล้ายกับระบบโซนาร์ หรือเอคโคโลเคชั่น ที่ส่งคลื่นเสียงไปกระทบกับวัตถุต่าง ๆ แล้วสะท้อนกลับมาสู่ประสาทหูของวาฬเพื่อคำนวณระยะทางและขนาดของวัตถุ นอกจากนี้แล้ววาฬยังใช้เสียงต่าง ๆ ในการติดต่อสื่อสารกันในฝูงและในกลุ่มเดียวกัน สามารถร้องได้ด้วยเสียงต่าง ๆ กันมากมาย มีการศึกษาจากนักวิชาการพบว่า วาฬหลังค่อมสามารถส่งเสียงต่าง ๆ ได้มากถึง 34 ประเภท เหมือนกับการร้องเพลง และก้องกังวาลไปไกลนับเป็นร้อย ๆ กิโลเมตร และอยู่ได้นานถึงชั่วโมง และในการศึกษาวาฬนั้น ผู้ศึกษาจะสังเกตจากครีบหางและรอยแผลต่าง ๆ บนลำตัวซึ่งจะแตกต่างกันออกไปเป็นลักษณะเฉพาะ วาฬ เป็นสัตว์ที่มนุษย์รู้จักและผูกพันมาตั้งแต่สมัยโบราณ ในอดีตเคยมีความเชื่อว่าวาฬเป็นปลา เช่น นักปราชญ์อย่างอริสโตเติล แต่ในปี ค.ศ. 1693 จอห์น เรย์ นักชีววิทยาชาวอังกฤษเป็นนักวิทยาศาสตร์คนแรกที่ตระหนักว่าวาฬเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มิใช่ปลา ด้วยมีการคลอดลูกเป็นตัว และมีระยะเวลาตั้งท้องนานกว่าปี เหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ทั่วไป วาฬเป็นสัตว์ที่มนุษย์นิยมล่าเพื่อนำเนื้อ, หนัง, บาลีน, ฟัน, กระดูก รวมทั้งน้ำมันและไขมันในชั้นผิวหนังในการอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ จนกระทั่งถึงในปี ค.ศ. 1966 ประชากรวาฬลดลงเหลือเพียง 12,000 ตัวเท่านั้น จึงมีกฎหมายและการอนุรักษ์วาฬขึ้นมาอย่างจริงจัง.

ใหม่!!: พิสัยการได้ยินและวาฬ · ดูเพิ่มเติม »

วาฬมีฟัน

ฟันของวาฬสเปิร์ม ซึ่งเป็นวาฬมีฟันที่มีขนาดใหญ่ที่สุด วาฬมีฟัน (Toothed whales) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่ในน้ำทั้งทะเล, น้ำกร่อย และน้ำจืดบ้างบางส่วน เป็นอันดับย่อยของอันดับวาฬและโลมา (Cetacea) ใช้ชื่ออันดับย่อยว่า Odonceti (/โอ-ดอน-โต-เซ-เตส/) วาฬมีฟันนั้นประกอบไปด้วยวาฬและโลมา เป็นสัตว์กินเนื้อ ด้วยการไล่ล่าสัตว์น้ำต่าง ๆ เป็นอาหาร เช่น ปลา รวมถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลบางจำพวก เช่น สิงโตทะเล หรือแมวน้ำ ได้ในบางชนิด ขณะที่บางชนิดกินสัตว์มีเปลือกแข็งอย่าง หอย หรือครัสเตเชียน ได้ด้วย มีขนาดลำตัวเล็กกว่าวาฬไม่มีฟันมาก วาฬมีฟัน บางชนิดมีฟันเพียง 2-3 ซี่ แต่ส่วนมากจะมีฟันแข็งแรงเรียงเป็นแถวทั้งขากรรไกรบนและล่าง โดยวาฬมีฟันที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ วาฬสเปิร์ม ที่มีความยาวได้ถึง 60 ฟุต มีรูปร่างคล้ายลูกอ๊อดขนาดใหญ่ มีหัวเป็นสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่มากที่ภายในมีไขมันและน้ำมันอยู่เป็นจำนวนมาก วาฬสเปิร์มสามารถดำน้ำได้ลึกและกินหมึกเป็นอาหาร โดยเฉพาะอย่างหมึกยักษ์ ขณะที่วาฬมีฟันที่มีขนาดเล็กที่สุด คือ โลมาลาพลาตา อาศัยอยู่ตามแถบชายฝั่ง, ปากแม่น้ำ ของทวีปอเมริกาใต้ฝั่งแอตแลนติก ที่มีความยาวเต็มที่ไม่ถึง 2 เมตร นับเป็นสัตว์ในอันดับนี้ที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลกด้วย วาฬเพชฌฆาต หรือวาฬออร์กา นับเป็นวาฬมีฟันที่มีลำตัวยาวประมาณ 30 ฟุต เป็นวาฬที่มีศักยภาพในการไล่ล่าสูง โดยจะทำการล่าเป็นฝูงและสามัคคีกัน ซึ่งวาฬเพชฌฆาตนอกจากจะล่าปลาขนาดเล็กกินเป็นอาหารด้วยแล้ว ยังอาจจะกินปลาขนาดใหญ่และเป็นอันตรายอย่าง ปลาฉลามขาว รวมถึงสัตว์เลือดอุ่นทะเล เช่น นกทะเล, นกเพนกวิน, แมวน้ำ, สิงโตทะเล หรือแม้แต่วาฬหรือโลมาด้วยกันเป็นอาหารได้ด้วยวาฬและโลมา หน้า 37-42, "สัตว์สวยป่างาม" (ชมรมนิเวศวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล, สิงหาคม 2518) วาฬีมีฟันชนิดหนึ่ง คือ นาร์วาล เป็นวาฬที่อาศัยอยู่เป็นฝูงเฉพาะมหาสมุทรอาร์กติกในแถบขั้วโลกเหนือ มีลักษณะเฉพาะ คือ มีฟันที่แปลก วาฬนาร์วาลจะมีฟัน 2 ซี่เมื่อแรกเกิด แต่นาร์วาลตัวผู้เมื่อเจริญเติบโตขึ้นฟันข้างซ้ายจะยาวไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งกลายเป็นสิ่งที่แหลมยาวเหมือนงาช้างหรือเขาสัตว์ ลักษณะม้วนเป็นเกลียวที่ยาวได้ถึง 3 เมตร (10 ฟุต) เหมือนยูนิคอร์น ในเทพปกรณัมกรีก ซึ่งนาร์วาลจะใช้เขาแหลมนี้ในการเจาะเซาะน้ำแข็งในการว่ายน้ำ รวมถึงใช้ต่อสู้ป้องกันตัวและแย่งชิงตัวเมียด้วย ซึ่งตัวเมียจะมีเขานี้เพียงสั้น ๆ รวมถึงใช้ขุดหาอาหารตามพื้นน้ำเป็นอาหาร ส่วนใหญ่ได้แก่ ปลาลิ้นหมา และครัสเตเชียน และหอยต่าง ๆ มนุษย์จะใช้ประโยชน์จากวาฬมีฟันด้วยการใช้ฟันและเขี้ยวแกะสลักมาแต่โบราณ นับเป็นของหายาก ล้ำค่า ขณะที่เขาของนาร์วาล ในอดีตมีความเชื่อว่าเป็นเขาของยูนิคอร์นจริง ๆ ถือเป็นของล้ำค่าและเป็นเครื่องประดับที่มีร.

ใหม่!!: พิสัยการได้ยินและวาฬมีฟัน · ดูเพิ่มเติม »

วิวัฒนาการ

ในด้านชีววิทยา วิวัฒนาการ (Evolution) คือการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมในประชากรของสิ่งมีชีวิต จากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง วิวัฒนาการเกิดจากกระบวนการหลัก 3 กระบวนการ ได้แก่ ความแปรผัน การสืบพันธุ์ และการคัดเลือก โดยอาศัยยีนเป็นตัวกลางในการส่งผ่านลักษณะทางพันธุกรรม อันเป็นพื้นฐานของการเกิดวิวัฒนาการ ลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นในประชากรเพื่อให้เกิดความแปรผันทางพันธุกรรมเมื่อสิ่งมีชีวิตให้กำเนิดลูกหลานย่อมเกิดลักษณะใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงลักษณะเดิม โดยลักษณะใหม่ที่เกิดขึ้นนี้มีสาเหตุสำคัญ 2 ประการ ประการหนึ่ง เกิดจากกระบวนการกลายพันธุ์ของยีน และอีกประการหนึ่ง เกิดจากการแลกเปลี่ยนยีนระหว่างประชากร และระหว่างสปีชีส์ ในสิ่งมีชีวิตที่มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ สิ่งมีชีวิตใหม่ที่เกิดขึ้นจะผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนยีน อันก่อให้เกิดความแปรผันทางพันธุกรรมที่หลากหลายในสิ่งมีชีวิต วิวัฒนาการเกิดขึ้นเมื่อความแตกต่างทางพันธุกรรมเกิดขึ้น จนเกิดความแตกต่างมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นลักษณะที่แตกต่างกัน กลไกในการเกิดวิวัฒนาการแบ่งได้ 2 กลไก กลไกหนึ่งคือการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection) อันเป็นกระบวนการคัดเลือกสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเหมาะสมที่จะอยู่รอด และสืบพันธุ์จนได้ลักษณะที่เหมาะสมที่สุด และลักษณะที่ไม่เหมาะสมจะเหลือน้อยลง กลไกนี้เกิดขึ้นเพื่อคัดเลือกลักษณะของประชากรที่เกิดประโยชน์ในการสืบพันธุ์สูงสุด เมื่อสิ่งมีชีวิตหลายรุ่นได้ผ่านพ้นไป ก็จะเกิดกระบวนการปรับตัวของสิ่งมีชีวิต เพื่อให้อยู่ในสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม กลไกที่สองในการขับเคลื่อนกระบวนการวิวัฒนาการคือการแปรผันทางพันธุกรรม (genetic drift) อันเป็นกระบวนการอิสระจากการคัดเลือกความถี่ของยีนประชากรแบบสุ่ม การแปรผันทางพันธุกรรมเป็นผลมาจากการอยู่รอด และการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต แม้ว่าการแปรผันทางพันธุกรรมในแต่ละรุ่นนั้นจะเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย แต่ลักษณะเหล่านี้จะสะสมจากรุ่นสู่รุ่น เกิดการเปลี่ยนแปลงทีละเล็กละน้อยในสิ่งมีชีวิต จนกระทั่งเวลาผ่านไปเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในลักษณะของสิ่งมีชีวิต กระบวนการดังกล่าวเมื่อถึงจุดสูงสุดจะทำให้กำเนิดสปีชีส์ชนิดใหม่ แม้กระนั้น ความคล้ายคลึงกันระหว่างสิ่งมีชีวิตมีข้อเสนอที่เป็นที่รู้จักกันดีคือการสืบเชื้อสายจากบรรพบุรุษ (หรือยีนพูลของบรรพบุรุษ) เมื่อผ่านกระบวนการนี้จะก่อให้เกิดความหลากหลายมากขึ้นทีละเล็กละน้อย เอกสารหลักฐานทางชีววิทยาวิวัฒนาการชี้ให้เห็นว่ากระบวนการวิวิฒนาการเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ทฤษฎีอยู่ในช่วงของการทดลอง และพัฒนาในสาเหตดังกล่าว การศึกษาซากฟอสซิล และความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตทำให้นักวิทยาศาสตร์ช่วงกลางคริสศตวรรษที่ 19 ส่วนใหญ่เชื่อว่าสปีชีส์มีการเปลี่ยนแปลงมาตลอดในระยะเวลาที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม กระบวนการที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นปริศนาต่อนักวิทยาศาสตร์ทั่วไป จนกระทั่งปี พ.ศ. 2402 ชาร์ล ดาวิน ตีพิมพ์หนังสือ กำเนิดสปีชีส์ ซึ่งได้อธิบายทฤษฎีวิวัฒนาการโดยกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาต.

ใหม่!!: พิสัยการได้ยินและวิวัฒนาการ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ใหญ่สัตว์ตีนครีบ

ัตว์ตีนครีบ (Pinnipedia) หรือ วงศ์ใหญ่สัตว์ตีนครีบ เป็นวงศ์ใหญ่ที่มีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมทางทะเลที่มีเท้าครีบ วงศ์ใหญ่มีวงศ์อื่น ๆ รองลงมาได้แก่ วงศ์วอลรัส วงศ์แมวน้ำมีหู และ วงศ์แมวน้ำ วงศ์ใหญ่สัตว์ตีนครีบมี 33 สปีชีส์ และมีมากกว่า 50 สปีชีส์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว โดยมีการค้นพบจากหลักฐานของซากดึกดำบรรพ์ สัตว์ตีนครีบจัดอยู่ในอันดับสัตว์กินเนื้อ และสัตว์ในวงศ์อื่นที่มีเชื้อสายใกล้เคียงมากที่สุดคือสัตว์ในวงศ์หมีและวงศ์เพียงพอน (เพียงพอน แรคคูน และ สกังก์).

ใหม่!!: พิสัยการได้ยินและวงศ์ใหญ่สัตว์ตีนครีบ · ดูเพิ่มเติม »

สมอง

มอง thumb สมอง คืออวัยวะสำคัญในสัตว์หลายชนิดตามลักษณะทางกายวิภาค หรือที่เรียกว่า encephalon จัดว่าเป็นส่วนกลางของระบบประสาท คำว่า สมอง นั้นส่วนใหญ่จะเรียกระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์มีกระดูกสันหลัง คำนี้บางทีก็ใช้เรียกอวัยวะในระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอีกด้วย สมองมีหน้าที่ควบคุมและสั่งการการเคลื่อนไหว, พฤติกรรม และภาวะธำรงดุล (homeostasis) เช่น การเต้นของหัวใจ, ความดันโลหิต, สมดุลของเหลวในร่างกาย และอุณหภูมิ เป็นต้น หน้าที่ของสมองยังมีเกี่ยวข้องกับการรู้ (cognition) อารมณ์ ความจำ การเรียนรู้การเคลื่อนไหว (motor learning) และความสามารถอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ สมองประกอบด้วยเซลล์สองชนิด คือ เซลล์ประสาท และเซลล์เกลีย เกลียมีหน้าที่ในการดูแลและปกป้องนิวรอน นิวรอนหรือเซลล์ประสาทเป็นเซลล์หลักที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้าที่เรียกว่า ศักยะงาน (action potential) การติดต่อระหว่างนิวรอนนั้นเกิดขึ้นได้โดยการหลั่งของสารเคมีชนิดต่าง ๆ ที่รวมเรียกว่า สารสื่อประสาท (neurotransmitter) ข้ามบริเวณระหว่างนิวรอนสองตัวที่เรียกว่า ไซแนปส์ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลงต่าง ๆ ก็มีนิวรอนอยู่นับล้านในสมอง สัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่มักจะมีนิวรอนมากกว่าหนึ่งร้อยล้านตัวในสมอง สมองของมนุษย์นั้นมีความพิเศษกว่าสัตว์ตรงที่ว่ามีความซับซ้อนและใหญ่กว่าเมื่อเทียบกับขนาดตัวของมนุษ.

ใหม่!!: พิสัยการได้ยินและสมอง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: พิสัยการได้ยินและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ปีก

ัตว์ปีก หรือ นก (รวมถึง ไก่, เป็ด, ห่าน, ไก่ฟ้า) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้น Aves (คำว่า Aves เป็นภาษาละติน หมายถึง นก) โดยมีลักษณะทั่วไปคือ เป็นสัตว์ทวิบาท เลือดอุ่น ออกลูกเป็นไข่ รยางค์คู่หน้าเปลี่ยนแปลงไปเป็นปีก มีขนนก และมีกระดูกที่กลวงเบา ในปัจจุบันทั่วโลกมีนกอยู่ประมาณ 8,800 ถึง 9,800 ชนิด (ตามการจัดอนุกรมวิธานที่ต่างกัน) ซึ่งนับว่านกเป็นชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีความหลากหลายมากที่สุด ในบรรดาชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหลายที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน ความหลากหลายของนกนับเนื่องไปตั้งแต่ในเรื่องของขนาดตัว สีสัน เสียงร้อง อาหารการกิน และถิ่นที่อยู่อาศัย นกเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญเป็นอันมากทั้งต่อระบบนิเวศและต่อชีวิตมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับนกเป็นไปอย่างแน่นแฟ้น และการเกื้อกูลกันระหว่างนกกับสรรพสิ่งต่างๆ ตามธรรมชาติก็เป็นไปอย่างแนบแน่น ถ้าหากปราศจากนก คงเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการถึงการดำรงอยู่ต่อไปของชีวภาคใบนี้.

ใหม่!!: พิสัยการได้ยินและสัตว์ปีก · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลื้อยคลาน

ัตว์เลื้อยคลาน (reptile) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Reptilia มาจากคำว่า Repera ที่มีความหมายว่า "คลาน" เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่จัดเป็นสัตว์ในกลุ่มแรก ๆ ของโลกที่มีการดำรงชีวิตบนบกอย่างแท้จริง สัตว์เลื้อยคลานในยุคดึกดำบรรพ์ที่รอดชีวิตจากการสูญพันธุ์และยังดำรงชีวิตในปัจจุบัน มีจำนวนมากถึง 7,000 ชนิดชนิดของสัตว์เลื้อยคลาน, สัตววิทยา, บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 364 กระจายอยู่ทั่วโลกทั้งชนิดอาศัยในแหล่งน้ำและบนบก จัดเป็นกลุ่มของสัตว์ที่ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนสภาพร่างกายในการเอาตัวรอดจากเหตุการณ์หินอุกกาบาตพุ่งชนโลกมามากกว่า 100 ล้านปีมาแล้ว ในยุคจูแรสซิกที่อยู่ในมหายุคมีโซโซอิก ซึ่งมีอายุของยุคที่ยาวนานถึง 100 ล้านปี จัดเป็นยุคที่สัตว์เลื้อยคลานมีวิวัฒนาการจนถึงขีดสุด มีสัตว์เลื้อยคลานมากมายหลากหลายขนาด ตั้งแต่กิ้งก่าตัวเล็ก ๆ จนถึงไทรันโนซอรัส เร็กซ์ซึ่งเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ ที่มีจำนวนมากมายครอบครองพื้นที่ทั่วทุกแห่งในโลก ยุคจูแรสซิกจึงถือเป็นยุคของสัตว์เลื้อยคลานอย่างแท้จริง ต่อมาภายหลังเกิดเหตุการณ์อุกกาบาตพุ่งชนโลก ทำให้กลุ่มสัตว์บกที่อาศัยในยุคจูแรสซิก เกิดล้มตายและสูญพันธุ์อย่างกะทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุของการสูญพันธุ์ที่ชัดเจนและแน่นอน.

ใหม่!!: พิสัยการได้ยินและสัตว์เลื้อยคลาน · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมสัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 411 มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.

ใหม่!!: พิสัยการได้ยินและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · ดูเพิ่มเติม »

สิงโตทะเล

งโตทะเล หรือ หมีทะเล (Sea lions, Sea bears) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Otariidae ในอันดับ Pinnipedia หรือแมวน้ำ จัดเป็นแมวน้ำมีหูจำพวกหนึ่ง พบกระจายพันธุ์ตามชายฝั่งทะเลทั่วโลก ตั้งแต่ทะเลเขตหนาวแถบขั้วโลกเหนือหรืออาร์กติก และเขตร้อนหรือเขตอบอุ่นในทวีปแอฟริกาหรืออเมริกาใต้ หรือบริเวณเส้นศูนย์สูตร เช่น เกาะกาลาปากอส สิงโตทะเล มีลักษณะแตกต่างจากแมวน้ำ คือ มีใบหูขนาดเล็กที่ข้างหัวทั้งสองข้าง สามารถใช้ครีบทั้งสี่ข้างนั้นคืบคลานไปมาบนบกได้อย่างคล่องแคล่วเหมือนเดิน ต่างจากแมวน้ำที่ไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ เมื่ออยู่บนบกครีบของแมวน้ำใช้ได้เพียงแค่คืบคลานหรือกระเถิบตัวเพื่อให้เคลื่อนที่เท่านั้น สิงโตทะเลโดยทั่วไปมีอายุโดยเฉลี่ย 20–30 ปี อาหารหลัก คือ ปลาและปลาหมึก มีลักษณะและขนาดแตกต่างกันไปตามชนิดในแต่ละภูมิภาค โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ สิงโตทะเลสเตลลาร์ (Eumetopias jubatus) ที่ตัวผู้อาจยาวได้ถึง 3 เมตร น้ำหนักประมาณ 1,000 กิโลกรัม สิงโตทะเลชนิดที่พบได้บ่อย คือ สิงโตทะเลแคลิฟอร์เนีย (Zalophus californianus) ตัวผู้มีความยาว 2.41 เมตร เมื่อโตเต็มที่ น้ำหนัก 300 กิโลกรัม.

ใหม่!!: พิสัยการได้ยินและสิงโตทะเล · ดูเพิ่มเติม »

สถาบันมาตรฐานแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา

สถาบันมาตรฐานแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา หรือ แอนซี (American National Standard Institute - ANSI) คือองค์กรในสหรัฐอเมริกา มีหน้าที่กำหนดมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918) โดยใช้ชื่อว่า American Engineering Standards Committee และได้มีการปรับปรุงในปี พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1928) โดยเปลี่ยนชื่อเป็น American Standards Association ในปี พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) ได้มีการจัดตั้งองค์กรนานาชาติขึ้นมา โดยมีประเทศ 25 ประเทศเข้าร่วม และสุดท้ายในปี พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น American National Standard Institute หรือ ANSI ในปัจจุบัน หมวดหมู่:องค์การมาตรฐาน.

ใหม่!!: พิสัยการได้ยินและสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา · ดูเพิ่มเติม »

หมา

หมา หรือคำสุภาพว่า สุนัข (ชื่อวิทยาศาสตร์: malie suimak หรือ Canis familiaris)Wang, Xiaoming; Tedford, Richard H.; Dogs: Their Fossil Relatives and Evolutionary History.

ใหม่!!: พิสัยการได้ยินและหมา · ดูเพิ่มเติม »

หู

หู เป็นอวัยวะของสัตว์ที่ใช้การดักคลื่นเสียง เป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทการได้ยิน สัตว์แต่ละประเภทจะมีตำแหน่งหูที่แตกต่างกันออกไป.

ใหม่!!: พิสัยการได้ยินและหู · ดูเพิ่มเติม »

หูชั้นกลาง

หูชั้นกลาง (middle ear, auris media) คือหูส่วนที่อยู่หลังแก้วหู แต่ก่อนช่องรูปไข่ (oval window) ของหูชั้นใน ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หูชั้นกลางจะมีกระดูกหู (ossicles) เล็ก ๆ 3 ท่อน ซึ่งถ่ายโอนแรงสั่นที่แก้วหูไปเป็นคลื่นภายในหูชั้นใน ช่องในหูชั้นกลางเรียกว่า โพรงหูส่วนกลาง (tympanic cavity) โดยมีท่อยูสเตเชียน เชื่อมกับคอหอยส่วนจมูก (nasopharynx) ท่อยูสเตเชียนจะช่วยรักษาดุลความดันระหว่างหูชั้นกลางและคอ หน้าที่หลักของหูชั้นกลางก็คือถ่ายโอนพลังงานเสียงจากคลื่นในอากาศไปเป็นคลื่นในน้ำและในเยื่อของหูชั้นในรูปหอยโข่ง (คอเคลีย).

ใหม่!!: พิสัยการได้ยินและหูชั้นกลาง · ดูเพิ่มเติม »

หูชั้นในรูปหอยโข่ง

หูชั้นในรูปหอยโข่ง หรือ อวัยวะรูปหอยโข่ง หรือ คอเคลีย (cochlea,, จาก κοχλίας, kōhlias, แปลว่า หมุนเป็นวงก้นหอย หรือเปลือกหอยทาก) เป็นอวัยวะรับเสียงในหูชั้นใน เป็นช่องกลวงมีรูปร่างเป็นก้นหอยโข่งอยู่ในกระดูกห้องหูชั้นใน (bony labyrinth) โดยในมนุษย์จะหมุน 2.5 ครั้งรอบ ๆ แกนที่เรียกว่า modiolus และมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 9 มม.

ใหม่!!: พิสัยการได้ยินและหูชั้นในรูปหอยโข่ง · ดูเพิ่มเติม »

หูฟัง

หูฟัง (headphone) เป็นอุปกรณ์เครื่องเสียงชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในประเภทอุปกรณ์แสดงผลข้อมูลในรูปแบบเสียง โดยมีหน้าที่คล้ายกับลำโพง ประกอบด้วยตัวหูฟัง จะได้ยินเสียงเมื่อนำไปครอบกับหู และไมโครโฟนขนาดเล็กในตัวสำหรับใช้สำหรับติดต่อสื่อสารเพื่อการพูดได้ เช่นทางโทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น รวมถึงใช้เป็นสิ่งบันเทิงในการฟังเพลงเล่นวิดีโอเกมส์ ปรับให้เข้ากับกระบวนการทำงานต่าง ๆ ที่ต้องใช้เสียง สามารถพกพาไปในสถานที่ต่าง ๆ ได้เพราะมีน้ำหนัก.

ใหม่!!: พิสัยการได้ยินและหูฟัง · ดูเพิ่มเติม »

หนูหริ่ง

ระวังสับสนกับสัตว์กินเนื้อขนาดใหญ่กว่า: หมูหริ่ง บุคคลดูที่: สมบัติ บุญงามอนงค์ หนูหริ่ง เป็นสกุลของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กสกุลหนึ่ง ในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) ในวงศ์ Murinae ในวงศ์ใหญ่ Muridae ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mus หนูหริ่งเป็นหนูที่มีขนาดเล็ก มีรูปร่างทั่วไปคล้ายกับหนูในสกุล Rattus แต่ก็ยังมีขนาดเล็กกว่า แม้แต่หนูจี๊ด (R. exulans) ซึ่งเป็นหนูที่มีขนาดเล็กที่สุดในสกุล หนูหริ่งก็ยังเล็กกว่า ตัวเมียเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 1–1.5 เดือน ขณะที่ตัวผู้ 1–2 เดือน หนูหริ่งเป็นหนูอีกจำพวกหนึ่งที่สามารถพบได้ทั่วไปทั้งในบ้านเรือนและในพื้นที่เกษตรกรรมด้วย ถือเป็นหนูนา ที่เป็นศัตรูพืชที่สำคัญอีกจำพวกหนึ่งรวมกับหนูในสกุลอื่น หนูหริ่งชนิดที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี คือ หนูหริ่งบ้าน (M. musculus) ซึ่งเป็นหนูอีกชนิดหนึ่งที่พบได้ทั่วไปในบ้านเรือน ซึ่งเป็นชนิดที่นิยมนำมาเป็นสัตว์ทดลองในทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์ และได้มีการพัฒนาสายพันธุ์จนกลายมาเป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลิน ในแบบที่เป็นหนูเผือกทั้งตัว หรือมีสีสันที่หลากหลายในตัวเดียว เรียกว่า "หนูถีบจักร" หรือ "หนูขาว" โดยเริ่มครั้งแรกมาจากพระราชวังในจีนและญี่ปุ่น นอกจากนี้แล้ว หนูมาซิโดเนีย (M. macedonicus) ที่แพร่กระจายพันธุ์ในภูมิภาคเมเตอร์เรเนียนและประเทศในแถบตะวันออกกลางที่ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ยังเป็นสัตว์รังควานที่รบกวนมนุษย์มานานแล้วถึง 15,000 ปี ซึ่งเป็นยุคก่อนประวัติศาสตร์ เป็นยุคก่อนที่มนุษย์จะรู้จักการเพาะปลูกเสียอีก โดยเข้ามาหาอาหารถึงในชุมชนมนุษย์ โดยมีหลักฐานเป็นฟอสซิลฟันของหนูชนิดนี้นับพันตัว ปัจจุบันได้มีการอนุกรมวิธานหนูหริ่งไว้ประมาณ 38 ชนิด ในประเทศไทยพบทั้งหมด 6 ชนิด นอกจากหนูหริ่งบ้านแล้ว ยังมี หนูหริ่งใหญ่ (M. cookii), หนูหริ่งนาหางสั้น (M. cervicolor), หนูหริ่งนาหางยาว (M. caroli), หนูหริ่งป่าใหญ่ขนเสี้ยน (M. shotridgei) และหนูหริ่งป่าเล็กขนเสี้ยน (M. pahari).

ใหม่!!: พิสัยการได้ยินและหนูหริ่ง · ดูเพิ่มเติม »

อันดับวานร

อันดับวานร หรือ อันดับไพรเมต (Primate) เป็นอันดับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม อันได้แก่ สัตว์จำพวกลีเมอร์, ลิง และลิงไม่มีหาง ซึ่งรวมถึงมนุษย์ด้วย มีชื่อสามัญเรียกกันโดยทั่วไปว่า ไพรเมต จึงกล่าวได้ว่าสามารถพบไพรเมตได้ทั่วโลก โดยไพรเมตที่ไม่ใช่มนุษย์ ส่วนใหญ่จะอยู่ในแอฟริกา, ตอนล่างของทวีปเอเชีย, อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ แต่จะพบไพรเมตอยู่เพียงไม่กี่ชนิดในแถบตอนเหนือของทวีปเอเชีย จนถึงตอนเหนือของญี่ปุ่น หรือตอนเหนือของอเมริกา และเม็กซิโก โดยที่ไม่พบในทวีปยุโรป และทวีปออสเตรเลีย โดยใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Primates.

ใหม่!!: พิสัยการได้ยินและอันดับวานร · ดูเพิ่มเติม »

อันดับสัตว์ฟันแทะ

อันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodent, ชื่อวิทยาศาสตร์: Rodentia) เป็นอันดับในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมอันดับหนึ่ง ที่มีความหลากหลายมาก ใช้ชื่ออันดับว่า Rodentia ลักษณะโดยรวมของสัตว์ในอันดับนี้ คือ มีฟันหน้าในขากรรไกรบน 2 ซี่ และขากรรไกรล่าง 2 ซี่ ลักษณะของฟันหน้ามีรูปร่างคล้ายสิ่ว มีความแข็งแรงมาก ใช้สำหรับกัด ขุด และแทะอาหาร ไม่มีฟันเขี้ยว ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างฟันหน้าและฟันหน้ากราม ผิวเคลือบทางด้านนอกของฟันหน้าเป็นอีนาเมล จึงทำให้ฟันแข็งแรง นอกจากนี้ฟันหน้าของสัตว์ในอันดับนี้ยังเป็นรูทเลสส์ โดยที่ฟันจะไม่หยุดการเจริญเติบโต เฉลี่ย 12 เซนติเมตรครึ่งต่อปี เนื่องจากมีเลือดมาหล่อเลี้ยงฟันตลอดเวลา จึงต้องแทะฟันเสมอ ๆเพื่อให้ฟันสึกกร่อน มิฉะนั้นฟันจะทะลุออกมานอกปาก ทำให้การหุบปากและการกินอาหารลำบากทำให้อดตายได้ รูปร่างลักษณะภายนอกของสัตว์ในอันดับนี้แตกต่างกัน รวมทั้งแหล่งอาศัย บางจำพวกก็อาศัยอยู่บนต้นไม้ ขุดรูอยู่ใต้ดินหรือบนดิน เช่นเดียวกับชนิดของอาหาร ซึ่งอาจจะเป็นผลไม้เปลือกแข็ง, เมล็ดไม้, รากไม้ หรือกินทุกสิ่งทุกอย่างทั้งพืชและเนื้อสัตว์ ซึ่งสัตว์ในอันดับนี้ที่มนุษย์รู้จักกันเป็นอย่างดี ได้แก่ หนู, กระรอก, เม่น, บีเวอร์ เป็นต้น พบกระจายพันธุ์ไปในทุกพื้นที่ทั่วโลก ในภูมิประเทศที่หลากหลาย ขณะที่กระต่าย, กระแตและตุ่นหรือหนูผี หรือชูการ์ไกลเดอร์ แม้จะมีรูปลักษณะภายนอกคล้ายคลึงกัน แต่ถูกจัดออกมาเป็นอันดับต่างหาก สัตว์ในอันดับนี้ที่มีขนาดเล็กที่สุด คือ หนูจิ๋วแอฟริกัน (Mus minutoides) พบในทวีปแอฟริกา ที่มีขนาดใหญ่เต็มที่จากส่วนหัวจรดปลายหาง 30-80 มิลลิเมตร (1.2-3.1 นิ้ว) ความยาวหาง 20-40 มิลลิเมตร (0.79-1.6 นิ้ว) น้ำหนักประมาณ 3-12 กรัม (0.11-0.42 ออนซ์) และที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ คาปิบารา (Hydrochoerus hydrochaeris) พบในอเมริกาใต้ ที่มีน้ำหนักได้มากถึง 65 กิโลกรัม และมีรายงานว่าพบมากถึง 91 กิโลกรัม.

ใหม่!!: พิสัยการได้ยินและอันดับสัตว์ฟันแทะ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาหนัง

อันดับปลาหนัง หรือ ตระกูลปลาหนัง (Catfish) เป็นอันดับทางอนุกรมวิธานของปลากระดูกแข็งอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Siluriformes (/ซิ-ลู-ริ-ฟอร์-เมส/) อันดับปลาหนังเป็นอันดับที่มีจำนวนปลามากถึง 35 วงศ์ และ 2,867 ชนิด ซึ่งประกอบไปด้วยปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เช่น ปลาดุก, ปลาสวาย, ปลาบึก, ปลาเนื้ออ่อน, ปลาก.

ใหม่!!: พิสัยการได้ยินและอันดับปลาหนัง · ดูเพิ่มเติม »

อุณหภูมิ

อุณหภูมิของก๊าซอุดมคติอะตอมเดี่ยวสัมพันธ์กับค่าเฉลี่ยพลังงานจลน์ของอะตอม อุณหภูมิ คือการวัดค่าเฉลี่ยของพลังงานจลน์ของอนุภาคในสสารใดๆ ซึ่งสอดคล้องกับความร้อนหรือเย็นของสสารนั้น ในอดีตมีแนวคิดเกี่ยวกับอุณหภูมิเกิดขึ้นเป็น 2 แนวทาง คือตามแนวทางของหลักอุณหพลศาสตร์ และตามการอธิบายเชิงจุลภาคทางฟิสิกส์เชิงสถิติ แนวคิดทางอุณหพลศาสตร์นั้น ถูกพัฒนาขึ้นโดยลอร์ดเคลวิน โดยเกี่ยวข้องกับการวัดในเชิงมหภาค ดังนั้นคำจำกัดความอุณหภูมิในเชิงอุณหพลศาสตร์ในเบื้องแรก จึงระบุเกี่ยวกับค่าตัวแปรต่างๆ ที่สามารถตรวจวัดได้จากการสังเกต ส่วนแนวทางของฟิสิกส์เชิงสถิติจะให้ความเข้าใจในเชิงลึกยิ่งกว่าอุณหพลศาสตร์ โดยอธิบายถึงการสะสมจำนวนอนุภาคขนาดใหญ่ และตีความพารามิเตอร์ต่างๆ ในอุณหพลศาสตร์ (เชิงมหภาค) ในฐานะค่าเฉลี่ยทางสถิติของพารามิเตอร์ของอนุภาคในเชิงจุลภาค ในการศึกษาฟิสิกส์เชิงสถิติ สามารถตีความคำนิยามอุณหภูมิในอุณหพลศาสตร์ว่า เป็นการวัดพลังงานเฉลี่ยของอนุภาคในแต่ละองศาอิสระในระบบอุณหพลศาสตร์ โดยที่อุณหภูมินั้นสามารถมองเป็นคุณสมบัติเชิงสถิติ ดังนั้นระบบจึงต้องประกอบด้วยปริมาณอนุภาคจำนวนมากเพื่อจะสามารถบ่งบอกค่าอุณหภูมิอันมีความหมายที่นำไปใช้ประโยชน์ได้ ในของแข็ง พลังงานนี้พบในการสั่นไหวของอะตอมของสสารในสภาวะสมดุล ในแก๊สอุดมคติ พลังงานนี้พบในการเคลื่อนไหวไปมาของอนุภาคโมเลกุลของแก.

ใหม่!!: พิสัยการได้ยินและอุณหภูมิ · ดูเพิ่มเติม »

ความยาวคลื่น

ซน์ ความยาวคลื่นมีค่าเท่ากับระยะห่างระหว่างยอดคลื่น ความยาวคลื่น คือระยะทางระหว่างส่วนที่ซ้ำกันของคลื่น สัญลักษณ์แทนความยาวคลื่นที่ใช้กันทั่วไปคือ อักษรกรีก แลมบ์ดา (λ).

ใหม่!!: พิสัยการได้ยินและความยาวคลื่น · ดูเพิ่มเติม »

ค้างคาว

้างคาว จัดอยู่ในชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีลำตัวขนาดเล็กมีปีกบินได้ ค้างคาวเป็นอันดับใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โดยมีค้างคาวกว่า 1,100 สปีชีส์ หมายความว่า กว่า 20% ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเป็นค้างคาว.

ใหม่!!: พิสัยการได้ยินและค้างคาว · ดูเพิ่มเติม »

ประสาทสัมผัส

ประสาทสัมผัส (Sense)"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑" ให้ความหมายของ sense ว่า ความรู้สึก, การรับรู้, การกำหนดรู้, ประสาทสัมผัส เป็นสมรรถภาพในสรีระของสิ่งมีชีวิตที่ให้ข้อมูลเพื่อให้เกิดการรับรู้ (perception) มีการศึกษาประเด็นเกี่ยวกับการทำงาน การจำแนกประเภท และทฤษฎีของประสาทสัมผัส ในวิชาหลายสาขา โดยเฉพาะในวิทยาศาสตร์ประสาท จิตวิทยาปริชาน (หรือประชานศาสตร์) และปรัชญาแห่งการรับรู้ (philosophy of perception) ระบบประสาทของสัตว์นั้นมีระบบรับความรู้สึกหรืออวัยวะรับความรู้สึก สำหรับความรู้สึกแต่ละอย่าง มนุษย์เองก็มีประสาทสัมผัสหลายอย่าง การเห็น การได้ยิน การลิ้มรส การได้กลิ่น การถูกต้องสัมผัส เป็นประสาทสัมผัสห้าทางที่รู้จักกันมาตั้งแต่โบราณ แต่ว่า ความสามารถในการตรวจจับตัวกระตุ้นอื่น ๆ นอกเหนือจากนั้นก็ยังมีอยู่ รวมทั้ง อุณหภูมิ ความรู้สึกเกี่ยวกับเคลื่อนไหว (proprioception) ความเจ็บปวด (nociception) ความรู้สึกเกี่ยวกับการทรงตัว และความรู้สึกเกี่ยวกับตัวกระตุ้นภายในต่าง ๆ (เช่นมีเซลล์รับความรู้สึกเชิงเคมี คือ chemoreceptor ที่ตรวจจับระดับความเข้มข้นของเกลือและคาร์บอนไดออกไซด์ ที่อยู่ในเลือด) และความสามารถต่าง ๆ เหล่านี้สามารถเรียกว่าเป็นประสาทสัมผัสโดยต่างหากได้เพียงไม่กี่อย่าง เพราะว่า ประเด็นว่า อะไรเรียกว่า ประสาทสัมผัส (sense) ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ ทำให้ยากที่จะนิยามความหมายของคำว่า ประสาทสัมผัส อย่างแม่นยำ สัตว์ต่าง ๆ มีตัวรับความรู้สึกเพื่อที่จะสัมผัสโลกรอบ ๆ ตัว มีระดับความสามารถที่ต่าง ๆ กันไปแล้วแต่สปีชีส์ เมื่อเทียบกันแล้ว มนุษย์มีประสาทสัมผัสทางจมูกที่ไม่ดี และสัตว์เหล่าอื่นก็อาจจะไม่มีประสาทสัมผัส 5 ทางที่กล่าวถึงไปแล้วอย่างใดอย่างหนึ่ง สัตว์บางอย่างอาจจะรับข้อมูลเกี่ยวกับตัวกระตุ้นและแปลผลข้อมูลเหล่านั้นต่างไปจากมนุษย์ และสัตว์บางชนิดก็สามารถสัมผัสโลกโดยวิธีที่มนุษย์ไม่สามารถ เช่นมีสัตว์บางชนิดสามารถสัมผัสสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก สามารถสัมผัสแรงดันน้ำและกระแสน้ำ.

ใหม่!!: พิสัยการได้ยินและประสาทสัมผัส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศมาดากัสการ์

มาดากัสการ์ (Madagascar; Madagasikara) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐมาดากัสการ์ (République de Madagascar; Repoblikan'i Madagasikara) คือชาติเกาะในมหาสมุทรอินเดีย ตั้งอยู่นอกชายฝั่งทางตะวันออกของแอฟริกา ใกล้กับโมซัมบิก เกาะมาดากัสการ์ที่เป็นเกาะหลักเป็นเกาะใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก เป็นถิ่นของสายพันธุ์พืชและสัตว์ถึงร้อยละ 5 ของโลก และมีมากกว่าร้อยละ 80 ที่เป็นสัตว์หรือพืชเฉพาะถิ่นมาดากัสการ์ ที่เด่นคือตัวลีเมอร์ซึ่งอยู่ในตระกูลไพรเมต ตัวฟอสซา (fossa) ซึ่งกินเนื้อ นกเฉพาะถิ่น 3 ตระกูล และต้นบาวบับ (baobab) 6 ชนิด ภาษาหลักคือภาษามาลากาซี สมดุลทางธรรมชาติของมาดากัสการ์ถูกคุกคาม เนื่องจากป่าส่วนใหญ่เสียหาย และลีเมอร์ได้สูญพันธุ์ถึง 15 สายพัน.

ใหม่!!: พิสัยการได้ยินและประเทศมาดากัสการ์ · ดูเพิ่มเติม »

ปรากฏการณ์ดอปเพลอร์

แหล่งกำเนิดคลื่นกำลังเคลื่อนที่ไปทางซ้าย ความถี่ของคลื่นทางด้านซ้ายจึงสูงกว่าทางด้านขวา ปรากฏการณ์ดอปเพลอร์ (Doppler Effect) หรือบางครั้งเรียกว่า การเคลื่อนดอปเพลอร์ (Doppler shift) เป็นปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์อย่างหนึ่งที่ตั้งชื่อตาม คริสเตียน ดอปเพลอร์ เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงความถี่ของคลื่นและความยาวคลื่นในมุมมองของผู้สังเกตเมื่อมีการเคลื่อนที่ที่สัมพันธ์กับแหล่งกำเนิดคลื่นนั้น พบเห็นได้ทั่วไปในชีวิตประจำวันเช่น เมื่อมีรถพยาบาลส่งสัญญาณไซเรนเคลื่อนเข้าใกล้ ผ่านตัวเรา และวิ่งห่างออกไป คลื่นเสียงที่เราได้ยินจะมีความถี่สูงขึ้น (กว่าคลื่นที่ส่งออกมาตามปกติ) ขณะที่รถเคลื่อนเข้ามาหา คลื่นเสียงมีลักษณะปกติขณะที่รถผ่านตัว และจะมีความถี่ลดลงเมื่อรถวิ่งห่างออกไป คลื่นที่มีการแพร่โดยต้องอาศัยตัวกลาง เช่นคลื่นเสียง ความเร็วของผู้สังเกตกับความเร็วของแหล่งกำเนิดคลื่นจะมีความสัมพันธ์กับตัวกลางที่คลื่นนั้นแพร่ผ่าน ปรากฏการณ์ดอปเพลอร์โดยรวมจะเป็นผลจากทั้งการเคลื่อนที่ของแหล่งกำเนิด การเคลื่อนที่ของผู้สังเกต และการเคลื่อนที่ของตัวกลางด้วย ปรากฏการณ์ในแต่ละส่วนสามารถวิเคราะห์ได้โดยแยกจากกัน ส่วนคลื่นที่ไม่จำเป็นต้องอาศัยตัวกลางเช่นคลื่นแสงหรือแรงโน้มถ่วงในทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ จะสนใจเฉพาะความเร็วสัมพันธ์ที่แตกต่างกันระหว่างผู้สังเกตกับแหล่งกำเนิดเท่านั้น การเปลี่ยนความถี่ของเสียงที่ผู้ฟังได้ยินจะขึ้นอยู่กับความเร็วของแหล่งกำเนิด การเปลี่ยนความถี่ของเสียงที่ผู้ฟังได้ยินจะขึ้นอยู่กับความเร็วของแหล่งกำเนิด Vs (s ย่อมาจากSource) และความเร็วของผู้ฟังVL (L ย่อมาจาก Listener) โดยทั่วไปทั้งผู้ฟังและแหล่งกำเนิดอาจจะเคลื่อนที่ได้ ดังนั้นในการวิเคราะห์จึงไม่เหมาะสมที่จะใช้ผู้ฟังหรือแหล่งกำเนิดเป็นกรอบอ้างอิง ในที่นี่จึงใช้ตัวกลางที่เสียงเคลื่อนที่เป็นการอ้างอิง ซึ่งจะทำให้อัตราเร็วเสียงคงตัวเสมอ ไม่ขึ้นอยู่กับความเร็วของแหล่งกำเนิดหรือผู้ฟัง ในส่วนของของความเร็ซของแหล่งกำเนิด VS และความเร็วของผู้ฟัง VL จะวัดเทียบตัวกลางของคลื่นเสียงด้วย และเนื่องจากการศึกษาปรากฎการณ์คอปเพลอร์ในที่นี้เป็นเป็นเพียงการศึกษาในเบื้องต้น ดังนั้นจะพิจารณาเฉพาะกรณีที่ความเร็วของแหล่งกำเนิดและผู้ฟังอยู่บนเส้นตรงที่เชื่อมระหว่างแหล่งกำเนิดกับผู้ฟังเท่านั้น (การเคลื่อนที่ 1 มิติ).

ใหม่!!: พิสัยการได้ยินและปรากฏการณ์ดอปเพลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลา

ปลา (อังกฤษ: Fish) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำ เป็นสัตว์เลือดเย็น หายใจด้วยเหงือกและมีกระดูกสันหลัง สามารถเคลื่อนไหวไปมาด้วยครีบและกล้ามเนื้อของลำตัว บางชนิดมีเกล็ดปกคลุมทั่วตัว บางชนิดไม่มีเกล็ดแต่ปกคลุมด้วยเมือกลื่น ๆ หรือแผ่นกระดูก มีหัวใจสองห้องและมีขากรรไกร สัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำบางประเภท ถูกเรียกติดปากว่าปลาเช่นเดียวกันเช่น ปลาดาว, โลมา, วาฬและหมึก ซึ่งสัตว์ทั้งหมดนี้ก็มีแหล่งอาศัยอยู่ในน้ำด้วยกันทั้งสิ้น แต่ไม่ได้จัดอยู่ในจำพวกเดียวกันกับปลา ด้วยลักษณะทางกายวิภาคและสรีรวิทยาที่แตกต่างกันเช่น ปลาดาวเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังเช่นเดียวกับปลา มีโครงสร้างที่เป็นหินปูน โลมาและวาฬถูกจัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่สามารถหายใจได้ทางปอดไม่ใช่ทางเหงือก และปลาหมึกจัดเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง แต่ถูกจัดรวมอยู่กับสัตว์ประเภทเดียวกันกับหอ.

ใหม่!!: พิสัยการได้ยินและปลา · ดูเพิ่มเติม »

ปลาทอง

ปลาทอง หรือ ปลาเงินปลาทอง (goldfish) เป็นปลาน้ำจืด อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนและญี่ปุ่น เดิมใช้บริโภค ต่อมาถูกพัฒนาสายพันธุ์มาไม่ต่ำกว่า 2,000 ปี จนกลายเป็นปลาสวยงามในปัจจุบัน.

ใหม่!!: พิสัยการได้ยินและปลาทอง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาทูน่า

ปลาทูน่า หรือ ปลาโอ (tuna; マグロ) เป็นปลาทะเลกลุ่มหนึ่ง ในเผ่า Thunnini วงศ์ Scombridae โดยเฉพาะในสกุล Thunnus จัดเป็นปลาเศรษฐกิจที่มีความสำคัญมาก เนื้อของปลาทูน่าจะมีสีชมพูหรือแดงเข้ม ต่างจากปลาทั่วไปที่มักจะมีเนื้อสีขาว นิยมเอามาทำเป็นปลากระป๋อง หรือปรุงสดต่าง ๆ เช่น ซาชิมิ ปลาทูน่า มีลักษณะรวม คือ อาศัยอยู่เป็นฝูงในทะเลหรือมหาสมุทรห่างจากชายฝั่ง มีรูปร่างเพรียวคล้ายกระสวย บริเวณฐานครีบหูมีกลุ่มเกล็ดเล็ก ๆ ครีบหางเว้าลึก เป็นปลาที่ว่ายน้ำได้รวดเร็วว่องไวมาก.

ใหม่!!: พิสัยการได้ยินและปลาทูน่า · ดูเพิ่มเติม »

ปาสกาล (หน่วยวัด)

ปาสคาล หรือ พาสคาล (pascal สัญลักษณ์ Pa) เป็นหน่วยอนุพันธ์เอสไอ ใช้วัดความดัน ความดันภายใน ความเค้น ค่ามอดูลัสของยัง และความทนแรงดึงสูงสุด นิยามค่าเท่ากับหนึ่งนิวตันต่อตารางเมตร ชื่อหน่วยตั้งตามผู้รู้รอบด้านชาวฝรั่งเศส แบลซ ปัสกาล พหุคูณของหน่วยปาสคาลที่พบทั่วไปคือ เฮกโตปาสคาล (1 hPa ≡ 100 Pa) เท่ากับ 1 มิลลิบาร์ กิโลปาสคาล (1 kPa ≡ 1000 Pa) เมกะปาสคาล (1 MPa ≡ 1,000,000 Pa) และจิกะปาสคาล (1 GPa ≡ 1,000,000,000 Pa) หน่วยวัดที่เป็นบรรยากาศมาตรฐาน (atm) นิยามไว้ที่ 101.325 กิโลปาสคาล และประมาณเท่ากับความดันเฉลี่ยที่ระดับน้ำทะเลที่ 45 องศาเหนือ รายงานอุตุนิยมวิทยาหลายรายงานกล่าวถึงความกดอากาศในหน่วยเฮกโตปาสคาล.

ใหม่!!: พิสัยการได้ยินและปาสกาล (หน่วยวัด) · ดูเพิ่มเติม »

นกหวีด

นกหวีด "Acme Thunderer" (ซ้าย) และนกหวีด "Metropolitan" (ขวา) ที่ใช้งานโดยตำรวจอังกฤษ นกหวีด "Fox 40" ที่ผู้ตัดสินกีฬาใช้กันอยู่ในปัจจุบัน นกหวีด (whistle หรือ call) เป็นเครื่องเป่าลม ที่สร้างเสียงจากการไหลของอากาศ โดยทำให้เกิดลมเคลื่อนผ่านส่วนที่มีลักษณะเป็นใบแคบๆ (ฟิบเปิล, fipple) ทำให้เกิดเป็นลมหมุนวนจนกระทั่งอากาศสั่นสะเทือนกลายเป็นคลื่นเสียง โพสต์ทูเดย์ 5 พฤศจิกายน 2556 เครื่องมือส่งเสียงในลักษณะเดียวกับนกหวีด มีมาตั้งแต่สมัยคริสต์สตวรรษที่สาม ทหารยามจีนโบราณใช้การเป่าลมผ่านส่วนบนของเปลือกผลโอค ส่งเสียงแจ้งเตือนการโจมตีของข้าศึกชาวมองโกล ส่วนชาวอียิปต์โบราณ ใช้ใบพาไพรัสสองใบประกบกันด้วยฝ่ามือ เป่าให้เกิดเสียงดัง นกหวีดที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน ถือกำเนิดขึ้นโดยโจเซฟ และเจมส์ ฮัดสัน ชาวเมืองเบอร์มิงแฮม ได้ประดิษฐ์นกหวีดทำด้วยทองเหลือง มีชื่อว่า "Acme City" ซึ่งได้ใช้โดยผู้ตัดสินในการแข่งขันฟุตบอลเอฟเอคัพระหว่างนอตทิงแฮมฟอเรสต์กับเชฟฟิลด์ เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 1878 แทนการใช้ผ้าเช็ดหน้าที่ใช้มาแต่เดิม ต่อมาโจเซฟ ฮัดสันได้ค้นพบโดยบังเอิญว่า ถ้าบรรจุเมล็ดถั่วเล็กๆ ลงไป จะทำให้นกหวีดส่งเสียงดังไปได้ไกลกว่าเดิมมาก จึงเป็นต้นกำเนิดของนกหวีด "Acme Thunderer" ใช้ไม้คอร์กกลมช่วยให้เกิดเสียงดัง ที่ใช้งานโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจอังกฤษ และกลายเป็นนกหวีดที่มีการใช้งานมากที่สุดจนถึงปัจจุบัน ในการแข่งขันกีฬา ปัจจุบันนิยมใช้นกหวีด "Fox 40" ที่ประดิษฐ์โดย รอน ฟ็อกครอฟต์ ชาวแคนาดา ในปี 1987 เป็นนกหวีดที่ไม่มีการใช้ลูกไม้คอร์ก และแก้ปัญหาข้อผิดพลาดจากการชำรุดของนกหวีดแบบเดิม.

ใหม่!!: พิสัยการได้ยินและนกหวีด · ดูเพิ่มเติม »

นกเค้า

นกเค้า หรือ นกเค้าแมว หรือ นกฮูก (Owl) เป็นนกที่อยู่ในอันดับ Strigiformes มีรูปใบหน้าคล้ายแมว อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ จับสัตว์เล็ก ๆ กินเป็นอาหาร เช่น หนู, งู หรือสัตว์เลื้อยคลานหรือสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเล็ก ๆ ในขณะที่บางชนิดที่มีขนาดใหญ่อาจจับปลา หรือปูกินได้ด้วย จัดเป็นนกล่าเหยื่อจำพวกหนึ่งเหมือนเหยี่ยว, อินทรี และแร้ง ที่หากินในเวลากลางวัน ส่วนนกเค้าแมวนั้นมักหากินในเวลากลางคืน ทำให้มีเล็บโค้งแหลมและมีปากงุ้มแหลมสำหรับจับสัตว์กิน เหตุที่หากินในเวลากลางคืน เป็นเพราะนกเค้าแมวเป็นนกที่ไม่อาจสู้กับนกล่าเหยื่อในเวลากลางวัน อย่าง เหยี่ยวหรืออินทรีได้ อีกทั้งบางครั้งยังถูกนกที่มีขนาดเล็กกว่าอย่าง นกเอี้ยงหรือนกกิ้งโครงไล่จิกตีอีกต่างหาก เนื่องจากเป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน จึงมีดวงตาโตกว่าเหยี่ยวและอินทรีมาก ดวงตาอยู่ด้านหน้าของใบหน้าเหมือนมนุษย์และสัตว์ตระกูลแมว หัวหมุนได้เกือบรอบตัวได้ถึง 270 องศา เนื่องจากมีกระดูกสันหลังตรงคอ 14 ชิ้น ซึ่งมากกว่าสัตว์ชนิดใด ๆ ในโลก หูของนกเค้าแมวมีความไวมากเป็นพิเศษสำหรับการฟังเสียงในเวลากลางคืนและหาเหยื่อ มีขนปีกอ่อนนุ่ม บินได้เงียบเพื่อไม่ให้เหยื่อรู้ตัว และมีประสาทสายตาที่มองเห็นได้ดีกว่ามนุษย์ถึง 100 เท่าโดยปกติแล้วตัวเมียมีขนาดโตกว่าตัวผู้ ตัวเมียเป็นตัวที่กกไข่ ตัวผู้ไม่กกไข่ มักพบก้อนที่สำรอกคายออกทิ้งลงมาที่พื้นเบื้องล่างในรังหรือบริเวณใกล้เคียงกับรัง เพราะนกเค้าแมวมักกลืนเหยื่อเข้าไปทั้งตัว กระดูกและขนที่ไม่ย่อยก็สำรอกออกมาเป็นก้อนทิ้งทีหลัง.

ใหม่!!: พิสัยการได้ยินและนกเค้า · ดูเพิ่มเติม »

แมลง

แมลง (Insect) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จัดอยู่ในไฟลัมอาร์โทรโพดา จำแนกออกเป็นไฟลัมต่าง ๆ ได้ 13 กลุ่ม มีลักษณะสำคัญคือมีลำตัวเป็นปล้องคล้อง ซึ่งอาจแบ่งเป็น 2 หรือ 3 ส่วน สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ลำตัวทั้งสองด้านซ้ายขวามีความเหมือนและมีขนาดเท่ากัน มีเปลือกห่อหุ้มลำตัวด้วยสารไคติน (Chitinous Exoskeleton) ไม่มีขน หายใจแบบใช้เหงือกหรือใช้รูหายใจ มีวัฎจักรวงจรชีวิตในการเจริญเติบโตแบบไข่ มีการลอกคราบเป็นบางครั้งแล้วสร้างผนังหรือเปลือกห่อหุ้มลำตัวใหม่ มีรยางค์เป็นคู่และเป็นปล้อง ส่วนใหญ่นักกีฏวิทยามักใช้รยางค์ในการแบ่งเพศผู้เพศเมียของแมลง มีอวัยวะภายในที่มีท่อทางเดินอาหารเป็นท่อยาวตลอดจากปากไปถึงทวารหนัก ระบบเลือดเป็นแบบเปิดและมีท่อเลือดอยู่ทางด้านสันหลังเหนือระบบทางเดินอาหาร มีระบบประสาทที่ประกอบไปด้วยสมองอยู่เหนือท่ออาหาร มีเส้นประสาทขนาดใหญ่หนึ่งคู่เชื่อมต่อจากสมอง มีการรวมตัวเป็นระยะก่อเกิดเป็นปมประสาท เส้นประสาทขนาดใหญ่ของแมลง จะอยู่ทางด้านล่างของลำตัวใต้ท่ออาหาร มีกล้ามเนื้อแบบเรียบอยู่ตามลำตัวบทปฏิบัติการกีฎวิทยาเบื้องต้น, ภาควิชากีฎวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ร. ดร.สาวิตรี มาไลยพันธุ์, สำนักพิมพ์รั้วเขียว,..

ใหม่!!: พิสัยการได้ยินและแมลง · ดูเพิ่มเติม »

แมว

แมว เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อยู่ในตระกูล Felidae ต้นตระกูลมาจากเสือไซบีเรีย (Felis tigris altaica) ซึ่งมีช่วงลำตัวตั้งแต่จมูกถึงปลายหางยาวประมาณ 4 เมตร แมวที่เลี้ยงตามบ้าน จะมีรูปร่างขนาดเล็ก ขนาดลำตัวยาว ช่วงขาสั้นและจัดอยู่ในกลุ่มของประเภทสัตว์กินเนื้อ มีเขี้ยวและเล็บแหลมคมสามารถหดซ่อนเล็บได้เช่นเดียวกับเสือ สืบสายเลือดมาจากแมวป่าที่มีขนาดใหญ่กว่า ซึ่งลักษณะบางอย่างของแมวยังคงพบเห็นได้ในแมวบ้านปัจจุบัน แมวเริ่มเข้ามาเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่เมื่อประมาณ 9,500 ปีก่อน ซึ่งจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดของแมวคือการทำมัมมี่แมวที่พบในสมัยอียิปต์โบราณ หรือในพิพิธภัณฑ์อังกฤษในลอนดอน มีการแสดงสมบัติที่นำออกมาจากพีระมิดโบราณแห่งอียิปต์ ซึ่งรวมถึงมัมมี่แมวหลายตัว ซึ่งเมื่อนำเอาผ้าพันมัมมี่ออกก็พบว่า แมวในสมัยโบราณทุกตัวมีลักษณะใกล้เคียงกัน คือเป็นแมวที่มีรูปร่างเล็ก ขนสั้นมีแต้มสีน้ำตาล มีความคล้ายคลึงกับพันธุ์ในปัจจุบัน ที่เรียกว่าแมวอะบิสซิเนี.

ใหม่!!: พิสัยการได้ยินและแมว · ดูเพิ่มเติม »

โลมา

ลมา เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกหนึ่ง อาศัยอยู่ทั้งในทะเล, น้ำจืด มีรูปร่างคล้ายปลา คือ มีครีบ มีหาง แต่โลมามิใช่ปลา เพราะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีรก จัดอยู่ในอันดับวาฬและโลมา (Cetacea) ซึ่งประกอบไปด้วย วาฬและโลมา ซึ่งโลมาจะมีขนาดเล็กกว่าวาฬมาก และจัดอยู่ในกลุ่มวาฬมีฟัน (Odontoceti) เท่านั้น โลมา เป็นสัตว์ที่รับรู้กันเป็นอย่างดีว่าเฉลียวฉลาด มีความเป็นมิตรกับมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะช่วยชีวิตมนุษย์เมื่อยามเรือแตก จนกลายเป็นตำนานหรือเรื่องเล่าขานทั่วไป มีอุปนิสัยอยู่รวมกันเป็นฝูง บางฝูงอาจมีจำนวนมากถึงหลักพันถึงหลายพันตัว ว่ายน้ำได้อย่างคล่องแคล่วรวดเร็ว รวมถึงสามารถกระโดดหมุนตัวขึ้นเหนือน้ำได้ ชอบว่ายน้ำขนาบข้างหรือว่ายแข่งไปกับเรือวาฬและโลมา หน้า 37-42, "สัตว์สวยป่างาม" (ชมรมนิเวศวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล, สิงหาคม 2518).

ใหม่!!: พิสัยการได้ยินและโลมา · ดูเพิ่มเติม »

โลมาปากขวด

ลมาปากขวด หรือ โลมาหัวขวด (Bottlenose dolphin) เป็นสกุลของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Tursiops (/ทูร์-ไซ-ออฟส์/) จัดอยู่ในวงศ์โลมามหาสมุทร (Delphinidae) มีลำตัวสีน้ำเงินเข้มอมเทา สีจางหรือบางครั้งอมชมพูด้านท้อง จะงอยปากค่อนข้างสั้นใหญ่ครีบหลังขนาดค่อนข้างใหญ่ เป็นรูปโค้งอยู่กึ่งกลางหลัง รูปร่างค่อนข้างอ้วน ไม่มีลายหรือจุดประแต่ประการใด ขนาดเมื่อโตเต็มที่ยาวประมาณ 2.3-3.1 เมตร มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง ในบางฝูงอาจพบได้ถึงหลายร้อยตัวจนถึงหลักพัน และชอบว่ายน้ำแข่งกับเรือขณะที่เรือเดินอยู่ในทะเลได้หลายไมล์ และมีความเร็วในการว่ายน้ำประมาณ 40.5 กิโลเมตร/ชั่วโมง โลมาปากขวด เป็นโลมาที่ฉลาด มีความแสนรู้ ขี้เล่น เป็นมิตรกับมนุษย์ จึงนิยมเลี้ยงไว้แสดงตามสวนสัตว์และสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำทั่วไป พบกระจายพันธุ์ตามทะเลเปิดและมหาสมุทรเขตร้อนและเขตอบอุ่นรวมถึงเขตหนาวทั่วโลก แต่เดิมถูกแบ่งไว้เพียงชนิดเดียว คือ โลมาปากขวดธรรมดา (T. truncatus) แต่ต่อมาในปี..

ใหม่!!: พิสัยการได้ยินและโลมาปากขวด · ดูเพิ่มเติม »

โลมาแม่น้ำแอมะซอน

ลมาแม่น้ำอะเมซอน หรือ โลมาสีชมพู (Amazon river dolphin, Pink dolphin; โปรตุเกส: Boto, Boutu;; ออกเสียง: /อิ-เนีย-จี-โอฟ-เฟรน-สิส/) เป็นโลมาแม่น้ำชนิดหนึ่ง จัดเป็นเพียงชนิดเดียวในสกุล Inia และวงศ์ Iniidae โลมาแม่น้ำแอมะซอน จัดเป็นโลมาแม่น้ำ หรือโลมาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ที่อาศัยอยู่ในน้ำจืดแท้ ๆ โดยที่ไม่พบในทะเล มีความยาวประมาณ 1.53-2.4 เมตร (5.0-7.9 ฟุต) ขึ้นอยู่กับชนิดย่อย ตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ โดยตัวที่ใหญ่ที่สุด เป็นตัวเมียที่มีความยาวถึง 2.5 เมตร (8.2 ฟุต) และน้ำหนักตัว 98.5 กิโลกรัม (217 ปอนด์) ขณะที่ตัวผู้ที่ใหญ่ที่สุด ยาว 2.0 เมตร (6.6 ฟุต) และน้ำหนักตัว 94 กิโลกรัม (210 ปอนด์) นอกจากนี้แล้วกระดูกสันหลังบริเวณคอมีความยืดหยุ่นจึงสามารถทำให้หันหัวได้ 180 องศา ซึ่งความยืดหยุ่นตรงนี้เองที่ทำให้เป็นสิ่งสำคัญในการว่ายน้ำผ่านต้นไม้ต่าง ๆ และวัสดุกีดขวางต่าง ๆ ในป่าน้ำท่วม นอกจากนี้ยังมีจะงอยปากยาวซึ่งฟันมี 24 ถึง 34 คู่ ฟันเป็นรูปทรงกรวยและมีฟันกรามด้านในของขากรรไกร มีผิวหนังสีขาวอมชมพูเรื่อ ๆ ตามีขนาดเล็ก โลมาแม่น้ำแอมะซอน กระจายพันธุ์ในแม่น้ำสายใหญ่ในทวีปอเมริกาใต้ เช่น แม่น้ำแอมะซอน, แม่น้ำโอริโนโก, แม่น้ำลาพลาตา, แม่น้ำปารานา, แม่น้ำโทคันตินส์ เป็นต้น จึงแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดย่อย คือ.

ใหม่!!: พิสัยการได้ยินและโลมาแม่น้ำแอมะซอน · ดูเพิ่มเติม »

เยอรมันเชเพิร์ด

อรมันเชพเพิร์ด หรือ แอลเซเชียน (German Shepherd, Alsatian) เป็นสายพันธุ์สุนัขสายพันธุ์หนึ่งที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศเยอรมนี ในงานของสุนัขตำรวจ ได้มีการนำสุนัขสายพันธุ์นี้มาใช้ในการดมกลิ่นเพื่อตรวจค้นอาวุธ วัตถุระเบิด ยาเสพติด และยังพบว่าได้มีการนำสุนัขสายพันธุ์นี้มาใช้ในงานอื่น เช่น งานหน่วยกู้ภัย งานนำทางคนตาบอด งานคุ้มกัน เยอรมันเชพเพิร์ดยังไม่มีใครรู้จักจนกระทั่งปี..

ใหม่!!: พิสัยการได้ยินและเยอรมันเชเพิร์ด · ดูเพิ่มเติม »

เสียง

ซลล์รับรู้การได้ยิน; ม่วง: สเปกตรัมความถี่ ของการตอบสนองการได้ยิน; ส้ม: อิมพัลส์ประสาท) เสียง (Sound) เป็นคลื่นเชิงกลที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ เมื่อวัตถุสั่นสะเทือน ก็จะทำให้เกิดการอัดตัวและขยายตัวของคลื่นเสียง และถูกส่งผ่านตัวกลาง เช่น อากาศ ไปยังหู แต่เสียงสามารถเดินทางผ่านสสารในสถานะก๊าซ ของเหลว และของแข็งก็ได้ แต่ไม่สามารถเดินทางผ่านสุญญากาศได้ เมื่อการสั่นสะเทือนนั้นมาถึงหู มันจะถูกแปลงเป็นพัลส์ประสาท ซึ่งจะถูกส่งไปยังสมอง ทำให้เรารับรู้และจำแนกเสียงต่างๆ ได้.

ใหม่!!: พิสัยการได้ยินและเสียง · ดูเพิ่มเติม »

เฮิรตซ์

ลื่นไซน์ในความถี่ที่แตกต่างกัน เฮิรตซ์ (อ่านว่า เฮิด) (Hertz ย่อว่า Hz) เป็นหน่วย SI ของค่าความถี่ โดย 1 Hz คือความถี่ที่เท่ากับ 1 ครั้ง ต่อวินาที (1/s) หรือ:1 Hz.

ใหม่!!: พิสัยการได้ยินและเฮิรตซ์ · ดูเพิ่มเติม »

เดซิเบล

ซิเบล (decibel, dB) เป็นหน่วยวัดเทียบอัตราส่วนระหว่างปริมาณเสียงสองปริมาณ ใช้สำหรับวัดความดังของเสียง คิดค้นโดย Alexander Graham Bell นิยมใช้กันมากในทางอคูสติก ฟิสิกส์และอิเล็กทรอนิกส์ เดซิเบลเป็นหน่วยวัดที่ไม่มีหน่วยเหมือนค่าเปอร์เซ็นต์ หน่วยเดซิเบลเป็นหน่วยที่สามารถแสดงค่าสูงและค่าต่ำเปรียบเทียบกันได้เนื่องจากคำนวณจากการหาลอการิทึม ระดับเดซิเบลที่ถึงขั้นอันตรายของคนหูปกติคือ 85 เดซิเบลขึ้นไป (หลังจากรับฟังหลายชั่วโมง).

ใหม่!!: พิสัยการได้ยินและเดซิเบล · ดูเพิ่มเติม »

เซลล์ขน

ซลล์ขน (Hair cell) เป็นเซลล์รับความรู้สึก (sensory receptor) ของทั้งระบบการได้ยินและระบบการทรงตัว (vestibular system) ในหูชั้นในของสัตว์มีกระดูกสันหลัง โดยตรวจจับการเคลื่อนไหวของน้ำในระบบผ่านกระบวนการถ่ายโอนแรงกล (mechanotransduction) ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เซลล์ขนรับเสียงอยู่ในอวัยวะของคอร์ติ ซึ่งอยู่บนเยื่อกั้นหูชั้นใน (basilar membrane) ในอวัยวะรูปหอยโข่ง (คอเคลีย) ชื่อของเซลล์มาจากมัดขนที่เรียกว่า stereocilia ที่ยื่นออกมาจากเยื่อหุ้มเซลล์ด้านบน (apical) เข้าไปในน้ำของท่อคอเคลีย (cochlear duct) เซลล์ขนในคอเคลียของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสามารถแบ่งโดยกายวิภาคและหน้าที่เป็นสองอย่าง คือ เซลล์ขนด้านนอก (outer hair cell, OHC) และเซลล์ขนด้านใน (inner hair cell, IHC) ความเสียหายต่อเซลล์ขนทำให้ได้ยินน้อยลง และเพราะว่า เซลล์ขนไม่สามารถเกิดใหม่ ดังนั้น ความเสียหายก็จะคงยืน แต่ว่า ก็ยังมีสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ เช่น ปลาม้าลายและสัตว์ปีกที่เซลล์ขนสามารถเกิดใหม่ได้ คอเคลียของมนุษย์มี IHC ประมาณ 3,500 ตัว และ OHC 12,000 ตัว OHC มีหน้าที่ขยายเสียงเบา ๆ ที่เข้ามาในคอเคลีย (แต่ไม่ขยายเสียงที่ดังถึงระดับหนึ่งแล้ว) ซึ่งอาจเกิดจากการเคลื่อนไหวของมัดขน หรือว่า จากการเคลื่อนไหวของตัวเซลล์เองที่ได้พลังงานจากไฟฟ้า ส่วน IHC จะเปลี่ยนแรงสั่นของเสียงในน้ำไปเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่ส่งผ่านโสตประสาท (auditory nerve) ไปยังก้านสมอง และต่อไปยังคอร์เทกซ์การได้ยิน (auditory cortex) เพื่อแปลและประมวลผลต่อ ๆ ไป.

ใหม่!!: พิสัยการได้ยินและเซลล์ขน · ดูเพิ่มเติม »

Stereocilia

ในหูชั้นในของสัตว์ต่าง ๆ มากมาย Stereocilia เป็นออร์แกเนลล์ของเซลล์ขนซึ่งตอบสนองต่อการไหวของน้ำเพื่อทำหน้าที่ต่าง ๆ รวมทั้งการได้ยินและการทรงตัว Stereocilia ยาวประมาณ 10-50 ไมโครเมตร และมีลักษณะบางอย่างคล้าย ๆ กับ microvilli เซลล์ขนจะแปลความดันในน้ำและสิ่งเร้าเชิงกลอื่น ๆ ให้เป็นกระแสไฟฟ้าผ่าน microvilli จำนวนมากซึ่งเป็นลำตัวของ stereocilia มี Stereocilia ทั้งในระบบการได้ยินและระบบการทรงตัว (Vestibular system) Stereocilia ของหูชั้นในของก.

ใหม่!!: พิสัยการได้ยินและStereocilia · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Hearing range

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »