โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อุทยานแห่งชาติออบหลวง

ดัชนี อุทยานแห่งชาติออบหลวง

อุทยานแห่งชาติออบหลวง เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งหนึ่งในพื้นที่อำเภอจอมทอง อำเภอฮอด และอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ห่างจากตัวจังหวัดเชียงใหม่ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ราว 100 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 553 ตารางกิโลเมตร (345,625 ไร่) พื้นที่ส่วนใหญ่ของอุทยานเป็นภูเขาสลับซับซ้อนและสูงชัน มีอาณาเขตติดต่อกับอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ แหล่งน้ำหลักคือลำน้ำแม่แจ่ม ซึ่งมีลักษณะเป็นเกาะแก่งเมื่อไหลผ่านหุบเขา ในอุทยานมีป่าไม้อุดมสมบูรณ์ จำแนกได้หลายประเภท สามารถพบสัตว์ป่าได้หลายชนิด เช่น เลียงผา เสือ หมี เป็นต้น นอกจากนี้ภายในอุทยานแห่งชาติยังมีน้ำพุร้อน น้ำตก ถ้ำ และแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร.

92 ความสัมพันธ์: ชะมดชะนีบ่อน้ำร้อนพ.ศ. 2509พ.ศ. 2527พ.ศ. 2534กรมศิลปากรกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชกรมทรัพยากรธรณีกระต่ายป่ากล้วยไม้ดินกวางป่าการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคภาษาไทยถิ่นเหนือภาคเหนือ (ประเทศไทย)ภูเขามะขามป้อมมะค่าโมงยุคก่อนประวัติศาสตร์ยุคสัมฤทธิ์ยุคครีเทเชียสยุคไทรแอสซิกรังล่องแก่งวงศ์นกหัวขวานวนอุทยานสัก (พรรณไม้)สัมฤทธิ์สนสองใบสนสามใบหมูป่าหว้าหินบะซอลต์หินปูนหินแกรนิตหินแปรอันดับลิ่นอันดับนกแก้วอำเภอฮอดอำเภอจอมทองอำเภอแม่แจ่มอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์อุทยานแห่งชาติในประเทศไทยองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้จังหวัดเชียงใหม่ถ้ำทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1088ทิวเขาถนนธงชัยดอยอินทนนท์...คริสต์ศักราชควอตซ์คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 30ตะกวดตะกอนตารางกิโลเมตรปฏิภาณ ปฐวีกานต์ประดู่ปลาจิ้งจอกปาล์ม (แก้ความกำกวม)ป่านกกระทานกกระเต็นนกกะปูดนกกางเขนนกกางเขนดงนกกาเหว่านกยูงนกขุนทองนกคุ่มนกปรอดหัวโขนนกเขาใหญ่นกเขียวก้านตองน้ำตกแก่งแม่น้ำปิงแย้แดง (พรรณไม้)โครงกระดูกมนุษย์ไฟป่าไก่ฟ้าไก่ป่าไร่เฟลด์สปาร์เฟิร์นเก้งเลียงผาเหยี่ยวรุ้งเหียงเทศบาลนครเชียงใหม่เต็ง4 ธันวาคม ขยายดัชนี (42 มากกว่า) »

ชะมด

ัตว์จำพวกชะมดและอีเห็นหลายชนิด (จากซ้ายไปขวา คือ สกุล ''Paradoxurus'', ''Genetta'', ''Paguma'' และ ''Arctictis'') ชะมด หรือ เห็นอ้ม ในภาษาอีสาน (civet) เป็นชื่อสามัญที่ใช้เรียกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในอันดับสัตว์กินเนื้อจำพวกหนึ่ง ที่อยู่ในวงศ์ Viverridae (ในอดีตเคยจัดให้พังพอนอยู่ในวงศ์นี้ด้วย) โดยคำว่า "ชะมด" ในภาษาไทย สันนิษฐานว่ามาจากคำในภาษาอาหรับว่า "อัซซะบาด" (الزباد) ชะมดมีรูปร่างโดยรวม คือ ใบหน้าแหลม รูปร่างเพรียว ตัวมีสีเทาหรือนํ้าตาล มีลายจุดสีดำตามยาวทั่วตัว หางและขนหางยาวมีลายเป็นปล้อง สามารถยืดหดเล็บได้เหมือนแมว มักออกหากินในเวลากลางคืน เป็นสัตว์ที่กินอาหารได้หลากหลายทั้งพืชและสัตว์ เป็นสัตว์ที่ปรับตัวให้เข้ากับสภาพภูมิประเทศได้หลากหลาย โดยสามารถอาศัยอยู่ในชายป่าใกล้ชุมชนหรือแหล่งเกษตรกรรมของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี รวมถึงพื้นที่ชุ่มน้ำคล้ายนากด้วยในบางชนิดVeron, G., Gaubert, P., Franklin, N., Jennings, A. P. and Grassman Jr., L. I. (2006).

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและชะมด · ดูเพิ่มเติม »

ชะนี

นี (วงศ์: Hylobatidae; Gibbons; ภาษาเหนือ: อี่ฮุย, อี่วุย) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อันดับวานร (Primates) เป็นลิงไม่มีหาง ซึ่งชะนีถูกจัดให้อยู่ในวงศ์ Hylobatidae และถูกจัดให้เป็น 1 ใน 4 ลิงที่มีความใกล้เคียงกับมนุษย์มากที่สุด (ประกอบไปด้วย ชะนี, ชิมแปนซี, อุรังอุตัง, กอริลลา ซึ่งชะนีมีความใกล้เคียงมนุษย์น้อยที่สุดในบรรดาทั้ง 4 นี้ เนื่องจากมีแขนขาเรียวยาว มีฟันเขี้ยวที่แหลมคม และใช้ชีวิตหากินอยู่บนต้นไม้มากกว่าพื้นดิน) ซึ่งนับว่าชะนีมีแขนที่ยาวที่สุดในบรรดาสัตว์อันดับวานรทั้งหมด และมีฟันที่เขียนเป็นสูตรได้ว่า Myers, P. 2000.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและชะนี · ดูเพิ่มเติม »

บ่อน้ำร้อน

อน้ำร้อน หรือ พุน้ำร้อน (hot spring) เป็นสถานที่ที่มีน้ำร้อนจากใต้ดินเป็นน้ำที่พุ่งขึ้นมาผ่านตามช่องเปิดใต้พื้นดินที่มีโครงสร้างหลายลักษณะต่างกัน น้ำพุร้อนนั้นจะมีอุณหภูมิสูงกว่าน้ำที่ไม่มีการพุ่งขึ้นมา แต่ไหลมาขังอยู่ในแอ่งพื้นโลกเรียกว่า “บ่อน้ำร้อน”.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและบ่อน้ำร้อน · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2509

ทธศักราช 2509 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1966 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและพ.ศ. 2509 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2527

ทธศักราช 2527 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1984 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและพ.ศ. 2527 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2534

ทธศักราช 2534 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1991 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและพ.ศ. 2534 · ดูเพิ่มเติม »

กรมศิลปากร

กรมศิลปากร เป็นหน่วยงานของรัฐซึ่งมีภารกิจคุ้มครอง ป้องกัน อนุรักษ์ บำรุงรักษา ฟื้นฟู ส่งเสริม สร้างสรรค์ เผยแพร่ จัดการศึกษา ค้นคว้า วิจัย พัฒนา สืบทอดศิลปะและทรัพย์สินมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ เพื่อธำรงคุณค่าและเอกลักษณ์ของความเป็นชาติ อันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของสังคมไทยและความมั่นคงของชาต.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและกรมศิลปากร · ดูเพิ่มเติม »

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นหน่วยงานระดับกรม ในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก่อตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช · ดูเพิ่มเติม »

กรมทรัพยากรธรณี

กรมทรัพยากรธรณี เป็นหน่วยงานระดับกรม ในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและกรมทรัพยากรธรณี · ดูเพิ่มเติม »

กระต่ายป่า

กระต่ายป่า (Burmese hare, Siamese hare) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Leporidae ชนิดหนึ่ง มีลักษณะเด่นคือ มีหูยาว สามารถมองเห็นได้แต่ไกล มีขนขึ้นบริเวณกระพุ้งแก้มและมีฟันหน้าของขากรรไกรบน 4 ซี่ เรียงซ้อนกัน 2 คู่ ฟันคู่หลังเล็กกว่าคู่หน้า ขาคู่หลังยาวกว่าขาคู่หน้า เท้าหน้ามี 5 นิ้ว เท้าหลังมี 4 นิ้ว ใต้ผ่าเท้ามีขนปกคลุมหนาแน่นช่วยให้เคลื่อนไหวได้โดยไม่มีเสียง หางสั้นเป็นกระจุก ขนบริเวณหลังเป็นสีน้ำตาลปนเทา ปลายขนมีสีน้ำตาลเข้ม มีความยาวลำตัวและหัว 44-50 เซนติเมตร ความยาวหาง 6.5-8.5 เซนติเมตร น้ำหนัก 1.35-7 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์ในพม่า, ไทย, เวียดนาม, ลาว, กัมพูชา ชอบอาศัยในป่าโปร่ง, ป่าเต็งรัง, ป่าเบญจพรรณ ออกหากินในเวลากลางคืนตามพงหญ้าที่รกชัฏ ออกหากินตามลำพังในอาณาบริเวณของตัวเอง มี หญ้า เป็นอาหารหลัก ยอดไม้ หรือผลไม้ที่ร่วงจากต้นเป็นอาหารเสริม ในบางครั้งอาจแทะเขากวางที่ผลัดทิ้งเพื่อเพิ่มแคลเซียมด้วย กระต่ายป่าตัวผู้มักต่อสู้เพื่อแย่งชิงตัวเมียในฤดูผสมพันธุ์ด้วยการกระโดดถีบหรือกัดด้วยความรุนแรง กระต่ายป่าตัวเมียใช้เวลาตั้งท้อง 35-40 วัน ออกลูกครั้งละ 1-7 ตัว โดยการขุดโพรงใต้ดินอยู่ ลูกกระต่ายป่าที่เกิดใหม่จะขนปกคลุมตัว และลืมตาได้เล.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและกระต่ายป่า · ดูเพิ่มเติม »

กล้วยไม้ดิน

กล้วยไม้ดิน (Ground orchid) เป็นสกุลหนึ่งของพืชในวงศ์กล้วยไม้ พืชในสุกลนี้เป็นญาติกับพืชสกุล Acanthephippium, Bletia, Calanthe, และ Phaius โดยทั่วไปมีถิ่นอาศัยในบอร์เนียว, ประเทศออสเตรเลีย และ หมู่เกาะโซโลมอน ไฟล์:kluaimaidin2.jpg|กล้วยไม้ดิน ไฟล์:kluaimaidin3.jpg|กล้วยไม้ดิน ไฟล์:kluaimaidin4.jpg|กล้วยไม้ดิน ไฟล์:kluaimaidin5.jpg|กล้วยไม้ดิน ไฟล์:kluaimaidin6.jpg|กล้วยไม้ดิน หมวดหมู่:ไม้ดอกไม้ประดับ หมวดหมู่:พืชแบ่งตามสกุล.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและกล้วยไม้ดิน · ดูเพิ่มเติม »

กวางป่า

กวางป่า หรือ กวางม้า หรือ กวางแซมบาร์ (Sambar deer; หรือ Cervus unicolor) เป็นกวางขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง พบกระจายพันธุ์ในประเทศศรีลังกา, อินเดีย, พม่า, ไทย, จีน, ไต้หวัน, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, สุมาตรา, บอร์เนียว และหมู่เกาะซีลี.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและกวางป่า · ดูเพิ่มเติม »

การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค

แผนที่แสดงแผ่นเปลือกโลก แผ่นเปลือกโลก การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค (plate tectonics; มาจากภาษากรีก: τέκτων, "tektōn" แปลว่า "ผู้สร้าง") เป็นทฤษฎีเชิงธรณีวิทยาที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่ออธิบายถึงหลักฐานจากการสังเกตการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่ โดยทฤษฎีนี้ได้พัฒนาต่อยอดจากทฤษฎีการเลื่อนไหลของทวีปเดิมที่ถูกเสนอขึ้นมาระหว่าง พ.ศ. 2443-2493 ทฤษฎีธรณีแปรสัณฐานนี้ได้รับการยอมรับเป็นที่แพร่หลายหลังจากการเสนอแนวคิดที่เกี่ยวกับการกระจายของพื้นทะเลในคริสต์ทศวรรษที่ 1960 (ช่วงต้น พ.ศ. 2500) โครงสร้างส่วนนอกของโลกนั้นแบ่งตามคุณสมบัติของชั้นหินต่อคลื่นไหวสะเทือนได้สองชั้น ชั้นที่อยู่นอกสุดคือชั้นธรณีภาคชั้นดินแข็ง (lithosphere) อันประกอบด้วยเปลือกโลกและเนื้อโลก (mantle) ชั้นบนซึ่งมีอุณหภูมิต่ำและแข็งเกร็ง ชั้นล่างลงไปคือชั้นฐานธรณีภาคชั้นดินอ่อน (asthenosphere) ซึ่งมีสถานะเป็นของแข็งแต่มีความยืดหยุ่นค่อนข้างต่ำและขาดความแข็งแรง อีกทั้งยังสามารถเคลื่อนที่ได้คล้ายของเหลวเมื่อพิจารณาในช่วงระยะเวลาเชิงธรณีวิทยา ชั้นแมนเทิลที่อยู่ลึกลงไปภายใต้ชั้นดินอ่อนนั้นจะมีความแข็งมากขึ้นอีกครั้ง กระนั้นความแข็งดังกล่าวไม่ได้มาจากการเย็นลงของอุณหภูมิ แต่เนื่องมาจากความดันที่มีอยู่สูง ธรณีภาคแบ่งเป็นแผ่นเปลือกโลกหลายแผ่นประกอบกัน ในกรณีของโลกสามารถแบ่งเป็นแผ่นขนาดใหญ่ได้เจ็ดแผ่น และแผ่นขนาดเล็กอีกจำนวนมาก แผ่นเปลือกโลกเหล่านี้เคลื่อนที่สัมพันธ์กับแผ่นเปลือกโลกอื่นๆ ขอบของเปลือกโลกสามารถแบ่งได้เป็นสามประเภทตามลักษณะการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกสัมพัทธ์ของแผ่นเปลือกโลกสองแผ่นนั้น คือ ขอบเปลือกโลกที่มีการชนกันหรือบรรจบกัน, ขอบเปลือกโลกที่มีการแยกตัวออกจากกันหรือกระจายจากกัน และขอบเขตที่มีการแปลงสภาพ ปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาต่างๆ ได้แก่แผ่นดินไหว, ภูเขาไฟปะทุ, การก่อตัวของภูเขา และการเกิดขึ้นของเหวสมุทรนั้นจะเกิดขึ้นพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของขอบเขตแผ่นดิน การเคลื่อนตัวด้านข้างของแผ่นดินนั้นมีอัตราเร็วอยู่ระหว่าง 0.66 ถึง 8.50 เซนติเมตรต่อปี.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทยถิ่นเหนือ

ำเมือง (40px)) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า ภาษาถิ่นภาคพายัพ เป็นภาษาถิ่นของชาวไทยวนทางภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ซึ่งเป็นอาณาจักรล้านนาเดิม ได้แก่ เชียงใหม่, เชียงราย, อุตรดิตถ์, แพร่, น่าน, แม่ฮ่องสอน, ลำพูน, ลำปาง, พะเยา และยังมีการพูดและการผสมภาษากันในบางพื้นที่ของจังหวัดตาก, สุโขทัย และเพชรบูรณ์ ปัจจุบันกลุ่มคนไทยวนได้กระจัดกระจายและมีถิ่นที่อยู่ในจังหวัดสระบุรี, จังหวัดราชบุรี และอำเภอของจังหวัดอื่นที่ใกล้เคียงกับราชบุรีอีกด้วย คำเมืองยังสามารถแบ่งออกเป็นสำเนียงล้านนาตะวันตก (ในจังหวัดเชียงใหม่, ลำพูน และแม่ฮ่องสอน) และสำเนียงล้านนาตะวันออก (ในจังหวัดเชียงราย, พะเยา, ลำปาง, อุตรดิตถ์, แพร่ และน่าน) ซึ่งจะมีความแตกต่างกันบ้าง คือ สำเนียงล้านนาตะวันออกส่วนใหญ่จะไม่พบสระเอือะ เอือ แต่จะใช้สระเอียะ เอียแทน (มีเสียงเอือะและเอือเพียงแต่คนต่างถิ่นฟังไม่ออกเอง เนื่องจากเสียงที่ออกมาจะเป็นเสียงนาสิกใกล้เคียงกับเอียะ เอีย) ส่วนคนในจังหวัดลำพูนมักจะพูดสำเนียงเมืองยอง เพราะชาวลำพูนจำนวนมากสืบเชื้อสายมาจากชาวยองในรัฐฉาน จึงมีสำเนียงที่เป็นเอกลักษณ์ คำเมืองมีไวยากรณ์คล้ายกับภาษาไทยกลางแต่ใช้คำศัพท์ไม่เหมือนกันและไวยากรณ์ที่แตกต่างกันอยู่บ้าง แต่เดิมใช้คู่กับ อักษรธรรมล้านนา ซึ่งเป็นตัวอักษรของอาณาจักรล้านนาที่ใช้อักษรมอญเป็นต้นแ.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและภาษาไทยถิ่นเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

ภาคเหนือ (ประเทศไทย)

หนือ เป็นภูมิภาคที่อยู่ด้านบนสุดของไทย มีลักษณะภูมิประเทศอันประกอบไปด้วยเทือกเขาสลับซับซ้อน ต่อเนื่องมาจากทิวเขาฉานโยมาในประเทศพม่าและประเทศลาว ภาคเหนือมีภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา เหมือนกับพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ การที่มีพื้นที่อยู่เหนือระดับน้ำทะเลและมีเส้นละติจูดอยู่ตอนบนทำให้สภาพอากาศของภาคเหนือเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลอย่างเห็นได้ชัด เช่น มีฤดูหนาวที่หนาวเย็นกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ทางด้านประวัติศาสตร์ของภาคเหนือมีความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกับอาณาจักรล้านน.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและภาคเหนือ (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

ภูเขา

ทือกเขาร็อกกี ภูเขา (mountain) เป็นลักษณะของพื้นโลกที่มีความสูงกว่าพื้นที่บริเวณโดยรอบ ภูเขา หรือเทือกเขาหมายถึง ลักษณะภูมิประเทศ ที่มีความสูงตั้งแต่ 600 เมตรขึ้นไปจากพื้นที่บริเวณรอบ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเนินเขา แต่ว่าเนินเขานั้น จะมีพื้นที่สูงจากบริเวณรอบ ๆ ประมาณ 150 แต่ไม่เกิน 600 เมตร ภูเขาสามารถแบ่ง เป็นประเภทต่างๆ ดังนี้.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและภูเขา · ดูเพิ่มเติม »

มะขามป้อม

มะขามป้อม หรือ มะขามป้อมอินเดีย เป็นต้นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ Phyllanthaceae เป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง และมีคุณค่าทางสมุนไพรด้วย มะขามป้อมเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสระแก้ว มีชื่อพื้นเมืองอื่นอีกคือ กันโตด (เขมร - กาญจนบุรี) กำทวด (ราชบุรี) มะขามป้อม (ทั่วไป) มั่งลู่, สันยาส่า (กะเหรี่ยง - แม่ฮ่องสอน) ศูนย์ปฏิบัติการพืชเศรษฐกิจ มะขามป้อมจัดเป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงที่สุด ในบรรดาผลไม้ทั้งหมด เพราะมะขามป้อมลูกเล็กๆเพียงลูกเดียว ให้วิตามินซีสูงกว่าวิตามินซีสังเคราะห์ถึง 12 เท่า และมากกว่าน้ำส้มคั้นถึง20 เท.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและมะขามป้อม · ดูเพิ่มเติม »

มะค่าโมง

มะค่า เป็นชื่อของไม้เนื้อแข็งยืนต้นที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งที่สามารถปลูกเป็นไม้ทางเศรษฐกิจได้ เป็นต้นไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดสุโขทัย ผลัดใบช่วงสั้น ๆ สูงได้ถึง 30 เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกว้าง เปลือกต้นสีเทาอ่อน หรือสีชมพูอมน้ำตาล ผิวต้นขรุขระ กิ่งอ่อนมีขนประปราย ต้นแก่มักมีปุ่มปม เนื้อไม้มีลวดลายสวยงามสีน้ำตาลอมเหลือง ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว ปลายใบคู่ ออกเรียงสลับ ใบกว้าง 4-5 เซนติเมตร ยาว 5-9 เซนติเมตร แกนกลางใบประกอบยาว 18-30 ซม.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและมะค่าโมง · ดูเพิ่มเติม »

ยุคก่อนประวัติศาสตร์

ก่อนประวัติศาสตร์ (อังกฤษ: Prehistory) โดยทั่วไปหมายถึงช่วงเวลาที่ไม่มีการบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ โดยมนุษย์ (ในบางครั้งหมายถึง ช่วงเวลาก่อนมีอารยธรรมมนุษย์).

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและยุคก่อนประวัติศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคสัมฤทธิ์

ำริดคือยุคที่มนุษย์อาศัยอยู่เป็นชุมชนที่ใหญ่ขึ้น ดำรงชีวิตด้วยการเพาะปลูก ปลูกข้าว มีการเลี้ยงสัตว์ ชีวิตความเป็นอยู่ได้ดีขึ้นกว่ายุคหิน รู้จักการทำสำริดเป็นเครื่องประดับ ยุคสำริดสิ้นสุดลงในช่วง 1206-1150 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่จักรวรรดิฮิตไทต์ และอาณาจักรไมซีเนียล่มสลาย ยุคต่อมาหลังยุคสัมฤทธิ์ คือ ยุคเหล็ก.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและยุคสัมฤทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคครีเทเชียส

ูแรสซิก←ยุคครีเทเชียส→ยุคพาลีโอจีน ยุคครีเทเชียส (Cretaceous) เป็นยุคหนึ่งทางธรณีกาลของโลก อยู่ในมหายุคมีโซโซอิก ยุคครีเทเชียสอยู่ถัดจากยุคจูแรสซิก คือประมาณ 145.5 ± 4.0 ล้านปีก่อน และอยู่ก่อนหน้ายุคพาลีโอจีน หรือประมาณ 65.5 ล้านปีก่อนถึง 23.03 ล้านปีก่อน ถือเป็นยุคที่ยาวนานที่สุดและกินเวลาเกือบครึ่งหนึ่งของมหายุคมีโซโซอิก จุดสิ้นสุดของยุคครีเทเชียสเป็นรอยต่อระหว่างมหายุคมีโซโซอิกกับมหายุคซีโนโซอิก ชื่อ ครีเทเชียส มาจากภาษาลาติน creta แปลว่าชอล์ก ยุคนี้กำหนดโดยนักธรณีวิทยาชาวเบลเยียม ฌ็อง โดมาลิวส์ ดัลลัว (Jean d'Omalius d'Halloy) เมื่อ ค.ศ. 1822 โดยอาศัยชั้นหินในแอ่งปารีส และตั้งชื่อดังกล่าวจากปริมาณชาล์ก ซึ่งเป็นแคลเซียมคาร์บอเนตจากเปลือกของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในทะเล โดยเฉพาะค็อคโคลิท ที่พบในยุคครีเทเชียสตอนบน ในทวีปยุโรปและบนเกาะอังกฤษ ยุคครีเทเชียสเป็นยุคที่รุ่งเรืองที่สุดของไดโนเสาร์ และเมื่อปลายยุคครีเทเชียสเมื่อ 65 ล้านปีก่อน เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ทำให้สิ่งมีชีวิตถึง 94% สูญพันธุ์ ซึ่งรวมถึงไดโนเสาร์ด้ว.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและยุคครีเทเชียส · ดูเพิ่มเติม »

ยุคไทรแอสซิก

อร์เมียน←ยุคไทรแอสซิก→ยุคจูแรสซิก ยุคไทรแอสซิก (Triassic) เป็นยุคหนึ่งทางธรณีกาลของโลก ตรงกับช่วงเวลาประมาณ 251 ± 0.4 ถึง 199.6 ± 0.6 ล้านปีก่อน ยุคไทรแอสซิกเป็นยุคแรกของมหายุคมีโซโซอิก อยู่หลังยุคเพอร์เมียนและอยู่หน้ายุคจูแรสซิก จุดเริ่มต้นและสิ้นสุดยุคไทรแอสซิกกำหนดจากเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดการสูญพันธุ์มากมาย ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวสามารถกำหนดจากชั้นหินได้แน่นอน แต่ช่วงเวลาที่เกิดขึ้นยังไม่สามารถระบุได้ละเอียดจริง ๆ มีค่าความผิดพลาดได้หลายล้านปี ในยุคไทรแอสซิก สิ่งมีชีวิตทั้งบนบกและในทะเลมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ จากพื้นผิวโลกที่มีสภาพแย่ลงอย่างรวดเร็วหลังการสูญพันธุ์ในช่วงรอยต่อระหว่าง ยุคเพอร์เมียน และ ยุคไทรแอสซิก ปะการังในกลุ่มเฮกซะคอราลเลีย (hexacorallia) ถือกำเนิดขึ้น พืชดอกอาจจะวิวัฒนาการในยุคนี้ รวมกระทั่งสัตว์มีกระดูกสันหลังที่บินได้คือเทอโรซอร์ (Pterosaur).

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและยุคไทรแอสซิก · ดูเพิ่มเติม »

รัง

รัง (Burmese sal, Ingyin, Dark red meranti, Light red meranti, Red lauan) เป็นไม้ยืนต้นประเภทใบเดียวชนิดหนึ่งที่มีอยู่ตามป่าเบญจพรรณแล้งและป่าแดงทั่วไป มีคุณสมบัติในการทนแล้งและทนไฟได้ดีมาก พบในประเทศอินโดนีเซีย, มาเลเซีย, พม่า และไทย เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ มีความสูง 15–20 เมตร เปลือกต้นสีเทาแตกเป็นร่องตามความยาวลำต้น ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบรูปไข่ ปลายใบมน โคนใบหยักเว้า ดอกสีเหลืองออกเป็นช่อ กลิ่นหอมอ่อน ออกดอกเดือนมีนาคม-เมษายน ผลรูปกระสวย มีปีกยาว 3 ปีก ปีกสั้น 2 ปีก เป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดอุดรธานี มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "เปา, เปาดอกแดง" ในภาษาเหนือ หรือ "เรียง, เรียงพนม" ในภาษาเขมร.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและรัง · ดูเพิ่มเติม »

ล่องแก่ง

300px ล่องแก่ง เป็น กิจกรรมการท่องเที่ยวแนวผจญภัยอย่างหนึ่ง ซึ่งนิยมใช้เรือยาง หรือ แพไม้ไผ่ ล่องตามลำน้ำที่มีแก่ง การล่องแก่ง ในสากลได้มีการแบ่งระดับความยาก-ง่ายของสายน้ำ สามารถแบ่งได้เป็น 6 ระดับ ดังนี้ ระดับ 1 ง่ายมาก มีแก่งเล็กน้อยที่ง่ายมากคนทั่วไปสามารถพายได้บนสายน้ำไหลเอื่อย เหมาะสมสำหรับผู้ที่เริ่มล่องแก่ง ระดับ 2 ธรรมดา น้ำไหลแรงขึ้น มีแก่งที่ต้องใช้เทคนิค ในระดับนี้ผู้พายจะต้องมีทักษะในการพายอยู่พอสมควร ระดับ 3 ปานกลาง เริ่มมีแก่งน่าตื่นเต้น เทคนิคการพายสูงขึ้น มีแก่งให้ผู้พายได้ตื่นเต้นเป็นระยะๆ ในการพายจะต้องฝึกฝนเทคนิค การพายและการเรียนรู้ถึงลักษณะของสายน้ำ ระดับ 4 ยาก มีแก่งที่ต้องใช้ทั้งเทคนิคและทักษะในการพาย และต้องใช้ความระมัดระวังในการล่องแก่ง ระดับ 5 ยากมาก น้ำไหลเชี่ยว ต้องใช้เทคนิคและประสบการณ์การพายสูง และต้องมีความระมัดระวังในการล่องแก่งเป็นพิเศษ ระดับ 6 อันตราย ไม่เหมาะสมการล่องแก่งเพราะแก่งมีลักษณะเป็นน้ำตก.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและล่องแก่ง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์นกหัวขวาน

นกหัวขวาน เป็นนกวงศ์หนึ่ง ในอันดับนกหัวขวานและนกโพระดก (Piciformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Picidae เป็นนกที่มีสามารถไต่ขึ้นลงตามต้นไม้ได้ดีเป็นแนวตั้ง ด้วยขาที่สั้น และเล็บที่แหลมคม ส่วนใหญ่มีนิ้วหน้า 2 นิ้ว นิ้วหลัง 2 นิ้ว (ขณะที่บางชนิดจะมีเพียง 3 นิ้ว หรือบางชนิดก็มีนิ้วยื่นไปข้างหน้า Walters, Michael P. (1980). Complete Birds of the World. David & Charles PLC. ISBN 0715376667.) เล็บมีความคมและแข็งแรง หางมักจะแข็งมากและเป็นรูปลิ่ม ใช้ช่วยยันต้นไม้ขณะไต่ขึ้นลงตามลำต้น นกหัวขวานเป็นนกประเภทอยู่รู หรืออยู่อาศัยตามโพรงไม้ ตามปกติแล้วมักจะเลือกสถานที่ทำรังโดยใช้จะงอยปากที่แข็งแรงเจาะต้นไม้จนเป็นโพรงใหญ่ ขนาดที่ตัวของนกเองจะเข้าออกได้อย่างสะดวก นกหัวขวานเป็นนกที่ปกติจะอาศัยอยู่เพียงลำพัง ไม่มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงเหมือนนกอื่น ๆ ถ้าหากมีนกอื่นรุกล้ำเข้ามา จะส่งเสียงร้อง "แก๊ก ๆ ๆ" ดังกังวาลเพื่อเตือน อย่างไรก็ตาม ตัวเมียก็มีส่วนช่วยเลือกสถานที่ทำรังเหล่านี้ด้วย ส่วนมากมักชอบไม้เนื้ออ่อน ซึ่งในฤดูแล้ง ต้นไม้เหล่านี้จะทิ้งใบ แต่บางครั้งจะทำรังตามต้นไม้แห้ง ๆ หรือต้นมะพร้าวหรือต้นปาล์ม จุดเด่นของนกหัวขวานก็คือ สามารถใช้จะงอยปากที่แหลมยาวและแข็งแรงเหมือนลิ่ม เจาะลำต้นของต้นไม้ใหญ่ประเภทไม้ยืนต้นจนเป็นรูหรือเป็นโพรงได้เป็นอย่างดี ขณะที่เจาะต้นไม้อยู่นั้นจะได้ยินเสียงกังวาลไปไกลเป็นเสียง "ป๊อก ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ" เพื่อที่จะหาหนอนและแมลงที่ซ่อนอยู่ใต้เปลือกไม้และเนื้อไม้กินเป็นอาหาร ด้วยการใช้ลิ้นและน้ำลายที่เหนียวดึงออกมา ลิ้นของนกหัวขวานเมื่อยืดออกจะยาวมาก โดยลิ้นนี้จะถูกเก็บไว้โดยการพันอ้อมกะโหลก แล้วเก็บปลายลิ้นไว้ที่โพรงจมูกด้านใน ซึ่งการกระทำเช่นนี้นับว่าเป็นผลดีต่อต้นไม้ที่ช่วยกำจัดหนอนแมลงที่รบกวนได้ อันเป็นที่มาของชื่อสามัญทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จนได้รับฉายาว่า "หมอรักษาต้นไม้" แต่ในทางตรงกันข้าม การเจาะต้นไม้เช่นนี้ก็ทำการทำลายความแข็งแรงของเนื้อไม้ได้ด้วย เนื่องจากนกหัวขวานไม่ได้เจาะต้นไม้ที่มีชีวิตอย่างเดียว แต่กับไม้แปรรูป เช่น เสาไฟฟ้าที่ทำจากต้นไม้ก็ถูกเจาะได้เช่นกัน และถูกเมื่อเจาะหลาย ๆ ที่ก็เป็นโพรงที่ทำให้แมลงหรือสัตว์อื่นเข้าไปอยู่อาศัยและทำลายเนื้อไม้ได้ แรงกระแทกที่นกหัวขวานใช้เจาะต้นไม้นั้นแรงมาก โดยเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 6 เมตรต่อวินาที และแรงที่เข้ากระทำนั้นเป็น 1,000 เท่าของแรงโน้มถ่วงโลก แต่เหตุที่นกหัวขวานสามารถที่จะกระทำเช่นนี้ได้ โดยที่สมองหรือส่วนหัวไม่ได้รับผลกระทบใด ๆ ก็เนื่องด้วยรอบ ๆ สมองนั้นห่อหุ้มไปด้วยกะโหลกรูปจานที่อ่อนนุ่มแต่หนาแน่นและยืดหยุ่นเหมือนฟองน้ำที่ภายในเต็มไปด้วยอากาศ อีกทั้งยังมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงล้อมรอบกะโหลกภายนอกที่โค้งเป็นรูปเลข 8 อีกต่างหาก และอีกยังมีจะงอยปากบนและล่างที่ยาวไม่เท่ากัน เหล่านี้เป็นสิ่งช่วยในการลดแรงกระแทกที่ส่งผลกระทบถึงสมอง โดยวันหนึ่ง ๆ นกหัวขวานสามารถเจาะต้นไม้ได้ถึง 500-600 ครั้ง หรือถึง 12,000 ครั้ง นกหัวขวานมีพฤติกรรมการวางไข่ที่แปลก กล่าวคือ หลังจากออกไข่แล้ว ตัวผู้จะเป็นฝ่ายเข้ากกไข่และเลี้ยงดูลูกอ่อนเป็นหลัก โดยมีตัวเมียมาช่วยบ้างเป็นครั้งคราว อย่างไรก็ตาม นกหัวขวานมักจะมีโพรงอยู่เป็นประจำ คือ โพรงใดของตัวใดตัวหนึ่ง เมื่อเวลาพลบค่ำ ก็บินกลับมานอนในโพรงต่าง ๆ เหล่านี้ ตามปกติ นกหัวขวานตัวหนึ่ง ๆ มักจะมีโพรงที่อาศัยนอนเช่นนี้ 2-3 แห่ง เพื่อป้องกันอันตรายจากสิ่งอื่นที่มารบกวน นกหัวขวานอาศัยอยู่ในป่าทั่วโลก ยกเว้นออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์ และมาดากัสการ์ พบประมาณ 200 ชนิด ในประเทศไทยพบได้ราว 36 ชนิด และมี 2 ชนิดที่หายสาบสูญไปนานกว่า 50 ปีแล้ว จากการตัดไม้ทำลายป่าอันเป็นถิ่นที่อยู่อาศัย คือ นกหัวขวานอิมพีเรียล (Campephilus imperialis) กับนกหัวขวานปากงาช้าง (C. principalis) ซึ่งเป็นนกหัวขวานขนาดใหญ่ที่สุดในโลก 2 ชน.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและวงศ์นกหัวขวาน · ดูเพิ่มเติม »

วนอุทยาน

วนอุทยาน คือ ป่าสงวนที่มีลักษณะธรรมชาติสวยงาม เช่นมีน้ำตก ถ้ำ และทางราชการได้เข้าไปปรับปรุงตกแต่งสถานที่ให้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน หมวดหมู่:สิ่งแวดล้อม.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและวนอุทยาน · ดูเพิ่มเติม »

สัก (พรรณไม้)

ัก เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ผลัดใบในฤดูร้อน ลำต้นเปลาตรงเปลือกเรียบหรือแตกเป็นร่องเล็ก ๆ สีเทา โคนเป็นพูพอนต่ำ ๆ เรือนยอดเป็นพุ่มทรงกลมค่อนข้างทึบ เปลือกสีเทา เรียบ หรือแตกเป็นร่องตื้นตามความยาวลำต้น ขึ้นเป็นหมู่ในป่าเบญจพรรณทางภาคเหนือ บางส่วนในภาคกลางและภาคตะวันตก มีอยู่บ้างทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สักมักจะได้รับความเข้าใจผิดเสมอว่าเป็นไม้เนื้อแข็งเนื่องจากว่ามันมีลักษณะพิเศษที่เป็นไม้เนื้ออ่อนที่มีความทนทานกว่าไม้เนื้อแข็งหลาย ๆ ชนิด ชื่อสามัญอื่นอื่น: เซบ่ายี้, ปีฮือ, ปายี้, เป้อยี.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและสัก (พรรณไม้) · ดูเพิ่มเติม »

สัมฤทธิ์

รื่องมือโบราณบางส่วนที่ทำจากสัมฤทธิ์ สัมฤทธิ์ (bronze; โบราณเขียน "สำริด") หมายถึง โลหะประสมทองแดงชนิดหนึ่ง ที่มีคุณลักษณะแปรผันหลากหลาย ปกติมีดีบุกเป็นส่วนประกอบหลัก แต่บางครั้งก็มีธาตุอื่นๆ เช่นฟอสฟอรัส, แมงกานีส, อะลูมิเนียม หรือ ซิลิกอน สัมฤทธิ์เป็นโลหะที่แข็งแรง และเหนียว และมีการใช้งานอย่างกว้างขวางในทางอุตสาหกรรม และมีความสำคัญเป็นพิเศษในสมัยโบราณ จนนักโบราณคดีเรียกยุคหนึ่งว่า ยุคสัมฤท.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและสัมฤทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

สนสองใบ

นสองใบหรือเกี๊ยะดำ ภาษากะเหรี่ยงเรียกโชซู ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ลำต้นตรง เปลือกสีดำหรือน้ำตาลอมดำ เปลือกหนามาก กระพี้สีเหลืองอ่อน มียางซึมออกมาจากแก่น ใบเดี่ยวเป็นกระจุก กระจุกละสองใบ โคนแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน โคนตัวผู้ออกเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง เป็นช่อสีเหลือง โคนตัวเมียใหญ่กว่าตัวผู้ มีเกล็ดโดยรอบ สีเหลืองอมเขียว ภายใต้เกล็ดมีโอวุลหลายอัน เมล็ดมีปีกบางๆ 2 ปีก เนื้อไม้ใช้ทำโครงสร้างต่างๆของบ้าน เช่น ฝา เสา หลังคา และใช้ทำฟืน.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและสนสองใบ · ดูเพิ่มเติม »

สนสามใบ

ปลือกไม้ สนสามใบ หรือ เกี๊ยะแดง (ภาษากะเหรี่ยงเรียก โชบอ) เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ลำต้นตรง เปลือกสีน้ำตาลแดง หลุดออกเป็นเกล็ด ใบเดี่ยวเป็นกระจุก สีเขียวอ่อนกระจุกละสามใบ โคนแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน โคนตัวผู้ออกเป็นกลุ่ม เมื่ออ่อนเป็นสีเหลืองซีด แก่แล้วเป็นสีม่วง โคนตัวเมียสีม่วงอมเขียว เป็นเกล็ดเล็ก ๆ เรียงเวียน แต่ละเกล็ดมีกาบรองรับ แต่ละกาบมี 2 โอวุลโคยตัวเมียที่เจริญเต็มที่เป็นรูปกรวย เมล็ดมีครีบสีขาวบางเป็นปีก เนื้อไม้ใช้ทำโครงสร้างต่างๆของบ้าน เช่น ฝา เสา หลังคา และใช้ทำฟืน.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและสนสามใบ · ดูเพิ่มเติม »

หมูป่า

หมูป่า เป็นสัตว์จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กีบคู่ เป็นต้นสายพันธุ์ของหมูบ้านในปัจจุบัน.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและหมูป่า · ดูเพิ่มเติม »

หว้า

หว้า เป็นไม้ประเภทไม้ยืนต้น มีถิ่นกำเนิดจากอินเดียจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในไทยพบทั่วไปตามป่าดิบชื้นและป่าผลัดใบ ตั้งแต่ระดับใกล้น้ำทะเลจนถึงระดับความสูง 1,100 เมตร เป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำเพชรบุรี.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและหว้า · ดูเพิ่มเติม »

หินบะซอลต์

หินบะซอลต์ บะซอลต์ (basalt) เป็นหินอัคนีพุที่พบได้โดยทั่วไป มักพบมีสีเทาถึงสีดำ มีเนื้อละเอียดเนื่องจากเกิดจากการเย็นตัวของลาวาอย่างรวดเร็วบนพื้นผิวโลก อาจพบมีเนื้อสองขนาดที่มีผลึกขนาดโตกว่าอยู่ในพื้นเนื้อละเอียด หรือมีเนื้อเป็นโพรงข่าย หรือมีเนื้อเป็นตะกรันภูเขาไฟ (สคอเรีย) เนื้อหินบะซอลต์สดๆจะมีสีดำหรือสีเทา ปรกติหินบะซอลต์จะถูกนำไปใช้เป็นวัสดุก่อสร้างถนน เทพื้นรองหมอนและรางรถไฟ และทำเป็นแผ่นปูพื้นหรือผนัง และยังใช้เป็นส่วนผสมที่สำคัญในการผลิตแอสฟัลต์ ในโลกของเรานี้หินหนืด (แมกมา) เป็นวัตถุต้นกำเนิดของหินบะซอลต์ เกิดจากการพองตัวของวัตถุหลอมในชั้นเนื้อโลก หินบะซอลต์ก็เกิดได้บนดวงจันทร์ของโลกเรา รวมถึงบนดาวอังคาร ดาวศุกร์ และแม้แต่ดาวเคราะห์น้อย 4 เวสต้า หินต้นกำเนิดเพื่อการกึ่งหลอมละลายอาจจะเป็นทั้งเพริโดไทต์และไพรอกซีไนต์ (เช่น Sobolev et al., 2007) เปลือกโลกส่วนของมหาสมุทรโดยส่วนใหญ่แล้วจะประกอบไปด้วยหินบะซอลต์ที่เกิดจากการปะทุขึ้นมาจากชั้นเนื้อโลกที่อยู่ด้านล่างตรงบริเวณเทือกเขากลางสมุทร คำว่าบะซอลต์บางครั้งก็ถูกใช้เรียกหินอัคนีแทรกซอนในระดับตื้นๆที่มีองค์ประกอบเป็นแบบหินบะซอลต์ แต่หินที่มีองค์ประกอบดังกล่าวที่มีเนื้อหยาบโดยทั่วไปจะเรียกว่าโดเลอไรต์ (อาจเรียกเป็นไดอะเบสหรือแกบโบร) หินบะซอลต์ที่มีแนวแตกเสาเหลี่ยมที่ชีฟอีสเตอร์ในเยลโลสโตน หินบะซอลต์มีเนื้อเป็นโพรงข่ายที่ซันเซ็ตเครเตอร์ อะริโซนา สหรัฐอเมริกา ใช้เหรียญ 25 เซนต์เทียบเป็นมาตราส่วน.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและหินบะซอลต์ · ดูเพิ่มเติม »

หินปูน

ำหรับหินปูนในช่องปากให้ดูที่ คราบหินปูน หินปูน (limestone) เป็นหินในกลุ่มหินตะกอน มีชื่อวิทยาศาสตร์ที่รู้จักกันในหมู่นักธรณีว่า แร่แคลไซต์ (Calcite)(CaCO3) เป็นหินตะกอนคาร์บอเนต เกิดจากการทับถมของตะกอนคาร์บอเนตในท้องทะเล ทั้งจากสารอนินทรีย์ และซากสิ่งมีชีวิต เช่น ปะการัง และกระดองของสัตว์ทะเล ซึ่งถับถมกันภายใต้ความกดดันและตกผลึกใหม่เป็นแร่แคลไซต์จึงทำปฏิกิริยากับกรด เนื้อแน่นละเอียดทึบ มีสีออกขาว เทา ชมพู หรือสีดำ เพราะฉะนั้น อาจมีซากดึกดำบรรพ์ในหินได้ เช่น ซากหอย ปะการัง ภูเขาหินปูนมักมียอดยักแหลมเป็นหน้าผา และเป็นหินที่ละลายน้ำได้ดี.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและหินปูน · ดูเพิ่มเติม »

หินแกรนิต

ระยะใกล้ของหินแกรนิตจากอุทยานแห่งชาติหุบเขาโยเซไมต์ แม่น้ำเมอร์ซ เหมืองหินแกรนิตสำหรับวัดมอร์มอน รัฐอูทาห์ พื้นผิวดินกระจัดกระจายไปด้วยก้อนหินขนาดใหญ่และเศษของหินแกรนิตที่หลุดล่วงลงมา ซึ่งหลุดหล่นลงมาจากผนังของหน้าผา Little Cottonwood Canyon เหมืองประกอบไปด้วยบล็อกที่แตกย่อยออกไป หินแกรนิต (granite) เป็นหินอัคนีแทรกซอน สีจางพบได้ทั่วไปเป็นปรกติ แกรนิตมีเนื้อขนาดปานกลางถึงเนื้อหยาบ บางครั้งจะพบผลึกเดี่ยวๆบางชนิดที่มีขนาดใหญ่กว่ามวลเนื้อพื้น (groundmass) เกิดเป็นหินที่รู้จักกันในนามของพอร์พายรี (porphyry) แกรนิตอาจมีสีชมพูจนถึงสีเทาเข้มหรือแม้แต่สีดำขึ้นอยู่กับองค์ประกอบทางเคมีและองค์ประกอบทางแร่ หินโผล่ของหินแกรนิตมีแนวโน้มจะเกิดเป็นมวลหินโผล่ขึ้นมาเป็นผิวโค้งมน บางทีหินแกรนิตก็เกิดเป็นหลุมยุบรูปวงกลมที่รายล้อมไปด้วยแนวเทือกเขาเกิดเป็นแนวการแปรสภาพแบบสัมผัสหรือฮอร์นเฟลส์ แกรนิตมีเนื้อแน่นเสมอ (ปราศจากโครงสร้างภายใน) แข็ง แรงทนทาน ดังนั้นจึงถูกนำไปใช้เป็นหินก่อสร้างกันอย่างกว้างขวาง ค่าความหนาแน่นเฉลี่ยของหินแกรนิตคือ 2.75 กรัม/ซม3 และค่าความหนืดที่อุณหภูมิและความกดดันมาตรฐานคือ ~4.5 • 1019 Pa•s.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและหินแกรนิต · ดูเพิ่มเติม »

หินแปร

หินแปร (Metamorphic rock) คือ หินที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบ ของ เนื้อหิน (Texture) จาก เดิมไปเป็นหินชนิดใหม่ใต้ผิวโลก ซึ่งได้รับอิทธิพลจากการเปลี่ยนแปลงความดันและอุณหภูมิในสภาพที่ยังเป็นของแข็ง อาจมีส่วนประกอบใหม่มาเพิ่มหรือไม่ก็ได้ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเรียกว่า การแปรสภาพ (Metamorphism).

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและหินแปร · ดูเพิ่มเติม »

อันดับลิ่น

ลิ่น หรือ นิ่ม หรือที่นิยมเรียกกันว่า ตัวลิ่น หรือ ตัวนิ่ม จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วย ชั้ ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนนม ที่อยู่ในอันดับ Pholidota จัดเป็นสัตว์ที่มีเพียงวงศ์เดียว คือ Manidae และสกุลเดียว คือ Manis ลิ่นเป็นสัตว์ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับอาร์มาดิลโล หรือ สัตว์ที่อยู่ในอันดับ Cingulata ที่พบได้ในทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ ขณะที่ลิ่นจะพบได้ที่ทวีปเอเชียและแอฟริกา ลิ่นทุกชนิดจะมีส่วนหน้าที่ยาว มีปากขนาดเล็ก มีลักษณะเป็นรูเล็ก ๆ ไม่มีฟัน กินอาหารโดยการใช้ลิ้นที่ยื่นยาวและน้ำลายที่เหนียวตวัดกินแมลงตามพื้นดิน จำพวก มดและปลวกหรือหนอนขนาดเล็ก และมีลำตัวที่ปกคลุมด้วยเกล็ดเป็นชิ้น ๆ เหมือนกับสัตว์เลื้อยคลาน ทำหน้าที่เหมือนชุดเกราะเพื่อใช้ในการป้องกันตัว เมื่อถูกรุกรานลิ่นจะลดลำตัวเป็นวงกลม ขณะที่ส่วนท้องจะไม่มีเกล็ด ซึ่งจะถูกโจมตีได้ง่าย ลิ่นมีเล็บที่แหลมคมและยื่นยาว ใช้สำหรับขุดพื้นดินหาอาหารและขุดโพรงเป็นที่อยู่อาศัยและพักผ่อน และปีนต้นไม้ เป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน ลิ่นออกลูกเป็นตัว ครั้งละ 1-2 ตัว ตั้งท้องนานราว 130 วัน เมื่อแรกเกิด ลูกลิ่นจะมีเกล็ดติดตัวมาตั้งแต่เกิด และจะเกาะกับแม่ตรงบริเวณโคนหาง ซึ่งลูกลิ่นวัยอ่อนจะยังไม่มีเกล็ดแข็งเหมือนกับลิ่นวัยโต แต่จะค่อย ๆ แข็งขึ้นเรื่อย ๆ ตามการเจริญเติบโต ลิ่นมีทั้งหมด 8 ชนิด (ดูในตาราง) กระจายพันธุ์ไปในทวีปแอฟริกาและเอเชีย สำหรับในประเทศไทยพบ 2 ชนิด คือ ลิ่นซุนดา หรือ ลิ่นชวา (M. javanica) ที่พบได้ทั่วไปทุกภาค กับลิ่นจีน (M. pentadactyla) ที่มีรายงานการพบเพียงไม่กี่ครั้งเท่านั้น บริเวณอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ เมื่อปี พ.ศ. 2483 ซึ่งมีขนาดลำตัวที่เล็กกว่า หางสั้นกว่า และมีสีที่คล้ำกว่า ลิ่นซุนดา ในปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าที่นิยมอย่างมากในการรับประทานในหมู่ของผู้ที่นิยมรับประทานสัตว์ป่าหรือของแปลก ๆ โดยมีราคาขายสูงถึงกิโลกรัมละ 2,000-3,000 บาท หากตัวไหนที่มีน้ำหนักมากอาจมีราคาสูงถึง 3,500 บาท ทำให้มีการลักลอบค้าตัวลิ่นอยู่บ่อย ๆ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้ เช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด และอุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า เป็นต้น และในความเชื่อของชาวจีน เชื่อว่า เกล็ดของลิ่นช่วยในการรักษาโรคกระเพาะ โดยผู้ที่เข้าป่าหาตัวลิ่นจะใช้สุนัขดมกลิ่นตามล่า หากลิ่นปีนขึ้นต้นไม้ ก็จะใช้การตัดต้นไม้ต้นนั้นทิ้งเสีย โดยการค้าตัวลิ่นถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย เพราะลิ่นไม่ว่าชนิดไหน ในประเทศไทย ถือว่าเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 และมีกฎหมายคุ้มครองระหว่างประเทศอีกด้วย ผู้กระทำผิดจะได้รับโทษปรับไม่เกิน 40,000 บาท จำคุก 4 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งคำว่า "Pangolin" ซึ่งเป็นคำศัพท์ในภาษาอังกฤษที่เรียกลิ่นนั้น มาจากภาษามลายูคำว่า Peng-goling แปลว่า "ไอ้ตัวขด".

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและอันดับลิ่น · ดูเพิ่มเติม »

อันดับนกแก้ว

นกแก้ว หรือ นกปากขอ (ภาษาไทยถิ่นเหนือ: นกแล) เป็นอันดับของนกอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Psittaciformes เป็นนกที่มีความแตกต่างกันมากทางสรีระ คือมีตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงใหญ่ (19-100 เซนติเมตร) มีหัวกลมโต ลำตัวมีขนอุยปกคลุมหนาแน่น ขนมีแกนขนรอง ต่อมน้ำมันมีลักษณะเป็นพุ่มขน ผิวหนังค่อนข้างหนา มีลักษณะเด่นที่แตกต่างจากนกอันดับอื่น ๆ คือ จะงอยปากที่สั้นหนา และทรวดทรงงอเป็นตะขอหุ้มปากล่าง มีความคมและแข็งแรง อันเป็นที่ของชื่อสามัญ ใช้สำหรับกัดแทะอาหารและช่วยในการปีนป่าย เช่นเดียวกับกรงเล็บ รูจมูกไม่ทะลุถึงกัน สันปากบนหนาหยาบและแข็งทื่อ ขนปลายปีกมี 10 เส้น ขนกลางปีกมี 8-14 เส้น ไม่มีขนกลางปีกเส้นที่ 5 ขนหางมี 12-14 เส้น หน้าแข้งสั้นกว่าความยาวของนิ้วที่ยาวที่สุด แข้งปกคลุมด้วยเกล็ดชนิดเกล็ดร่างแห นิ้วมีการจัดเรียงแบบนิ้วคู่สลับกัน คือ เหยียดไปข้างหน้า 2 นิ้ว (นิ้วที่ 2 และ 3) และเหยียดไปข้างหลัง 2 นิ้ว (นิ้วที่ 1 และนิ้วที่ 4) ซึ่งนิ้วที่ 4 สามารถหมุนไปข้างหน้าได้ เป็นนกที่อาศัยและหากินบนต้นไม้ กินผลไม้และเมล็ดพืช บินได้ดีและบินได้เร็ว พบอาศัยอยู่เป็นคู่หรือเป็นฝูง ทำรังตามโพรงต้นไม้ ไข่สีขาว ลักษณะทรงกลม วางไข่ครั้งละ 2-6 ฟอง ลูกนกแรกเกิดมีสภาพเป็นลูกอ่อนเดินไม่ได้ พบกระจายพันธุ์ตามเขตร้อนทั่วโลก ในบางชนิดมีอายุยืนได้ถึง 50 ปี โดยเฉพาะนกแก้วชนิดที่มีขนาดใหญ่ และจากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์พบว่า นกแก้วขนาดใหญ่มีความเฉลียวฉลาดเทียบเท่ากับเด็กอายุ 4 ขวบPets 101: Pet Guide, สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: พฤหัสบดีที่ 3 มกราคม 2556 เป็นนกที่มนุษย์รู้จักกันเป็นอย่างดี เนื่องด้วยนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงที่สามารถฝึกหัดให้เลียนเสียงตามแบบภาษามนุษย์ในภาษาต่าง ๆ ได้ ประกอบกับมีสีสันต่าง ๆ สวยงามตามชนิด ซึ่งนกแก้วไม่มีกล่องเสียง แต่การส่งเสียงมาจากกล้ามเนื้อถุงลมและแผ่นเนื้อเยื่อ เมื่ออวัยวะส่วนนี้เกิดการสั่นสะเทือน จึงเปล่งเสียงออกมาได้ แบ่งออกได้ราว 360 ชนิด ใน 80 สกุล ในประเทศไทยพบเพียงวงศ์เดียว คือ Psittacidae หรือนกแก้วแท้ พบทั้งหมด 7 ชนิด ใน 3 สกุล อาทิ นกแขกเต้า (Psittacula alexandri), นกแก้วโม่ง (P. eupatria) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม มีนกเพียงชนิดเดียวในอันดับนี้ที่บินไม่ได้ และหากินในเวลากลางคืนด้วย คือ นกแก้วคาคาโป (Strigops habroptila) ที่พบเฉพาะบนเกาะนิวซีแลนด์เท่านั้น โดยเป็นนกรูปร่างใหญ่ บินไม่ได้ นอกจากจะหากินในเวลากลางคืนแล้ว ยังมีเสียงร้องประหลาดที่คล้ายกบหรืออึ่งอ่างอีกด้วย ปัจจุบันมีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์มากแล้ว.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและอันดับนกแก้ว · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอฮอด

อด (20px) เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของจังหวัด และเป็นอำเภอที่มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทิวเขา ในอดีตเป็นอำเภอหนึ่งที่มีความยากลำบากในการเดินทาง มีหอนาฬิกาเป็นสัญลักษณ์ของอำเภอ เป็นทางผ่านของผู้เดินทางหรือนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางไปจังหวัดแม่ฮ่องสอน.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและอำเภอฮอด · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอจอมทอง

อมทอง (40px) เป็นอำเภอขนาดใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของจังหวัดเชียงใหม่ มีประวัติความเป็นมายาวนานกว่า 112 ปี มีศักยภาพในการพัฒนาสูง มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์สวยงาม มีประเพณีวัฒนธรรมที่ดีงาม จึงทำให้อำเภอจอมทองเป็นอำเภอที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเยือนเกือบ 2 ล้านคน ถือเป็นเมืองท่องเที่ยวสำคัญเมืองหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงคือ ดอยอินทนนท์ อำเภอจอมทองเป็นอำเภอที่มีศักยภาพในการพัฒนาสูง มีภูมิศาสตร์ที่เอื้ออำนวยในการรองรับรับความเจริญจากจังหวัดเชียงใหม่ สามารถเดินทางติดต่อกับอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงได้สะดวก เริ่มมีการขยายตัวทางการศึกษา การก่อสร้างห้างค้าปลีก ห้างสรรพสินค้า ธุรกิจด้านสินเชื่อ ธุรกิจสิ่งพิมพ์ ธุรกิจโรงแรม รีสอร์ต หอพักและบ้านจัดสรรขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงปี 2551 เป็นต้นมา ปัจจุบันจึงเป็นศูนย์กลางความเจริญทางตอนใต้ของจังหวัดเชียงใหม่ ทางตอนใต้ของจังหวัดลำพูนและทางตอนใต้ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ในด้านการศึกษา มีวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยของรัฐ 3 แห่ง วิทยาลัยการอาชีพ 1 แห่ง มีโรงเรียนมัธยมศึกษา และโรงเรียนประถมศึกษาที่มีชื่อเสียง และใหญ่ที่สุดในเชียงใหม่ตอนใต้ ในด้านการสาธารณสุข มีโรงพยาบาลจอมทอง โรงพยาบาลที่กำลังพัฒนาเทียบเท่าโรงพยาบาลระดับจังหวัด รองรับการรักษาผู้ป่วยในเขตพื้นที่อำเภอจอมทองและอำเภอใกล้เคียง ด้านการท่องเที่ยว มีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญและมีชื่อเสียง ได้แก่ ยอดดอยอินทนนท์ และน้ำตกในเขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร พิพิธภัณฑ์ผ้าป้าแสงดาที่บ้านไร่ไผ่งาม แหล่งผ้าฝ้ายทอมือในเขตตำบลสบเตี๊ยะ อุทยานแห่งชาติออบหลวง รวมถึงประเพณีแห่ไม้ค้ำโพธิ์ในช่วงสงกรานต์ เป็นต้น.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและอำเภอจอมทอง · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอแม่แจ่ม

แม่แจ่ม (55px) เป็นหนึ่งในอำเภอของจังหวัดเชียงใหม.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและอำเภอแม่แจ่ม · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์

อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่ อำเภอจอมทอง อำเภอแม่แจ่ม อำเภอแม่วาง และ อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่ประมาณ 482.4 ตารางกิโลเมตร หรือ 301,500 ไร่ ประกอบไปด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อน มีดอยอินทนนท์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทิวเขาอินทนนท์ (ทิวเขาถนนธงชัยตะวันออก) เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทย สภาพภูมิประเทศทั่วไปประกอบด้วยภูเขาสลับซับซ้อน มีดอยอินทนนท์เป็นยอดเขาที่สูงที่สุด สูงจากระดับน้ำทะเล 2,565 เมตร ยอดเขาที่มีระดับสูงรองลงมาคือ ดอยหัวมดหลวง สูงจากระดับน้ำทะเล 2,330 เมตร ป่าอินทนนท์นี้เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำแม่กลาง แม่ป่าก่อ แม่ปอน แม่หอย แม่ยะ แม่แจ่ม แม่ขาน และเป็นส่วนหนึ่งของต้นน้ำแม่ปิงที่ ให้พลังงานไฟฟ้าที่เขื่อนภูมิพล มีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตกต่างๆ โดยเฉพาะน้ำตกแม่ยะ ที่ได้ชื่อว่าสวยที่สุดของประเทศ ดอยอินทนนท์ เดิมมีชื่อว่า "ดอยหลวงอ่างกา" ต่อมาได้ตั้งชื่อตามพระนามของพระเจ้าอินทวิชยนนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 7.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติในประเทศไทย

น้ำตกเหวสุวัต อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติในประเทศไทย เกิดขึ้นจากพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาต..

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและอุทยานแห่งชาติในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้

องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (ชื่อย่อ อ.อ.ป.) เป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก่อตั้งขึ้นเป็นหน่วยงานในสังกัดกรมป่าไม้ในปี พ.ศ. 2490 เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการทำไม้ ต่อมาได้ยกฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ ในปี..

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดเชียงใหม่

ังหวัดเชียงใหม่ (40px เจียงใหม่) เป็นจังหวัดหนึ่งของไทย ตั้งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศ ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 20,107 ตารางกิโลเมตร ซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศ มีประชากร 1,746,840 คน มากเป็นอันดับ 5 ของประเทศ ในจำนวนนี้เป็นประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองและชานเมือง 960,906 คน โดยจังหวัดเชียงใหม่ทิศเหนือติดต่อกับรัฐฉานของเมียนมา จังหวัดเชียงใหม่ จัดเป็นเมืองใหญ่อันดับที่สองของประเทศไทย รองจากกรุงเทพมหานคร โดยแบ่งการปกครองออกเป็น 25 อำเภอ โดยมีอำเภอเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางของจังหวัด เมื่อ พ.ศ. 2552 มีการจัดตั้งอำเภอกัลยาณิวัฒนาเป็นอำเภอลำดับที่ 25 ของจังหวัด และลำดับที่ 878 ของประเทศ ซึ่งเป็นอำเภอล่าสุดของไทย จังหวัดเชียงใหม่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรล้านนาแต่โบราณ มี "คำเมือง" เป็นภาษาท้องถิ่น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวทั้งด้านประเพณีวัฒนธรรม และมีแหล่งท่องเที่ยวจำนวนมาก โดยเริ่มวางตัวเป็นนครสร้างสรรค์ และได้รับการประกาศเป็นเมืองสร้างสรรค์ของโลกทางด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน เมื่อปี พ.ศ. 2560 ปัจจุบันกำลังพิจารณาสมัครเมืองมรดกโลกจากองค์การยูเนสโก.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและจังหวัดเชียงใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

ถ้ำ

้ำ Lechuguilla นิวเม็กซิโก สหรัฐอเมริกา ถ้ำ ถ้ำ คือโพรงที่ลึกเข้าไปในภูเขา หรือเป็นช่องที่เป็นโพรงลึกเข้าไปในพื้นดินหรือภูเขา มีขนาดใหญ่พอที่มนุษย์สามารถเข้าไปได้ เกิดขึ้นตามธรรมชาติ โดยทั่วไปถ้ำเกิดในหินปูนที่มีน้ำใต้ดินไหลผ่านกัดเซาะ ซึ่งมักพบตามภูเขาหินปูนหรือ ภูเขาชายฝั่งทะเล นอกจากนี้ยังมีถ้ำที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์อีกด้ว.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและถ้ำ · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 สายเชียงใหม่–แม่ฮ่องสอน หรือที่นิยมเรียกว่า ถนนเชียงใหม่-หางดง, ถนนเชียงใหม่-ฮอด หรือ ถนนเชียงใหม่-แม่สะเรียง เป็นทางหลวงสายหลักที่ใช้สำหรับเดินทางเข้าสู่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชื่อมต่อระหว่างเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ และเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อการคมนาคมระหว่างชุมชนและสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญในพื้นที่ด้านใต้ของทั้งสองจังหวัด จากจุดเริ่มต้นที่ตัวเมืองเชียงใหม่ สามารถเดินทางเข้าสู่ตัวเมืองแม่ฮ่องสอนได้ด้วยระยะทางประมาณ 350 กิโลเมตร.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1088

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1088 เป็นขึ้นเขาสูงชันแต่ไม่มากนัก โดยเริ่มต้นจากสวนสนบ่อแก้ว อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ บ้านแม่นาจร และสิ้นสุดที่บ้านวัดจันทร์ ช่วงสวนสนบ่อแก้ว-บ้านแม่นาจร เป็นถนนลาดยางช่วงบ้านแม่นาจร-บ้านวัดจันทร์ เป็นทางลูกรังจนไปบ้านวัดจันทร์ ถนนขนาด 2 ช่องจราจรตลอ.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1088 · ดูเพิ่มเติม »

ทิวเขาถนนธงชัย

ทิวเขาถนนธงชัย เป็นแนวทิวเขาทางด้านตะวันตกของภาคเหนือ เริ่มจากจุดที่บรรจบกับทิวเขาแดนลาว ทอดตัวเป็นแนวยาวลงมาทางตอนล่างของภาค แบ่งออกเป็น 3 แนว ได้แก.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและทิวเขาถนนธงชัย · ดูเพิ่มเติม »

ดอยอินทนนท์

อยอินทนนท์ เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เดิมมีชื่อว่า "ดอยหลวง" หรือ "ดอยหลวงอ่างกา" ชื่อของ ดอยอินทนนท์ เป็นชื่อของกษัตริย์พระนามว่าพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ทรงเป็นผู้ที่ห่วงใยในป่าทางภาคเหนือและพยายามรักษาไว้ ภายหลังเสด็จพิราลัย พระอัฐิส่วนหนึ่งได้เชิญไปประดิษฐาน ณ พระสถูปบนยอดดอยหลวง และเปลี่ยนชื่อเพื่อเป็นเกียรต.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและดอยอินทนนท์ · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศักราช

ริสต์ศักราช (Anno Domini Nostri Iesu Christi Anno Domini: AD หรือ A.D. ส: คฺฤสฺตศกฺราช ป: คิตฺถสกฺกาช) เขียนย่อว.. หมายถึง ปีของพระเยซูคริสต์ โดยเริ่มนับจากปีที่เชื่อว่าพระเยซูทรงประสูติ เป็น..

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและคริสต์ศักราช · ดูเพิ่มเติม »

ควอตซ์

วอตซ์ (Quartz) (SiO2) หรือมีชื่อว่า "แร่เขี้ยวหนุมาน" เป็นแร่ที่พบมากที่สุดในโลกเป็นอันดับที่สองรองจาก เฟลด์สปาร.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและควอตซ์ · ดูเพิ่มเติม »

คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 30

ลเอกถนอม กิตติขจร''' นายกรัฐมนตรีคนที่ 10 หัวหน้าคณะรัฐมนตรีคณะที่ 30 คณะรัฐมนตรี คณะที่ 30 ของไทย (9 ธันวาคม พ.ศ. 2506 - 7 มีนาคม พ.ศ. 2512) พลเอกถนอม กิตติขจร (ยศในขณะนั้น) เป็น นายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม..

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 30 · ดูเพิ่มเติม »

ตะกวด

ตะกวด, จะกวด หรือ จังกวด (อีสาน, ลาว, ใต้, เหนือ: แลน; เขมร: ตฺรอกวต) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลังชั้นสัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง มีรูปร่างคล้ายเหี้ย (V. salvator) ซึ่งเป็นสัตว์ที่อยู่ในสกุลและวงศ์เดียวกัน โดยมักจำสับสนกับเหี้ยหรือเรียกสลับกัน แต่ตะกวดมีขนาดเล็กกว่าเหี้ยมาก และตำแหน่งของโพรงจมูก โดยโพรงจมูกของตะกวดจะอยู่ไม่ใกล้กับปลายปากเหมือนกับเหี้ย รวมถึงมีปลายปากที่มนทู่กว่า อีกทั้งสีสันของตะกวดจะมีสีน้ำตาลหรือสีดำ ซึ่งแตกต่างจากเหี้ยที่มีสีเหลืองผสมอยู่เป็นลาย อีกทั้งอุปนิสัยมักจะไม่ค่อยอาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำหรือชอบว่ายน้ำหรือหากินในน้ำเหมือนเหี้ย และไม่ดุร้ายเท่า ตะกวดมักอาศัยบนต้นไม้ ปีนต้นไม้เก่ง ชอบนอนผึ่งแดดตามกิ่งไม้ แต่หากินตามพื้นดิน มักอาศัยอยู่ตามป่าโปร่งมากกว่าป่าทึบ ในนิทานชาดก พระพุทธเจ้าเคยเสวยพระชาติเป็นตะกวดเช่นกัน.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและตะกวด · ดูเพิ่มเติม »

ตะกอน

ตะกอน คือ อินทรีย์วัตถุ หรือ อนินทรีย์วัตถุที่มีขนาดเล็กเช่น กรวด หิน ดิน ทราย ที่เกิดจากกระบวนการสลายตามธรรมชาติ ถูกพัดพาปะปนกับกระแสน้ำ และทับถมกันบริเวณด้านล่างที่กระแสน้ำไหลผ่าน ตะกอนมีหลายชนิดขึ้นอยู่กับสิ่งปะปนในกระแสน้ำนั้น ๆ เช่น ดิน หิน ทราย หรือตะกอนที่เป็นสารอินทรีย์ที่ย่อยสลาย ลักษณะเป็นสีคล้ำ มีความหยุ่น เรียกว่า โคลน อีกความหมายหนึ่งคือ อนุภาคที่แยกตัวออกมาจากสารละลาย เมื่อทิ้งไว้ระยะเวลาหนึ่ง เช่น น้ำผสมผงแป้ง เมื่อทิ้งไว้ระยะเวลาหนึ่ง ผงแป้งจะตกตะกอนลงสู่ด้านล่าง เห็นเป็นชั้นแป้งและน้ำอย่างชัดเจน.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและตะกอน · ดูเพิ่มเติม »

ตารางกิโลเมตร

ตารางกิโลเมตร คือหน่วยของพื้นที่ มักย่อว่า ตร.กม.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและตารางกิโลเมตร · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิภาณ ปฐวีกานต์

ปฏิภาณ ปฐวีกานต์ เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2516 เป็นนักร้อง นักแสดง จากค่าย จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ โด่งดังจากภาพยนตร์ กลิ้งไว้ก่อนพ่อสอนไว้ และละครซิตคอม 3 หนุ่ม 3 มุม ด้านชีวิตส่วนตัว มอส ปฏิภาณ สมรสกับ ดวงพร ลือกิตินันท์ แฟนสาวนอกวงการ อดีตประชาสัมพันธ์ค่ายแกรมมี่ เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2554 ที่โรงแรม เซ็นทาราแกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ ปัจจุบันทั้งคู่มีบุตรด้วยกันสองคน เป็นบุตรหญิงทั้งคู่ คนแรกชื่อ.ญ.สิสราญ ปฐวีกานต์ หรือ น้องโสน (สะโหฺน) ที่ โรงพยาบาลสมิติเวช วันเสาร์ เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 คนที่สอง ชื่อ.ญ ธานธาดา ปฐวีกานต์ หรือ น้องบัวสวรรค์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2558.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและปฏิภาณ ปฐวีกานต์ · ดูเพิ่มเติม »

ประดู่

ประดู่เต็ม สมิตินันทน.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและประดู่ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาจิ้งจอก

ปลาจิ้งจอก (Siamese algae eater, Siamese flying fox) เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Garrinae มีรูปร่างลำตัวเพรียวทรงกระบอก หัวเรียว ตาเล็ก ปากเล็ก มีหนวดสั้น 1 คู่ มีแผ่นหนังคลุมด้านริมฝีปากบน ลำตัวสีน้ำตาลอ่อนเหลือบทอง และมีแถบสีคล้ำพาดยาวจากหัวถึงกลางครีบหาง ครีบสีจาง ครีบหางเว้าลึก มีขนาดความยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร ใหญ่สุด 16 เซนติเมตร มีพฤติกรรมอาศัยอยู่เป็นฝูงใหญ่ในแม่น้ำสายใหญ่และลำธาร โดยเฉพาะที่เป็นแก่งและมีพรรณไม้หนาแน่น ในประเทศไทยพบเฉพาะที่ภาคใต้ที่เดียวเท่านั้น กินอาหารได้แก่ อินทรียสารและสัตว์หน้าดินขนาดเล็ก เป็นปลาที่พบชุกชุมบางฤดูกาล มีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามและนำไปทำเป็นฟิชสปาเช่นเดียวกับปลาในสกุล Garra.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและปลาจิ้งจอก · ดูเพิ่มเติม »

ปาล์ม (แก้ความกำกวม)

ปาล์ม อาจหมายถึง.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและปาล์ม (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

ป่า

ป่า ป่าไม้ ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ หมายถึง ที่ดินที่ไม่มีบุคคลใดบุคคลหนึ่งได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ครอบครองตามกฎหมายที่ดิน โดยทั่วไป หมายถึง บริเวณที่มีความชุ่มชื้น และปกด้วยใบไม้สีเขียว ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นและกว้างใหญ่พอที่จะมีอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อมในบริเวณนั้น เช่น ความเปลี่ยนแปลงของลมฟ้าอากาศ ความอุดมสมบูรณ์ของดินและน้ำ มีสัตว์ป่าและสิ่งมีชีวิตอื่นซึ่งมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและป่า · ดูเพิ่มเติม »

นกกระทา

นกกระทาดงแข้งเขียว (''Arborophila chloropus'') เป็นหนึ่งในนกกระทาที่พบได้ในประเทศไทย (ตัวในรูปพบที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน) นกกระทา หรือ นกคุ่ม เป็นชื่อสามัญของนกในอันดับไก่ (Galliformes) หลายชนิด นกกระทา โดยมากจะเป็นไก่ขนาดเล็ก ตัวป้อมสั้นอ้วน สีสันไม่สวยงาม ตามลำตัวมักมีลายเป็นจุดกระ ๆ ปีกและหางสั้น ทำให้บินได้เฉพาะระยะใกล้ ๆ เหมือนไก่ จึงมักหากินเมล็ดพืชและแมลงอยู่ตามพื้นดิน นกกระทา กระจายพันธุ์ไปในทุกทวีปทั้งโลกเก่า (ยุโรป, เอเชีย, แอฟริกา) และโลกใหม่ (อเมริกาเหนือ, อเมริกาใต้, ออสเตรเลีย) เป็นนกที่มนุษย์นิยมเลี้ยงเพื่อบริโภคเนื้อและไข่เป็นอาหาร มีบางส่วนที่เลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลิน เช่น นกกระทาญี่ปุ่น (Coturnix japonica) ที่แต่เดิมเลี้ยงเพื่อฟังเสียงร้องคล้ายนกเขา แต่ต่อมาได้มีการพัฒนามาเลี้ยงเพื่อบริโภคเนื้อและไข่ ซึ่งนกกระทาที่นิยมบริโภคกันในประเทศไทยก็เป็นนกกระทาชนิดนี้ ส่วนวิธี การเลี้ยงนกกระทาไข่ เป็นสัตว์เศรฐกิจตัวหนึ่งในปัจจุบัน.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและนกกระทา · ดูเพิ่มเติม »

นกกระเต็น

นกกระเต็น หรือ นกกะเต็น เป็นนกที่อยู่ในอันดับย่อย Alcedines ในอันดับนกตะขาบ (Coraciiformes) จัดเป็นนกขนาดเล็ก มีความยาวประมาณ 13-16 เซนติเมตร (ในชนิดที่ใหญ่อาจยาวได้ถึง 41 เซนติเมตร) ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะคล้ายกัน มีลักษณะทั่วไปคือ มีส่วนหัวโต คอสั้น จะงอยปากแหลมยาวตรงและแข็งแรง ส่วนใหญ่มีสีสวยสดสะดุดตา เมื่อเวลาบินจะบินได้อย่างคล่องแคล่ว มักพบในแหล่งน้ำหรือพื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ เป็นนกที่หากินด้วยวิธีการพุ่งลงไปในน้ำด้วยความเร็วและแรง (มีการศึกษาพบว่าเร็วถึง 1/50 วินาที) และใช้จะงอยปากที่แข็งแรงแหลมคมจับปลาหรือสัตว์น้ำต่าง ๆ กินเป็นอาหาร ด้วยการจ้องมองจากบนกิ่งไม้ริมน้ำ ซึ่งสามารถอยู่นิ่ง ๆ แบบนั้นได้เป็นระยะเวลานาน โดยมักจะจับปลาในช่วงเช้าจนถึงสาย ๆ และอีกครั้งในช่วงบ่าย เมื่อเกาะอยู่บนกิ่งไม้เหนือแหล่งน้ำ จะพยายามหันหลังให้ดวงอาทิตย์ เพื่อให้ปลาเมื่อมองขึ้นมาจะต้องมองย้อนแสง ทำให้สังเกตไม่เห็นตัวนก ในบางชนิดอาจจะบินอยู่กับที่กลางอากาศ ก่อนที่จะพุ่งลงไปจับปลา เมื่อจับปลาได้แล้ว จะจับปลาฟาดกับกิ่งไม้เพื่อให้ปลาตาย ก่อนที่จะกลืนลงไปโดยเอาส่วนหัวลงไปก่อนเสมอ เพื่อที่จะไม่กินปลาย้อนเกล็ด ซึ่งอาจโดนเงี่ยงหรือเกล็ดทิ่มแทงทำให้นกได้รับบาดเจ็บได้ โดยปกติเป็นนกที่อยู่ลำพังเพียงตัวเดียว ยกเว้นในฤดูผสมพันธุ์ การทำรังวางไข่ นกกระเต็นมักใช้จะงอยปากขุดรูริมฝั่งน้ำ และหาหญ้ามารองเป็นพื้น วางไข่ครั้งละ 4-5 ฟอง บางชนิดอาจขุดรูไว้มากถึง 2-3 รู เพื่อหลอกสัตว์ผู้ล่า ขณะที่บางชนิดอาจจะใช้โพรงไม้หรือโพรงไม้เก่าของนกอื่นที่ทิ้งร้างไว้เป็นที่วางไข่ โดยมากจะวางไข่ในช่วงฤดูหนาว นกกะเต็นแดง ที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน สามารถจำแนกออกเป็นวงศ์ต่าง ๆ ได้ 3 วงศ์ (ดูในตาราง; บางข้อมูลยกให้เป็นวงศ์ย่อย) แบ่งออกได้เป็นชนิดทั้งหมด 85 ชนิด (บางข้อมูลจัดให้มี 93 ชนิด) พบกระจายพันธุ์อยู่แทบทุกภูมิภาคทั่วโลก พบในประเทศไทยราว 16 ชนิดFry, C. Hilary; Fry, Kathie and Harris, Alan (1992).

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและนกกระเต็น · ดูเพิ่มเติม »

นกกะปูด

นกกะปูด (Coucals, Crow pheasants) เป็นนกสกุลหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ย่อย Centropodinae ในวงศ์นกคัคคู (Cuculidae) โดยใช้ชื่อสกุลว่า Centropus แต่มิใช่นกปรสิตเหมือนนกชนิดอื่น ๆ ในวงศ์เดียวกัน โดยเป็นนกเพียงวงศ์เดียวและสกุลเดียว นกกะปูด จัดเป็นนกขนาดกลาง มีลำตัวเพรียวยาว ลักษณะคล้ายกา มีความยาวประมาณ 35.50 เซนติเมตร ปากสีดำแหลมสั้นหนาแข็งแรง ตาสีแดง หัวและคอ และลำตัวสีดำ ปีกสั้นสีน้ำตาลแดง ขายาวสีดำ นิ้วตีนและเล็บยาวแข็งแรง สามารถจับเหยื่อ เกาะยึดเหนียวไต่แทรกไปตามพงหญ้า, ต้นไม้ หรือ พุ่มไม้หนาทึบได้อย่างคล่องแคล่ว หางยาวประมาณ 15–25 เซนติเมตร หนังหนาเหนียวสีดำ นกกะปูด ได้ชื่อมาจากเสียงร้อง "ปูด ๆ ๆ ๆ ๆ" อันเป็นเอกลักษณ์ มักอาศัยอยู่ในพุ่มไม้ใกล้ชายน้ำหรือพื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ มีพฤติกรรมออกกินในตอนเช้าและตอนเย็น เมื่อตกใจแทนที่จะบินหนีเหมือนนกชนิดอื่น แต่กลับวิ่งหัวซุกหัวซุนเข้าซ่อนเร้นอยู่ในพุ่มไม้รกใกล้ ๆ บริเวณนั้น เมื่อจวนตัวจึงบินหนี นกกะปูดกินอาหารได้แก่ กบ, เขียด, หนู, อึ่งอ่าง, ปู, กุ้ง, หอย และปลา โดยหากินตามท้องนาหรือชายน้ำ แต่อาหารที่ชอบที่สุด คือ งู ทำรังอยู่ตามพงหญ้ารกตามริมน้ำ เช่น อ้อ หรือแขม วางไข่ครั้งหนึ่งราว 2 ถึง 6 ฟอง ตัวผู้กับตัวเมียจะผลัดเปลี่ยนกันฟักไข่ นกกะปูด กระจายพันธุ์ในเขตร้อนทั่วไปทั้งทวีปเอเชียและแอฟริกา แบ่งออกเป็น 30 ชนิด ได้แก.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและนกกะปูด · ดูเพิ่มเติม »

นกกางเขน

นกกางเขน หรือ นกกางเขนบ้าน (Oriental magpie robin) เป็นนกชนิดหนึ่งที่กินแมลง มีขนาดไม่ใหญ่นัก ยาวประมาณ 18-20 เซนติเมตร ส่วนบนลำตัวสีดำเงา ส่วนล่างตั้งแต่หน้าอกลงไปจะเป็นสีขาวหม่น ใต้หางและข้างหางมีสีขาว ปีกมีลายพาดสีขาวทั้งปีก ตัวผู้สีจะชัดกว่าตัวเมีย ส่วนที่เป็นสีดำในตัวผู้ ในตัวเมียจะเป็นสีเทาแก่ ปากและขาสีดำ มักจะพบเป็นตัวเดียวหรือเป็นกลุ่มเล็ก ๆ หากินแมลงตามพุ่มไม้ บางครั้งก็โฉบจับแมลงกลางอากาศ หางของมันมักกระดกขึ้นลง ร้องเสียงสูงบ้าง ต่ำบ้าง ฟังไพเราะ ทำรังตามโพรงไม้ที่ไม่สูงนัก มันจะวางไข่ครั้งละ 4-5 ฟองและตัวเมียเท่านั้นจะกกไข่ และจะฟักไข่นานประมาณ 8-14 วัน อายุ 15 วัน แล้วจะเริ่มหัดบิน ในประเทศไทยพบทั่วไปในทุกภาคแม้ในเมืองใหญ่ ๆ เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 นกกางเขนเป็นนกเกาะคอน (อันดับ Passeriformes) ที่เคยจัดเป็นวงศ์นกเดินดง (Turdidae) แต่ปัจจุบันจัดอยู่ในวงศ์นกจับแมลงและนกเขน (Muscicapidae) เป็นนกสีดำขาวที่เด่น มองเห็นได้ง่าย มีหางยาวที่จะกระดกขึ้นลงเมื่อหาอาหารที่พื้นหรือจับบนต้นไม้ เป็นนกที่มีอยู่กระจายไปทั่วเอเชียใต้และบางส่วนของเอเชียอาคเนย์ เป็นนกที่สามัญทั้งตามสวนในเมืองและในป่า เป็นนกที่รู้จักกันดีเพราะร้องเสียงเพราะ และเคยเป็นนกเลี้ยงที่นิยม นกกางเขนเป็นนกประจำชาติของประเทศบังกลาเทศ ซึ่งเรียกนกว่า "Doyel" ชื่ออังกฤษของนกคือ Oriental Magpie Robin อาจจะเป็นเพราะนกดูคล้ายนกสาลิกาปากดำ (Common Magpie).

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและนกกางเขน · ดูเพิ่มเติม »

นกกางเขนดง

นกกางเขนดง หรือ นกบินหลาดง (White-rumped shama) เป็นนกที่อยู่ในวงศ์ Muscicapidae มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับนกกางเขนบ้าน แตกต่างกันที่นกกางเขนดงจะมีสีสันบริเวณท้องเป็นสีแดงอมน้ำตาลสดใส และมีสัดส่วนหางยาวกว่าปีกและลำตัวมาก มีเสียงร้องเพลงไพเราะ ชาวตะวันตกที่เข้าไปในอินเดียและพบนกชนิดนี้เข้าได้เรียกว่านกไนติงเกลแห่งอินเดียนกกางเขนดง.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและนกกางเขนดง · ดูเพิ่มเติม »

นกกาเหว่า

นกกาเหว่า หรือ นกดุเหว่า (Asian koel) เป็นนกชนิดหนึ่งในวงศ์นกคัคคู (Cuculidae) พบในเอเชียใต้ จีน เอเชียอาคเนย์รวมทั้งประเทศไทย เป็นญาติใกล้ชิดกับ E. melanorhynchus (black-billed koel) และกับ E. orientalis (Pacific koel) โดยทั้งสองบางครั้งจัดเป็นสปีชีส์ย่อยของ E. scolopaceus เป็นญาติใกล้ชิดกับ E. melanorhynchus (black-billed koel) และกับ E. orientalis (Pacific koel) โดยทั้งสองบางครั้งจัดเป็นสปีชีส์ย่อยของ E. scolopaceus เป็นนกปรสิตที่วางไข่ให้กาและนกอื่น ๆ เลี้ยง เป็นนกจำพวกคัคคูที่ไม่เหมือนพันธุ์อื่น ๆ เพราะโดยมากกินผลไม้ (frugivore) เมื่อเติบใหญ่ เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองในประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 ชื่อว่า "กาเหว่า" และชื่ออื่น ๆ อีกหลายภาษารวมทั้งชื่ออังกฤษว่า "koel" เป็นชื่อเลียนเสียงนก เป็นนกที่ใช้เป็นสัญลักษณ์อย่างมากมายในวรรณกรรมอินเดี.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและนกกาเหว่า · ดูเพิ่มเติม »

นกยูง

นกยูง (Peacock, Peafowl) เป็นสัตว์ปีกจำพวกไก่ฟ้าขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์เดียวกันนี้ มีจุดเด่นคือ เพศผู้มีขนหางยาวที่มีสีสันสวยงาม ที่เมื่อแผ่ขยายออกเพื่ออวดเพศเมียจะมีความสวยงามเป็นอย่างยิ่ง ที่เรียกว่า "รำแพน" นกยูงใช้ชื่อสกุลว่า Pavo ชอบอาศัยอยู่ในป่าดิบแล้งและป่าผลัดใบผสมตามริมลำธารในป่า มีพฤติกรรมมักร้องตอนเช้าหรือพลบค่ำ กินอาหารจำพวกเมล็ดพืช แมลง และสัตว์เล็ก ๆ มีการกระจายพันธุ์อยู่ทางเหนือของประเทศอินเดียไปทางทิศตะวันออกผ่านพม่า, ตอนใต้ของประเทศจีน, ไทย, ลาว, เวียดนาม, กัมพูชา, มาเลเซียและชวา นกยูงแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ นกยูงไทยตัวผู้ขณะรำแพน.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและนกยูง · ดูเพิ่มเติม »

นกขุนทอง

แสดงให้เห็นถึงหัวของนกขุนทองชนิดย่อยต่าง ๆ ซึ่งแตกต่างกันที่เหนียง นกขุนทอง หรือ นกเอี้ยงคำ (คำเมือง) เป็นนกในวงศ์นกเอี้ยงและนกกิ้งโครง (Sturnidae) มีถิ่นอาศัยอยู่ทั่วไปในเอเชียใต้และเอเชียอาคเนย์ มีความสามารถเลียนเสียงมนุษย์ได้เหมือนนกแก้ว จึงนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงกันสูง.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและนกขุนทอง · ดูเพิ่มเติม »

นกคุ่ม

นกคุ่ม (Asian quail) เป็นนกสกุล Coturnix จัดอยู่ในกลุ่มนกกระทา ในวงศ์ไก่ฟ้าและนกกระทา (Phasianidae) วงศ์ย่อย Perdicinae.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและนกคุ่ม · ดูเพิ่มเติม »

นกปรอดหัวโขน

นกปรอดหัวโขน หรือ นกปรอดหัวจุก หรือที่นิยมเรียกกันว่า นกกรงหัวจุก (อังกฤษ: Red-whiskered bulbul; พายัพ: นกปิ๊ดจะลิว) เป็นนกที่อยู่ในวงศ์นกปรอด (Pycnonotidae) ซึ่งอยู่ด้วยกันทั้งหมด 109 ชนิด สำหรับในประเทศไทยพบได้ 36 ชนิด นกปรอดหัวโขนเป็นนกขนาดเล็ก ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 20 เซนติเมตร ที่มีสีสันสวยงามและเสียงร้องไพเราะ ที่แก้มและคอจนถึงหน้าอกจะมีสีขาวและมีสีแดงเป็นเส้นอยู่ข้างหูลงมาถึงหน้าอกเหมือนเป็นเส้นแบ่งขนสีขาวกับสีดำที่มีอยู่ทั่วทั้งตัวขนส่วนหัวจะร่วมกัน เป็นเหมือนหน่อตั้งอยู่บนหัวสูงขึ้นไปเหมือนหัวโขน อันเป็นที่มาของชื่อ ใต้ท้องมีขนสีขาว พบกระจายอยู่ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียใต้, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนถึงเอเชียตะวันออก พบได้ในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย ตั้งแต่ยอดเขาสูง ป่าที่ราบต่ำ จนถึงทุ่งหญ้า ชายป่า และเขตที่ใกล้กับชุมนุมมนุษย์ มีชนิดย่อยทั้งหมด 9 ชนิด ดังนี้.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและนกปรอดหัวโขน · ดูเพิ่มเติม »

นกเขาใหญ่

นกเขาใหญ่ หรือ นกเขาหลวง เป็นนกชนิดหนึ่งในวงศ์นกพิราบและนกเขา (Columbidae) มีถิ่นอาศัยในเอเชียทางใต้จากประเทศปากีสถาน อินเดีย และ ศรีลังกา ทางตะวันออกถึงตอนใต้ของประเทศจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและนกเขาใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

นกเขียวก้านตอง

นกเขียวก้านตอง (Leafbird) เป็นชื่อของสกุลและวงศ์ ของนกขนาดเล็กประเภทหนึ่งในตระกูลนกเกาะคอน มีถิ่นที่อยู่ในอินเดียและเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นนก 1 ใน 2 วงศ์ซึ่งเป็นนกเฉพาะถิ่นของเขตนิเวศวิทยาอินโดมาลายัน โดยอีกวงศ์หนึ่งคือนกแว่นตาขาว เดิมสกุลนกเขียวก้านตอง อยู่ในวงศ์นกเขียวคราม ร่วมกับสกุลนกแว่นตาขาว แต่ภายหลังได้แยกวงศ์ออกมาทั้งสองสกุล ตั้งเป็นวงศ์ใหม่คือ วงศ์นกเขียวก้านตอง และวงศ์นกแว่นตาขาว นกเขียวก้านตองมีลักษณะคล้ายนกในวงศ์นกปรอดซึ่งเป็นวงศ์ใกล้เคียงกัน หากแต่มีสีสันสดใสกว่า นอกจากนี้ นกเขียวก้านตองเป็นนกที่มีลักษณะแตกต่างระหว่างเพศ โดยที่ตัวผู้จะมีสีสันสดใสกว่า และ/หรือ มีสีสันมากกว่า นกเขียวก้านตองวางไข่ 2-3 ฟองต่อครั้ง ในรังบนคาคบต้นไม้.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและนกเขียวก้านตอง · ดูเพิ่มเติม »

น้ำตก

น้ำตก หรือ โตน ในภาษาใต้ เป็นลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่เกิดจากลำน้ำไหลลงมาจากจุดที่สูงกว่า ทำให้เป็นลักษณะทัศนียภาพของน้ำตก น้ำตกที่พบได้ตามภูเขานั้น น้ำตกอีกวาซู ในอาร์เจนตินาและบราซิล น้ำตกที่ใหญ่ที่สุดในโลก.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและน้ำตก · ดูเพิ่มเติม »

แก่ง

แก่งน้ำในแคนาดา แก่ง (rapid) หมายถึง ลักษณะของแหล่งน้ำที่มีหินก้อนเล็ก ก้อนใหญ่ โผล่ขึ้นมากลางแหล่งน้ำนั้น โดยที่ลักษณะฃองหินที่โผล่ขึ้นมากลางแหล่งน้ำจะมีลักษณะแตกต่างกัน ในบางครั้งทำให้กีดขวางการจราจรทางน้ำเช่น แหล่งแก่งกลางแม่น้ำโขง หรือบางครั้งแก่งหินที่เกืดขึ้นมีโพรงอยู่ด้านใต้ของหิน ทำให้สภาพของน้ำกลายเป็น "น้ำวน" เนื่องจากหินที่เกิดขึ้นมีลักษณะแตกต่างกัน จึงเป็นแหล่งพักอาศันที่เหมาะสมของสัตว์น้ำ และนอกจากนี้ยังชลอการไหลของน้ำทำให้น้ำไหลช้าลง จากการระเบิดแก่งกลางแม่น้ำโขงทำให้แหล่งอาศัยของสัตว์น้ำน้อยลง น้ำไหลแรงมากขึ้นในฤดูน้ำหลาก และไม่มีแหล่งกักน้ำในฤดูแล้งจึงทำให้น้ำแห้งขอ.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและแก่ง · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำปิง

แม่น้ำปิง (50px) เป็นแม่น้ำสายสำคัญของประเทศไทย และเป็นหนึ่งในสองของแม่น้ำที่บรรจบมาเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำปิงไหลอยู่ในหุบเขาระหว่างทิวเขาถนนธงชัยกลางกับทิวเขาผีปันน้ำตะวันตก มีต้นน้ำอยู่ที่ดอยเชียงดาวในอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ไหลลงทางใต้ผ่านจังหวัดลำพูน รวมกับแม่น้ำวังที่อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก ไหลลงใต้ผ่านจังหวัดกำแพงเพชร แล้วบรรจบกับแม่น้ำน่านที่ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ และจากจุดนี้ไปเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำปิงมีความยาวทั้งสิ้น 658 กิโลเมตร แม่น้ำปิงมีแม่น้ำสาขาที่สำคัญอยู่ 6 สาย ได้แก่ น้ำแม่งัด น้ำแม่แตง น้ำแม่กวง น้ำแม่ลี้ น้ำแม่กลาง และน้ำแม่แจ่ม ในบริเวณแม่น้ำปิงตอนบนเป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติแม่ปิง มีเนื้อที่ 627,346 ไร่ (1,003.75 ตร.กม.).

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและแม่น้ำปิง · ดูเพิ่มเติม »

แย้

แย้ (Butterfly lizards, Small-scaled lizards, Ground lizards, Butterfly agamas) เป็นสัตว์เลื้อยคลานจำพวกกิ้งก่าประเภทหนึ่ง จัดเป็นสัตว์ที่อยู่ในสกุล Leiolepis ในวงศ์ Agamidae วงศ์ย่อย Leiolepidinae พบกระจายทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะภูมิภาคอินโดจีน พบทั้งหมด 8 ชนิด สำหรับในประเทศไทยพบทั้งหมด 4 ชนิด มีลักษณะเด่นคือ มีสีสวยสด และลำตัวไม่มีปุ่มหนาม.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและแย้ · ดูเพิ่มเติม »

แดง (พรรณไม้)

ำหรับแดงในความหมายอื่น ดูที่: แดง แดง เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ สูงได้ถึง 30 เมตร (สูงสุด 37 เมตร) จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (Fabaceae) แดง เป็นไม้ที่ชอบขึ้นในป่าเต็งรัง, ป่าเบญจพรรณ และป่าสัก กระจายพันธุ์ในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยขึ้นได้ทั่วทุกภาค ลำต้นค่อนข้างเปล่า ตรง หรือเป็นปุ่มปม เรือนยอดรูปทรงกลม หรือเก้งก้าง ไม่ค่อยแน่นอน สีเขียวอมแดง เปลือกเรียบสีเทาอมแดง ตกสะเก็ดออกเป็นแผ่นกลมบาง ๆ รอบลำต้น เมื่อสับเปลือกทิ้งไว้จะได้ชันสีแดง ยอดอ่อนมีขนสีเหลืองปกคลุม ใบเป็นช่อแบบขนนกสองชั้น ก้านใบยาว 2–7 เซนติเมตร ช่อใบยาว 10–22 เซนติเมตร แต่ละช่อมีใบย่อย 4–5 คู่ ใบย่อยรูปไข่หรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน แผ่นใบมักจะเบี้ยว มีขนาดไม่เท่ากัน กว้าง 3–7 เซนติเมตร ยาว 7–20 เซนติเมตร ปลายใบแหลมมน ฐานใบมักจะเบี้ยว ใบแก่ไม่มีขนปกคลุม หรืออาจจะมีขนประปรายด้านท้องใบเล็กน้อย ก้านใบย่อยยาว 2–4 มิลลิเมตร ดอกสีเหลือง ขนาดเล็ก ขึ้นอัดกันแน่นบนช่อกลมเดี่ยว ๆ หรือแตกกิ่งก้าน หรือขึ้นเป็นกลุ่ม ๆ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง แต่ละช่อประมาณ 1.4 เซนติเมตร ก้านช่อดอกยาว 2–5 เซนติเมตร มีขนปกคลุมประปราย กลีบรองกลีบดอกเชื่อมติดกันคล้ายรูประฆัง ตรงปลายแยกออกเป็น 5 กลีบ มีขนสีเหลืองปกคลุม กลีบดอก 5 กลีบติดกันเล็กน้อยที่บริเวณฐาน เกสรตัวผู้มี 10 อัน แยกจากกันเป็นอิสระยื่นออกมานอกดอก ดอกจะออกมาพร้อมกับใบอ่อนระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม ฝักจะแก่ประมาณเดือนตุลาคมถึงธันวาคม ผลเป็นฝักแบน รูปขอบขนานเรียวและโค้งงอที่ส่วนปลาย ฝักแข็ง ยาวประมาณ 7–10 เซนติเมตร สีน้ำตาลอมเทา ผิวเรียบ ไม่มีขนปกคลุม ไม่มีก้าน เมื่อฝักแก่จะแตกออกเป็น 2 ซีก ผนังของฝักที่แตกมักจะม้วนบิดงอ เมล็ดแบนเรียวแหลม ยาวรีหรือเกือบกลม ยาว 0.4–0.7 นิ้ว กว้าง 0.35–0.5 นิ้ว สีน้ำตาลเป็นมัน เปลือกหุ้มเมล็ดแข็งขอประมาณ เมล็ดแม้จะผ่านไปเป็นระยะเวลานานกว่า 1 ปี ก็สามารถงอกได้หากอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม ผักหนึ่งมีจำนวนหลายเมล็ด เปลือกต้นแดง แดง เป็นไม้ที่ใช้ประโยชน์ ด้วยการใช้เนื้อไม้ในเชิงอุตสาหกรรมป่าไม้ ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ และเครื่องใช้ต่าง ๆ เนื้อไมีสีแดงเรื่อ ๆ หรือสีน้ำตาลอมแดง เสี้ยนเป็นลูกคลื่น หรือมักสน เนื้อละเอียดพอประมาณ มีความแข็งแรง มีความถ่วงจำเพาะประมาณ 1.18 ดอก เปลือกและ แก่นใช้บำรุงหัวใจ แก้ไข้ แก้ช้ำใน แดงเป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดตาก และมีชื่อเรียกต่างออกไปตามแต่ละท้องถิ่น อาทิ "คว้าย" (เชียงใหม่, กาญจนบุรี), "ไคว" (แพร่ แม่ฮ่องสอน) "จะลาน, จาลาน, ตะกร้อม, สะกรอม" (จันทบุรี), "ปราน" (สุรินทร์) เป็นต้น.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและแดง (พรรณไม้) · ดูเพิ่มเติม »

โครงกระดูกมนุษย์

รงกระดูกของมนุษย์ โครงกระดูกมนุษย์ ประกอบไปด้วยกระดูกชิ้นต่างๆในร่างกาย ซึ่งเชื่อมต่อกันด้วยโครงสร้างของข้อต่อ เอ็น กล้ามเนื้อ กระดูกอ่อน และอวัยวะต่างๆ กระดูกในมนุษย์ผู้ใหญ่มีประมาณ 206 ชิ้น และคิดเป็นประมาณ 20 เปอร์เซนต์ของน้ำหนักร่างกาย อย่างไรก็ดี จำนวนของกระดูกอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ทารกแรกเกิดจะมีกระดูกจำนวนประมาณ 300 ชิ้น ซึ่งต่อมากระดูกบางชิ้นจะมีการเชื่อมรวมกันระหว่างการเจริญเติบโต เช่นส่วนกระเบนเหน็บและส่วนก้นกบของกระดูกสันหลัง นอกจากนี้ในทารกแรกเกิดยังมีโครงสร้างของกระดูกอ่อนอยู่มาก เพื่อให้มีการสร้างโครงสร้างของกระดูกระหว่างการเจริญเติบโต และจะมีการพัฒนาไปเป็นกระดูกทั้งหมดเมื่อสิ้นสุดช่วงวัยรุ่น กระดูกจะติดต่อกับกระดูกอีกชิ้น และประกอบเข้าด้วยกันเป็นโครงกระดูกด้วยเอ็นและกล้ามเนื้อเป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นในกระดูกโคนลิ้น (Hyoid bone) ซึ่งเป็นกระดูกที่ไม่ติดต่อกับกระดูกชิ้นอื่นๆโดยตรง แต่จะยึดไว้ในบริเวณส่วนบนของคอหอยด้วยเอ็นและกล้ามเนื้อใกล้เคียง กระดูกชิ้นที่ใหญ่ที่สุดในมนุษย์คือกระดูกต้นขา (Femur) ในขณะที่กระดูกชิ้นเล็กที่สุดคือกระดูกโกลน (Stapes) ซึ่งเป็นกระดูกของหูชั้นกลางชิ้นหนึ่ง.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและโครงกระดูกมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

ไฟป่า

thumb ไฟป่า (wildfire, brush fire, bushfire, forest fire, desert fire, grass fire, hill fire, peat fire, vegetation fire, veldfire หรือ wildland fire) คือ เพลิงที่ไหม้อย่างเป็นอิสระในชนบทประเทศหรือถิ่นทุรกันดาร (wilderness area)Federal Fire and Aviation Operations Action Plan, 4.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและไฟป่า · ดูเพิ่มเติม »

ไก่ฟ้า

ก่ฟ้าสีทอง (''Chrysolophus pictus'') ตัวผู้ (♂) เป็นไก่ฟ้าที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน ไก่ฟ้า (อีสาน: ไก่ขวา) เป็นชื่อสามัญของนกหลายชนิด หลายสกุล ในวงศ์ไก่ฟ้าและนกกระทา (Phasianidae) โดยมากจะอยู่ในวงศ์ย่อย Phasianinae ไก่ฟ้าจะมีรูปร่างไล่เลี่ยกับไก่บ้าน มีจะงอยปากและขาแข็งแรงมาก มีลักษณะเด่น คือ ตัวผู้มีหางยาว และสีสันสวยงามกว่าตัวเมีย จัดเป็นความแตกต่างระหว่างเพศเห็นได้ชัดเจน บินได้แต่ในระยะทางสั้น ๆ ทำรังบนพื้นดิน กินเมล็ดพืช, ผลไม้สุก และแมลง เป็นอาหาร ไก่ฟ้า เป็นนกที่มนุษย์ใช้เนื้อเป็นอาหาร และนิยมเลี้ยงเพื่อเป็นสัตว์เลี้ยง มีหลายชนิดที่มีราคาแพง.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและไก่ฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

ไก่ป่า

''Gallus gallus'' ไก่ป่า หรือ ไก่เถื่อน อยู่ในวงศ์ไก่ฟ้าและนกกระทา (Phasianidae) จัดเป็นนกมีขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ขนาดลำตัว 46-73 เซนติเมตร พบการกระจายอยู่ในเขตศูนย์สูตรโดยมีการกระจายตั้งแต่ประเทศอินเดียจนถึงเวียดนาม และประเทศจีนตอนใต้ จนไปถึงเกาะต่าง ๆ ในประเทศอินโดนีเซีย จัดเป็นไก่สายพันธุ์ดั้งเดิมและเป็นต้นตระกูลของไก่บ้านที่เลี้ยงกันเป็นสัตว์เศรษฐกิจในปัจจุบันนี้ สามารถแบ่งออกได้แบ่งชนิดย่อยได้ 6 ชน.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและไก่ป่า · ดูเพิ่มเติม »

ไร่

ร่ เป็นหน่วยวัดพื้นที่ของประเทศไทย 1 ไร่ มีค่าเท่ากั.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและไร่ · ดูเพิ่มเติม »

เฟลด์สปาร์

ฟลด์สปาร์ หรือ แร่ฟันม้า (feldspar) เป็นส่วนประกอบที่สำคัญในเนื้อเซรามิก (ร้อยละ 15.35) และในน้ำยาเคลือบผิว (Glaze 30-50%) เฟลด์สปาร์เป็นแร่ที่มีปริมาณธาตุอัลคาไลด์สูง ทำให้หลอมตัวที่อุณหภูมิต่ำจึงทำหน้าที่เป็นฟลักซ์ทำให้เกิดเนื้อแก้วยึดเหนี่ยวเนื้อ ทำให้เกิดความแกร่งและความโปร่งใสของชิ้นงาน นอกจากนี้ ยังหาได้ง่ายในธรรมชาติ มีธาตุเหล็กต่ำ จึงเป็นที่นิยมใช้ แร่เฟลด์สปาร์ที่เกิดในธรรมชาติมีอยู่ 3 ชนิด คือ.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและเฟลด์สปาร์ · ดูเพิ่มเติม »

เฟิร์น

ฟิร์น หรือ เฟิน (fern) เป็นหนึ่งในกลุ่มของพืชที่มีราว ๆ 20,000 สปีชีส์ ที่ถูกจำแนกในไฟลัม Pteridophyta หรือ Filicophyta พืชกลุ่มนี้ยังเป็น Polypodiophyta หรือ Polypodiopsida ด้วย เมื่อถือตามส่วนย่อยของพืชมีท่อลำเลียง คำว่า เทอริโดไฟต์ (pteridophyte) ใช้เพื่อกล่าวถึงพืชมีท่อลำเลียงที่ไม่มีเมล็ดทั้งหมด ทำให้มันหมายถึง "เฟิร์นและพืชใกล้เคียงเฟิร์น" ซึ่งสามารถสร้างความสับสนเมื่อสมาชิกของเฟิร์นในส่วน Pteridophyta บางครั้งอ้างเป็นเทอริโดไฟต์ได้ด้วยเหมือนกัน การศึกษาในเรื่องของเฟิร์นและเทอริโดไฟต์อื่น ๆ เรียกว่า วิทยาเฟิร์น (Pteridology).

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและเฟิร์น · ดูเพิ่มเติม »

เก้ง

ก้ง หรือ อีเก้งบรรจบ พันธุเมธา, ศาสตราจารย์, ดอกเตอร.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและเก้ง · ดูเพิ่มเติม »

เลียงผา

ลียงผา หรือ เยียงผา หรือ โครำ (Serows; อีสาน: เยือง) เป็นสกุลของสัตว์กีบคู่สกุลหนึ่ง ในวงศ์ Bovidae วงศ์ย่อย Caprinae คือ วงศ์เดียวกับแพะและแกะ ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Capricornis (/แคป/-ปริ-คอร์-นิส/).

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและเลียงผา · ดูเพิ่มเติม »

เหยี่ยวรุ้ง

หยี่ยวรุ้ง หรือ อีรุ้ง (Crested serpent-eagle; ชื่อวิทยาศาสตร์: Spilornis cheela) เป็นนกล่าเหยื่อขนาดกลางจำพวกเหยี่ยวที่พบได้ในป่าในทวีปเอเชียเขตร้อน มีการกระจายพันธุ์กว้าง ด้วยความที่นกในสกุลนี้กินอาหารหลัก คือ งู จึงได้ชื่อสามัญในภาษาอังกฤษว่า "Serpent-eagle" (เหยี่ยวงู หรือ อินทรีงู).

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและเหยี่ยวรุ้ง · ดูเพิ่มเติม »

เหียง

หียง อยู่ในวงศ์ Dipterocarpaceae ภาษากะเหรี่ยงเรียกเคอะล่าเทอ เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ ลำต้นสีน้ำตาลเข้ม เปลือกหนา แตกเป็นสะเก็ดแข็งตามยาว ใบเดี่ยว มีขนเส้นเล็กๆติดตามขอบใบโดยทั่วไป แผ่นใบเป็นรอยพับคล้ายพัดชัดเจน ก้านใบมีขนสีน้ำตาล หูใบขนาดใหญ่ มีขนสีน้ำตาล ดอกช่อ ดอกย่อยเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ก้านดอกสั้น เนื้อไม้ใช้ทำส่วนประกอบต่างๆของบ้าน เช่น เสา ใช้ทำฟืน ชาวกะเหรี่ยงนำเปลือกไม้ไปใช้ย้อมผ้าได้สีเหลืองหม่น.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและเหียง · ดูเพิ่มเติม »

เทศบาลนครเชียงใหม่

ียงใหม่ (40px) เป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และเป็นเมืองวัฒนธรรมที่สำคัญที่สุดในภาคเหนือของประเทศไทย เป็นเมืองศูนย์กลางของจังหวัดเชียงใหม่ และเป็นอดีตนครหลวงแห่งอาณาจักรล้านนา ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศเหนือเป็นระยะทาง มีแม่น้ำปิงไหลผ่านเมือง และตั้งอยู่ท่ามกลางภูเขาที่สูงที่สุดของประเทศ เขตเทศบาลมีพื้นที่ 40.22 ตารางกิโลเมตร โดยครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของอำเภอเมืองเชียงใหม่ ในแง่ของจำนวนประชากรของเทศบาลนครเชียงใหม่ซึ่งมีประมาณ 130,000 คน ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง นับว่าเป็นเทศบาลที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 4 ของประเทศไทย รองจากเทศบาลนครนนทบุรี เทศบาลนครปากเกร็ด และเทศบาลนครหาดใหญ่ นอกจากนี้ เทศบาลนครเชียงใหม่ยังเป็นเทศบาลนครแห่งแรกของประเทศไท.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและเทศบาลนครเชียงใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

เต็ง

ต็ง ภาษากะเหรี่ยงเรียก ลานิ ไม้ยืนต้น ผลัดใบ ลำต้นตรง เปลือกสีน้ำตาลปนเทา แตกเป็นร่องและเป็นสะเก็ดหนา ใบเดี่ยว ใบอ่อนมีขนประปราย ดอกช่อ ออกที่ปลายยอด ก้านดอกย่อยสั้นมาก ดอกย่อยขนาดเล็กสีขาว ผลมีปีกแบบซามารอยด์ เนื้อไม้ใช้ทำเสาบ้าน.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและเต็ง · ดูเพิ่มเติม »

4 ธันวาคม

วันที่ 4 ธันวาคม เป็นวันที่ 338 ของปี (วันที่ 339 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 27 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติออบหลวงและ4 ธันวาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ออบหลวงผาช้าง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »