โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คอ

ดัชนี คอ

อ เป็นส่วนหนึ่งของร่างกายในสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีรยางค์หลายชนิด เป็นโครงสร้างที่แยกศีรษะออกจากลำตัว.

69 ความสัมพันธ์: ช่องคอกระดูกสันหลังกระดูกไหปลาร้ากระดูกไฮออยด์กลุ่มอาการคาร์ปัล ทันเนลกล่องเสียงกล้ามเนื้อสเตอร์โนไคลโดมาสตอยด์การรับรู้รสการล่าสัตว์ในเพชรพระอุมาการสูญความรู้สึกที่ไม่สัมพันธ์การผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลังการทดสอบด้วยความเย็นร้อนการปรับตัว (ชีววิทยา)การเจาะคอกิตติ สีหนนทน์ฝุ่นละอองมหาสีลวชาดกมิตร ชัยบัญชายาราเอล พูฟยาทาเล็บระบบรับความรู้สึกทางกายระบบรู้กลิ่นรายชื่อกระดูกในร่างกายมนุษย์รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์รายชื่อหลอดเลือดแดงของร่างกายมนุษย์รายชื่อโครงสร้างทางกายวิภาคมนุษย์รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อยราศีพฤษภร่างกายมนุษย์วงศ์ย่อยเสือใหญ่วงศ์เสือและแมวศัลยกรรมช่องปากและใบหน้าขากรรไกรสกุลเสือชีตาห์สกุลเสือพูม่าสวีนนีย์ ท็อดด์ บาร์เบอร์หฤโหดแห่งฟลีทสตรีทสีบำบัดสนูดหูชั้นกลางอกอวัยวะอันดับย่อยเต่าคองูอาการคันต่างที่อาการปวดต่างที่อินทรีทองอินทรีแดงผิวหนังอักเสบทรวงอกข่ายประสาทแขนคราฟมากาคอหอย...ตัวรับความรู้สึกเจ็บปวดต่อมไทรอยด์ซากดึกดำบรรพ์ช่วงเปลี่ยนสภาพประสาทสัมผัสปวดศีรษะปิแอร์ ฟิตช์นิวโรบลาสโตมาโรงพยาบาลกรุงเทพพัทยาโสตศอนาสิกวิทยาโขนเมดิแอสตินัมเต่าคองูเน็ด เคลลีICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันICD-10 บทที่ 17: รูปผิดปกติแต่กำเนิด รูปพิการ และความผิดปกติของโครโมโซมICD-10 บทที่ 18: อาการ อาการแสดง และความผิดปกติที่พบจากการตรวจทางคลินิกและทางห้องปฏิบัติการICD-10 บทที่ 19: การบาดเจ็บ การเป็นพิษ และผลสืบเนื่องบางอย่างจากสาเหตุภายนอกICD-10 บทที่ 20: สาเหตุภายนอกของการเจ็บป่วยและการตายICD-10 บทที่ 2: เนื้องอก ขยายดัชนี (19 มากกว่า) »

ช่องคอ

ในทางกายวิภาคศาสตร์ ช่องคอ เป็นส่วนหน้าของคอ ด้านหน้าต่อกระดูกสันหลัง ประกอบด้วยคอหอย (pharynx) และกล่องเสียง (larynx) โครงสร้างที่สำคัญของช่องคอคือฝาปิดกล่องเสียง (epiglottis) ซึ่งเป็นแผ่นที่แยกหลอดอาหาร (esophagus) และท่อลม (trachea) และป้องกันไม่ให้อาหารหรือเครื่องดื่มตกลงไปในท่อลม ช่องคอประกอบด้วยหลอดเลือดและกล้ามเนื้อคอหอยจำนวนมาก รวมทั้งท่อลมและหลอดอาหาร กระดูกไฮออยด์ (hyoid bone) และกระดูกไหปลาร้า (clavicle) เป็นกระดูกเพียง 2 ชิ้นที่ตั้งอยู่ในช่องคอของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม.

ใหม่!!: คอและช่องคอ · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกสันหลัง

กระดูกสันหลัง มองจากด้านข้าง ส่วนต่างๆของแนวกระดูกสันหลัง ส่วนต่างๆกระดูกสันหลังหนึ่งชิ้น มองจากทางด้านข้าง กระดูกสันหลังส่วนคอ ชิ้นแรก มองจากทางด้านบน แนวกระดูกสันหลังส่วนคอตอนต้น แสดงกระดูกและเอ็นของข้อต่อบริเวณท้ายทอย กระดูกสันหลังส่วนอก มองจากทางด้านบน กระดูกสันหลัง (Vertebral column) ในกายวิภาคของมนุษย์ คือกระดูกแกนของสัตว์มีกระดูกสันหลัง ตั้งแต่ส่วนต้นคอ ลงมาจนถึงส่วนก้น ภายในมีไขสันหลัง ซึ่งอยู่ในช่องไขสันหลังอีกทีหนึ่ง.

ใหม่!!: คอและกระดูกสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกไหปลาร้า

ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ กระดูกไหปลาร้า (Clavicle) เป็นกระดูกแบบยาว (long bone) ชิ้นหนึ่งที่เป็นส่วนประกอบของกระดูกส่วนไหล่ (shoulder girdle) ชื่อของกระดูกไหปลาร้าในภาษาอังกฤษ Clavicle เป็นคำที่มาจากภาษาลาติน clavicula ซึ่งแปลว่า กุญแจเล็กๆ เนื่องจากกระดูกชิ้นนี้จะมีการหมุนรอบแกน ในแนวนอนคล้ายกับการไขกุญแจ ขณะที่แขนกางออก กระดูกไหปลาร้ายังเป็นกระดูกที่สามารถมองเห็น แนวของกระดูกได้จากภายนอกอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในเพศหญิงซึ่งมีไขมันในบริเวณรอบๆกระดูกน้อยกว่า นอกจากในมนุษย์แล้ว กระดูกไหปลาร้ายังพบในสัตว์สี่ขา (tetrapods) ชนิดอื่นๆ แต่อาจมีรูปร่างเล็กกว่าหรืออาจไม่พบเลย กระดูกไหปลาร้าจะเจริญในสัตว์ที่ใช้ส่วนรยางค์หน้าในการหยิบจับ แต่จะไม่เจริญมากนักในสัตว์ที่ใช้รยางค์หน้าในการรองรับน้ำหนักหรือการวิ่ง กระดูกไหปลาร้าเปรียบเสมือนไม้ค้ำ ประคองแขนทั้งสองข้างไว้ ทำให้แขนสามารถเคลื่อนไหว ได้อย่างเป็นอิสระอยู่บนลำตัว กระดูกชิ้นนี้อยู่ในตำแหน่ง ที่ง่ายต่อการกระแทก บาดเจ็บ และรับแรงกระแทกที่ส่งผ่านมาจาก แขนไปสู่ลำตัว กระดูกไหปลาร้าจึงเป็นกระดูกชิ้นที่หักบ่อยที่สุดในร่างกาย โดยมักจะหักเนื่องจาก ล้มหรือตกจากที่สูง โดยลงกระแทกบริเวณไหล่ หรือกระแทกในท่าแขนที่เหยียดออก แรงจะส่งผ่านไปตามแขน ไหล่ ไปสู่กระดูกไหปลาร้า และจะหักในส่วนที่อ่อนแอที่สุด (คือรอยต่อระหว่าง 1/3กลาง กับ 1/3ด้านนอก) หลังจากหักจะถูกกล้ามเนื้อและน้ำหนักของแขนดึงให้ผิดรูปไป.

ใหม่!!: คอและกระดูกไหปลาร้า · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกไฮออยด์

กระดูกไฮออยด์ เป็นกระดูกที่อยู่ในคอ และเป็นกระดูกเพียงชิ้นเดียวในร่างกายมนุษย์ที่ไม่เกิดข้อต่อกับกระดูกชิ้นอื่นๆ เลย กระดูกนี้ค้ำจุนโดยกล้ามเนื้อของคอและทำหน้าที่ช่วยค้ำจุนโคนลิ้น กระดูกไฮออยด์มีรูปร่างคล้ายเกือกม้า และแขวนจากยอดของสไตลอยด์ โพรเซสของกระดูกขมับโดยเอ็นสไตโลไฮออยด์ (stylohyoid ligaments).

ใหม่!!: คอและกระดูกไฮออยด์ · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มอาการคาร์ปัล ทันเนล

กลุ่มอาการเส้นประสาทมีเดียนถูกกดทับที่ช่องกระดูกข้อมือ หรือ กลุ่มอาการคาร์ปัล ทันเนล (Carpal Tunnel Syndrome) เป็นอาการเจ็บป่วยชนิดนึงที่ทำให้มือหมดความรู้สึกและรู้สึกปวดในข้อมือ เนื่องจากมีการกดทับเส้นประสาทมีเดียนซึ่งทอดแนวยาวตั้งแต่แขนมาจนถึงนิ้วมือ อาการปวดนี้สามารถลุกลามมาถึงคอซึ่งนับเป็นอาการที่รุนแรงมาก.

ใหม่!!: คอและกลุ่มอาการคาร์ปัล ทันเนล · ดูเพิ่มเติม »

กล่องเสียง

กล่องเสียง หรือ ลาริงซ์ (larynx) เป็นอวัยวะในคอของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่ทำหน้าที่ในการป้องกันท่อลม (trachea) และการทำให้เกิดเสียง ในกล่องเสียงมีสายเสียงแท้หรือเส้นเสียงแท้ (vocal fold) ซึ่งอยู่ใต้บริเวณที่คอหอย (pharynx) แยกออกเป็นท่อลมและหลอดอาหาร (esophagus).

ใหม่!!: คอและกล่องเสียง · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อสเตอร์โนไคลโดมาสตอยด์

กล้ามเนื้อสเตอร์โนไคลโดมาสตอยด์ กล้ามเนื้อสเตอร์โนไคลโดมาสตอยด์ (Sternocleidomastoid muscle) ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ในส่วนนอกของลำคอ ชื่อของกล้ามเนื้อมัดนี้มาจากจุดเกาะทั้งสามจุดของกล้ามเนื้อ ซึ่งได้แก่ กระดูกอก (sternum, sterno-) กระดูกไหปลาร้า (clavicle, cleido-) และมาสตอยด์ โพรเซส (mastoid process) ซึ่งเป็นส่วนนูนขนาดใหญ่บนกระดูกขมับ (temporal bone) ในบางครั้งอาจเรียกชื่อกล้ามเนื้อนี้ว่า สเตอร์โนมาสตอยด์ (sternomastoid) กล้ามเนื้อสเตอร์โนไคลโดมาสตอยด์ทำหน้าที่หลักในการหมุนและการงอของศีรษะ นอกจากนี้ยังทำงานร่วมกับกลุ่มของกล้ามเนื้อสคาลีนนัส (scalenus muscles) เพื่อช่วยในการเคลื่อนไหวของช่องอกระหว่างการหายใจ แนวของกล้ามเนื้อนี้ยังใช้ในการแบ่งอาณาบริเวณทางกายวิภาคของลำคอเป็นสองส่วน คือพื้นที่สามเหลี่ยมลำคอด้านหน้า (anterior triangle of neck) และพื้นที่สามเหลี่ยมลำคอด้านหลัง (posterior triangle of neck).

ใหม่!!: คอและกล้ามเนื้อสเตอร์โนไคลโดมาสตอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

การรับรู้รส

ตุ่มรับรส (Taste bud) รส หรือ รสชาติ (Taste, gustatory perception, gustation) เป็นเรื่องเกี่ยวกับประสาทสัมผัสหนึ่งในห้า (นับตามโบราณ) โดยเป็นความรู้สึกที่ได้จากระบบรู้รส (gustatory system) รสเป็นความรู้สึกที่ได้เมื่อสารในปากก่อปฏิกิริยาเคมีกับเซลล์รับรส (taste receptor cell) ที่อยู่ในตุ่มรับรส (taste bud) ในช่องปากโดยมากที่ลิ้น รสพร้อม ๆ กับกลิ่น และการกระตุ้นที่ประสาทไทรเจมินัล (ซึ่งทำให้รู้เนื้ออาหาร ความเจ็บปวด และอุณหภูมิ) จะเป็นตัวกำหนดความอร่อยของอาหารหรือสารอื่น ๆ กล่าวอีกอย่างก็คือ ระบบรู้รสจะตรวจจับโมเลกุลอาหารและเครื่องดื่มเป็นต้น โดยมากที่ละลายในน้ำหรือไขมันได้ ซึ่งเมื่อรวมกับข้อมูลจากระบบรู้กลิ่นและระบบรับความรู้สึกทางกาย จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพของสารอาหาร ปริมาณ และความปลอดภัยของสิ่งที่เข้ามาในปาก มีรสชาติหลัก ๆ 5 อย่างคือ หวาน เปรี้ยว เค็ม ขม และอุมะมิ ซึ่งรู้ผ่านวิถีประสาทที่แยกจากกัน ส่วนการรับรู้รสแบบผสมอาจเกิดขึ้นที่เปลือกสมองส่วนการรู้รสโดยประมวลข้อมูลที่ได้ในเบื้องต้นจากหน่วยรับรสหลัก ๆ การรับรู้รสจะเริ่มตั้งแต่สารที่มีรสทำปฏิกิริยากับน้ำลายซึ่งท่วมตุ่มรับรสที่อยู่บนโครงสร้างต่าง ๆ เช่นปุ่มลิ้น ทำให้โมเลกุลรสมีโอกาสทำปฏิกิริยากับหน่วยรับรสที่อยู่บนเยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์รับรสซึ่งอยู่รวมตัวกันที่ตุ่มรับรส รสหวาน อุมะมิ และขม จะเริ่มจากการจับกันของโมเลกุลกับ G protein-coupled receptors ที่เยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์รับรส ส่วนความเค็มและความหวานจะรู้ได้เมื่อโลหะแอลคาไลหรือไอออนไฮโดรเจน (ตามลำดับ) ไหลเข้าไปในเซลล์รับรส ในที่สุดเซลล์รับรสก็จะลดขั้วแล้วส่งสัญญาณกลิ่นผ่านใยประสาทรับความรู้สึกไปยังระบบประสาทกลาง สมองก็จะประมวลผลข้อมูลรสซึ่งในที่สุดก็ทำให้รู้รส รสพื้นฐานจะมีส่วนต่อความรู้สึกอร่อยของอาหารในปาก ปัจจัยอื่น ๆ รวมทั้งกลิ่น ที่ตรวจจับโดยเยื่อบุผิวรับกลิ่นในจมูก, เนื้ออาหาร ที่ตรวจจับโดยตัวรับแรงกล และประสาทกล้ามเนื้อต่าง ๆ เป็นต้น, อุณหภูมิที่ตรวจจับโดยปลายประสาทรับร้อน, ความเย็น (เช่นที่ได้จากเมนทอล) กับรสเผ็สที่ได้จากตัวรับรู้สารเคมี, รูปลักษณ์ที่ปรากฏของอาหาร ที่เห็นได้ผ่านเซลล์รับแสงในจอตา, และสภาพทางจิตใจเอง เพราะเรารู้ทั้งรสที่เป็นอันตรายและมีประโยชน์ รสพื้นฐานทั้งหมดสามารถจัดเป็นไม่น่าพอใจ (aversive) หรือทำให้อยากอาหาร (appetitive) ความขมช่วยเตือนว่าอาจมีพิษ ในขณะที่ความหวานช่วยระบุอาหารที่สมบูรณ์ด้วยพลังงาน สำหรับมนุษย์ การรู้รสจะเริ่มลดลงราว ๆ อายุ 50 ปี เพราะการเสียปุ่มลิ้นและการผลิตน้ำลายที่น้อยลง ทำให้ผู้สูงอายุมักทานรสจัดขึ้นเทียบกับเด็ก เช่น ต้องเติมเกลือ เติมพริกเป็นต้น ซึ่งอาจเป็นปัญหาต่อผู้มีความดันโลหิตสูงหรือมีปัญหาธำรงดุลอิเล็กโทรไลต์ในร่างกาย มนุษย์สามารถรู้รสแบบผิดปกติเพราะเป็นโรค dysgeusia สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมดไม่ได้รู้รสได้เหมือน ๆ กัน สัตว์ฟันแทะบางชนิดสามารถรู้รสแป้ง (ซึ่งมนุษย์ไม่สามารถ) แมวไม่สามารถรู้รสหวาน และสัตว์กินเนื้อหลายอย่างรวมทั้งหมาไฮยีน่า ปลาโลมา และสิงโตทะเลต่างก็ได้เสียการรู้รสชาติอาจถึง 4 อย่างจาก 5 อย่างที่บรรพบุรุษของพวกมันรู้.

ใหม่!!: คอและการรับรู้รส · ดูเพิ่มเติม »

การล่าสัตว์ในเพชรพระอุมา

การล่าสัตว์ในเพชรพระอุมา พนมเทียนได้นำเอาความรู้เกี่ยวกับผู้ที่ประกอบอาชีพพรานนำทางหรือพรานป่า ที่อาศัยการจับสัตว์ ดักสัตว์หรือยิงสัตว์ป่าในการดำรงชีพ มาสอดแทรกในเพชรพระอุมาให้เห็นถึงมีฝีมือในด้านการยิงปืน ล่าสัตว์รวมทั้งศิลปะในการล่าสัตว์ ตั้งแต่สัตว์ขนาดเล็กเช่นไก่ป่า กระรอก กระแต สัตว์ขนาดกลางเช่น หมูป่า ค่าง บ่าง จนกระทั่งถึงสัตว์ขนาดใหญ่เช่น เสือ หมี ช้าง เป็นต้นที่มีความแตกต่างกันออกไป ตามแต่ละท้องถิ่นที่อยู่อาศัยและการตกทอดศิลปะในการล่าสัตว์จากบรรพบุรุษ รวมทั้งความรู้และวิชาในเชิงพรานที่ได้รับสืบทอดกันต่อ ๆ มา ในเพชรพระอุมา พนมเทียนได้สะท้อนให้เห็นถึงวิธีการ ทักษะรวมทั้งศิลปะในการล่าสัตว์ของพรานจัน พรานบุญคำ รวมทั้งรพินทร์ ไพรวัลย์ ที่เต็มไปด้วยการหลอกล่อและชั้นเชิงระหว่างมนุษย์และสัตว์ วิธีการล่าสัตว์ที่ปรากฏในเพชรพระอุมาเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการล่าสัตว์ ที่ประกอบไปด้วยวิธีการปฏิบัติ ขนบประเพณีต่าง ๆ ในการเข้าป่า วิธีการล่าสัตว์ในนวนิยายเพชรพระอุมา มีดังนี้.

ใหม่!!: คอและการล่าสัตว์ในเพชรพระอุมา · ดูเพิ่มเติม »

การสูญความรู้สึกที่ไม่สัมพันธ์

การสูญความรู้สึกที่ไม่สัมพันธ์ (Dissociated sensory loss) เป็นรูปแบบความเสียหายทางประสาทที่เกิดจากรอยโรคที่ลำเส้นใยประสาทลำเดียวที่ไขสันหลัง ซึ่งทำให้เสียความรู้สึกเกี่ยวกับสัมผัสละเอียดและอากัปกิริยาในร่างกายซีกหนึ่งโดยต่ำกว่าหรือเท่ากับรอยโรค โดยไม่เสียความรู้สึกเจ็บและความเย็นร้อน หรืออาจเกิดตามนัยตรงกันข้าม อีกนัยหนึ่ง เป็นรูปแบบความเสียหายทางประสาทที่เกิดจากรอยโรคที่ข้างเดียว (ในสองข้าง) ของไขสันหลัง ซึ่งทำให้เสียความรู้สึกเกี่ยวกับสัมผัสละเอียดและอากัปกิริยาในร่างกายซีกหนึ่งโดยต่ำกว่าหรือเท่ากับรอยโรค และเสียความรู้สึกเจ็บและความเย็นร้อนอีกซีกหนึ่งต่ำกว่าหรือเท่ากับรอยโรค ความไม่สัมพันธ์กันเช่นนี้มาจากการส่งข้อมูลสัมผัสละเอียดบวกอากัปกิริยา กับความเจ็บปวดบวกอุณหภูมิ ผ่านวิถีประสาทที่ต่างกันไปยังสมอง การเสียความรู้สึกเจ็บและอุณหภูมิเกิดจากความเสียหายที่ spinothalamic tract ด้านข้างของไขสันหลัง ซึ่งวิ่งข้ามไขสันหลังในระดับใกล้ ๆ กับที่ใยประสาทวิ่งเข้าไขสันหลัง แล้วดำเนินขึ้นไปยังสมองในซีกตรงข้ามของร่างกายจากจุดเริ่มต้น (first order neuron) คือ วิ่งขึ้นในด้านตรงข้าม (contralateral) ให้สังเกตว่า รอยโรคที่ลำเส้นใยประสาทของ spinothalamic tract ด้านข้างในระดับหนึ่ง ๆ จะไม่ทำให้เสียความรู้สึกใน dermatome ที่อยู่ในระดับเดียวกัน เพราะใยประสาทที่เข้าไปในไขสันหลังจะวิ่งขึ้นตาม tract of Lissauer ในซีกร่างกายเดียวกัน 1-2 ข้อกระดูกสันหลังก่อนจะข้ามไขว้ทแยงไปอีกด้านหนึ่ง และดังนั้น จึงอ้อมผ่านลำเส้นใยประสาทซีกร่างกายตรงกันข้ามที่เสียหาย ส่วนการสูญการรู้สัมผัสละเอียดและอากัปกิริยา จะมาจากความเสียหายต่อทางเดินประสาท dorsal column ในไขสันหลัง ซึ่งไม่ข้ามทแยงไปซีกตรงกันข้ามจนกระทั่งถึงก้านสมอง และดังนั้น จึงวิ่งขึ้นตามไขสันหลังในซีกเดียวกัน (ipsilateral) กับเซลล์ประสาทรับความรู้สึกที่เป็นจุดเริ่มต้น นี่จึงหมายความว่า รอยโรคที่ dorsal column จะทำให้เสียความรู้สึกสัมผัสละเอียดและอากัปกิริยาในระดับใต้รอยโรคซีกร่างกายเดียวกัน เทียบกับรอยโรคที่ spinothalamic tract ซึ่งจะทำให้เสียความรู้สึกเจ็บปวดและอุณหภูมิในระดับใต้รอยโรคซีกร่างกายตรงกันข้าม ดังนั้น การมีอาการ Dissociated sensory loss แสดงนัยว่า มีรอยโรคเฉพาะที่ภายในไขสันหลังหรือก้านสมอง ตำแหน่งรอยโรคในไขสันหลังจะมีผลต่ออาการ ยกตัวอย่างเช่น รอยโรคที่ไขสันหลัง (เช่นของกลุ่มอาการเหตุไขสันหลังเป็นโพรง) ซึ่งเป็นความเสียหายต่อ second order neuron ของ spinothalamic tract ช่วงที่กำลังข้ามทแยงในไขสันหลัง จะทำให้เสียความรู้สึกเจ็บและอุณหภูมิโดยไม่เสียสัมผัสละเอียดและอากัปกิริยา เหตุต่าง ๆ ของอาการนี้รวมทั้ง.

ใหม่!!: คอและการสูญความรู้สึกที่ไม่สัมพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

การผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลัง

การผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลัง (Spinal fusion, spondylodesis, spondylosyndesis) เป็นเทคนิคทางศัลยศาสตร์ออร์โทพีดิกส์เพื่อเชื่อมข้อกระดูกสันหลังสองข้อหรือมากกว่านั้น ซึ่งสามารถทำได้ที่กระดูกสันหลังส่วนคอ ส่วนอก และส่วนเอว เพื่อกันข้อกระดูกที่เชื่อมกันไม่ให้เคลื่อนไหว มีวิธีการเชื่อมกระดูกหลายอย่าง แต่ละอย่างจะมีการปลูกถ่ายกระดูก (bone grafting) ไม่ว่าจะมาจากคนไข้เอง (autograft) ได้จากผู้บริจาค (allograft) หรือจากกระดูกเทียม เพื่อช่วยเชื่อมกระดูกที่เกี่ยวข้อง และบ่อยครั้งจะต้องใช้อุปกรณ์อื่น ๆ (รวมทั้งสกรู แผ่นวัสดุ หรือกรง) เพื่อยึดกระดูกให้อยู่กับที่ในขณะที่กระดูกปลูกถ่ายเชื่อมข้อกระดูกเข้าด้วยกัน การผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลังทำมากที่สุดเพื่อบรรเทาความปวดและแรงกดต่อไขสันหลัง ที่เกิดเมื่อหมอนกระดูกสันหลัง (กระดูกอ่อนระหว่างข้อกระดูก) เสื่อม (degenerative disc disease) อาการทางแพทย์อื่น ๆ ที่รักษาด้วยวิธีนี้รวมทั้งช่องไขสันหลังตีบ กระดูกสันหลังเคลื่อน กระดูกสันหลังเสื่อม กระดูกสันหลังหัก กระดูกสันหลังคด และหลังโกง เหมือนกับการผ่าตัดอื่น ๆ ภาวะแทรกซ้อนอาจรวมทั้งการติดเชื้อ การเสียเลือด และความเสียหายต่อประสาท การเชื่อมยังเปลี่ยนการเคลื่อนไหวปกติของกระดูกสันหลัง ซึ่งสร้างภาระมากขึ้นกับข้อกระดูกเหนือและใต้ข้อที่เชื่อมเข้าด้วยกัน ดังนั้น ภาวะแทรกซ้อนระยะยาวก็คือกระดูกที่มีภาระมากขึ้นจะเสื่อม.

ใหม่!!: คอและการผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

การทดสอบด้วยความเย็นร้อน

ในการแพทย์ การทดสอบด้วยความเย็นร้อน (at, caloric testing, caloric stimulation, Caloric reflex test) เป็นการทดสอบระบบการทรงตัว/หลอดกึ่งวงกลม/ก้านสมอง/สมองใหญ่/vestibulo-ocular reflex และสามารถใช้ช่วยวินิจฉัยเนื้องอกเส้นประสาทแบบ vestibular schwannoma (acoustic neuroma) โดยใส่น้ำเย็นหรืออุ่น หรือเป่าลมเย็นหรืออุ่น เข้าที่ช่องหูภายนอกทีละข้าง เป็นการทดสอบที่พัฒนาขึ้นโดยแพทย์โสตวิทยาชาวออสโตร-ฮังการี Robert Bárány ผู้ต่อมาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ปี..

ใหม่!!: คอและการทดสอบด้วยความเย็นร้อน · ดูเพิ่มเติม »

การปรับตัว (ชีววิทยา)

ในชีววิทยา คำว่า การปรับตัว (adaptation, adaptive trait) มีความหมาย 3 อย่างที่เกี่ยวข้องกัน คือ.

ใหม่!!: คอและการปรับตัว (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

การเจาะคอ

ศัลยกรรมทำรูเปิดท่อลม หรือการเจาะคอ (tracheotomy หรือบุคลากรทางการแพทย์ในไทยนิยมเรียก tracheostomy) เป็นหัตถการทางการแพทย์ที่เก่าแก่ที่สุดอย่างหนึ่ง ทำโดยลงมีดที่ด้านหน้าของคอลงไปจนถึงหลอดลมสำหรับใช้เป็นทางหายใจ ช่องเปิดที่เกิดขึ้นสามารถใช้เป็นช่องทางหายใจได้โดยตรงหรือเป็นที่สำหรับใส่ท่อช่องหลอดลมซึ่งทำให้ผู้ป่วยสามารถหายใจได้โดยไม่ต้องใช้จมูกหรือปาก หมวดหมู่:หัตถการในเวชศาสตร์ฉุกเฉิน หมวดหมู่:โสตศอนาสิกวิทยา.

ใหม่!!: คอและการเจาะคอ · ดูเพิ่มเติม »

กิตติ สีหนนทน์

นายกิตติ สีหนนทน์ (14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2453 - 24 มกราคม พ.ศ. 2527) อดีตองคมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมในสมัยรัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์ และอดีตรองประธานศาลฎีก.

ใหม่!!: คอและกิตติ สีหนนทน์ · ดูเพิ่มเติม »

ฝุ่นละออง

นีตรวจมลพิษทางอากาศ ที่เมือง เอมเด็น ประเทศเยอรมนี ฝุ่นละออง หรือ ละอองธุลี คือ ของแข็งขนาดเล็กที่ลอยอยู่ในอากาศหรือน้ำ ซึ่งเกิดจากธรรมชาติหรือมนุษย์โดยนับเป็นมลพิษทางอากาศและมลพิษทางน้ำประเภทหนึ่ง ฝุ่นละอองมีที่มาหลากหลายทั้งจากธรรมชาติ อาทิเช่น ภูเขาไฟ พายุทราย ไฟป่า ไอเกลือ หรือการกระทำของมนุษย์เช่น ไอของเสียจากรถยนต์ โรงงานไฟฟ้า โรงงานอุตสาหกรรม รวมไปถึง การเผาหญ้า และการเผาป่า ในประเทศกำลังพัฒนาฝุ่นละอองที่เกิดขึ้นมักจะเกิดจากโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าจากถ่านหิน ปริมาณฝุ่นละอองในอากาศจำนวนมากส่งผลต่อสุขภาพของมนุษย์ ก่อให้เกิดปัญหาหลากหลายเช่น โรคทางเดินหายใจ โรคหัวใจ โรคปอด รวมไปถึงมะเร็งปอด ซึ่งสามารถป้องกันได้ด้วยพวกตัวกรองแบบต่างๆ เช่น หน้ากาก การกำจัดฝุ่นละอองนั้น ฝุ่นละอองที่มีขนาดใหญ่จะตกอยู่บนพื้นตามแรงโน้มถ่วงของโลก ขณะที่ฝุ่นขนาดเล็กกว่า 10 ไมโครเมตร (PM10) จะลอยอยู่ในอากาศได้หลายสัปดาห์ และจะถูกกำจัดโดยฝนหรือหยาดน้ำฟ้าประเภทอื่น.

ใหม่!!: คอและฝุ่นละออง · ดูเพิ่มเติม »

มหาสีลวชาดก

มหาสีลวชาดก เป็นเรื่องที่ว่าด้วยการปรารภความเพียร ในครั้งที่พระโคตมพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็น พระมหาสีลวร.

ใหม่!!: คอและมหาสีลวชาดก · ดูเพิ่มเติม »

มิตร ชัยบัญชา

มิตร ชัยบัญชา (28 มกราคม พ.ศ. 2477 - 8 ตุลาคม พ.ศ. 2513) หรือชื่อจริง พันจ่าอากาศโท พิเชษฐ์ ชัยบัญชา (นามสกุลเดิม พุ่มเหม) เริ่มเข้าสู่วงการบันเทิงปล..

ใหม่!!: คอและมิตร ชัยบัญชา · ดูเพิ่มเติม »

ยาราเอล พูฟ

ราเอล พูฟ (Yarael Poof) เป็นตัวละครในเรื่องแต่งชุดสตาร์ วอร์ส ยาราเอล พูฟ เป็นอาจารย์เจไดชาวเควอร์เมียน รับใช้สภาเจไดในช่วงยุคโรยของสาธารณรัฐกาแลกติก เขาเป็นผู้ฝึกโรรอน โครอบบ์เป็นพาดาวัน ในยามที่ใช้กระบี่แสง ยาราเอล พูฟมักใช้ความเชี่ยวชาญในด้านพลังสะกดใจเพื่อหลีกเลี่ยงปัญห.

ใหม่!!: คอและยาราเอล พูฟ · ดูเพิ่มเติม »

ยาทาเล็บ

ทาเล็บที่บรรจุใส่ขวดยี่ห้อหนึ่ง ยาทาเล็บ (Nail polish; Nail varnish) คือเครื่องสำอางประเภทหนึ่งที่ใช้ตกแต่งเล็บของมนุษย์ ให้มีความสวยงาม.

ใหม่!!: คอและยาทาเล็บ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบรับความรู้สึกทางกาย

การเห็นบกพร่อง สัมผัสเป็นประสาทสัมผัสที่สำคัญเพื่อรับรู้สิ่งแวดล้อม ระบบรับความรู้สึกทางกาย"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ somato-gnosis ว่า "ความรู้สึก-ทางกาย" และของ sensory ว่า "-รับความรู้สึก" แต่สิ่งที่ตีพิมพ์ในวรรณกรรมมักใช้คำอังกฤษว่า somatosensory system โดยไม่แปล (somatosensory system) เป็นส่วนของระบบรับความรู้สึกที่สามารถรับรู้อย่างหลายหลาก ประกอบด้วยตัวรับความรู้สึก/ปลายประสาทรับความรู้สึก (sensory receptor) ที่ระบบประสาทนอกส่วนกลาง และศูนย์ประมวลผลต่าง ๆ ที่ระบบประสาทกลางมากมาย ทำให้รับรู้ตัวกระตุ้นได้หลายแบบรวมทั้งสัมผัส อุณหภูมิ อากัปกิริยา และโนซิเซ็ปชั่น (ซึ่งอาจให้เกิดความเจ็บปวด) ตัวรับความรู้สึกมีอยู่ที่ผิวหนัง เนื้อเยื่อบุผิว กล้ามเนื้อโครงร่าง กระดูก ข้อต่อ อวัยวะภายใน และระบบหัวใจและหลอดเลือด ถึงแม้จะสืบทอดมาตั้งแต่ครั้งโบราณว่า สัมผัสเป็นความรู้สึกอย่างหนึ่งในทวารทั้ง 5 (เช่น "โผฏฐัพพะ" ในพระพุทธศาสนา) แต่ความจริงแล้ว "สัมผัส" เป็นความรู้สึกต่าง ๆ หลายแบบ ดังนั้น การแพทย์จึงมักจะใช้ศัพท์ภาษาอังกฤษว่า "somatic senses (ความรู้สึกทางกาย)" แทนศัพท์ว่า "touch (สัมผัส)" เพื่อให้ครอบคลุมกลไกความรู้สึกทางกายทั้งหมด ความรู้สึกทางกายบางครั้งเรียกว่า "somesthetic senses" โดยที่คำว่า "somesthesis" นั้น รวมการรับรู้สัมผัส (touch) การรับรู้อากัปกิริยา และในบางที่ การรับรู้วัตถุโดยสัมผัส (haptic perception) ระบบรับความรู้สึกทางกายมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งเร้ามากมายหลายแบบ โดยอาศัยตัวรับความรู้สึกประเภทต่าง ๆ รวมทั้งตัวรับอุณหภูมิ โนซิเซ็ปเตอร์ ตัวรับแรงกล และตัวรับรู้สารเคมี ข้อมูลความรู้สึกจะส่งไปจากตัวรับความรู้สึกผ่านเส้นประสาทรับความรู้สึก (sensory nerve) ผ่านลำเส้นใยประสาทในไขสันหลัง ตรงเข้าไปยังสมอง การประมวลผลโดยหลักเกิดขึ้นที่คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายปฐมภูมิ (primary somatosensory cortex) ในสมองกลีบข้าง cortical homunculus ที่แสดงไว้โดยไวล์เดอร์ เพ็นฟิลด์ กล่าวอย่างง่าย ๆ ที่สุด ระบบรับความรู้สึกทางกายจะเริ่มทำงานเมื่อตัวรับความรู้สึกที่กายเขตหนึ่งเริ่มทำงาน โดยถ่ายโอนคุณสมบัติของตัวกระตุ้นบางอย่างเช่นความร้อนไปเป็นสัญญาณประสาท ซึ่งในที่สุดก็จะเดินทางไปถึงเขตสมองที่มีหน้าที่เฉพาะเจาะจงต่อเขตกายนั้น และเพราะเฉพาะเจาะจงอย่างนี้ จึงสามารถระบุเขตกายที่เกิดความรู้สึกโดยเฉพาะซึ่งเป็นผลแปลของสมอง ความสัมพันธ์จุดต่อจุดเช่นนี้ปรากฏเป็นแผนที่ผิวกายในสมองที่เรียกว่า homunculus แปลว่า "มนุษย์ตัวเล็ก ๆ" และเป็นส่วนสำคัญในการรับรู้ความรู้สึกที่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย แต่แผนที่ในสมองเช่นนี้ ไม่ใช่ว่าจะเปลี่ยนแปลงไม่ได้ และจริง ๆ สามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างน่าทึ่งใจ เพื่อตอบสนองต่อโรคหลอดเลือดสมองหรือความบาดเจ็บอื่น.

ใหม่!!: คอและระบบรับความรู้สึกทางกาย · ดูเพิ่มเติม »

ระบบรู้กลิ่น

ระบบรู้กลิ่น หรือ ระบบรับกลิ่น (olfactory system) เป็นส่วนของระบบรับความรู้สึกที่ใช้เพื่อรับกลิ่น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและสัตว์เลื้อยคลานโดยมากจะมีทั้งระบบรับกลิ่นหลัก (main olfactory system) และระบบรับกลิ่นเสริม (accessory olfactory system) ระบบหลักจะรับกลิ่นจากอากาศ ส่วนระบบเสริมจะรับกลิ่นที่เป็นน้ำ ประสาทสัมผัสเกี่ยวกับกลิ่นและรสชาติ บ่อยครั้งเรียกรวมกันว่าระบบรับรู้สารเคมี (chemosensory system) เพราะทั้งสองให้ข้อมูลแก่สมองเกี่ยวกับองค์ประกอบทางเคมีของสิ่งเร้าผ่านกระบวนการที่เรียกว่า การถ่ายโอนความรู้สึก (transduction) กลิ่นช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาหารและแหล่งอาหาร เกี่ยวกับความสุขหรืออันตรายที่อาจได้จากอาหาร เกี่ยวกับอันตรายที่สารอื่น ๆ ในสิ่งแวดล้อมอาจมี ให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง ผู้อื่น และสัตว์ชนิดอื่น ๆ กลิ่นมีผลทางสรีรภาพโดยเริ่มกระบวนการย่อยอาหารและการใช้พลังงาน มีบทบาทในการสืบพันธุ์ การป้องกันตัว และพฤติกรรมเกี่ยวกับอาหาร ในสัตว์บางชนิด มีบทบาทสำคัญทางสังคมเพราะตรวจจับฟีโรโมนซึ่งมีผลทางสรีรภาพและพฤติกรรม ในทางวิวัฒนาการแล้ว ระบบรับกลิ่นเป็นประสาทสัมผัสที่เก่าแก่ที่สุด แม้จะเป็นระบบที่เข้าใจน้อยที่สุดในบรรดาประสาทสัมผัสทั้งหมด ระบบรับกลิ่นจะอาศัยหน่วยรับกลิ่น (olfactory receptor) ซึ่งเป็นโปรตีนหน่วยรับความรู้สึกแบบ G protein coupled receptor (GPCR) และอาศัยกระบวนการส่งสัญญาณทางเคมีที่เกิดตามลำดับภายในเซลล์ซึ่งเรียกว่า second messenger system เพื่อถ่ายโอนข้อมูลกลิ่นเป็นกระแสประสาท หน่วยรับกลิ่นจะแสดงออกอยู่ที่เซลล์ประสาทรับกลิ่นในเยื่อรับกลิ่นในโพรงจมูก เมื่อหน่วยรับกลิ่นต่าง ๆ ทำงานในระดับที่สมควร เซลล์ประสาทก็จะสร้างศักยะงานส่งไปยังส่วนต่าง ๆ ของระบบประสาทกลางเริ่มตั้งแต่ป่องรับกลิ่น ซึ่งก็จะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเป็นต้นของสัตว์ นักเคมีเกี่ยวกับกลิ่นก็ประเมินว่า มนุษย์อาจสามารถแยกแยะกลิ่นระเหยได้ถึง 10,000 รูปแบบ โดยที่ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับของหอมอาจแยกแยะกลิ่นได้ถึง 5,000 ชนิด และผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับไวน์อาจแยกแยะส่วนผสมได้ถึง 100 อย่าง โดยสามารถรู้กลิ่นต่าง ๆ ในระดับความเข้มข้นต่าง ๆ กัน เช่น สามารถรู้สารกลิ่นหลักของพริกชี้ฟ้า คือ 2-isobutyl-3-methoxypyrazine ในอากาศที่มีความเข้มข้น 0.01 นาโนโมล ซึ่งประมาณเท่ากับ 1 โมเลกุลต่อ 1,000 ล้านโมเลกุลของอากาศ สามารถรู้กลิ่นเอทานอลที่ความเข้มข้น 2 มิลลิโมล และสามารถรู้กลิ่นโครงสร้างทางเคมีที่ต่างกันเล็กน้อยในระดับโมเลกุล เช่น กลิ่นของ D-carvone จะต่างจากของ L-carvone โดยมีกลิ่นเหมือนกับเทียนตากบและมินต์ตามลำดับ ถึงกระนั้น การได้กลิ่นก็พิจารณาว่าเป็นประสาทสัมผัสที่แย่ที่สุดอย่างหนึ่งในมนุษย์ โดยมีสัตว์อื่น ๆ ที่รู้กลิ่นได้ดีกว่า เช่น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเกินกว่าครึ่ง ซึ่งอาจเป็นเพราะมนุษย์มีประเภทหน่วยรับกลิ่นที่น้อยกว่า และมีเขตในสมองส่วนหน้าที่อุทิศให้กับการแปลผลข้อมูลกลิ่นที่เล็กกว่าโดยเปรียบเที.

ใหม่!!: คอและระบบรู้กลิ่น · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อกระดูกในร่างกายมนุษย์

รงกระดูกของผู้ใหญ่ โดยทั่วไปประกอบด้วยกระดูก 206-350 ชิ้น ขึ้นกับอายุ จำนวนของกระดูกของแต่ละคนอาจแตกต่างกันขึ้นกับความหลากหลายทางกายวิภาค (anatomical variation) เช่น ประชากรมนุษย์จำนวนหนึ่งที่มีกระดูกซี่โครงต้นคอ (cervical rib) หรืออาจมีจำนวนกระดูกสันหลังส่วนบั้นเอวเกินมา (ตัวเลขในวงเล็บแสดงจำนวนของกระดูกในบริเวณนั้นๆ ตัวเลข ตัวหนา หลังชื่อแสดงตำแหน่งของกระดูกในภาพทางขวา) The human skeleton.

ใหม่!!: คอและรายชื่อกระดูกในร่างกายมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์

รายชื่อกล้ามเนื้อของร่างกายมนุษย์ โดยทั่วไปร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยกล้ามเนื้อโครงร่างประมาณ 640 มัด อย่างไรก็ตาม ตัวเลขจำนวนกล้ามเนื้อที่แน่นอนก็ยังไม่แน่ชัดเพราะแต่ละแหล่งข้อมูลก็มีการจัดกลุ่มกล้ามเนื้อแตกต่างกัน ทำให้จำนวนกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์มีตั้งแต่ 640-850 มัด ซึ่งตารางนี้มีรายชื่อกล้ามเนื้อประมาณ 320 มัด หน้าที่ของกล้ามเนื้อในตารางนี้เป็นหน้าที่มาตรฐานเมื่อร่างกายอยู่ในตำแหน่าค (anatomical position) ในตำแหน่งร่างกายอื่นๆ กล้ามเนื้ออาจมีหน้าที่ที่ต.

ใหม่!!: คอและรายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อหลอดเลือดแดงของร่างกายมนุษย์

นี่คือรายชื่อหลอดเลือดแดงของร่างกายมนุษ.

ใหม่!!: คอและรายชื่อหลอดเลือดแดงของร่างกายมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อโครงสร้างทางกายวิภาคมนุษย์

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: คอและรายชื่อโครงสร้างทางกายวิภาคมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย นี้แก้ความเชื่อและความเข้าใจผิด ๆ ที่แพร่หลายในปัจจุบัน ในประเด็นต่าง ๆ ที่น่าสนใจ โดยมีแหล่งอ้างอิงที่ได้กำหนดความเข้าใจผิดคู่กับความจริงแต่ละอย่างแล้ว ให้สังเกตว่า แต่ละรายการเขียนโดยเป็นการแก้ไข และอาจไม่ได้กล่าวถึงความเข้าใจผิดเองตรง.

ใหม่!!: คอและรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย · ดูเพิ่มเติม »

ราศีพฤษภ

ราศีพฤษภ (Taurus จากtaurus แปลว่า "วัวตัวผู้") เป็นราศีที่ 2 ตามตำราของโหราศาสตร์ตะวันตก อยู่ระหว่างราศีเมษกับราศีเมถุน มีสัญลักษณ์เป็นวัว ช่วงวันที่ครอบคลุมของราศีพฤษภนั้น ในแบบสายนะจะครอบคลุมระหว่างวันที่ 21 เมษายน ถึง 21 พฤษภาคม ส่วนแบบนิรายนะจะครอบคลุมระหว่างวันที่ 16 พฤษภาคม ถึง 15 มิถุนายน.

ใหม่!!: คอและราศีพฤษภ · ดูเพิ่มเติม »

ร่างกายมนุษย์

ร่างกายมนุษย์ เป็นโครงสร้างทั้งหมดของมนุษย์ ประกอบด้วยเซลล์หลายชนิดที่รวมกันเป็นเนื้อเยื่อซึ่งรวมกันเป็นระบบอวัยวะ สิ่งเหล่านี้คงภาวะธำรงดุลและความอยู่รอดของร่างกายมนุษย์ ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยศีรษะ, คอ, ลำตัว (ซึ่งรวมถึงอกและท้อง), แขนและมือ, ขา และเท้า การศึกษาร่างกายมนุษย์เชื่อมโยงกับกายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา มิญชวิทยา และคัพภวิทยา ร่างกายมีความแตกต่างทางกายวิภาคแบบต่าง ๆ สรีรวิทยามุ่งไปที่ระบบและอวัยวะของมนุษย์และการทำงานของอวัยวะ หลายระบบและกลไกมีปฏิกิริยาต่อกันเพื่อคงภาวะธำรงดุล โดยมีระดับที่ปลอดภัยของสารต่าง ๆ เช่น น้ำตาลและออกซิเจนในเลือ.

ใหม่!!: คอและร่างกายมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยเสือใหญ่

วงศ์ย่อยเสือใหญ่ หรือ วงศ์ย่อยเสือ (Panther, Big cat) เป็นวงศ์ย่อยของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กินเนื้อ ในวงศ์เสือและแมว (Felidae) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pantherinae ลักษณะโดยรวมของสัตว์ในวงศ์ย่อยนี้ คือ เป็นเสือขนาดใหญ่ ที่อุ้งตีนมีซองหุ้มเล็บได้ทั้งหมด ในลำคอมีกระดูกกล่องเสียงชิ้นกลางดัดแปลง มีลักษณะเป็นแถบเส้นเอ็นสั่นไหวได้ดี จึงสามารถใช้ส่งเสียงร้องดัง ๆ ได้ ที่เรียกว่า คำราม จากการศึกษาพบว่า วงศ์ย่อยนี้แยกออกมาจากวงศ์ย่อย Felinae เมื่อ 60 ล้านปีก่อน และจากการวิเคราะห์ดีเอ็นเอพบว่า เสือดาวหิมะ เป็นรากฐานของเสือในวงศ์ย่อยนี้ทั้งหมด นอกจากนี้ยังพบหลักฐานที่บ่งชี้ว่ามีจีโนมที่แตกต่างกันของเสือและแมวในวงศ์นี้ โดยเสือที่อยู่ในวงศ์ย่อยนี้ แบ่งออกได้เป็น 3 สกุล 7 ชนิด พบกระจายพันธุ์ทั้งในทวีปเอเชียและแอฟริกา และพบเพียงชนิดเดียวในทวีปอเมริกาใต้.

ใหม่!!: คอและวงศ์ย่อยเสือใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์เสือและแมว

วงศ์เสือและแมว (Cat, Felid, Feline) เป็นวงศ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภท เสือ, สิงโต, ลิงซ์ และแมว โดยทั้งหมดอยู่ในอันดับสัตว์กินเนื้อ (Carnivora) โดยปรากฏครั้งแรกในสมัยโอลิโกซีน เมื่อประมาณ 30 ล้านปีก่อน ใช้ชื่อวงศ์ว่า Felidae.

ใหม่!!: คอและวงศ์เสือและแมว · ดูเพิ่มเติม »

ศัลยกรรมช่องปากและใบหน้าขากรรไกร

ศัลยกรรมช่องปากและใบหน้าขากรรไกร หรือ ศัลยกรรมช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล (Oral and maxillofacial surgery) เป็นศัลยศาสตร์ที่เกี่ยวกับการแก้ไขอาการ โรค การบาดเจ็บ หรือความผิดปกติที่เกี่ยวกับศีรษะ คอ ใบหน้า ขากรรไกร และเนื้อเยื่อบริเวณช่องปาก และบริเวณใบหน้าและขากรรไกร โดยสากลจัดวิชานี้เป็นศัลยกรรมเฉพาะทาง หมวดหมู่:ศัลยกรรมเฉพาะทาง หมวดหมู่:ทันตแพทยศาสตร์ หมวดหมู่:การแพทย์เฉพาะทาง.

ใหม่!!: คอและศัลยกรรมช่องปากและใบหน้าขากรรไกร · ดูเพิ่มเติม »

สกุลเสือชีตาห์

กุลเสือชีตาห์ เป็นสกุลของสัตว์กินเนื้อขนาดกลางจำพวกหนึ่ง จัดเป็นเสือขนาดเล็ก ในวงศ์เสือและแมว (Felidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Acinonyx ลักษณะเด่นของเสือในสกุลนี้ คือ ที่อุ้งตีนไม่มีซองหุ้มเล็บเหมือนสมาชิกในวงศ์นี้ทั่วไป และในลำคอไม่มีเส้นเสียง จึงไม่สามารถร้องคำรามเสียงดังได้ (ในบางข้อมูลจัดให้เป็นวงศ์ย่อยแยกออกมา) ปัจจุบัน เสือในสกุลนี้หลงเหลือเพียงชนิดเดียวเท่านั้น คือ เสือชีตาห์ ที่กระจายพันธุ์ในทวีปแอฟริกา ส่วนชนิดอื่นได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว ตั้งแต่ยุคน้ำแข็งสุดท้าย จากเดิมที่เคยมีอยู่ทั้งหมด 5 ชนิด และกระจายพันธุ์ทั้งทวีปแอฟริกา, ยุโรป และเอเชี.

ใหม่!!: คอและสกุลเสือชีตาห์ · ดูเพิ่มเติม »

สกุลเสือพูม่า

ำหรับพูม่าที่เป็นผลิตภัณฑ์กีฬา ดูที่: พูม่า สกุลเสือพูม่า หรือ สกุลเสือคูการ์ หรือ สกุลสิงโตภูเขา (Puma, Jaguarundi) เป็นสกุลของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกเสือขนาดเล็กสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Puma จัดอยู่ในวงศ์เสือและแมว (Felidae) แม้จะมีรูปร่างที่แลดูใหญ่ แต่เสือในสกุลนี้ถูกจัดให้อยู่ในจำพวกเสือขนาดเล็ก เนื่องจากในลำคอไม่มีกระดูกไฮออยด์ที่ยืดหยุ่นและไม่มีสายเสียงขนาดใหญ่ที่สามารถทำเสียงดังเช่น คำราม ได้ เหมือนเสือขนาดใหญ่ มีลักษณะโดยรวม คือ ขนมีสีเดียวตลอดทั้งตัว และมีขาหลังที่ยาวที่สุดในบรรดาสัตว์วงศ์นี้ทั้งหมด จัดเป็นสัตว์ในวงศ์นี้ ที่พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางมากที่สุดในทวีปอเมริกา พบได้ทั้ง อเมริกาเหนือ, อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ ถูกจัดแบ่งออกเป็น 3 ชนิด สูญพันธุ์ไปแล้วหนึ่งชนิด ได้แก.

ใหม่!!: คอและสกุลเสือพูม่า · ดูเพิ่มเติม »

สวีนนีย์ ท็อดด์ บาร์เบอร์หฤโหดแห่งฟลีทสตรีท

วีนนีย์ ท็อดด์ บาร์เบอร์หฤโหดแห่งฟลีทสตรีท (อังกฤษ: Sweeney Todd: The Demon Barber of Fleet Street) คือ ภาพยนตร์เพลงอเมริกันแนวเขย่าขวัญ ปี พ.ศ. 2550 ที่ได้รับการดัดแปลงจากละครเพลงชื่อเดียวกันของสตีเฟน ซอนด์ไฮม์ และฮิวจ์ วีลเลอร์ เป็นเรื่องเล่าที่อ้างอิงตำนานประโลมโลกสมัยวิกตอเรีย โดยมีชายที่ชื่อว่าสวีนนีย์ ทอดด์ เป็นตัวเอก เขาคือช่างตัดผมชาวอังกฤษ ที่เกิดขาดสติหลังจากเสียภรรยาและบุตรสาวไปให้กับผู้พิพากษาฉ้อฉลนามว่าเทอร์พิน จนก่อการฆาตกรรมต่อเนื่องด้วยการใช้มีดโกนปาดคอลูกค้าของตัวเอง โดยร่วมมือกับนางเลิฟเวตต์ ผู้ที่คอยแปรรูปศพที่ถูกฆ่าทุกศพให้กลายเป็นพายเนื้อเพื่อใช้จำหน่ายในร้านของเธอที่กำลังประสบปัญหาด้านเงินทุน ภาพยนตร์เรื่องนี้กำกับโดย ทิม เบอร์ตัน ซึ่งเขาได้รับการมอบหมายจากบริษัท ดรีมเวิร์ก เมื่อปี พ.ศ. 2549 ให้มากำกับแทนผู้กำกับภาพยนตร์ แซม เมนเดส เบอร์ตันได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างผลงานชิ้นนี้มาจากความประทับใจที่ได้ชมละครเวทีของซอนด์ไฮม์เรื่องเดียวกันนี้ ตอนที่ยังเป็นนักเรียน และเมื่อครั้งที่ได้ชมภาพยนตร์เรื่องนี้ในเวอร์ชันต้นคริสต์ทศวรรษที่ 1980 ซึ่งในกระบวนการสร้าง ซอนด์ไฮม์ก็ได้มาทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาในการถ่ายทำด้วย ในส่วนของนักแสดงนำ ผู้ที่รับบทเป็นสวีนนีย์ ทอดด์ คือ จอห์นนี เดปป์ และนางเลิฟเลตต์รับบทโดย เฮเลนา บอนแฮม คาร์เตอร์ โดยก่อนการแสดง เดปป์ ซึ่งเป็นผู้ที่ร้องเพลงไม่เป็น ต้องไปฝึกการร้องเพลงเพื่อเตรียมตัวในการสวมบทบาทนี้ โดยหลังจากที่ภาพยนตร์ออกฉาย การร้องเพลงของเขาก็ได้รับการยอมรับจากนักวิจารณ์ว่าเหมาะสมกับบท แต่ก็มีบางคำวิจารณ์ที่กล่าวว่ายังถือเป็นการร้องเพลงที่ขาดความมั่นคงด้านคุณภาพอยู่ สวีนนีย์ ท็อดด์ ออกฉายในสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2550 และในสหราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2551 (ส่วนในประเทศไทยออกฉายเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2551) โดยได้รับกระแสตอบรับอย่างล้นหลาม อย่างไรก็ตาม การที่วอร์เนอร์บราเธอร์สตัดสินใจไม่โฆษณาภาพยนตร์เรื่องนี้ว่าเป็นภาพยนตร์เพลง ก็ทำให้ผู้ชมบางคนไม่พอใจและวิจารณ์ว่า การโฆษณาเช่นนี้เป็นความตั้งใจที่จะทำให้ผู้ชมเข้าใจผิดในประเภทของภาพยนตร์ ในด้านของความสำเร็จ ภาพยนตร์ไม่ประสบความสำเร็จด้านรายได้ในสหรัฐอเมริกา แต่รายได้ที่ได้รับจากระดับนานาชาติถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ซึ่งนอกจากรายได้หลักจากการฉายภาพยนตร์แล้ว ก็ยังสามารถสร้างรายได้จากผลิตภัณฑ์อื่น ๆ อีกด้วย เช่น อัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์ หรือดีวีดีภาพยนตร์รูปแบบต่าง ๆ เป็นต้น ส่วนด้านรางวัลที่ได้รับก็ถือว่าประสบความสำเร็จค่อนข้าง โดยได้รับจากทั้งเวทีประกวดหลากหลายระดับ เช่น รางวัลออสการ์ สาขากำกับศิลป์ยอดเยี่ยม, รางวัลลูกโลกทองคำ (สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยมและสาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม ประเภทภาพยนตร์เพลงหรือตลก) เป็นต้น ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการจัดระดับความเหมาะสมต่อผู้ชมจากสมาคมภาพยนตร์อเมริกันให้อยู่ในระดับอาร์ เนื่องจากมีการฉาย "ภาพความรุนแรงอย่างถึงเลือดถึงเนื้อ" ในภาพยนตร.

ใหม่!!: คอและสวีนนีย์ ท็อดด์ บาร์เบอร์หฤโหดแห่งฟลีทสตรีท · ดูเพิ่มเติม »

สีบำบัด

Edwin Dwight Babbitt ผู้เริ่มคัดค้านสีบำบัดคนแรก ๆ สีบำบัด (chromotherapy, color therapy, colorology, cromatherapy) เป็นการแพทย์ทางเลือกที่ถือว่าเป็นวิทยาศาสตร์เทียม นักสีบำบัดอ้างว่าสามารถใช้แสงในรูปแบบของสีเพื่อสร้างสมดุล "พลังงาน" ซึ่งอาจขาดหายไปในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นทางกาย ทางอารมณ์ ทางจิตใจ หรือทางจิตภาพ สีบำบัดแตกต่างจากแสงบำบัดชนิดอื่น เช่น การบำบัดภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด และการบำบัดเลือดด้วยการฉายรังสี ซึ่งเป็นการรักษาทางการแพทย์ที่ได้รับการยอมรับทางวิทยาศาสตร์สำหรับรักษาอาการต่าง ๆ และจากชีววิทยาเชิงแสง (photobiology) ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของแสงต่อสิ่งมีชีวิต Sébastien Point นักฟิสิกส์ด้านแสงผู้สงสัยเกี่ยวกับการบำบัดด้วยสีชี้ว่าโคมไฟแอลอีดีซึ่งถูกใช้ในสีบำบัดอาจมีความเสี่ยงจะสร้างความเสียหายแก่จอประสาทต.

ใหม่!!: คอและสีบำบัด · ดูเพิ่มเติม »

สนูด

ภาพวาดสตรีศตวรรษที่ 19 สวมสนูด สนูด (snood) เป็นที่โพกศีรษะของสตรียุโรปในอดีต หรือในปัจจุบันเชื่อมต่อกับคอ สนูดอาจทำมาจากผ้าหนา ๆ แต่ถักให้หลวมหรือใช้วัสดุคล้ายตาข่าย ในอดีต (หรืออาจใช้บ้างในปัจจุบัน) เป็นกระเป๋าตาข่ายเล็ก ๆ ผูกติดเข้ากันเพื่อรวบผมด้านหลังเข้ามาไว้ใกล้กับต้นคอ หมวดหมู่:สิ่งประดับศีรษะ.

ใหม่!!: คอและสนูด · ดูเพิ่มเติม »

หูชั้นกลาง

หูชั้นกลาง (middle ear, auris media) คือหูส่วนที่อยู่หลังแก้วหู แต่ก่อนช่องรูปไข่ (oval window) ของหูชั้นใน ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หูชั้นกลางจะมีกระดูกหู (ossicles) เล็ก ๆ 3 ท่อน ซึ่งถ่ายโอนแรงสั่นที่แก้วหูไปเป็นคลื่นภายในหูชั้นใน ช่องในหูชั้นกลางเรียกว่า โพรงหูส่วนกลาง (tympanic cavity) โดยมีท่อยูสเตเชียน เชื่อมกับคอหอยส่วนจมูก (nasopharynx) ท่อยูสเตเชียนจะช่วยรักษาดุลความดันระหว่างหูชั้นกลางและคอ หน้าที่หลักของหูชั้นกลางก็คือถ่ายโอนพลังงานเสียงจากคลื่นในอากาศไปเป็นคลื่นในน้ำและในเยื่อของหูชั้นในรูปหอยโข่ง (คอเคลีย).

ใหม่!!: คอและหูชั้นกลาง · ดูเพิ่มเติม »

อก

ปรียบเทียบอกของมนุษย์และมด แผนภาพของแมลงดูดเลือด แสดงส่วนหัว อก และท้อง อก (อังกฤษ: thorax) เป็นส่วนหนึ่งของร่างกายของสัตว์ที่อยู่ระหว่างศีรษะและท้อง ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม อกเป็นบริเวณของร่างกายที่เกิดจากกระดูกอก (sternum), กระดูกสันหลังส่วนอก (thoracic vertebra), และกระดูกซี่โครง (rib) นับตั้งแต่คอไปจนถึงกะบังลม แต่ไม่รวมถึงรยางค์บน (upper limb) อวัยวะที่สำคัญที่อยู่ภายในช่องอกเช่น หัวใจ, ปอด รวมถึงหลอดเลือดจำนวนมากมาย อวัยวะภายในช่องอกจะถูกปกป้องด้วยกระดูกซี่โครงและกระดูกอก ไตรโลไบต์แบ่งร่างกายออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ ได้แก่ หัว (cephalon) ซึ่งมีตา, ส่วนปาก และอวัยวะรับความรู้สึก เช่น หนวด (antennae), ส่วนอกซึ่งแบ่งเป็นปล้องๆ (ในบางชนิด การเป็นปล้องช่วยให้สามารถม้วนตัวได้), ส่วนหาง หรือ pygidium สำหรับในแมลงและไตรโลไบต์ (trilobite) ซึ่งเป็นสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว อกเป็นส่วนหนึ่งของบริเวณหลักๆ 3 ส่วน (tagmata) ของร่างกายซึ่งแบ่งออกได้เป็นปล้องย่อยๆ อีกหลายปล้อง บริเวณนี้จะเป็นบริเวณที่มีปีกและขายึดเกาะหรือเป็นบริเวณแผ่นข้อต่อหลายแผ่นในไตรโลไบต์ ในแมลงส่วนใหญ่ อกจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ prothorax, mesothorax, และ metathorax ในแมลงที่มีอยู่ในปัจจุบัน ส่วน prothorax จะไม่มีปีกแต่จะมีขาในตัวเต็มวัย ส่วนปีกจะมีอยู่บ้างในส่วนของ mesothorax และโดยทั่วไปจะอยู่ที่ metathorax แต่ปีกอาจจะลดรูป หรือเปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่เฉพาะ (เช่นในแมลงวัน ปีกในปล้อง metathorax จะลดรูปเป็นอวัยวะช่วยในการทรงตัวเล็กๆ ชื่อว่า halteres) แมลงในอันดับย่อย Apocrita ในอันดับแตนจะมีท้องปล้องแรกรวมกับ metathorax เป็นโครงสร้างที่เรียกว่า propodeum ดังนั้นแมลงในอันดับย่อยนี้ อกจะประกอบไปด้วย 4 ปล้อง เรียกส่วนอกใหม่ว่า mesosoma ส่วนอกของแมลงสามารถแบ่งย่อยออกเป็นส่วนต่างๆ หลากหลาย ที่สำคัญได้แก่ส่วนหลัง (notum), ส่วนข้าง (pleuron มีอยู่ข้างละ 1 อัน), และส่วนท้อง (sternum) ในแมลงบางชนิดส่วนต่างๆ เหล่านี้จะประกอบด้วยแผ่นโครงกระดูกภายนอกอิสระ 1 อันหรือหลายอันโดยมีเยื่อแผ่นระหว่างกันเรียกว่า sclerites.

ใหม่!!: คอและอก · ดูเพิ่มเติม »

อวัยวะ

อวัยวะ เป็นกลุ่มของเนื้อเยื่อที่มีหน้าที่คล้ายกัน พืชและสัตว์ต้องพึ่งอวัยวะหลายชิ้นในระบบอวัยวะ หน้าที่ของระบบอวัยวะมักจะมีหน้าที่ทับซ้อนกัน เช่น ไฮโปทาลามัส (hypothalamus) เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ทั้งในระบบประสาท (nervous system) และระบบต่อมไร้ท่อ (endocrine system) ทำให้การศึกษาทั้งสองระบบมักจะทำร่วมกันเรียกว่า ระบบประสาทและต่อมไร้ท่อ (neuroendocrine system) เช่นเดียวกันกับ ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก (musculoskeletal system) ซึ่งเป็นความเกี่ยวข้องกันระหว่างระบบกล้ามเนื้อ (muscular system) และ ระบบโครงกระดูก (skeletal system).

ใหม่!!: คอและอวัยวะ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับย่อยเต่าคองู

อันดับย่อยเต่าคองู (Side-necked turtle) เป็นอันดับย่อยของสัตว์เลื้อยคลานในอันดับเต่า (Testudines) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pleurodira ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 2 อันดับ สำหรับเต่าที่อยู่ในอันดับย่อยนี้ จะมีลักษณะเด่น คือ สามารถที่จะหดหรือยืดหรือหันคอหรือหัวไปทางด้านข้างหรือในแนวราบของลำตัวได้ ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 3 วงศ์ ได้แก.

ใหม่!!: คอและอันดับย่อยเต่าคองู · ดูเพิ่มเติม »

อาการคันต่างที่

อาการคันต่างที่ (Referred itch, mitempfindungen) เป็นปรากฏการณ์ที่การเร้าร่างกายที่ส่วนหนึ่งกลับรู้สึกคันหรือระคายที่อีกส่วนหนึ่ง อาการนี้ไม่ค่อยมีอันตราย แต่อาจน่ารำคาญ โดยคนที่สุขภาพดีก็มีอาการได้เหมือนกัน สิ่งเร้าที่ทำให้เกิดอาการเริ่มตั้งแต่แรงกดที่ผิวหนัง การขูด การทำให้ระคาย จนไปถึงการดึงขน แต่ความคันต่างที่ไม่ควรเจ็บ มันมักจะเป็นความเหน็บชาที่น่ารำคาญซึ่งอาจทำให้รู้สึกว่าควรเกา ทั้งสิ่งเร้าและความคันต่างที่ จะเกิดในร่างกายซีกเดียวกัน (ipsilateral) และเพราะการเกาหรือการกดส่วนที่คันต่างที่ไม่ได้ทำให้บริเวณที่เร้าตอนแรกคัน ความสัมพันธ์ระหว่างบริเวณที่เร้าและบริเวณที่คันต่างที่จึงเป็นไปในทางเดียว (unidirectional) ความคันจะเกิดเองและอาจหยุดแม้จะเร้าอีกที่หนึ่งต่อไปเรื่อย ๆ อาการคันต่างที่มีสองอย่าง คือ แบบปกติ และแบบได้ทีหลัง (เพราะโรค) อาการธรรมดามักจะพบตั้งแต่วัยเด็กต้น ๆ และจะคงยืนเกือบตลอดหรือไม่ก็ตลอดชีวิต ส่วนอาการที่ได้ทีหลังเป็นผลจากความเสียหายต่อระบบประสาทส่วนกลาง และจะคงยืนเพียงแค่ระยะหนึ่ง อาการจะต่างกันระหว่างบุคคล แต่โดยทั่วไปจะไม่เกิดที่ฝ่าเท้า ฝ่ามือ และใบหน้า ปัจจัยทางพันธุกรรมดูจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง แต่ก็มีงานศึกษาหนึ่งที่ตีพิมพ์ ซึ่งแสดงว่ามีชายคนหนึ่งที่ลูก ๆ ของเขาก็เป็นด้วย กลไกทางสรีรภาพที่เป็นเหตุยังไม่ชัดเจน และก็ยังไม่มีทฤษฎีใดที่ได้การยอมรับอย่างทั่วไป งานวิจัยและข้อมูลเกี่ยวกับอาการจะค่อนข้างจำกัดและเก่า งานวิจัยในเรื่องนี้โดยมากได้ทำในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และงานที่ตีพิมพ์ล่าสุดเกิดเมื่อปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 มีงานศึกษาจำนวนหนึ่งที่ทำในต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 อย่างไรก็ดี จะต้องรวบรวมและไขข้อมูลเพิ่มขึ้นเพื่อให้ได้ความเข้าใจที่สมบูรณ.

ใหม่!!: คอและอาการคันต่างที่ · ดูเพิ่มเติม »

อาการปวดต่างที่

อาการปวดต่างที่ (Referred pain, reflective pain) เป็นความเจ็บปวดต่างที่จากส่วนร่างกายซึ่งได้รับสิ่งเร้าอันก่อความเจ็บปวด ตัวอย่างหนึ่งก็คือ อาการปวดเค้นหัวใจ (angina pectoris) ซึ่งเกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด (หัวใจวาย) แต่มักจะทำให้รู้สึกปวดคอ ไหล่ และหลัง ไม่ใช่ที่อกซึ่งเป็นแหล่งปัญหา แต่องค์การมาตรฐานนานาชาติ (รวมทั้ง International Association for the Study of Pain) ก็ยังไม่ได้นิยามคำนี้ ดังนั้น ผู้เขียนต่าง ๆ อาจใช้คำโดยความหมายที่ไม่เหมือนกัน มีการกล่าวถึงอาการเช่นนี้ตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1880 แล้ว แม้จะมีวรรณกรรมในเรื่องนี้เขียนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่กลไกการทำงานของมันก็ยังไม่ชัดเจน ถึงจะมีสมมติฐานต่าง.

ใหม่!!: คอและอาการปวดต่างที่ · ดูเพิ่มเติม »

อินทรีทอง

อินทรีทอง เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี..

ใหม่!!: คอและอินทรีทอง · ดูเพิ่มเติม »

อินทรีแดง

อินทรีแดง เป็นบทประพันธ์ซูเปอร์ฮีโร่ฉบับไทยของ เศก ดุสิต โดยมีตัวเอกคือ อินทรีแดง หรือ โรม ฤทธิไกร บทประพันธ์เรื่องนี้ เศก ดุสิตได้เริ่มเขียนขึ้นในปี พ.ศ. 2498 โดยได้แนวความคิดจากภาพยนตร์ของ ร็อก ฮัตสัน ชื่อเรื่อง Captain Lightfoot ในภาพยนตร์เล่นเป็นตีนแมว ที่มีอุดมการณ์ ช่วยเหลือผู้อื่น ใส่หน้ากากสีแดง จึงสร้างเป็นเนื้อเรื่องในทำนองเดียวกัน โดยใช้เป็นนกอินทรีเพราะเป็นนกที่มีอำนาจ บินได้สูงสุด ใครก็บินไม่สูงเท่านกอินทรี มีความยิ่งใหญ่ โดยนำเรื่องราวในสมัยนั้นมาผูกเข้ากับสภาพปัญหาทางสังคม ทั้งการตัดไม้ทำลายป่า การทุจริตคอร์รัปชั่น ซึ่งกฎหมาย เอื้อมไม่ถึง บทประพันธ์ชุด อินทรีแดง ของ เศก ดุสิต เขียนขึ้นในระหว่างปี..

ใหม่!!: คอและอินทรีแดง · ดูเพิ่มเติม »

ผิวหนังอักเสบ

(Dermatitis หรือ Eczema) คือ โรคที่เกิดจากการอักเสบของผิวหนัง ซึ่งแสดงออกมาได้หลายรูปแบบ แล้วแต่ระยะของโร.

ใหม่!!: คอและผิวหนังอักเสบ · ดูเพิ่มเติม »

ทรวงอก

กายวิภาคศาสตร์ของทรวงอก ทรวงอก หรือ หน้าอก (chest) เป็นส่วนหนึ่งของกายวิภาคศาสตร์มนุษย์และในสัตว์หลายชนิด ซึ่งบางครั้งเรียกว่า อก (thorax).

ใหม่!!: คอและทรวงอก · ดูเพิ่มเติม »

ข่ายประสาทแขน

ประสาทเบรเคียล หรือ ข่ายประสาทแขน (Brachial plexus) เป็นการจัดเรียงตัวของเส้นประสาทที่ออกมาจากกระดูกสันหลังท่อนที่ C5 ถึง T1 ผ่านมายังคอ รักแร้ และไปยังแขน.

ใหม่!!: คอและข่ายประสาทแขน · ดูเพิ่มเติม »

คราฟมากา

ราฟมากา (Krav Maga, קְרַב מַגָּע แปลว่า "การต่อสู้แบบปะทะ") เป็นศิลปะการต่อสู้จากอิสราเอล คิดค้นโดยอีมี ลิกเตนเฟลด์ (Imi Lichtenfeld) ชาวฮังการี-อิสราเอล เพื่อป้องกันตัวจากกลุ่มฟาสซิสต์ในเชโกสโลวาเกียช่วงทศวรรษ 1930 และต่อมานำมาใช้ฝึกในกองทัพอิสราเอล คราฟมากาเป็นการผสมผสานศิลปะการต่อสู้หลายแขนง เช่น มวย, มวยปล้ำ, มวยไทย, page 68, ยิวยิตสู, ไอกิโดและยูโด รวมถึงการฝึกการต่อสู้ในสถานการณ์จริง โดยจะเน้นการป้องกันตัวที่มีประสิทธิภาพ และการโจมตีกลับที่รุนแรง.

ใหม่!!: คอและคราฟมากา · ดูเพิ่มเติม »

คอหอย

อหอย (pharynx, pharynges) เป็นส่วนหนึ่งของคอ (neck) และช่องคอ (throat) ตั้งอยู่ด้านหลังปากและโพรงจมูก และอยู่บนหลอดอาหาร กล่องเสียงและท่อลม (trachea).

ใหม่!!: คอและคอหอย · ดูเพิ่มเติม »

ตัวรับความรู้สึกเจ็บปวด

นซิเซ็ปเตอร์ (nociceptor มาจาก nocere แปลว่า "ทำให้เจ็บ") เป็นปลายประสาทอิสระของเซลล์ประสาทรับความรู้สึกที่ตอบสนองโดยเฉพาะต่อตัวกระตุ้นที่อาจจะทำความเสียหายต่อร่างกาย/เนื้อเยื่อ โดยส่งสัญญาณประสาทไปยังระบบประสาทกลางผ่านไขสันหลังหรือก้านสมอง กระบวนการเช่นนี้เรียกว่า โนซิเซ็ปชั่น และโดยปกติก็จะก่อให้เกิดความเจ็บปวด โนซิเซ็ปเตอร์มีอยู่ทั่วร่างกายอย่างไม่เท่ากันโดยเฉพาะส่วนผิว ๆ ที่เสี่ยงเสียหายมากที่สุด และไวต่อตัวกระตุ้นระดับต่าง ๆ กัน บางส่วนไวต่อตัวกระตุ้นที่ทำอันตรายให้แล้ว บางส่วนตอบสนองต่อสิ่งเร้าก่อนที่ความเสียหายจะเกิด ตัวกระตุ้นอันตรายดังที่ว่าอาจเป็นแรงกระทบ/แรงกลที่ผิวหนัง อุณหภูมิที่ร้อนเย็นเกิน สารที่ระคายเคือง สารที่เซลล์ในร่างกายหลั่งตอบสนองต่อการอักเสบ เป็นต้น ความรู้สึกเจ็บปวดไม่ได้ขึ้นอยู่กับสัญญาณที่โนซิเซ็ปเตอร์ส่งเท่านั้น แต่เป็นผลของการประมวลผลความรู้สึกต่าง ๆ อย่างซับซ้อนในระบบประสาทกลาง ที่ได้รับอิทธิพลจากอารมณ์และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสถานการณ์ที่เกิดสิ่งเร้าและประสบการณ์ชีวิต แม้แต่สิ่งเร้าเดียวกันก็สามารถทำให้เกิดความรู้สึกต่าง ๆ กันในบุคคลเดียวกัน ทหารที่บาดเจ็บในสนามรบอาจไม่รู้สึกเจ็บเลยจนกระทั่งไปถึงสถานพยาบาลแล้ว นักกีฬาที่บาดเจ็บอาจไม่รู้ตัวจนกระทั่งการแข่งขันจบแล้ว ดังนั้น ความรู้สึกเจ็บปวดจึงเป็นประสบการณ์ที่เป็นอัตวิสั.

ใหม่!!: คอและตัวรับความรู้สึกเจ็บปวด · ดูเพิ่มเติม »

ต่อมไทรอยด์

ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland) เป็นต่อมไร้ท่อที่อยู่ด้านหน้าของลำคอ โดยอยู่ด้านข้างและใต้ต่อมกระดูกอ่อนไทรอยด์ (thyroid cartilage) และอยู่ลึกลงไปจากกล้ามเนื้อสเตอร์โนไฮออยด์ (sternohyoid), สเตอร์โนไทรอยด์ (sternothyroid) และโอโมไฮออยด์ (omoyoid) ต่อมนี้มี 2 พู แผ่ออกทางด้านข้างและคลุมพื้นที่บริเวณด้านหน้าและด้านข้างของหลอดลม (trachea) รวมทั้งส่วนของกระดูกอ่อนคริคอยด์ (cricoid cartilage) และส่วนล่างของกระดูกอ่อนไทรอยด์ (thyroid cartilage) ทั้งสองพูนี้จะเชื่อมกันที่คอคอดไทรอยด์ (isthmus) ซึ่งอยู่ที่บริเวณด้านหน้าต่อกระดูกอ่อนของหลอดลม (trachea cartilage) ชิ้นที่สองหรือสาม.

ใหม่!!: คอและต่อมไทรอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

ซากดึกดำบรรพ์ช่วงเปลี่ยนสภาพ

ซากดึกดำบรรพ์ช่วงเปลี่ยนสภาพ (transitional fossil) เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่เหลืออยู่ของสิ่งมีชีวิตใดก็ได้ ที่มีลักษณะสืบสายพันธุ์ซึ่งทั้งกลุ่มสิ่งมีชีวิตบรรพบุรุษของมันและกลุ่มลูกหลานของมันมีร่วมกัน ซึ่งเป็นหลักฐานที่สำคัญเป็นเศษ ในกรณีที่กลุ่มลูกหลานมีกายวิภาคและการดำรงชีวิตที่ต่างกันอย่างมากจากกลุ่มบรรพบุรุษ ซากดึกดำบรรพ์เช่นนี้เป็นเครื่องเตือนใจว่า การแบ่งหน่วยอนุกรมวิธานเป็นอะไรที่มนุษย์สร้างขึ้นในภายหลัง แล้วกำหนดใส่สิ่งมีชีวิตที่มีมาก่อนและมีความแตกต่างแบบต่อเนื่อง ปกติจะไม่มีทางรู้ได้ว่า ซากดึกดำบรรพ์ช่วงเปลี่ยนสภาพหนึ่ง ๆ อยู่ใกล้จุดที่สิ่งมีชีวิตกลุ่มต่าง ๆ วิวัฒนาการเบนออกจากกันแค่ไหน เพราะบันทึกซากดึกดำบรรพ์ไม่สมบูรณ์ ดังนั้น จึงไม่สามารถสมมุติได้ว่า สิ่งมีชีวิตช่วงเปลี่ยนสภาพหนึ่งเป็นบรรพบุรุษโดยตรงของกลุ่มสิ่งมีชีวิตต่อ ๆ มา แม้นักวิทยาศาสตร์อาจจะใช้มันเป็นแบบของบรรพบุรุษ ในปี..

ใหม่!!: คอและซากดึกดำบรรพ์ช่วงเปลี่ยนสภาพ · ดูเพิ่มเติม »

ประสาทสัมผัส

ประสาทสัมผัส (Sense)"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑" ให้ความหมายของ sense ว่า ความรู้สึก, การรับรู้, การกำหนดรู้, ประสาทสัมผัส เป็นสมรรถภาพในสรีระของสิ่งมีชีวิตที่ให้ข้อมูลเพื่อให้เกิดการรับรู้ (perception) มีการศึกษาประเด็นเกี่ยวกับการทำงาน การจำแนกประเภท และทฤษฎีของประสาทสัมผัส ในวิชาหลายสาขา โดยเฉพาะในวิทยาศาสตร์ประสาท จิตวิทยาปริชาน (หรือประชานศาสตร์) และปรัชญาแห่งการรับรู้ (philosophy of perception) ระบบประสาทของสัตว์นั้นมีระบบรับความรู้สึกหรืออวัยวะรับความรู้สึก สำหรับความรู้สึกแต่ละอย่าง มนุษย์เองก็มีประสาทสัมผัสหลายอย่าง การเห็น การได้ยิน การลิ้มรส การได้กลิ่น การถูกต้องสัมผัส เป็นประสาทสัมผัสห้าทางที่รู้จักกันมาตั้งแต่โบราณ แต่ว่า ความสามารถในการตรวจจับตัวกระตุ้นอื่น ๆ นอกเหนือจากนั้นก็ยังมีอยู่ รวมทั้ง อุณหภูมิ ความรู้สึกเกี่ยวกับเคลื่อนไหว (proprioception) ความเจ็บปวด (nociception) ความรู้สึกเกี่ยวกับการทรงตัว และความรู้สึกเกี่ยวกับตัวกระตุ้นภายในต่าง ๆ (เช่นมีเซลล์รับความรู้สึกเชิงเคมี คือ chemoreceptor ที่ตรวจจับระดับความเข้มข้นของเกลือและคาร์บอนไดออกไซด์ ที่อยู่ในเลือด) และความสามารถต่าง ๆ เหล่านี้สามารถเรียกว่าเป็นประสาทสัมผัสโดยต่างหากได้เพียงไม่กี่อย่าง เพราะว่า ประเด็นว่า อะไรเรียกว่า ประสาทสัมผัส (sense) ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ ทำให้ยากที่จะนิยามความหมายของคำว่า ประสาทสัมผัส อย่างแม่นยำ สัตว์ต่าง ๆ มีตัวรับความรู้สึกเพื่อที่จะสัมผัสโลกรอบ ๆ ตัว มีระดับความสามารถที่ต่าง ๆ กันไปแล้วแต่สปีชีส์ เมื่อเทียบกันแล้ว มนุษย์มีประสาทสัมผัสทางจมูกที่ไม่ดี และสัตว์เหล่าอื่นก็อาจจะไม่มีประสาทสัมผัส 5 ทางที่กล่าวถึงไปแล้วอย่างใดอย่างหนึ่ง สัตว์บางอย่างอาจจะรับข้อมูลเกี่ยวกับตัวกระตุ้นและแปลผลข้อมูลเหล่านั้นต่างไปจากมนุษย์ และสัตว์บางชนิดก็สามารถสัมผัสโลกโดยวิธีที่มนุษย์ไม่สามารถ เช่นมีสัตว์บางชนิดสามารถสัมผัสสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก สามารถสัมผัสแรงดันน้ำและกระแสน้ำ.

ใหม่!!: คอและประสาทสัมผัส · ดูเพิ่มเติม »

ปวดศีรษะ

อาการปวดศีรษะคืออาการปวดซึ่งเกิดกับบริเวณใดๆ ของศีรษะและคอ ซึ่งอาจเป็นอาการของหลายๆ ภาวะที่เกิดกับศีรษะและคอ ทั้งนี้เนื่องจากเนื้อเยื่อสมองนั้นไม่สามารถรับรู้ความเจ็บปวดได้เนื่องจากไม่มีตัวรับรู้ความรู้สึกเจ็บปวด ดังนั้นอาการปวดศีรษะส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติของอวัยวะอื่นๆ รอบๆ สมองที่สามารถรับรู้ความรู้สึกเจ็บปวดได้ โดยอวัยวะเหล่านี้อาจแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่ม คือ ส่วนที่อยู่ในกะโหลกศีรษะ (หลอดเลือด เยื่อหุ้มสมอง และเส้นประสาทสมอง) และนอกกะโหลกศีรษะ (เยื่อหุ้มกระดูกของกะโหลกศีรษะ กล้ามเนื้อ เส้นประสาท หลอดเลือด เนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ตา หู โพรงอากาศ และเยื่อบุ) ระบบการจำแนกประเภทอาการปวดศีรษะมีใช้อยู่หลายระบบ ระบบหนึ่งซึ่งเป็นที่รู้จักแพร่หลายคือระบบของ International Headache Society (สมาคมอาการปวดศีรษะนานาชาติ) วิธีการรักษาอาการปวดศีรษะขึ้นอยู่กับโรคที่เป็นสาเหตุ แต่ส่วนใหญ่มักมีการใช้ยาแก้ปวดร่วมในการรักษาด้วยเสมอ.

ใหม่!!: คอและปวดศีรษะ · ดูเพิ่มเติม »

ปิแอร์ ฟิตช์

ปิแอร์ ฟิตช์ (Pierre Fitch) เกิดเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1981 เป็นนักแสดงหนังโป๊เกย์ชาวแคนาดา เดิมอยู่สังกัดฟอลคอนสตูดิโอส์ เป็น 1 ใน 16 ขงองนักแสดงจากฟอลคอนที่ถ่ายปฏิทิน Men of Falcon ในปี 2006.

ใหม่!!: คอและปิแอร์ ฟิตช์ · ดูเพิ่มเติม »

นิวโรบลาสโตมา

นิวโรบลาสโตมาเป็นมะเร็งอย่างหนึ่งที่เจริญจากเซลล์ของนิวรัลเครสท์ในระบบประสาทซิมพาเทติก ถือเป็นเนื้องอกของระบบประสาทและต่อมไร้ท่อมักพบเกิดขึ้นในต่อมหมวกไต แต่ก็อาจเกิดขึ้นได้ในเนื้อเยื่อประสาทในคอ อก ท้อง และอุ้งเชิงกราน ถือเป็นมะเร็งชนิดก้อนนอกกะโหลกศีรษะที่พบบ่อยที่สุดในวัยเด็ก และเป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในวัยทารก หมวดหมู่:เนื้องอกของต่อมไร้ท่อ หมวดหมู่:เนื้องอกของสมอง หมวดหมู่:การเจริญในผิวหนังและชั้นใต้ผิวหนัง หมวดหมู่:มะเร็งที่พบน้อย หมวดหมู่:เนื้องอกชนิดเซลล์กลมสีน้ำเงินขนาดเล็ก.

ใหม่!!: คอและนิวโรบลาสโตมา · ดูเพิ่มเติม »

โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา

รงพยาบาลกรุงเทพพัทยา เป็นโรงพยาบาลเอกชน อยู่ทางภาคตะวันออก (ประเทศไทย) ตั้งอยู่บนถนนสุขุมวิท กม.143 ตำบลนาเกลือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี (ในเขตเมืองพัทยา).

ใหม่!!: คอและโรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา · ดูเพิ่มเติม »

โสตศอนาสิกวิทยา

ตศอนาสิกวิทยา เป็นแขนงหนึ่งของวิชาแพทยศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยและรักษาความผิดปกติของหู, จมูก, กล่องเสียงหรือช่องคอ, ศีรษะและคอ ในบางครั้งอาจเรียกย่อได้ว่า อีเอ็นที (ENT; ear, nose and throat: หู จมูก และคอ) จากรากศัพท์ภาษาบาลีสันสกฤตแปลได้ว่า การศึกษาหู คอ และจมูก รากศัพท์ของ "Otolaryngology" มาจากภาษากรีก ωτολαρυγγολογία (oto.

ใหม่!!: คอและโสตศอนาสิกวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

โขน

น เป็นศิลปะการแสดงชั้นสูงของไทยที่มีความสง่างาม อลังการและอ่อนช้อย การแสดงประเภทหนึ่งที่ใช้ท่ารำตามแบบละครใน แตกต่างเพียงท่ารำที่มีการเพิ่มตัวแสดง เปลี่ยนทำนองเพลงที่ใช้ในการดำเนินเรื่องไม่ให้เหมือนกับละคร แสดงเป็นเรื่องราวโดยลำดับก่อนหลังเหมือนละครทุกประการ ซึ่งไม่เรียกการแสดงเหล่านี้ว่าละครแต่เรียกว่าโขนแทน มีประวัติยาวนานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา จากหลักฐานจดหมายเหตุลาลูแบร์ เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้มีการกล่าวถึงการแสดงโขนว่า เป็นการเต้นออกท่าทาง ประกอบกับเสียงซอและเครื่องดนตรีประเภทต่าง ๆ ผู้แสดงจะสวมหน้ากากปิดบังใบหน้าตนเองและถืออาวุธว่าด้วยการแสดงและการละเล่นอย่างอื่นของชาวสยาม, มหรสพสามอย่างของชาวสยาม,จดหมายเหตุ ลา ลู แบร์ ราชอาณาจักรสยาม, เขียนโดย: มองซิเอร์ เดอ ลาลูแบร์, แปลโดย: สันต์ ท. โกมลบุตร, สำนักพิมพ์ศรีปัญญา, 2548, หน้า 157 โขนเป็นจุดศูนย์รวมของศาสตร์และศิลป์หลากหลายแขนงเช่น วรรณกรรม วรรณศิลป์ นาฏศิลป์ คีตศิลป์ หัตถศิลป์คำนำการแสดงโขนชุดนางลอย, สูจิบัตรการแสดงโขนชุด นางลอย, มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ, ระหว่างวันที่ 19 -20 และ 22 -24 พฤศจิกายน 2553, หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย โดยนำเอาวิธีเล่นและการแต่งตัวบางชนิดมาจากการเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ มีท่าทางการต่อสู้ที่โลดโผน ท่ารำ ท่าเต้นเช่น ท่าปฐมในการไหว้ครูของกระบี่กระบอง รวมทั้งการนำศิลปะการพากย์ การเจรจา หน้าพาทย์และเพลงดนตรีเข้ามาประกอบการแสดง ในการแสดงโขน ลักษณะสำคัญอยู่ที่ผู้แสดงต้องสวมหัวโขน ซึ่งเป็นเครื่องสวมครอบหุ้มตั้งแต่ศีรษะถึงคอ เจาะรูสองรูบริเวณดวงตาให้สามารถมองเห็น แสดงอารมณ์ผ่านทางการร่ายรำ สร้างตามลักษณะของตัวละครนั้น ๆ เช่น ตัวยักษ์ ตัวลิง ตัวเทวดา ฯลฯ ตกแต่งด้วยสี ลงรักปิดทอง ประดับกระจก บ้างก็เรียกว่าหน้าโขน ในสมัยโบราณ ตัวพระและตัวเทวดาต่างสวมหัวโขนในการแสดง ต่อมาภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงไม่ต้องสวมหัวโขน คงใช้ใบหน้าจริงเช่นเดียวกับละคร แต่งกายแบบเดียวกับละครใน เครื่องแต่งกายของตัวพระและตัวยักษ์ในสมัยโบราณมักมีสองสีคือ สีหนึ่งเป็นสีเสื้อ อีกสีหนึ่งเป็นสีแขนโดยสมมุติแทนเกราะ เป็นลายหนุนประเภทลายพุ่ม หรือลายกระจังตาอ้อย ส่วนเครื่องแต่งกายตัวลิงจะเป็นลายวงทักษิณาวรรต โดยสมมุติเป็นขนของลิงหรือหมี ดำเนินเรื่องด้วยการกล่าวคำนำเล่าเรื่องเป็นทำนองเรียกว่าพากย์อย่างหนึ่ง กับเจรจาเป็นทำนองอย่างหนึ่ง ใช้กาพย์ยานีและกาพย์ฉบัง โดยมีผู้ให้เสียงแทนเรียกว่าผู้พากย์และเจรจา มีต้นเสียงและลูกคู่ร้องบทให้ ใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้าประกอบการแสดง นิยมแสดงเรื่องรามเกียรติ์และอุณรุท ปัจจุบันสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์มีหน้าที่หลักในการสืบทอดการฝึกหัดโขน และกรมศิลปากร มีหน้าที่ในการจัดการแสดงคำนำการแสดงโขนชุดพรหมมาศ, สูจิบัตรการแสดงโขนชุด พรหมมาศ, มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ, ระหว่างวันที่ 25 และ 27 -28 ธันวาคม 2550, หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไท.

ใหม่!!: คอและโขน · ดูเพิ่มเติม »

เมดิแอสตินัม

มดิแอสตินัม (Mediastinum) หรือ ประจันอก ข้อมูลปรับปรุงวันที่ 6 สิงหาคม..

ใหม่!!: คอและเมดิแอสตินัม · ดูเพิ่มเติม »

เต่าคองู

ต่าคองู (Snake-necked turtle, Eastern snake-necked turtle, Common long-necked turtle) สัตว์เลื้อยคลานจำพวกเต่าชนิดหนึ่ง ในวงศ์เต่าคองู (Chelidae) มีลักษณะเด่น คือ มีส่วนคอที่ยาวมากเหมือนงู หัวมีขนาดเล็ก ตากลมโต ขนาดโตเต็มที่กระดองยาว 30 เซนติเมตร อาศัยในน้ำตื้น ๆ หรือชายน้ำ จะไม่อยู่ห่างน้ำไปไกลเพราะคอที่ยาวจะทำให้การเคลื่อนไหวบนบกทำได้ไม่คล่องตัว ชอบความสะอาด มักจะหมอบราบกับพื้นท้องน้ำ และฝังตัวอยู่ในโคลนที่อ่อนนุ่ม กินอาหารจำพวกปลาหรือสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ ด้วยการดูดเข้าไปในปาก พบกระจายพันธุ์บนเกาะปาปัวนิวกินีแถบทางใต้ของเกาะบริเวณช่องแคบทอเรส และตามหนองบึงทั่วไปของออสเตรเลีย เต่าคองูมีอายุขัยโดยเฉลี่ย 17-50 ปี สืบพันธุ์โดยวางไข่ในเดือนพฤษภาคมและตอนปลายของฤดูฝน ฟักออกเป็นตัวในเดือนพฤศจิกายนหรือธันวาคม ลูกเต่าที่ฟักออกใหม่ มีความยาว 3.7 เซนติเมตร บนกระดองหลังมีจุดด่างสีน้ำตาลดำ เต่าคองูในสวนสัตว์พาต้า เต่าคองู เป็นสัตว์เลื้อยคลานอีกชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยง และจัดแสดงตามสวนสัตว.

ใหม่!!: คอและเต่าคองู · ดูเพิ่มเติม »

เน็ด เคลลี

น็ด เคลลี (ภาพถ่ายครั้งสุดท้ายก่อนวันประหารชีวิต 1 วัน) เอ็ดเวิร์ด "เน็ด" เคลลี (Edward "Ned" Kelly) หรือที่รู้จักกันในชื่อ เน็ด เคลลี (Ned Kelly, 3 มิถุนายน ค.ศ. 1854 – 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1880) เป็นโจรชื่อดังชาวออสเตรเลีย และสำหรับคนบางกลุ่มได้ถือว่าเป็นวีรบุรุษผู้ลุกขึ้นต่อต้านอำนาจรัฐจากรัฐบาลอาณานิคมออสเตรเลียภายใต้การปกครองของจักรวรรดิอังกฤษ เน็ด เคลลีเกิดที่รัฐวิกตอเรีย ประเทศออสเตรเลีย เขาเป็นบุตรของนักโทษชาวไอริชและเริ่มมีเรื่องกระทบกระทั่งกับตำรวจของรัฐมาตั้งแต่วัยเด็ก หลังเกิดคดีกับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่บ้านของเน็ดในปี ค.ศ. 1878 คณะเจ้าหน้าที่ตำรวจก็ได้เริ่มสืบหาตัวเน็ดซึ่งหลบหนีไปซ่อนตัวป่า และต่อมารัฐบาลอาณานิคมก็ได้ประกาศให้เน็ดและพรรคพวกของเขาอีก 3 คน เป็นกลุ่มบุคคลนอกกฎหมาย 2 ปีถัดมาคณะโจรของเน็ดก็ได้เผชิญหน้าอย่างรุนแรงกับตำรวจที่เมืองเกลนโรวัน โดยเน็ดและคณะได้สวมเกราะเหล็กและหมวกเหล็กที่พวกเขาทำขึ้นเองเป็นเครื่องป้องกันตัว ผลปรากฏว่ามีเน็ดเพียงคนเดียวที่รอดชีวิตและถูกจับกุมตัวไว้ เขาถูกตัดสินให้ประหารชีวิตด้วยการแขวนคอที่เรือนจำเก่าเมืองเมลเบิร์น (Old Melbourne Gaol) เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1880 ความกล้าและชื่อเสียงของเขาได้กลายเป็นภาพลักษณ์สำคัญที่ปรากฏอยู่ในวงการประวัติศาสตร์ออสเตรเลีย นิทานพื้นบ้าน วรรณกรรม ศิลปะ และภาพยนตร์ นักวิทยาศาสตร์ชาวออสเตรเลียได้ประกาศว่าค้นพบที่ฝังศพของเน็ด เคลลี เมื่อวันที่ 9 มีนาคม ค.ศ. 2008.

ใหม่!!: คอและเน็ด เคลลี · ดูเพิ่มเติม »

ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

ใหม่!!: คอและICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน · ดูเพิ่มเติม »

ICD-10 บทที่ 17: รูปผิดปกติแต่กำเนิด รูปพิการ และความผิดปกติของโครโมโซม

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

ใหม่!!: คอและICD-10 บทที่ 17: รูปผิดปกติแต่กำเนิด รูปพิการ และความผิดปกติของโครโมโซม · ดูเพิ่มเติม »

ICD-10 บทที่ 18: อาการ อาการแสดง และความผิดปกติที่พบจากการตรวจทางคลินิกและทางห้องปฏิบัติการ

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

ใหม่!!: คอและICD-10 บทที่ 18: อาการ อาการแสดง และความผิดปกติที่พบจากการตรวจทางคลินิกและทางห้องปฏิบัติการ · ดูเพิ่มเติม »

ICD-10 บทที่ 19: การบาดเจ็บ การเป็นพิษ และผลสืบเนื่องบางอย่างจากสาเหตุภายนอก

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

ใหม่!!: คอและICD-10 บทที่ 19: การบาดเจ็บ การเป็นพิษ และผลสืบเนื่องบางอย่างจากสาเหตุภายนอก · ดูเพิ่มเติม »

ICD-10 บทที่ 20: สาเหตุภายนอกของการเจ็บป่วยและการตาย

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

ใหม่!!: คอและICD-10 บทที่ 20: สาเหตุภายนอกของการเจ็บป่วยและการตาย · ดูเพิ่มเติม »

ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอก

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

ใหม่!!: คอและICD-10 บทที่ 2: เนื้องอก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Neckลำคอพระศอ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »