โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ทะเลกรีนแลนด์

ดัชนี ทะเลกรีนแลนด์

ูเขาน้ำแข็งในทะเลกรีนแลนด์ right ทะเลกรีนแลนด์ เป็นบริเวณผืนน้ำทางตอนเหนือของมหาสมุทรแอตแลนติก นับเป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรอาร์กติก แต่บางครั้งก็จัดรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรแอตแลนติก แต่ในทางสมุทรศาสตร์จัดให้ทะเลกรีนแลนด์เป็นส่วนหนึ่งของทะเลนอร์ดิกรวมกับทะเลนอร์เวย์และทะเลไอซ์แลนด์ ทะเลกรีนแลนด์มีอาณาเขตติดต่อกับเกาะกรีนแลนด์ทางทิศตะวันตก หมู่เกาะสฟาลบาร์ทางทิศตะวันออก ช่องแคบแฟรมและมหาสมุทรอาร์กติกทางทิศเหนือ ทะเลนอร์เวย์และไอซ์แลนด์ทางทิศใต้.

22 ความสัมพันธ์: มหาสมุทรอาร์กติกมหาสมุทรแอตแลนติกรายชื่อทะเลสปิตส์เบอร์เกนทะเลนอร์วีเจียนเส้นขนานที่ 70 องศาเหนือเส้นขนานที่ 75 องศาเหนือเส้นขนานที่ 80 องศาเหนือเส้นเมริเดียนที่ 14 องศาตะวันตกเส้นเมริเดียนที่ 15 องศาตะวันออกเส้นเมริเดียนที่ 15 องศาตะวันตกเส้นเมริเดียนที่ 16 องศาตะวันออกเส้นเมริเดียนที่ 16 องศาตะวันตกเส้นเมริเดียนที่ 17 องศาตะวันออกเส้นเมริเดียนที่ 17 องศาตะวันตกเส้นเมริเดียนที่ 19 องศาตะวันตกเส้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันตกเส้นเมริเดียนที่ 21 องศาตะวันตกเส้นเมริเดียนที่ 22 องศาตะวันตกเส้นเมริเดียนที่ 23 องศาตะวันตกเส้นเมริเดียนที่ 24 องศาตะวันตกISO 3166-2:SJ

มหาสมุทรอาร์กติก

มหาสมุทรอาร์กติก (Arctic Ocean) ตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือ และส่วนใหญ่อยู่ในเขตขั้วโลกเหนืออาร์กติก เป็นมหาสมุทรขนาดเล็กที่สุดและตื้นเขินที่สุดในห้ามหาสมุทรตามการแบ่งมหาสมุทรหลักของโลก องค์กรอุทกศาสตร์โลก (IHO) ยอมรับว่ามหาสมุทรอาร์กติกเป็นมหาสมุทร แม้นักอุทกศาสตร์บางคนจะเรียกบริเวณนี้ว่า ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนอาร์กติก หรือเรียกง่าย ๆ ว่า ทะเลอาร์กติก โดยจัดว่าบริเวณนี้เป็นหนึ่งในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนของมหาสมุทรแอตแลนติก หรืออาจมองว่า เป็นส่วนเหนือสุดของมหาสมุทรโลกที่ล้อมรอบทั้งหมด มหาสมุทรอาร์กติกมีรูปร่างคล้ายวงกลม ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ เกือบเท่ากับขนาดของทวีปแอนตาร์กติกา แนวชายฝั่งยาว ล้อมรอบด้วยทวีปยุโรป, ทวีปเอเชีย, ทวีปอเมริกาเหนือ และกรีนแลนด์ รวมทั้งเกาะต่างๆ และทะเลแบเร็นตส์, ทะเลโบฟอร์ต, ทะเลชุกชี, ทะเลคารา, ทะเลลัปเตฟ, ทะเลไซบีเรียตะวันออก, ทะเลลิงคอล์น, ทะเลแวนเดล, ทะเลกรีนแลนด์ และทะเลนอร์เวย์ เชื่อมกับมหาสมุทรแปซิฟิกที่ช่องแคบเบริง และเชื่อมกับมหาสมุทรแอตแลนติกที่ทะเลกรีนแลนด์ มหาสมุทรอาร์กติกบางส่วนปกคลุมด้วยทะเลน้ำแข็งตลอดทั้งปีและเกือบทั้งมหาสมุทรในฤดูหนาว อุณหภูมิและความเค็มของมหาสมุทรอาร์กติกแตกต่างกันไปตามฤดูกาล เมื่อน้ำแข็งหลอมเหลวและแข็งตัว ความเค็มของมหาสมุทรมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดในมหาสมุทรหลักทั้งห้า เนื่องจากการระเหยที่ต่ำ กระแสไหลเข้าอย่างหนักของน้ำจืดจากแม่น้ำและลำธาร การเชื่อมโยงที่จำกัดและการไหลออกไปยังมหาสมุทรโดยรอบที่มีความเค็มสูงกว่า การหดตัวของน้ำแข็งในฤดูร้อนมีบันทึกว่าลดลงถึง 50% ศูนย์ข้อมูลหิมะและน้ำแข็งแห่งชาติสหรัฐ (NSIDC) ใช้ข้อมูลดาวเทียมเพื่อหาบันทึกประจำวันของน้ำแข็งที่ปกคลุมมหาสมุทรอาร์กติก และอัตราการหลอมเหลวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเฉลี่ยและปีที่ผ่านมา สันลอมอนอซอฟ (Lomonosov ridge) ซึ่งเป็นสันมหาสมุทรที่อยู่ใต้ทะเล แบ่งมหาสมุทรอาร์กติกออกเป็น 2 ส่วน คือ แอ่งยูเรเชีย (เรียกบริเวณนี้ว่าแนนสัน - Nansen) มีความลึก 4,000-4,500 เมตร และแอ่งอเมริกาเหนือ (เรียกบริเวณนี้ว่าไฮเพอร์โบเรียน - Hyperborean) มีความลึกประมาณ 4,000 เมตร ความลึกเฉลี่ยของมหาสมุทรอาร์กติก คือ 1,038 เมตร (3,407 ฟุต).

ใหม่!!: ทะเลกรีนแลนด์และมหาสมุทรอาร์กติก · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรแอตแลนติก

มหาสมุทรแอตแลนติก (Atlantic Ocean) เป็นมหาสมุทรที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1 ใน 5 ของพื้นผิวโลก ชื่อของมหาสมุทรมาจากนิยายปรัมปรากรีก หมายถึง "ทะเลของแอตลาส" มหาสมุทรแอตแลนติกเป็นแอ่งที่มีรูปร่างเหมือนตัวเอส (S) ติดกับทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ทางตะวันตก ส่วนทางตะวันออกติดกับ ทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา ปัจจุบันมีการแบ่งมหาสมุทรแอตแลนติกเป็น 2 ส่วน คือ แอตแลนติกเหนือและแอตแลนติกใต้ โดยใช้บริเวณที่เกิดการเปลี่ยนทิศของกระแสน้ำที่ละติจูด 8° เหนือเป็นแนวแบ่ง มหาสมุทรแอตแลนติกเชื่อมกับมหาสมุทรแปซิฟิกทางมหาสมุทรอาร์กติกซึ่งอยู่ทางเหนือ ส่วนทางใต้เชื่อมทางช่องแคบเดรก จุดเชื่อมต่ออีกแห่งหนึ่งที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์ คือ คลองปานามา เส้นแบ่งระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกกับมหาสมุทรอินเดีย คือ เส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรอาร์กติกด้วยเส้นที่ลากจากกรีนแลนด์ ผ่านตอนใต้สุดของสฟาลบาร์ (Svalbard) ไปยังตอนเหนือของนอร์เวย์ มหาสมุทรแอตแลนติกมีพื้นน้ำประมาณ 106,460,000 ตารางกิโลเมตร ปริมาตรของมหาสมุทรเมื่อรวมทะเลที่อยู่ติดกันมีค่า 310,410,900 ลูกบาศก์กิโลเมตร มีความลึกเฉลี่ย 3,646 เมตร จุดที่ลึกที่สุดคือปวยร์โตรีโกเทรนช์มีความลึก 8,486 เมตร (27,840 ฟุต).

ใหม่!!: ทะเลกรีนแลนด์และมหาสมุทรแอตแลนติก · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อทะเล

ทะเลคือพื้นที่น้ำเกลือที่เป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทร หรือทะเลขนาดใหญ่ที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล (เช่น ทะเลแคสเปียน และทะเลเดดซี) .

ใหม่!!: ทะเลกรีนแลนด์และรายชื่อทะเล · ดูเพิ่มเติม »

สปิตส์เบอร์เกน

ปิตส์เบอร์เกน (Spitsbergen หรือเดิมชื่อ West Spitsbergen; นอร์เวย์: Vest Spitsbergen, Vestspitsbergen) เป็นเกาะใหญ่ที่สุดและเกาะเดียวที่มีคนอาศัยอยู่ในหมู่เกาะสฟาลบาร์ ประเทศนอร์เวย์ ตั้งอยู่ทางตะวันตกสุดของหมู่เกาะ ติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทะเลนอร์วีเจียน และทะเลกรีนแลนด์ เกาะมีพื้นที่ 39,044 ตร.กม.

ใหม่!!: ทะเลกรีนแลนด์และสปิตส์เบอร์เกน · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลนอร์วีเจียน

ทะเลนอร์เวย์ ทะเลนอร์วีเจียน (Norskehavet; Norwegian Sea) เป็นทะเลที่เป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศนอร์เวย์ ระหว่างทะเลเหนือกับทะเลกรีนแลนด์ ทะเลนอร์วีเจียนติดกับตอนเหนือของมหาสมุทรแอตแลนติกทางตะวันตก และทางตะวันออกเฉียงเหนือติดกับทะเลแบเร็นตส์ (Barents Sea) และแยกจากมหาสมุทรแอตแลนติกโดยสันใต้ทะเลที่แล่นระหว่างไอซ์แลนด์และหมู่เกาะแฟโร ทางตอนเหนือสันยานไมเอนแยกทะเลนอร์เวย์ออกจากทะเลกรีนแลนด์ ทะเลนอร์วีเจียนและทะเลกรีนแลนด์บางครั้งก็เรียกรวมกันว่า ทะเลนอร์ดิก.

ใหม่!!: ทะเลกรีนแลนด์และทะเลนอร์วีเจียน · ดูเพิ่มเติม »

เส้นขนานที่ 70 องศาเหนือ

ในเกาะวิกตอเรีย, แคนาดา เส้นขนานที่ 70 องศาเหนือมีความหมายเป็นเส้นแบ่งเขตส่วนหนึ่ง ระหว่างนอร์ทเวสต์เทร์ริทอรีส์ (สีเขียว) กับ นูนาวุต (สีขาว) เส้นขนานที่ 70 องศาเหนือ คือวงกลมละติจูดที่ 70 องศา ด้านเหนือของระนาบศูนย์สูตรโลกในมหาสมุทรอาร์กติก เส้นนี้ลากผ่านมหาสมุทรแอตแลนติก ทวีปยุโรป ทวีปเอเชีย และทวีปอเมริกาเหนือ และยังลากผ่านบางส่วนของทะเลใต้ของมหาสมุทรอาร์กติกด้วย ที่ละติจูดนี้ ดวงอาทิตย์จะมองเห็นได้เป็นเวลา 24 ชั่วโมง 0 นาที ในระหว่างครีษมายัน และเห็นแต่แสงสนทยาทั่วไปในช่วงเหมายัน.

ใหม่!!: ทะเลกรีนแลนด์และเส้นขนานที่ 70 องศาเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

เส้นขนานที่ 75 องศาเหนือ

้นขนานที่ 75 องศาเหนือ คือวงกลมละติจูดที่ 75 องศา ด้านเหนือของระนาบศูนย์สูตรโลกในพื้นที่อาร์กติก เส้นนี้ลากผ่านมหาสมุทรแอตแลนติก ทวีปยุโรป ทวีปเอเชีย มหาสมุทรอาร์กติก และทวีปอเมริกาเหนือ.

ใหม่!!: ทะเลกรีนแลนด์และเส้นขนานที่ 75 องศาเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

เส้นขนานที่ 80 องศาเหนือ

้นขนานที่ 80 องศาเหนือ คือวงกลมละติจูดที่ 80 องศา ด้านเหนือของระนาบศูนย์สูตรโลกในมหาสมุทรอาร์กติก เส้นนี้ลากผ่านมหาสมุทรแอตแลนติก ทวีปยุโรป ทวีปเอเชีย มหาสมุทรอาร์กติก และทวีปอเมริกาเหนือ.

ใหม่!!: ทะเลกรีนแลนด์และเส้นขนานที่ 80 องศาเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเมริเดียนที่ 14 องศาตะวันตก

้นเมริเดียนที่ 14 องศาตะวันตกของกรีนิช คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากขั้วโลกเหนือผ่านมหาสมุทรอาร์กติก กรีนแลนด์ ไอซ์แลนด์ มหาสมุทรแอตแลนติก ทวีปแอฟริกา มหาสมุทรใต้ และแอนตาร์กติกา เข้าสู่ขั้วโลกใต้ เส้นเมริเดียนที่ 14 องศาตะวันตก เป็นรูปแบบเส้นวงกลมใหญ่ของเส้นเมริเดียนที่ 166 องศาตะวันออก  .

ใหม่!!: ทะเลกรีนแลนด์และเส้นเมริเดียนที่ 14 องศาตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเมริเดียนที่ 15 องศาตะวันออก

อนุสาวรีย์สัญลักษณ์เส้นเมริเดียนในสตาร์การ์ดชเชชีงสกี, โปแลนด์ อนุสาวรีย์สัญลักษณ์เส้นเมริเดียนในกือราลิตซ์, เมืองทางตะวันออกสุดของประเทศเยอรมนี สัญลักษณ์ของเส้นเมริเดียน 15 องศาบนทางเท้าใน อินด์ชิฮูอาราแด็ก, สาธารณรัฐเช็ก เส้นเมริเดียนที่ 15 องศาตะวันออกของกรีนิช คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากขั้วโลกเหนือผ่านมหาสมุทรอาร์กติก ทวีปยุโรป ทวีปแอฟริกา มหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรใต้ และแอนตาร์กติกา เข้าสู่ขั้วโลกใต้ เส้นเมริเดียนที่ 15 องศาตะวันออก เป็นรูปแบบเส้นวงกลมใหญ่ของเส้นเมริเดียนที่ 165 องศาตะวันตก เส้นเมริเดียนนี้ ถือเป็นแกนกลางของเวลายุโรปกลาง.

ใหม่!!: ทะเลกรีนแลนด์และเส้นเมริเดียนที่ 15 องศาตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเมริเดียนที่ 15 องศาตะวันตก

้นเมริเดียนที่ 15 องศาตะวันตกของกรีนิช คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากขั้วโลกเหนือผ่านมหาสมุทรอาร์กติก กรีนแลนด์ ไอซ์แลนด์ มหาสมุทรแอตแลนติก ทวีปแอฟริกา มหาสมุทรใต้ และแอนตาร์กติกา เข้าสู่ขั้วโลกใต้ เส้นเมริเดียนที่ 15 องศาตะวันตก เป็นรูปแบบเส้นวงกลมใหญ่ของเส้นเมริเดียนที่ 165 องศาตะวันออก.

ใหม่!!: ทะเลกรีนแลนด์และเส้นเมริเดียนที่ 15 องศาตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเมริเดียนที่ 16 องศาตะวันออก

้นเมริเดียนที่ 16 องศาตะวันออกของกรีนิช คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากขั้วโลกเหนือผ่านมหาสมุทรอาร์กติก ทวีปยุโรป ทวีปแอฟริกา มหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรใต้ และแอนตาร์กติกา เข้าสู่ขั้วโลกใต้ เส้นเมริเดียนที่ 16 องศาตะวันออก เป็นรูปแบบเส้นวงกลมใหญ่ของเส้นเมริเดียนที่ 164 องศาตะวันตก.

ใหม่!!: ทะเลกรีนแลนด์และเส้นเมริเดียนที่ 16 องศาตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเมริเดียนที่ 16 องศาตะวันตก

้นเมริเดียนที่ 16 องศาตะวันตกของกรีนิช คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากขั้วโลกเหนือผ่านมหาสมุทรอาร์กติก กรีนแลนด์ ไอซ์แลนด์ มหาสมุทรแอตแลนติก ทวีปแอฟริกา มหาสมุทรใต้ และแอนตาร์กติกา เข้าสู่ขั้วโลกใต้ เส้นเมริเดียนที่ 16 องศาตะวันตก เป็นรูปแบบเส้นวงกลมใหญ่ของเส้นเมริเดียนที่ 164 องศาตะวันออก.

ใหม่!!: ทะเลกรีนแลนด์และเส้นเมริเดียนที่ 16 องศาตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเมริเดียนที่ 17 องศาตะวันออก

้นเมริเดียนที่ 17 องศาตะวันออกของกรีนิช คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากขั้วโลกเหนือผ่านมหาสมุทรอาร์กติก ทวีปยุโรป ทวีปแอฟริกา มหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรใต้ และแอนตาร์กติกา เข้าสู่ขั้วโลกใต้ เส้นเมริเดียนที่ 17 องศาตะวันออก เป็นรูปแบบเส้นวงกลมใหญ่ของเส้นเมริเดียนที่ 163 องศาตะวันตก.

ใหม่!!: ทะเลกรีนแลนด์และเส้นเมริเดียนที่ 17 องศาตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเมริเดียนที่ 17 องศาตะวันตก

้นเมริเดียนที่ 17 องศาตะวันตกของกรีนิช คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากขั้วโลกเหนือผ่านมหาสมุทรอาร์กติก กรีนแลนด์ ไอซ์แลนด์ มหาสมุทรแอตแลนติก ทวีปแอฟริกา มหาสมุทรใต้ และแอนตาร์กติกา เข้าสู่ขั้วโลกใต้ เส้นเมริเดียนที่ 17 องศาตะวันตก เป็นรูปแบบเส้นวงกลมใหญ่ของเส้นเมริเดียนที่ 163 องศาตะวันออก.

ใหม่!!: ทะเลกรีนแลนด์และเส้นเมริเดียนที่ 17 องศาตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเมริเดียนที่ 19 องศาตะวันตก

้นเมริเดียนที่ 19 องศาตะวันตกของกรีนิช คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากขั้วโลกเหนือผ่านมหาสมุทรอาร์กติก กรีนแลนด์ ไอซ์แลนด์ มหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรใต้ และแอนตาร์กติกา เข้าสู่ขั้วโลกใต้ เส้นเมริเดียนที่ 19 องศาตะวันตก เป็นรูปแบบเส้นวงกลมใหญ่ของเส้นเมริเดียนที่ 161 องศาตะวันออก.

ใหม่!!: ทะเลกรีนแลนด์และเส้นเมริเดียนที่ 19 องศาตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันตก

้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันตกของกรีนิช คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากขั้วโลกเหนือผ่านมหาสมุทรอาร์กติก กรีนแลนด์ ไอซ์แลนด์ มหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรใต้ และแอนตาร์กติกา เข้าสู่ขั้วโลกใต้ ในบางรูปแบบทางภูมิศาสตร์ เส้นนี้มักถูกใช้เป็นเส้นลองจิจูดที่ดีที่สุดซึ่งใช้แบ่งแยกทางประวัติศาสตร์ ระหว่างโลกเก่าของยูเรเชีย และแอฟริกา และโลกใหม่ของอเมริกา เส้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันตก เป็นรูปแบบเส้นวงกลมใหญ่ของเส้นเมริเดียนที่ 160 องศาตะวันออก ในแอนตาร์กติกา เส้นเมริเดียนนี้หมายถึงเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างบริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรีกับควีนมอดแลนด์ และระหว่างเส้นขนานที่ 5 องศาเหนือและเส้นขนานที่ 60 องศาใต้ ถูกใช้เป็นเขตแดนด้านตะวันออกของเขตเสรีอาวุธนิวเคลียร์ละตินอเมริกัน.

ใหม่!!: ทะเลกรีนแลนด์และเส้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเมริเดียนที่ 21 องศาตะวันตก

้นเมริเดียนที่ 21 องศาตะวันตกของกรีนิช คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากขั้วโลกเหนือผ่านมหาสมุทรอาร์กติก กรีนแลนด์ ไอซ์แลนด์ มหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรใต้ และแอนตาร์กติกา เข้าสู่ขั้วโลกใต้ เส้นเมริเดียนที่ 21 องศาตะวันตก เป็นรูปแบบเส้นวงกลมใหญ่ของเส้นเมริเดียนที่ 159 องศาตะวันออก.

ใหม่!!: ทะเลกรีนแลนด์และเส้นเมริเดียนที่ 21 องศาตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเมริเดียนที่ 22 องศาตะวันตก

้นเมริเดียนที่ 22 องศาตะวันตกของกรีนิช คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากขั้วโลกเหนือผ่านมหาสมุทรอาร์กติก กรีนแลนด์ ไอซ์แลนด์ มหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรใต้ และแอนตาร์กติกา เข้าสู่ขั้วโลกใต้ เส้นเมริเดียนที่ 22 องศาตะวันตก เป็นรูปแบบเส้นวงกลมใหญ่ของเส้นเมริเดียนที่ 159 องศาตะวันออก.

ใหม่!!: ทะเลกรีนแลนด์และเส้นเมริเดียนที่ 22 องศาตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเมริเดียนที่ 23 องศาตะวันตก

้นเมริเดียนที่ 23 องศาตะวันตกของกรีนิช คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากขั้วโลกเหนือผ่านมหาสมุทรอาร์กติก กรีนแลนด์ ไอซ์แลนด์ มหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรใต้ และแอนตาร์กติกา เข้าสู่ขั้วโลกใต้ เส้นเมริเดียนที่ 23 องศาตะวันตก เป็นรูปแบบเส้นวงกลมใหญ่ของเส้นเมริเดียนที่ 157 องศาตะวันออก.

ใหม่!!: ทะเลกรีนแลนด์และเส้นเมริเดียนที่ 23 องศาตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเมริเดียนที่ 24 องศาตะวันตก

้นเมริเดียนที่ 24 องศาตะวันตกของกรีนิช คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากขั้วโลกเหนือผ่านมหาสมุทรอาร์กติก กรีนแลนด์ ไอซ์แลนด์ มหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรใต้ และแอนตาร์กติกา เข้าสู่ขั้วโลกใต้ เส้นเมริเดียนที่ 24 องศาตะวันตก เป็นรูปแบบเส้นวงกลมใหญ่ของเส้นเมริเดียนที่ 156 องศาตะวันออก.

ใหม่!!: ทะเลกรีนแลนด์และเส้นเมริเดียนที่ 24 องศาตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

ISO 3166-2:SJ

หุบเขาแอดเว่น (Adventdalen) ในสฟาลบาร์ ISO 3166-2:SJ เป็นรายการรหัสสำหรับสฟาลบาร์และยานไมเอนในมาตรฐาน ISO 3166-2 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐาน ISO 3166 เผยแพร่โดยองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) ซึ่งได้กำหนดรหัสสำหรับชื่อของเขตการปกครองระดับท้องถิ่นและกำหนดรหัสสำหรับทั้งประเทศด้วย ISO 3166-1 สฟาลบาร์และยานไมเอนไม่ได้อยู่ในฐานะเขตปกครองแต่เป็นดินแดนหนึ่งของนอร์เวย์ที่มีขอบเขตอำนาจศาลและกฎหมายต่างกัน เขตการปกครองระดับรองลงไปนอกจากนี้ของสฟาลบาร์และยานไมเอนจะอยู่ภายใต้รายการรหัสมาตรฐานของนอร์เวย์ (ISO 3166-2:NO) คือรหัส NO-21 สำหรับสฟาลบาร์ และรหัส NO-22 สำหรับยานไมเอน ทำให้ปัจจุบันไม่มีรหัสมาตรฐาน ISO 3166-2 สำหรับสฟาลบาร์ และยานไมเอน.

ใหม่!!: ทะเลกรีนแลนด์และISO 3166-2:SJ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »