โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ดาวพลูโต

ดัชนี ดาวพลูโต

วพลูโต (Pluto; ดัชนีดาวเคราะห์น้อย: 134340 พลูโต) เป็นดาวเคราะห์แคระในแถบไคเปอร์ วงแหวนของวัตถุพ้นดาวเนปจูน โดยเป็นวัตถุแถบไคเปอร์ชิ้นแรกที่ถูกค้นพบ มันมีขนาดใหญ่ที่สุดและมีมวลมากที่สุดเป็นอันดับสองในบรรดาดาวเคราะห์แคระที่รู้จักในระบบสุริยะ และยังเป็นวัตถุที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 9 และมวลมากเป็นอันดับที่ 10 ในระบบสุริยะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ดาวพลูโตเป็นวัตถุแถบไคเปอร์ที่ใหญ่ที่สุดโดยปริมาตร แต่มีมวลน้อยกว่าอีริส ซึ่งเป็นวัตถุในแถบหินกระจาย ดาวพลูโตมีลักษณะเหมือนกับวัตถุอื่น ๆ ในบริเวณเดียวกัน กล่าวคือ ประกอบไปด้วยหินและน้ำแข็งเป็นส่วนใหญ่ มีมวลและปริมาตรประมาณ 1 ใน 6 และ 1 ใน 3 ของดวงจันทร์ตามลำดับ วงโคจรของดาวพลูโตมีความเยื้องศูนย์กลางมาก อยู่ที่ 30 ถึง 49 หน่วยดาราศาสตร์ (4.4 – 7.4 พันล้านกิโลเมตร) จากดวงอาทิตย์ หมายความว่าเมื่อดาวพลูโตอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด มันจะอยู่ใกล้กว่าวงโคจรของดาวเนปจูนเสียอีก แต่เนื่องด้วยการสั่นพ้องของวงโคจร ทำให้ดาวเคราะห์ทั้งสองดวงไม่สามารถโคจรมาชนกันได้ ในปี..

123 ความสัมพันธ์: บาร์ (หน่วยวัด)พ.ศ. 2473พระยมพลูโทเนียมพลูโต (เทพปกรณัม)กฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์กลศาสตร์ดั้งเดิมกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลการย้ายตำแหน่งของดาวเคราะห์การระเหิดการสั่นพ้องของวงโคจรการหมุนควงของวงโคจรการตั้งชื่อดาวเคราะห์น้อยการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคกำเนิดชีวิตจากสิ่งไร้ชีวิตกิโลกรัมกิโลเมตรภาษาโซมาลีมวลมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดมหาวิทยาลัยฮาวายมหาสมุทรมิกกี้ เมาส์มิเนอร์วามีเทนยานอวกาศยูนิโคดยูโรปา (ดาวบริวาร)ยูเรเนียมยูเอสเอทูเดย์ระบบสุริยะระบบดาวคู่ระยะมุมจุดใกล้ศูนย์กลางที่สุดรัฐแอริโซนาวอยเอจเจอร์ 2วอลต์ ดิสนีย์วัตถุพ้นดาวเนปจูนวันวิทยาธารน้ำแข็งวินาทีศูนย์กลางมวลสภาวะสมดุลอุทกสถิตสหพันธ์ดาราศาสตร์สากลสัญลักษณ์ทางดาราศาสตร์สัทวิทยาสารประกอบอินทรีย์สุริยวิถีสติกซ์ (ดาวบริวาร)หน่วยดาราศาสตร์อายัน...อูร์แบ็ง เลอ แวรีเยองศา (มุม)อ๊อกซฟอร์ดจานดาวเคราะห์ก่อนเกิดธาตุขนาดเชิงมุมดวงอาทิตย์ดวงจันทร์ดาวบริวารดาวบริวารของดาวพลูโตดาวพฤหัสบดีดาวยูเรนัสดาวอีริสดาวเสาร์ดาวเคราะห์พ้นดาวเนปจูนดาวเคราะห์คล้ายโลกดาวเคราะห์น้อยดาวเคราะห์แคระดาวเนปจูนความละเอียดเชิงมุมความดันไอความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจรความเร่งความเอียงของวงโคจรคัลลิสโตคาบการหมุนรอบตัวเองคาร์บอนคาร์บอนมอนอกไซด์ค่าคงตัวความโน้มถ่วงตารางกิโลเมตรซูสซีรีสปฏิทินจูเลียนประเทศรัสเซียประเทศอังกฤษปาสกาลนาซานิกซ์ (ดาวบริวาร)นิยามดาวเคราะห์ของไอเอยูนิวฮอไรซันส์นิสแบรีเซนเตอร์แฟลกสแตฟฟ์ (รัฐแอริโซนา)แกนีมีด (ดาวบริวาร)แก๊สเรือนกระจกแก่นโลกแถบหินกระจายแถบไคเปอร์แครอน (ดาวบริวาร)โมเมนตัมเชิงมุมโลกโครนัสไลเบรชันไอแอพิตัส (ดาวบริวาร)ไอโอ (ดาวบริวาร)ไฮดรา (ดาวบริวาร)ไทรทัน (ดาวบริวาร)ไททัน (ดาวบริวาร)ไคลด์ ทอมบอไนโตรเจนเวสโต สลิเฟอร์เจอราร์ด ปีเตอร์ ไคเปอร์เดอะนิวยอร์กไทมส์เดอะไทมส์เคลวินเคอร์เบอรอส (ดาวบริวาร)เปอร์ซิวัล โลเวลล์เนื้อโลกเนปทูเนียมG18 กุมภาพันธ์2 พัลลัส4 เวสตา ขยายดัชนี (73 มากกว่า) »

บาร์ (หน่วยวัด)

ร์ (bar) คือหน่วยวัดความดัน ถึงไม่ใช่หน่วยเอสไอ แต่สถาบันมาตรฐานและเทคโนโลยีแห่งชาติ (NIST) ก็ได้ยอมรับการใช้งานกับหน่วยเอสไออื่น ๆ หน่วยบาร์เป็นที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในการอธิบายความดัน เพราะว่ามีค่าเหมือนกันกับความดันบรรยากาศ สามารถใช้หน่วยนี้ได้อย่างถูกกฎหมายในกลุ่มสหภาพยุโรป British Standard BS 350:2004 Conversion Factors for Units.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและบาร์ (หน่วยวัด) · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2473

ทธศักราช 2473 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1930 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและพ.ศ. 2473 · ดูเพิ่มเติม »

พระยม

ระยม พระยมราช หรือ มัจจุราช คือเทพเจ้าแห่งนรกและความตาย ตามความเชื่อในศาสนาแบบอินเดี.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและพระยม · ดูเพิ่มเติม »

พลูโทเนียม

ลูโทเนียม (Plutonium) เป็นธาตุที่มีเลขอะตอม 94 และสัญลักษณ์ คือ Pu เป็นธาตุโลหะกัมมันตรังสี เป็นโลหะแอกทิไนด์สีขาวเงิน และจะมัวลงเมื่อสัมผัสอากาศซึ่งเกิดจากการรวมตัวกับออกซิเจน โดยปกติ พลูโทเนียมมี 6 ไอโซโทป และ 4 สถานะออกซิเดชัน สามารถเกิดปฏิกิริยาทางเคมีกับคาร์บอน ฮาโลเจน ไนโตรเจน และซิลิกอน เมื่อสัมผัสอากาศชื้นจะสร้างสารประกอบออกไซด์และไฮไดรด์มากกว่า 70 % ของปริมาตรซึ่งจะแตกออกเป็นผงแป้งที่สามารถติดไฟได้เอง พลูโทเนียมมีพิษที่เกิดจากการแผ่รังสีที่จะสะสมที่ไขกระดูก นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติอื่น ๆ ที่ทำให้การจัดการพลูโทเนียมเป็นเรื่องที่อันตรายมาก ไอโซโทปที่สำคัญของพลูโทเนียม คือ พลูโทเนียม-239 ซึ่งมีครึ่งชีวิต 24,100 ปี พลูโทเนียม-239 และ 241 เป็นวัสดุฟิสไซล์ ซึ่งหมายความว่านิวเคลียสของอะตอมสามารถแตกตัว โดยการชนของนิวตรอนความร้อนเคลื่อนที่ช้า ซึ่งจะปลดปล่อยพลังงาน รังสีแกมมา และนิวตรอนจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้ จึงสามารถเกิดปฏิกิริยาลูกโซ่นิวเคลียร์ได้ นำไปสู่การประยุกต์สร้างอาวุธนิวเคลียร์และเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ไอโซโทปที่เสถียรที่สุด คือ พลูโทเนียม-244 ซึ่งมีครึ่งชีวิตประมาณ 80 ล้านปี นานพอที่จะสามารถพบได้ในธรรมชาติ พลูโทเนียม-238 มีครึ่งชีวิต 88 ปี และปลดปล่อยอนุภาคแอลฟาออกมา มันเป็นแหล่งความร้อนของเครื่องผลิตไฟฟ้าด้วยความร้อนจากไอโซโทปรังสี ซึ่งใช้ในการให้พลังงานในยานอวกาศ พลูโทเนียม-240 มีอัตราของการแตกตัวของนิวเคลียสของอะตอมด้วยตัวเองสูง เป็นการเพิ่มอัตรานิวตรอนพื้นฐานของตัวอย่างที่มีไอโซโทปนี้ประกอบอยู่ด้วย การมีอยู่ของ Pu-240 เป็นข้อจำกัดสมรรถภาพของพลูโทเนียมที่ใช้ในอาวุธหรือแหล่งพลังงานและเป็นตัวกำหนดเกรดของพลูโทเนียม: อาวุธ (19%) ธาตุลำดับที่ 94 สังเคราะห์ได้เป็นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: ดาวพลูโตและพลูโทเนียม · ดูเพิ่มเติม »

พลูโต (เทพปกรณัม)

พลูโต (Πλούτων, Ploutōn) ทรงเป็นผู้ครองโลกบาดาลในเทพปกรณัมคลาสสิก พระนามก่อนหน้าของพระองค์ คือ เฮดีส ซึ่งใช้เป็นชื่อเรียกโลกบาดาลมากกว่า ในศาสนาและเรื่องปรัมปรากรีกโบราณ พลูโตแทนมโนทัศน์ด้านบวกมากกว่าของพระเจ้าผู้ทรงเป็นประธานเหนือชีวิตหลังความตาย พลูตอนมักผสมกับพลูตอส (Ploutos, Πλοῦτος, Plutus) พระเจ้าแห่งความมั่งคั่ง เพราะพบทรัพย์แร่ใต้ดิน และด้วยพระองค์ทรงเป็นพระเจ้าคะเธาะนิค (chthonic) พระองค์จึงทรงปกครองแผ่นดินลึกอันมีเมล็ดพืชที่จำเป็นสำหรับการเก็บเกี่ยวอันอุดมสมบูรณ์ด้วย หมวดหมู่:เทพเจ้าโรมัน.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและพลูโต (เทพปกรณัม) · ดูเพิ่มเติม »

กฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์

แสดงกฎ 3 ข้อของเคปเลอร์ที่มีวงโคจรดาวเคราะห์ 2 วง (1) วงโคจรเป็นวงรีด้วยจุดโฟกัส ''f1'' และ ''f2'' สำหรับดาวเคราะห์ดวงแรกและ ''f1'' และ ''f3'' สำหรับดาวเคราะห์ดวงที่ 2 ดวงอาทิตย์อยู่ที่จุด ''f1'' (2) ส่วนแรเงา 2 ส่วน ''A1'' และ ''A2'' มีผิวพื้นเท่ากันและเวลาที่ดาวเคราะห์ 1 ทับพื้นที่ ''A1'' เท่ากับเวลาที่ทับพื้นที่ ''A2''. (3) เวลารวมของวงโคจรสำหรับดาวเคราะห์ 1 และดาวเคราะห์ 2 มีสัดส่วนเท่ากับ a1^3/2:a2^3/2. กฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ของเคปเลอร์ (Kepler's laws of planetary motion) คือกฎทางคณิตศาสตร์ 3 ข้อที่กล่าวถึงการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ นักคณิตศาสตร์และนักดาราศาสตร์ชาวเยอรมันชื่อ โยฮันเนส เคปเลอร์ (พ.ศ. 2114 – พ.ศ. 2173) เป็นผู้ค้นพบ เคปเลอร์ได้ศึกษาการสังเกตการณ์ของนักดาราศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงชาวเดนมาร์กชื่อไทโค บราห์ (Tycho Brahe) โดยประมาณ พ.ศ. 2148 เคปเลอร์พบว่าการสังเกตตำแหน่งของดาวเคราะห์ของบราห์เป็นไปตามกฎง่ายๆ ทางคณิตศาสตร์ กฎของเคปเลอร์ท้าทายดาราศาสตร์สายอริสโตเติลและสายทอเลมีและกฎทางฟิสิกส์ในขณะนั้น เคปเลอร์ยืนยันว่าโลกเคลื่อนที่เป็นวงรีมากกว่าวงกลม และยังได้พิสูจน์ว่าความเร็วการเคลื่อนที่มีความผันแปรด้วย ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงความรู้ทางดาราศาสตร์และฟิสิกส์ อย่างไรก็ดี คำอธิบายเชิงฟิสิกส์เกี่ยวกับพฤติกรรมของดาวเคราะห์ก็ได้ปรากฏชัดเจนได้ในอีกเกือบศตวรรษต่อมา เมื่อไอแซก นิวตันสามารถสรุปกฎของเคปเลอร์ได้ว่าเข้ากันกับกฎการเคลื่อนที่และกฎความโน้มถ่วงสากลของนิวตันเองโดยใช้วิชาแคลคูลัสที่เขาคิดสร้างขึ้น รูปจำลองแบบอื่นที่นำมาใช้มักให้ผลผิดพล.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและกฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ · ดูเพิ่มเติม »

กลศาสตร์ดั้งเดิม

กลศาสตร์ดั้งเดิม เป็นหนึ่งในสองวิชาที่สำคัญที่สุดของกลศาสตร์ (โดยอีกวิชาหนึ่ง คือ กลศาสตร์ควอนตัม) ซึ่งอธิบายถึงการเคลื่อนที่ของวัตถุต่าง ๆ ภายใต้อิทธิพลจากระบบของแรง โดยวิชานี้ถือเป็นวิชาที่ครอบคลุมในด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม และเทคโนโลยีมากที่สุดวิชาหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นวิชาที่เก่าแก่ ซึ่งมีการศึกษาในการเคลื่อนที่ของวัตถุตั้งแต่สมัยโบราณ โดยกลศาสตร์ดั้งเดิมรู้จักในวงกว้างว่า กลศาสตร์นิวตัน ในทางฟิสิกส์ กลศาสตร์ดั้งเดิมอธิบายการเคลื่อนที่ของวัตถุขนาดใหญ่โดยแปลงการเคลื่อนที่ต่าง ๆ ให้กลายเป็นส่วนของเครื่องจักรกล เหมือนกันกับวัตถุทางดาราศาสตร์ อาทิ ยานอวกาศ ดาวเคราะห์ ดาวฤกษ์ และ ดาราจักร รวมถึงครอบคลุมไปยังทุกสถานะของสสาร ทั้งของแข็ง ของเหลว และแก๊ส โดยจะให้ผลลัพธ์ที่มีความแม่นยำสูง แต่เมื่อวัตถุมีขนาดเล็กหรือมีความเร็วที่สูงใกล้เคียงกับความเร็วแสง กลศาสตร์ดั้งเดิมจะมีความถูกต้องที่ต่ำลง ต้องใช้กลศาสตร์ควอนตัมในการศึกษาแทนกลศาสตร์ดั้งเดิมเพื่อให้มีความถูกต้องในการคำนวณสูงขึ้น โดยกลศาสตร์ควอนตัมจะเหมาะสมที่จะศึกษาการเคลื่อนที่ของวัตถุที่มีขนาดเล็กมาก ซึ่งได้ถูกปรับแต่งให้เข้ากับลักษณะของอะตอมในส่วนของความเป็นคลื่น-อนุภาคในอะตอมและโมเลกุล แต่เมื่อกลศาสตร์ทั้งสองไม่สามารถใช้ได้ จากกรณีที่วัตถุขนาดเล็กเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง ทฤษฎีสนามควอนตัมจึงเป็นตัวเลือกที่นำมาใช้ในการคำนวณแทนกลศาสตร์ทั้งสอง คำว่า กลศาสตร์ดั้งเดิม ได้ถูกใช้เป็นครั้งแรกในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 เพื่อกล่าวถึงระบบทางฟิสิกส์ของไอแซก นิวตันและนักปรัชญาธรรมชาติคนอื่นที่อยู่ร่วมสมัยในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ประกอบกับทฤษฎีทางดาราศาสตร์ในช่วงแรกเริ่มของโยฮันเนส เคปเลอร์จากข้อมูลการสังเกตที่มีความแม่นยำสูงของไทโค บราเฮ และการศึกษาในการเคลื่อนที่ต่าง ๆ ที่อยู่บนโลกของกาลิเลโอ โดยมุมมองของฟิสิกส์ได้ถูกเปลี่ยนแปลงเรื่อยมาอย่างยาวนานก่อนที่จะมีทฤษฎีสัมพัทธภาพและกลศาสตร์ควอนตัม ซึ่งแต่เดิม ในบางแห่งทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์ไม่ถูกจัดอยู่ในกลศาสตร์ดั้งเดิม แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเวลาผ่านไป หลายแห่งเริ่มจัดให้สัมพัทธภาพเป็นกลศาสตร์ดั้งเดิมในรูปแบบที่ถูกต้อง และถูกพัฒนามากที่สุด แต่เดิมนั้น การพัฒนาในส่วนของกลศาสตร์ดั้งเดิมมักจะกล่าวถึงกลศาสตร์นิวตัน ซึ่งมีการใช้หลักการทางฟิสิกส์ประกอบกับวิธีการทางคณิตศาสตร์โดยนิวตัน ไลบ์นิซ และบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง และวิธีการปกติหลายอย่างได้ถูกพัฒนา นำมาสู่การกำหนดกลศาสตร์ครั้งใหม่ ไม่ว่าจะเป็น กลศาสตร์แบบลากรางจ์ และกลศาสตร์แฮมิลตัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นเป็นอย่างมากในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 อีกทั้งได้ขยายความรู้เป็นอย่างมากพร้อมกับกลศาสตร์นิวตันโดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำกลศาสตร์เหล่านี้ไปใช้ในกลศาสตร์เชิงวิเคราะห์อีกด้วย ในกลศาสตร์ดั้งเดิม วัตถุที่อยู่ในโลกของความเป็นจริงจะถูกจำลองให้อยู่ในรูปของอนุภาคจุด (วัตถุที่ไม่มีการอ้างอิงถึงขนาด) โดยเคลื่อนที่ของอนุภาคจุดจะมีการกำหนดลักษณะเฉพาะของวัตถุ ได้แก่ ตำแหน่งของวัตถุ มวล และแรงที่กระทำต่อวัตถุ ซึ่งจะกำหนดไว้เป็นตัวเลขที่อาจมีหน่วยกำหนดไว้ และกล่าวถึงมาเป็นลำดับ เมื่อมองจากความเป็นจริง วัตถุต่าง ๆ ที่กลศาสตร์ดั้งเดิมกำหนดไว้ว่าวัตถุมีขนาดไม่เป็นศูนย์เสมอ (ซึ่งถ้าวัตถุที่มีขนาดเล็กมาก ๆ อย่างเช่น อิเล็กตรอน กลศาสตร์ควอนตัมจะอธิบายได้อย่างแม่นยำกว่ากลศาสตร์ดั้งเดิม) วัตถุที่มีขนาดไม่เป็นศูนย์จะมีความซับซ้อนในการศึกษามากกว่าอนุภาคจุดตามทฤษฎี เพราะวัตถุมีความอิสระของมันเอง (Degrees of freedom) อาทิ ลูกตะกร้อสามารถหมุนได้ขณะเคลื่อนที่หลังจากที่ถูกเดาะขึ้นไปบนอากาศ อย่างไรก็ตาม ผลลัพธ์ของอนุภาคจุดสามารถใช้ในการศึกษาจำพวกวัตถุทั่วไปได้โดยสมมุติว่าเป็นวัตถุนั้น หรือสร้างอนุภาคจุดสมมุติหลาย ๆ จุดขึ้นมา ดังเช่นจุดศูนย์กลางมวลของวัตถุที่แสดงเป็นอนุภาคจุด กลศาสตร์ดั้งเดิมใช้สามัญสำนึกเป็นแนวว่าสสารและแรงเกิดขึ้นและมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างไร โดยตั้งสมมุติฐานว่าสสารและพลังงานมีความแน่นอน และมีคุณสมบัติที่รู้อยู่แล้ว ได้แก่ ตำแหน่งของวัตถุในปริภูมิ (Space) และความเร็วของวัตถุ อีกทั้งยังสามารถสมมุติว่ามีอิทธิพลโดยตรงกับสิ่งที่อยู่รอบวัตถุในขณะนั้นได้อีกด้วย (หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Principle of locality).

ใหม่!!: ดาวพลูโตและกลศาสตร์ดั้งเดิม · ดูเพิ่มเติม »

กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล

กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble Space Telescope) คือ กล้องโทรทรรศน์ในวงโคจรของโลกที่กระสวยอวกาศดิสคัฟเวอรีนำส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อเดือนเมษายน..

ใหม่!!: ดาวพลูโตและกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล · ดูเพิ่มเติม »

การย้ายตำแหน่งของดาวเคราะห์

การย้ายตำแหน่งของดาวเคราะห์ (Planetary migration) เกิดขึ้นเมื่อดาวเคราะห์หรือดาวบริวารอื่นๆ ได้รับผลกระทบจากจานของแก๊สหรือพลาเนเตซิมัล ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของลักษณะบางอย่างของดาวบริวารนั้นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกึ่งแกนเอก การย้ายตำแหน่งของดาวเคราะห์เป็นการอธิบายถึงสาเหตุที่ดาวเคราะห์ขนาดประมาณดาวพฤหัสบดี โคจรเข้าไปใกล้ดาวฤกษ์แม่ของมันมาก จนมีระยะเวลาโคจรเพียงไม่กี่วัน ซึ่งทฤษฎีการก่อตัวของดาวเคราะห์จากจานดาวเคราะห์ก่อนเกิด กล่าวว่าดาวเคราะห์เหล่านี้ไม่สามารถที่จะก่อตัวขึ้นใกล้กับดาวแม่ของมันได้มากขนาดนั้น เนื่องจากในบริเวณนั้นมีมวลแก๊สน้อย และอุณหภูมิสูงเกินกว่าที่จะทำให้ดาวเคราะห์หินหรือน้ำแข็งก่อตัว มันยังเป็นที่ชัดเจนแล้วว่าดาวเคราะห์หินมีโอกาสที่จะเคลื่อนเข้าไปใกล้ดาวแม่ ขณะที่จานของแก๊สยังคงมีอยู่ในบริเวณใกล้ดาวแม่ ทำให้มันอาจเป็นการก่อตัวของแกนกลางของดาวเคราะห์ยักษ์ (ที่มีมวลประมาณ 10 เท่าของโลก) ถ้าดาวเคราะห์นั้นก่อตัวจากกลไกการขยายตัวของแกนกลาง หมวดหมู่:กลศาสตร์ท้องฟ้า หมวดหมู่:ทฤษฎีพลวัตของระบบสุริยะ.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและการย้ายตำแหน่งของดาวเคราะห์ · ดูเพิ่มเติม »

การระเหิด

น้ำแข็งแห้งกำลังระเหิด การระเหิด (sublimation หรือ primary drying) คือปรากฏการณ์ที่สสารเปลี่ยนสถานะจากของแข็งกลายเป็นไอหรือก๊าซ ที่อุณหภูมิต่ำกว่าจุดหลอมเหลว โดยไม่ผ่านสถานะของเหลว.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและการระเหิด · ดูเพิ่มเติม »

การสั่นพ้องของวงโคจร

การสั่นพ้องลาปลัสที่เกิดกับดวงจันทร์กาลิเลียนสามดวง สัดส่วนตัวเลขเป็นคาบการโคจร การสั่นพ้องของวงโคจร (orbital resonance) เป็นลักษณะทางกลศาสตร์ของเทหวัตถุบนท้องฟ้าที่เกิดขึ้นเมื่อวัตถุที่มีวงโคจรสองชิ้นส่งอิทธิพลด้านแรงโน้มถ่วงต่อกันเป็นช่วงเวลา ซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อวงโคจรของวัตถุทั้งสองมีความสัมพันธ์กันเป็นสัดส่วนจำนวนเต็ม การสั่นพ้องของวงโคจรจะเพิ่มพูนแรงโน้มถ่วงระหว่างกันของวัตถุเหล่านั้น โดยทั่วไปแล้วปรากฏการณ์นี้จะทำให้เกิดปฏิกิริยาที่ไม่เสถียร ทำให้วัตถุมีการแลกเปลี่ยนโมเมนตัมและเปลี่ยนวงโคจรไปจนกระทั่งการสั่นพ้องไม่เกิดขึ้นอีก ในบางสภาวการณ์ ระบบที่มีการสั่นพ้องอาจจะเสถียรและปรับแก้ตัวเองก็ได้ ทำให้วัตถุยังคงอยู่ในภาวะการสั่นพ้องต่อไป ตัวอย่างเช่นการสั่นพ้องวงโคจร 1:2:4 ของดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดี คือแกนีมีด ยูโรปา และไอโอ หรือการสั่นพ้อง 2:3 ระหว่างดาวพลูโตและดาวเนปจูน การสั่นพ้องที่ไม่เสถียรของดวงจันทร์รอบในของดาวเสาร์ทำให้ช่องว่างในวงแหวนของดาวเสาร์ใหญ่ขึ้น หมวดหมู่:กลศาสตร์ท้องฟ้า.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและการสั่นพ้องของวงโคจร · ดูเพิ่มเติม »

การหมุนควงของวงโคจร

ในกลศาสตร์ท้องฟ้า การหมุนควงของวงโคจร (Orbital precession) เป็นการหมุนควงของวงโคจรของวัตถุท้องฟ้า โดยละเอียด มันเป็นการเคลื่อนที่แบบหมุนที่ขยับจุดปลายระยะทางวงโคจร ซึ่งเป็นจุดที่ใกล้และไกลที่สุดในวงโคจร การหมุนควงของวงโคจรเป็นอนุพันธ์ตัวแรกของระยะมุมจุดใกล้ศูนย์กลางที่สุด ซึ่งเป็นหนึ่งในหกองค์ประกอบของวงโคจร หมวดหมู่:วงโคจร.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและการหมุนควงของวงโคจร · ดูเพิ่มเติม »

การตั้งชื่อดาวเคราะห์น้อย

การตั้งชื่อดาวเคราะห์น้อยอย่างเป็นทางการ เป็นการประกอบขึ้นระหว่างตัวเลขและชื่อโดยศูนย์ดาวเคราะห์น้อย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล โดยพวกมันจะถูกนำไปใช้กับดาวเคราะห์แคระ และวัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะ เช่น ดาวเคราะห์น้อย แต่ไม่รวมดาวหาง ชื่อจะถูกตั้งให้กับวัตถุชิ้นนั้นเมื่อทราบวงโคจรที่แน่นอนแล้ว โดยจะมีการกำหนดให้อัตโนมัติเมื่อวัตถุถูกค้นพบ ชื่อดาวเคราะห์น้อย จะแบ่งเป็นสองส่วน คือ.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและการตั้งชื่อดาวเคราะห์น้อย · ดูเพิ่มเติม »

การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค

แผนที่แสดงแผ่นเปลือกโลก แผ่นเปลือกโลก การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค (plate tectonics; มาจากภาษากรีก: τέκτων, "tektōn" แปลว่า "ผู้สร้าง") เป็นทฤษฎีเชิงธรณีวิทยาที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่ออธิบายถึงหลักฐานจากการสังเกตการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่ โดยทฤษฎีนี้ได้พัฒนาต่อยอดจากทฤษฎีการเลื่อนไหลของทวีปเดิมที่ถูกเสนอขึ้นมาระหว่าง พ.ศ. 2443-2493 ทฤษฎีธรณีแปรสัณฐานนี้ได้รับการยอมรับเป็นที่แพร่หลายหลังจากการเสนอแนวคิดที่เกี่ยวกับการกระจายของพื้นทะเลในคริสต์ทศวรรษที่ 1960 (ช่วงต้น พ.ศ. 2500) โครงสร้างส่วนนอกของโลกนั้นแบ่งตามคุณสมบัติของชั้นหินต่อคลื่นไหวสะเทือนได้สองชั้น ชั้นที่อยู่นอกสุดคือชั้นธรณีภาคชั้นดินแข็ง (lithosphere) อันประกอบด้วยเปลือกโลกและเนื้อโลก (mantle) ชั้นบนซึ่งมีอุณหภูมิต่ำและแข็งเกร็ง ชั้นล่างลงไปคือชั้นฐานธรณีภาคชั้นดินอ่อน (asthenosphere) ซึ่งมีสถานะเป็นของแข็งแต่มีความยืดหยุ่นค่อนข้างต่ำและขาดความแข็งแรง อีกทั้งยังสามารถเคลื่อนที่ได้คล้ายของเหลวเมื่อพิจารณาในช่วงระยะเวลาเชิงธรณีวิทยา ชั้นแมนเทิลที่อยู่ลึกลงไปภายใต้ชั้นดินอ่อนนั้นจะมีความแข็งมากขึ้นอีกครั้ง กระนั้นความแข็งดังกล่าวไม่ได้มาจากการเย็นลงของอุณหภูมิ แต่เนื่องมาจากความดันที่มีอยู่สูง ธรณีภาคแบ่งเป็นแผ่นเปลือกโลกหลายแผ่นประกอบกัน ในกรณีของโลกสามารถแบ่งเป็นแผ่นขนาดใหญ่ได้เจ็ดแผ่น และแผ่นขนาดเล็กอีกจำนวนมาก แผ่นเปลือกโลกเหล่านี้เคลื่อนที่สัมพันธ์กับแผ่นเปลือกโลกอื่นๆ ขอบของเปลือกโลกสามารถแบ่งได้เป็นสามประเภทตามลักษณะการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกสัมพัทธ์ของแผ่นเปลือกโลกสองแผ่นนั้น คือ ขอบเปลือกโลกที่มีการชนกันหรือบรรจบกัน, ขอบเปลือกโลกที่มีการแยกตัวออกจากกันหรือกระจายจากกัน และขอบเขตที่มีการแปลงสภาพ ปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาต่างๆ ได้แก่แผ่นดินไหว, ภูเขาไฟปะทุ, การก่อตัวของภูเขา และการเกิดขึ้นของเหวสมุทรนั้นจะเกิดขึ้นพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของขอบเขตแผ่นดิน การเคลื่อนตัวด้านข้างของแผ่นดินนั้นมีอัตราเร็วอยู่ระหว่าง 0.66 ถึง 8.50 เซนติเมตรต่อปี.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค · ดูเพิ่มเติม »

กำเนิดชีวิตจากสิ่งไร้ชีวิต

กำเนิดชีวิตจากสิ่งไร้ชีวิต (Abiogenesis) เป็นสมมติฐานเกี่ยวกับกระบวนการทางธรรมชาติเกี่ยวกับการกำเนิดของสิ่งมีชีวิตจากสิ่งไม่มีชีวิตบนโลก เช่น ปลาเกิดจากดินโคลนในแม่น้ำลำคลอง โดยสมมติฐานนี้ตั้งแต่สมัยอริสโตเติล ซึ่งฟรานเซสโก เรดิ และหลุยส์ ปาสเตอร์ ได้พิสูจน์ว่าสิ่งมีชีวิตไม่สามารถเกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต สมมติฐานจึงไม่เป็นที่ยอมรั.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและกำเนิดชีวิตจากสิ่งไร้ชีวิต · ดูเพิ่มเติม »

กิโลกรัม

กิโลกรัม อักษรย่อ กก. (kilogram: kg) เป็นหน่วยฐานเอสไอของมวล นิยามไว้เท่ากับมวลของมวลต้นแบบระหว่างชาติของกิโลกรัม โดยสร้างจากโลหะเจือแพลตินัม-อิริเดียม.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและกิโลกรัม · ดูเพิ่มเติม »

กิโลเมตร

กิโลเมตร อักษรย่อ กม. (mètre, km) เป็นหน่วยวัดความยาว มีขนาดเท่ากับ 1 × 103 เมตร.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและกิโลเมตร · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโซมาลี

ภาษาโซมาลี (Somali language) เป็นสมาชิกของแขนงคูชิติกตะวันออก ของภาษากลุ่มแอฟโร-เอเชียติก เป็นภาษาที่พูดในประเทศโซมาเลีย และพื้นที่ติดต่อของประเทศจิบูตี (ส่วนใหญ่) ประเทศเอธิโอเปีย และประเทศเคนยา เนื่องจากสงครามกลางเมืองและการอพยพ จึงมีคนพูดภาษาโซมาลีทั่วโลก คาดว่ามีคนพูดระหว่าง 15-25 ล้านคน โซมาลี.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและภาษาโซมาลี · ดูเพิ่มเติม »

มวล

มวล เป็นคุณสมบัติหนึ่งของวัตถุ ที่บ่งบอกปริมาณ ของสสารที่วัตถุนั้นมี มวลเป็นแนวคิดหลักอันเป็นหัวใจของกลศาสตร์แบบดั้งเดิม รวมไปถึงแขนงวิชาที่เกี่ยวข้อง หากแจกแจงกันโดยละเอียดแล้ว จะมีปริมาณอยู่ 3 ประเภทที่ถูกนิยามว่า มวล ได้แก.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและมวล · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด

มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด (University of Oxford หรือ Oxford University) หรือเรียกอย่างง่าย ๆ ว่า อ๊อกซฟอร์ด เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยซึ่งตั้งอยู่ในเมืองอ๊อกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ สหราชอาณาจักร แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานประวัติการก่อตั้งที่แน่นอน แต่มีหลักฐานว่าได้เริ่มสอนมาตั้งแต่ ค.ศ. 1096 ถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ และเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดที่ยังเปิดสอนเป็นอันดับสอง อ๊อกซฟอร์ดเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในปี ค.ศ. 1167 เมื่อพระเจ้าเฮนรีที่ 2 ทรงห้ามมิให้นักศึกษาชาวอังกฤษไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยปารีส ภายหลังจากการพิพาทระหว่างนักศึกษาและชาวเมืองอ๊อกซฟอร์ดในปี ค.ศ. 1206 นักวิชาการบางส่วนได้หนีไปทางตะวันออกเฉียงเหนือสู่เมืองเคมบริดจ์ ซึ่งพวกเขาได้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ขึ้น ทั้งสอง"มหาวิทยาลัยโบราณ"มักจะถูกเรียกว่า"อ๊อกซบริดจ์" มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดเติบโตขึ้นจากความหลากหลายของสถ​​าบันการศึกษาต่าง ๆ รวมถึงวิทยาลัยร่วมทั้ง 38 แห่ง และหน่วยงานทางวิชาการซึ่งแบ่งออกเป็นสี่แผนก แต่ละวิทยาลัยมีระบบการจัดการอย่างอิสระในการควบคุมสมาชิกรวมทั้งมีระบบโครงสร้างภายในและกิจกรรมเป็นของตนเอง มีลักษณะเป็นเมืองมหาวิทยาลัยซึ่งมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกกระจายอยู่ทั่วใจกลางเมือง การศึกษาระดับปริญญาตรีส่วนใหญ่ที่อ๊อกซฟอร์ดเป็นการจัดการด้วยวิธีติวเตอร์ตลอดรายสัปดาห์ไปในแต่ละวิทยาลัยและฮอลล์ต่าง ๆ โดยได้รับการสนับสนุนจากชั้นเรียน การบรรยาย และการปฏิบัติการซึ่งจัดขึ้นโดยคณะและภาควิชาต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดยังดำเนินงานพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในโลก รวมถึงสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดในโลก และมีระบบห้องสมุดทางวิชาการที่ใหญ่ที่สุดในบริเตน อ๊อกซฟอร์ดมีศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก รวมถึงผู้ได้รับรางวัลโนเบล 28 คน นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร 27 คน ประมุขแห่งรัฐและผู้นำรัฐบาลหลายแห่งทั่วโลก อ๊อกซฟอร์ดเป็นแหล่งที่ตั้งของทุนการศึกษาโรดส์ซึ่งเป็นหนึ่งในทุนการศึกษานานาชาติที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีชื่อเสียงมากที่สุด ซึ่งได้นำนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยมานานกว่าศตวรรษ.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยฮาวาย

The Royal Sala Thai John A. Burns School of Medicine UH 88 - Telescope มหาวิทยาลัยฮาวาย (University of Hawaii at Manoa) เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐประจำรัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1907 ทางมหาวิทยาลัยเปิดสอนในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอกและปริญญาอาชีพในหลากหลายสาขา อาทิ แพทยศาสตร์, กฎหมาย, สถาปัตยกรรมศาสตร์, ศิลปศาสตร์, มานุษยวิทยา, การจัดการ, เศรษฐศาสตร์, ศึกษาศาสตร์, วิศวกรรมศาสตร์, รัฐศาสตร์, วรรณกรรม, ภาษาศาสตร์, วิทยาศาสตร์, การเกษตร, สังคมศาสตร์, สาธารณสุข และเภสัชศาสตร์ ปัจจุบันมหาวิทยาลัยฮาวาย มีนักศึกษารวมทุกวิทยาเขตประมาณ 35,000คน โดยที่วิทยาเขตมานัว (Manoa) มีนักศึกษาประมาณ 20,000 คน.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและมหาวิทยาลัยฮาวาย · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทร

การแบ่งมหาสมุทรตามแบบต่างๆ แผ่นที่กายภาพก้นทะเล มหาสมุทร (ocean) เป็นผืนน้ำทะเลขนาดใหญ่เชื่อมต่อกัน และครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 3 ใน 4 (71%) ของพื้นผิวโลก มหาสมุทรเรียงตามลำดับขนาดจากมากไปน้อยได้แก่ มหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรใต้ และมหาสมุทรอาร์กติก คำว่า sea หรือทะเล บางครั้งใช้แทนคำว่า "ocean" หรือ "มหาสมุทร" ในภาษาอังกฤษแบบอเมริกันได้ แต่หากเจาะจงการพูดแล้ว sea คือแหล่งน้ำเค็ม (ส่วนหนึ่งของมหาสมุทร) ส่วนที่มีพื้นที่ติดพื้นดิน มวลน้ำเค็มปกคลุมประมาณ 72% ของพื้นผิวโลก (~3.6 กม.2) และถูกแบ่งเป็นมหาสมุทรหลัก ๆ และทะเลขนาดเล็กอีกหลายแห่ง โดยมหาสมุทรจะครอบคลุมพื้นที่โลกประมาณ 71% มหาสมุทรประกอบด้วยน้ำของโลก 97% และนักสมุทรศาสตร์กล่าวว่ามหาสมุทรในโลกเพิ่งได้มีการสำรวจไปได้เพียง 5% เท่านั้น ปริมาตรสุทธิมีประมาณ 1.35 พันล้านลูกบาศก์กิโลเมตร (320 ล้านลูกบาศก์ไมล์) มีความลึกเฉลี่ยที่ เนื่องจากมหาสมุทรเป็นส่วนประกอบหลักของอุทกภาคของโลก มหาสมุทรจึงเป็นสิ่งสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิด เป็นส่วนหนึ่งในวัฏจักรคาร์บอน และมีอิทธิพลต่อภูมิอากาศและลมฟ้าอากาศ มหาสมุทรเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตกว่า 230,000 สปีชีส์ แม้ว่ามหาสมุทรในส่วนที่ลึก ๆ ส่วนมากยังคงไม่ถูกสำรวจ และเชื่อกันว่ามีสิ่งมีชีวิตใต้น้ำมากกว่า 2 ล้านชนิดอยู่ในนั้น จุดกำเนิดของมหาสมุทรนั้นยังไม่มีคำตอบ แต่มีความคิดว่ามันเกิดขึ้นในบรมยุคเฮเดียน และอาจจะเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดกระบวนการกำเนิดชีวิตจากสิ่งไร้ชีวิต.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและมหาสมุทร · ดูเพิ่มเติม »

มิกกี้ เมาส์

มิกกี้ เมาส์ มิกกี้ เมาส์ เป็นตัวละครการ์ตูนที่ครองใจเด็กๆทั่วโลก มีลักษณะเป็นหนูสีดำ สวมกางเกงเอี๊ยมสีแดง ถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2471 โดยว และอับ ไอเวิร์กส ให้เสียงโดยวอลต์ ดิสนีย์ จุดกำเนิดของมิกกี้ เมาส์ เกิดขึ้นขณะที่วอลต์ ดิสนีย์ นั่งอยู่บนรถไฟระหว่างทางมุ่งสู่ลอสแอนเจลิส เขาลงมือสเก็ตช์ภาพคาแรกเตอร์หนูเล็ก ๆ สวมกางเกงสีแดง ขึ้นมา โดยมีอับ ไอเวิร์กส ออกแบบรูปร่างลักษณะ การ์ตูนเสียงเรื่องแรก "เรือกลไฟวิลลี่" (Steamboat Willie) เข้าฉายครั้งแรกที่ มอสส์โคโลนี่เธียเตอร์ โดยทางนิวยอร์กไทม์เขียนไว้ว่า "เป็นผลงานที่มีความคิดสร้างสรรค์เยี่ยมยอดและสนุก" บุคลิกของมิกกี้ เมาส์ คือ มองโลกในแง่ดี มีความกระตือรือร้น ถ่อมตัวและเรียบง่าย ซื่อสัตย์ ชอบร้องอุทาน "Gosh" หรือบางครั้งก็ "Oh be","Uh-Oh!" ชอบอ่าน มีหวานใจชื่อว่ามินนี่เมาส์ซึ่งเป็นตัวการ์ตูนที่ครองใจเด็กๆทั่วโลกเช่นกัน นอกจากนี้มิกกี้เมาส์ยังมีสุนัขสีน้ำตาลแสนรัก ชื่อว่า พลูโตที่เป็นสุนัขที่ซื่อสัตย์ ฉลาดและแสนรู้ มิกกี้ เมาส์ เป็นตัวการ์ตูนของค่ายดิสนีย์ ถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน..1928 (พ.ศ. 2471) โดย วอลเตอร์ อีลิส ดิสนีย์ และอับ ไอเวิร์กส เดิมทีพวกเขาเรียกมันว่า "มอร์ติเมอร์ เมาส์" ก่อนจะเปลี่ยนชื่อตัวการ์ตูนนี้ใหม่เป็น มิกกี้ เมาส์ จากการแนะนำของภรรยาวอลต์ ดิสนีย์ เนื่องจากเธอเห็นว่ามันเป็นชื่อที่ดูจริงจังจนเกินไป ทั้งนี้ จุดกำเนิดของ มิกกี้ เมาส์ เกิดขึ้นขณะที่ วอล์ต อีลิส ดิสนีย์ (ขณะนั้นอายุ 27 ปี) นั่งอยู่บนรถไฟระหว่างทางมุ่งสู่ลอสแอนเจลิส เขาลงมือสเก็ตช์ภาพคาแรกเตอร์หนูเล็ก ๆ สวมกางเกงสีแดงขึ้นมา โดยมี อับ ไอเวิร์กส ออกแบบรูปร่างลักษณะ หลังจากนั้นในปี..1928 (พ.ศ. 2471) มิกกี้ เมาส์ ก็ปรากฏตัวครั้งแรกในหนังการ์ตูนเงียบที่ชื่อว่า Plane Crazy แต่ก่อนที่การ์ตูนเรื่องนี้จะออกฉายนั้น ก็เริ่มมีการนำเสียงมาใส่ในภาพยนตร์ ทำให้ มิคกี้ เมาส์ เป็นหนังการ์ตูนที่มีการใส่เสียงเรื่องแรกในโลก ในชื่อเรื่องว่า Steamboat Willie การเปิดตัวครั้งแรกของ มิกกี้เมาส์ ในเรื่อง "Steamboat Willie" ในวันที่ 18 พฤศจิกายน..1928 (พ.ศ. 2471) ทำให้ มิกกี้เมาส์ กลายเป็นขวัญใจของเด็ก ๆ จวบจนปัจจุบัน โดยทางนิวยอร์กไทม์ เคยเขียนชื่นชมว่า มิกกี้ เมาส์ เป็นผลงานที่มีความคิดสร้างสรรค์เยี่ยมยอดและสนุก เพราะการ์ตูนเรื่องนี้มีจุดเด่นที่เพลงประกอบที่ไพเราะ ภาพ และฉากที่สวยงาม ลักษณะเด่นของ มิกกี้ เมาส์ เป็นเพียงหนูตัวเล็ก ๆ หูกลมใหญ่สีดำ แขนขาเล็กมาก สวมกางเกงเอี๊ยมสีแดง รองเท้าสีเหลือง มีบุคลิกที่มีความอดทน อดกลั้น ฉลาดหลักแหลม มองโลกในแง่ดี และกล้าหาญ ที่สำคัญ มิกกี้ เมาส์ มีสัญชาตญาณพิเศษในเรื่องของการสืบสวนสอบสวน และด้วยบุคลิกที่โดดเด่นในแง่นี้เองทำให้ตัวการ์ตูนตัวนี้ชอบที่จะใช้เหตุผลเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ โดยไม่ต้องใช้กำลังเข้าสู้ จนสามารถเอาชนะศัตรูที่มีร่างกายที่แข็งแรงกว่า ทำให้ มิกกี้เมาส์ สามารถเป็นที่รักและครองหัวใจของเด็ก ๆ และผู้คนทั่วโลกได้เป็นเวลาหลายทศวรรษ.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและมิกกี้ เมาส์ · ดูเพิ่มเติม »

มิเนอร์วา

มิเนอร์วา (Minerva) เป็นเทพีโรมันแห่งปัญญา และผู้สนับสนุนศิลปะ การค้าและยุทธศาสตร์ พระองค์กำเนิดจากพระเจ้าของจูปิเตอร์พร้อมด้วยศาสตราวุธ หลังศตวรรษที่ 2 ก่อน..

ใหม่!!: ดาวพลูโตและมิเนอร์วา · ดูเพิ่มเติม »

มีเทน

มีเทน (Methane) เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนพวกแอลเคน สูตรเคมี คือ CH4 เป็นแก๊สไม่มีสี ติดไฟได้ เป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ของแก๊สธรรมชาติ แก๊สมีเทนอาจได้มาจากการหมักมูลสัตว์และนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงราคาถูก ก๊าซมีเทนอาจพบได้ในชั้นถ่านหิน (Coal Bed Methane) โดยจากกระบวนการเกิดถ่านหินทำให้ก๊าซสะสมตัวและกักเก็บอยู่ในช่องว่างในเนื้อถ่านหิน.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและมีเทน · ดูเพิ่มเติม »

ยานอวกาศ

นอวกาศที่มีคนขับ Soyuz ของรัสเซีย(รุ่นที่แสดงเป็นรุ่น TMA)ได้บินมาแล้วมากกว่า 100 ครั้งตั้งแต่ปี 1967, แต่เดิมถูกใช้สำหรับโครงการดวงจันทร์ที่มีคนขับของโซเวียต, แต่ปัจจุบันให้การสนับสนุนสถานีอวกาศนานาชาติ Spacelab), สถานีอวกาศเมียร์และสถานีอวกาศนานาชาติ (ภาพแสดงการยิงขึ้นสู่อวกาศครั้งแรกของยาน"โคลัมเบีย") ยานอวกาศ คือยานพาหนะ, ยานหรือเครื่องยนต์ที่ออกแบบมาเ'''พื่'''อบินไปในอวกาศ ยานอวกาศถูกนำมาใช้สำหรับวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย, รวมถึงการสื่อสารโทรคมนาคม, การสังเกตโลก, การอุตุนิยมวิทยา, การนำทาง, การสำรวจดาวเคราะห์และการขนส่งมนุษย์และสินค้า ในการบินในอวกาศแบบวงโคจรย่อย) ยานอวกาศเข้าสู่อวกาศด้านนอก จากนั้นก็กลับมายังพื้นผิวโลกโดยไม่ได้ขึ้นไปสู่วงโคจรหลัก. แต่สำหรับการบินในอวกาศแบบวงโคจรหลัก (orbital spaceflight) ยานอวกาศเข้าสู่วงโคจรปิดรอบโลกหรือรอบวัตถุนอกโลกหรือดวงดาวอื่นๆ ยานอวกาศที่ใช้สำหรับการบินของมนุษย์จะบรรทุกลูกเรือหรือผู้โดยสารบนยานจากจุดเริ่มต้นหรือสถานีอวกาศในวงโคจรเท่านั้น ในขณะที่ ยานที่ใช้สำหรับภารกิจหุ่นยนต์อวกาศจะทำงานด้วยตนเองหรือจากระยะไกลอย่างใดอย่างหนึ่ง ยานอวกาศหุ่นยนต์ที่ใช้เพื่อสนับสนุนการวิจัยทางวิทยาศาสตร์เป็นยานสำรวจอวกาศ ยานอวกาศหุ่นยนต์ที่ยังคงอยู่ในวงโคจรรอบโลกเป็นดาวเทียม มีเพียงยานสำรวจระหว่างดวงดาวไม่กี่ลำเช่นไพโอเนียร์ 10 และ 11, Voyager 1 และ 2, และ New Horizons ที่ปัจจุบันยังอยู่ในวงโคจรที่หลุดออกจากระบบสุริยะของเร่า ยานอวกาศที่อยู่ในวงโคจรอาจจะสามารถกู้คืนได้แต่บางทีก็ไม่ได้. โดยวิธีการย้อนกลับไปยังโลก พวกมันอาจจะถูกแบ่งออกเป็นแคปซูลที่ไม่มีปีกหรือเครี่องบินอวกาศที่มีปีก ปัจจุบันมนุษย์ได้ประสบความสำเร็จในการบินในอวกาศ แต่มีเพียงยี่สิบสี่ประเทศเท่านั้นที่มีเทคโนโลยีอวกาศเช่น รัสเซีย (Roscosmos, กองกำลังอวกาศรัสเซีย), สหรัฐอเมริกา (นาซ่า, กองทัพอากาศสหรัฐและอีกหลายบริษัทการบินอวกาศเชิงพาณิชย์), รัฐสมาชิกขององค์การอวกาศยุโรป, สาธารณรัฐประชาชนจีน (องค์การบริหารอทวกาศแห่งชาติจีน), ญี่ปุ่น (สำนักงานสำรวจอวกาศญี่ปุ่น) และอินเดีย (องค์การวิจัยอวกาศอินเดีย).

ใหม่!!: ดาวพลูโตและยานอวกาศ · ดูเพิ่มเติม »

ยูนิโคด

The Unicode Standard, Version 5.0 อักขระยูนิโคดทั้งหมดเมื่อพิมพ์ลงกระดาษ (รวมทั้งสองแผ่น) ยูนิโคด (Unicode) คือมาตรฐานอุตสาหกรรมที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์แสดงผลและจัดการข้อความธรรมดาที่ใช้ในระบบการเขียนของภาษาส่วนใหญ่ในโลกได้อย่างสอดคล้องกัน ยูนิโคดประกอบด้วยรายการอักขระที่แสดงผลได้มากกว่า 100,000 ตัว พัฒนาต่อยอดมาจากมาตรฐานชุดอักขระสากล (Universal Character Set: UCS) และมีการตีพิมพ์ลงในหนังสือ The Unicode Standard เป็นแผนผังรหัสเพื่อใช้เป็นรายการอ้างอิง นอกจากนั้นยังมีการอธิบายวิธีการที่ใช้เข้ารหัสและการนำเสนอมาตรฐานของการเข้ารหัสอักขระอีกจำนวนหนึ่ง การเรียงลำดับอักษร กฎเกณฑ์ของการรวมและการแยกอักขระ รวมไปถึงลำดับการแสดงผลของอักขระสองทิศทาง (เช่นอักษรอาหรับหรืออักษรฮีบรูที่เขียนจากขวาไปซ้าย) ยูนิโคดคอนซอร์เทียม (Unicode Consortium) ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร เป็นผู้รับผิดชอบในการพัฒนายูนิโคด องค์กรนี้มีจุดมุ่งหมายเกี่ยวกับการแทนที่การเข้ารหัสอักขระที่มีอยู่ด้วยยูนิโคดและมาตรฐานรูปแบบการแปลงยูนิโคด (Unicode Transformation Format: UTF) แต่ก็เป็นที่ยุ่งยากเนื่องจากแผนการที่มีอยู่ถูกจำกัดไว้ด้วยขนาดและขอบเขต ซึ่งอาจไม่รองรับกับสภาพแวดล้อมหลายภาษาในคอมพิวเตอร์ ความสำเร็จของยูนิโคดคือการรวมรหัสอักขระหลายชนิดให้เป็นหนึ่งเดียว นำไปสู่การใช้งานอย่างกว้างขวางและมีอิทธิพลต่อการแปลภาษาของซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ นั่นคือโปรแกรมจะสามารถใช้ได้หลายภาษา มาตรฐานนี้มีการนำไปใช้เป็นเทคโนโลยีหลักหลายอย่าง อาทิ เอกซ์เอ็มแอล ภาษาจาวา ดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก และระบบปฏิบัติการสมัยใหม่ ยูนิโคดสามารถนำไปใช้งานได้ด้วยชุดอักขระแบบต่าง ๆ ชุดอักขระที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ UTF-8 (ใช้ 1 ไบต์สำหรับอักขระทุกตัวในรหัสแอสกีและมีค่ารหัสเหมือนกับมาตรฐานแอสกี หรือมากกว่านั้นจนถึง 4 ไบต์สำหรับอักขระแบบอื่น) UCS-2 ซึ่งปัจจุบันเลิกใช้แล้ว (ใช้ 2 ไบต์สำหรับอักขระทุกตัว แต่ไม่ครอบคลุมอักขระทั้งหมดในยูนิโคด) และ UTF-16 (เป็นส่วนขยายจาก UCS-2 โดยใช้ 4 ไบต์ สำหรับแทนรหัสอักขระที่ขาดไปของ UCS-2).

ใหม่!!: ดาวพลูโตและยูนิโคด · ดูเพิ่มเติม »

ยูโรปา (ดาวบริวาร)

ูโรปา (Europa; Ευρώπη) เป็นดาวบริวารดวงหนึ่งของดาวพฤหัสบดี ค้นพบในปี..

ใหม่!!: ดาวพลูโตและยูโรปา (ดาวบริวาร) · ดูเพิ่มเติม »

ยูเรเนียม

ูเรเนียม (Uranium) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 92 และสัญลักษณ์คือ U เป็นธาตุโลหะหนักกัมมันตรังสี ตามธรรมชาติมีลักษณะสีเงินวาว อยู่ในกลุ่มแอกทิไนด์ (actinide group) ไอโซโทป U-235 ใช้เป็นเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์และอาวุธนิวเคลียร์ ตามธรรมชาติพบยูเรเนียมในปริมาณเล็กน้อยในหิน ดิน น้ำ พืช และสัตว์ รวมทั้งมนุษย์ด้วย ครึ่งชีวิตของธาตุยูเรเนียมคือ 4,500 ล้านปี (U-238).

ใหม่!!: ดาวพลูโตและยูเรเนียม · ดูเพิ่มเติม »

ยูเอสเอทูเดย์

อาคารสำนักงานใหญ่ของ ยูเอสเอ ทูเดย์ ในเมืองแมกลีน รัฐเวอร์จิเนีย ยูเอสเอทูเดย์ (USA Today) เป็นหนังสือพิมพ์รายวันของสหรัฐอเมริกา ตีพิมพ์โดยบริษัทแกนเนตต์ ก่อตั้งโดยอัล นูฮาร์ธ ถือเป็นหนังสือพิมพ์ที่มียอดขายมากที่สุดกว่าหนังสือพิมพ์ใดในสหรัฐอเมริกา (เฉลี่ย 2.11 ล้านเล่ม ในวันธรรมดา) และในบรรดาหนังสือพิมพ์ขนาดใหญ่ภาษาอังกฤษทั่วโลกแล้ว มียอดขายเป็นอันดับ 2 รองจาก เดอะไทมส์ออฟอินเดีย ที่ขายได้ 3.14 ล้านเล่มต่อวัน ยูเอสเอทูเดย์ ออกวางขายใน 50 รัฐของสหรัฐอเมริกา แคนาดา วอชิงตันดีซี เปอร์โตริโก และเกาะกวม.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและยูเอสเอทูเดย์ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบสุริยะ

ระบบสุริยะ (Solar System) ประกอบด้วยดวงอาทิตย์และวัตถุอื่น ๆ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์เนื่องจากแรงโน้มถ่วง ได้แก่ ดาวเคราะห์ 8 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 166 ดวง ดาวเคราะห์แคระ 5 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 4 ดวง กับวัตถุขนาดเล็กอื่น ๆ อีกนับล้านชิ้น ซึ่งรวมถึง ดาวเคราะห์น้อย วัตถุในแถบไคเปอร์ ดาวหาง สะเก็ดดาว และฝุ่นระหว่างดาวเคราะห์ โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งย่านต่าง ๆ ของระบบสุริยะ นับจากดวงอาทิตย์ออกมาดังนี้คือ ดาวเคราะห์ชั้นในจำนวน 4 ดวง แถบดาวเคราะห์น้อย ดาวเคราะห์ขนาดใหญ่รอบนอกจำนวน 4 ดวง และแถบไคเปอร์ซึ่งประกอบด้วยวัตถุที่เย็นจัดเป็นน้ำแข็ง พ้นจากแถบไคเปอร์ออกไปเป็นเขตแถบจานกระจาย ขอบเขตเฮลิโอพอส (เขตแดนตามทฤษฎีที่ซึ่งลมสุริยะสิ้นกำลังลงเนื่องจากมวลสารระหว่างดวงดาว) และพ้นไปจากนั้นคือย่านของเมฆออร์ต กระแสพลาสมาที่ไหลออกจากดวงอาทิตย์ (หรือลมสุริยะ) จะแผ่ตัวไปทั่วระบบสุริยะ สร้างโพรงขนาดใหญ่ขึ้นในสสารระหว่างดาวเรียกกันว่า เฮลิโอสเฟียร์ ซึ่งขยายออกไปจากใจกลางของแถบจานกระจาย ดาวเคราะห์ชั้นเอกทั้ง 8 ดวงในระบบสุริยะ เรียงลำดับจากใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดออกไป มีดังนี้คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน นับถึงกลางปี ค.ศ. 2008 วัตถุขนาดย่อมกว่าดาวเคราะห์จำนวน 5 ดวง ได้รับการจัดระดับให้เป็นดาวเคราะห์แคระ ได้แก่ ซีรีสในแถบดาวเคราะห์น้อย กับวัตถุอีก 4 ดวงที่โคจรรอบดวงอาทิตย์อยู่ในย่านพ้นดาวเนปจูน คือ ดาวพลูโต (ซึ่งเดิมเคยถูกจัดระดับไว้เป็นดาวเคราะห์) เฮาเมอา มาคีมาคี และ อีรีส มีดาวเคราะห์ 6 ดวงและดาวเคราะห์แคระ 3 ดวงที่มีดาวบริวารโคจรอยู่รอบ ๆ เราเรียกดาวบริวารเหล่านี้ว่า "ดวงจันทร์" ตามอย่างดวงจันทร์ของโลก นอกจากนี้ดาวเคราะห์ชั้นนอกยังมีวงแหวนดาวเคราะห์อยู่รอบตัวอันประกอบด้วยเศษฝุ่นและอนุภาคขนาดเล็ก สำหรับคำว่า ระบบดาวเคราะห์ ใช้เมื่อกล่าวถึงระบบดาวโดยทั่วไปที่มีวัตถุต่าง ๆ โคจรรอบดาวฤกษ์ คำว่า "ระบบสุริยะ" ควรใช้เฉพาะกับระบบดาวเคราะห์ที่มีโลกเป็นสมาชิก และไม่ควรเรียกว่า "ระบบสุริยจักรวาล" อย่างที่เรียกกันติดปาก เนื่องจากไม่เกี่ยวข้องกับคำว่า "จักรวาล" ตามนัยที่ใช้ในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและระบบสุริยะ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบดาวคู่

กล้องฮับเบิล ดาวซิริอุส B แทบจะมองไม่เห็น (ล่างซ้าย) ดาวคู่ (Binary star) คือระบบดาวที่มีดาวฤกษ์สองดวงโคจรไปรอบๆ จุดศูนย์กลางมวลของระบบ ดาวแต่ละดวงถือว่าเป็น ดาวเพื่อน ของอีกดวงหนึ่ง การวิจัยเมื่อไม่นานมานี้ชี้ว่าดาวฤกษ์ส่วนใหญ่ในดาราจักรทางช้างเผือกมักเป็นระบบดวงเดี่ยวมากกว่าระบบดาวคู่ มีความสำคัญต่อการศึกษาฟิสิกส์ดาราศาสตร์ เพราะการสังเกตการณ์วงโคจรร่วมของทั้งสองทำให้สามารถประเมินมวลของดาวได้ ขณะที่การประเมินมวลของดาวฤกษ์เดี่ยวจำนวนมากต้องทำจาก extrapolation ที่ได้จากการศึกษาดาวคู่ ดาวคู่เป็นคนละอย่างกับดาวแฝด (Double star) ที่เมื่อมองจากโลกจะเห็นอยู่ใกล้กันอย่างมาก แต่ไม่ได้มีแรงดึงดูดระหว่างกัน ดาวคู่อาจจะไม่สามารถมองเห็นได้ในแสงปกติ หรืออาจต้องใช้วิธีทางอ้อมในการตรวจสอบ เช่นการใช้สเปกโทรสโกปี ถ้าดาวคู่โคจรรอบกันและกันในแนวระนาบเดียวกับสายตา เราจะเห็นมันเกิดคราสบังกันเอง กรณีนี้จะเรียกว่า ดาวคู่คราส (eclipsing binary) ระบบที่ประกอบด้วยดาวฤกษ์มากกว่า 2 ดวง ที่เรียกกันว่า ระบบดาวหลายดวง ถือเป็นระบบที่ไม่ปกติเช่นกัน องค์ประกอบภายในของระบบดาวคู่สามารถแลกเปลี่ยนมวลซึ่งกันและกันได้ ทำให้วิวัฒนาการของมันดำเนินไปในทิศทางที่ดาวฤกษ์เดี่ยวไม่อาจทำได้ ตัวอย่างของดาวคู่ได้แก่ Algol (เป็นดาวคู่คราส) ดาวซิริอุส และ ดาว Cygnus X-1 (ซึ่งดาวสมาชิกดวงหนึ่งอาจจะเป็นหลุมดำ).

ใหม่!!: ดาวพลูโตและระบบดาวคู่ · ดูเพิ่มเติม »

ระยะมุมจุดใกล้ศูนย์กลางที่สุด

ภาพแสดงระยะมุมจุดใกล้จุดศูนย์กลางที่สุด ระยะมุมจุดใกล้จุดศูนย์กลางที่สุด (อังกฤษ: argument of periapsis) เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของวงโคจร หมายถึงมุมระหว่างจุดปลายระยะทางวงโคจรกับโหนดขึ้น หมวดหมู่:ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ru:Кеплеровы элементы орбиты#Аргумент перицентра.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและระยะมุมจุดใกล้ศูนย์กลางที่สุด · ดูเพิ่มเติม »

รัฐแอริโซนา

รัฐแอริโซนา (Arizona) เป็นรัฐขนาดใหญ่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา ติดกับประเทศเม็กซิโกทางทิศใต้ เป็นหนึ่งในสี่รัฐมุมซึ่งมุมทางตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐชนกับอีก 3 รัฐพอดี เมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของรัฐคือ ฟีนิกซ์ เมืองสำคัญอื่นๆ ได้แก่ ทูซอน และเมซา ภูมิประเทศส่วนใหญ่ในรัฐมีลักษณะเป็นทะเลทราย มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในรัฐได้แก่ มหาวิทยาลัยแอริโซนาสเตต และ มหาวิทยาลัยแอริโซนา สถานท่องเที่ยวที่สำคัญของรัฐคือ แกรนด์แคนยอน และ แอนเทโลปแคนยอน ทีมกีฬาที่มีชื่อเสียงในรัฐได้แก่ แอริโซนา คาร์ดินาลส์ และ ฟีนิกซ์ ซันส์แกรนด์แคนยอน ในปี 2551 แอริโซนามีประชากรประมาณ 6,338,755 คน.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและรัฐแอริโซนา · ดูเพิ่มเติม »

วอยเอจเจอร์ 2

มเดลของยานในโครงการวอยเอจเจอร์ วอยเอจเจอร์ 2 (Voyager 2) คือยานสำรวจอวกาศแบบไม่มีคนบังคับที่เดินทางระหว่างดาวเคราะห์ ขึ้นสู่อวกาศเมื่อ 20 สิงหาคม ค.ศ. 1977 เป็นยานสำรวจอวกาศในโครงการวอยเอจเจอร์ ซึ่งมียานพี่อีกลำหนึ่งคือยานวอยเอจเจอร์ 1 ยานวอยเอจเจอร์ 2 ถูกส่งขึ้นไปให้โคจรเป็นเส้นโค้งตามระนาบสุริยวิถี โดยเตรียมการให้สามารถเดินทางเข้าใกล้ดาวยูเรนัสและดาวเนปจูน ด้วยการอาศัยแรงเหวี่ยงจากแรงโน้มถ่วงของดาวเสาร์ซึ่งมันจะต้องเดินทางผ่านในปี..

ใหม่!!: ดาวพลูโตและวอยเอจเจอร์ 2 · ดูเพิ่มเติม »

วอลต์ ดิสนีย์

''Newman Laugh-O-Gram'' (1921) วอลเตอร์ อีเลียส ดิสนีย์ (Walter Elias Disney) (5 ธันวาคม 2444 - 15 ธันวาคม 2509, ค.ศ. 1901-1966) เป็นผู้สร้างผลงานการ์ตูนที่แพร่หลาย และประสบความสำเร็จมากที่สุดของโลกคนหนึ่ง เป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทวอลท์ ดิสนีย์ และสร้างภาพยนตร์การ์ตูนสีเป็นคนแรก เริ่มทำการ์ตูน มิกกี้เม้าส์ (Mickey Mouse) โดนัลด์ดั๊ก (Donald Duck) และภาพยนตร์เรื่องยาว เช่น สโนว์ไวท์กับคนแคระทั้งเจ็ด (Snow White and the Seven Dwarfs), แฟนตาเซีย (Fantasia), พินอคคิโอ (Pinocchio) และ แบมบี้ (Bambi) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หนังการ์ตูนต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการสร้างจำนวนมาก ดิสนีย์จึงเริ่มทำภาพยนตร์เกี่ยวกับการผจญภัยที่เป็นจริง เช่น เดอะ ลิวิง เดสเสิร์ท (The Living Desert) นอกจากนี้ยังได้สร้างสวนสนุกสองแห่ง และได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ 59 รางวัล โดยได้รับรางวัลออสการ์ถึง 26 รางวัล นับเป็นบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงและได้รับรางวัลออสการ์มากที่สุดในโลก 100px.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและวอลต์ ดิสนีย์ · ดูเพิ่มเติม »

วัตถุพ้นดาวเนปจูน

แสดงวัตถุพ้นดาวเนปจูนขนาดใหญ่ ที่เป็นที่รู้จักแล้วในปัจจุบัน วัตถุพ้นดาวเนปจูน (Trans-Neptunian Object; TNO) คือวัตถุในระบบสุริยะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ในระยะที่ไกลกว่าวงโคจรเฉลี่ยของดาวเนปจูน สามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ แถบไคเปอร์ แถบจานกระจาย และเมฆออร์ต วัตถุพ้นดาวเนปจูนชิ้นแรกที่มีการค้นพบ คือ ดาวพลูโต เมื่อปี..

ใหม่!!: ดาวพลูโตและวัตถุพ้นดาวเนปจูน · ดูเพิ่มเติม »

วัน

วัน คือหน่วยของเวลาที่เท่ากับ 24 ชั่วโมง ถึงแม้หน่วยนี้จะไม่ใช่หน่วยเอสไอ แต่ก็มีการยอมรับเพื่อใช้ประกอบกับหน่วยเอสไออื่น ซึ่งหน่วยเวลาที่เป็นหน่วยเอสไอคือ วินาที คำว่า วัน มาจากภาษาไทยเดิม (ลาว: ວັນ วัน, ไทใหญ่:ဝၼ်း วั้น) คำว่า day ในภาษาอังกฤษมาจากคำในภาษาอังกฤษเก่า dæg ซึ่งสะกดคล้ายกับภาษาอื่น ๆ ในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน ตัวอย่างเช่น dies ในภาษาละตินและ dive ในภาษาสันสกฤต ซึ่งกลายเป็น ทิวา ในภาษาไท.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและวัน · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาธารน้ำแข็ง

Lateral moraine on a glacier joining the Gorner Glacier, Zermatt, Swiss Alps. The moraine is the high bank of debris in the top left hand quarter of the picture. For more explanation, click on the picture. วิทยาธารน้ำแข็ง (Glaciology) เป็นศาสตร์เกี่ยวกับธารน้ำแข็ง น้ำแข็ง และปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกี่ยวกับน้ำแข็ง วิทยาธารน้ำแข็ง เป็นสหวิทยาการของวิทยาศาสตร์โลกที่รวมเอา ธรณีฟิสิกส์, ธรณีวิทยา, ภูมิศาสตร์กายภาพ, ธรณีสัณฐานวิทยา, climatology, อุตุนิยมวิทยา, อุทกวิทยา, ชีววิทยา, และ นิเวศวิท.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและวิทยาธารน้ำแข็ง · ดูเพิ่มเติม »

วินาที

วินาที (Second) เป็นหน่วยฐานของเวลาในระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศ (เอสไอ) และยังเป็นหน่วยเวลาในระบบการวัดอื่น เท่ากับ 1 ส่วน 60 ของนาที ระหว่าง..

ใหม่!!: ดาวพลูโตและวินาที · ดูเพิ่มเติม »

ศูนย์กลางมวล

ูนย์กลางมวล (center of mass) ของระบบหนึ่งๆ เป็นจุดเฉพาะเจาะจงซึ่งเสมือนหนึ่งมวลของระบบรวมตัวกันอยู่ ณ จุดนั้น เป็นฟังก์ชันของตำแหน่งและมวลขององค์ประกอบที่รวมกันอยู่ในระบบ ในกรณีที่ระบบเป็นวัตถุแบบ rigid body ตำแหน่งของศูนย์กลางมวลมักเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในวัตถุหรือมีความเกี่ยวพันกับวัตถุนั้น แต่ถ้าระบบมีมวลหลายชิ้นสัมพันธ์กันอย่างหลวมๆ ในพื้นที่ว่าง ตัวอย่างเช่น การยิงกระสุนออกจากปืน ตำแหน่งศูนย์กลางมวลจะอยู่ในอากาศระหว่างวัตถุทั้งสองโดยอาจไม่สัมพันธ์กับตำแหน่งของวัตถุแต่ละชิ้นก็ได้ หากระบบอยู่ภายใต้สนามแรงโน้มถ่วงที่เป็นเอกภาพ มักเรียกศูนย์กลางมวลว่าเป็น ศูนย์ถ่วง (center of gravity) คือตำแหน่งที่วัตถุนั้นถูกกระทำโดยแรงโน้มถ่วง ตำแหน่งศูนย์กลางมวลของวัตถุหนึ่งๆ ไม่จำเป็นต้องเป็นจุดศูนย์กลางทางเรขาคณิตของรูปร่างวัตถุนั้น วิศวกรจะพยายามออกแบบรถสปอร์ตให้มีจุดศูนย์ถ่วงอยู่ต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เพื่อให้สามารถบังคับรถได้ดีขึ้น นักกระโดดสูงก็ต้องพยายามบิดร่างกายเพื่อให้สามารถข้ามผ่านคานให้ได้ขณะที่ศูนย์กลางมวลของพวกเขาข้ามไม่ได้.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและศูนย์กลางมวล · ดูเพิ่มเติม »

สภาวะสมดุลอุทกสถิต

้าปริมาตรแก๊สส่วนที่ระบายสีไม่มีการเคลื่อนที่ แรงที่กระทำต่อแก๊สทางด้านขึ้นจะต้องเท่ากับแรงที่กระทำทางด้านลง สภาวะสมดุลอุทกสถิต (Hydrostatic equilibrium) เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อแรงกดจากความโน้มถ่วงมีค่าเท่ากับแรงดันต้านที่เกิดจากความดันในทิศทางตรงกันข้าม ตามกฎของนิวตัน แรงที่กระทำต่อปริมาตรของไหลที่ไม่มีการเคลื่อนที่ หรือมีการเคลื่อนที่ในอัตราคงที่ จะต้องมีผลรวมแรงเท่ากับศูนย์ กล่าวคือ แรงกระทำทางด้านขึ้นต้องเท่ากับแรงกระทำทางด้านลง สมดุลของแรงในลักษณะนี้เรียกว่า "สมดุลอุทกสถิต" (hydrostatic balance).

ใหม่!!: ดาวพลูโตและสภาวะสมดุลอุทกสถิต · ดูเพิ่มเติม »

สหพันธ์ดาราศาสตร์สากล

หพันธ์ดาราศาสตร์สากล (ไอเอยู) (IAU - International Astronomical Union) เป็นองค์กรที่รวมกลุ่มสมาคมดาราศาสตร์ต่าง ๆ จากทั่วโลกเข้าด้วยกัน และเป็นสมาชิกของสภาวิทยาศาสตร์นานาชาติ (ไอซีเอสยู) มีอำนาจในการตั้งชื่อดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์น้อย รวมถึงวัตถุท้องฟ้าและปรากฏการณ์อื่น ๆ สหพันธ์ดาราศาสตร์สากลประกอบด้วยคณะทำงานตั้งชื่อระบบดาวเคราะห์ (Working Group for Planetary System Nomenclature - WGPSN) ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการในการประชุมตั้งชื่อวัตถุต่าง ๆ และรับผิดชอบระบบโทรเลขดาราศาสตร์ แม้ว่าไม่ได้เป็นผู้ดำเนินการเองโดยตรง สหพันธ์ดาราศาสตร์สากลก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2462 (ค.ศ. 1919) จากการควบรวมเข้าด้วยกันระหว่างโครงการในระดับนานาชาติหลายโครงการ ได้แก่ แผนที่ท้องฟ้า (Carte du Ciel) สหพันธ์สุริยะ (Solar Union) และ สำนักงานเวลาสากล (Bureau International de l'Heure) ประธานสหพันธ์คนแรก คือ เบนจามิน เบลลอ.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล · ดูเพิ่มเติม »

สัญลักษณ์ทางดาราศาสตร์

ัญลักษณ์ทางดาราศาสตร์ เป็นสัญลักษณ์ใช้แทนเทหวัตถุต่างๆ โครงสร้าง รวมถึงปรากฏการณ์ในทางดาราศาสตร์ รายการสัญลักษณ์ที่แสดงไว้ในที่นี้เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้กันโดยทั่วไปในหมู่นักวิชาการและนักดาราศาสตร์สมัครเล่น สัญลักษณ์บางตัวเหมือนกันกับสัญลักษณ์ทางโหราศาสตร์ตะวันตก.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและสัญลักษณ์ทางดาราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

สัทวิทยา

ัทวิทยา, สรวิทยา หรือ วิชาระบบเสียง (phonology) เป็นการศึกษาที่เกี่ยวกับเรื่องเสียงในภาษา โดยแยกย่อยออกเป็น 2 แขนง คือ สัทศาสตร์ (phonetics) และสรศาสตร์ (phonemics).

ใหม่!!: ดาวพลูโตและสัทวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

สารประกอบอินทรีย์

มีเทนเป็นหนึ่งในสารประกอบอินทรีย์ที่เรียบง่ายที่สุด สารประกอบอินทรีย์ หมายถึง สารประกอบเคมีที่อยู่ในสถานะใดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นของแข็ง ของเหลว หรือแก๊ส ที่ประกอบด้วยโมเลกุลคาร์บอน ยกเว้นสารประกอบบางชนิดที่ไม่จัดว่าเป็นสารประกอบอินทรีย์แม้ว่าจะมีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบก็ตาม ตัวอย่างเช่น สารประกอบคาร์ไบน์, คาร์บอเนต, ออกไซด์ของคาร์บอนและไซยาไนด์ เช่นเดียวกับอัญรูปของคาร์บอน อย่างเช่น เพชรและแกรไฟต์ ซึ่งถูกจัดเป็นสารประกอบอนินทรีย์ ความแตกต่างระหว่างสารประกอบคาร์บอนที่เป็นสารประกอบ "อินทรีย์" และ "อนินทรีย์" นั้น ถึงแม้ว่า "จะมีประโยชน์ในการจัดระเบียบวิชาเคมีอย่างกว้างขวาง...

ใหม่!!: ดาวพลูโตและสารประกอบอินทรีย์ · ดูเพิ่มเติม »

สุริยวิถี

ริยวิถี (Ecliptic) คือ ระนาบทางเรขาคณิตที่เป็นระนาบวงโคจรของโลก ดาวเคราะห์ส่วนใหญ่ในระบบสุริยะมีระนาบวงโคจรใกล้เคียงกับระนาบนี้ เมื่อมองจากโลก สุริยวิถีเป็นวงกลมใหญ่บนทรงกลมฟ้าที่แทนเส้นทางการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ตลอดทั้งปีท่ามกลางดาวฤกษ์ที่เป็นฉากหลัง ระนาบนี้ทำมุมเอียงกับเส้นศูนย์สูตรฟ้าเป็นมุมประมาณ 23.5° ซึ่งเป็นผลจากความเอียงของแกนหมุนของโลก ระนาบวงโคจรของดวงจันทร์เอียงกับระนาบสุริยวิถีเป็นมุมประมาณ 5° เนื่องจากดวงอาทิตย์ปรากฏเคลื่อนที่ไปตามสุริยวิถีเป็นมุม 360 องศา ในระยะเวลาประมาณ 365.25 วัน หรือ 1 ปี ดวงอาทิตย์จึงเคลื่อนที่ไปด้วยอัตราประมาณ 1° ต่อวัน โดยมีทิศทางจากทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออก ตรงข้ามกับการหมุนของทรงกลมฟ้า สุริยวิถีกับเส้นศูนย์สูตรฟ้าตัดกันที่จุด 2 จุด ซึ่งอยู่ตรงข้ามกัน คือ จุดวสันตวิษุวัตและจุดศารทวิษุวัต เมื่อดวงอาทิตย์เคลื่อนมาถึง 2 ตำแหน่งนี้ กลางวันกับกลางคืนจะยาวนานเท่ากันสำหรับผู้สังเกตบนผิวโลก (อย่างน้อยก็ในทางทฤษฎี เพราะมีปัจจัยอื่นที่ส่งผลต่อความยาวนานของกลางวัน-กลางคืน เช่น บรรยากาศโลก) จุดที่สุริยวิถีอยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรฟ้ามากที่สุดขึ้นไปทางเหนือ เรียกว่า จุดครีษมายัน และลงไปทางใต้เรียกว่า จุดเหมายัน หากดวงจันทร์ผ่านแนวสุริยวิถีขณะจันทร์เพ็ญหรือจันทร์ดับ จะมีโอกาสเกิดอุปราคาขึ้นได้.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและสุริยวิถี · ดูเพิ่มเติม »

สติกซ์ (ดาวบริวาร)

ติกซ์ (Styx) เดิมชื่อ S/2012 (134340) 1 หรือ P5 เป็นดาวบริวารขนาดเล็กของดาวพลูโต ประกาศการค้นพบเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 นับเป็นดวงจันทร์ดวงที่ 5 ของดาวพลูโตเท่าที่มีการค้นพบจนถึงปัจจุบัน ถัดจากการค้นพบดวงจันทร์ดวงที่สี่ของดาวพลูโต (ชื่อว่า เคอร์เบอรอส) ประมาณหนึ่งปี โดยดวงจันทร์ดวงนี้ถูกตรวจพบจากชุดภาพถ่ายจำนวน 9 ชุดจากกล้องถ่ายภาพสนามกว้าง 3 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ภาพทั้ง 9 ชุดดังกล่าว ถ่ายในเดือนมิถุนายน วันที่ 26 27 29 และเดือนกรกฎาคม วันที่ 7 และ 9..

ใหม่!!: ดาวพลูโตและสติกซ์ (ดาวบริวาร) · ดูเพิ่มเติม »

หน่วยดาราศาสตร์

หน่วยดาราศาสตร์ (Astronomical Unit; ย่อในภาษาอังกฤษว่า AU หรือ au หรือ a.u. หรือ ua) คือ หน่วยของระยะทาง มีค่า (โดยประมาณ) เท่ากับระยะห่างเฉลี่ยระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ค่าที่ยอมรับในปัจจุบัน เท่ากับ 149,597,870,691±30 เมตร (ประมาณ 150 ล้านกิโลเมตร หรือ 93 ล้านไมล์) สัญลักษณ์ "ua" ได้รับการเสนอจากสำนัก Bureau International des Poids et Mesures แห่งฝรั่งเศส แต่ในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ ที่ใช้ภาษาอังกฤษจะใช้อักษรตัวใหญ่มากกว่า ส่วนสหภาพดาราศาสตร์สากล (International Astronomical Union) เสนอให้ใช้ "au" ส่วนมาตรฐานนานาชาติ ISO 31-1 นั้นใช้ "AU".

ใหม่!!: ดาวพลูโตและหน่วยดาราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

อายัน

อายัน (solstice) ในการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ยังมีปรากฏการณ์ที่เรียกว่า "อายัน" เกิดขึ้นปีละ 2 ครั้งเช่นกัน อายันเกิดขึ้นทุกปีระหว่างวันที่ 20 หรือ 21 มิถุนายนเรียกว่า ครีษมายัน และในวันที่ 22 หรือ 23 ธันวาคมเรียกว่า เหมายัน หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า ตะวันอ้อมข้าว นอกจากนี้โลกยังมีระยะห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เท่ากันตลอดปี ช่วงที่ใกล้ที่สุดเกิดขึ้นในต้นเดือนมกราคม (147 ล้านกิโลเมตร) ส่วนช่วงที่ไกลที่สุดเกิดขึ้นในต้นเดือนกรกฎาคม (152 ล้านกิโลเมตร) เฉพาะแกนหมุนของโลกที่เอียง เมื่อโคจรรอบดวงอาทิตย์ จึงมีผลสลับขั้วโลกเหนือ กับ ขั้วโลกใต้ เข้าหาดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ ขึ้น ส่วนการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ที่มีระยะใกล้บ้าง ไกลบ้าง นั้น เป็นอัตราส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับระยะห่างจากดวงอาทิตย์ จึงไม่ได้มีผล ต่อการเกิดฤดูกาลแต่อย่างใ.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและอายัน · ดูเพิ่มเติม »

อูร์แบ็ง เลอ แวรีเย

อูร์แบ็ง เลอ แวรีเย อูร์แบ็ง ฌ็อง โฌแซ็ฟ เลอ แวรีเย (Urbain Jean Joseph Le Verrier, 11 มีนาคม พ.ศ. 2354 - 23 กันยายน พ.ศ. 2366) นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศสผู้เชี่ยวชาญด้านกลศาสตร์เทห์ฟ้า (Celestial mechanics) ทำงานประจำหอดูดาวปารีสตลอดชีวิต.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและอูร์แบ็ง เลอ แวรีเย · ดูเพิ่มเติม »

องศา (มุม)

องศา (degree) หรือในชื่อเต็มคือ ดีกรีของส่วนโค้ง (degree of arc, arcdegree) คือหน่วยวัดมุมชนิดหนึ่งบนระนาบสองมิติ หนึ่งองศา แทนการกวาดมุมรอบจุดศูนย์กลางของวงกลมไปได้ 1 ส่วนใน 360 ส่วน และเมื่อมุมนั้นอ้างอิงกับเส้นเมอริเดียน องศาจะแสดงให้เห็นถึงตำแหน่งต่างๆ บนวงกลมใหญ่ของทรงกลม อย่างที่มีการใช้อ้างอิงตำแหน่งบนโลก ดาวอังคาร หรือทรงกลมท้องฟ้า เป็นต้น สัญลักษณ์วงกลมเล็ก ° ใช้แทนหน่วยองศาในการเขียน และเป็นหน่วยเดียวที่ไม่ต้องเว้นวรรคระหว่างตัวเลขกับสัญลักษณ์ เช่น 15° แทนมุมขนาด 15 อง.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและองศา (มุม) · ดูเพิ่มเติม »

อ๊อกซฟอร์ด

มืองอ๊อกซฟอร์ด (Oxford) เป็นนครและเมืองหลวงของมณฑลอ๊อกซฟอร์ดเชอร์ของภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ ที่มีประชาชนราว 151,000 คน แม่น้ำเชอร์เวลล์และแม่น้ำเทมส์บรรจบกันทางใต้ของตัวเมือง บริเวณที่เป็นระยะทางราว 10 กิโลเมตรในบริเวณตัวเมืองอ๊อกซฟอร์ดริมฝั่งแม่น้ำเทมส์รู้จักกันว่า “เดอะไอซิส” (The Isis).

ใหม่!!: ดาวพลูโตและอ๊อกซฟอร์ด · ดูเพิ่มเติม »

จานดาวเคราะห์ก่อนเกิด

นดาวเคราะห์ก่อนเกิด ในเนบิวลานายพราน จานดาวเคราะห์ก่อนเกิด (Protoplanetary disk) คือแผ่นจานสสารระหว่างดาวอัดแน่นไปด้วยแก๊สที่หมุนวนไปรอบๆ ดาวฤกษ์ที่กำลังก่อตัวขึ้นใหม่ ซึ่งเรียกว่า ดาวฤกษ์ชนิด T Tauri หรือดาวเฮอร์บิก (Herbig) จานดาวเคราะห์ก่อนเกิดอาจเป็นจานพอกพูนมวลชนิดหนึ่ง เพราะสสารแก๊สอาจจะตกจากขอบจานด้านในเข้าไปบนพื้นผิวของดาวฤกษ์ได้ แต่กระบวนการทั้งสองนี้แตกต่างกันและไม่ควรนำมาใช้สับสนปนเปกัน จานดาวเคราะห์ก่อนเกิดที่อยู่รอบดาวฤกษ์ T Tauri แตกต่างจากแผ่นจานที่อยู่รอบวัตถุโบราณชนิดอื่นในระบบดาวคู่ เนื่องจากความแตกต่างด้านขนาดและอุณหภูมิ จานดาวเคราะห์ก่อนเกิดมีรัศมีราว 1000 หน่วยดาราศาสตร์ และค่อนข้างเย็น มีเพียงเฉพาะส่วนในของแผ่นจานเท่านั้นจะมีอุณหภูมิสูงถึง 1000 เคลวิน โดยทั่วไป ดาวฤกษ์ก่อนเกิดจะก่อตัวในเมฆโมเลกุลซึ่งมีโมเลกุลไฮโดรเจนดั้งเดิมอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อบางส่วนของเมฆโมเลกุลดำเนินไปถึงจุดวิกฤตของขนาด มวล หรือความหนาแน่น มันจะแตกสลายลงด้วยแรงโน้มถ่วงภายในของมันเอง เมฆที่แตกสลายลงนี้เรียกว่า เนบิวลาสุริยะ ซึ่งเป็นกลุ่มเมฆที่มีความหนาแน่นมากยิ่งขึ้น แก๊สที่เคยเคลื่อนที่แบบสะเปะสะปะจะเริ่มเคลื่อนไปตามทิศทางของโมเมนตัมเชิงมุมของเนบิวลานั้น การพยายามรักษาโมเมนตัมเชิงมุมไว้ทำให้มีการหมุนวนเพิ่มมากขึ้น และเนบิวลามีขนาดเล็กลง แต่อัดแน่นมากขึ้น กลายเป็นกลุ่มเมฆที่แบนลงคล้ายกับแผ่นพิซซา แล้วจึงกลายเป็นแผ่นจาน การแตกสลายครั้งแรกกินเวลาราว 100,000 ปี หลังจากนั้นอุณหภูมิพื้นผิวของดาวฤกษ์จึงเพิ่มขึ้นจนถึงระดับของดาวฤกษ์ในแถบลำดับหลัก เรียกดาวฤกษ์ในระดับนี้ว่า ดาวฤกษ์ T Tauri แก๊สจะพอกพูนไปบนดาวฤกษ์มากขึ้นเรื่อยๆ ไปตลอด 10 ล้านปีถัดไป ก่อนที่แผ่นจานจะสลายตัวหายไปหมด ซึ่งอาจเป็นผลจากแรงดันของลมสุริยะขับไล่มันไป แผ่นจานดาวเคราะห์ก่อนเกิดที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่ค้นพบมีอายุ 25 ล้านปี.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและจานดาวเคราะห์ก่อนเกิด · ดูเพิ่มเติม »

ธาตุ

ในทางเคมี ธาตุ คือ สารบริสุทธิ์ซึ่งประกอบด้วยอนุภาคมูลฐานเลขอะตอม อันเป็นจำนวนของโปรตอนในนิวเคลียสของธาตุนั้น ตัวอย่างธาตุที่คุ้นเคยกัน เช่น คาร์บอน ออกซิเจน อะลูมิเนียม เหล็ก ทองแดง ทองคำ ปรอทและตะกั่ว จนถึงเดือนพฤษภาคม..

ใหม่!!: ดาวพลูโตและธาตุ · ดูเพิ่มเติม »

ขนาดเชิงมุม

้นผ่านศูนย์กลางเชิงมุม การกำหนดเส้นผ่านศูนย์กลางเชิงมุม เส้นผ่านศูนย์กลางเชิงมุม หรือ ขนาดเชิงมุม หรือ ขนาดปรากฏ ของวัตถุที่เห็นจากตำแหน่งที่ให้มาเป็น "เส้นผ่านศูนย์กลางที่มองเห็นได้" ของวัตถุที่วัดเป็นมุม ในทางทัศนวิทยา มันถูกเรียกว่า มุมการมอง เส้นผ่านศูนย์กลางที่มองเห็นได้เป็นเส้นผ่านศูนย์กลางของโปรเจ็กชั่นแบบเปอร์สเปคตีฟของวัตถุบนระนาบผ่านศูนย์กลางของมันที่ตั้งฉากกับทิศทางการมอง เนื่องจากมีลักษณะเป็นภาพลึกบนผนังแบนเรียบ มันจึงค่อนข้างแตกต่างจากเส้นผ่านศูนย์กลางจริงทางฟิสิกส์ของวัตถุที่มองเห็นภายใต้มุม สำหรับวัตถุทรงจานในระยะไกล เส้นผ่านศูนย์กลางที่มองเห็นได้กับเส้นผ่านศูนย์กลางจริงเป็นอย่างเดียวกัน.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและขนาดเชิงมุม · ดูเพิ่มเติม »

ดวงอาทิตย์

วงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ ณ ใจกลางระบบสุริยะ เป็นพลาสมาร้อนทรงเกือบกลมสมบูรณ์ โดยมีการเคลื่อนท่พาซึ่งผลิตสนามแม่เหล็กผ่านกระบวนการไดนาโม ปัจจุบันเป็นแหล่งพลังงานสำคัญที่สุดสำหรับสิ่งมีชีวิตบนโลก มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.39 ล้านกิโลเมตร ใหญ่กว่าโลก 109 เท่า และมีมวลประมาณ 330,000 เท่าของโลก คิดเป็นประมาณ 99.86% ของมวลทั้งหมดของระบบสุริยะ มวลประมาณสามในสี่ของดวงอาทิตย์เป็นไฮโดรเจน ส่วนที่เหลือเป็นฮีเลียมเป็นหลัก โดยมีปริมาณธาตุหนักกว่าเล็กน้อย รวมทั้งออกซิเจน คาร์บอน นีออนและเหล็ก ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ลำดับหลักระดับจี (G2V) ตามการจัดประเภทดาวฤกษ์ ซึ่งเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า "ดาวแคระเหลือง" ดวงอาทิตย์เกิดเมื่อประมาณ 4.6 พันล้านปีก่อนจากการยุบทางความโน้มถ่วงของสสารภายในบริเวณเมฆโมเลกุลขนาดใหญ่ สสารนี้ส่วนใหญ่รวมอยู่ที่ใจกลาง ส่วนที่เหลือแบนลงเป็นแผ่นโคจรซึ่งกลายเป็นระบบสุริยะ มวลใจกลางร้อนและหนาแน่นมากจนเริ่มเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น ณ แก่น ซึ่งเชื่อว่าเป็นกระบวนการเกิดดาวฤกษ์ส่วนใหญ่ ดวงอาทิตย์มีอายุประมาณครึ่งอายุขัย ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนักเป็นเวลากว่า 4 พันล้านปีมาแล้วและจะค่อนข้างเสถียรไปอีก 5 พันล้านปี หลังฟิวชันไฮโดรเจนในแก่นของมันลดลงถึงจุดที่ไม่อยู่ในดุลยภาพอุทกสถิตต่อไป แก่นของดวงอาทิตย์จะมีความหนาแน่นและอุณหภูมิเพิ่มขึ้นส่วนชั้นนอกของดวงอาทิตย์จะขยายออกจนสุดท้ายเป็นดาวยักษ์แดง มีการคำนวณว่าดวงอาทิตย์จะใหญ่พอกลืนวงโคจรปัจจุบันของดาวพุทธและดาวศุกร์ และทำให้โลกอาศัยอยู่ไม่ได้ มนุษย์ทราบความสำคัญของดวงอาทิตย์ที่มีโลกมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และบางวัฒนธรรมถือดวงอาทิตย์เป็นเทวดา การหมุนของโลกและวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลกเป็นรากฐานของปฏิทินสุริยคติ ซึ่งเป็นปฏิทินที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและดวงอาทิตย์ · ดูเพิ่มเติม »

ดวงจันทร์

วงจันทร์เป็นวัตถุดาราศาสตร์ที่โคจรรอบโลก เป็นดาวบริวารถาวรดวงเดียวของโลก เป็นดาวบริวารใหญ่ที่สุดอันดับที่ 5 ในระบบสุริยะ และเป็นดาวบริวารขนาดใหญ่สุดเมื่อเทียบกับกขนาดของดาวเคราะห์ที่โคจร ดวงจันทร์เป็นดาวบริวารที่มีความหนาแน่นที่สุดเป็นอันดับที่ 2 รองจากไอโอของดาวพฤหัสบดี ซึ่งบางส่วนไม่ทราบความหนาแน่น คาดว่าดวงจันทร์ก่อกำเนิดประมาณ 4.51 พันล้านปีก่อน ไม่นานหลังจากโลก คำอธิบายที่ได้รับการยอมรับกว้างขวางที่สุดคือดวงจันทร์ก่อกำเนิดจากเศษที่เหลือจากการชนขนาดยักษ์ระหว่างโลกกับเทห์ขนาดประมาณดาวอังคารชื่อเธียอา ดวงจันทร์หมุนรอบโลกแบบประสานเวลา จะหันด้านเดียวเข้าหาโลกเสมอคือด้านใกล้ที่มีลักษณะเป็นทะเลภูเขาไฟมืด ๆ ซึ่งเติมที่ว่างระหว่างที่สูงเปลือกโบราณสว่างและหลุมอุกกาบาตที่เห็นได้ชัดเจน เมื่อสังเกตจากโลก เป็นเทห์ฟ้าที่เห็นได้เป็นประจำสว่างที่สุดอันดับสองในท้องฟ้าของโลกรองจากดวงอาทิตย์ พื้นผิวแท้จริงแล้วมืด แม้เทียบกับท้องฟ้าราตรีแล้วจะดูสว่างมาก โดยมีการสะท้อนสูงกว่าแอสฟอลต์เสื่อมเล็กน้อย อิทธิพลความโน้มถ่วงของดวงจันทร์ทำให้เกิดน้ำขึ้นลงมหาสมุทร และทำให้หนึ่งวันยาวขึ้นเล็กน้อย มีระยะห่างจากโลกเฉลี่ยนับจากศูนย์กลางถึงศูนย์กลางประมาณ 384,403 กิโลเมตร เทียบเท่ากับ 30 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางของโลก จุดศูนย์กลางมวลร่วมของระบบตั้งอยู่ที่ตำแหน่ง 1700 กิโลเมตรใต้ผิวโลก หรือประมาณ 1 ใน 4 ของรัศมีของโลก ดวงจันทร์โคจรรอบโลกในเวลาประมาณ 27.3 วันตัวเลขอย่างละเอียดคือ คาบโคจรแท้จริงเฉลี่ยของดวงจันทร์ (sideral orbit) คือ 27.321661 วัน (27 วัน 7 ชั่วโมง 43 นาที 11.5วินาที) และคาบโคจรเฉลี่ยแบบทรอปิคัล (tropical orbit) อยู่ที่ 27.321582 วัน (27 วัน 7 ชั่วโมง 43 นาที 4.7 วินาที) (Explanatory Supplement to the Astronomical Ephemeris, 1961, at p.107).

ใหม่!!: ดาวพลูโตและดวงจันทร์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวบริวาร

วบริวาร (Natural satellite) คือ วัตถุตามธรรมชาติที่โคจรรอบดาวเคราะห์ ระบบสุริยะของเรามีดาวบริวารบริวารอยู่มากกว่า 140 ดวง โดยปกติดาวเคราะห์แก๊สที่มีขนาดใหญ่ น้ำหนักมาก จะมีดาวบริวารจำนวนมาก ดาวพุธและดาวศุกร์ไม่มีดาวบริวารแม้แต่ดวงเดียว โลกมี 1 ดวง คือดวงจันทร์ ดาวอังคารมีดาวบริวารขนาดเล็ก 2 ดวง.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและดาวบริวาร · ดูเพิ่มเติม »

ดาวบริวารของดาวพลูโต

วบริวารของดาวพลูโตมีทั้งหมด 5 ดวง ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 1 กิโลเมตร ได้แก่ แครอน สติกซ์ นิกซ์ เคอร์เบอรอส และไฮดรา โดย แครอนเป็นดาวบริวารที่ใหญ่ที่สุด โคจรไปพร้อมกับการหมุนรอบตัวเองของดาวพลูโต และมีมวลมากพอที่จะทำให้ระบบดาวพลูโต–แครอน เป็นดาวเคราะห์แคระคู.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและดาวบริวารของดาวพลูโต · ดูเพิ่มเติม »

ดาวพฤหัสบดี

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและดาวพฤหัสบดี · ดูเพิ่มเติม »

ดาวยูเรนัส

ซอร์วิลเลียม เฮอร์เชล ภาพจากยานวอยเอเจอร์ 2 แสดง ดาวยูเรนัส วงแหวน และดวงจันทร์บริวาร ดาวยูเรนัส (หรือ มฤตยู) เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 7 ในระบบสุริยะ จัดเป็นดาวเคราะห์แก๊ส มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 3.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและดาวยูเรนัส · ดูเพิ่มเติม »

ดาวอีริส

136199 อีริส (Eris) หรือ 2003 UB313 เป็นดาวเคราะห์แคระหนึ่งในวัตถุพ้นดาวเนปจูน (Trans-Neptunian Object - TNO) เป็นดาวเคราะห์แคระดวงใหญ่ เป็นลำดับที่ 2 ในระบบสุริยะที่ถูกค้นพบในปัจจุบัน มีขนาดเล็กกว่าดาวพลูโตเล็กน้อย มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1445 กิโลเมตร(ขนาดดาวพลูโต 1473 กิโลเมตร) มีดวงจันทร์บริวาร 1 ดวง ชื่อ ดิสโนเมีย (Dysnomia) อีริสถูกค้นพบโดย ไมเคิล อี. บราวน์และคณะ เมื่อวันที่ 5 มกราคม ค.ศ. 2005 จากภาพที่ถ่ายไว้เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 2003 ด้วยกล้องโทรทรรศน์ของหอดูดาวพาโลมาร์ รัฐแคลิฟอร์เนีย คณะผู้ค้นพบได้เสนอให้ตั้งชื่อดาวที่พบใหม่นี้ว่า ซีนา (Xena) ตามชื่อของละครโทรทัศน์ Xena: Warrior Princess โดยตัวอักษร X หมายถึง ดาวเคราะห์ X ที่เปอร์ซิวัล โลเวลล์ เคยเสนอไว้ และให้ดวงจันทร์บริวารของมันใช้ชื่อว่า แกเบรียลล์ (Gabrielle) แต่ไม่ได้มีการประกาศใช้ชื่อนี้อย่างเป็นทางการ ภายหลังการค้นพบ คณะผู้ค้นพบและนาซาได้ประกาศว่าอีริสเป็น ดาวเคราะห์ดวงที่ 10 แต่จากการประชุมสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล ที่กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ได้ข้อสรุปว่าอีริสไม่จัดเป็นดาวเคราะห์ แต่เป็นดาวเคราะห์แคระ ชื่อ อีริส มาจากชื่อของเทพเจ้าแห่งความวุ่นวาย ผู้วางอุบายโดยใช้แอปเปิลทองคำ เพื่อทำให้เฮรา อาเทนา และอะโฟรไดต์ ซึ่งเป็นสามเทวีพรหมจรรย์ในบรรดาเทพแห่งโอลิมปัสแตกคอกัน เพราะว่าไม่ได้เชิญนางมางานเลี้ยงของเทพ ส่วน ดิสโนเมีย คือชื่อธิดาของอีริส ไฟล์:Animation showing movement of 2003 UB313.gif|ภาพถ่าย 3 ภาพในระยะเวลา 3 ชั่วโมงที่ ไมเคิล อี.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและดาวอีริส · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเสาร์

วเสาร์ (Saturn) เป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 6 จากดวงอาทิตย์ ถัดจากดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์เป็นดาวแก๊สยักษ์ที่มีรัศมีเฉลี่ยมากกว่าโลกประมาณเก้าเท่า แม้ว่าจะมีความหนาแน่นเป็นหนึ่งในแปดของโลก แต่มวลของมันมีมากกว่าโลกถึง 95 เท่า ดาวเสาร์ตั้งชื่อตามเทพโรมันแห่งการเกษตร สัญลักษณ์ทางดาราศาสตร์ของดาวเสาร์ (♄) แทนเคียวของเทพเจ้า ดาวเสาร์มีรูปร่างป่องออกตามแนวเส้นศูนย์สูตร ที่เรียกว่าทรงกลมแป้น (oblate spheroid) เส้นผ่านศูนย์กลางตามแนวขั้วสั้นกว่าตามแนวเส้นศูนย์สูตรเกือบ 10% เป็นผลจากการหมุนรอบตัวเองอย่างรวดเร็ว ดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ก็มีลักษณะเป็นทรงกลมแป้นเช่นกัน แต่ไม่มากเท่าดาวเสาร์ ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวในระบบสุริยะ ที่มีความหนาแน่นเฉลี่ยน้อยกว่าน้ำ (0.70 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร) อย่างไรก็ตาม บรรยากาศชั้นบนของดาวเสาร์มีความหนาแน่นน้อยกว่านี้ ขณะที่ที่แกนมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำ วงแหวนของดาวเสาร์ประกอบไปด้วย เศษหินและน้ำแข็งขนาดเล็ก เรียงตัวอยู่ในระนาบเดียวกัน และวงแหวนของดาวเสาร์ก็ประกอบไปด้วย วงแหวนย่อยๆมากมาย ความจริงแล้ววงแหวนดาวเสาร์นั้นบางมาก โดยมีความหนาเฉลี่ยเพียง 500 กิโลเมตรเท่านั้น แต่เศษวัตถุในวงแหวนมีความสามารถในการสะท้อนแสงดี และกว้างกว่า 80,000 กิโลเมตร จึงสามารถสังเกตได้จากโลกของเร.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและดาวเสาร์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเคราะห์พ้นดาวเนปจูน

เปอร์ซิวัล โลเวลล์ ผู้ริเริ่มสมมติฐานดาวเคราะห์ X จากการค้นพบดาวเนปจูนในปี..

ใหม่!!: ดาวพลูโตและดาวเคราะห์พ้นดาวเนปจูน · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเคราะห์คล้ายโลก

วเคราะห์ชั้นในของระบบสุริยะ ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก และดาวอังคาร ขนาดเปรียบเทียบตามจริง ดาวเคราะห์คล้ายโลก (terrestrial planet) หรือบางครั้งเรียกว่า ดาวเคราะห์หิน (rocky planet) หรือ ดาวเคราะห์ชั้นใน (inner planet) หมายถึงดาวเคราะห์ที่มีองค์ประกอบพื้นฐานเป็นหินซิลิเกต ในระบบสุริยะจะหมายถึงดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์มาก และดาวเคราะห์ที่มีลักษณะภายนอก "คล้ายกับโลก"มาก ดาวเคราะห์คล้ายโลกจะมีองค์ประกอบพื้นฐานที่แตกต่างจากดาวเคราะห์แก๊สยักษ์อย่างเด่นชัด โดยที่ดาวเคราะห์แก๊สยักษ์จะไม่มีพื้นผิวเป็นของแข็งที่ชัดเจน และมีองค์ประกอบพื้นฐานส่วนมากเป็นไฮโดรเจน ฮีเลียม และน้ำ ในสถานะต่าง.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและดาวเคราะห์คล้ายโลก · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเคราะห์น้อย

วเคราะห์น้อย 253 แมธิลด์ เป็นดาวเคราะห์น้อยแบบ C-Type ดาวเคราะห์น้อย (Asteroid หรือบางครั้งเรียกว่า Minor Planet / Planetoid) คือวัตถุทางดาราศาสตร์ขนาดเล็กกว่าดาวเคราะห์ แต่ใหญ่กว่าสะเก็ดดาว (ซึ่งโดยปกติมักมีขนาดราว 10 เมตรหรือน้อยกว่า) และไม่ใช่ดาวหาง การแบ่งแยกประเภทเช่นนี้กำหนดจากภาพปรากฏเมื่อแรกค้นพบ กล่าวคือ ดาวหางจะต้องมีส่วนของโคม่าที่สังเกตเห็นได้ชัด และมีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อของดาวหางเอง ดาวเคราะห์น้อยมีลักษณะปรากฏคล้ายดวงดาว (คำว่า asteroid มาจากคำภาษากรีกว่า αστεροειδής หรือ asteroeidēs ซึ่งหมายถึง "เหมือนดวงดาว" มาจากคำภาษากรีกโบราณว่า Aστήρ หรือ astēr ซึ่งแปลว่า ดวงดาว) และมีการกำหนดเรียกชื่ออย่างคร่าวๆ ตามชื่อปีที่ค้นพบ จากนั้นจึงมีการตั้งชื่อตามระบบ (เป็นหมายเลขเรียงตามลำดับ) และชื่อ ถ้ามีการพิสูจน์ถึงการมีอยู่และรอบการโคจรเรียบร้อยแล้ว สำหรับลักษณะทางกายภาพของดาวเคราะห์น้อยโดยส่วนใหญ่ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด ดาวเคราะห์น้อยดวงแรกที่มีการตั้งชื่อคือ ซีรีส ค้นพบในปี พ.ศ. 2344 โดย จูเซปเป ปิอาซซี ซึ่งในช่วงแรกคิดว่าได้ค้นพบดาวเคราะห์ดวงใหม่ และกำหนดประเภทให้มันว่าเป็นดาวเคราะห์แคระ ซีรีสนับเป็นดาวเคราะห์น้อยดวงใหญ่ที่สุดเท่าที่เป็นที่รู้จักกันในปัจจุบัน และจัดอยู่ในประเภทดาวเคราะห์แคระ ส่วนดาวเคราะห์น้อยดวงอื่นๆ จัดเป็นวัตถุในระบบสุริยะขนาดเล็ก เซอร์วิลเลียม เฮอร์เชล (พ.ศ. 2281 - 2365 ผู้ค้นพบดาวยูเรนัส เมื่อ พ.ศ. 2324) เป็นผู้ประดิษฐ์คำศัพท์ "asteroid" ให้แก่วัตถุอวกาศชุดแรก ๆ ที่ค้นพบในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งทั้งหมดมีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์อยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี โดยส่วนใหญ่วงโคจรมักบิดเบี้ยวไม่เป็นวงรี แต่หลังจากนั้นมีการค้นพบดาวเคราะห์น้อยอยู่ระหว่างวงโคจรของดาวเคราะห์ต่างๆ นับตั้งแต่ดาวพุธไปจนถึงดาวเนปจูน และอีกหลายร้อยดวงอยู่พ้นจากดาวเนปจูนออกไป ดาวเคราะห์น้อยส่วนมากพบอยู่ในแถบดาวเคราะห์น้อย ซึ่งมีวงโคจรเป็นวงรีอยู่ระหว่างดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี เชื่อว่าดาวเคราะห์น้อยส่วนใหญ่เป็นซากที่หลงเหลือในจานดาวเคราะห์ก่อนเกิด ซึ่งไม่สามารถรวมตัวกันเป็นดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ได้ระหว่างการก่อกำเนิดระบบสุริยะเนื่องจากแรงโน้มถ่วงรบกวนจากดาวพฤหัสบดี ดาวเคราะห์น้อยบางดวงมีดาวบริวาร หรือโคจรระหว่างกันเองเป็นคู่ เรียกว่า ระบบดาวเคราะห์น้อยคู.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและดาวเคราะห์น้อย · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเคราะห์แคระ

แสดงวัตถุพ้นดาวเนปจูนขนาดใหญ่ ที่เป็นที่รู้จักแล้วในปัจจุบัน ดาวเคราะห์แคระ เป็นดาวชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายดาวเคราะห์ ตามการจำแนกชนิดดาวเคราะห์ที่เสนอโดยสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล (International Astronomical Union: IAU) เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2549.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและดาวเคราะห์แคระ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเนปจูน

วเนปจูน (Neptune) มีชื่อไทยว่า ดาวเกตุ เป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะลำดับสุดท้ายมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่เป็นอันดับที่ 4 รองจากดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และมีมวลเป็นลำดับที่ 3 รองจากดาวพฤหัสและดาวเสาร์ คำว่า "เนปจูน" นั้นตั้งชื่อตามเทพเจ้าแห่งท้องทะเลของโรมันเหนือ (กรีก: โปเซดอน) มีสัญลักษณ์เป็น (♆) ดาวเนปจูนมีสีน้ำเงิน เนื่องจากองค์ประกอบหลักของบรรยากาศผิวนอกเป็น ไฮโดรเจน ฮีเลียม และมีเทน บรรยากาศของดาวเนปจูน มีกระแสลมที่รุนแรง (2500 กม/ชม.) อุณหภูมิพื้นผิวอยู่ที่ประมาณ -220℃ (-364 °F) ซึ่งหนาวเย็นมาก เนื่องจาก ดาวเนปจูนอยู่ไกลดวงอาทิตย์มาก แต่แกนกลางภายในของดาวเนปจูน ประกอบด้วยหินและก๊าซร้อน อุณหภูมิประมาณ 7,000℃ (12,632 °F) ซึ่งร้อนกว่าพื้นผิวของดวงอาทิตย์ ยานวอยเอเจอร์ 2 เป็นยานอวกาศจากโลกเพียงลำเดียวเท่านั้น ที่เคยเดินทางไปถึงดาวเนปจูนเมื่อ 25 สิงหาคม..

ใหม่!!: ดาวพลูโตและดาวเนปจูน · ดูเพิ่มเติม »

ความละเอียดเชิงมุม

วามละเอียดเชิงมุม (Angular resolution) เป็นค่าที่บ่งบอกถึงระดับความละเอียดของอุปกรณ์ที่สร้างภาพแบบต่างๆ เช่น กล้องโทรทรรศน์วิทยุ กล้องไมโครสโคป กล้องถ่ายรูป หรือแม้แต่ดวงตาของมนุษย์ ระดับความละเอียด (Resolving power) เป็นความสามารถของอุปกรณ์สร้างภาพในการแยกแยะจุดแต่ละจุดของภาพวัตถุว่ามีมุมที่เหลื่อมล้ำกันอย่างไร คำว่า รีโซลูชั่น คือระยะทางน้อยที่สุดระหว่างวัตถุ (จุดหรือเส้น) ที่สามารถแยกภาพออกจากกันได้ แต่คำนี้ไม่ค่อยใช้กับกล้องไมโครสโคปหรือกล้องโทรทรรศน์เท่าใดนัก สำหรับในการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ คำว่า รีโซลูชั่น โดยมากจะหมายถึงความเที่ยงตรงของเครื่องมือวัดหรือเครื่องมือบันทึก (ในการบันทึกภาพหรือสเปกตรัม) มากกว.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและความละเอียดเชิงมุม · ดูเพิ่มเติม »

ความดันไอ

วามดันไอ (vapor pressure) คือ ความดัน (ถ้าไอถูกผสมด้วยก๊าซอื่น เรียก ความดันย่อย) ของไอ (ไอนี้เกิดจากโมเลกุลหรืออะตอมหนีจากของเหลวหรือของแข็ง) ที่อุณหภูมิกำหนดสำหรับสารเฉพาะ มีความดันที่ซึ่งไอของสารนั้นอยู่ในจุด สมดุล กับสถานะที่เป็น ของเหลว หรือ ของแข็ง ของมัน นี่คือ ความดันไอสมดุล (equilibrium vapor pressure) หรือ ความดันไออิ่มตัว (saturation vapor pressure) ของสาร ที่อุณหภูมินั้น คำว่าความดันไอบ่อยครั้งเข้าใจว่าเป็น ความดันไออิ่มตัว สารที่มีความดันไอสูงที่อุณหภูมิปกติเราเรียกภาวการณ์นี้ว่าระเหย (volatile).

ใหม่!!: ดาวพลูโตและความดันไอ · ดูเพิ่มเติม »

ความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจร

ตัวอย่างค่าความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจร ในทางฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจร (Orbital eccentricity) เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของวงโคจร มีความหมายถึงความเบี่ยงเบนไปจากวงกลมของวงโคจรของวัตถุนั้น คำนวณโดยลักษณะเดียวกับความเยื้องศูนย์กลางของภาคตัดกรวย โดยวงโคจรของวัตถุจะมีค่าความเยื้องศูนย์กลาง(e\,\!) ดังนี้.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจร · ดูเพิ่มเติม »

ความเร่ง

วามเร่ง คือ อัตราการเปลี่ยนแปลงความเร็วของวัตถุในช่วงเวลาหนึ่ง ที่จุดใดๆบนกราฟ v-t ความเร่งจะเท่ากับความชันของเส้นสัมผัสจุดนั้น ในฟิสิกส์ ความเร่ง (acceleration, สัญลักษณ์: a) คือ อัตราการเปลี่ยนแปลง (หรืออนุพันธ์เวลา) ของความเร็ว เป็นปริมาณเวกเตอร์ที่มีหน่วยเป็น ความยาว/เวลา² ในหน่วยเอสไอกำหนดให้หน่วยเป็น เมตร/วินาที² เมื่อวัตถุมีความเร่งในช่วงเวลาหนึ่ง ความเร็วของมันจะเปลี่ยนแปลงไป ความเร่งอาจมีค่าเป็นบวกหรือลบก็ได้ ซึ่งเรามักว่าเรียกความเร่ง กับ ความหน่วง ตามลำดับ ความเร่งมีนิยามว่า "อัตราการเปลี่ยนแปลงความเร็วของวัตถุในช่วงเวลาหนึ่ง" และกำหนดโดยสมการนี้ \mathbf.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและความเร่ง · ดูเพิ่มเติม »

ความเอียงของวงโคจร

แสดงความเอียงของวงโคจร ความเอียงของวงโคจร (inclination) เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของวงโคจร หมายถึงมุมระหว่างระนาบของวงโคจรกับระนาบอ้างอิง ความเอียงของวงโคจร เป็นหนึ่งใน 6 องค์ประกอบของวงโคจร ใช้อธิบายถึงรูปร่างและทิศทางของวงโคจรของวัตถุท้องฟ้า นับเป็นระยะเชิงมุมของระนาบวงโคจรเทียบกับระนาบอ้างอิง (โดยมากมักใช้เส้นศูนย์สูตรหรือเส้นสุริยวิถีของดาวฤกษ์แม่ในระบบ และมีหน่วยเป็นองศา) สำหรับระบบสุริยะ ความเอียงของวงโคจร (คือ i ในภาพด้านข้าง) ของดาวเคราะห์ดวงหนึ่งๆ จะเท่ากับมุมระหว่างระนาบของวงโคจรของดาวเคราะห์นั้นกับเส้นสุริยวิถี ซึ่งเป็นระนาบที่เป็นเส้นทางโคจรของโลก นอกจากนี้ยังสามารถวัดได้โดยเปรียบเทียบกับระนาบอื่นๆ เช่น เทียบกับเส้นศูนย์สูตรของดวงอาทิตย์ หรือเทียบกับระนาบโคจรของดาวพฤหัสบดี แต่การใช้เส้นสุริยวิถีในการอ้างอิงจะเหมาะสมกับผู้สังเกตการณ์บนโลกมากกว่า วงโคจรของดาวเคราะห์ส่วนใหญ่ในระบบสุริยะของเรามีค่าความเอียงของวงโคจรค่อนข้างน้อย ไม่ว่าจะเปรียบเทียบกันเองหรือเทียบกับเส้นศูนย์สูตรของดวงอาทิตย์ก็ตาม มีข้อยกเว้นก็เพียงในบรรดาดาวเคราะห์แคระ เช่น พลูโต และ อีรีส ซึ่งมีค่าความเอียงของวงโคจรเทียบกับสุริยวิถีสูงถึง 17 องศาและ 44 องศาตามลำดับ ดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่เช่น พัลลัส ก็มีความเอียงของวงโคจรสูงถึง 34 องศา สำหรับดาวเคราะห์นอกระบบ ยังไม่ค่อยมีการวัดความเอียงของวงโคจร ทราบได้แต่เพียงมวลต่ำสุดของมันเท่านั้น ซึ่งหมายถึง ดาวเคราะห์นอกระบบบางดวงที่แท้อาจเป็นดาวแคระน้ำตาล หรือเป็นดาวแคระแดงที่จางมากๆ ก็ได้ มีแต่เพียงดาวเคราะห์ที่ตรวจพบการเคลื่อนผ่าน และที่ตรวจจับด้วยวิธีมาตรดาราศาสตร์ จึงสามารถทราบถึงความเอียงของวงโคจร และบางทีอาจทราบถึงมวลที่แท้จริงได้ ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 2010 ข้างหน้านี้ น่าจะมีการตรวจวัดความเอียงของวงโคจรและมวลที่แท้จริงของดาวเคราะห์นอกระบบจำนวนมากได้เพิ่มขึ้น โดยใช้การสังเกตการณ์ในอวกาศผ่านปฏิบัติการต่างๆ เช่น Gaia mission, Space Interferometry Mission, และ กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและความเอียงของวงโคจร · ดูเพิ่มเติม »

คัลลิสโต

ัลลิสโต (Callisto) เป็นดาวบริวารดวงที่ 8 ของดาวพฤหัสบดีและเป็นหนึ่งในดวงจันทร์ของกาลิเลโอที่สี่ของดาวพฤหัสบดี ด้วยระยะทางรัศมีวงโคจรประมาณ 1,880,000 กิโลเมตร คัลลิสโตเป็นดาวบริวาร กาลิเลียน วงนอกสุด คัลลิสโตมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 99% ของเส้นผ่านศูนย์กลางของดาวพุธ แต่มีมวลเพียงประมาณหนึ่งในสามของดาวพุธ คัลลิสโต ประกอบไปด้วยหิน และน้ำแข็ง มีความหนาแน่นเฉลี่ยประมาณ 1.83 g/cm3 สารประกอบที่ตรวจพบบนพื้นผิวน้ำแข็ง ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์,ซิลิเกต และสารประกอบอินทรีย์ การตรวจสอบโดย ยานอวกาศกาลิเลโอ พบว่าคัลลิสโตอาจจะมีแกนซิลิเกตขนาดเล็ก และ และอาจจะมีมหาสมุทรใต้ดินในของเหลวน้ำที่ระดับความลึกมากกว่า 100 กิโลเมตร.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและคัลลิสโต · ดูเพิ่มเติม »

คาบการหมุนรอบตัวเอง

คาบการหมุนรอบตัวเอง คือ ระยะเวลาที่ดาวดวงหนึ่งหมุนรอบตัวเองจนครบ 1 รอบ เช่น โลกของเรามีคาบการหมุนรอบตัวเองประมาณ 24 ชั่วโมง เป็นต้น หมวดหมู่:กลศาสตร์ท้องฟ้า.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและคาบการหมุนรอบตัวเอง · ดูเพิ่มเติม »

คาร์บอน

ร์บอน (Carbon) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ C และเลขอะตอม 6 เป็นธาตุอโลหะที่มีอยู่มาก มีวาเลนซ์ 4 และมีหลายอัญรูป.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและคาร์บอน · ดูเพิ่มเติม »

คาร์บอนมอนอกไซด์

คาร์บอนมอนอกไซด์ มีสูตรทางเคมี "CO" เป็นก๊าซที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส แต่มีความเป็นอันตรายอย่างร้ายแรงต่อระบบลำเลียงเลือด โมเลกุลประกอบไปด้วยคาร์บอนหนึ่งอะตอมและออกซิเจนหนึ่งอะตอมเชื่อมกันด้วยพันธะโควาเลนต์ อาจจัดได้ว่าเป็นสารประกอบแอนไฮไดรด์อย่างหนึ่งของกรดฟอร์มิก ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของสารประกอบคาร์บอน โดยเฉพาะเครื่องยนต์สันดาปภายใน คาร์บอนมอนออกไซด์จะเกิดได้มากเมื่อออกซิเจนไม่เพียงพอในการสันดาป คาร์บอนมอนอกไซด์สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ เผาไหม้ในอากาศจะเกิดเปลวเพลิงสีน้ำเงินและให้คาร์บอนไดออกไซด์ออกมา แม้ว่าจะมีความเป็นพิษอย่างร้ายแรงคาร์บอนมอนออกไซด์ก็มีประโยชน์ในโลกปัจจุบันอย่างมากเพราะเป็นสารตั้งต้นในการผลิตผลิตภัณฑ์อย่างอื่นนานาชนิด หมวดหมู่:พิษวิทยา หมวดหมู่:สารเคมี.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและคาร์บอนมอนอกไซด์ · ดูเพิ่มเติม »

ค่าคงตัวความโน้มถ่วง

งตัวความโน้มถ่วงสากล (Gravitational constant; G) ค่าคงตัวทางฟิสิกส์ที่ใช้ในการคำนวณแรงโน้มถ่วงระหว่างวัตถุ 2 วัตถุ มักจะปรากฏอยู่ในกฎความโน้มถ่วงสากลของเซอร์ไอแซก นิวตัน และในทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ รู้จักในอีกชื่อว่าค่าคงตัวนิวตัน.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและค่าคงตัวความโน้มถ่วง · ดูเพิ่มเติม »

ตารางกิโลเมตร

ตารางกิโลเมตร คือหน่วยของพื้นที่ มักย่อว่า ตร.กม.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและตารางกิโลเมตร · ดูเพิ่มเติม »

ซูส

ซุส หรือ ซีอุส (Zeus; Ζεύς, Zeús ซฺเดอุส) ทรงเป็น "พระบิดาแห่งพระเจ้าและมนุษย์" (πατὴρ ἀνδρῶν τε θεῶν τε, patḕr andrōn te theōn te) ผู้ปกครองเทพโอลิมปัสแห่งยอดเขาโอลิมปัสดังบิดาปกครองครอบครัวตามศาสนากรีกโบราณ พระองค์ทรงเป็นเทพแห่งท้องฟ้าและสายฟ้าในเทพปกรณัมกรีก ซูสกับพระเจ้าจูปิเตอร์ของโรมันมาจากรากศัพท์เดียวกัน และกลายมามีความใกล้ชิดกันภายใต้อิทธิพลเฮเลนิสติก ซูสเป็นบุตรของโครนัสและรีอา และมีพระชนมายุน้อยที่สุด ในตำนานกล่าวว่า พระองค์สมรสกับฮีรา ทว่าที่ผู้พยาการณ์ที่ดอโดนา คู่สมรสของพระองค์คือ ไดโอนี ตามที่ระบุในอีเลียด พระองค์ทรงเป็นพระบิดาของแอโฟรไดที โดยไดโอนีเป็นพระมารดา พระองค์ทรงเป็นที่รู้จักในเรื่องกาม ซึ่งส่งผลให้พระองค์มีพระโอรสธิดาที่เป็นพระเจ้าและวีรบุรุษมากมาย รวมทั้งอะธีนา อะพอลโลและอาร์ทิมิส เฮอร์มีส เพอร์เซฟะนี ไดอะไนซัส เพอร์ซิอัส เฮราคลีส เฮเลนแห่งทรอย มิวส์ แอรีส ฮีบีและฮิฟีสตัส วอลเตอร์ เบอร์เกิร์ตบรรยายไว้ในหนังสือ ความเชื่อกรีกโบราณ ว่า "ซูสเป็นเทพบิดรของบรรดาเทวดาทั้งหลาย ทวยเทพทั้งหมดกำเนิดขึ้นเพราะมีพระองค์" ชาวกรีกเชื่อว่า พระองค์คือ เทพเจ้าสูงสุด, ผู้ครอบครองจักรวาล อ้างอิงโดย พอซาเนียส (นักภูมิศาสตร์) "ที่ซูสเป็นกษัตริย์ในสวรรค์เป็นคำที่มนุษย์ทุกคนทราบ" เฮซิออด กวี ธีโอโกนี ซูสได้จัดสรรมอบอำนาจให้เหล่าเทพ กวีโฮเมอริค พระองค์มีอำนาจปกครองสูงสุดในเหล่าเทพ สัญลักษณ์ของซูสคือ อัสนีบาตสายฟ้า, เหยี่ยว, กระทิง และต้นโอ๊ก นอกเหนือจากตำนานอินโด-ยูโรเปียน ฉายาตามตำนาน "ผู้รวบรวมเมฆ" (กรีก: Νεφεληγερέτα, Nephelēgereta) ได้รับมาจากสัญลักษณ์ตามวัฒนธรรมตะวันออกใกล้โบราณ ตัวอย่างเช่น คทาของกษัตริย์ ศิลปินชาวกรีกมักจะนำเสนอรูปปั้นเทพซูสใน ท่ายืนหรือท่วงท่าการก้าวไปข้างหน้า มีอัสนีบาตประดับในพระหัตถ์ขวา หรือประทับอยู่บนพระราชบัลลังก.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและซูส · ดูเพิ่มเติม »

ซีรีส

ซีรีส หรือ เซเรส (Ceres) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า 1 ซีรีส เป็นดาวเคราะห์น้อยดวงใหญ่ที่สุดและเป็นดาวเคราะห์แคระดวงเดียวในระบบสุริยะชั้นใน เป็นดาวเคราะห์น้อยดวงแรกที่ถูกค้นพบ โดยจูเซปเป ปีอาซซี นักดาราศาสตร์ชาวอิตาลี เมื่อวันที่ 1 มกราคม..

ใหม่!!: ดาวพลูโตและซีรีส · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิทินจูเลียน

ปฏิทินจูเลียน (Julian calendar; คำว่า จูเลียน แปลว่า แห่งจูเลียส) เป็นปฏิทินที่สร้างขึ้นโดยกงสุลจูเลียส ซีซาร์ แห่งโรมัน โดยปฏิรูปจากปฏิทินโรมัน เมื่อ 46 ปีก่อนคริสต์ศักราช มีผลบังคับใช้ในปีถัดไปคือ 45 ปีก่อนคริสต์ศักราช รอบปีหนึ่งของปฏิทินจูเลียนมี 12 เดือน มีจำนวนวันรวม 365 วัน นอกจากนี้เดือนกุมภาพันธ์จะเพิ่มอธิกวารทุก ๆ สี่ปี ดังนั้นรอบปีโดยเฉลี่ยต่อสี่ปีของปฏิทินจูเลียนเท่ากับ 365.25 วัน แรกเริ่มนั้นวันวสันตวิษุวัตตรงกับวันที่ 1 Martius (มีนาคม) จึงถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ ต่อมาในปี 153 ก่อน..

ใหม่!!: ดาวพลูโตและปฏิทินจูเลียน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศรัสเซีย

รัสเซีย (Russia; Росси́я) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธรัฐรัสเซีย (Russian Federation; a) เป็นประเทศในยูเรเชียเหนือ และเป็นประเทศใหญ่ที่สุดในโลก กว่า 10,000,000 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ที่สามารถอยู่อาศัยของโลกถึงหนึ่งในแปด รัสเซียยังเป็นชาติมีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 9 ของโลก โดยมีประชากร 143 ล้านคน รัสเซียปกครองด้วยระบอบสหพันธ์สาธารณรัฐกึ่งประธานาธิบดี ประกอบด้วย 83 เขตการปกครอง ไล่จากตะวันตกเฉียงเหนือถึงตะวันออกเฉียงใต้ รัสเซียมีพรมแดนติดกับนอร์เวย์ ฟินแลนด์ เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย และโปแลนด์ (ทั้งสองผ่านมณฑลคาลินินกราด) เบลารุส ยูเครน จอร์เจีย อาเซอร์ไบจาน คาซัคสถาน จีน มองโกเลียและเกาหลีเหนือ นอกจากนี้ยังมีพรมแดนทางทะเลติดกับญี่ปุ่นโดยทะเลโอฮอตสค์ และสหรัฐอเมริกาโดยช่องแคบแบริง อาณาเขตของรัสเซียกินเอเชียเหนือทั้งหมดและ 40% ของยุโรป แผ่ข้ามเก้าเขตเวลาและมีสิ่งแวดล้อมและธรณีสัณฐานหลากหลาย รัสเซียมีปริมาณทรัพยากรแร่ธาตุและพลังงานสำรองใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติอันดับหนึ่งของโลก เช่นเดียวกับผู้ผลิตน้ำมันอันดับหนึ่งทั่วโลก รัสเซียมีป่าไม้สำรองใหญ่ที่สุดในโลกและทะเลสาบในรัสเซียบรรจุน้ำจืดประมาณหนึ่งในสี่ของโลก ประวัติศาสตร์ของชาติเริ่มขึ้นด้วยชาวสลาฟตะวันออก ผู้ถือกำเนิดขึ้นเป็นกลุ่มที่โดดเด่นได้ในยุโรประหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 3 ถึงที่ 8 รัฐรุสในสมัยกลาง ซึ่งก่อตั้งและปกครองโดยอภิชนนักรบวารันเจียนและผู้สืบเชื้อสาย เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ใน..

ใหม่!!: ดาวพลูโตและประเทศรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอังกฤษ

อังกฤษ (England อิง(ก)ลันด์) หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ยๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน..

ใหม่!!: ดาวพลูโตและประเทศอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ปาสกาล

ปาสกาล ปาสคาล พาสคาล หรือ ปัสกัล (Pascal) อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและปาสกาล · ดูเพิ่มเติม »

นาซา

องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (National Aeronautics and Space Administration) หรือ นาซา (NASA) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) ตามรัฐบัญญัติการบินและอวกาศแห่งชาติ เป็นหน่วยงานส่วนราชการ รับผิดชอบในโครงการอวกาศและงานวิจัยห้วงอากาศอวกาศ (aerospace) ระยะยาวของสหรัฐอเมริกา คอยจัดการหรือควบคุมระบบงานวิจัยทั้งกับฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหาร ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 องค์การนาซาได้ประกาศภารกิจหลักคือการบุกเบิกอนาคตแห่งการสำรวจอวกาศ การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ และงานวิจัยทางการบินและอวกาศ คำขวัญขององค์การนาซาคือ "เพื่อประโยชน์ของคนทุกคน" (For the benefit of all).

ใหม่!!: ดาวพลูโตและนาซา · ดูเพิ่มเติม »

นิกซ์ (ดาวบริวาร)

นิกซ์ เป็นดาวบริวารของดาวพลูโต ถูกค้นพบร่วมกับไฮดรา เมื่อเดือนมิถุนายน..

ใหม่!!: ดาวพลูโตและนิกซ์ (ดาวบริวาร) · ดูเพิ่มเติม »

นิยามดาวเคราะห์ของไอเอยู

แผนภาพออยเลอร์แสดงถึงประเภทของวัตถุในระบบสุริยะ คำนิยามของดาวเคราะห์นิยามขึ้นที่กรุงปรากในปี..

ใหม่!!: ดาวพลูโตและนิยามดาวเคราะห์ของไอเอยู · ดูเพิ่มเติม »

นิวฮอไรซันส์

นิวฮอไรซันส์ (New Horizons; ท. ขอบฟ้าใหม่) เป็นยานสำรวจอวกาศระหว่างดาวเคราะห์ซึ่งปล่อยเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2549 เป็นส่วนหนึ่งของโครงการนิวฟรอนเทียส์ (New Frontiers) ของนาซา ยานสร้างโดย ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์ประยุกต์และสถาบันวิจัยเซาท์เวสต์ โดยทีมซึ่งมีเอ.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและนิวฮอไรซันส์ · ดูเพิ่มเติม »

นิส

นิส (Nice) เป็นเมืองในแคว้นพรอว็องซาลป์โกตดาซูร์ ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส ริมชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ระหว่างเมืองมาร์แซย์ของฝรั่งเศสกับเมืองเจนัวของอิตาลี มีประชากรอยู่ 347,060 คนโดยประมาณ ตามข้อมูลปี 2006 ถือเป็นเมืองการท่องเที่ยวและถือเป็นเมืองชั้นนำของรีสอร์ตแถบเฟรนช์ริเวียรา หมวดหมู่:เมืองในจังหวัดอาลป์-มารีตีม หมวดหมู่:เฟรนช์ริวีเอรา.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและนิส · ดูเพิ่มเติม »

แบรีเซนเตอร์

แครอน แบรีเซนเตอร์ (Barycenter) เป็นจุดศูนย์กลางมวลของวัตถุสองวัตถุหรือมากกว่าที่ซึ่งโคจรรอบซึ่งกันและกันหรือจุดรอบๆที่ซึ่งมันโคจร แบรีเซนเตอร์เป็นประเด็นสำคัญในดาราศาสตร์และฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ระยะทางจากจุดศูนย์กลางมวลของวัตถุถึงแบรีเซนเตอร์สามารถใช้คำนวณปัญหาสองวัตถุอย่างง่าย คำว่าแบรีเซนเตอร์มาจากคำในภาษากรีกว่า βαρύ-ς หนัก และ κέντρ-ον ศูนย์กลาง ในเรขาคณิต คำว่า "แบรีเซนเตอร์" มีความหมายเหมือนกับคำว่า เซนทรอยด์ ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของรูปเรขาคณิตสองมิต.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและแบรีเซนเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

แฟลกสแตฟฟ์ (รัฐแอริโซนา)

แฟลกสแตฟฟ์ (Flagstaff) เป็นเมืองทางตอนเหนือของรัฐแอริโซนา ทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา ในปี..

ใหม่!!: ดาวพลูโตและแฟลกสแตฟฟ์ (รัฐแอริโซนา) · ดูเพิ่มเติม »

แกนีมีด (ดาวบริวาร)

แกนีมีด (Ganymede) เป็นดาวบริวารดวงหนึ่งของดาวพฤหัสบดี และเป็นดาวบริวารที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ มีสนามแม่เหล็กสูง พื้นผิวหลายลักษณะแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงทางธรณีที่ชั้นผิวเปลือกอย่างซับซ้อนยาวนาน มีลักษณะสำคัญ 2 แบบ คือ พื้นที่เก่าแก่เป็นบริเวณมืดคล้ำเต็มไปด้วยหลุมอุกกาบาต ขรุขระ เป็นแอ่งลึก กับพื้นที่ใหม่เป็นบริเวณที่ราบเรียบ สว่างกว่า มีน้ำแข็งติดกับดินหิน บางพื้นที่เป็นรอยแยกยาวเหยียด แกนีมีดเป็นหนึ่งในดวงจันทร์ของกาลิเลโอที่ค้นพบโดยกาลิเลโอ กาลิเลอี เมื่อ 7 มกราคม ค.ศ. 1610 ตั้งชื่อตามเทพแกนีมีดในตำนานเทพเจ้ากรีก ผู้เป็นที่รักของเทพซู.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและแกนีมีด (ดาวบริวาร) · ดูเพิ่มเติม »

แก๊สเรือนกระจก

ice core) ล่าง: ปริมาณสุทธิของคาร์บอนที่เพิ่มในบรรยากาศเปรียบเทียบกับคาร์บอนที่ปลดปล่อยจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ (fossil fuel) แก๊สเรือนกระจก (greenhouse gas) หรือบางครั้งเรียกย่อๆว่า GHG คือแก๊สในบรรยากาศที่ดูดซับและปลดปล่อยรังสีภายในช่วงความถี่(คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า)อินฟราเรดร้อน (thermal infrared range) ทำให้เกิดการสูญเสียความร้อนบางส่วนออกสู่ห้วงอวกาศภายนอกและปลดปล่อยความร้อนกลับสู่พื้นผิวโลก ขบวนการนี้จึงเป็นสาเหตุพื้นฐานของปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse effect) แก๊สเรือนกระจกมีความจำเป็นและมีความสำคัญต่อการรักษาระดับอุณหภูมิของโลก หากปราศจากแก๊สเรือนกระจก โลกจะหนาวเย็นจนสิ่งมีชีวิตอยู่อาศัยไม่ได้ อุณหภูมิในโลกจะต่ำกว่าปัจจุบันที่ 14 °C (57 °F) ลงอีก 33 °C (59 °F) แต่การมีแก๊สเรือนกระจกมากเกินไปก็เป็นเหตุให้อุณหภูมิสูงขึ้นถึงระดับเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตดังที่เป็นอยู่กับบรรยากาศของดาวศุกร์ซึ่งมีบรรยากาศที่ประกอบด้วยคาร์บอนไดออกไซด์มากถึงร้อยละ 96.5 มีผลให้อุณหภูมิผิวพื้นร้อนมากถึง 467 °C (872 °F) คำว่า “แก๊สเรือนกระจก” บนโลกหมายถึงแก๊สต่างๆ เรียงตามลำดับความอุดมคือ ไอน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไนตรัสออกไซด์ โอโซน และ คลอโรฟลูโอโรคาร์บอน (Chlorofluorocarbon) แก๊สเรือนกระจกเกิดเองตามธรรมชาติและจากกระบวนการอุตสาหกรรมซึ่งปัจจุบันทำให้ระดับคาร์บอนไดออกไซด์มีในบรรยากาศ 380 ppmv และที่ปรากฏในแกนน้ำแข็งตัวอย่าง (ดูแผนภูมิ) จะเห็นว่าระดับของคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศปัจจุบันสูงกว่าระดับเมื่อก่อนยุคอุตสาหกรรมประมาณ 100 ppmv.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและแก๊สเรือนกระจก · ดูเพิ่มเติม »

แก่นโลก

รงสร้างภายในของดาวเคราะห์ แก่นโลก (Core) เป็นแกนกลางของโลก โดยอยู่ถัดเข้าไปจากเปลือกโลกและเนื้อโลก สามารถแบ่งได้สองส่วนคือ.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและแก่นโลก · ดูเพิ่มเติม »

แถบหินกระจาย

แถบหินกระจาย (scattered disc) คือย่านวัตถุไกลในระบบสุริยะที่มีดาวเคราะห์น้ำแข็งขนาดเล็กกระจัดกระจายอยู่ห่างๆ กัน เรียกชื่อว่า วัตถุในแถบหินกระจาย (scattered disc objects; SDO) ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยอยู่ในบรรดาตระกูลวัตถุพ้นดาวเนปจูน (trans-Neptunian object; TNO) วัตถุในแถบหินกระจายมีค่าความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจรสูงสุดถึง 0.8 ความเอียงวงโคจรสูงสุด 40° มีระยะไกลดวงอาทิตย์ที่สุดมากกว่า 30 หน่วยดาราศาสตร์ วงโคจรที่ไกลมากขนาดนี้เชื่อว่าเป็นผลจากแรงโน้มถ่วงที่กระจัดกระจายโดยดาวแก๊สยักษ์ หมวดหมู่:วัตถุพ้นดาวเนปจูน หมวดหมู่:ระบบสุริยะ.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและแถบหินกระจาย · ดูเพิ่มเติม »

แถบไคเปอร์

กราฟิกแสดงแถบไคเปอร์ และเมฆออร์ต ภาพแสดงวัตถุพ้นดาวเนปจูนขนาดใหญ่ ที่เป็นที่รู้จักแล้วในปัจจุบัน ยานนิวฮอไรซันส์ ที่ใช้ในการสำรวจแถบไคเปอร์ และดาวพลูโต แถบไคเปอร์ (Kuiper Belt) หมายถึง บริเวณที่อยู่เลยวงโคจรของดาวเนปจูนออกไป ที่ด้านนอกระบบสุริยะรอบนอก มีบริเวณกว้าง 3,500 ล้านไมล์ มีก้อนวัตถุแข็ง เป็นน้ำแข็งขนาดเล็กจำนวนมากโคจรรอบดวงอาทิตย์ ลักษณะคล้ายกับแถบดาวเคราะห์น้อย ที่อยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี วัตถุที่อยู่ในแถบไคเปอร์ มีชื่อเรียกว่า วัตถุแถบไคเปอร์ (Kuiper Belt Object - KBO) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า วัตถุพ้นดาวเนปจูน (Trans-Neptunian Object - TNO) ซึ่งมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นน้ำแข็ง เชื่อกันว่าก้อนน้ำแข็งเหล่านี้ เป็นแหล่งกำเนิดของดาวหางคาบสั้น โดยชื่อแถบไคเปอร์นี้ ได้ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่ เจอราร์ด ไคเปอร์ ผู้ค้นพบ เดิมทีวัตถุที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่ถูกค้นพบในแถบไคเปอร์ คือ ดาวพลูโต ซึ่งถูกค้นพบเมื่อ..

ใหม่!!: ดาวพลูโตและแถบไคเปอร์ · ดูเพิ่มเติม »

แครอน (ดาวบริวาร)

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและแครอน (ดาวบริวาร) · ดูเพิ่มเติม »

โมเมนตัมเชิงมุม

วามสัมพันธ์ระหว่างแรง (F) แรงบิด (τ) และเวกเตอร์โมเมนตัม (p และ L) ในระบบหมุนแห่งหนึ่ง ในทางฟิสิกส์ โมเมนตัมเชิงมุมของวัตถุรอบจุดกำเนิด (Angular Momentum) คือปริมาณเวกเตอร์ที่แสดงถึงการหมุนของวัตถุ มีค่าเท่ากับมวลของวัตถุคูณกับผลคูณเชิงเวกเตอร์ของเวกเตอร์ตำแหน่งและเวกเตอร์ความเร็ว (หรือผลคูณระหว่างโมเมนต์ความเฉื่อยกับความเร็วเชิงมุม) โมเมนตัมเชิงมุมเป็นปริมาณอนุรักษ์ กล่าวคือมันจะมีค่าคงที่เสมอจนกว่าจะมีแรงบิดภายนอกมากระทำ คุณลักษณะการอนุรักษ์ของโมเมนตัมเชิงมุมช่วยอธิบายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติหลายประการ โมเมนตัมเชิงมุมนั้นเป็นผลระหว่างระยะห่างของวัตถุหรืออนุภาคกับแกนหมุน (r) คูณกับ โมเมนตัมเชิงเส้น (p).

ใหม่!!: ดาวพลูโตและโมเมนตัมเชิงมุม · ดูเพิ่มเติม »

โลก

"เดอะบลูมาร์เบิล" ภาพถ่ายดาวเคราะห์โลกจากยาน ''อพอลโล 17'' โลก (loka; world) มีความหมายโดยปริยายหมายถึงหมู่มนุษย์ รวมทั้งอารยธรรมมนุษย์โดยรวมทั้งหมด โดยเฉพาะในด้านประสบการณ์ ประวัติศาสตร์ หรือสภาพของมนุษย์โดยทั่ว ๆ ไป ทั้งนี้ คำว่า ทั่วโลก หมายถึงสถานที่ใด ๆ บนดาวเคราะห์โลก ในทางปรัชญามองโลกอยู่ 2 แบบ คือ.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและโลก · ดูเพิ่มเติม »

โครนัส

เทพโครนัส โครนัส หรือ โครนอส (Cronus หรือ Kronus, /kroʊnəs/; ภาษากรีกโบราณ: Κρόνος, Krónos) เป็นผู้นำเหล่ายักษ์ไททัน (Titan) รุ่นแรกที่มีอายุน้อยที่สุด ซึ่งเป็นทายาทของเทพีไกอา (Gaia) พระแม่ธรณี และเทพบิดายูเรนัส (Uranus) เทพแห่งท้องฟ้า เทพโครนัสได้โค่นบัลลังก์ของพระบิดา (เทพยูเรนัส) และขึ้นครองบัลลังก์ในช่วงยุคทอง จนกระทั่งถูกโค่นบัลลังก์โดยพระโอรสของตน คือ เทพซูส (Zeus) เทพโครนัสมิได้ถูกจองจำในยมโลกทาร์ทารัส (Tartarus) เหมือนเช่นไททันตนอื่น ๆ แต่เขากลับหลบหนีไปได้ ด้วยเหตุที่ว่าเทพโครนัสมีความเกี่ยวเนื่องกับยุคทองของเขาจึงได้รับการสักการะในฐานะเทพแห่งฤดูเก็บเกี่ยว ซึ่งรวมไปถึงการเก็บเกี่ยวพืชผลเช่น ข้าว ธรรมชาติ ผลผลิตทางการเกษตร และการเดินไปข้างหน้าของกาลเวลาที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ ภาพของเทพโครนัสมักถือเคียวไว้ในมือ ซึ่งพระองค์ใช้ในการเก็บเกี่ยวพืชผล และเป็นอาวุธที่พระองค์ใช้โค่นบัลลังก์เทพยูเรนัส ในกรุงเอเธนส์ (Athens) วันที่ 12 ของทุกๆ เดือน ถูกเรียกว่าวันฮีคาทอมบาเอียน (Hekatombaion) ซึ่งจะมีงานเทศกาลชื่อว่า เทศกาลโครเนีย (Kronia) จะจัดขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่เทพโครนัสสำหรับฤดูเก็บเกี่ยว พระนามของเทพโครนัสในตำนานเทพปกรณัมโรมันคือ เทพแซเทิร์น (Saturn) หมวดหมู่:เทพไททัน.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและโครนัส · ดูเพิ่มเติม »

ไลเบรชัน

ำลองมุมมองของดวงจันทร์ในช่วงระยะเวลาหนึ่งเดือน แสดงให้เห็นถึงการเกิดไลเบรชันทั้งละติจูดและลองจิจูด ในทางดาราศาสตร์ ไลเบรชัน (libration) คือรูปแบบการโคจรของดวงจันทร์ซึ่งทำให้สามารถเห็นพื้นผิวได้เกินกว่าร้อยละ 50 ของพื้นผิวทั้งหมดในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ถึงแม้ว่าดวงจันทร์จะหันด้านใกล้เข้าหาโลกเสมอเนื่องจากไทดัลล็อก (tidal locking) ไลเบรชันสามารถใช้อธิบายปรากฏการณ์เดียวกันกับวัตถุโคจรอื่นๆ ซึ่งถูกล็อกให้แสดงให้เห็นเพียงด้านเดียว ในขณะที่การโคจรเกิดซ้ำไปซ้ำมา ไลเบรชันจะปรากฏขึ้นโดยเป็นการโยกไปข้างหน้าแล้วไปข้างหลัง (หรือขึ้นแล้วลง) ของผิวหน้าวัตถุซึ่งสามารถสังเกตได้จากวัตถุแม่ ดังเช่นการโยกไปมาของตาชั่งรอบจุดสมดุล ในกรณีเฉพาะของการเกิดไลเบรชันของดวงจันทร์ ภาพเคลื่อนไหวแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงมุมมองของพื้นผิวดวงจันทร์ไปอย่างช้าๆ ในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน แสดงว่าพื้นผิวของดวงจันทร์ถึงร้อยละ 59 สามารถสังเกตได้จากโลก การเกิดไลเบรชันสามารถเกิดได้สามกรณี.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและไลเบรชัน · ดูเพิ่มเติม »

ไอแอพิตัส (ดาวบริวาร)

อแอพิตัส (Ιαπετός) บางครั้งบางคราวก็เรียกว่า เจพิตัส,.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและไอแอพิตัส (ดาวบริวาร) · ดูเพิ่มเติม »

ไอโอ (ดาวบริวาร)

อโอ ไอโอ (Io, Ἰώ) เป็นดาวบริวารของดาวพฤหัสบดี เป็นดวงที่อยู่ในสุดในกลุ่มดวงจันทร์ของกาลิเลโอที่ค้นพบโดยกาลิเลโอ กาลิเลอี เมื่อวันที่ 7 มกราคม..

ใหม่!!: ดาวพลูโตและไอโอ (ดาวบริวาร) · ดูเพิ่มเติม »

ไฮดรา (ดาวบริวาร)

รา (Ύδρα) เป็นดาวบริวารที่ไกลที่สุดเป็นอันดับสองของดาวพลูโต ถูกค้นพบร่วมกับนิกซ์ เมื่อเดือนมิถุนายน..

ใหม่!!: ดาวพลูโตและไฮดรา (ดาวบริวาร) · ดูเพิ่มเติม »

ไทรทัน (ดาวบริวาร)

ทรทัน ไทรทัน (Triton) เป็นดาวบริวารที่ใหญ่ที่สุดของดาวเนปจูน เป็นสถานที่เพียงหนึ่งในสามแห่งในระบบสุริยะ ที่มีก๊าซไนโตรเจนในบรรยากาศ นอกเหนือจากโลก และดาวบริวารไททัน (Titan Moon) ของดาวเสาร์ ไทรทันมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2,707 ก.ม. มีอุณหภูมิพื้นผิวประมาณ -235 องศาเซลเซียส (35 เคลวิน) สภาพภูมิประเทศเป็นหุบเหวและร่องลึกมากมาย เนื่องจากอุณหภูมิที่ต่ำทำให้เกิดน้ำแข็ง และน้ำแข็งละลายกลับไปกลับมาซ้ำแล้วซ้ำเล่า นอกจากนั้นยังมีภูเขาไฟน้ำแข็ง (Ice Valcanoes) ที่พ่นน้ำพุแรงดันสูง ประกอบด้วยไนโตรเจนเหลว มีเทนแข็ง และฝุ่นที่เย็นจัดขึ้นไปกว่า 8 กิโลเมตร เหนือพื้นผิวของดาวบริวาร ลักษณะพื้นผิวดาวบริวารจะแวววาวจากหินแข็ง โดยมีส่วนผสมด้วยละอองอนุภาคสีดำขนาดเล็ก ถูกหุ้มด้วยผลึกน้ำแข็ง (เกิดจาก Ice carbonaceous) มีส่วนประกอบของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ไนโตรเจน และก๊าซมีเทน ฟุ้งกระจายเป็นหมอกบางๆ เหนือพื้น โดยมีน้ำแข็งทั้งหมดประมาณ 25% ไทรทันเป็นวัตถุแถบไคเปอร์ (Kuiper Belt Object) มีถิ่นกำเนิดอยู่บริเวณขอบของระบบสุริยะ เลยวงโคจรของดาวพลูโต ออกไปและถูกดาวเนปจูนดูดจับเข้ามาเป็นบริวาร รูปทรงสัณฐานของไทรทันที่สังเกตเห็น จะมีแนวเฉดฟ้าอ่อนจาก Nitrogen ice เช่นเดียวกับไอของน้ำแข็งแห้ง.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและไทรทัน (ดาวบริวาร) · ดูเพิ่มเติม »

ไททัน (ดาวบริวาร)

ไททัน (Titan) คือ ดาวบริวารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของดาวเสาร์ มีระยะห่างจากดาวเสาร์เป็นลำดับที่ 20 เป็นดาวบริวารดวงเดียวที่เป็นที่ทราบกันว่ามีชั้นบรรยากาศที่หนาแน่น และเป็นวัตถุเพียงชนิดเดียวนอกจากโลกที่มีการค้นพบว่ามีร่องรอยของน้ำอยู่บนดาว ไททันมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่าดาวบริวารของโลกประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ และมีมวลมากกว่าประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ เป็นดาวบริวารที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ในระบบสุริยะ รองจากดาวบริวารแกนีมีดของดาวพฤหัสบดี และมีขนาดใหญ่กว่าดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุดซึ่งคือ ดาวพุธ (ถึงแม้ว่าจะมีมวลน้อยกว่าเพียงครึ่งเดียวก็ตาม) ผู้คนได้รู้ว่าไททันเป็นดาวบริวารดวงแรกของดาวเสาร์ หลังจากที่ถูกค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2198 (ค.ศ. 1655) โดยคริสตียาน เฮยเคินส์ (Christiaan Huygens) นักดาราศาสตร์ชาวดัตช์ ไททันประกอบด้วยน้ำ น้ำแข็ง และหินเป็นหลัก ด้วยความหนาแน่นของชั้นบรรยากาศของไททัน ทำให้เราไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับพื้นผิวของมันมากนัก จนกระทั่งยานอวกาศ "กัสซีนี-เฮยเคินส์" (Cassini–Huygens) ได้เดินทางไปถึงในปี พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) รวมถึงการค้นพบทะเลสาบไฮโดรคาร์บอนเหลว บริเวณขั้วของดาวโดยดาวเทียม ลักษณะของพื้นผิวนั้น ทางธรณีวิทยาถือว่ายังค่อนข้างใหม่ ถึงแม้ว่าจะประกอบด้วยภูเขาและภูเขาไฟน้ำแข็ง (cryovolcano) ก็ตาม ชั้นบรรยากาศของไททันประกอบด้วยไนโตรเจนเป็นส่วนใหญ่ สภาพอากาศจะมีเมฆมีเทนและอีเทน ลมและฝน ซึ่งทำให้เกิดสภาพพื้นผิวที่มีลักษณะคล้ายกับโลกของเรา เช่น ทะเลทราย และแนวชายฝั่ง หมวดหมู่:ดาวบริวารของดาวเสาร์ หมวดหมู่:วัตถุทางดาราศาสตร์ที่ค้นพบในปี พ.ศ. 2198.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและไททัน (ดาวบริวาร) · ดูเพิ่มเติม »

ไคลด์ ทอมบอ

ทอมบอในไร่นาของครอบครัวกับกล้องโทรทรรศน์ทำเอง ไคลด์ วิลเลียม ทอมบอ (Clyde William Tombaugh; 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2449 – 17 มกราคม พ.ศ. 2540) นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกันผู้ค้นพบดาวเคราะห์แคระพลูโตเมื่อ พ.ศ. 2473 ทอมบอ เกิดที่เมืองสเตรเตอร์ รัฐอิลลินอยส์ ครอบครัวยากจนเกินกว่าที่จะส่งทอมบอ เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยได้ หลังจากครอยครัวย้ายไปเมืองอยู่ที่รัฐแคนซัส ทอมบอ ได้สร้างกล้องโทรทัศน์ขึ้นด้วยตนเองเพื่อใช้ส่องดูดาว จากการส่งภาพวาดดาวพฤหัสและดาวอังคารที่เขาศึกษาจากกล้องทำเองไปให้สถาบันหอดูดาวโลเวลล์ดู ทอมบอจึงได้งานเป็นผู้ช่วยนักดาราศาสตร์ที่นั่นแลได้ค้นพบดาวพลูโตดังกล่าวเมื่อ..

ใหม่!!: ดาวพลูโตและไคลด์ ทอมบอ · ดูเพิ่มเติม »

ไนโตรเจน

นโตรเจน (Nitrogen) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ N และเลขอะตอม 7 เป็นอโลหะที่มีสถานะเป็นแก๊สที่มีอยู่ทั่วไป โดยปกติไม่มีสี กลิ่น หรือรส แต่ละโมเลกุลมี 2 อะตอม ไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบของบรรยากาศ ของโลกถึง 78 เปอร์เซ็นต์ และเป็นส่วนประกอบของเนื้อเยื่อในสิ่งมีชีวิต นอกจากนี้ไนโตรเจนยังเป็นส่วนประกอบในสารประกอบที่สำคัญหลายชนิด เช่น กรดอะมิโน แอมโมเนีย กรดไนตริก และสารจำพวกไซยาไน.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและไนโตรเจน · ดูเพิ่มเติม »

เวสโต สลิเฟอร์

วสโต เมลวิน สลิเฟอร์ (Vesto Melvin Slipher; 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1875 - 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 1969) เป็นนักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน น้องชายของเขาคือ เอิร์ล ซี.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและเวสโต สลิเฟอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เจอราร์ด ปีเตอร์ ไคเปอร์

อราร์ด ปีเตอร์ ไคเปอร์ (Gerard Peter Kuiper) ชื่อเกิดคือ แคร์ริต ปีเตอร์ เกยเปอร์ (Gerrit Pieter Kuiper; 7 ธันวาคม พ.ศ. 2448 — 23 ธันวาคม พ.ศ. 2516) เป็นนักดาราศาสตร์ชาวดัตช์สัญชาติอเมริกัน เป็นผู้ค้นพบดาวเคราะห์น้อยในแถบไคเปอร์ รวมทั้งเทหวัตถุและสภาพของเทหวัตถุมากมาย ซึ่งช่วยขยายความเข้าใจในระบบสุริยะและดาวเคราะห์ในระบบสุร.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและเจอราร์ด ปีเตอร์ ไคเปอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เดอะนิวยอร์กไทมส์

อะนิวยอร์กไทมส์ (The New York Times) เป็นหนังสือพิมพ์รายวันที่ตีพิมพ์ในนครนิวยอร์กและจัดจำหน่ายไปทั่วโลก จัดการโดยบริษัทเดอะนิวยอร์กไทมส์ซึ่งตีพิมพ์หนังสือพิมพ์อื่นๆอีก 15 ฉบับ รวมถึง International Herald Tribune และ The Boston Globe ด้วย เดอะนิวยอร์กไทมส์เป็นหนังสือพิมพ์มหานครที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา มีฉายาว่า "Gray Lady" (สุภาพสตรีสีเทา) ก็เพราะหน้าตาและสำนวนที่ขรึมขลัง ถูกเรียกว่าเป็นหนังสือพิมพ์ที่บันทึกแห่งการณ์ต่างๆของชาติ เพราะมันมักถูกใช้เป็นแหล่งอ้างอิงที่เป็นทางการและได้รับความเชื่อถือ ก่อตั้งเมื่อ..

ใหม่!!: ดาวพลูโตและเดอะนิวยอร์กไทมส์ · ดูเพิ่มเติม »

เดอะไทมส์

อห์น วอลเทอร์ ผู้ก่อตั้งและบรรณาธิการคนแรก เดอะไทมส์ (The Times) เป็นหนังสือพิมพ์รายวันภาษาอังกฤษ ที่ตีพิมพ์ในสหราชอาณาจักรตั้งแต่ ค.ศ. 1785 เดิมใช้ชื่อว่า The Daily Universal Register ก่อตั้งโดยจอห์น วอลเทอร์ ตีพิมพ์ฉบับแรกวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1785 และเปลี่ยนชื่อเป็น The Times ตั้งแต่ฉบับที่ 941 วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1788 ในปี..

ใหม่!!: ดาวพลูโตและเดอะไทมส์ · ดูเพิ่มเติม »

เคลวิน

ลวิน (kelvin, สัญลักษณ์: K) เป็นหน่วยวัดอุณหภูมิหนึ่ง และเป็นหน่วยพื้นฐานหนึ่งในเจ็ดของระบบเอสไอ นิยามให้เท่ากับ 1/273.16 เท่าของอุณหภูมิเทอร์โมไดนามิกของจุดสามสถานะของน้ำ เคลวินตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแต่นักฟิสิกส์และวิศวกรชาวอังกฤษ วิลเลียม ทอมสัน บารอนที่หนึ่งแห่ง เคลวิน (William Thomson, 1st Baron Kelvin) ซึ่งชื่อบรรดาศักดิ์นี้ตั้งตามชื่อ แม่น้ำเคลวิน อีกทีหนึ่ง แม่น้ำสายนี้ตัดผ่านมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ สกอตแลนด์ เคลวิน เป็นหน่วยของหน่วยวัดอุณหภูมิหนึ่ง ที่ลอร์เควิน ได้พัฒนาคิดสเกลขึ้นใหม่ โดยหาความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิและความเร็วของอิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่รอบนิวเคลียส โดยสังเกตว่าถ้าให้ความร้อนกับสสารมากขึ้น อิเล็กตรอนจะมีพลังงานมากขึ้น ทำให้เคลื่อนที่มีความเร็วมากขึ้น ในทางกลับกันถ้าลดความร้อนให้กับสสาร อิเล็กตรอนก็จะมีพลังงานน้อยลง ทำให้การเคลื่อนที่ลดลง และถ้าสามารถลดอุณหภูมิลงจนถึงจุดที่อิเล็กตรอนหยุดการเคลื่อนที่ ณ จุดนั้น จะไม่มีอุณหภูมิหรือพลังงานในสสารเลย และจะไม่มีการแผ่รังสีความร้อนจากวัตถุ จึงเรียกอุณหภูมิ ณ จุดนี้ว่า ศูนย์สัมบูรณ์ (0 K) หมวดหมู่:หน่วยฐานเอสไอ หมวดหมู่:หน่วยวัดอุณหภูมิ.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและเคลวิน · ดูเพิ่มเติม »

เคอร์เบอรอส (ดาวบริวาร)

อร์เบอรอส (Kerberos) เดิมชื่อ เอส/2011 (134340) 1 หรือ พี 4 เป็นดาวบริวารขนาดเล็กของดาวพลูโต มีการประกาศการค้นพบเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม..

ใหม่!!: ดาวพลูโตและเคอร์เบอรอส (ดาวบริวาร) · ดูเพิ่มเติม »

เปอร์ซิวัล โลเวลล์

เปอร์ซิวัล โลเวลล์ กำลังสังเกตการณ์ดาวอังคารที่หอดูดาวของเขาเอง เปอร์ซิวัล โลเวลล์ เปอร์ซิวัล โลเวลล์ (Percival Lowell; ค.ศ. 1855 - 1916) นักธุรกิจผู้มั่งคั่ง ได้หลงเสน่ห์ของดาวอังคาร เขาจึงสร้างหอดูดาวของตนเองที่เมืองแฟล็กสตาฟฟ์ รัฐแอริโซนา สหรัฐอเมริกา เพื่อศึกษาดาวอังคารโดยเฉพาะ โลเวลล์เชื่อว่า เขาเห็นระบบของเส้นที่ลากโยงไปมาจำนวนมากบนผิวของดาวอังคาร และคิดว่าเป็นคลองขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นมาสำหรับส่งน้ำ โดยชาวดาวอังคารผู้มีความรู้ความสามารถ คนทั่วไปเห็นด้วยกับความคิดของโลเวลล์ เป็นเวลานับแรมปีที่ผู้คนคิดว่าบนดาวอังคารอาจมีคนอยู่ ใน ค.ศ. 1897 เอช.จี. เวลส์ ได้เขียนนวนิยายเรื่อง วอร์ออฟเดอะเวิลด์ส (War of the Worlds) โดยมีเค้าโครงเรื่องตามความเชื่อของโลเวลล์ ทุกวันนี้เรารู้ว่าเส้นสายต่าง ๆ ที่โลเวลล์เห็นบนดาวอังคารนั้นไม่มีอยู่จริง หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2398 หมวดหมู่:นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน หมวดหมู่:การสำรวจอวกาศ หมวดหมู่:บุคคลจากรัฐแอริโซนา หมวดหมู่:บุคคลจากรัฐแมสซาชูเซตส์.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและเปอร์ซิวัล โลเวลล์ · ดูเพิ่มเติม »

เนื้อโลก

หน้าตัดของโลกทั้งหมด เนื้อโลก (mantle) เป็นชั้นโครงสร้างของโลกที่อยู่ระหว่างเปลือกโลกกับแก่นโลก นอกจากนี้เรายังสามารถพบชั้นหินในลักษณะเดียวกับชั้นเนื้อโลกหรือแมนเทิลนี้ได้ในดาวเคราะห์หินทั่วไป สำหรับชั้นแมนเทิลของดาวเคราะห์โลกนี้มีความหนาประมาณ 2,885 กิโลเมตร ซึ่งนับเป็นองค์ประกอบร้อยละ 84 ของปริมาตรทั้งหมดของโลก ส่วนประกอบหลักของชั้นเนื้อโลกส่วนใหญ่เป็นแมกนีเซียมและเหล็ก เกือบทั้งหมดมีสถานะเป็นของแข็ง ยกเว้นที่ความลึกประมาณ 70-260 กิโลเมตรหรือที่เรียกว่าฐานธรณีภาค (asthenosphere) ในชั้นนี้มีการหลอมละลายของหินเป็นบางส่วน.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและเนื้อโลก · ดูเพิ่มเติม »

เนปทูเนียม

นปทูเนียม (Neptunium)เป็นธาตุกลุ่มแอคติไนต์ธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 93 สัญลักษณ์ Np เป็นธาตุโลหะหนัก กัมมันตภาพรังสี อยู่ในกลุ่มแอกทิไนด์ (actinide group) และเป็นธาตุทรานซูแรนิค (transuranic element) เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่ไม่ปรากฏในธรรมชาติที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น ซึ่งชนิดแรกที่ได้จากการสังเคราะห์เป็นผลพลอยได้จากเตาปฏิกรปรมณูและการผลิตพลูโทเนียมไอโซโทปที่เสถียรที่สุดคือ Np-237 ในธรรมชาติพบปริมาณเล็กน้อยในสินแร่ยูเรเนียมธาตุเนปทูเนียมมีสมบัติเป็นโลหะหนักเป็นของแข็งสีเงินเป็นมันวาว มีความบริสุทธิ์สูงมีประโยชน์อย่างมากในการนำมาใช้ผลิตธาตุที่เป็นแหล่งกำเนิดพลังงานนิวเคลียร์ สามารถใช้ทำระเบิดนิวเคลียร์ได้.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและเนปทูเนียม · ดูเพิ่มเติม »

G

G เป็นอักษรลำดับที่ 7 ในอักษรละติน.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและG · ดูเพิ่มเติม »

18 กุมภาพันธ์

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 49 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 316 วันในปีนั้น (317 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: ดาวพลูโตและ18 กุมภาพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

2 พัลลัส

2 พัลลัส (Παλλάς) เป็นหนึ่งในดาวเคราะห์น้อยที่ใหญ่ที่สุดในแถบหลัก เป็นดาวเคราะห์น้อยที่ได้รับการค้นพบเป็นดวงที่สอง โดยนักดาราศาสตร์ชาวเยอรมัน ชื่อ เฮนริค วิลเฮล์ม โอลเบอร์ส เมื่อวันที่ 28 มีนาคม ค.ศ. 1802 ในตอนแรก ๆ นักดาราศาสตร์คิดว่าพัลลัสเป็นดาวเคราะห์ เช่นเดียวกับดาวเคราะห์น้อยที่ค้นพบในช่วงแรก ๆ ดวงอื่น คือ 1 ซีรีส 3 จูโน และ 4 เวสต้า จนกระทั่งเมื่อมีการค้นพบดาวเคราะห์น้อยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จึงค่อยมีการจัดประเภทของดาวเหล่านี้เสียใหม.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและ2 พัลลัส · ดูเพิ่มเติม »

4 เวสตา

4 เวสต้า (Vesta) เป็นวัตถุขนาดใหญ่ที่มีมวลมากที่สุดเป็นลำดับสองในแถบดาวเคราะห์น้อย โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยประมาณ 530 กิโลเมตร (329 ไมล์) และมีมวลคิดเป็นประมาณ 9% ของมวลดาวเคราะห์น้อยในแถบหลักทั้งหมด ผู้ค้นพบเวสต้าคือนักดาราศาสตร์ชาวเยอรมันชื่อ เฮนริค วิลเฮล์ม โอลเบอร์ส ค้นพบเมื่อวันที่ 29 มีนาคม ค.ศ. 1807 และได้ตั้งชื่อตามเทพีผู้บริสุทธิ์ตามเทพปกรณัมโรมันซึ่งเป็นผู้ปกครองบ้านเรือนและเตาไฟ คือเทพีเวสต.

ใหม่!!: ดาวพลูโตและ4 เวสตา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ดาวยมดาวพระยมดาวเคราะห์แคระพลูโต

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »