โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ทะเลกรีนแลนด์

ดัชนี ทะเลกรีนแลนด์

ูเขาน้ำแข็งในทะเลกรีนแลนด์ right ทะเลกรีนแลนด์ เป็นบริเวณผืนน้ำทางตอนเหนือของมหาสมุทรแอตแลนติก นับเป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรอาร์กติก แต่บางครั้งก็จัดรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรแอตแลนติก แต่ในทางสมุทรศาสตร์จัดให้ทะเลกรีนแลนด์เป็นส่วนหนึ่งของทะเลนอร์ดิกรวมกับทะเลนอร์เวย์และทะเลไอซ์แลนด์ ทะเลกรีนแลนด์มีอาณาเขตติดต่อกับเกาะกรีนแลนด์ทางทิศตะวันตก หมู่เกาะสฟาลบาร์ทางทิศตะวันออก ช่องแคบแฟรมและมหาสมุทรอาร์กติกทางทิศเหนือ ทะเลนอร์เวย์และไอซ์แลนด์ทางทิศใต้.

7 ความสัมพันธ์: กรีนแลนด์มหาสมุทรอาร์กติกมหาสมุทรแอตแลนติกสฟาลบาร์สมุทรศาสตร์ทะเลนอร์วีเจียนประเทศไอซ์แลนด์

กรีนแลนด์

กรีนแลนด์ (Kalaallit Nunaat; Grønland เกฺรินลันฺด) เป็นดินแดนทางเหนือสุดของโลก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรอาร์กติกและเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นที่ประมาณ 2,175,900 ตารางกิโลเมตร มีฐานะเป็นดินแดนปกครองตนเองของประเทศเดนมาร์ก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2499.

ใหม่!!: ทะเลกรีนแลนด์และกรีนแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรอาร์กติก

มหาสมุทรอาร์กติก (Arctic Ocean) ตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือ และส่วนใหญ่อยู่ในเขตขั้วโลกเหนืออาร์กติก เป็นมหาสมุทรขนาดเล็กที่สุดและตื้นเขินที่สุดในห้ามหาสมุทรตามการแบ่งมหาสมุทรหลักของโลก องค์กรอุทกศาสตร์โลก (IHO) ยอมรับว่ามหาสมุทรอาร์กติกเป็นมหาสมุทร แม้นักอุทกศาสตร์บางคนจะเรียกบริเวณนี้ว่า ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนอาร์กติก หรือเรียกง่าย ๆ ว่า ทะเลอาร์กติก โดยจัดว่าบริเวณนี้เป็นหนึ่งในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนของมหาสมุทรแอตแลนติก หรืออาจมองว่า เป็นส่วนเหนือสุดของมหาสมุทรโลกที่ล้อมรอบทั้งหมด มหาสมุทรอาร์กติกมีรูปร่างคล้ายวงกลม ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ เกือบเท่ากับขนาดของทวีปแอนตาร์กติกา แนวชายฝั่งยาว ล้อมรอบด้วยทวีปยุโรป, ทวีปเอเชีย, ทวีปอเมริกาเหนือ และกรีนแลนด์ รวมทั้งเกาะต่างๆ และทะเลแบเร็นตส์, ทะเลโบฟอร์ต, ทะเลชุกชี, ทะเลคารา, ทะเลลัปเตฟ, ทะเลไซบีเรียตะวันออก, ทะเลลิงคอล์น, ทะเลแวนเดล, ทะเลกรีนแลนด์ และทะเลนอร์เวย์ เชื่อมกับมหาสมุทรแปซิฟิกที่ช่องแคบเบริง และเชื่อมกับมหาสมุทรแอตแลนติกที่ทะเลกรีนแลนด์ มหาสมุทรอาร์กติกบางส่วนปกคลุมด้วยทะเลน้ำแข็งตลอดทั้งปีและเกือบทั้งมหาสมุทรในฤดูหนาว อุณหภูมิและความเค็มของมหาสมุทรอาร์กติกแตกต่างกันไปตามฤดูกาล เมื่อน้ำแข็งหลอมเหลวและแข็งตัว ความเค็มของมหาสมุทรมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดในมหาสมุทรหลักทั้งห้า เนื่องจากการระเหยที่ต่ำ กระแสไหลเข้าอย่างหนักของน้ำจืดจากแม่น้ำและลำธาร การเชื่อมโยงที่จำกัดและการไหลออกไปยังมหาสมุทรโดยรอบที่มีความเค็มสูงกว่า การหดตัวของน้ำแข็งในฤดูร้อนมีบันทึกว่าลดลงถึง 50% ศูนย์ข้อมูลหิมะและน้ำแข็งแห่งชาติสหรัฐ (NSIDC) ใช้ข้อมูลดาวเทียมเพื่อหาบันทึกประจำวันของน้ำแข็งที่ปกคลุมมหาสมุทรอาร์กติก และอัตราการหลอมเหลวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเฉลี่ยและปีที่ผ่านมา สันลอมอนอซอฟ (Lomonosov ridge) ซึ่งเป็นสันมหาสมุทรที่อยู่ใต้ทะเล แบ่งมหาสมุทรอาร์กติกออกเป็น 2 ส่วน คือ แอ่งยูเรเชีย (เรียกบริเวณนี้ว่าแนนสัน - Nansen) มีความลึก 4,000-4,500 เมตร และแอ่งอเมริกาเหนือ (เรียกบริเวณนี้ว่าไฮเพอร์โบเรียน - Hyperborean) มีความลึกประมาณ 4,000 เมตร ความลึกเฉลี่ยของมหาสมุทรอาร์กติก คือ 1,038 เมตร (3,407 ฟุต).

ใหม่!!: ทะเลกรีนแลนด์และมหาสมุทรอาร์กติก · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรแอตแลนติก

มหาสมุทรแอตแลนติก (Atlantic Ocean) เป็นมหาสมุทรที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1 ใน 5 ของพื้นผิวโลก ชื่อของมหาสมุทรมาจากนิยายปรัมปรากรีก หมายถึง "ทะเลของแอตลาส" มหาสมุทรแอตแลนติกเป็นแอ่งที่มีรูปร่างเหมือนตัวเอส (S) ติดกับทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ทางตะวันตก ส่วนทางตะวันออกติดกับ ทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา ปัจจุบันมีการแบ่งมหาสมุทรแอตแลนติกเป็น 2 ส่วน คือ แอตแลนติกเหนือและแอตแลนติกใต้ โดยใช้บริเวณที่เกิดการเปลี่ยนทิศของกระแสน้ำที่ละติจูด 8° เหนือเป็นแนวแบ่ง มหาสมุทรแอตแลนติกเชื่อมกับมหาสมุทรแปซิฟิกทางมหาสมุทรอาร์กติกซึ่งอยู่ทางเหนือ ส่วนทางใต้เชื่อมทางช่องแคบเดรก จุดเชื่อมต่ออีกแห่งหนึ่งที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์ คือ คลองปานามา เส้นแบ่งระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกกับมหาสมุทรอินเดีย คือ เส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรอาร์กติกด้วยเส้นที่ลากจากกรีนแลนด์ ผ่านตอนใต้สุดของสฟาลบาร์ (Svalbard) ไปยังตอนเหนือของนอร์เวย์ มหาสมุทรแอตแลนติกมีพื้นน้ำประมาณ 106,460,000 ตารางกิโลเมตร ปริมาตรของมหาสมุทรเมื่อรวมทะเลที่อยู่ติดกันมีค่า 310,410,900 ลูกบาศก์กิโลเมตร มีความลึกเฉลี่ย 3,646 เมตร จุดที่ลึกที่สุดคือปวยร์โตรีโกเทรนช์มีความลึก 8,486 เมตร (27,840 ฟุต).

ใหม่!!: ทะเลกรีนแลนด์และมหาสมุทรแอตแลนติก · ดูเพิ่มเติม »

สฟาลบาร์

แผนที่สฟาลบาร์ สฟาลบาร์ (Svalbard; Шпицбе́рген, Свальбард) เป็นหมู่เกาะในมหาสมุทรอาร์กติก ตั้งอยู่ทางเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ระหว่างนอร์เวย์และขั้วโลกเหนือ ตั้งแต่ละติจูด 74 ถึง 81 องศาเหนือ สฟาลบาร์เป็นส่วนหนึ่งของประเทศนอร์เวย์ โดยเป็นส่วนที่อยู่เหนือที่สุดของประเทศ มีประชากรอาศัยอยู่บนสามเกาะคือ สปิตส์เบอร์เกน บีเยอร์เนอยา และโฮเปน แรกเริ่ม สฟาลบาร์ได้ถูกใช้เป็นฐานล่าวาฬในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 18 หลังจากนั้นหมู่เกาะดังกล่าวได้ถูกปล่อยร้าง การทำเหมืองถ่านหินเริ่มต้นขึ้นเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 และชุมชนถาวรหลายแห่งได้รับการจัดตั้งขึ้น สนธิสัญญาสฟาลบาร์ ใน..

ใหม่!!: ทะเลกรีนแลนด์และสฟาลบาร์ · ดูเพิ่มเติม »

สมุทรศาสตร์

Thermohaline circulation สมุทรศาสตร์ หรือ สมุทรวิทยา (oceanography, oceanology, หรือ marine science) คือ ศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องเกี่ยวกับทะเลและมหาสมุทร สมุทรศาสตร์เกี่ยวพันกับศาสตร์แขนงอื่น ๆ อีกหลายสาขา เช่น ธรณีวิทยา ภูมิศาสตร์ ธรณีฟิสิกส์ ฟิสิกส์ เคมี ธรณีเคมี คณิตศาสตร์ อุตุนิยมวิทยา พฤกษศาสตร์และสัตวศาสตร์ เราอาจแบ่งสมุทรศาสตร์ออกได้เป็น 5 สาขา ดังนี้.

ใหม่!!: ทะเลกรีนแลนด์และสมุทรศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลนอร์วีเจียน

ทะเลนอร์เวย์ ทะเลนอร์วีเจียน (Norskehavet; Norwegian Sea) เป็นทะเลที่เป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศนอร์เวย์ ระหว่างทะเลเหนือกับทะเลกรีนแลนด์ ทะเลนอร์วีเจียนติดกับตอนเหนือของมหาสมุทรแอตแลนติกทางตะวันตก และทางตะวันออกเฉียงเหนือติดกับทะเลแบเร็นตส์ (Barents Sea) และแยกจากมหาสมุทรแอตแลนติกโดยสันใต้ทะเลที่แล่นระหว่างไอซ์แลนด์และหมู่เกาะแฟโร ทางตอนเหนือสันยานไมเอนแยกทะเลนอร์เวย์ออกจากทะเลกรีนแลนด์ ทะเลนอร์วีเจียนและทะเลกรีนแลนด์บางครั้งก็เรียกรวมกันว่า ทะเลนอร์ดิก.

ใหม่!!: ทะเลกรีนแลนด์และทะเลนอร์วีเจียน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไอซ์แลนด์

อซ์แลนด์ (Iceland; อิสตลันต์) เป็นประเทศนอร์ดิกในยุโรปเหนือ ตั้งอยู่บนเกาะในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ระหว่างกรีนแลนด์ นอร์เวย์ และสหราชอาณาจักร มีเมืองหลวงคือเรคยาวิก ไอซ์แลนด์มีประชากรประมาณสามแสนคน มีพื้นที่ประเทศรวม 102,775 ตารางกิโลเมตร เรียกข้อมูลวันที่ 2008-03-03 นับว่ามีประชากรเบาบาง จากดัชนีการพัฒนามนุษย์ ปี..

ใหม่!!: ทะเลกรีนแลนด์และประเทศไอซ์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »