โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ดวงจันทร์ของกาลิเลโอ

ดัชนี ดวงจันทร์ของกาลิเลโอ

แกนิมีด คัลลิสโต ดวงจันทร์ของกาลิเลโอ (Galilean moons) คือดวงจันทร์บริวารทั้ง 4 ดวงของดาวพฤหัสบดีซึ่งถูกค้นพบโดยกาลิเลโอ กาลิเลอีช่วงเดือนมกราคม..

61 ความสัมพันธ์: บรรยากาศฟินิเชียกล้องสองตากล้องโทรทรรศน์การพาความร้อนการสั่นพ้องของวงโคจรกาลิเลโอ กาลิเลอีกึ่งแกนเอกก้นทะเลมหาวิทยาลัยไรซ์ยอดเขาเอเวอเรสต์ยูโรปายูโรปา (ดาวบริวาร)ระบบสุริยะระบบดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางระบบโลกเป็นศูนย์กลางรัศมีรถถังลองจิจูดลักษณะแอลบีโดวันสิ่งมีชีวิตนอกโลกหินออกซิเจนอะตอมไฮโดรเจนองศา (มุม)ฮีราจานดาวเคราะห์ก่อนเกิดจุลินทรีย์จุดปลายระยะทางวงโคจรดวงอาทิตย์ดาวบริวารดาวบริวารของดาวพฤหัสบดีดาวพฤหัสบดีดาวเคราะห์แคระครีตความส่องสว่างปรากฏความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจรความเอียงของวงโคจรคัลลิสโตคาบดาราคติคาร์บอนไดออกไซด์ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ซิลิกอนไดออกไซด์ซูสปฏิทินดาวเคราะห์ปล่องแบบน้ำร้อนนาซานิวฮอไรซันส์น้ำแข็ง...แกนีมีด (ดาวบริวาร)แกนีมีด (เทพปกรณัม)แม็กนีโตสเฟียร์โกซีโมที่ 1 เด เมดีชีโยฮันเนส เอเวลิอุสโยฮันเนส เคปเลอร์โอโซนไอโอ (ดาวบริวาร)เวนิสเหล็กเทห์ฟ้า ขยายดัชนี (11 มากกว่า) »

บรรยากาศ

มุมมองของชั้นบรรยากาศที่ตื่นตัวของดาวพฤหัสบดี รวมทั้งจุดแดงใหญ่ (Great Red Spot) บรรยากาศ หมายถึงชั้นแก๊สชนิดต่าง ๆ ที่ปกคลุมอยู่ทั่วดาวเคราะห์หรือวัตถุท้องฟ้านั้น ๆ ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละดาว บางดาวไม่มีชั้นบรรยากาศ สำหรับบรรยากาศของโลกนั้นเป็นอากาศที่ห้อหุ้มโลก ประกอบไปด้วยไนโตรเจน, ออกซิเจน และแก๊สอื่น ๆ มีขอบเขตนับจากระดับน้ำทะเลขึ้นไปประมาณ 1000 กิโลเมตรโดยเฉลี่ย ดาวเคราะห์ชั้นในมีส่วนประกอบเป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เป็นหลัก ส่วนดาวเคราะห์ชั้นนอกมีไฮโดรเจน, ฮีเลียม และแก๊สอื่นๆ เป็นหลัก.

ใหม่!!: ดวงจันทร์ของกาลิเลโอและบรรยากาศ · ดูเพิ่มเติม »

ฟินิเชีย

ฟินิเชีย (Phoenicia) เป็นเซเมติกสาขาหนึ่ง อพยพมาจากทะเลทรายอาหรับ เมื่อประมาณ 3,000 ปีก่อนคริสตกาล เข้ามาตั้งหลักแหล่งในบริเวณตะวันตกของทวีปเอเชียบริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ได้ชื่อว่าเป็นกลุ่มปัญญาชนของเอเชียตะวันตก สร้างเมืองสำคัญ ๆ เช่น ไทรน์ ไซดอน ไบบลอส เป็นพวกที่ร่ำรวย มีชื่อเสียงทางด้านการเดินเรือและค้าขาย มีการตั้งอาณานิคมในส่วนอื่น ๆ เช่น กาดิซในสเปน คาร์เทจทางตอนเหนือของแอฟริกา มรดกชิ้นสำคัญของชาวฟินิเชียคือ ตัวอักษร ซึ่งกรีกและลาตินใช้เป็นแบบในการสร้างตัวอักษรของตนในสมัยต่อมา ตัวอักษรในยุโรปปัจจุบันก็มาจากตัวอักษรเหล่านี้.

ใหม่!!: ดวงจันทร์ของกาลิเลโอและฟินิเชีย · ดูเพิ่มเติม »

กล้องสองตา

A typical Porro prism binoculars design. '''1''' - Objective '''2-3''' - Porro prisms '''4''' Eyepiece กล้องสองตาแบบกาลิเลโอ กล้องสองตาแบบกาลิเลโอ กล้องสองตา (binoculars มาจากภาษาละติน bi- "สอง" และ oculus "ตา") คือ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับส่องดูวัตถุที่อยู่ห่างไกลให้มีขนาดใหญ่ขึ้น โดยอาศัยเลนส์และปริซึม ปริซึมทำหน้าที่สะท้อนและหักเหแสง กลับภาพจากภาพหัวกลับให้เป็นภาพหัวตั้ง ภาพที่ได้จึงต่างจากที่เห็นในกล้องโทรทรรศน์ธรรมดา ข้อกำหนดของกล้องสองตาแต่ละกล้อง มักบอกด้วยตัวเลขสองตัวคั่นกลางด้วยกากบาท "×" เช่น "7×50" หมายถึงกล้องสองตานี้มีกำลังขยาย 7 เท่า เส้นผ่านศูนย์กลางของเลนส์วัตถุมีขนาด 50 มิลลิเมตร กล้องสองตามีขนาดตั้งแต่ 3×10 ที่มักใช้ในโรงละคร ขนาด 7×50 หรือ 10×50 ที่มักใช้ส่องดูกลางแจ้ง และอาจมีขนาดใหญ่ถึง 20×80 หรือ 20×140 กล้องขนาดใหญ่มีน้ำหนักมาก ทำให้เมื่อยแขนได้ จึงต้องอาศัยระบบขาตั้งกล้องที่ช่วยให้ภาพไม่สั่นไหว หมวดหมู่:ทัศนูปกรณ์ oc:Jumelles.

ใหม่!!: ดวงจันทร์ของกาลิเลโอและกล้องสองตา · ดูเพิ่มเติม »

กล้องโทรทรรศน์

กล้องโทรทรรศน์ชนิดสะท้อนแสง กล้องโทรทรรศน์ คืออุปกรณ์ที่ใช้ขยายวัตถุท้องฟ้าโดยอาศัยหลักการรวมแสง เพื่อให้สามารถมองเห็นวัตถุท้องฟ้าที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า หรือทำให้มองเห็นได้ชัดขึ้น และมีขนาดใหญ่ขึ้น กล้องโทรทรรศน์ได้ถูกคิดค้นขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1608 โดยฮานส์ ช่างทำแว่นคนหนึ่งซึ่งต่อมาค้นพบว่าหากนำเลนส์มาวางเรียงกับให้ได้ระยะที่ถูกต้องเลนส์สามารถขยายภาพที่อยู่ไกลๆได้ใกล้ขึ้น และ 1 ปีต่อมา กาลิเลโอ กาลิเลอิ ก็ได้ นำมาสำรวจท้องฟ้าเป็นครั้งแรกซึ่งในตอนนั้นเป็นกล้องหักเหแสงที่มีกำลังขยายไม่ถึง 30 เท่า เท่านั้นแต่ก็ทำให้เห็นรายละเอียดต่างๆมากมายของดวงดาวต่างๆที่ยังไม่เคยเห็นมาก่อนทำให้เป็นจุดเริ่มต้นของการเริ่มมาสำรวจท้องฟ้าโดยใช้กล้องโทรทรรศน.

ใหม่!!: ดวงจันทร์ของกาลิเลโอและกล้องโทรทรรศน์ · ดูเพิ่มเติม »

การพาความร้อน

แบบจำลองการพาความร้อนใต้เปลือกโลก การพาความร้อน (heat convection) เป็นการถ่ายเทความร้อนที่เกิดขึ้นได้ ในสสารสองสถานะคือ ของเหลวและก๊าซ เนื่องจากเป็นสิ่งที่สามารถเคลื่อนที่ได้โดยจะมีทิศทางลอยขึ้นเท่านั้น เนื่องจาก เมื่อสสารได้รับความร้อนจะมีการขยายตัว ทำให้ความหนาแน่นต่ำลง และสสารที่มีอุต่ำกว่า (ความหนาแน่นสูงกว่า) ก็จะลงมาแทนที่ ปรากฏการณนี้มีตัวอย่างคือ การเกิดลมบก ลมทะเล เป็นต้น การประยุกต์การใช้งาน ของเหลวที่ใช้งาน โดยการเพิ่มคุณสมบัติค่าความจุความร้อน เช่น การใส่สารโพรพีลีนไกคอล (Propylene Glycol) หรือ ใส่เศษทองแดงเล็ก ๆ ลงไปในน้ำหล่อเย็น โลหะเพิ่มค่าความจุความร้อนของหล่อเย็น และ ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของของเหลว เพื่อถ่ายเทความร้อนให้มากที่สุด วัสดุนาโนเทคโนโลยีจำนวนมากมีค่าการพาความร้อนสูงมาก เช่น คาร์บอนนาโน และ วัสดุโลหะอื่น ๆ ที่เป็นนาโนเทคโนโลยี หมวดหมู่:กลศาสตร์ของไหล หมวดหมู่:ความร้อน หมวดหมู่:หลักการสำคัญของฟิสิกส์ หมวดหมู่:การถ่ายเทความร้อน.

ใหม่!!: ดวงจันทร์ของกาลิเลโอและการพาความร้อน · ดูเพิ่มเติม »

การสั่นพ้องของวงโคจร

การสั่นพ้องลาปลัสที่เกิดกับดวงจันทร์กาลิเลียนสามดวง สัดส่วนตัวเลขเป็นคาบการโคจร การสั่นพ้องของวงโคจร (orbital resonance) เป็นลักษณะทางกลศาสตร์ของเทหวัตถุบนท้องฟ้าที่เกิดขึ้นเมื่อวัตถุที่มีวงโคจรสองชิ้นส่งอิทธิพลด้านแรงโน้มถ่วงต่อกันเป็นช่วงเวลา ซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อวงโคจรของวัตถุทั้งสองมีความสัมพันธ์กันเป็นสัดส่วนจำนวนเต็ม การสั่นพ้องของวงโคจรจะเพิ่มพูนแรงโน้มถ่วงระหว่างกันของวัตถุเหล่านั้น โดยทั่วไปแล้วปรากฏการณ์นี้จะทำให้เกิดปฏิกิริยาที่ไม่เสถียร ทำให้วัตถุมีการแลกเปลี่ยนโมเมนตัมและเปลี่ยนวงโคจรไปจนกระทั่งการสั่นพ้องไม่เกิดขึ้นอีก ในบางสภาวการณ์ ระบบที่มีการสั่นพ้องอาจจะเสถียรและปรับแก้ตัวเองก็ได้ ทำให้วัตถุยังคงอยู่ในภาวะการสั่นพ้องต่อไป ตัวอย่างเช่นการสั่นพ้องวงโคจร 1:2:4 ของดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดี คือแกนีมีด ยูโรปา และไอโอ หรือการสั่นพ้อง 2:3 ระหว่างดาวพลูโตและดาวเนปจูน การสั่นพ้องที่ไม่เสถียรของดวงจันทร์รอบในของดาวเสาร์ทำให้ช่องว่างในวงแหวนของดาวเสาร์ใหญ่ขึ้น หมวดหมู่:กลศาสตร์ท้องฟ้า.

ใหม่!!: ดวงจันทร์ของกาลิเลโอและการสั่นพ้องของวงโคจร · ดูเพิ่มเติม »

กาลิเลโอ กาลิเลอี

กาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei; 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1564 - 8 มกราคม ค.ศ. 1642) เป็นชาวทัสกันหรือชาวอิตาลี ซึ่งมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ ผลงานของกาลิเลโอมีมากมาย งานที่โดดเด่นเช่นการพัฒนาเทคนิคของกล้องโทรทรรศน์และผลสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ที่สำคัญจากกล้องโทรทรรศน์ที่พัฒนามากขึ้น งานของเขาช่วยสนับสนุนแนวคิดของโคเปอร์นิคัสอย่างชัดเจนที่สุด กาลิเลโอได้รับขนานนามว่าเป็น "บิดาแห่งดาราศาสตร์สมัยใหม่" "บิดาแห่งฟิสิกส์สมัยใหม่"Weidhorn, Manfred (2005).

ใหม่!!: ดวงจันทร์ของกาลิเลโอและกาลิเลโอ กาลิเลอี · ดูเพิ่มเติม »

กึ่งแกนเอก

กึ่งแกนเอกของวงรี ระยะกึ่งแกนเอก (Semi-major axis) ในทางเรขาคณิต หมายถึงความยาวครึ่งหนึ่งของแกนเอก ซึ่งใช้แสดงถึงมิติของวงรีหรือไฮเพอร์โบลา หมวดหมู่:ภาคตัดกรวย.

ใหม่!!: ดวงจันทร์ของกาลิเลโอและกึ่งแกนเอก · ดูเพิ่มเติม »

ก้นทะเล

วนของก้นสมุทร ก้นสมุทร (seabed) อาจเรียกว่า พื้นท้องมหาสมุทร หรือ ก้นสมุทร คือช่วงตอนกลางของมหาสมุทรและเป็นบริเวณที่ต่อเนื่องจากลาดตีนทวีปเป็นต้นไป เป็นอาณาเขตส่วนใหญ่ของพื้นที่ใต้ทะเลจึงมีขนาดกว้างขว้างมาก มีลักษณะภูมิประเทศหลากหลาย มีพื้นที่ราบเรียบเป็นส่วนใหญ่แต่มีส่วนสูงส่วนต่ำด้วยเช่นกัน ได้แก่ หุบผาชันใต้ทะเล เทือกเขากลางสมุทร ที่ราบสูง แอ่งมหาสมุทร ภูเขา เช่น เทือกเขามิดแอตแลนติก ซึ่งทอดจากไอซ์แลนด์ลงมาเกือบถึงทวีปแอนตาร์กติกา บางตอนสูงขึ้นมาเหนือน้ำเป็นเกาะ เช่น หมู่เกาะอะโซร์ส เกาะเล็ก ๆ อื่น ๆ สันเขานี้ยาวประมาณ 720 กิโลเมตร ส่วนแอ่งลึกบนพื้นท้องมหาสมุทรขนาดใหญ่นั้นก็คือบริเวณอ่าวเม็กซิโก ทะเลแคริบเบียน ทะเลแดง ระดับความลึกของน้ำบริเวณนี้จะลึกประมาณ 4,000-6,000 เมตร ส่วนของมหาสมุทร (พื้นท้องมหาสมุทร).

ใหม่!!: ดวงจันทร์ของกาลิเลโอและก้นทะเล · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยไรซ์

มหาวิทยาลัยไรซ์ มหาวิทยาลัยวิลเลียมมาร์ชไรซ์ (William Marsh Rice University) หรือนิยมเรียกในชื่อ มหาวิทยาลัยไรซ์ (Rice University) ตั้งอยู่ที่เมืองฮิวสตัน ในรัฐเทกซัส สหรัฐอเมริกา มหาวิทยาลัยไรซ์ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2455 (ค.ศ. 1912) ในชื่อสถาบันไรซ์ (Rice Institute) ซึ่งในปัจจุบันได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยชั้นนำของสหรัฐอเมริกาทั้งในด้านวิชาการและงานวิจัย โดยเฉพาะในด้านนาโนเทคโนโลยี และการพัฒนาหัวใจเทียม นักศึกษาในปัจจุบัน (พ.ศ. 2548) มีประมาณ 5,000 คน.

ใหม่!!: ดวงจันทร์ของกาลิเลโอและมหาวิทยาลัยไรซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ยอดเขาเอเวอเรสต์

อดเขาเอเวอเรสต์ (Mount Everest) เป็นยอดเขาหนึ่งในเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งเกิดจากการชนกันของแผ่นเปลือกโลกยูเรเซียนและแผ่นเปลือกโลกอินเดีย ในทางภูมิรัฐศาสตร์ ยอดเขาเอเวอเรสต์ถือเป็นจุดแบ่งพรมแดนระหว่างประเทศเนปาลและทิเบต โดยชาวเนปาลเรียกยอดเขาเอเวอเรสต์ว่า สครมาตา (ภาษาสันสกฤต: सगरमाथा หมายถึง มารดาแห่งท้องสมุทร) ส่วนชาวทิเบตขนานนามยอดเขาแห่งนี้ว่า โชโมลังมา (จากภาษาทิเบต: จูมู่หลั่งหม่า (珠穆朗玛) หมายถึง มารดาแห่งสวรรค์) ชื่อยอดเขาเอเวอเรสต์นั้น ตั้งโดย เซอร์แอนดรูว์ วอ นักสำรวจประเทศอินเดียชาวอังกฤษ เพื่อเป็นเกียรติแก่ เซอร์จอร์จ อีฟเรสต์ นักสำรวจประเทศอินเดียรุ่นก่อนหน้า (คำว่า Everest นี้ คนส่วนมากอ่านออกเสียงเป็น เอเวอเรสต์ ขณะที่เซอร์จอร์จอ่านออกเสียงชื่อสกุลของตัวเองว่า อีฟเรสต์) ซึ่งก่อนหน้านั้นนักสำรวจเรียกยอดเขาแห่งนี้เพียงว่า ยอดที่สิบห้า (Peak XV) คนทั่วไปจดจำชื่อเอเวอเรสต์ได้ในฐานะยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก แต่สำหรับชาวเชอร์ปา (Sherpa) และนักปีนเขา (climber) บางคนแล้ว ยอดเขาเอเวอเรสต์ไม่ได้เป็นเพียงแค่จุดที่สูงที่สุดบนพื้นโลกเท่านั้น หากยังเป็นจุดหมายสูงสุดในชีวิตพวกเขาด้วย การไปให้ถึงยอดเขาเอเวอเรสต์เป็นเรื่องที่ยากลำบาก แต่เมื่อยอดเขาเอเวอเรสต์ถูกพิชิตได้ นั่นหมายความว่าขีดจำกัดของมนุษยชาติได้เพิ่มขึ้นอีกขั้นหนึ่งแล้ว.

ใหม่!!: ดวงจันทร์ของกาลิเลโอและยอดเขาเอเวอเรสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ยูโรปา

ูโรปาและซูส ผลงานของอันโตนีโอ มาร์ซีอาเล การ์รัชชี (Antonio Marziale Carracci) ยูโรปา (Europa) เป็นชายาอีกองค์หนึ่งของเทพเจ้าซูส ยูโรปาเป็นนิทัศนุทาหรณ์แห่งนิสัยเจ้าชู้ของซูสซึ่งเป็นราชาของเทพเจ้า อีกเรื่องหนึ่ง เป็นเรื่องที่แสดงมูลที่มาของชื่อทวีปยุโรปด้วยในตัว ยูโรปาเป็นพระธิดาของท้าวอะจีนอร์ (Agenor) เจ้ากรุงฟินิเชีย ซึ่งเป็นบุตรของเทพโพไซดอนกับนางลิบเบีย นอกจากยูโรปาแล้ว ท้าวอะจีนอร์ยังมีโอรส-ธิดาอีก 3 องค์ เรียงตามลำดับคือ แคดมัส (Cadmus), ฟีนิกซ์ (Phoenix) และซิลิกซ์ (Cilix) วันหนึ่งขณะยูโรปากำลังเก็บดอกไม้อยู่ในทุ่งแห่งหนึ่ง และกำลังร่าเริงอยู่กับเหล่าบริวารและนางกำนัล พลันนั้น นางก็แลเห็นโคเผือกตัวผู้ตัวหนึ่งมีลักษณะสวยงามเจริญตา กอปรด้วยท่าทางละม่อมดุจชวนให้ลูบไล้ เมื่อโคเดินเข้าไปใกล้ ยูโรปาก็มีใจเบิกบานยินดี จึงเดินเข้าไปลูบโลมแต่โดยเบาและเอาช่อดอกไม้ทุ่งทอดให้ ฝ่ายโคก็น้อมตัวลงเชิญให้นางขึ้นนั่งหลัง พอยูโรปาขึ้นนั่งพลางร้องเรียกให้เหล่าบริวารให้ขึ้นนั่งบ้าง โคนั้นก็วิ่งหนีจนพ้นเขตท้องทุ่ง และมุ่งหน้าพานางออกสู่ชายทะเลโดยด่วน มิทันที่ใครจะทำตามเสียงนางเรียกนั้นได้ เมื่อถึงริมทะเล แทนที่จะหยุดวิ่งหรือนำยูโรปาลงไปจากหลัง โคกลับกระโจนทะยานล่องละลิ่วไปบนพื้นน้ำอันคลาคล่ำไปด้วยปลาโลมาดำผุดดำว่าย เหล่าอัปสรนีเรียดก็ผุดขึ้นเรียงรายรับแน่นขนัด ท้องทะเลสงบสงัดปราศจากคลื่น ส่วนไทรทัน (Triton) พนักงานแตรก็เป่าสังข์เสียงครื้นครั่นดังสนั่น ตลอดจนเทพโพไซดอนเจ้าสมุทรก็พลันผุดเป็นมัคคุเทศก์เข้าเคียงคลอชะลอเลื่อน ทั้งนี้เพราะโคนั้นหาใช่โคไม่ได้เป็นใครมาจากไหน แต่ที่แท้ก็คือเทพซูส ราชาแห่งเทพเจ้านั่นเองที่จำแลงมาเพื่อให้ยูโรปาหลงรัก ชื่อยูโรปา (Europa) ยังเป็นต้นกำเนิดของชื่อทวีปยุโรป (Europe) ในปัจจุบัน และเรื่องราวของนางยูโรปากับโคจำแลงนั้น ยังเป็นต้นกำเนิดของจักรราศีพฤษภอีกด้ว.

ใหม่!!: ดวงจันทร์ของกาลิเลโอและยูโรปา · ดูเพิ่มเติม »

ยูโรปา (ดาวบริวาร)

ูโรปา (Europa; Ευρώπη) เป็นดาวบริวารดวงหนึ่งของดาวพฤหัสบดี ค้นพบในปี..

ใหม่!!: ดวงจันทร์ของกาลิเลโอและยูโรปา (ดาวบริวาร) · ดูเพิ่มเติม »

ระบบสุริยะ

ระบบสุริยะ (Solar System) ประกอบด้วยดวงอาทิตย์และวัตถุอื่น ๆ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์เนื่องจากแรงโน้มถ่วง ได้แก่ ดาวเคราะห์ 8 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 166 ดวง ดาวเคราะห์แคระ 5 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 4 ดวง กับวัตถุขนาดเล็กอื่น ๆ อีกนับล้านชิ้น ซึ่งรวมถึง ดาวเคราะห์น้อย วัตถุในแถบไคเปอร์ ดาวหาง สะเก็ดดาว และฝุ่นระหว่างดาวเคราะห์ โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งย่านต่าง ๆ ของระบบสุริยะ นับจากดวงอาทิตย์ออกมาดังนี้คือ ดาวเคราะห์ชั้นในจำนวน 4 ดวง แถบดาวเคราะห์น้อย ดาวเคราะห์ขนาดใหญ่รอบนอกจำนวน 4 ดวง และแถบไคเปอร์ซึ่งประกอบด้วยวัตถุที่เย็นจัดเป็นน้ำแข็ง พ้นจากแถบไคเปอร์ออกไปเป็นเขตแถบจานกระจาย ขอบเขตเฮลิโอพอส (เขตแดนตามทฤษฎีที่ซึ่งลมสุริยะสิ้นกำลังลงเนื่องจากมวลสารระหว่างดวงดาว) และพ้นไปจากนั้นคือย่านของเมฆออร์ต กระแสพลาสมาที่ไหลออกจากดวงอาทิตย์ (หรือลมสุริยะ) จะแผ่ตัวไปทั่วระบบสุริยะ สร้างโพรงขนาดใหญ่ขึ้นในสสารระหว่างดาวเรียกกันว่า เฮลิโอสเฟียร์ ซึ่งขยายออกไปจากใจกลางของแถบจานกระจาย ดาวเคราะห์ชั้นเอกทั้ง 8 ดวงในระบบสุริยะ เรียงลำดับจากใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดออกไป มีดังนี้คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน นับถึงกลางปี ค.ศ. 2008 วัตถุขนาดย่อมกว่าดาวเคราะห์จำนวน 5 ดวง ได้รับการจัดระดับให้เป็นดาวเคราะห์แคระ ได้แก่ ซีรีสในแถบดาวเคราะห์น้อย กับวัตถุอีก 4 ดวงที่โคจรรอบดวงอาทิตย์อยู่ในย่านพ้นดาวเนปจูน คือ ดาวพลูโต (ซึ่งเดิมเคยถูกจัดระดับไว้เป็นดาวเคราะห์) เฮาเมอา มาคีมาคี และ อีรีส มีดาวเคราะห์ 6 ดวงและดาวเคราะห์แคระ 3 ดวงที่มีดาวบริวารโคจรอยู่รอบ ๆ เราเรียกดาวบริวารเหล่านี้ว่า "ดวงจันทร์" ตามอย่างดวงจันทร์ของโลก นอกจากนี้ดาวเคราะห์ชั้นนอกยังมีวงแหวนดาวเคราะห์อยู่รอบตัวอันประกอบด้วยเศษฝุ่นและอนุภาคขนาดเล็ก สำหรับคำว่า ระบบดาวเคราะห์ ใช้เมื่อกล่าวถึงระบบดาวโดยทั่วไปที่มีวัตถุต่าง ๆ โคจรรอบดาวฤกษ์ คำว่า "ระบบสุริยะ" ควรใช้เฉพาะกับระบบดาวเคราะห์ที่มีโลกเป็นสมาชิก และไม่ควรเรียกว่า "ระบบสุริยจักรวาล" อย่างที่เรียกกันติดปาก เนื่องจากไม่เกี่ยวข้องกับคำว่า "จักรวาล" ตามนัยที่ใช้ในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ดวงจันทร์ของกาลิเลโอและระบบสุริยะ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง

ระบบสุริยะซึ่งมีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง แนวคิดดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง หรือ (เอกภพ)มีสุริยะเป็นแกน เป็นทฤษฎีที่ว่าดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะ ภาษาอังกฤษเรียกว่า Heliocentrism มีที่มาจากรากศัพท์ภาษากรีกว่า ήλιος Helios.

ใหม่!!: ดวงจันทร์ของกาลิเลโอและระบบดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง · ดูเพิ่มเติม »

ระบบโลกเป็นศูนย์กลาง

'''Figure of the heavenly bodies''' — ภาพแบบจำลองโลกเป็นศูนย์กลางจักรวาลขอโตเลมีโดย Bartolomeu Velho ใน ค.ศ. 1568 (Bibliotèque National, Paris) ในทางดาราศาสตร์ แนวคิดโลกเป็นศูนย์กลางจักรวาล หรือ (เอกภพ)มีโลกเป็นแกน (Geocentric Model) คือแนวคิดเก่าแก่ที่ว่าเอกภพทั้งมวลโคจรไปรอบโลกของเราที่อยู่ตรงจุดศูนย์กลางของจักรวาล เป็นแนวคิดที่มีกำเนิดมาแต่ยุคสมัยของกรีกโบราณ โดยมีนักปราชญ์ในยุคนั้นทั้งทอเลมีและอริสโตเติลให้การสนับสนุน นักปรัชญากรีกโบราณล้วนแต่เชื่อว่า ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ตลอดจนดวงดาวต่างๆ ล้วนแต่เคลื่อนที่เป็นวงกลมไปรอบๆ โลก มีแนวคิดคล้ายๆ กันนี้ปรากฏในประเทศจีนเช่นกัน ความคิดและความเชื่อในแนวนี้ได้โยงไปถึงความเชื่อเรื่องเทพเจ้าซึ่งมีมาอย่างนานและความคิดแนวนี้ได้คร่าชีวิตนักวิทยาศาสตร์และนักปรัชญาไปอย่างมากม.

ใหม่!!: ดวงจันทร์ของกาลิเลโอและระบบโลกเป็นศูนย์กลาง · ดูเพิ่มเติม »

รัศมี

รูปวงกลมที่แสดงถึงรัศมี เส้นผ่านศูนย์กลาง จุดศูนย์กลาง และเส้นรอบวง รัศมี (อังกฤษ: radius พหูพจน์: radii) ของรูปวงกลมหรือทรงกลม คือส่วนของเส้นตรงใดๆ ที่เชื่อมต่อระหว่างจุดศูนย์กลาง ไปยังเส้นรอบวงหรือพื้นผิวของทรงกลม อีกนัยหนึ่งหมายถึงความยาวของส่วนของเส้นตรงนั้น รัศมีเป็นส่วนครึ่งหนึ่งของเส้นผ่านศูนย์กลาง ในทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ มีการใช้คำว่า รัศมีความโค้ง (radius of curvature) แทนความหมายที่คล้ายกับรัศมี ในกรณีทั่วไปที่ไม่ใช่สำหรับรูปวงกลมหรือทรงกลม อาทิ ทรงกระบอก รูปหลายเหลี่ยม กราฟ หรือชิ้นส่วนจักรกลต่างๆ รัศมีสามารถหมายถึงระยะทางที่วัดจากจุดกึ่งกลางหรือแกนสมมาตรไปยังจุดอื่นที่อยู่ภายนอก ซึ่งในกรณีนี้รัศมีอาจมีความยาวมากกว่าครึ่งหนึ่งของเส้นผ่านศูนย์กลางก็ได้ ความสัมพันธ์ระหว่างรัศมี r กับเส้นรอบวง c ของรูปวงกลมคือ.

ใหม่!!: ดวงจันทร์ของกาลิเลโอและรัศมี · ดูเพิ่มเติม »

รถถัง

รถถัง Mark IV รถถัง เป็นยานพาหนะต่อสู้หุ้มเกราะติดตีนตะขาบที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการรบที่แนวหน้าซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างความคล่องตัว การรุก และการป้องกัน อำนาจการยิงของมันมาจากปืนหลักขนาดใหญ่ของมันที่ติดตั้งอยู่บนป้อมส่วนบนที่หมุนได้พรัอมกับมีปืนกลติดตั้งอยู่เพื่อเป็นอาวุธรอง ในขณะที่เกราะขนาดหนักและความสามารถในการเคลื่อนที่ของมันเป็นสิ่งที่คอยปกป้องชีวิตของพลประจำรถ นั่นทำให้มันสามารถทำงานหลักของทหารราบยานเกราะได้ทั้งหมดในสมรภูมิ รถถังเริ่มนำมาใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ครั้งแรกโดยอังกฤษ ได้แก่ Mark IV tank เพื่อใช้มันสนับสนุนทหารราบในการฝ่าทะลุแนวสนามเพลาะ พวกมันถูกใช้ในยุทธการซอมม์ในจำนวนน้อยมาก ในช่วงที่มันถูกสร้างขึ้นมันถูกเรียกว่ายานลำเลียงน้ำเพื่อปกปิดวัตถุประสงค์การใช้งานจริงของมัน คำว่า"แท็งค์" (tank) นั้นมาจากคำว่า "Water tank" ที่แปลว่าถังน้ำ ด้วยวัตถุประสงค์หลักเพื่อสนับสนุนทหารราบมันจึงทำความเร็วสูงสุดได้เพียง 5-6 กิโลเมตรต่อชั่วโมง การมาของ Mark IV tank ทำให้ฝ่ายเยอรมันพัฒนารถถังของตนเอง ได้แก่ A7V เพื่อตอบโต้ฝ่ายอังกฤษ รถถัง A7V ฝรั่งเศสเป็นชาติแรกในโลกที่พัฒนารถถังที่ติดตั้งปืนบนป้อมซึ่งหมุนได้ 360 องศาได้แก่ Renault FT และใช้พลรถถังเพียง 2 คน ในการควบคุมรถถัง ต่างจาก Mark IV tank ของอังกฤษที่ต้องใช้พลรถถังถึง 8 คนในการควบคุม และ A7V ของเยอรมนีที่ใช้พลรถถัง 18 คน การพัฒนาในสงครามของมันเกิดขึ้นในสงครามโลกครั้งที่สองทำให้มันเป็นแนวคิดหลักของสงครามยานเกราะซึ่งอยู่มาจนถึงทุกวันนี้ และเป็นบทบาทหลักในสงครามโลกครั้งที่ 2 สหภาพโซเวียตได้นำรถถังที-34 มาใช้ มันเป็นหนึ่งในรถถังที่ดีที่สุดในสงครามและเป็นต้นตำรับของรถถังหลัก เยอรมนีใช้การโจมตีสายฟ้าแลบ ซึ่งเป็นยุทธวิธีในการใช้กองกำลังรถถังเป็นหลักโดยมีปืนใหญ่และการยิงทางอากาศเข้าสนับสนุนเพื่อเจาะทะลุแนวป้องกันของศัตรู ปัจจุบันรถถังนั้นไม่ปฏิบัติการเพียงลำพังนัก พวกมันจะรวมกันเป็นหน่วยซึ่งจะมีทหารราบให้การสนับสนุน ทหารเหล่านั้นจะทำงานร่วมกับรถสายพานลำเลียงพลหรือยานพาหนะต่อสู้ทหารราบ รถถังยังถูกใช้ร่วมกับการสอดแนมหรือการโจมตีภาคพื้นดินทางอากาศอีกด้วย เนื่องมาจากความสามารถและความหลากประโยชน์ของรถถังประจัญบานที่ถูกมองว่าเป็นกุญแจสำคัญของกองทัพยุคใหม่ อย่างไรก็ตามในสงครามนอกกรอบได้นำข้อสงสัยมาสู่กองพลยานเกราะ ไจโรสโคปถูกนำมาใช้เพื่อสร้างความเสถียรให้กับปืนใหญ่ ทำให้มันเล็งได้อย่างแม่นยำและยิงได้ในขณะเคลื่อนที่ ปืนรถถังยุคใหม่ยังมีตัวลดความร้อนเพื่อลดการกระจายความร้อนที่เกิดจากการยิง มันจะช่วยลดควันที่เข้าไปในรถถังและบางครั้งก็ลดแรงถีบซึ่งจะเพิ่มความแม่นยำและอัตราการยิงให้มากขึ้น โดยทั่วไปแล้วการตรวจจับเป้าหมายจะใช้สายตามองเอาผ่านทางกล้องโทรทรรศน์ อย่างไรก็ตามมีบางครั้งที่ผู้บัญชาการรถถังจะเปิดฝาครอบด้านบนออกเพื่อมองไปรอบๆ ตัว ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความระมัดระวังต่อสถานการณ์แต่ก็ทำให้เขาตกเป็นเป้าของพลซุ่มยิงได้ โดยเฉพาะเมื่อยู่ในป่าหรือเมือง แม้ว่าการพัฒนามากมายในการตรวจหาเป้าหมายจะเกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ แต่ข้อปฏิบัติดังกล่าวก็ยังถูกใช้กันอยู่ ในบางกรณีปืนกลเคียงที่อยู่ข้างปืนใหญ่ก็ถูกใช้เพื่อหาวิถีโค้งและระยะของเป้าหมาย ปืนกลนี้จะถูกติดตั้งบนแกนเดียวกับปืนใหญ่รถถัง และยิงกระสุนไปที่เป้าหมายเดียวกัน พลปืนจะติดตามการเคลื่อนไหวของกระสุนติดตามเมื่อมันพุ่งชนเป้าหมาย และเมื่อมันชนเป้าหมาย มันก็จะปล่อยแสงออกมาพร้อมกับควันหลังจากที่ปืนใหญ่ยิงออกไปแล้ว อย่างไรก็ตามมันก็มักถูกแทนที่ด้วยเลเซอร์หาระยะแทน รถถังยุคใหม่ยังมีกล้องมองกลางคืนและกล้องจับถวามร้อนเพื่อเพิ่มความสามารถในการทำงานในตอนกลางคืน ในสภาพอากาศที่เลวร้าย และในกลุ่มควัน ความแม่นยำของรถถังยุคใหม่ได้ก้าวไปสู่จุดสูงสุดโดยระบบควบคุมการยิง ระบบนี้ใช้เลเซอร์หาระยะเพื่อระบุความห่างจากเป้าหมาย มันยังมีตัววัดแรงลมและตัวควบคุมความร้อนที่ปากกระบอก การที่เลเซอร์หาระยะสามารถมองหาเป้าหมายสองเป้าได้พร้อมกับทำให้มันสามารถคำนวณการเคลื่อนไหวของเป้าหมายได้ ข้อมูลเหล่านี้จะถูกรวบรวมเข้ากับการเคลื่อนไหวของรถถังและการเคลื่อนที่ของวัตถุในอากาศเพื่อคำนวณการไต่ระดับและจุดเล็งที่มันจะเข้าชนเป้าหมาย โดยปกติแล้วรถถังจะมีปืนขนาดเล็กกว่าเพื่อป้องกันตัวในระยะใกล้ซึ่งการยิงด้วยปืนใหญ่นั้นจะไร้ประสิทธิภาพ อย่างการจัดการกับทหารราบ ยานพาหนะขนาดเบา หรือเครื่องบิน อาวุธรองมักจะเป็นปืนกลเอนกประสงค์ที่อยู่ข้างปืนใหญ่และปืนกลต่อต้านอากาศยานที่อยู่ด้านบนสุดของป้อมปืน อาวุธเหล่านี้มักถูกดัดแปลงเพื่อใช้โดยทหารราบ และใช้กระสุนที่เหมือนๆ กัน.

ใหม่!!: ดวงจันทร์ของกาลิเลโอและรถถัง · ดูเพิ่มเติม »

ลองจิจูด

ลองติจูด (longitude) หรือเดิมเรียกว่า เส้นแวง แทนด้วยอักษรกรีก λ เป็นพิกัดที่ใช้บอกตำแหน่งบนพื้นโลก โดยวัดไปทางตะวันออกหรือตะวันตกจากเส้นสมมติในแนวเหนือ-ใต้ที่เรียกว่าเส้นเมริเดียนแรก พิกัดที่ใช้คู่กัน คือ ละติจูด ลองติจูดมีหน่วยเป็นองศา นับจาก 0 องศาที่เส้นเมริเดียนแรกไปทางตะวันออก +180 องศา และไปทางตะวันตก −180 องศา ลองติจูดต่างจากละติจูด ตรงที่ละติจูดมีเส้นศูนย์สูตรเป็นเส้นอ้างอิงตามธรรมชาติ ลองติจูดจึงต้องกำหนดเส้นสมมติขึ้นมาหนึ่งเส้นสำหรับอ้างอิง ใน ค.ศ. 1884 การประชุมเมอริเดียนนานาชาติ (International Meridian Conference) จึงได้กำหนดให้เส้นเวลากรีนนิช เป็นเส้นเวลาไพร์มเมอริเดียน และเป็นลองติจูด 0 องศา หมวดหมู่:การเดินเรือ หมวดหมู่:ภูมิมาตรศาสตร์ *.

ใหม่!!: ดวงจันทร์ของกาลิเลโอและลองจิจูด · ดูเพิ่มเติม »

ลักษณะแอลบีโด

ลักษณะแอลบีโด หมายถึง พื้นที่ขนาดใหญ่บนพื้นผิวของดาวเคราะห์ (หรือวัตถุในระบบสุริยะอื่นๆ) ซึ่งมีความสว่างหรือความมืดตัดกับบริเวณรอบข้างอย่างชัดเจน ตามประวัติศาสตร์ ลักษณะแอลบีโดเป็นลักษณะแรกของดาวอังคารและดาวพุธที่ถูกค้นพบและตั้งชื่อ แผนที่ฉบับแรกๆ (เช่น แผนที่ของจิโอวานนี่ สเคียปาเรลลี และยูจีน แอนโตเนียดี) ก็แสดงเพียงแค่ลักษณะแอลบีโดเท่านั้น จนกระทั่งมีการพัฒนายานสำรวจอวกาศขึ้น ลักษณะพื้นผิวอื่นๆเช่น หลุมอุกกาบาต จึงถูกค้นพบ ลักษณะนี้บางครั้งก็ถูกเรียกว่า เรจิโอ บนที่อื่นๆนอกเหนือไปจากบนดาวอังคารและดาวพุธ เราไม่สามารถมองเห็นลักษณะแอลบีโดที่โดดเด่นผ่านทางกล้องโทรทรรศน์ได้บนวัตถุที่ถูกปกคลุมไปด้วยชั้นบรรยากาศที่หนามาก เช่น บนดาวศุกร์หรือดวงจันทร์ไททัน เนื่องจากพื้นผิวจะถูกกลุ่มเมฆและปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในชั้นบรรยากาศต่างๆบดบังอยู่ตลอดเวลา ลักษณะแอลบีโดที่ถูกค้นพบเป็นลักษณะแรกบนดาวเคราะห์ดวงอื่นคือ ซีร์ทิส เมเจอร์ บนดาวอังคารเมื่อศตวรรษที่ 17.

ใหม่!!: ดวงจันทร์ของกาลิเลโอและลักษณะแอลบีโด · ดูเพิ่มเติม »

วัน

วัน คือหน่วยของเวลาที่เท่ากับ 24 ชั่วโมง ถึงแม้หน่วยนี้จะไม่ใช่หน่วยเอสไอ แต่ก็มีการยอมรับเพื่อใช้ประกอบกับหน่วยเอสไออื่น ซึ่งหน่วยเวลาที่เป็นหน่วยเอสไอคือ วินาที คำว่า วัน มาจากภาษาไทยเดิม (ลาว: ວັນ วัน, ไทใหญ่:ဝၼ်း วั้น) คำว่า day ในภาษาอังกฤษมาจากคำในภาษาอังกฤษเก่า dæg ซึ่งสะกดคล้ายกับภาษาอื่น ๆ ในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน ตัวอย่างเช่น dies ในภาษาละตินและ dive ในภาษาสันสกฤต ซึ่งกลายเป็น ทิวา ในภาษาไท.

ใหม่!!: ดวงจันทร์ของกาลิเลโอและวัน · ดูเพิ่มเติม »

สิ่งมีชีวิตนอกโลก

นหุ่นยนต์รถสำรวจคิวริออซิตี้โรเวอร์) มนุษย์ต่างดาวในจินตนาการของคนส่วนใหญ่ มนุษย์ต่างดาว (alien) เป็นสิ่งที่เชื่อว่าอาจมีอยู่จริงแต่ยังไม่มีข้อพิสูจน์ ลักษณะเป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่นอกโลก ซึ่งในความคิดของคนส่วนใหญ่ มักจะวาดภาพ มนุษย์ต่างดาว ลักษณะคล้ายคนแต่ ตัวเขียว หัวโต ตาโต เคยมาเยือนโลกโดยมากับ จานบิน สิ่งมีชีวิตนอกโลก (extraterrestrial life) (จากคำภาษาละติน: extra และ terrestris) ถูกกำหนดให้เป็นชีวิตที่ไม่ได้เกิดจากโลก มันมักจะหมายถึง สิ่งมีชีวิตนอกโลก หรือเรียกเพียงว่า มนุษย์ต่างดาว (หรือมนุษย์ต่างดาวในอวกาศเพื่อให้แตกต่างจากคำจำกัดความอื่น ๆ ของมนุษย์ต่างภิภพหรือมนุษย์ต่างดาว) รูปแบบชีวิตเหล่านี้ตามสมมติฐานของชีวิตช่วงระยะเริ่มจากสิ่งมีชีวิตจำพวกแบคทีเรียขั้นพื้นฐานเหมือนสิ่งมีชีวิตที่เรียบง่ายไปไกลจนถึงขั้นที่มีความซับซ้อนมากขึ้นเกินกว่าสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า มนุษย์ ความเป็นไปได้ว่ายังอาจจะมีไวรัส (viruses) ที่มีการดำรงชีวิตอยู่แบบสิ่งมีชีวิตนอกโลก (extraterrestrially) ได้รับการเสนอขึ้น การพัฒนาและการทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับชีวิตต่างดาวที่เป็นที่รู้จักกันในนามของวิชาที่เรียกว่า "ชีววิทยานอกโลก" หรือ "ชีวดาราศาสตร์" ("exobiology" or "astrobiology") แม้ว่าวิชาชีวดาราศาสตร์จะยังคงพิจารณาถึงชีวิตที่เกิดขึ้นที่เป็นขั้นพื้นฐานบนโลกที่ใช้ในบริบททางดาราศาสตร์อยู่ก็ตาม นักวิทยาศาสตร์หลายคนคิดว่าชีวิตนอกโลกเป็นสิ่งที่มีความเป็นไปได้ แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานโดยตรงในการดำรงอยู่ของมัน นับตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 20 ได้มีการค้นหาอย่างต่อเนื่องสำหรับสัญญาณของชีวิตนอกโลก, จากวิทยุที่ใช้ในการตรวจจับสัญญาณต่างดาวที่มีความเป็นไปได้, ไปจนถึงกล้องโทรทรรศน์ที่ใช้ในการค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบที่มีศักยภาพเพียงพอสำหรับเป็นสถานที่เอื้ออาศัยสำหรับสภาพชีวิตที่อาจสามารถทำให้เกิดขึ้นได้ นอกจากนี้มันก็ยังมีบทบาทที่สำคัญต่องานเขียนทางด้านเกี่ยวกับนิยายวิทยาศาสตร์ (science fiction) อีกด้วย ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา, ผลงานทางด้านนิยายวิทยาศาสตร์, โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีส่วนร่วมของฮอลลีวู้ด, ได้ช่วยเพิ่มทวีความสนใจให้มากขึ้นของประชาชนในความเป็นไปได้เกี่ยวกับชีวิตนอกโลก บางส่วนสนับสนุนให้ใช้วิธีการเชิงรุกสำหรับในความพยายามและได้รับการติดต่อกับสิ่งมีชีวิตจากห้วงอวกาศ, ในขณะที่อีกบางส่วน ยืนยันว่ามันก็อาจจะเป็นอันตรายต่อมนุษย์เราชาวโลกเราได้สำหรับในการที่จะกระตือรือร้นเรียกร้องความสนใจจากมนุษย์ต่างดาว ในอดีตที่ผ่านมา, ความขัดแย้งกันระหว่างวัฒนธรรมที่เจริญและคนพื้นเมืองนั้นก็ยังไม่ได้เป็นไปด้วยดี.

ใหม่!!: ดวงจันทร์ของกาลิเลโอและสิ่งมีชีวิตนอกโลก · ดูเพิ่มเติม »

หิน

หินทราย หิน เป็นของแข็งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นสารผสมที่เกิดจากการเกาะตัวกันแน่นของแร่ตั้งแต่ 1 ชนิดขึ้นไป หรือ เป็นสารผสมของแร่กับแก้วภูเขาไฟ หรือ แร่กับซากดึกดำบรรพ์ หรือของแข็งอื่น ๆ หินมีหลายลักษณะ รูปร่างที่แตกต่างกันออกไป มีสีสันที่ต่างกันออกไป ตามถิ่นที่อยู่ เราสามารถจำแนกหินที่อยู่บนเปลือกโลกทางธรณีวิทยาออกได้เป็น 3 พวกใหญ่ ๆ คือ.

ใหม่!!: ดวงจันทร์ของกาลิเลโอและหิน · ดูเพิ่มเติม »

ออกซิเจน

ออกซิเจน (Oxygen) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ O และเลขอะตอม 8 ธาตุนี้พบมาก ทั้งบนโลกและทั่วทั้งจักรวาล โมเลกุลออกซิเจน (O2 หรือที่มักเรียกว่า free oxygen) บนโลกมีความไม่เสถียรทางเทอร์โมไดนามิกส์จึงเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันกับธาตุอื่น ๆ ได้ง่าย ออกซิเจนเกิดขึ้นครั้งแรกในโลกจากการสังเคราะห์ด้วยแสงของแบคทีเรียและพื.

ใหม่!!: ดวงจันทร์ของกาลิเลโอและออกซิเจน · ดูเพิ่มเติม »

อะตอมไฮโดรเจน

วาดแสดงถึงอะตอมไฮโดรเจน มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณสองเท่าของรัศมีของแบบจำลองของบอร์ (ไม่ใช่สัดส่วนจริง) อะตอมไฮโดรเจน (hydrogen atom) คืออะตอมของไฮโดรเจนซึ่งเป็นธาตุเคมีชนิดหนึ่ง อะตอมที่มีค่าประจุไฟฟ้าเป็นกลางประกอบด้วยโปรตอนที่มีประจุบวกหนึ่งตัว และอิเล็กตรอนที่มีประจุลบหนึ่งตัวโคจรอยู่โดยรอบนิวเคลียสด้วยแรงคูลอมบ์ อะตอมไฮโดรเจนเป็นส่วนประกอบทางเคมีประมาณ 75% ของมวลพื้นฐานทั้งหมดของเอกภพนี้ (มวลเอกภพส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่ในรูปแบบธาตุเคมี หรือแบริออน แต่ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของสสารมืดและพลังงานมืด).

ใหม่!!: ดวงจันทร์ของกาลิเลโอและอะตอมไฮโดรเจน · ดูเพิ่มเติม »

องศา (มุม)

องศา (degree) หรือในชื่อเต็มคือ ดีกรีของส่วนโค้ง (degree of arc, arcdegree) คือหน่วยวัดมุมชนิดหนึ่งบนระนาบสองมิติ หนึ่งองศา แทนการกวาดมุมรอบจุดศูนย์กลางของวงกลมไปได้ 1 ส่วนใน 360 ส่วน และเมื่อมุมนั้นอ้างอิงกับเส้นเมอริเดียน องศาจะแสดงให้เห็นถึงตำแหน่งต่างๆ บนวงกลมใหญ่ของทรงกลม อย่างที่มีการใช้อ้างอิงตำแหน่งบนโลก ดาวอังคาร หรือทรงกลมท้องฟ้า เป็นต้น สัญลักษณ์วงกลมเล็ก ° ใช้แทนหน่วยองศาในการเขียน และเป็นหน่วยเดียวที่ไม่ต้องเว้นวรรคระหว่างตัวเลขกับสัญลักษณ์ เช่น 15° แทนมุมขนาด 15 อง.

ใหม่!!: ดวงจันทร์ของกาลิเลโอและองศา (มุม) · ดูเพิ่มเติม »

ฮีรา

ีร่า หรือ เฮร่า (Hera; Ήρα, Ήρη) เป็นมเหสีและเชษฐภคินี (พี่สาว) ของซูสในพระเจ้าโอลิมปัสของเทพปกรณัมและศาสนากรีก เป็นธิดาของโครนัสและเรีย หน้าที่หลักของพระนางคือเป็นเทพเจ้าแห่งสตรีและการสมรส ภาคโรมัน คือ จูโน พิจารณาว่าวัว สิงโตและนกยูงเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ประจำพระองค์ ฮีร่าเป็นที่รู้จักจากธรรมชาติอิจฉาและพยาบาทของพระนาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อชายาองค์อื่น ๆ ของซูส และบุตรที่เกิดจากชายาเหล่านั้น ไม่ว่าพวกนางเป็นเทพเจ้าหรือมนุษย์ก็ตาม ตัวอย่างของผู้ที่ถูกฮีร่าปองร้ายมีมากมาย เช่น ลีโต มารดาของเทพอพอลโลและเทพีอาร์ทิมิส เฮราคลีส ไอโอ ลามิอา เกรานา ซิมิลี มารดาของเทพไดอะไนซัส ยูโรปา เป็นต้น ก็จะเจอจุดจบแบบไม่สวยงาม ในมหากาพย์อีเลียด ของ โฮเมอร์ ได้กล่าวถึงพระนางว่า เทพีตาวัว (ox-eyed goddess) ซึ่งแสดงถึงสัตว์ประจำตัวของฮีรานั่นเอง.

ใหม่!!: ดวงจันทร์ของกาลิเลโอและฮีรา · ดูเพิ่มเติม »

จานดาวเคราะห์ก่อนเกิด

นดาวเคราะห์ก่อนเกิด ในเนบิวลานายพราน จานดาวเคราะห์ก่อนเกิด (Protoplanetary disk) คือแผ่นจานสสารระหว่างดาวอัดแน่นไปด้วยแก๊สที่หมุนวนไปรอบๆ ดาวฤกษ์ที่กำลังก่อตัวขึ้นใหม่ ซึ่งเรียกว่า ดาวฤกษ์ชนิด T Tauri หรือดาวเฮอร์บิก (Herbig) จานดาวเคราะห์ก่อนเกิดอาจเป็นจานพอกพูนมวลชนิดหนึ่ง เพราะสสารแก๊สอาจจะตกจากขอบจานด้านในเข้าไปบนพื้นผิวของดาวฤกษ์ได้ แต่กระบวนการทั้งสองนี้แตกต่างกันและไม่ควรนำมาใช้สับสนปนเปกัน จานดาวเคราะห์ก่อนเกิดที่อยู่รอบดาวฤกษ์ T Tauri แตกต่างจากแผ่นจานที่อยู่รอบวัตถุโบราณชนิดอื่นในระบบดาวคู่ เนื่องจากความแตกต่างด้านขนาดและอุณหภูมิ จานดาวเคราะห์ก่อนเกิดมีรัศมีราว 1000 หน่วยดาราศาสตร์ และค่อนข้างเย็น มีเพียงเฉพาะส่วนในของแผ่นจานเท่านั้นจะมีอุณหภูมิสูงถึง 1000 เคลวิน โดยทั่วไป ดาวฤกษ์ก่อนเกิดจะก่อตัวในเมฆโมเลกุลซึ่งมีโมเลกุลไฮโดรเจนดั้งเดิมอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อบางส่วนของเมฆโมเลกุลดำเนินไปถึงจุดวิกฤตของขนาด มวล หรือความหนาแน่น มันจะแตกสลายลงด้วยแรงโน้มถ่วงภายในของมันเอง เมฆที่แตกสลายลงนี้เรียกว่า เนบิวลาสุริยะ ซึ่งเป็นกลุ่มเมฆที่มีความหนาแน่นมากยิ่งขึ้น แก๊สที่เคยเคลื่อนที่แบบสะเปะสะปะจะเริ่มเคลื่อนไปตามทิศทางของโมเมนตัมเชิงมุมของเนบิวลานั้น การพยายามรักษาโมเมนตัมเชิงมุมไว้ทำให้มีการหมุนวนเพิ่มมากขึ้น และเนบิวลามีขนาดเล็กลง แต่อัดแน่นมากขึ้น กลายเป็นกลุ่มเมฆที่แบนลงคล้ายกับแผ่นพิซซา แล้วจึงกลายเป็นแผ่นจาน การแตกสลายครั้งแรกกินเวลาราว 100,000 ปี หลังจากนั้นอุณหภูมิพื้นผิวของดาวฤกษ์จึงเพิ่มขึ้นจนถึงระดับของดาวฤกษ์ในแถบลำดับหลัก เรียกดาวฤกษ์ในระดับนี้ว่า ดาวฤกษ์ T Tauri แก๊สจะพอกพูนไปบนดาวฤกษ์มากขึ้นเรื่อยๆ ไปตลอด 10 ล้านปีถัดไป ก่อนที่แผ่นจานจะสลายตัวหายไปหมด ซึ่งอาจเป็นผลจากแรงดันของลมสุริยะขับไล่มันไป แผ่นจานดาวเคราะห์ก่อนเกิดที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่ค้นพบมีอายุ 25 ล้านปี.

ใหม่!!: ดวงจันทร์ของกาลิเลโอและจานดาวเคราะห์ก่อนเกิด · ดูเพิ่มเติม »

จุลินทรีย์

จุลินทรีย์ ''E coli'' ขนาด 10,000 เท่า จุลินทรีย์, จุลชีพ, จุลชีวัน หรือ จุลชีวิน (microorganism) เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจึงจำเป็นต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ ได้แก่ แบคทีเรีย อาร์เคีย รา และ ยีสต์ เป็นต้น เราสามารถพบจุลินทรีย์ได้ทุกสภาวะแวดล้อม แม้แต่ในสภาวะแวดล้อมที่สิ่งมีชีวิตอื่นอยู่ไม่ได้ แต่จุลินทรีย์บางชนิดสามารถปรับตัวอาศัยอยู่ได้ เช่น ในน้ำพุร้อนบริเวณภูเขาไฟใต้ทะเลลึก หรือภูเขาไฟธรรมดา ใต้มหาสมุทรที่มีความกดดันของน้ำสูงๆ ในน้ำแข็งที่มีอุณหภูมิเย็นจัด บริเวณที่มีสภาพความเป็นกรดด่างสูง หรือแม้กระทั่งในบริเวณที่ไม่มีออกซิเจนส่วนใหญ่หมายถึงสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว หรือหลายๆเซลล์ (เช่น เชื้อรา) หมวดหมู่:ชีววิทยา.

ใหม่!!: ดวงจันทร์ของกาลิเลโอและจุลินทรีย์ · ดูเพิ่มเติม »

จุดปลายระยะทางวงโคจร

ปลายระยะทางวงโคจร ในทางดาราศาสตร์ จุดปลายระยะทางวงโคจร (apsis) หมายถึง จุดในวงโคจรของวัตถุที่อยู่ใกล้ที่สุดหรือไกลที่สุดจากจุดศูนย์กลางมวลที่มันโคจรรอบ จุดที่เคลื่อนเข้าไปใกล้จุดศูนย์กลางมวลมากที่สุด เรียกว่า จุดใกล้ที่สุด (periapsis หรือ pericentre) จุดที่เคลื่อนออกไปไกลที่สุดเรียกว่า จุดไกลที่สุด (apoapsis, apocentre หรือ apapsis) เส้นตรงที่ลากจากจุดใกล้ที่สุดไปยังจุดไกลที่สุด เรียกว่า line of apsides ซึ่งก็คือแกนเอกของวงรี หรือเส้นที่ยาวที่สุดภายในวงรีนั่นเอง นอกจากนี้มีคำศัพท์เฉพาะอื่นๆ ที่ใช้เรียกจุดใกล้ที่สุดหรือจุดไกลที่สุดในการโคจรรอบเทหวัตถุบางชนิด จุดใกล้ที่สุดและจุดไกลที่สุดในการโคจรรอบโลก เรียกว่า perigee และ apogee ตามลำดับ จุดใกล้ที่สุดและจุดไกลที่สุดในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ เรียกว่า perihelion และ aphelion ตามลำดั.

ใหม่!!: ดวงจันทร์ของกาลิเลโอและจุดปลายระยะทางวงโคจร · ดูเพิ่มเติม »

ดวงอาทิตย์

วงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ ณ ใจกลางระบบสุริยะ เป็นพลาสมาร้อนทรงเกือบกลมสมบูรณ์ โดยมีการเคลื่อนท่พาซึ่งผลิตสนามแม่เหล็กผ่านกระบวนการไดนาโม ปัจจุบันเป็นแหล่งพลังงานสำคัญที่สุดสำหรับสิ่งมีชีวิตบนโลก มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.39 ล้านกิโลเมตร ใหญ่กว่าโลก 109 เท่า และมีมวลประมาณ 330,000 เท่าของโลก คิดเป็นประมาณ 99.86% ของมวลทั้งหมดของระบบสุริยะ มวลประมาณสามในสี่ของดวงอาทิตย์เป็นไฮโดรเจน ส่วนที่เหลือเป็นฮีเลียมเป็นหลัก โดยมีปริมาณธาตุหนักกว่าเล็กน้อย รวมทั้งออกซิเจน คาร์บอน นีออนและเหล็ก ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ลำดับหลักระดับจี (G2V) ตามการจัดประเภทดาวฤกษ์ ซึ่งเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า "ดาวแคระเหลือง" ดวงอาทิตย์เกิดเมื่อประมาณ 4.6 พันล้านปีก่อนจากการยุบทางความโน้มถ่วงของสสารภายในบริเวณเมฆโมเลกุลขนาดใหญ่ สสารนี้ส่วนใหญ่รวมอยู่ที่ใจกลาง ส่วนที่เหลือแบนลงเป็นแผ่นโคจรซึ่งกลายเป็นระบบสุริยะ มวลใจกลางร้อนและหนาแน่นมากจนเริ่มเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น ณ แก่น ซึ่งเชื่อว่าเป็นกระบวนการเกิดดาวฤกษ์ส่วนใหญ่ ดวงอาทิตย์มีอายุประมาณครึ่งอายุขัย ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนักเป็นเวลากว่า 4 พันล้านปีมาแล้วและจะค่อนข้างเสถียรไปอีก 5 พันล้านปี หลังฟิวชันไฮโดรเจนในแก่นของมันลดลงถึงจุดที่ไม่อยู่ในดุลยภาพอุทกสถิตต่อไป แก่นของดวงอาทิตย์จะมีความหนาแน่นและอุณหภูมิเพิ่มขึ้นส่วนชั้นนอกของดวงอาทิตย์จะขยายออกจนสุดท้ายเป็นดาวยักษ์แดง มีการคำนวณว่าดวงอาทิตย์จะใหญ่พอกลืนวงโคจรปัจจุบันของดาวพุทธและดาวศุกร์ และทำให้โลกอาศัยอยู่ไม่ได้ มนุษย์ทราบความสำคัญของดวงอาทิตย์ที่มีโลกมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และบางวัฒนธรรมถือดวงอาทิตย์เป็นเทวดา การหมุนของโลกและวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลกเป็นรากฐานของปฏิทินสุริยคติ ซึ่งเป็นปฏิทินที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ดวงจันทร์ของกาลิเลโอและดวงอาทิตย์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวบริวาร

วบริวาร (Natural satellite) คือ วัตถุตามธรรมชาติที่โคจรรอบดาวเคราะห์ ระบบสุริยะของเรามีดาวบริวารบริวารอยู่มากกว่า 140 ดวง โดยปกติดาวเคราะห์แก๊สที่มีขนาดใหญ่ น้ำหนักมาก จะมีดาวบริวารจำนวนมาก ดาวพุธและดาวศุกร์ไม่มีดาวบริวารแม้แต่ดวงเดียว โลกมี 1 ดวง คือดวงจันทร์ ดาวอังคารมีดาวบริวารขนาดเล็ก 2 ดวง.

ใหม่!!: ดวงจันทร์ของกาลิเลโอและดาวบริวาร · ดูเพิ่มเติม »

ดาวบริวารของดาวพฤหัสบดี

วพฤหัสบดีกับดาวบริวารบริวารที่ใหญ่ที่สุด 4 ดวง ดาวพฤหัสบดีมีดาวบริวารเท่าที่ค้นพบและยืนยันแล้ว 67 ดวง ขณะนี้มันจึงเป็นดาวเคราะห์ที่มีบริวารมากที่สุดในระบบสุริยะ ดาวบริวารที่มีมวลมากที่สุด 4 ดวงหรือดวงจันทร์ของกาลิเลโอ ถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1610 ถือเป็นวัตถุในระบบสุริยะกลุ่มแรก ๆ ที่ถูกค้นพบว่าโคจรรอบดาวดวงอื่นที่ไม่ใช่โลกหรือดวงอาทิตย์ นับตั้งแต่สิ้นสุดคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีดาวบริวารขนาดเล็กอีกเป็นจำนวนมากที่ถูกค้นพบและได้รับการตั้งชื่อตามชื่อคนรักหรือธิดาของเทพเจ้าจูปิเตอร์ของโรมัน (หรือเทพเจ้าซุสของกรีก) ดาวบริวาร 8 ดวงของดาวพฤหัสบดีเป็นบริวารที่มีวงโคจรปกติ กล่าวคือ มีวงโคจรเกือบเป็นวงกลมไปในทางเดียวกับดาวดวงอื่น ๆ และเอียงทำมุมกับเส้นศูนย์สูตรของดาวพฤหัสบดีไม่มากนัก ดาวบริวารของกาลิเลโอทั้ง 4 ดวงมีลักษณะเป็นทรงกลม ดังนั้นดาวบริวารเหล่านี้อาจได้รับการจัดเป็นดาวเคราะห์แคระหากพวกมันโคจรรอบดวงอาทิตย์โดยตรง ส่วนดาวบริวารอีก 4 ดวงมีขนาดเล็กกว่าและอยู่ใกล้ดาวพฤหัสบดีมากกว่าดาวบริวารของกาลิเลโอ เป็นแหล่งกำเนิดฝุ่นซึ่งคอยเสริมความหนาแน่นให้กับวงแหวนของดาวพฤหัสบดี ดาวบริวารอื่น ๆ ที่เหลือเป็นบริวารขนาดเล็กซึ่งอยู่ห่างไกลจากดาวพฤหัสบดีมากกว่า จัดเป็นดาวบริวารผิดปกติ คือ มีความเอียงและความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจรสูง (วงโคจรไม่มีจุดศูนย์กลางจุดเดียวกันสม่ำเสมอ) บางดวงโคจรไปในทางเดียวกันและบางดวงโคจรสวนทางกับบริวารดวงอื่น ๆ ดาวบริวารเหล่านี้อาจเคยเป็นดาวเคราะห์น้อยที่โคจรรอบดวงอาทิตย์มาก่อน แต่ถูกอำนาจแรงโน้มถ่วงของดาวพฤหัสบดีจับไว้ในภายหลัง มีดาวบริวารที่เพิ่งถูกค้นพบ 16 ดวงในกลุ่มนี้ยังไม่ได้รับการตั้งชื่อ.

ใหม่!!: ดวงจันทร์ของกาลิเลโอและดาวบริวารของดาวพฤหัสบดี · ดูเพิ่มเติม »

ดาวพฤหัสบดี

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ดวงจันทร์ของกาลิเลโอและดาวพฤหัสบดี · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเคราะห์แคระ

แสดงวัตถุพ้นดาวเนปจูนขนาดใหญ่ ที่เป็นที่รู้จักแล้วในปัจจุบัน ดาวเคราะห์แคระ เป็นดาวชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายดาวเคราะห์ ตามการจำแนกชนิดดาวเคราะห์ที่เสนอโดยสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล (International Astronomical Union: IAU) เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2549.

ใหม่!!: ดวงจันทร์ของกาลิเลโอและดาวเคราะห์แคระ · ดูเพิ่มเติม »

ครีต

รีต (Crete) หรือ ครีตี (Κρήτη: Krētē, Kriti) เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในหมู่เกาะกรีกและเป็นเกาะที่ใหญ่เป็นลำดับห้าในบรรดาเกาะในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ที่มีเนื้อที่ 8,336 ตารางกิโลเมตร ครีตเป็นศูนย์กลางของอารยธรรมมิโนอัน (Minoan civilization) ที่เป็นอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดในบรรดาอารยธรรมกรีกที่รุ่งเรืองระหว่างราว 2600 ถึง 1400 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในปัจจุบันครีตเป็นหนึ่งในสิบสามเขตการปกครองของกรีซ (Peripheries of Greece) และมีความสำคัญทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมต่อกรีซ เดิมเกาะครีตรู้จักกันในชื่อภาษาอิตาลีว่า “คันเดีย” (Candia) จากชื่อเมืองหลวงในยุคกลางเฮราคลิออน (Heraklion) “Chandax” (ภาษากรีก: Χάνδαξ หรือ Χάνδακας, "คู", ตุรกี: Kandiye) ในภาษาละตินเรียกว่า “เครตา” (Creta) และในภาษาตุรกีเรียกว่า “กิริต” (Girit) ที่ตั้งของครีตมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ในปัจจุบันเป็นสถานที่ที่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว ครีตเป็นที่ตั้งของ สถาที่สำคัญของอารยธรรมมิโนอันที่รวมทั้งคนอสซอส และ ไฟทอส (Phaistos), กอร์ทิส (Gortys), เมืองท่าคาเนีย (Chania) ของเวนิส, ปราสาทเวนิสที่เรธิมโน (Rethymno) และ ซอกเขาซามาเรีย (Samaria Gorge) ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเกาะครีตเป็นฐานทัพเรือของอิตาลี.

ใหม่!!: ดวงจันทร์ของกาลิเลโอและครีต · ดูเพิ่มเติม »

ความส่องสว่างปรากฏ

วามส่องสว่างปรากฏ (apparent magnitude, m) เป็นหน่วยวัดความสว่างของดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ หรือวัตถุท้องฟ้าอื่นในจักรวาล กล่าวอีกนัยหนึ่งคือปริมาณแสดงที่ได้รับจากวัตถุนั้น นิยามให้ความส่องสว่างปรากฏมีค่าเพิ่มขึ้น 5 หน่วยเมื่อความสว่างลดลงเหลือ 1 ใน 100 (นั่นคือเมื่อวัตถุเดียวกันแต่อยู่ไกลขึ้นเป็น 10 เท่า) หรือค่าความส่องสว่างปรากฏเพิ่มขึ้น 1 หน่วยเมื่อความสว่างลดลง 2.512 เท่า โดยที่ 2.512 คือรากที่ห้าของ 100 (1000.2) ปริมาณแสงที่รับได้ จริง ๆ แล้วจะขึ้นอยู่กับความหนาของชั้นบรรยากาศในทิศทางการมองวัตถุ ดังนั้นความส่องสว่างปรากฏจึงปรับค่าให้ได้ความสว่างเมื่อผู้สังเกตอยู่นอกชั้นบรรยากาศ ยิ่งวัตถุมีแสงจางเท่าไหร่ค่าความส่องสว่างปรากฏก็ยิ่งมีค่ามากเท่านั้น.

ใหม่!!: ดวงจันทร์ของกาลิเลโอและความส่องสว่างปรากฏ · ดูเพิ่มเติม »

ความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจร

ตัวอย่างค่าความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจร ในทางฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจร (Orbital eccentricity) เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของวงโคจร มีความหมายถึงความเบี่ยงเบนไปจากวงกลมของวงโคจรของวัตถุนั้น คำนวณโดยลักษณะเดียวกับความเยื้องศูนย์กลางของภาคตัดกรวย โดยวงโคจรของวัตถุจะมีค่าความเยื้องศูนย์กลาง(e\,\!) ดังนี้.

ใหม่!!: ดวงจันทร์ของกาลิเลโอและความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจร · ดูเพิ่มเติม »

ความเอียงของวงโคจร

แสดงความเอียงของวงโคจร ความเอียงของวงโคจร (inclination) เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของวงโคจร หมายถึงมุมระหว่างระนาบของวงโคจรกับระนาบอ้างอิง ความเอียงของวงโคจร เป็นหนึ่งใน 6 องค์ประกอบของวงโคจร ใช้อธิบายถึงรูปร่างและทิศทางของวงโคจรของวัตถุท้องฟ้า นับเป็นระยะเชิงมุมของระนาบวงโคจรเทียบกับระนาบอ้างอิง (โดยมากมักใช้เส้นศูนย์สูตรหรือเส้นสุริยวิถีของดาวฤกษ์แม่ในระบบ และมีหน่วยเป็นองศา) สำหรับระบบสุริยะ ความเอียงของวงโคจร (คือ i ในภาพด้านข้าง) ของดาวเคราะห์ดวงหนึ่งๆ จะเท่ากับมุมระหว่างระนาบของวงโคจรของดาวเคราะห์นั้นกับเส้นสุริยวิถี ซึ่งเป็นระนาบที่เป็นเส้นทางโคจรของโลก นอกจากนี้ยังสามารถวัดได้โดยเปรียบเทียบกับระนาบอื่นๆ เช่น เทียบกับเส้นศูนย์สูตรของดวงอาทิตย์ หรือเทียบกับระนาบโคจรของดาวพฤหัสบดี แต่การใช้เส้นสุริยวิถีในการอ้างอิงจะเหมาะสมกับผู้สังเกตการณ์บนโลกมากกว่า วงโคจรของดาวเคราะห์ส่วนใหญ่ในระบบสุริยะของเรามีค่าความเอียงของวงโคจรค่อนข้างน้อย ไม่ว่าจะเปรียบเทียบกันเองหรือเทียบกับเส้นศูนย์สูตรของดวงอาทิตย์ก็ตาม มีข้อยกเว้นก็เพียงในบรรดาดาวเคราะห์แคระ เช่น พลูโต และ อีรีส ซึ่งมีค่าความเอียงของวงโคจรเทียบกับสุริยวิถีสูงถึง 17 องศาและ 44 องศาตามลำดับ ดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่เช่น พัลลัส ก็มีความเอียงของวงโคจรสูงถึง 34 องศา สำหรับดาวเคราะห์นอกระบบ ยังไม่ค่อยมีการวัดความเอียงของวงโคจร ทราบได้แต่เพียงมวลต่ำสุดของมันเท่านั้น ซึ่งหมายถึง ดาวเคราะห์นอกระบบบางดวงที่แท้อาจเป็นดาวแคระน้ำตาล หรือเป็นดาวแคระแดงที่จางมากๆ ก็ได้ มีแต่เพียงดาวเคราะห์ที่ตรวจพบการเคลื่อนผ่าน และที่ตรวจจับด้วยวิธีมาตรดาราศาสตร์ จึงสามารถทราบถึงความเอียงของวงโคจร และบางทีอาจทราบถึงมวลที่แท้จริงได้ ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 2010 ข้างหน้านี้ น่าจะมีการตรวจวัดความเอียงของวงโคจรและมวลที่แท้จริงของดาวเคราะห์นอกระบบจำนวนมากได้เพิ่มขึ้น โดยใช้การสังเกตการณ์ในอวกาศผ่านปฏิบัติการต่างๆ เช่น Gaia mission, Space Interferometry Mission, และ กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็.

ใหม่!!: ดวงจันทร์ของกาลิเลโอและความเอียงของวงโคจร · ดูเพิ่มเติม »

คัลลิสโต

ัลลิสโต (Callisto) เป็นดาวบริวารดวงที่ 8 ของดาวพฤหัสบดีและเป็นหนึ่งในดวงจันทร์ของกาลิเลโอที่สี่ของดาวพฤหัสบดี ด้วยระยะทางรัศมีวงโคจรประมาณ 1,880,000 กิโลเมตร คัลลิสโตเป็นดาวบริวาร กาลิเลียน วงนอกสุด คัลลิสโตมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 99% ของเส้นผ่านศูนย์กลางของดาวพุธ แต่มีมวลเพียงประมาณหนึ่งในสามของดาวพุธ คัลลิสโต ประกอบไปด้วยหิน และน้ำแข็ง มีความหนาแน่นเฉลี่ยประมาณ 1.83 g/cm3 สารประกอบที่ตรวจพบบนพื้นผิวน้ำแข็ง ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์,ซิลิเกต และสารประกอบอินทรีย์ การตรวจสอบโดย ยานอวกาศกาลิเลโอ พบว่าคัลลิสโตอาจจะมีแกนซิลิเกตขนาดเล็ก และ และอาจจะมีมหาสมุทรใต้ดินในของเหลวน้ำที่ระดับความลึกมากกว่า 100 กิโลเมตร.

ใหม่!!: ดวงจันทร์ของกาลิเลโอและคัลลิสโต · ดูเพิ่มเติม »

คาบดาราคติ

ในทางดาราศาสตร์ คาบดาราคติ (orbital period) คือระยะเวลาที่วัตถุหนึ่งใช้ในการโคจรรอบวัตถุอื่นที่ใช้ในทางดาราศาสตร์ ซึ่งคาบดาราคตินั้นมีประโยชน์อย่างมากสำหรับนักดาราศาสตร์ ที่จะต้องใช้คาบดาราคติในการคำนวณระยะเวลาของดาวดวงหนึ่งโคจรรอบดาวอีกดวงหนึ่ง คาบดาราคติยังแบ่งออกได้เป็นหลายแบบ ดังนี้.

ใหม่!!: ดวงจันทร์ของกาลิเลโอและคาบดาราคติ · ดูเพิ่มเติม »

คาร์บอนไดออกไซด์

ร์บอนไดออกไซด์ (carbon dioxide) หรือ CO2 เป็นก๊าซไม่มีสี ซึ่งหากหายใจเอาก๊าซนี้เข้าไปในปริมาณมากๆ จะรู้สึกเปรี้ยวที่ปาก เกิดการระคายเคืองที่จมูกและคอ และหาจยใจไม่ออกเนื่องจากอาจเกิดการละลายของแก๊สนี้ในเมือกในอวัยวะ ก่อให้เกิดกรดคาร์บอนิกอย่างอ่อน คาร์บอนไดออกไซด์มีความหนาแน่น 1.98 kg/m3 ซึ่งเป็นประมาณ 1.5 เท่าของอากาศ โมเลกุลประกอบด้วยพันธะคู่ 2 พันธะ (O.

ใหม่!!: ดวงจันทร์ของกาลิเลโอและคาร์บอนไดออกไซด์ · ดูเพิ่มเติม »

ซัลเฟอร์ไดออกไซด์

ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (สูตรทางเคมี SO2) เป็นออกไซด์ชนิดหนึ่งของกำมะถัน.

ใหม่!!: ดวงจันทร์ของกาลิเลโอและซัลเฟอร์ไดออกไซด์ · ดูเพิ่มเติม »

ซิลิกอนไดออกไซด์

ทราย หนึ่งในอัญรูปของซิลิกา ซิลิกอนไดออกไซด์ (silicon dioxide) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า ซิลิกา (จากภาษาละตินคำว่า silex) คือสารประกอบระหว่างออกไซด์และซิลิกอนรวมตัวกันเป็นสูตรทางเคมีคือ SiO2 และเป็นที่รู้กันตั้งแต่สมัยโบราณถึงความแข็งแกร่งของมัน ซิลิกามักพบได้ทั่วไปในธรรมชาติอาจในรูปของทรายหรือควอตซ์ และในผนังเซลล์ของไดอะตอม ซิลิกาเป็นสารประกอบที่มีจำนวนมากโดยทั่วไปบนเปลือกโลก ซิลิกาได้นำมาใช้เป็นวัสดุในการผลิตที่หลากหลาย อาทิ แก้ว, คริสตัล, เจล, แอโรเจล, ซิลิการมควัน และคอลลอยดอลซิลิกา ยิ่งไปกว่านั้น ซิลิกานาโนสปริงก็ผลิตขึ้นจากวิธีความดันไอ-ของเหลว-ของแข็ง ในอุณหภูมิที่ใกล้เคียงกับอุณหภูมิห้อง ซิลิกาใช้เป็นวัสดุเบื้องต้นในการผลิตกระจก, แก้วน้ำและขวดแก้ว สายใยแก้วที่ใช้ในการโทรคมนาคมก็เป็นผลิตผลจากซิลิกาเช่นเดียวกัน และยังใช้เป็นวัสถุดิบแรกเริ่มในผลิตภัณฑ์จำพวกเซรามิกเช่น เครื่องปั้นดินเผา, เครื่องหิน, เครื่องลายคราม และการผลิตพาร์ตแลนด์ซีเมนต.

ใหม่!!: ดวงจันทร์ของกาลิเลโอและซิลิกอนไดออกไซด์ · ดูเพิ่มเติม »

ซูส

ซุส หรือ ซีอุส (Zeus; Ζεύς, Zeús ซฺเดอุส) ทรงเป็น "พระบิดาแห่งพระเจ้าและมนุษย์" (πατὴρ ἀνδρῶν τε θεῶν τε, patḕr andrōn te theōn te) ผู้ปกครองเทพโอลิมปัสแห่งยอดเขาโอลิมปัสดังบิดาปกครองครอบครัวตามศาสนากรีกโบราณ พระองค์ทรงเป็นเทพแห่งท้องฟ้าและสายฟ้าในเทพปกรณัมกรีก ซูสกับพระเจ้าจูปิเตอร์ของโรมันมาจากรากศัพท์เดียวกัน และกลายมามีความใกล้ชิดกันภายใต้อิทธิพลเฮเลนิสติก ซูสเป็นบุตรของโครนัสและรีอา และมีพระชนมายุน้อยที่สุด ในตำนานกล่าวว่า พระองค์สมรสกับฮีรา ทว่าที่ผู้พยาการณ์ที่ดอโดนา คู่สมรสของพระองค์คือ ไดโอนี ตามที่ระบุในอีเลียด พระองค์ทรงเป็นพระบิดาของแอโฟรไดที โดยไดโอนีเป็นพระมารดา พระองค์ทรงเป็นที่รู้จักในเรื่องกาม ซึ่งส่งผลให้พระองค์มีพระโอรสธิดาที่เป็นพระเจ้าและวีรบุรุษมากมาย รวมทั้งอะธีนา อะพอลโลและอาร์ทิมิส เฮอร์มีส เพอร์เซฟะนี ไดอะไนซัส เพอร์ซิอัส เฮราคลีส เฮเลนแห่งทรอย มิวส์ แอรีส ฮีบีและฮิฟีสตัส วอลเตอร์ เบอร์เกิร์ตบรรยายไว้ในหนังสือ ความเชื่อกรีกโบราณ ว่า "ซูสเป็นเทพบิดรของบรรดาเทวดาทั้งหลาย ทวยเทพทั้งหมดกำเนิดขึ้นเพราะมีพระองค์" ชาวกรีกเชื่อว่า พระองค์คือ เทพเจ้าสูงสุด, ผู้ครอบครองจักรวาล อ้างอิงโดย พอซาเนียส (นักภูมิศาสตร์) "ที่ซูสเป็นกษัตริย์ในสวรรค์เป็นคำที่มนุษย์ทุกคนทราบ" เฮซิออด กวี ธีโอโกนี ซูสได้จัดสรรมอบอำนาจให้เหล่าเทพ กวีโฮเมอริค พระองค์มีอำนาจปกครองสูงสุดในเหล่าเทพ สัญลักษณ์ของซูสคือ อัสนีบาตสายฟ้า, เหยี่ยว, กระทิง และต้นโอ๊ก นอกเหนือจากตำนานอินโด-ยูโรเปียน ฉายาตามตำนาน "ผู้รวบรวมเมฆ" (กรีก: Νεφεληγερέτα, Nephelēgereta) ได้รับมาจากสัญลักษณ์ตามวัฒนธรรมตะวันออกใกล้โบราณ ตัวอย่างเช่น คทาของกษัตริย์ ศิลปินชาวกรีกมักจะนำเสนอรูปปั้นเทพซูสใน ท่ายืนหรือท่วงท่าการก้าวไปข้างหน้า มีอัสนีบาตประดับในพระหัตถ์ขวา หรือประทับอยู่บนพระราชบัลลังก.

ใหม่!!: ดวงจันทร์ของกาลิเลโอและซูส · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิทินดาวเคราะห์

ปฏิทินดาวเคราะห์ (ephemeris; มาจากคำภาษากรีกว่า ἐφήμερος ephemeros หมายถึง "ประจำวัน") คือตารางแสดงตำแหน่งของวัตถุทางดาราศาสตร์ที่ปรากฏบนท้องฟ้าในช่วงเวลาหนึ่งๆ มีการนำไปใช้ที่แตกต่างกันสำหรับการศึกษาดาราศาสตร์และโหราศาสตร์ นับเป็นผลงานชิ้นต้นๆ ชิ้นหนึ่งของการใช้คอมพิวเตอร์คำนวณข้อมูลทางกลศาสตร์ ข้อมูลสำหรับนักดาราศาสตร์จะเป็นตำแหน่งดาวที่แสดงบนระบบพิกัดขั้วโลกทรงกลม ประกอบด้วยค่าไรต์แอสเซนชั่นและเดคลิเนชั่น ส่วนตารางสำหรับนักโหราศาสตร์จะเป็นค่าลองจิจูดกับเส้นทางของจักรราศี อาจมีการแสดงค่าเดคลิเนชั่นประกอบด้วย ตำแหน่ง Astrological position อาจกำหนดเป็นเที่ยงวันหรือเที่ยงคืนก็ได้ ปฏิทินในทางดาราศาสตร์อาจมีข้อมูลเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่สำคัญหรือน่าสนใจสำหรับทั้งนักดาราศาสตร์และโหราศาสตร์ เช่น การเกิดคราส การเกิดปรากฏการณ์ดาวเคราะห์เคลื่อนที่ถอยหลัง ดาวเคราะห์เคลื่อนบังกัน เวลาอายัน ดิถีของดวงจันทร์ เป็นต้น นอกเหนือจากปรากฏการณ์ของดาวเคราะห์และดวงจันทร์แล้วในบางครั้งยังรวมถึงไครอนและวัตถุท้องฟ้าขนาดเล็กอื่นๆ ด้ว.

ใหม่!!: ดวงจันทร์ของกาลิเลโอและปฏิทินดาวเคราะห์ · ดูเพิ่มเติม »

ปล่องแบบน้ำร้อน

ปล่องแบบน้ำร้อน (Hydrothermal vent.) อาจเรียกว่าปล่องไฮโดรเทอร์มอร์หรือปล่องน้ำร้อนใต้ทะเล คือรอยแยกบนเปลือกผิวโลกที่มีน้ำร้อนไหลออกมา ปรกติจะพบใกล้กับแหล่งภูเขาไฟที่ที่แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ออกจากกันในแอ่งมหาสมุทรและฮอตสปอต ปล่องไฮโดรเทอร์มอลพบได้ทั่วไปเนื่องจากในทางธรณีวิทยาแล้วโลกของเรามีการเคลื่อนที่ตลอดเวลาและมีมวลน้ำจำนวนมหาศาลทั้งบนผิวโลกและในเปลือกโลก ประเภทที่พบบนพื้นผิวทวีปก็คือแหล่งน้ำพุร้อน, พุแก๊สและไกเซอร์ ระบบของปล่องไฮโดรเทอร์มอลบนพื้นผิวทวีปที่เป็นที่รู้จักกันดีอาจเป็นแหล่งน้ำพุร้อนในอุทยานแห่งชาติเยลโลว์สโตนในสหรัฐอเมริกา สำหรับใต้ทะเลนั้นปล่องไฮโดรเทอร์มอลอาจทำให้เกิดลักษณะที่เรียกว่าแบลคสโมกเกอร์หรือไวท์สโมกเกอร์ เมื่อเทียบกับพื้นที่ส่วนใหญ่ใต้ทะเลลึกแล้ว พื้นที่โดยรอบปล่องไฮโดรเทอร์มอลจะมีความอุดมสมบูรณ์ทางชีวภาพเป็นอย่างมาก ปรกติจะเป็นที่อยู่อาศัยของชุมชนสิ่งมีชีวิตที่ซับซ้อนที่หล่อเลี้ยงโดยสารเคมีที่ละลายอยู่ในของเหลวบริเวณปล่องนั้น สิ่งมีชีวิตอย่างอาร์เคียที่ดำรงชีวิตอยู่ด้วยการสังเคราะห์อาหารทางเคมีถือเป็นรากฐานของห่วงโซ่อาหารที่รองรับสิ่งมีชีวิตที่หลากหลายอย่างเช่นหนอนท่อยักษ์ หอยกาบ และกุ้ง เชื่อกันว่ามีปล่องไฮโดรเทอร์มอลบนดวงจันทร์ยูโรปาของดาวพฤหัสบดีด้วย และก็เดากันว่ามีปล่องไฮโดรเทอร์มอลโบราณบนดาวอังคารด้วยเหมือนกัน.

ใหม่!!: ดวงจันทร์ของกาลิเลโอและปล่องแบบน้ำร้อน · ดูเพิ่มเติม »

นาซา

องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (National Aeronautics and Space Administration) หรือ นาซา (NASA) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) ตามรัฐบัญญัติการบินและอวกาศแห่งชาติ เป็นหน่วยงานส่วนราชการ รับผิดชอบในโครงการอวกาศและงานวิจัยห้วงอากาศอวกาศ (aerospace) ระยะยาวของสหรัฐอเมริกา คอยจัดการหรือควบคุมระบบงานวิจัยทั้งกับฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหาร ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 องค์การนาซาได้ประกาศภารกิจหลักคือการบุกเบิกอนาคตแห่งการสำรวจอวกาศ การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ และงานวิจัยทางการบินและอวกาศ คำขวัญขององค์การนาซาคือ "เพื่อประโยชน์ของคนทุกคน" (For the benefit of all).

ใหม่!!: ดวงจันทร์ของกาลิเลโอและนาซา · ดูเพิ่มเติม »

นิวฮอไรซันส์

นิวฮอไรซันส์ (New Horizons; ท. ขอบฟ้าใหม่) เป็นยานสำรวจอวกาศระหว่างดาวเคราะห์ซึ่งปล่อยเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2549 เป็นส่วนหนึ่งของโครงการนิวฟรอนเทียส์ (New Frontiers) ของนาซา ยานสร้างโดย ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์ประยุกต์และสถาบันวิจัยเซาท์เวสต์ โดยทีมซึ่งมีเอ.

ใหม่!!: ดวงจันทร์ของกาลิเลโอและนิวฮอไรซันส์ · ดูเพิ่มเติม »

น้ำแข็ง

น้ำค้างแข็งเกาะบนต้นไม้ ก้อน(น้ำ)แข็งตามธรรมชาติ เกล็ดหิมะ (ผลึกน้ำแข็ง) โดยวิลสัน เบนท์ลีย์ (Wilson Bentley), 1902 น้ำแข็ง เป็นชื่อเรียกของสภาวะของแข็งของน้ำซึ่งมักอยู่ในรูปของผลึกของน้ำ ซึ่งโดยปกติจะมีลักษณะใสหรือมีสีฟ้าขาวใสปนอยู่ด้วย ขึ้นอยู่กับการมีสิ่งเจือปนในน้ำแข็งนั้น โดยสภาวะปกติน้ำแข็งจะเกิดขึ้นเมื่อน้ำในรูปของเหลวมีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส (32 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ 273.15 เคลวิน(K)) ที่ความดันปกติ และสามารถแข็งตัวจากสถานะก๊าซโดยไม่ผ่านสถานะของเหลวเลยก็ได้ เช่น ปรากฏการณ์น้ำค้างแข็งหรือแม่คะนิ้ง น้ำแข็งในธรรมชาติอยู่ในแหล่งต่างๆ เช่น เกล็ดหิมะ ลูกเห็บ น้ำแข็งย้อย ธารน้ำแข็ง ภูเขาน้ำแข็ง และน้ำแข็งขั้วโลก ซึ่งน้ำแข็งเป็นส่วนสำคัญของสมดุลภูมิอากาศของโลก โดยเฉพาะวัฏจักรของน้ำ นอกจากนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมต่างๆ อีกด้วย ตั้งแต่ การใส่น้ำแข็งในน้ำดื่ม กีฬาฤดูหนาว จนไปถึงประติมากรรมน้ำแข็ง.

ใหม่!!: ดวงจันทร์ของกาลิเลโอและน้ำแข็ง · ดูเพิ่มเติม »

แกนีมีด (ดาวบริวาร)

แกนีมีด (Ganymede) เป็นดาวบริวารดวงหนึ่งของดาวพฤหัสบดี และเป็นดาวบริวารที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ มีสนามแม่เหล็กสูง พื้นผิวหลายลักษณะแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงทางธรณีที่ชั้นผิวเปลือกอย่างซับซ้อนยาวนาน มีลักษณะสำคัญ 2 แบบ คือ พื้นที่เก่าแก่เป็นบริเวณมืดคล้ำเต็มไปด้วยหลุมอุกกาบาต ขรุขระ เป็นแอ่งลึก กับพื้นที่ใหม่เป็นบริเวณที่ราบเรียบ สว่างกว่า มีน้ำแข็งติดกับดินหิน บางพื้นที่เป็นรอยแยกยาวเหยียด แกนีมีดเป็นหนึ่งในดวงจันทร์ของกาลิเลโอที่ค้นพบโดยกาลิเลโอ กาลิเลอี เมื่อ 7 มกราคม ค.ศ. 1610 ตั้งชื่อตามเทพแกนีมีดในตำนานเทพเจ้ากรีก ผู้เป็นที่รักของเทพซู.

ใหม่!!: ดวงจันทร์ของกาลิเลโอและแกนีมีด (ดาวบริวาร) · ดูเพิ่มเติม »

แกนีมีด (เทพปกรณัม)

ทพซูสแปลงร่างเป็นเหยี่ยว ลักพาตัวแกนีมีด วาดโดยปีเตอร์ พอล รูเบนส์ ปี 1611 แกนีมีด (Γανυμήδης, ''Ganymēdēs''.) ในตำนานเทพปกรณัมกรีก เป็นเจ้าชายแห่งเมืองทรอย และ เป็นบุตรชายคนเล็กของกษัตริย์ทรอส แห่งดาร์ดาเนีย, มีพี่ชายสองคนคือ อิลัส (Ilus) ซึ่งในอนาคตอิลัสจะเป็นผู้ก่อตั้งเมืองอิลิออส หรือ อิลิออน ซึ่งต่อมาเรียกกันในนามเมืองทรอยนั่นเอง (กรีก : Ἴλιον, Ilion หรือἼλιος, Ilios; และ Τροία, Troia; ละติน :Trōia และ Īlium) และ อัสซาราคัส (Assaracus), โฮเมอร์ได้พรรณาเกี่ยวกับแกนิมีดเอาไว้ว่า เป็นผู้ที่มีรูปโฉมงดงามที่สุดในเหล่ามนุษย์ทั้งปวง, แกนิมีดถูกลักพาตัวไปโดย เทพซูสที่จำแลงร่างกลายเป็นอินทรีย์ยักษ์ โฉบเอาตัวแกนิมีดจากภูเขาไอดาในแคว้นไฟรเจีย ไปเป็นผู้รับใช้ บนเขาโอลิมปัส ทำหน้าที่เป็นผู้ถวายพระสุธารส (cupbearer) แทนที่เทพีเฮบี เทพีแห่งความเยาว์วัย ธิดาของซูสและฮีรา ชื่อ แกนีมีด ถูกนำมาใช้เป็นชื่อดวงจันทร์ดวงหนึ่งของดาวพฤหัสบดี ที่ค้นพบโดยกาลิเลโอ กาลิเลอี เมื่อวันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 1610 ดวงจันทร์แกนีมีดเป็นดาวบริวารที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุร.

ใหม่!!: ดวงจันทร์ของกาลิเลโอและแกนีมีด (เทพปกรณัม) · ดูเพิ่มเติม »

แม็กนีโตสเฟียร์

วาดแสดงแม็กนีโตสเฟียร์ที่ช่วยป้องกันลมสุริยะ แม็กนีโตสเฟียร์ (Magnetosphere) คือย่านที่มีแม่เหล็กกำลังสูงรอบๆ วัตถุทางดาราศาสตร์ โลกมีแม็กนีโตสเฟียร์ครอบอยู่รอบๆ เช่นเดียวกันกับดาวที่มีสนามแม่เหล็กอื่นๆ ได้แก่ ดาวพุธ ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และ ดาวเนปจูน ดวงจันทร์แกนีมีดของดาวพฤหัสบดีก็มีสนามแม่เหล็กเช่นกัน แต่เป็นสนามที่มีกำลังอ่อนจนไม่สามารถป้องกันพลาสมาจากลมสุริยะได้ ส่วนดาวอังคารเป็นดาวที่มีสนามแม่เหล็กแบบเว้าแหว่งไม่ต่อเนื่อง คำว่า "แม็กนีโตสเฟียร์" นี้ยังสามารถใช้อธิบายถึงย่านรอบๆ วัตถุท้องฟ้าอื่นที่มีสนามแม่เหล็กรอบๆ ด้วย เช่น แม็กนีโตสเฟียร์ของพัลซาร์ เป็นต้น.

ใหม่!!: ดวงจันทร์ของกาลิเลโอและแม็กนีโตสเฟียร์ · ดูเพิ่มเติม »

โกซีโมที่ 1 เด เมดีชี

มที่ 1 เดอ เมดิชิ (Cosimo I de' Medici, Grand Duke of Tuscany) (12 มิถุนายน ค.ศ. 1519 - (21 เมษายน ค.ศ. 1574) โคสิโมที่ 1 เดอเมดิชิ เกิดเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1519ที่เมืองฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 21 เมษายน ค.ศ. 1574 ที่เมืองฟลอเรนซ์เช่นกัน โคสิโมที่ 1 เดอเมดิชิเป็นบุตรของจิโอวานนิ ดาลลา บานเด เนเร (Giovanni dalle Bande Nere) จากฟอร์ลิและ มาเรีย ซาลวิอาติ (Maria Salviati) โคสิโมได้รับอำนาจเมื่ออายุได้ 17 ปีเมื่อดยุกอเลสซานโดร เดอ เมดิชิ (Alessandro de' Medici) ถูกลอบฆ่าในปี ค.ศ. 1537 1537 โคสิโมเป็นบุตรคนเดียวของอเลสซานโดรแต่เป็นบุตรนอกสมรสที่มาจากสาขาอื่นของตระกูล และพำนักอยู่ในบริเวณมูเกลโลซึ่งอยู่ห่างไกลจนไม่เป็นที่รู้จักกันในเมืองฟลอเรนซ์ แต่ผู้มีอิทธิพลในเมืองสนับสนุนซึ่งอาจจะเป็นได้ว่ามีความหวังที่จะใช้โคสิโมเป็นหุ่นเพราะอายุยังน้อย แต่โคสิโมเป็นผู้มีความมุ่งมั่นและทะเยอทะยาน ไม่นานก็ยกเลิกข้อสัญญาต่างๆ ที่ทำไว้และมอบอำนาจส่วนใหญ่ให้แก่สภาสี่สิบแปดคนแทนที.

ใหม่!!: ดวงจันทร์ของกาลิเลโอและโกซีโมที่ 1 เด เมดีชี · ดูเพิ่มเติม »

โยฮันเนส เอเวลิอุส

ันเนส เอเวลิอุส ภาพโดย ดาเนียล ชูลต์ซ โยฮันเนส เอเวลิอุส (ภาษาละติน; Johannes Hewel, Johann Hewelke, Johannes Höwelcke; ในภาษาโปแลนด์, Jan Heweliusz; 28 มกราคม 1611 – 28 มกราคม 1687) แหล่งข้อมูลบางแห่งอ้างถึงเอเวลิอุสว่าเป็นชาวโปแลนด์.

ใหม่!!: ดวงจันทร์ของกาลิเลโอและโยฮันเนส เอเวลิอุส · ดูเพิ่มเติม »

โยฮันเนส เคปเลอร์

ันเนส เคปเลอร์ (Johannes Kepler; 27 ธันวาคม ค.ศ. 1571 - 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1630) นักดาราศาสตร์ นักโหราศาสตร์และนักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน ผู้มีส่วนสำคัญในการปฏิวัติวงการวิทยาศาสตร์ เขาค้นพบกฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ในงาน Astronomia nova, Harmonice Mundi ของเขา และได้แต่งหนังสือชื่อ Epitome of Copernican Astronomy โยฮันเนส เคปเลอร์ ประกอบอาชีพเป็นครูสอนคณิตศาสตร์ที่โรงเรียน Graz (ภายหลังเปลี่ยนเป็น มหาวิทยาลัย Graz) และเป็นผู้ช่วยของ ไทโค บราเฮ นักคณิตศาสตร์ในความอุปถัมภ์ของจักรพรรดิรูดอร์ฟที่ 2 ผู้ซึ่งรวบรวมรวมข้อมูลของดาวเคราะห์มาตลอดชีวิต และปูทางให้เคปเลอร์ค้นพบกฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ในเวลาต่อมา เขาทำงานด้านทัศนศาสตร์ และช่วยสนับสนุนการค้นพบกล้องโทรทรรศน์ของกาลิเลโอ กาลิเลอี เขาถูกยกย่องว่าเป็น "นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ทฤษฎีคนแรก" แต่คาร์ล ซาแกน ยกย่องเขาในฐานะ "นักโหราศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์คนสุดท้าย".

ใหม่!!: ดวงจันทร์ของกาลิเลโอและโยฮันเนส เคปเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

โอโซน

อโซน (Ozone หรือ O3) เป็นโมเลกุลที่ประกอบจากออกซิเจน 3 อะตอม ปรากฏอยู่ในชั้นบรรยากาศของโลก และมีการใช้งานในทางอุตสาหกรรมและเครื่องใช้ตามบ้านทั่วไป โอโซนถูกค้นพบครั้งแรกโดย คริสเตียน ฟรีดริช เชินไบน์ (Christian Friedrich Schönbein) นักเคมีชาวเยอรมัน ในปี ค.ศ. 1840 โดยตั้งชื่อตามภาษากรีกคำว่า ozein ซึ่งแปลว่ากลิ่น โอโซนเข้มข้นมีสีฟ้าที่อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน (Standard Temperature and Pressure; STP) เมื่ออุณหภูมิลดลงถึง -112 °C โอโซนจะเป็นเป็นของเหลวสีน้ำเงิน และเมื่ออุณหภูมิลดต่ำกว่า -193 °C ก็จะกลายเป็นของแข็งสีดำ มนุษย์ได้นำโอโซนไปใช้ประโยชน์ในหลาย ๆ ด้าน เช่น นำไปใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตเคมีภัณฑ์ นำไปใช้เป็นสารซักฟอก ใช้ฆ่าแบคทีเรีย เป็นต้น ก๊าซโอโซนจัดเป็นก๊าซพิษ การสูดดมก๊าซโอโซนเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ ซึ่งแตกต่างจากคำว่าโอโซนที่บางครั้งถูกใช้ในบริบทของการท่องเที่ยวหรือการพักผ่อนหย่อนใจ เช่นในวลีว่า "สูดโอโซน", "รับโอโซน" หรือ "แหล่งโอโซน" เป็นต้น ถือว่าเป็นการใช้โอโซนผิดความหมาย เพราะความจริงแล้วโอโซนมีความเป็นพิษต่อมนุษย์ บริเวณที่มีโอโซนมากในประเทศไทย ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมแก่งคอย นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และย่านถนนสีลมในกรุงเทพมหานคร คำว่าโอโซนที่ใช้กันผิด ๆ จะหมายถึง ออกซิเจนหรืออากาศบริสุทธิ์ซึ่งดีต่อระบบการหายใจ ไม่ใช่ก๊าซโอโซนที่เป็นพิษ มีอันตรายต่อ.

ใหม่!!: ดวงจันทร์ของกาลิเลโอและโอโซน · ดูเพิ่มเติม »

ไอโอ (ดาวบริวาร)

อโอ ไอโอ (Io, Ἰώ) เป็นดาวบริวารของดาวพฤหัสบดี เป็นดวงที่อยู่ในสุดในกลุ่มดวงจันทร์ของกาลิเลโอที่ค้นพบโดยกาลิเลโอ กาลิเลอี เมื่อวันที่ 7 มกราคม..

ใหม่!!: ดวงจันทร์ของกาลิเลโอและไอโอ (ดาวบริวาร) · ดูเพิ่มเติม »

เวนิส

วนิส (Venice) หรือ เวเน็ตเซีย (Venezia) เป็นเมืองหลักของแคว้นเวเนโต ประเทศอิตาลี มีประชากร 271,663 คน (ข้อมูลวันที่ 1 มกราคม 2547) เมืองเวนิสได้รับฉายาว่า ราชินีแห่งทะเลเอเดรียติก (Queen of the Adriatic), เมืองแห่งสายน้ำ (City of Water), เมืองแห่งสะพาน (City of Bridges) และเมืองแห่งแสงสว่าง (The City of Light) เมืองเวนิสถูกสร้างขึ้นจากการเชื่อมเกาะเล็กๆ จำนวนมากเข้าด้วยกันในบริเวณทะเลสาบเวนิเทีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทะเลเอเดรียติก ในภาคเหนือของประเทศอิตาลี ทะเลสาบน้ำเค็มนี้ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งระหว่างปากแม่น้ำโปกับแม่น้ำปลาวี มีผู้อยู่อาศัยโดยประมาณ 272,000 คน ซึ่งนับรวมหมดทั้งเวนิส โดยมี 62,000 คนในบริเวณเมืองเก่า 176,000 คนในแตร์ราแฟร์มา (Terraferma) และ 31,000 คนในเกาะอื่น ๆ ในทะเล.

ใหม่!!: ดวงจันทร์ของกาลิเลโอและเวนิส · ดูเพิ่มเติม »

เหล็ก

หล็ก (Iron ออกเสียงว่า ไอเอิร์น /ˈaɪ.ərn/) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุ มีสัญลักษณ์ธาตุ Fe และหมายเลขอะตอม 26 เหล็กเป็นธาตุโลหะทรานซิชันหมู่ 8 และคาบ 4 สัญลักษณ์ Fe ย่อมาจาก ferrum ในภาษาละติน.

ใหม่!!: ดวงจันทร์ของกาลิเลโอและเหล็ก · ดูเพิ่มเติม »

เทห์ฟ้า

ทห์ฟ้า หรือ วัตถุท้องฟ้า (astronomical object) หมายถึงวัตถุทางดาราศาสตร์ เช่น ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ ดาวหาง ดาวเคราะห์แคระ เป็นต้น พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน..

ใหม่!!: ดวงจันทร์ของกาลิเลโอและเทห์ฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »