โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ประวิตร โรจนพฤกษ์

ดัชนี ประวิตร โรจนพฤกษ์

ประวิตร โรจนพฤกษ์ เป็นนักหนังสือพิมพ์ชาวไทยซึ่งเป็นผู้เขียนอาวุโสของหนังสือพิมพ์ ข่าวสดอิงลิช เดิมเขาเขียนคอลัมน์ประจำให้กับหนังสือพิมพ์ เดอะเนชั่น แต่ถูกบีบให้ลาออกเนื่องจากความเห็นทางการเมืองของเขาหลังรัฐประหารในปี 2557 ก่อนหน้านั้น เขาเป็นนักต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยและเสรีภาพในการแสดงออกคนสำคัญ และถูกสอบสวนหลายครั้ง หลังรัฐประหารเขาถูกจับในข้อหาความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์และควบคุมตัวหนึ่งสัปดาห์ เขาวิจารณ์คณะทหารผู้ยึดอำนาจปกครองและความพยายามจำกัดเสรีภาพอย่างมาก เขาเคยถูกควบคุมตัวเพื่อ "ปรับทัศนคติ" สองครั้ง และในปี 2560 มีข้อกล่าวหาปลุกปั่นให้ขัดขืนอำนาจปกครองจากโพสต์เฟซบุ๊ก เขาเป็นเฟลโลว์รอยเตอส์ที่มหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ และนักเรียนทุนชีฟเวนนิงที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด แอนดรูว์ แม็กเกรเกอร์ มาร์แชลล์อธิบายประวิทย์ว่าเป็น "ผู้สื่อข่าวยอดเยี่ยมคนหนึ่งของประเทศ".

6 ความสัมพันธ์: การปลุกปั่นให้ขัดขืนอำนาจปกครองมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยแอนดรูว์ แม็กเกรเกอร์ มาร์แชลล์เดอะ เนชั่น (แก้ความกำกวม)

การปลุกปั่นให้ขัดขืนอำนาจปกครอง

ในทางกฎหมาย การปลุกปั่นให้ขัดขืนอำนาจปกครอง (sedition) เป็นการกระทำอย่างชัดแจ้ง เช่น การพูดหรือการจัดระเบียบซึ่งเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายมองว่ามีแนวโน้มก่อการกบฏต่อความสงบเรียบร้อยอันเป็นที่ยอมรับ การปลุกปั่นให้ขัดขืนอำนาจปกครองมักรวมการบ่อนทำลายรัฐธรรมนูญและการยุยงให้เกิดความไม่พอใจ (หรือการขัดขืน) เจ้าหน้าที่ชอบด้วยกฎหมาย การปลุกปั่นให้ขัดขืนอำนาจปกครองอาจรวมถึงความวุ่นวายในบ้านเมืองใด ๆ แม้มิได้มุ่งให้เกิดความรุนแรงโดยตรงและเปิดเผยต่อกฎหมาย ตรงแบบ การปลุกปั่นให้ขัดขืนอำนาจปกครองถือเป็นกิจกรรมบ่อนทำลาย และการกระทำอย่างชัดแจ้งดังกล่าวอาจถูกดำเนินคดีภายใต้กฎหมายปลุกปั่นให้ขัดขืนอำนาจปกครองซึ่งต่างกันไปตามประเทศ หมวดหมู่:อาชญากรรม.

ใหม่!!: ประวิตร โรจนพฤกษ์และการปลุกปั่นให้ขัดขืนอำนาจปกครอง · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด

มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด (University of Oxford หรือ Oxford University) หรือเรียกอย่างง่าย ๆ ว่า อ๊อกซฟอร์ด เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยซึ่งตั้งอยู่ในเมืองอ๊อกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ สหราชอาณาจักร แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานประวัติการก่อตั้งที่แน่นอน แต่มีหลักฐานว่าได้เริ่มสอนมาตั้งแต่ ค.ศ. 1096 ถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ และเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดที่ยังเปิดสอนเป็นอันดับสอง อ๊อกซฟอร์ดเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในปี ค.ศ. 1167 เมื่อพระเจ้าเฮนรีที่ 2 ทรงห้ามมิให้นักศึกษาชาวอังกฤษไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยปารีส ภายหลังจากการพิพาทระหว่างนักศึกษาและชาวเมืองอ๊อกซฟอร์ดในปี ค.ศ. 1206 นักวิชาการบางส่วนได้หนีไปทางตะวันออกเฉียงเหนือสู่เมืองเคมบริดจ์ ซึ่งพวกเขาได้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ขึ้น ทั้งสอง"มหาวิทยาลัยโบราณ"มักจะถูกเรียกว่า"อ๊อกซบริดจ์" มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดเติบโตขึ้นจากความหลากหลายของสถ​​าบันการศึกษาต่าง ๆ รวมถึงวิทยาลัยร่วมทั้ง 38 แห่ง และหน่วยงานทางวิชาการซึ่งแบ่งออกเป็นสี่แผนก แต่ละวิทยาลัยมีระบบการจัดการอย่างอิสระในการควบคุมสมาชิกรวมทั้งมีระบบโครงสร้างภายในและกิจกรรมเป็นของตนเอง มีลักษณะเป็นเมืองมหาวิทยาลัยซึ่งมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกกระจายอยู่ทั่วใจกลางเมือง การศึกษาระดับปริญญาตรีส่วนใหญ่ที่อ๊อกซฟอร์ดเป็นการจัดการด้วยวิธีติวเตอร์ตลอดรายสัปดาห์ไปในแต่ละวิทยาลัยและฮอลล์ต่าง ๆ โดยได้รับการสนับสนุนจากชั้นเรียน การบรรยาย และการปฏิบัติการซึ่งจัดขึ้นโดยคณะและภาควิชาต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดยังดำเนินงานพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในโลก รวมถึงสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดในโลก และมีระบบห้องสมุดทางวิชาการที่ใหญ่ที่สุดในบริเตน อ๊อกซฟอร์ดมีศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก รวมถึงผู้ได้รับรางวัลโนเบล 28 คน นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร 27 คน ประมุขแห่งรัฐและผู้นำรัฐบาลหลายแห่งทั่วโลก อ๊อกซฟอร์ดเป็นแหล่งที่ตั้งของทุนการศึกษาโรดส์ซึ่งเป็นหนึ่งในทุนการศึกษานานาชาติที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีชื่อเสียงมากที่สุด ซึ่งได้นำนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยมานานกว่าศตวรรษ.

ใหม่!!: ประวิตร โรจนพฤกษ์และมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด · ดูเพิ่มเติม »

รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557

รัฐประหารในประเทศไท..

ใหม่!!: ประวิตร โรจนพฤกษ์และรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 · ดูเพิ่มเติม »

ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย

วามผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยอยู่ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 บัญญัติไว้ว่า "ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปีถึง 15 ปี" ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยเป็นความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ คนไทยหรือคนต่างด้าวไม่ว่ากระทำในหรือนอกราชอาณาจักรก็ต้องรับโทษ ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับเรื่อยมามีข้อที่กล่าวว่า "องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้" ในประมวลกฎหมายไม่มีนิยามว่าพฤติการณ์แบบใดเข้าข่าย "หมิ่นประมาท" หรือ "ดูหมิ่น" ลักษณะการกระทำความผิดมีหลากหลาย แล้วแต่ศาลจะพิเคราะห์เจตนา เช่น ปราศรัยในที่สาธารณะ ส่งสารสั้น โพสต์รูปภาพ เผยแพร่เอกสารหรือวีดิทัศน์ ละเมิดพระบรมฉายาลักษณ์ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีข้อโต้แย้งว่า ความผิดต่อองคมนตรีเข้าข่ายความผิดนี้หรือไม่ อนึ่ง ในปี 2556 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คำว่า "พระมหากษัตริย์" ยังหมายความรวมถึง พระมหากษัตริย์ในอดีตด้วย ธานินทร์ กรัยวิเชียร อดีตนายกรัฐมนตรี ยังตีความว่า กฎหมายห้ามครอบคลุมถึงการวิจารณ์โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สถาบันพระมหากษัตริย์ ราชวงศ์จักรีและพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ พระมหากษัตริย์หรือพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ไม่เคยฟ้องร้องเป็นการส่วนพระองค์ ผู้ถูกตั้งข้อหามักไม่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัว และถูกคุมขังในเรือนจำหลายเดือนก่อนมีการไต่สวนในชั้นศาล องค์การนิรโทษกรรมสากลถือว่านักโทษตามความผิดนี้เป็นนักโทษการเมือง มีบุคคลส่วนหนึ่งเลือกเดินทางออกนอกประเทศเพื่อมิให้ถูกดำเนินคดี และยังมีผู้ต้องหาและผู้ต้องขังตามความผิดดังกล่าวฆ่าตัวตายหรือเสียชีวิตระหว่างถูกคุมขัง สิทธิศักดิ์ วนะชกิจ โฆษกศาลยุติธรรม มีความเห็นเกี่ยวกับผู้ต้องขังในคดีทำนองนี้ว่า "...บุคคลที่เจนโลกโชกโชน สันดานเป็นโจรผู้ร้าย มีเจตนาทำร้ายสังคม สถาบันหลักของประเทศชาติ และองค์พระประมุขอันเป็นที่เคารพสักการ...ไม่มีใครอยากให้คนเช่นนี้ลอยนวลอยู่ในสังคมเพื่อสร้างความเสียหายต่อเนื่องหรือแก่ผู้อื่นอีก..." และแสดงความเห็นว่า "…ถ้าคดีใดอัยการโจทก์สามารถนำสืบพิสูจน์จนให้ศาลเห็นและเชื่อได้ว่า จำเลยมีเจตนาชั่วร้...จำเลยในคดีนั้นก็สมควรที่จะได้รับโทษานุโทษตามความเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดี..." โดยที่ศาลมิต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย หลังรัฐประหารเมื่อปี 2549 มีการพิจารณาความผิดดังกล่าวมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ปัจจุบัน ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เป็นกฎหมายว่าด้วยการหมิ่นประมาทราชวงศ์ซึ่งระวางโทษรุนแรงที่สุดในโลก และถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า "โหดร้ายป่าเถื่อน" บ่อนทำลายกฎหมายไทย ละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ ใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองและทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ บางฝ่ายออกมาเรียกร้องให้มีการแก้ไขหรือยกเลิกกฎหมายนี้ ส่วนพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำรัสว่า สามารถวิจารณ์พระองค์ได้และไม่เคยตรัสให้เอาผู้วิจารณ์เข้าคุก.

ใหม่!!: ประวิตร โรจนพฤกษ์และความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย · ดูเพิ่มเติม »

แอนดรูว์ แม็กเกรเกอร์ มาร์แชลล์

แอนดรูว์ แม็กเกรเกอร์ มาร์แชลล์ (Andrew MacGregor Marshall, เกิด 25 มีนาคม 2514) เป็นนักข่าวและเป็นนักหนังสือพิมพ์และนักเขียนชาวสกอต ซึ่งเน้นความขัดแย้ง การเมืองและอาชญากรรม และเป็นบุคคลที่สร้างความแตกแยกและบิดเบือนข้อมูลข่าวสารในสังคมไทย ปฏิบัติงานในทวีปเอเชียและตะวันออกกลางเป็นหลัก เมื่อเดือนมิถุนายน 2554 เขาลาออกจากรอยเตอส์ในพฤติการณ์ซึ่งมีการโต้เถียงหลังสำนักข่าวนั้นปฏิเสธตีพิมพ์เรื่องเฉพาะที่เขาเขียนถึงพระมหากษัตริย์ไท.

ใหม่!!: ประวิตร โรจนพฤกษ์และแอนดรูว์ แม็กเกรเกอร์ มาร์แชลล์ · ดูเพิ่มเติม »

เดอะ เนชั่น (แก้ความกำกวม)

อะ เนชั่น อาจจะหมายถึง.

ใหม่!!: ประวิตร โรจนพฤกษ์และเดอะ เนชั่น (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »