โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แบบชนิดข้อมูลนามธรรม

ดัชนี แบบชนิดข้อมูลนามธรรม

แบบชนิดข้อมูลนามธรรม หมายถึงแบบชนิดข้อมูลซึ่งแสดงถึงระบบการจัดการข้อมูล โดยแสดงถึงบริการและกฎเกณฑ์ในการจัดการข้อมูลนั้น ๆ แต่ไม่ได้กล่าวถึงวิธีการสร้างบริการต่าง.

11 ความสัมพันธ์: กองซ้อนรายการ (โครงสร้างข้อมูล)คอลเลกชันตารางแฮชต้นไม้ (โครงสร้างข้อมูล)แถวลำดับแบบจับคู่แถวคอยแถวคอยลำดับความสำคัญแถวคอยสองหน้าโครงสร้างข้อมูลเซต (โครงสร้างข้อมูล)

กองซ้อน

กองซ้อน หรือ สแต็ก หมายถึง แบบชนิดข้อมูลนามธรรมที่มีลักษณะการเรียงลำดับข้อมูล ในการเข้า-ออกในลักษณะเข้าก่อนออกทีหลัง FILO (First In Last Out) กล่าวคือข้อมูลที่เข้าใหม่ๆจะได้ออกก่อน คล้ายกองที่ทับถมซึ่งสิ่งที่เข้ามาใหม่จะอยู่ด้านบนๆ จึงเรียกว่า กองซ้อน (stack) กองซ้อนมีการดำเนินการพื้นฐานเพียง 3 อย่าง ได้แก่ push, pop และ top กองซ้อน โดยที่การ push คือการใส่ข้อมูลลงไปในกองซ้อน ซึ่งจะกระทำได้หากกองซ้อนยังว่างอยู่ หากไม่มีที่ว่างในกองซ้อนเหลืออยู่หรือกองซ้อนเต็ม กองซ้อนนั้นจะอยู่ในสภาวะล้นหรือมากเกินเก็บ (overflow) การ pop คือการนำข้อมูลออกจากส่วนบนสุดของกองซ้อน นอกจากนี้ การ pop จะเผยข้อมูลที่ถูกผิดอยู่ก่อนหน้า หรือทำให้กองซ้อนว่างได้ แต่ถ้ากองซ้อนนั้นว่างอยู่แล้ว การ pop จะทำให้อยู่ในสภาวะน้อยเกินเก็บ (underflow) (นั่นคือ ไม่มีข้อมูลให้นำออกแล้ว) การ top กองซ้อน จะดึงข้อมูลที่อยู่บนสุดและส่งค่านั้นให้ผู้ใช้โดยที่ไม่ได้ลบทิ้งไป การ top กองซ้อนอาจทำให้กองซ้อนอยู่ในสภาวะน้อยเกินเก็บได้เช่นกัน หากกองซ้อนว่างอยู่แล้ว กองซ้อนจึงเป็นวิธีการจัดการเข้า-ออกของข้อมูลอีกแบบหนึ่ง เป็นโครงสร้างข้อมูลที่นำมาใช้ในการทำงานของโปรแกรมคอมพิวเตอร์หลายประการ อาทิการสร้าง subroutine การเรียงลำดับนิพจน์ ฯลฯ.

ใหม่!!: แบบชนิดข้อมูลนามธรรมและกองซ้อน · ดูเพิ่มเติม »

รายการ (โครงสร้างข้อมูล)

รายการ เป็นแบบชนิดข้อมูลนามธรรมประเภทหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะการเรียงแบบต่อเนื่องไปเป็นลำดับ ข้อมูลจะมีลำดับก่อนหลังกันคล้ายเวกเตอร์ ตัวอย่างของรายการเช่น การเรียงลำดับตัวอักษร A,B,C,...

ใหม่!!: แบบชนิดข้อมูลนามธรรมและรายการ (โครงสร้างข้อมูล) · ดูเพิ่มเติม »

คอลเลกชัน

Collection หรือ Container หมายถึง แบบชนิดข้อมูลนามธรรมหรือวิธีการเก็บข้อมูล ซึ่งไม่สนใจการเรียงลำดับความสำคัญ สามารถให้ข้อมูลซ้ำได้ กล่าวคือสิ่งที่เก็บข้อมูลได้ถือว่าเป็น Collection นิยามของ Collection เช่นนี้ส่งผลให้การเก็บข้อมูลหรือโครงสร้างข้อมูล ทุกชนิดเป็น Collection ด้วย Collection จึงอาจใช้ในความหมายว่าเป็นที่เก็บข้อมูลหรือโครงสร้างข้อมูลได้เช่น Java Collections Framework.

ใหม่!!: แบบชนิดข้อมูลนามธรรมและคอลเลกชัน · ดูเพิ่มเติม »

ตารางแฮช

ตารางแฮช เป็นโครงสร้างข้อมูลในรูปแบบตาราง ซึ่งอาจใช้แถวลำดับในการทำ ใช้ในการเก็บข้อมูลจำนวนมาก เพื่อสะดวกต่อการเก็บและค้นหา โดยการผ่านฟังก์ชันแ.

ใหม่!!: แบบชนิดข้อมูลนามธรรมและตารางแฮช · ดูเพิ่มเติม »

ต้นไม้ (โครงสร้างข้อมูล)

ต้นไม้ เป็น แบบชนิดข้อมูลนามธรรม ประเภทหนึ่ง มีลักษณะการเรียงเป็นกิ่งก้านสาขาแตกแขนงออกไป จะไม่มีวงวน (loop) โยงในสมาชิกตัวต่างๆ โดยสมาชิกจะถูกเก็บไว้ในประเภทข้อมูลชนิดวัตถุ (Object) หรือโครงสร้าง (Structure) เรียกว่าปม (node) ซึ่งจะมีตัวแปรซึ่งเก็บตัวชี้ (Pointer) ไปยังปมอื่นๆได้ ต้นไม้ถูกใช้ในการจัดการข้อมูลที่เปรียบเทียบกันได้ (comparable) อย่างรวดเร็วเช่น ตัวเลข หรือ การเรียงลำดับความสำคัญของข้อมูล เช่น การคำนวณที่มีวงเล็บ เป็นอาท.

ใหม่!!: แบบชนิดข้อมูลนามธรรมและต้นไม้ (โครงสร้างข้อมูล) · ดูเพิ่มเติม »

แถวลำดับแบบจับคู่

แถวลำดับแบบจับคู่ (Associative array) หมายถึง กลุ่มโครงสร้างข้อมูลหรือแบบชนิดข้อมูลนามธรรม ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยผ่านข้อมูลอีกตัว เรียกว่า คีย์ (key) โดยเป็นการจับคู่คีย์เข้ากับค่าข้อมูล (value) เป็นคู่ๆไป ในภาษาโปรแกรมหลายภาษา แถวลำดับแบบจับคู่ ถือเป็นประเภทข้อมูลประเภทหนึ่งที่สำคัญมากและมีใช้หลากหลายรูปแบบ อาทิ ใช้ในการจัดการข้อมูลในฐานข้อมูล ใช้เป็นโครงสร้างข้อมูลเบื้องต้น เป็นต้น.

ใหม่!!: แบบชนิดข้อมูลนามธรรมและแถวลำดับแบบจับคู่ · ดูเพิ่มเติม »

แถวคอย

แถวคอย หรือ คิว เป็นแบบชนิดข้อมูลนามธรรมที่มีลักษณะการเรียงลำดับข้อมูล การดำเนินการในแถวคอยจะแบ่งเป็น การเพิ่มข้อมูลไปที่ส่วนหลังสุดของแถวคอย และการดึงข้อมูลออกจากส่วนหน้าสุดของแถวคอย เข้าออกในลักษณะการเข้าก่อนออกก่อน (First In First Out: FIFO) ในโครงสร้างข้อมูลลักษณะเข้าก่อนออกก่อนนี้ ข้อมูลแรกสุดที่ถูกเพิ่มเข้าไปในแถวคอยจะเป็นข้อมูลแรกที่ถูกดึงออก ซึ่งก็เท่ากับว่า ความจำเป็นที่ว่า เมื่อมีข้อมูลหนึ่งถูกเพิ่มเข้ามาแล้ว ข้อมูลที่ถูกเพิ่มก่อนหน้านี้ทั้งหมดจะต้องถูกดึงออกก่อนที่ข้อมูลใหม่จะถูกใช้งาน คล้ายกับการเข้าแถวซื้อของในชีวิตประจำวัน แถวคอยจัดเป็นวิธีการจัดการเข้า-ออกของข้อมูลอีกแบบหนึ่ง เป็นโครงสร้างข้อมูลที่นำมาใช้ในการทำงานของโปรแกรมคอมพิวเตอร์หลายประการ อาทิแถวคอยในการทำงานของเครือข่าย การออกแบบการทำงานระบบท่อ (pipeline) เป็นต้น.

ใหม่!!: แบบชนิดข้อมูลนามธรรมและแถวคอย · ดูเพิ่มเติม »

แถวคอยลำดับความสำคัญ

ในแถวคอยปกติ ข้อมูลที่เข้ามาก่อนจะมีสิทธิ์ออกก่อน (First In First Out:FIFO) อย่างไรก็ตาม มีบางครั้งที่เราต้องยกให้สมาชิกบางประเภทได้ทำงานก่อนทั้งที่มาทีหลัง เช่นการให้คิวงานที่เล็กกว่าได้ทำก่อน หรือ การให้สิทธิพิเศษแก่การทำงานบางประเภท เช่นนี้เราจะสร้าง แถวคอยลำดับความสำคัญ เป็นคิวที่ถึงแม้เข้าก่อน แต่สิ่งที่มีความสำคัญมากกว่าจะได้ออกก่อน ถ้ามีความสำคัญเท่ากัน ข้อมูลที่เข้ามาก่อนจะได้ออกก่อนเช่นเดียวกับแถวคอยปกติ แถวคอยลำดับความสำคัญทำให้เราสามารถประยุกต์ใช้คิวได้ดีขึ้น เนื่องจากเพิ่มการให้ความสำคัญของสมาชิกที่แตกต่างกัน ส่งผลให้เราสามารถจัดเรียงแถวคอยได้ใหม่ให้เหมาะสมกับการทำงานได้ เราใช้แถวคอยลำดับความสำคัญในการจัดการทำงาน การตรวจนับ ฯลฯ.

ใหม่!!: แบบชนิดข้อมูลนามธรรมและแถวคอยลำดับความสำคัญ · ดูเพิ่มเติม »

แถวคอยสองหน้า

แถวคอยสองหน้า เป็นแบบชนิดข้อมูลนามธรรมที่เราสามารถนำข้อมูลแรกสุดหรือหลังสุดที่เราเพิ่มเข้าหรือออกก็ได้ เปรียบเสมือนเป็นแถวคอยที่มีหัวเปิดสองด้านให้เข้า-ออกได้ นั้นเอง แถวคอยสองหน้า สามารถประยุกต์ใช้ในแนวคิด กึ่งแถวคอยกึ่งกองซ้อนได้ ทำให้จัดการกับการเข้าออกของข้อมูลได้ทุกรูปแ.

ใหม่!!: แบบชนิดข้อมูลนามธรรมและแถวคอยสองหน้า · ดูเพิ่มเติม »

โครงสร้างข้อมูล

ในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ โครงสร้างข้อมูล เป็นวิธีการจัดเก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ บ่อยครั้งที่การเลือกโครงสร้างข้อมูลที่เหมาะสมจะทำให้เราสามารถเลือกใช้ขั้นตอนวิธีที่มีประสิทธิภาพไปพร้อมกันได้ การเลือกโครงสร้างข้อมูลนั้นโดยส่วนใหญ่แล้วจะเริ่มต้นจากการเลือกแบบชนิดข้อมูลนามธรรม โครงสร้างข้อมูลที่ออกแบบเป็นอย่างดีจะสามารถรองรับการประมวลผลที่หนักหน่วงโดยใช้ทรัพยากรที่น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ทั้งในแง่ของเวลาและหน่วยความจำ โครงสร้างข้อมูลแต่ละแบบจะเหมาะสมกับงานที่แตกต่างกัน และโครงสร้างข้อมูลบางแบบก็ออกแบบมาสำหรับบางงานโดยเฉพาะ อย่างเช่น ต้นไม้แบบบีจะเหมาะสำหรับระบบงานฐานข้อมูล ในกระบวนการออกแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การเลือกโครงสร้างข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกที่ต้องคำนึงถึง ซึ่งจากการพัฒนาระบบงานใหญ่ๆได้แสดงให้เห็นว่า ความยากในการพัฒนาและประสิทธิภาพของระบบจะขึ้นอยู่กับโครงสร้างข้อมูลที่เลือกใช้อย่างมาก หลังจากตัดสินใจเลือกโครงสร้างข้อมูลที่จะใช้แล้วก็มักจะทราบถึงขั้นตอนวิธีที่ต้องใช้ได้ทันที แต่ในบางครั้งก็อาจจะกลับกัน คือ การประมวลผลที่สำคัญๆของโปรแกรมได้มีการใช้ขั้นตอนวิธีที่ต้องใช้โครงสร้างข้อมูลบางแบบโดยเฉพาะ จึงจะทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ถึงอย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเลือกโครงสร้างข้อมูลด้วยวิธีการใด โครงสร้างข้อมูลที่เหมาะสมก็เป็นสิ่งที่สำคัญมากอยู่ดี แนวความคิดในเรื่องโครงสร้างข้อมูลนี้ส่งผล กับการพัฒนาวิธีการมาตรฐานต่างๆในการออกแบบและเขียนโปรแกรม หลายภาษาโปรแกรมนั้นได้พัฒนารวมเอาโครงสร้างข้อมูลนี้ไว้เป็นส่วนหนึ่งของระบบโปรแกรม เพื่อประโยชน์ในการใช้ซ้ำ.

ใหม่!!: แบบชนิดข้อมูลนามธรรมและโครงสร้างข้อมูล · ดูเพิ่มเติม »

เซต (โครงสร้างข้อมูล)

ซต หมายถึงแบบชนิดข้อมูลนามธรรมที่ไม่อนุญาตให้ซ้ำกัน แต่ไม่เรียงลำดับสมาชิก เซตจึงถูกนำมาใช้ในการตรวจสอบความซ้ำกันของข้อมูล โครงสร้างข้อมูลที่เป็นเซต ได้แก่ ต้นไม้ค้นหาและตารางแฮช เพียงแต่ต้นไม้จะเก็บข้อมูลที่เปรียบเทียบได้ (Comparable) เท่านั้น ส่วนตารางแฮชไม่มีเงื่อนไขนี้.

ใหม่!!: แบบชนิดข้อมูลนามธรรมและเซต (โครงสร้างข้อมูล) · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ประเภทข้อมูลอย่างย่อ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »