โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กูไล

ดัชนี กูไล

กูไล (gulai) เป็นแกงรสเผ็ด มักปรุงกับเนื้อสัตว์ เช่น ไก่ เนื้อวัว เนื้อแกะ ปลา อาหารทะเล หรือผักเช่น ใบมันสำปะหลังและขนุนอ่อน น้ำแกงมักเป็นสีเหลืองเพราะเติมผงขมิ้น เครื่องแกงที่ใช้ ได้แก่ ขมิ้น ผักชี พริกไทยดำ ขิง ข่า พริกขี้หนู หัวหอม กระเทียม ยี่หร่า ตะไคร้ อบเชย ลูกผักชี ซึ่งตำให้ละเอียด และนำไปปรุงกับกะทิ พร้อมกับส่วนผสมหลัก.

23 ความสัมพันธ์: พริกขี้หนูพริกไทยกระเทียมกะทิมันสำปะหลังยี่หร่าอบเชยอันดับปลากะพงผักชีขมิ้นขิงขนุนข่า (พืช)คาบสมุทรมลายูตะไคร้ประเทศอินโดนีเซียปลาสวายปลาดุกโรตีจาไนเกาะชวาเกาะสุมาตราเต้าหู้เนียง

พริกขี้หนู

ริกขี้หนู อยู่ในวงศ์ Solanaceae มีลักษณะเป็นไม้ต้น ความสูง 30-120 cm ใบมีลักษณะแบนและเรียบมัน ผลมีขนาดเล็กเรียวยาวประมาณ 2-3 ซ.ม. เมื่อดิบผลมีสีเขียวเข้ม เมื่อสุกจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีแดง มีรสเผ็ดจัด นิยมใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารไทยหลากหลายชนิด ชื่อในภาษาอังกฤษมีหลายชื่อ ได้แก่ Chilli Padi, Bird's Eye Chilli, Bird Chilli, Thai pepper ผลมีรสเผ็ดร้อน ใช้ขับลม ขับปัสสาวะ แก้ท้องอืด ผลดองสุราใช้ทาแก้ฟกช้ำดำเขียว ต้นมีรสเผ็ด ใช้ขับลม แก้กษัย รากใช้ฝนกับมะนาวแทรกเกลือ เป็นยากวาดคอ ใบใช้แก้หวัด ตำใบสดผสมกับดินสอพองพอกขมับแก้ปวดศีรษะได้.

ใหม่!!: กูไลและพริกขี้หนู · ดูเพิ่มเติม »

พริกไทย

ริกไทย เป็นพืชที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นราชาของเครื่องเทศที่มีกลิ่นฉุน และเป็นเครื่องเทศที่ให้รสเผ็ดร้อน สามารถนำมาทำพริกไทยแห้งเป็นเครื่องปรุงอาหาร ซึ่งถ้าทำแห้งทั้งเปลือกจะได้พริกไทยดำเนื่องจากเปลือกเมื่อทำให้แห้งจะมีสีดำ ส่วนพริกไทยขาวได้จากการลอกเปลือกออกก่อน พบทั้งการใช้ประกอบอาหารทั้งผลแห้งและผลสดที่มีสีเขียว หรือผลแห้งป่นเป็นผงเรียกพริกไทยป่น ซึ่งพริกไทยเป็นพืชคนละสายพันธุ์กับพริก (Chilli).

ใหม่!!: กูไลและพริกไทย · ดูเพิ่มเติม »

กระเทียม

กระเทียม เป็นพืชสมุนไพรไทยและเป็นเครื่องเทศชนิดหนึ่ง โดยมักใส่ในอาหารหลายชนิด ทั้งอาหารไทย อาหารอินเดีย กระเทียมมีชื่อสามัญอื่นอีกคือ กระเทียมขาว (อุดรธานี) กระเทียมจีน (กทม.,กลาง) ปะเซ้วา (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) หอมขาว (อุดรธานี) หอมเทียม (เหนือ) หัวเทียม (ใต้).

ใหม่!!: กูไลและกระเทียม · ดูเพิ่มเติม »

กะทิ

กะทิ กะทิ เป็นส่วนประกอบในการทำอาหาร มีลักษณะเป็นน้ำสีขาวข้นคล้ายนม ได้มาจากการคั้นน้ำจากเนื้อมะพร้าวแก่ สีและรสชาติที่เข้มข้นของกะทิมาจากน้ำมันมะพร้าวและน้ำตาลมะพร้าวที่อยู่ในเนื้อมะพร้าว โดยมีรสชาติมันและหวาน.

ใหม่!!: กูไลและกะทิ · ดูเพิ่มเติม »

มันสำปะหลัง

''Manihot esculenta'' มันสำปะหลัง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Manihot esculenta (L.) Crantz) เป็นพืชหัวชนิดหนึ่ง เป็นพืชอาหารที่สำคัญอันดับ 5 รองจากข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าว และมันฝรั่ง ชื่อสามัญเรียกหลายชื่อเช่น Cassava, Yuca, Mandioa, Manioc, Tapioca ชาวไทยเดิมเรียกกันว่า มันสำโรง มันไม้ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่า มันต้นเตี้ย ภาคใต้เรียกมันเทศ (แต่เรียกมันเทศว่า "มันหลา") คำว่า "สำปะหลัง" ที่นิยมเรียกอาจมาจากคำว่า "ซำเปอ (Sampou)" ของชวาตะวันตก มันสำปะหลังมีแหล่งกำเนิดแถบที่ลุ่มเขตร้อน (Lowland tropics) มีหลักฐานแสดงว่าปลูกกันในโคลัมเบีย และเวเนซูเอลา มานานกว่า 3,000-7,000 ปีมาแล้ว นิยมใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ สามารถปลูกได้ง่ายในพื้นที่ร้อน และร้อนชื้น จึงได้มีการสนับสนุนแก่ประเทศที่กำลังพัฒนาที่มีสภาพภูมิอากาศดังกล่าวปลูกเป็นพืชเศรษฐก.

ใหม่!!: กูไลและมันสำปะหลัง · ดูเพิ่มเติม »

ยี่หร่า

มล็ดยี่หร่า หรือ เทียนขาว อยู่ในวงศ์ Apiaceae เมื่อใช้เป็นเครื่องเทศเรียกยี่หร่า (cumin) มีถิ่นกำเนิดในบริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เป็นไม้ล้มลุก ไม่มีขน ดอกช่อแบบก้านซี่ร่ม ก้านช่อดอกยาว กลีบดอกสีขาวหรือสีชมพู ผลแบบผักชี มีรสเผ็ดร้อน ขม ใช้แก้ลม ดีพิการ ขับเสมหะ ยี่หร่าใช้เป็นเครื่องเทศที่สำคัญในแกงกะหรี่และมัสมั่น อาหารไทยใช้ใบยี่หร่าในการปรุงแต่งกลิ่นอาหาร โดยคั่วเมล็ดโขลกผสมกับเครื่องแกง เช่นแกงกะหรี่ แกงเผ็ด แกงเขียวหวาน ส่วนต้นและรากตากให้แห้ง ช่วยย่อย ยาขับลม แก้ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ มีน้ำมันระเหยง่ายเรียกน้ำมันยี่หร่า (cumin oil) ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องหอม น้ำหอม เครื่องดื่มและยาขับลม สารสกัดด้วยเอทานอลจากผลและเมล็ดยับยั้งการเจริญและการงอกของถั่วเขียวผิวดำได้ เมล็ดยี่หร.

ใหม่!!: กูไลและยี่หร่า · ดูเพิ่มเติม »

อบเชย

อบเชย เป็นเครื่องเทศที่มีกลิ่นหอม ได้มาจากเปลือกไม้ชั้นในที่แห้งแล้วของต้นอบเชย แท่งอบเชยมีสีน้ำตาลแดง มีลักษณะเหมือนแผ่นไม้แห้งที่หดงอหลังจากโดนความชื้น มักจะเรียกตามแหล่งเพาะปลูกเช่น อบเชยจีน อบเชยลังกา อบเชยญวน เป็นต้น ในประเทศไทยไม่นิยมปลูกเพราะภูมิอากาศไม่เหมาะสม.

ใหม่!!: กูไลและอบเชย · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลากะพง

อันดับปลากะพง (อันดับ: Perciformes; Bass, Snapper, Perch, Jack, Grunter) เป็นการจำแนกอันดับของปลาจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Perciformes (/เพอร์-ซิ-ฟอร์-เมส/) ซึ่งเป็นปลากระดูกแข็ง คิดเป็นร้อยละ 40 ของปลากระดูกแข็งทั้งหมด ลักษณะเด่นของปลาในอันดับนี้คือ เป็นปลากินเนื้อ เกล็ดมีลักษณะสากขอบเป็นหยักแข็ง ปากยาวมีลักษณะยืดหดได้ มีก้านครีบแข็ง หรือ Spine ที่ครีบหลังตอนหน้า พบได้ทั้ง น้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล สำหรับวงศ์ปลาที่อยู่ในอันดับนี้มีอยู่มากมายถึง 156 วงศ์ (ดูในเนื้อหา) โดยสามารถแบ่งได้เป็นอันดับย่อยลงไปอีก (ดูในตาราง).

ใหม่!!: กูไลและอันดับปลากะพง · ดูเพิ่มเติม »

ผักชี

ใบผักชี ผลแห้งของผักชีที่มักเรียกว่าเมล็ดผักชีหรือลูกผักชี ใช้เป็นเครื่องเทศ ผักชี, ผักชีลา หรือ ผักหอมป้อม เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็กในวงศ์ Apiaceae ใบติดกับลำต้น มีใบย่อยเป็นจำนวนมาก ใบหยักลึกเข้าหากลางใบ ดอกช่อ ดอกย่อยสีขาวอมชมพู ผลมีลักษณะรี ค่อนข้างกลม แก่จัดเป็นสีเหลืองอมน้ำตาล มีเมล็ด 2 เมล็ด ใช้รับประทานเป็นผัก และตกแต่งในอาหารหลายชนิด เช่น ใส่ในลาบ ก้อย แหนมสด รากผักชีใช้เป็นส่วนประกอบในน้ำพริกแกง ใส่ในทอดมัน ห่อหมก น้ำจิ้ม เมล็ดใช้เป็นเครื่องเทศ ใส่ในน้ำพริกแกง สะเต๊ะ บาเยีย ข้าวหมกไก.

ใหม่!!: กูไลและผักชี · ดูเพิ่มเติม »

ขมิ้น

มิ้นชัน เป็นพืชล้มลุกในวงศ์ขิง มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อในของเหง้าเป็นสีเหลือง มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีสีเหลืองเข้ม จนสีแสดจัด มีชื่อสามัญอื่นอีกคือ ขมิ้นแกง (เชียงใหม่) ขมิ้นชัน (กลาง, ใต้) ขมิ้นหยอก (เชียงใหม่) ขมิ้นหัว (เชียงใหม่) ขี้มิ้น (ตรัง, ใต้) ตายอ (กะเหรี่ยง กำแพงเพชร) สะยอ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) และ หมิ้น (ตรัง, ใต้).

ใหม่!!: กูไลและขมิ้น · ดูเพิ่มเติม »

ขิง

ง เป็นพืชล้มลุก มีเหง้าใต้ดิน เปลือกนอกสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีนวลมีกลิ่นหอมเฉพาะ แทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นเป็นกอประกอบด้วยกาบหรือโคนใบหุ้มซ้อนกัน ใบ เป็นชนิดใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกันเป็นสองแถว ใบรูปหอกเกลี้ยงๆ กว้าง 1.5 - 2 ซม.

ใหม่!!: กูไลและขิง · ดูเพิ่มเติม »

ขนุน

นุน (หรือ A. heterophylla) ภาคอีสานเรียกบักมี่ ภาคเหนือเรียกบ่าหนุน สิบสองปันนาเรียกหมากมี่ หรือ หมากหนุน กาญจนบุรีเรียกกระนู ภาษาไทใหญ่เรียก ลาง เป็นไม้ผลยืนต้นในวงศ์ Moraceae มีถิ่นกำเนิดในเอเชียใต้และแพร่หลายมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และได้รับความนิยมมากในคาบสมุทรมลายู ไม่ปรากฏว่าเข้ามายังประเทศไทยเมื่อใด แต่มีกล่าวถึงในเอกสารโบราณตั้งแต่สมัยสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยา ชื่อสามัญของขนุนในภาษาอังกฤษคือ jackfruit มาจากภาษาโปรตุเกส jaka ที่เพี้ยนมาจากภาษามลายู chakka นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน.

ใหม่!!: กูไลและขนุน · ดูเพิ่มเติม »

ข่า (พืช)

ป็นพืชที่มีลำต้นอยู่ใต้ดินเรียกว่า "เหง้า" อยู่ในวงศ์ขิง เป็นไม้ล้มลุก เป็นพืชสมุนไพรที่นำมาใช้ในการประกอบอาหารในประเทศไทยและอินโดนีเซีย ข่ามีชื่อสามัญอื่นอีกคือ กฎุกกโรหินี (กลาง) ข่าหยวก (เหนือ) ข่าหลวง (ตะวันออกเฉียงเหนือ,เหนือ) สะเอเชย (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) และ เสะเออเคย (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน).

ใหม่!!: กูไลและข่า (พืช) · ดูเพิ่มเติม »

คาบสมุทรมลายู

มุทรมลายู คาบสมุทรมลายู หรือ แหลมมลายู (Semenanjung Tanah Melayu; Malay Peninsula) เป็นคาบสมุทรขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วางตัวเกือบอยู่ในแนวเหนือ-ใต้ และเป็นจุดที่อยู่ใต้สุดของทวีปเอเชีย ส่วนที่แคบที่สุดของคาบสมุทรมลายู คือ คอคอดกระ ชายฝั่งด้านตะวันตกเฉียงใต้แยกออกจากเกาะสุมาตราด้วยช่องแคบมะละกา มีเกาะบอร์เนียวอยู่ทางตะวันออกในทะเลจีนใต้.

ใหม่!!: กูไลและคาบสมุทรมลายู · ดูเพิ่มเติม »

ตะไคร้

ตะไคร้; ชื่อท้องถิ่น: จะไคร (ภาคเหนือ), หัวซิงไค (ภาคอีสาน), ไคร (ภาคใต้), คาหอม (แม่ฮ่องสอน), เชิดเกรย, เหลอะเกรย (เขมร-สุรินทร์), ห่อวอตะโป่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)) เป็นพืชล้มลุก ความสูงประมาณ 4-6 ฟุต ใบยาวเรียว ปลายใบมีขนหนาม ลำต้นรวมกันเป็นกอ มีกลิ่นหอม ดอกออกเป็นช่อยาวมีดอกเล็กฝอยเป็นจำนวนมาก ตะไคร้เป็นพืชที่สามารถนำส่วนต้นหัวไปประกอบอาหาร และจัดเป็นพืชสมุนไพรด้ว.

ใหม่!!: กูไลและตะไคร้ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินโดนีเซีย

อินโดนีเซีย (Indonesia) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republik Indonesia) เป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรอินโดจีนกับทวีปออสเตรเลีย และระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิก มีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียวหรือกาลีมันตัน (Kalimantan), ประเทศปาปัวนิวกินีบนเกาะนิวกินีหรืออีเรียน (Irian) และประเทศติมอร์-เลสเตบนเกาะติมอร์ (Timor).

ใหม่!!: กูไลและประเทศอินโดนีเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสวาย

ปลาสวาย (Iridescent shark, Striped catfish, Sutchi catfish) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae) มีส่วนหัวค่อนข้างเล็ก แนวบริเวณหัวถึงครีบหลังลาดตรง ตาอยู่เสมอหรือสูงกว่ามุมปาก ปากแคบกว่าปลาบึก ที่อยู่สกุลเดียวกัน รูปร่างเพรียวแต่ป้อมสั้นในปลาขนาดใหญ่ ก้านครีบท้องมี 8-9 เส้น ครีบก้นยาว ปลาขนาดเล็กมีสีคล้ำเหลือบเงิน ด้านข้างลำตัวสีจางและมีแถบสีคล้ำตามยาว ครีบสีจาง ครีบหางมีแถบสีคล้ำตามแนวยาวทั้งตอนบนและล่าง ปลาขนาดใหญ่มีสีเทาหรือคล้ำอมน้ำตาล ด้านข้างลำตัวสีจาง มีขนาดประมาณ 50 เซนติเมตร ใหญ่สุด 1.5 เมตร พบในแม่น้ำและลำคลองสายใหญ่ ทั่วประเทศไทย เป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง ที่ซึ่งมีการเพาะเลี้ยงกันมานานกว่า 50 ปี แล้ว โดยเพาะขยายพันธุ์ได้สำเร็จในปี พ.ศ. 2509 โดยถือเป็นสัตว์น้ำชนิดแรกที่ทางกรมประมงของไทยผสมเทียมประสบความสำเร็จเป็นชนิดแรกด้วย ปลาในธรรมชาติมีฤดูวางไข่ในเดือนกรกฎาคม นิยมบริโภคโดยปรุงสดและรมควัน ในธรรมชาติ มักพบชุกชุมตามอุทยานปลาหรือหน้าวัดต่าง ๆ ที่ติดริมน้ำ โดยในบางพื้นที่อาจมีปลาเทโพเข้ามาร่วมฝูงด้วย และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับปลาที่สีกลายเป็นสีเผือก และจากการศึกษาล่าสุดพบว่า ในเนื้อปลาสวายนั้นมีโอเมกา 3 คิดเป็นปริมาณแล้วสูงกว่าในปลาทะเลเสียอีก โดยมีถึง 2,570 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนัก 100 กรัม.

ใหม่!!: กูไลและปลาสวาย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาดุก

ปลาดุก (Walking catfishes) เป็นสกุลของปลาหนังน้ำจืดในสกุล Clarias (/คลา-เรียส/) ในวงศ์ Clariidae โดยคำว่า Clarias มาจากภาษากรีกคำว่า chlaros หมายถึง "มีชีวิต" มีความหมายถึง การที่ปลาสกุลนี้สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้บนบกหรือสภาพที่ขาดน้ำ มีการแพร่กระจายพันธุ์ในน้ำจืดและน้ำกร่อยตามแหล่งน้ำของทวีปเอเชียและแอฟริกา เป็นปลาไม่มีเกล็ด ลำตัวยาว มีหัวที่แบนและแข็ง มีหนวดยาวแปดนิ้ว มีครีบหลังและครีบก้นยาวเกินครึ่งของความยาวลำตัว จุดเริ่มต้นของครีบหลังอยู่ล้ำหน้าจุดเริ่มต้นของครีบท้อง ครีบหลังไม่มีเงี่ยงแข็ง ไม่มีครีบไขมัน ครีบหางมนกลม ครีบทั้งหมดเป็นอิสระจากกัน สามารถหายใจและครีบคลานบนบกได้เมื่อถึงฤดูแล้ง เป็นปลาวางไข่ เป็นปลากินเนื้อโดยเฉพาะเมื่อตัวโตเต็มที่ชอบกินปลาอื่นที่ตัวเล็กกว่าเป็นอาหาร รวมถึงกินซากพืชและซากสัตว์อีกด้วย เป็นปลาที่รู้จักกันดีในแง่ของการเป็นปลาเศรษฐกิจ ที่นิยมบริโภคกันโดยเฉพาะในทวีปเอเชี.

ใหม่!!: กูไลและปลาดุก · ดูเพิ่มเติม »

โรตีจาไน

รตีจาไนกับแกงแกะ ในสุมาตราตะวันตก โรตี จาเนกับแกงแกะและมันฝรั่งในภัตตาคารอาหารอาเจะห์ โรตีจาไน (มลายูและroti canai) หรือ โรตีจาเน (roti cane) เป็นขนมปังแบนที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดียพบได้ทั้งในมาเลเซียและอินโดนีเซีย พบได้ในภัตตาคารที่ขายอาหารมีนังกาเบาหรืออาหารอาเจะห์ ในสิงคโปร์และมาเลเซียทางใต้เรียกโรตีปราตา ซึ่งคล้ายกับอาหารอินเดียที่เรียกปาโรตตาแบบของรัฐเกรล.

ใหม่!!: กูไลและโรตีจาไน · ดูเพิ่มเติม »

เกาะชวา

กาะชวา (อินโดนีเซีย: Pulau Jawa, ชวา: Pulo Jawa) เป็นชื่อเดิมของหมู่เกาะที่ตั้งอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันคือประเทศอินโดนีเซีย และเป็นที่ตั้งของเมืองหลวง จาการ์ตา เป็นเกาะที่มีประชากรมากที่สุดในโลก และมีประชากรมากกว่าทวีปออสเตรเลียและแอนตาร์กติกา (รายชื่อเกาะตามจำนวนประชากร) มีเนื้อที่ 132,000 ตารางกิโลเมตร ประชากร 127 ล้านคน และมีความหนาแน่นประชากร 864 คนต่อกม.² ซึ่งถ้าเกาะชวาเป็นประเทศแล้วจะมี ความหนาแน่นประชากรเป็นปันดับ 2 รองจากประเทศบังคลาเทศ ยกเว้นนครรัฐที่มีขนาดเล็ก หมวดหมู่:เกาะในประเทศอินโดนีเซีย หมวดหมู่:เกาะในมหาสมุทรอินเดีย.

ใหม่!!: กูไลและเกาะชวา · ดูเพิ่มเติม »

เกาะสุมาตรา

มาตรา หรือ ซูมาเตอรา (Sumatra; Sumatera) คือเกาะที่มีขนาดเป็นอันดับ 6 ของโลก (มีขนาดประมาณ 470,000 กม.&sup2) และเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของประเทศอินโดนีเซี.

ใหม่!!: กูไลและเกาะสุมาตรา · ดูเพิ่มเติม »

เต้าหู้

ต้าหู้ (''Kinugoshi tōfu'') เต้าหู้ กำเนิดมากว่า 2,000 ปีในจีนแผ่นดินใหญ่ คนจีนบางกลุ่มถือว่าเต้าหู้เป็นอาหารที่มีคุณค่าสูงที่อยู่ในความธรรมดาสามัญ คนไทยเรียกเต้าหู้เพี้ยนมาจากภาษาจีนว่า 豆腐 อ่านว่า โตวฟู คนฮกเกี้ยนเรียกว่า ต๋าวหู คนญี่ปุ่นเรียกกันว่า โทฟุ (tofu) คนอังกฤษเรียก bean curd หรือบางครั้งก็เรียกทับศัพท์ว่า tofu เช่นกัน ส่วนชาวฝรั่งเศสเรียกว่า fromage de soja (ชีสถั่วเหลือง).

ใหม่!!: กูไลและเต้าหู้ · ดูเพิ่มเติม »

เนียง

ต้นเนียง หรือ ลูกเนียง เป็นไม้ยืนต้น เป็นพืชพื้นเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีกลิ่นแรง ในอินโดนีเซียและมาเลเซียเรียก jering ในพม่าเรียกda nyin thee ทางภาคใต้ของไทยเรียกลูกเนียง เปลือกต้นสีเทาหรือน้ำตาลอ่อนปนเทา ยอดอ่อนสีแดง ดอกสีขาว ขนาดเล็ก ออกเป็นช่อ ผลมีเปลือกแข็ง ผลเป็นฝักแบนเป็นเกลียวไปทางเดียวกัน คล้ายรูปเกือกม้า ผิวสีน้ำตาลคล้ำ ในลูกเนียงดิบมีกรดเจงโคลิก (djenkolic acid) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่มีกรดกำมะถันสูงมาก สารนี้ทำลายระบบประสาทของไต ทำให้ปัสสาวะไม่ออก หรือปัสสาวะไม่สะดวก เนื้อข้างในรับประทานได้ ผลอ่อนเปลือกในที่ติดกับเม็ดเป็นสีนวล ต้มสุกแล้วด้าน ผิวสีดำ เนื้อไม่เหนียว ผลแก่จัดเมื่อต้มจะเป็นสีปูนแดง เนื้อเหนียวมัน ไม่มีกลิ่นเหม็น ทางใต้กินเป็นผักจิ้มน้ำพริก กินกับขนมจีน ถ้ามีมากจะนำไปเพาะ หรือนำไปดองก่อนรับประทาน ทำเป็นขนมได้โดยนำไปต้มเคล้ากับน้ำตาลทรายและมะพร้าวขูด ในอินโดนีเซียนำไปเป็นส่วนผสมของซัมบัล เรินดัง หรือแกง และเซอมูร์ ในพม่านำไปดองหรือต้มกินกับน้ำพริก.

ใหม่!!: กูไลและเนียง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ฆูไล

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »