โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ดาวเคราะห์แคระ

ดัชนี ดาวเคราะห์แคระ

แสดงวัตถุพ้นดาวเนปจูนขนาดใหญ่ ที่เป็นที่รู้จักแล้วในปัจจุบัน ดาวเคราะห์แคระ เป็นดาวชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายดาวเคราะห์ ตามการจำแนกชนิดดาวเคราะห์ที่เสนอโดยสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล (International Astronomical Union: IAU) เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2549.

13 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2549มวลวงโคจรสหพันธ์ดาราศาสตร์สากลดาวดาวพลูโตดาวมาคีมาคีดาวฤกษ์ดาวอีริสดาวเฮาเมอาดาวเคราะห์ซีรีส24 สิงหาคม

พ.ศ. 2549

ทธศักราช 2549 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2006 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: ดาวเคราะห์แคระและพ.ศ. 2549 · ดูเพิ่มเติม »

มวล

มวล เป็นคุณสมบัติหนึ่งของวัตถุ ที่บ่งบอกปริมาณ ของสสารที่วัตถุนั้นมี มวลเป็นแนวคิดหลักอันเป็นหัวใจของกลศาสตร์แบบดั้งเดิม รวมไปถึงแขนงวิชาที่เกี่ยวข้อง หากแจกแจงกันโดยละเอียดแล้ว จะมีปริมาณอยู่ 3 ประเภทที่ถูกนิยามว่า มวล ได้แก.

ใหม่!!: ดาวเคราะห์แคระและมวล · ดูเพิ่มเติม »

วงโคจร

นีอวกาศนานาชาติ (The International Space Station) กำลังโคจรอยู่เหนือโลก ดาวเทียมโคจรรอบโลกจะมีความเร็วแนวเส้นสัมผัสและความเร่งสู่ภายใน เทหวัตถุสองอย่างที่มีความแตกต่างกันของมวลโคจร แบบ barycenter ที่พบได้บ่อย ๆ ขนาดสัมพัทธ์และประเภทของวงโคจรมีลักษณะที่คล้ายกับระบบดาวพลูโต-แครัน (Pluto–Charon system) ในฟิสิกส์, วงโคจรเป็นเส้นทางโค้งแห่งแรงโน้มถ่วงของวัตถุรอบ ๆ จุดในอวกาศ, ตัวอย่างเช่นวงโคจรของดาวเคราะห์รอบจุดศูนย์กลางของระบบดาว, อย่างเช่นระบบสุริยะ วงโคจรของดาวเคราะห์มักจะเป็นวงรี วงโคจร คือ เส้นทางการเคลื่อนที่ของวัตถุหนึ่งรอบอีกวัตถุหนึ่ง โดยอยู่ภายใต้อิทธิพลแรงสู่ศูนย์กลาง อาทิ ความโน้มถ่วง ตัวอย่างเช่น วงโคจรของดวงจันทร์รอบโลก คำกริยาใช้ว่า "โคจร" เช่น โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ดาวเทียมไทยคมโคจรรอบโลก คนทั่วไปมักเข้าใจว่าดาวเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงกลม แต่ในความเป็นจริง ส่วนใหญ่แล้ววัตถุหนึ่งจะโคจรรอบอีกวัตถุหนึ่งในวงโคจรที่เป็นวงรี ความเข้าใจในปัจจุบันในกลศาสตร์ของการเคลื่อนที่ในวงโคจรอยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ซึ่งคิดสำหรับแรงโน้มถ่วงอันเนื่องจากความโค้งของอวกาศ-เวลาที่มีวงโคจรตามเส้น จีโอแดสิค (geodesics) เพื่อความสะดวกในการคำนวณ สัมพัทธภาพจะเป็นค่าประมาณโดยทั่วไปของทฤษฎีพื้นฐานแห่งแรงโน้มถ่วงสากลตามกฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ของเคปเลอร.

ใหม่!!: ดาวเคราะห์แคระและวงโคจร · ดูเพิ่มเติม »

สหพันธ์ดาราศาสตร์สากล

หพันธ์ดาราศาสตร์สากล (ไอเอยู) (IAU - International Astronomical Union) เป็นองค์กรที่รวมกลุ่มสมาคมดาราศาสตร์ต่าง ๆ จากทั่วโลกเข้าด้วยกัน และเป็นสมาชิกของสภาวิทยาศาสตร์นานาชาติ (ไอซีเอสยู) มีอำนาจในการตั้งชื่อดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์น้อย รวมถึงวัตถุท้องฟ้าและปรากฏการณ์อื่น ๆ สหพันธ์ดาราศาสตร์สากลประกอบด้วยคณะทำงานตั้งชื่อระบบดาวเคราะห์ (Working Group for Planetary System Nomenclature - WGPSN) ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการในการประชุมตั้งชื่อวัตถุต่าง ๆ และรับผิดชอบระบบโทรเลขดาราศาสตร์ แม้ว่าไม่ได้เป็นผู้ดำเนินการเองโดยตรง สหพันธ์ดาราศาสตร์สากลก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2462 (ค.ศ. 1919) จากการควบรวมเข้าด้วยกันระหว่างโครงการในระดับนานาชาติหลายโครงการ ได้แก่ แผนที่ท้องฟ้า (Carte du Ciel) สหพันธ์สุริยะ (Solar Union) และ สำนักงานเวลาสากล (Bureau International de l'Heure) ประธานสหพันธ์คนแรก คือ เบนจามิน เบลลอ.

ใหม่!!: ดาวเคราะห์แคระและสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล · ดูเพิ่มเติม »

ดาว

ว อาจหมายถึง; วัตถุท้องฟ้.

ใหม่!!: ดาวเคราะห์แคระและดาว · ดูเพิ่มเติม »

ดาวพลูโต

วพลูโต (Pluto; ดัชนีดาวเคราะห์น้อย: 134340 พลูโต) เป็นดาวเคราะห์แคระในแถบไคเปอร์ วงแหวนของวัตถุพ้นดาวเนปจูน โดยเป็นวัตถุแถบไคเปอร์ชิ้นแรกที่ถูกค้นพบ มันมีขนาดใหญ่ที่สุดและมีมวลมากที่สุดเป็นอันดับสองในบรรดาดาวเคราะห์แคระที่รู้จักในระบบสุริยะ และยังเป็นวัตถุที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 9 และมวลมากเป็นอันดับที่ 10 ในระบบสุริยะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ดาวพลูโตเป็นวัตถุแถบไคเปอร์ที่ใหญ่ที่สุดโดยปริมาตร แต่มีมวลน้อยกว่าอีริส ซึ่งเป็นวัตถุในแถบหินกระจาย ดาวพลูโตมีลักษณะเหมือนกับวัตถุอื่น ๆ ในบริเวณเดียวกัน กล่าวคือ ประกอบไปด้วยหินและน้ำแข็งเป็นส่วนใหญ่ มีมวลและปริมาตรประมาณ 1 ใน 6 และ 1 ใน 3 ของดวงจันทร์ตามลำดับ วงโคจรของดาวพลูโตมีความเยื้องศูนย์กลางมาก อยู่ที่ 30 ถึง 49 หน่วยดาราศาสตร์ (4.4 – 7.4 พันล้านกิโลเมตร) จากดวงอาทิตย์ หมายความว่าเมื่อดาวพลูโตอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด มันจะอยู่ใกล้กว่าวงโคจรของดาวเนปจูนเสียอีก แต่เนื่องด้วยการสั่นพ้องของวงโคจร ทำให้ดาวเคราะห์ทั้งสองดวงไม่สามารถโคจรมาชนกันได้ ในปี..

ใหม่!!: ดาวเคราะห์แคระและดาวพลูโต · ดูเพิ่มเติม »

ดาวมาคีมาคี

มาคีมาคี (Makemake;; ภาษาราปานุย: มาเกมาเก) มีชื่อเดิมว่า (136472) มาคีมาคี เป็นดาวเคราะห์แคระที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 3 ในระบบสุริยะ (เท่าที่ค้นพบแล้วในขณะนี้) และเป็นหนึ่งในสองวัตถุที่ใหญ่ที่สุดของแถบไคเปอร์ (KBO) ซึ่งอยู่ในหมู่วัตถุชั้นเอกของแถบไคเปอร์ ดาวมาคีมาคีมีเส้นผ่านศูนย์กลางสามในสี่ของดาวพลูโต ไม่มีดวงจันทร์บริวาร ซึ่งแปลกจากวัตถุขนาดใหญ่อื่น ๆ แถบไคเปอร์ด้วยกัน อุณหภูมิเฉลี่ยที่ต่ำมากของดาวดวงนี้ (ประมาณ 30 เคลวิน) แสดงให้เห็นว่าพื้นผิวของมันถูกปกคลุมด้วยมีเทน อีเทน และอาจจะมีไนโตรเจนแข็งด้วย จากเริ่มแรกที่มีชื่อว่า (และต่อมามีหมายเลขดาวเคราะห์น้อย 136472 กำกับ) ดาวมาคีมาคีถูกค้นพบเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2548 โดยไมเคิล อี. บราวน์ (Michael E. Brown) พร้อมทีมค้นหา ประกาศการค้นพบเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 และในวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2551 สหภาพดาราศาสตร์นานาชาติได้รวมมาคีมาคีไว้ในรายชื่อวัตถุที่มีสภาพเหมาะสมที่จะได้รับสถานะ "พลูตอยด์" (Plutoid) ซึ่งเป็นคำที่ใช้เรียกประเภทของดาวเคราะห์แคระที่อยู่เลยวงโคจรของดาวเนปจูนออกไป บริเวณเดียวกับดาวพลูโตและดาวอีริส ในที่สุดมาคีมาคีก็ได้รับการจัดให้เป็นพลูตอยด์อย่างเป็นทางการในเดือนกรกฎาคม..

ใหม่!!: ดาวเคราะห์แคระและดาวมาคีมาคี · ดูเพิ่มเติม »

ดาวฤกษ์

นก่อตัวของดาวฤกษ์ในดาราจักรเมฆแมเจลแลนใหญ่ ภาพจาก NASA/ESA ดาวฤกษ์ คือวัตถุท้องฟ้าที่เป็นก้อนพลาสมาสว่างขนาดใหญ่ที่คงอยู่ได้ด้วยแรงโน้มถ่วง ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด คือ ดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักของโลก เราสามารถมองเห็นดาวฤกษ์อื่น ๆ ได้บนท้องฟ้ายามราตรี หากไม่มีแสงจากดวงอาทิตย์บดบัง ในประวัติศาสตร์ ดาวฤกษ์ที่โดดเด่นที่สุดบนทรงกลมท้องฟ้าจะถูกจัดเข้าด้วยกันเป็นกลุ่มดาว และดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดจะได้รับการตั้งชื่อโดยเฉพาะ นักดาราศาสตร์ได้จัดทำบัญชีรายชื่อดาวฤกษ์เพิ่มเติมขึ้นมากมาย เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการตั้งชื่อดาวฤกษ์ ตลอดอายุขัยส่วนใหญ่ของดาวฤกษ์ มันจะเปล่งแสงได้เนื่องจากปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ฟิวชั่นที่แกนของดาว ซึ่งจะปลดปล่อยพลังงานจากภายในของดาว จากนั้นจึงแผ่รังสีออกไปสู่อวกาศ ธาตุเคมีเกือบทั้งหมดซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติและหนักกว่าฮีเลียมมีกำเนิดมาจากดาวฤกษ์ทั้งสิ้น โดยอาจเกิดจากการสังเคราะห์นิวเคลียสของดาวฤกษ์ระหว่างที่ดาวยังมีชีวิตอยู่ หรือเกิดจากการสังเคราะห์นิวเคลียสของซูเปอร์โนวาหลังจากที่ดาวฤกษ์เกิดการระเบิดหลังสิ้นอายุขัย นักดาราศาสตร์สามารถระบุขนาดของมวล อายุ ส่วนประกอบทางเคมี และคุณสมบัติของดาวฤกษ์อีกหลายประการได้จากการสังเกตสเปกตรัม ความสว่าง และการเคลื่อนที่ในอวกาศ มวลรวมของดาวฤกษ์เป็นตัวกำหนดหลักในลำดับวิวัฒนาการและชะตากรรมในบั้นปลายของดาว ส่วนคุณสมบัติอื่นของดาวฤกษ์ เช่น เส้นผ่านศูนย์กลาง การหมุน การเคลื่อนที่ และอุณหภูมิ ถูกกำหนดจากประวัติวิวัฒนาการของมัน แผนภาพคู่ลำดับระหว่างอุณหภูมิกับความสว่างของดาวฤกษ์จำนวนมาก ที่รู้จักกันในชื่อ ไดอะแกรมของแฮร์ทสชปรุง-รัสเซลล์ (H-R ไดอะแกรม) ช่วยทำให้สามารถระบุอายุและรูปแบบวิวัฒนาการของดาวฤกษ์ได้ ดาวฤกษ์ถือกำเนิดขึ้นจากเมฆโมเลกุลที่ยุบตัวโดยมีไฮโดรเจนเป็นส่วนประกอบหลัก รวมไปถึงฮีเลียม และธาตุอื่นที่หนักกว่าอีกจำนวนหนึ่ง เมื่อแก่นของดาวฤกษ์มีความหนาแน่นมากเพียงพอ ไฮโดรเจนบางส่วนจะถูกเปลี่ยนเป็นฮีเลียมผ่านกระบวนการนิวเคลียร์ฟิวชั่นอย่างต่อเนื่อง ส่วนภายในที่เหลือของดาวฤกษ์จะนำพลังงานออกจากแก่นผ่านทางกระบวนการแผ่รังสีและการพาความร้อนประกอบกัน ความดันภายในของดาวฤกษ์ป้องกันมิให้มันยุบตัวต่อไปจากแรงโน้มถ่วงของมันเอง เมื่อเชื้อเพลิงไฮโดรเจนที่แก่นของดาวหมด ดาวฤกษ์ที่มีมวลอย่างน้อย 0.4 เท่าของดวงอาทิตย์ จะพองตัวออกจนกลายเป็นดาวยักษ์แดง ซึ่งในบางกรณี ดาวเหล่านี้จะหลอมธาตุที่หนักกว่าที่แก่นหรือในเปลือกรอบแก่นของดาว จากนั้น ดาวยักษ์แดงจะวิวัฒนาการไปสู่รูปแบบเสื่อม มีการรีไซเคิลบางส่วนของสสารไปสู่สสารระหว่างดาว สสารเหล่านี้จะก่อให้เกิดดาวฤกษ์รุ่นใหม่ซึ่งมีอัตราส่วนของธาตุหนักที่สูงกว่า ระบบดาวคู่และระบบดาวหลายดวงประกอบด้วยดาวฤกษ์สองดวงหรือมากกว่านั้นซึ่งยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง และส่วนใหญ่มักจะโคจรรอบกันในวงโคจรที่เสถียร เมื่อดาวฤกษ์ในระบบดาวดังกล่าวสองดวงมีวงโคจรใกล้กันมากเกินไป ปฏิกิริยาแรงโน้มถ่วงระหว่างดาวฤกษ์อาจส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อวิวัฒนาการของพวกมันได้ ดาวฤกษ์สามารถรวมตัวกันเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในโครงสร้างขนาดใหญ่ที่ยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง เช่น กระจุกดาว หรือ ดาราจักร ได้.

ใหม่!!: ดาวเคราะห์แคระและดาวฤกษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวอีริส

136199 อีริส (Eris) หรือ 2003 UB313 เป็นดาวเคราะห์แคระหนึ่งในวัตถุพ้นดาวเนปจูน (Trans-Neptunian Object - TNO) เป็นดาวเคราะห์แคระดวงใหญ่ เป็นลำดับที่ 2 ในระบบสุริยะที่ถูกค้นพบในปัจจุบัน มีขนาดเล็กกว่าดาวพลูโตเล็กน้อย มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1445 กิโลเมตร(ขนาดดาวพลูโต 1473 กิโลเมตร) มีดวงจันทร์บริวาร 1 ดวง ชื่อ ดิสโนเมีย (Dysnomia) อีริสถูกค้นพบโดย ไมเคิล อี. บราวน์และคณะ เมื่อวันที่ 5 มกราคม ค.ศ. 2005 จากภาพที่ถ่ายไว้เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 2003 ด้วยกล้องโทรทรรศน์ของหอดูดาวพาโลมาร์ รัฐแคลิฟอร์เนีย คณะผู้ค้นพบได้เสนอให้ตั้งชื่อดาวที่พบใหม่นี้ว่า ซีนา (Xena) ตามชื่อของละครโทรทัศน์ Xena: Warrior Princess โดยตัวอักษร X หมายถึง ดาวเคราะห์ X ที่เปอร์ซิวัล โลเวลล์ เคยเสนอไว้ และให้ดวงจันทร์บริวารของมันใช้ชื่อว่า แกเบรียลล์ (Gabrielle) แต่ไม่ได้มีการประกาศใช้ชื่อนี้อย่างเป็นทางการ ภายหลังการค้นพบ คณะผู้ค้นพบและนาซาได้ประกาศว่าอีริสเป็น ดาวเคราะห์ดวงที่ 10 แต่จากการประชุมสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล ที่กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ได้ข้อสรุปว่าอีริสไม่จัดเป็นดาวเคราะห์ แต่เป็นดาวเคราะห์แคระ ชื่อ อีริส มาจากชื่อของเทพเจ้าแห่งความวุ่นวาย ผู้วางอุบายโดยใช้แอปเปิลทองคำ เพื่อทำให้เฮรา อาเทนา และอะโฟรไดต์ ซึ่งเป็นสามเทวีพรหมจรรย์ในบรรดาเทพแห่งโอลิมปัสแตกคอกัน เพราะว่าไม่ได้เชิญนางมางานเลี้ยงของเทพ ส่วน ดิสโนเมีย คือชื่อธิดาของอีริส ไฟล์:Animation showing movement of 2003 UB313.gif|ภาพถ่าย 3 ภาพในระยะเวลา 3 ชั่วโมงที่ ไมเคิล อี.

ใหม่!!: ดาวเคราะห์แคระและดาวอีริส · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเฮาเมอา

มอา มีชื่อเดิมว่า 136108 เฮาเมอา เป็นดาวเคราะห์แคระดวงหนึ่งในแถบไคเปอร์ มีมวลขนาดหนึ่งในสามของดาวพลูโต ถูกค้นพบในปี พ.ศ. 2547 โดยไมเคิล อี. บราวน์ (Michael E. Brown) และทีมค้นหาจากสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย (แคลเทค) และหอดูดาวเมานาเคอาในสหรัฐอเมริกา และในปี พ.ศ. 2548 โดยโคเซ ลุยส์ ออร์ติซ โมเรโน (José Luis Ortiz Moreno) และทีมค้นหาจากหอดูดาวเซียร์ราเนบาดาในประเทศสเปน (แต่การอ้างว่าเป็นผู้ค้นพบของฝ่ายหลังถูกโต้แย้ง) ในวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2551 สหภาพดาราศาสตร์นานาชาติได้จัดดาวดวงนี้ให้อยู่ในกลุ่มของดาวเคราะห์แคระ และตั้งชื่อตามเฮาเมอา เทพีแห่งการให้กำเนิดของชาวฮาวาย เฮาเมอามีลักษณะพิเศษต่างจากวัตถุพ้นดาวเนปจูนเท่าที่ค้นพบแล้วดวงอื่น ๆ เนื่องจากทำมุมห่างจากดวงอาทิตย์กว้างมาก แม้ว่ายังจะไม่มีการสำรวจรูปร่างของมันโดยตรง แต่จากการคำนวณจากเส้นความสว่าง (light curve) ทำให้สันนิษฐานได้ว่าดาวเคราะห์แคระดวงนี้เป็นวัตถุทรงรี มีแกนหลักยาวเป็นสองเท่าของแกนรอง แต่กระนั้นก็เชื่อว่ามันมีแรงโน้มถ่วงมากพอที่จะดึงดูดตัวเองให้อยู่ในภาวะสมดุลอุทกสถิต (hydrostatic equilibrium) ได้ ดังนั้นดาวดวงนี้จึงมีลักษณะตรงตามคำจำกัดความของดาวเคราะห์แคระ สันนิษฐานว่าการทำมุมเช่นนี้ รวมทั้งลักษณะอื่น ๆ เช่น การหมุนรอบตัวเองเร็วผิดปกติ ความหนาแน่นสูง และอัตราส่วนสะท้อน (albedo) สูง (ซึ่งเชื่อว่าเป็นเพราะชั้นน้ำแข็งบนพื้นผิว) เป็นผลมาจากการชนกันครั้งใหญ่ซึ่งทำให้เฮาเมอากลายเป็นสมาชิกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของตระกูลวัตถุที่เกิดจากการชนกัน (collisional family) ของมันเองซึ่งรวมดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 2 ดวงของมันไว้ด้ว.

ใหม่!!: ดาวเคราะห์แคระและดาวเฮาเมอา · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเคราะห์

วเคราะห์ (πλανήτης; planet หรือ "ผู้พเนจร") คือวัตถุขนาดใหญ่ที่โคจรรอบดาวฤกษ์ ก่อนคริสต์ทศวรรษ 1990 มีดาวเคราะห์ที่เรารู้จักเพียง 8 ดวง (ทั้งหมดอยู่ในระบบสุริยะ) ปัจจุบันเรารู้จักดาวเคราะห์ใหม่อีกมากกว่า 100 ดวง ซึ่งเป็นดาวเคราะห์นอกระบบ คือ โคจรรอบดาวฤกษ์ดวงอื่นที่ไม่ใช่ดวงอาทิตย์ ในปี..

ใหม่!!: ดาวเคราะห์แคระและดาวเคราะห์ · ดูเพิ่มเติม »

ซีรีส

ซีรีส หรือ เซเรส (Ceres) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า 1 ซีรีส เป็นดาวเคราะห์น้อยดวงใหญ่ที่สุดและเป็นดาวเคราะห์แคระดวงเดียวในระบบสุริยะชั้นใน เป็นดาวเคราะห์น้อยดวงแรกที่ถูกค้นพบ โดยจูเซปเป ปีอาซซี นักดาราศาสตร์ชาวอิตาลี เมื่อวันที่ 1 มกราคม..

ใหม่!!: ดาวเคราะห์แคระและซีรีส · ดูเพิ่มเติม »

24 สิงหาคม

วันที่ 24 สิงหาคม เป็นวันที่ 236 ของปี (วันที่ 237 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 129 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ดาวเคราะห์แคระและ24 สิงหาคม · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »