โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยและประวิตร โรจนพฤกษ์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยและประวิตร โรจนพฤกษ์

ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย vs. ประวิตร โรจนพฤกษ์

วามผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยอยู่ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 บัญญัติไว้ว่า "ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปีถึง 15 ปี" ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยเป็นความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ คนไทยหรือคนต่างด้าวไม่ว่ากระทำในหรือนอกราชอาณาจักรก็ต้องรับโทษ ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับเรื่อยมามีข้อที่กล่าวว่า "องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้" ในประมวลกฎหมายไม่มีนิยามว่าพฤติการณ์แบบใดเข้าข่าย "หมิ่นประมาท" หรือ "ดูหมิ่น" ลักษณะการกระทำความผิดมีหลากหลาย แล้วแต่ศาลจะพิเคราะห์เจตนา เช่น ปราศรัยในที่สาธารณะ ส่งสารสั้น โพสต์รูปภาพ เผยแพร่เอกสารหรือวีดิทัศน์ ละเมิดพระบรมฉายาลักษณ์ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีข้อโต้แย้งว่า ความผิดต่อองคมนตรีเข้าข่ายความผิดนี้หรือไม่ อนึ่ง ในปี 2556 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คำว่า "พระมหากษัตริย์" ยังหมายความรวมถึง พระมหากษัตริย์ในอดีตด้วย ธานินทร์ กรัยวิเชียร อดีตนายกรัฐมนตรี ยังตีความว่า กฎหมายห้ามครอบคลุมถึงการวิจารณ์โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สถาบันพระมหากษัตริย์ ราชวงศ์จักรีและพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ พระมหากษัตริย์หรือพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ไม่เคยฟ้องร้องเป็นการส่วนพระองค์ ผู้ถูกตั้งข้อหามักไม่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัว และถูกคุมขังในเรือนจำหลายเดือนก่อนมีการไต่สวนในชั้นศาล องค์การนิรโทษกรรมสากลถือว่านักโทษตามความผิดนี้เป็นนักโทษการเมือง มีบุคคลส่วนหนึ่งเลือกเดินทางออกนอกประเทศเพื่อมิให้ถูกดำเนินคดี และยังมีผู้ต้องหาและผู้ต้องขังตามความผิดดังกล่าวฆ่าตัวตายหรือเสียชีวิตระหว่างถูกคุมขัง สิทธิศักดิ์ วนะชกิจ โฆษกศาลยุติธรรม มีความเห็นเกี่ยวกับผู้ต้องขังในคดีทำนองนี้ว่า "...บุคคลที่เจนโลกโชกโชน สันดานเป็นโจรผู้ร้าย มีเจตนาทำร้ายสังคม สถาบันหลักของประเทศชาติ และองค์พระประมุขอันเป็นที่เคารพสักการ...ไม่มีใครอยากให้คนเช่นนี้ลอยนวลอยู่ในสังคมเพื่อสร้างความเสียหายต่อเนื่องหรือแก่ผู้อื่นอีก..." และแสดงความเห็นว่า "…ถ้าคดีใดอัยการโจทก์สามารถนำสืบพิสูจน์จนให้ศาลเห็นและเชื่อได้ว่า จำเลยมีเจตนาชั่วร้...จำเลยในคดีนั้นก็สมควรที่จะได้รับโทษานุโทษตามความเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดี..." โดยที่ศาลมิต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย หลังรัฐประหารเมื่อปี 2549 มีการพิจารณาความผิดดังกล่าวมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ปัจจุบัน ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เป็นกฎหมายว่าด้วยการหมิ่นประมาทราชวงศ์ซึ่งระวางโทษรุนแรงที่สุดในโลก และถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า "โหดร้ายป่าเถื่อน" บ่อนทำลายกฎหมายไทย ละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ ใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองและทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ บางฝ่ายออกมาเรียกร้องให้มีการแก้ไขหรือยกเลิกกฎหมายนี้ ส่วนพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำรัสว่า สามารถวิจารณ์พระองค์ได้และไม่เคยตรัสให้เอาผู้วิจารณ์เข้าคุก. ประวิตร โรจนพฤกษ์ เป็นนักหนังสือพิมพ์ชาวไทยซึ่งเป็นผู้เขียนอาวุโสของหนังสือพิมพ์ ข่าวสดอิงลิช เดิมเขาเขียนคอลัมน์ประจำให้กับหนังสือพิมพ์ เดอะเนชั่น แต่ถูกบีบให้ลาออกเนื่องจากความเห็นทางการเมืองของเขาหลังรัฐประหารในปี 2557 ก่อนหน้านั้น เขาเป็นนักต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยและเสรีภาพในการแสดงออกคนสำคัญ และถูกสอบสวนหลายครั้ง หลังรัฐประหารเขาถูกจับในข้อหาความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์และควบคุมตัวหนึ่งสัปดาห์ เขาวิจารณ์คณะทหารผู้ยึดอำนาจปกครองและความพยายามจำกัดเสรีภาพอย่างมาก เขาเคยถูกควบคุมตัวเพื่อ "ปรับทัศนคติ" สองครั้ง และในปี 2560 มีข้อกล่าวหาปลุกปั่นให้ขัดขืนอำนาจปกครองจากโพสต์เฟซบุ๊ก เขาเป็นเฟลโลว์รอยเตอส์ที่มหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ และนักเรียนทุนชีฟเวนนิงที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด แอนดรูว์ แม็กเกรเกอร์ มาร์แชลล์อธิบายประวิทย์ว่าเป็น "ผู้สื่อข่าวยอดเยี่ยมคนหนึ่งของประเทศ".

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยและประวิตร โรจนพฤกษ์

ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยและประวิตร โรจนพฤกษ์ มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557

รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557

รัฐประหารในประเทศไท..

ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยและรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 · ประวิตร โรจนพฤกษ์และรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยและประวิตร โรจนพฤกษ์

ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย มี 69 ความสัมพันธ์ขณะที่ ประวิตร โรจนพฤกษ์ มี 6 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 1.33% = 1 / (69 + 6)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยและประวิตร โรจนพฤกษ์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »