โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาจิ้งจอก

ดัชนี ปลาจิ้งจอก

ปลาจิ้งจอก (Siamese algae eater, Siamese flying fox) เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Garrinae มีรูปร่างลำตัวเพรียวทรงกระบอก หัวเรียว ตาเล็ก ปากเล็ก มีหนวดสั้น 1 คู่ มีแผ่นหนังคลุมด้านริมฝีปากบน ลำตัวสีน้ำตาลอ่อนเหลือบทอง และมีแถบสีคล้ำพาดยาวจากหัวถึงกลางครีบหาง ครีบสีจาง ครีบหางเว้าลึก มีขนาดความยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร ใหญ่สุด 16 เซนติเมตร มีพฤติกรรมอาศัยอยู่เป็นฝูงใหญ่ในแม่น้ำสายใหญ่และลำธาร โดยเฉพาะที่เป็นแก่งและมีพรรณไม้หนาแน่น ในประเทศไทยพบเฉพาะที่ภาคใต้ที่เดียวเท่านั้น กินอาหารได้แก่ อินทรียสารและสัตว์หน้าดินขนาดเล็ก เป็นปลาที่พบชุกชุมบางฤดูกาล มีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามและนำไปทำเป็นฟิชสปาเช่นเดียวกับปลาในสกุล Garra.

19 ความสัมพันธ์: ชวลิต วิทยานนท์พ.ศ. 2366พ.ศ. 2548ภาคใต้ (ประเทศไทย)วงศ์ย่อยปลาเลียหินวงศ์ปลาตะเพียนสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังอันดับปลาตะเพียนฮิวจ์ แมคคอร์มิค สมิธทรงกระบอกประเทศไทยปลาการ์ร่า รูฟาปลาสวยงามปลาส่อปลาที่มีก้านครีบปลาเลียหินปลาเล็บมือนางเมตร

ชวลิต วิทยานนท์

ร.ชวลิต วิทยานนท์ ชวลิต วิทยานนท์ (ชื่อเล่น: แฟรงก์) เกิดที่กรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2502 จบการศึกษาในระดับประถมและมัธยมจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและโททางวิทยาศาสตร์ทางทะเล จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ทางทะเลและเทคโนโลยี โตเกียว กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ดร.ชวลิต วิทยานนท์ ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพของปลามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 และค้นพบปลาชนิดใหม่จากประเทศไทยและประเทศใกล้เคียงรวมกันแล้วถึงวันนี้ไม่ต่ำกว่า 20 ชนิด และร่วมการค้นพบฟอสซิลเอปโคราช Khoratpithecus piriyai Chaimanee, Suteethorn, Jintasakul, Vidthayanon, Marandat & Jaeger, 2004 โดยมีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะปลาในอันดับปลาหนัง มีผลงานการเขียนบทความตามวารสารต่าง ๆ เช่น สารคดี, Cichlid World เป็นต้น มีผลงานทางหนังสือ ได้แก่ สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในป่า, ปลาน้ำจืดไทย (พ.ศ. 2544), คู่มือปลาน้ำจืด (พ.ศ. 2547), คู่มือปลาทะเล (พ.ศ. 2551), ปลาไทย ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา (พ.ศ. 2553) และมีผลงานทางด้านสื่อต่าง ๆ เช่น ซีดีฐานข้อมูลปลาในลุ่มแม่น้ำโขงและสนับสนุนข้อมูลด้านอนุกรมวิธานปลาในการจัดนิทรรศการในสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำต่าง ๆ และจัดทำเอกสารเผยแพร่ของหน่วยราชการหลายแห่ง รวมถึงองค์กรชุมชนต่าง ๆ ให้เป็นองค์ความรู้ในการเคลื่อนไหวเพื่ออนุรักษ์ถิ่นอาศัยของสัตว์น้ำในท้องถิ่น เช่น บ้านกรูด บ่อนอก ลุ่มแม่น้ำสงคราม ปากมูล และเชียงของ เป็นกรรมการวิทยานิพนธ์และอาจารย์พิเศษในสาขามีนวิทยาและสัตววิทยาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยมหาสารคาม อีกทั้งยังเคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายอนุรักษ์ทางทะเลและแหล่งน้ำจืด ของกองทุนสัตว์ป่าโลก (Worldwide Fund for Nature - WWF-Greater Mekong สำนักงานประเทศไทย) รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณีฯ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และปัจจุบันเป็นผู้เชี่ยวชาญอาวุโส ประจำโครงงานสิ่งแวดล้อม สำนักงานคณะกรรมาธิการลุมแม่น้ำโขง (Environment Programme Mekong River Commission) สำนักงานใหญ่กรุงเวียงจันทน์ สปป.

ใหม่!!: ปลาจิ้งจอกและชวลิต วิทยานนท์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2366

ทธศักราช 2366 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ปลาจิ้งจอกและพ.ศ. 2366 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2548

ทธศักราช 2548 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2005 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรโกเรียน และเป็น.

ใหม่!!: ปลาจิ้งจอกและพ.ศ. 2548 · ดูเพิ่มเติม »

ภาคใต้ (ประเทศไทย)

ใต้ เป็นภูมิภาคหนึ่งของไทย ตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายู ขนาบด้วยอ่าวไทยทางฝั่งตะวันออก และทะเลอันดามันทางฝั่งตะวันตก มีเนื้อที่รวม 70,715.2 ตารางกิโลเมตร ความยาวจากเหนือจรดใต้ประมาณ 750 กิโลเมตร ทุกจังหวัดของภาคมีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล ยกเว้นจังหวัดยะลาและจังหวัดพัทลุง.

ใหม่!!: ปลาจิ้งจอกและภาคใต้ (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยปลาเลียหิน

วงศ์ย่อยปลาเลียหิน (Algae eater, Stone lapping) เป็นวงศ์ย่อยของวงศ์ Cyprinidae หรือวงศ์ปลาตะเพียน ซึ่งเป็นวงศ์ใหญ่ ในอันดับปลากินพืช (Cypriniformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Labeoninae (/ลา-เบ-โอ-นี-เน/) โดยรวมแล้ว ปลาในวงศ์ย่อยนี้ มีรูปร่างเรียวยาว ลำตัวทรงกระบอก ครีบหลังยกสูงและไม่มีก้านครีบแข็ง ลักษณะสำคัญ คือ ปากจะงุ้มลงด้านล่าง มีริมฝีปากบนหนาและแข็ง ในบางสกุลจะมีตุ่มเล็ก ๆ คล้ายสิวกระจายอยู่บนนั้น ในหลายชนิดมีหนวดอยู่ 1 คู่ โดยเป็นปลาที่ใช้ปากในการดูดกินตะไคร่น้ำ, สาหร่าย และแพลงก์ตอนสัตว์ขนาดเล็ก บริเวณพื้นน้ำหรือโขดหิน, ตอไม้ ใต้น้ำ เป็นอาหาร มักพบกระจายพันธุ์ทั้งในลำธารน้ำเชี่ยว และแหล่งน้ำขนาดใหญ่ มักอาศัยอยู่รวมเป็นฝูง ขนาดแตกต่างกันออกไปตั้งแต่เพียงไม่เกิน 10 เซนติเมตร จนถึงเกือบ 1 เมตร กระจายพันธุ์ทั่วไปทั้งทวีปเอเชียและแอฟริก.

ใหม่!!: ปลาจิ้งจอกและวงศ์ย่อยปลาเลียหิน · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาตะเพียน

วงศ์ปลาตะเพียน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cyprinidae, barb, carp, minnow, goldfish) โดยคำว่า Cyprinidae มาจากคำว่า kyprînos ในภาษากรีกโบราณ (κυπρῖνος แปลว่า "ปลาทอง") ประกอบด้วยปลาจำพวกปลาไน, ปลาตะเพียน, ปลาทอง และปลาซิว ถือเป็นวงศ์ที่ใหญ่ที่สุดในปลาน้ำจืด ประกอบไปด้วยชนิด มากกว่า 2,000 ชนิดใน 200 สกุล แบ่งออกได้เป็นหลายวงศ์ย่อย โดยจัดอยู่ในอันดับ Cypriniformes เป็นวงศ์ที่มีชนิดและจำนวนปลามากที่สุดในปลาน้ำจืดของไทย และมีความหลากหลายเป็นอันดับสามของโลก ปัจจุบันพบแล้วอย่างน้อย 204 ชน.

ใหม่!!: ปลาจิ้งจอกและวงศ์ปลาตะเพียน · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ปลาจิ้งจอกและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: ปลาจิ้งจอกและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาตะเพียน

อันดับปลาตะเพียน หรือ อันดับปลากินพืช (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cypriniformes, Carp, Barb, Loach, Minnow, Chinese suckerfish, Garra) เป็นอันดับของปลาจำพวกหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยปลาตะเพียน, ปลาทอง, ปลาคาร์ป, ปลาซิว เป็นต้น ส่วนใหญ่เป็นปลาที่อยู่ในวงศ์ Cyprinidae มีลักษณะโดยรวมคือ ลำตัวมีเกล็ด ส่วนใหญ่แบนข้าง สันท้องกลมหรือเป็นสันคม ไม่มีหนามที่สันท้อง ตาไม่มีหนังคลุม ปากมีหลายตำแหน่งทั้งอยู่ตรงด้านหน้า เฉียงขึ้น หรืออยู่ทางด้านล่าง บางชนิดยืดหดได้เล็กน้อย บางชนิดมีลักษณะคล้ายปากดูด ส่วนใหญ่ไม่มีฟันบนขากรรไกรหรือบางชนิดที่มีก็มีไม่เกิน 8 ซี่ รอยต่อส่วนปลายของขากรรไกรล่างมีปมยื่นออกมาเรียกว่า ซิมไซซีล นอบ ริมฝีปากบางอาจมีหรือไม่มีติ่งเนื้อ บางชนิดไม่มีริมฝีปาก ไม่มีหนามใต้ตา หรือหน้าตา ช่องเปิดเหงือกกว้างกระดูกโอเพอร์เคิล เจริญดี มีหนวด 1-2 คู่ หรือไม่มี ก้านครีบเดี่ยวก้านสุดท้ายของครีบหลังอาจแข็ง หรือไม่แข็ง อาจมีหยักด้านในหรือไม่มี ไม่มีครีบไขมัน มีฟันที่หลอดคอ 1-3 แถว ขอบปากเป็นกระดูกพรีแมคซิลลา ขากรรไกรบนยืดหดได้ บางชนิดครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยว มีครีบหลังตอนเดียว ถุงลมมีขนาดค่อนข้างใหญ่ส่วนใหญ่แบ่งออกเป็นสองตอน ไม่ถูกแผ่นกระดูกปกคลุมไว้ เป็นปลาที่กระจายอยู่ทั่วไปในทุกภูมิภาคของโลก ทั้งอเมริกาเหนือ, ทวีปยูเรเชียและทวีปเอเชีย มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ พบในน้ำจืดมากกว่าทะเล ส่วนใหญ่เป็นปลาที่กินพืชเป็นอาหาร ไม่มีกระเพาะอาหาร แต่ก็มีหลายชนิดที่กินเนื้อหรือแพลงก์ตอน เป็นปลาที่มนุษย์คุ้นเคยมานานเพราะใช้เป็นอาหาร นอกเหนือจากปลาในวงศ์ Cyprinidae แล้ว ยังมีปลาในวงศ์อื่นอีกที่อยู่ในอันดับนี้ประมาณ 5-6 วงศ์ ได้แก.

ใหม่!!: ปลาจิ้งจอกและอันดับปลาตะเพียน · ดูเพิ่มเติม »

ฮิวจ์ แมคคอร์มิค สมิธ

ร. ฮิวจ์ แมคคอร์มิค สมิธ ฮิวจ์ แมคคอร์มิค สมิธ (ื่อย่อ: H.M. Smith) (21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2408 / ค.ศ. 1865 -28 กันยายน พ.ศ. 2484 / ค.ศ. 1941) นักชีววิทยา ชาวอเมริกัน อธิบดีสำนักงานประมง (the Bureau of Fisheries) แห่งสหรัฐอเมริกา ฮิวจ์ แมคคอร์มิค สมิธ หรือ ดร.ฮิวจ์ แมคคอร์มิค สมิธ เกิดที่กรุงวอชิงตัน ดีซี ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2431 (ค.ศ. 1888) ได้จบการศึกษาปริญญาเอกแพทยศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ (Georgetown University) และจบการศึกษาระดับปริญญาเอกนิติศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2451 (ค.ศ. 1908) เริ่มต้นทำงานที่ สำนักประมง สหรัฐอเมริกา (U. S. Fish Commission) ปี พ.ศ. 2429 (ค.ศ. 1886) ในตำแหน่งผู้ช่วยหัวหน้าศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์ 1897-1903 หัวหน้าห้องปฏิบัติการชีววิทยาทางทะเล (Marine Biological Laboratory ที่ Wood Hole, และโดยเป็นผู้กำกับดูแลงานทางด้านการศึกษาและสำรวจธรรมชาติในทางวิทยาศาสตร์ ในสถาบันการศึกษาชั้นนำของสหรัฐอเมริกา ระหว่างปี พ.ศ. 2450 (ค.ศ. 1907) ถึงปี พ.ศ. 2453 (ค.ศ. 1910) ได้เดินทางพร้อมคณะนักสำรวจมาที่ฟิลิปปินส์ ด้วยเรือชื่อ USS Albatross ด้วยเป็นกรรมการสมาคมเนชั่นแนล จีโอกราฟิก เพื่อสำรวจความหลากหลายของธรรมชาติในภูมิภาคแถบนี้.

ใหม่!!: ปลาจิ้งจอกและฮิวจ์ แมคคอร์มิค สมิธ · ดูเพิ่มเติม »

ทรงกระบอก

รูปทรงกระบอก ในทางเรขาคณิต ทรงกระบอก (cylinder) เป็นกราฟสามมิติที่เกิดจากสมการ ทรงกระบอกที่มีรัศมี r และความสูง h จะสามารถหาปริมาตรของทรงกระบอกหาได้จากสูตร และพื้นที่ผิวของทรงกระบอกหาได้จากสูตร.

ใหม่!!: ปลาจิ้งจอกและทรงกระบอก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: ปลาจิ้งจอกและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาการ์ร่า รูฟา

ปลาการ์ร่า รูฟา หรือ ปลาด็อกเตอร์ ฟิช (Doctor fish) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กจำพวกปลาเลียหินชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ปลาการ์ร่า รูฟา มีขนาดความยาวเต็มที่ประมาณ 10 เซนติเมตร เป็นปลาพื้นเมืองของภูมิภาคตะวันออกกลาง แถบประเทศตุรกี โดยอาศัยอยู่ในบ่อน้ำร้อนหรือลำธารที่มีอุณหภูมิค่อนข้างสูง (ประมาณ 35 องศาเซลเซียส) โดยปกติแล้วปลาการ์ร่า รูฟา จะหาอาหารใต้น้ำกิน ซึ่งได้แก่ สาหร่ายและตะไคร่น้ำ แต่ด้วยอุณหภูมิน้ำที่สูงทำให้อาหารอื่น ๆ สำหรับปลาจึงมีอยู่อย่างจำกัด เมื่อเทียบกับแหล่งน้ำโดยทั่วไป ดังนั้น เมื่อมีผู้ที่ลงไปแช่น้ำในบ่อน้ำร้อนเหล่านี้ ปลาการ์ร่า รูฟาจึงมาแทะเล็มผิวหนังชั้นนอกของผู้ที่ลงแช่เป็นอาหารแทน ก่อให้เกิดความรู้สึกสบาย อันเป็นที่มาของการทำสปาประเภท ฟิชสปา หรือ มัจฉาบำบัด มีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ โดยสถาบันทางการแพทย์ มหาวิทยาลัยเวียนนา พบว่า การให้ปลาการ์ร่า รูฟา แทะเล็มผิวหนังช่วยบำบัดโรคผิวหนังบางชนิดได้ที่ไม่มียารักษา โดยพบว่าเมื่อปลากัดกินผิวหนัง ที่เป็นเกล็ด หรือขุย อันเนื่องมาจากอาการของโรค ของผู้ป่วยออกไป เป็นการเปิดโอกาสให้ผิวหนังได้สัมผัสกับรังสียูวี ในระดับที่ลึกลงไป ทำให้ผิวหนังมีพัฒนาการเติบโตได้ดีขึ้น“Doctor fish”.

ใหม่!!: ปลาจิ้งจอกและปลาการ์ร่า รูฟา · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสวยงาม

ตู้ ปลาสวยงาม หรือ ปลาตู้ (Ornamental fish) คือ ปลาที่มนุษย์เลี้ยงไว้เป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลินหรือเพื่อความสวยงาม ไม่ใช่เพื่อการบริโภค หรือสัตว์น้ำจำพวกอื่น ที่ไม่ใช่ปลาแต่มีการนำมาเลี้ยงเพื้อการเดียวกัน เช่น เครย์ฟิช นิยมเลี้ยงไว้ในสถานที่ต่าง ๆ ในบ้านพักอาศัย อาทิ ตู้ปลา, บ่อ หรือสระ ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการประมง ความเป็นอยู่ของปลามีความแตกต่างจากสัตว์บกหรือสัตว์เลือดอุ่นค่อนข้างมาก การเลี้ยงสัตว์บกสามารถปรับปรุงคอกเลี้ยง ทำให้สามารถทำความสะอาดกำจัดเศษอาหาร และมูลสัตว์ออกจากคอกได้อย่างง่ายดาย แต่ปลามีน้ำเป็นบ้านอย่างถาวรและจำเป็นต้องอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ อีกหลายชนิด คุณภาพน้ำอาจเปลี่ยนแปลงได้ทั้งสาเหตุจากสภาพแวดล้อมและจากตัวปลาเอง เพราะปลาก็มีการขับถ่ายอยู่ตลอดเวลา แต่ในแหล่งน้ำธรรมชาติจะเกิดการปรับปรุงหรือปรับสภาพให้น้ำมีคุณสมบัติที่เหมาะสม โดยขบวนการต่าง ๆ จากสิ่งมีชีวิตหลายชนิด เพื่อให้สิ่งมีชีวิตทั้งหลายในน้ำอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล.

ใหม่!!: ปลาจิ้งจอกและปลาสวยงาม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาส่อ

ปลาส่อ เป็นสกุลของปลาน้ำจืดสกุลหนึ่ง มีชื่อสกุลว่า Crossocheilus (/ครอส-โซ-ไคล-อัส/) ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ในวงศ์ย่อย Garrinae มีรูปร่างโดยทั่วไป คือ เป็นปลาขนาดเล็ก ขนาดเมื่อโตเต็มที่ยาวประมาณ 10 เซนติเมตร มีลำตัวเรียวยาวทรงกลม หัวสั้นเป็นรูปกระสวย ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย ท้องกลม มีหนวดอยู่ 1 คู่ ลักษณะสำคัญ คือ มีหนังที่จะงอยปากเชื่อมติดกับริมฝีปากบน ริมฝีปากบนและล่างไม่ติดกัน บนจะงอยปากมีรูเล็ก ๆ และตุ่มเล็ก ๆ เรียงกันเป็นแถว ครีบหลังมีก้านครีบแขนง 8 ก้าน และก้านครีบเดี่ยวก้านสุดท้ายไม่แข็ง ขอบเรียบ ครีบหลังยกสูง อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง มักอาศัยอยู่ในลำธารและแหล่งน้ำเชี่ยว รวมถึงแม่น้ำสายใหญ่ ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ กินอาหารจำพวก ตะไคร่น้ำหรือสาหร่ายบนโขดหิน หรือแมลงน้ำและแพลงก์ตอนขนาดเล็กต่าง ๆ หลายชนิดจะมีแถบสีดำพาดลำตัวในแนวนอน โดยปลาในสกุลนี้ มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "ปลาเล็บมือนาง" หรือ "ปลาสร้อยดอกยาง" เป็นต้น เป็นปลาที่ใช้บริโภคกันในท้องถิ่นและเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม มีประโยชน์ในการเก็บกินเศษอาหารหรือตะไคร่น้ำภายในตู้เลี้ยง และยังนำไปในกิจการฟิชสปาหรือสปาปลาแทนที่ปลาเลียหินที่มีลักษณะและพฤติกรรมคล้ายคลึงกันได้อีกด้ว.

ใหม่!!: ปลาจิ้งจอกและปลาส่อ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ใหม่!!: ปลาจิ้งจอกและปลาที่มีก้านครีบ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเลียหิน

ปลาเลียหิน (Stone-lapping fishes, Garras, Doctor fishes) คือชื่อสามัญเรียกโดยรวมของปลาน้ำจืดขนาดเล็กสกุลหนึ่ง มีชื่อสกุลว่า Garra (/การ์-รา/) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) และอยู่ในวงศ์ย่อย Labeoninae เป็นปลาที่มีขนาดเล็ก ลำตัวยาว หลังโค้งเล็กน้อย สันท้องแบนราบ จะงอยปากยาว ปลายทู่ และมีตุ่มเหมือนเม็ดสิวเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะตัวผู้ริมฝีปากหนาและมีตุ่มเม็ดสิวที่อ่อนนุ่มอยู่เป็นจำนวนมาก ไม่มีร่องระหว่างริมฝีปากกับกระดูกขากรรไกร ริมฝีปากล่างแผ่ออกกว้างเป็นแผ่น ขอบหน้าเรียบ ใช้ในการยึดเกาะกับของแข็ง มีหนวด 1-2 คู่ ครีบอกและครีบครีบท้องอยู่ในแนวระดับสันท้อง ครีบหลังมีก้านครีบแขนง 8 ก้าน และก้านครีบเดี่ยวไม่แข็ง ครีบก้นสั้นมีก้านครีบแขนง 5 ก้าน เส้นข้างลำตัวตรง มีพฤติกรรมมักอาศัยอยู่เป็นฝูง ในแหล่งน้ำไหลเชี่ยวบริเวณน้ำตกหรือลำธารในป่า เพื่อดูดกินตะไคร่น้ำหรือสาหร่ายหรืออินทรีย์วัตถุต่าง ๆ เป็นอาหาร พบกระจายอยู่ทั่วไปในทวีปเอเชีย พบมากกว่า 90 ชนิด สำหรับในประเทศไทยพบด้วยหลายชนิด เช่น G. fuliginosa, G. notata, G. cambodgiensis, G. fasciacauda เป็นต้น นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม เพื่อให้ดูดกินเศษอาหารที่ปลาใหญ่กินเหลือและทำความสะอาดตู้เลี้ยง นอกจากนี้แล้วในปัจจุบัน ปลาเลียหินยังนิยมใช้ในธุรกิจสปา แบบที่เรียกว่า "ฟิชสปา" โดยให้ผู้ใช้บริการแช่เท้าและขาลงในอ่างน้ำ และให้ปลาเลียหินมาดูดกินผิวหนังชั้นผิวกำพร้าเพื่อกำจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว เพื่อเป็นการสร้างเซลล์ผิวใหม่อีกด้วย โดยในน้ำลายของปลาเลียหินจะมีเอนไซม์ชนิดหนึ่งที่กระตุ้นในการสร้างเซลล์ผิวใหม่ซึ่งปลาเลียหินที่นิยมใช้กันคือ ชนิด G. rufa และ G. sp.

ใหม่!!: ปลาจิ้งจอกและปลาเลียหิน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเล็บมือนาง

ปลาเล็บมือนาง เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Crossocheilus reticulatus อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Garrinae มีรูปร่างลำตัวเพรียว หัวเล็ก ปากเล็กอยู่ด้านล่างของจะงอยปากและมีแผ่นหนังคลุม มีหนวดสั้น 1 คู่ เกล็ดเล็ก ลำตัวสีเงินอมเหลือง มีลายสีคล้ำที่ขอบเกล็ด โคนครีบหางมีจุดสีดำเห็นชัดเจน ครีบใสสีเหลืองเรื่อ มีขนาดความยาวประมาณ 8-10 เซนติเมตร ใหญ่สุด 17 เซนติเมตร มีพฤติกรรมอยู่เป็นฝูงใหญ่ตามแก่ง ช่วงฤดูฝนมีการย้ายถิ่นเข้าสู่ทุ่งน้ำหลาก อาหารได้แก่ ตะไคร่น้ำ แพลงก์ตอน และสัตว์หน้าดินขนาดเล็ก อาศัยตามแม่น้ำสายหลักและแก่ง แหล่งน้ำหลาก เป็นปลาที่พบบ่อย นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ปลาเล็บมือนาง ยังมีชื่อเรียกอื่นอีกว่า "ปลาสร้อยดอกยาง".

ใหม่!!: ปลาจิ้งจอกและปลาเล็บมือนาง · ดูเพิ่มเติม »

เมตร

มตร อักษรย่อ ม. (mètre → metre meter The Metric Conversion Act of 1975 gives the Secretary of Commerce of the US the responsibility of interpreting or modifying the SI for use in the US., m) เป็นหน่วยฐานเอสไอของความยาวในหน่วยเอสไอ แต่เดิมนิยามว่าหนึ่งเมตรเท่ากับ 1/10,000,000 ของระยะทางจากเส้นศูนย์สูตรของโลกไปยังขั้วโลกเหนือวัดจากเส้นรอบวงที่ผ่านเมืองปารีส แต่เนื่องจากความแม่นยำทางมาตรวิทยา ที่มีมากขึ้น ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 ความยาวหนึ่งเมตรจึงถูกนิยามไว้ให้เท่ากับความยาวที่แสงเดินทางได้ในสุญญากาศ ในช่วงเวลา วินาที.

ใหม่!!: ปลาจิ้งจอกและเมตร · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Crossocheilus oblongusCrossocheilus siamensisจิ้งจอก (ปลา)

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »