โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ขมิ้นอ้อย

ดัชนี ขมิ้นอ้อย

มิ้นอ้อยหรือขมิ้นขึ้น เป็นพืชในวงศ์ขิง เป็นไม้ล้มลุกโตเร็ว ลำต้นตั้งตรง แตกหน่อมาก ผิวเหง้าด้านนอกสีเทา เนื้อสีขาวแกมเหลืองไปจนถึงเหลืองสด มีรากมาก รากกลมมีเนื้อนุ่มภายใน ก้านใบหุ้มกันแน่นเป็นลำต้นเทียม ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้ม มีแถบสีน้ำตาลแดงตรงกลางใบ ใบแก่แถบสีจางลงช่อดอกเจริญจากเหง้าโดยตรงมีริ้วประดับเรียงเวียน โคนช่อเป็นสีเขียว กลางช่อเป็นสีม่วง ดอกสีขาวแกมเหลือง ผลเป็นแคบซูลรูปไข่ ผิวเรียบ แตกด้านข้าง เมล็ดรูปรี สีเทา ขทิ้นอ้อยมีลักษณะคล้ายว่านชักมดลูกต่างกันที่กลีบดอก ขมิ้นอ้อยเป็นสีขาวแกมเหลือง แถบสีน้ำตาลแดงบนใบมีสองด้าน ว่านชักมดลูกเป็นสีชมพู แถบสีน้ำตาลแดงบนใบมีด้านเดียว สีเหง้าของขมิ้นอ้อยสีอ่อนกว่า ช่อดอกขนาดเล็กกว่า ขมิ้นอ้อยต่างจากขมิ้นชันที่ใบมีขนนิ่มด้านล่าง เหง้าขนาดใหญ่กว่า เนื้อในสีเหลืองอ่อนกว่า เหง้ามักโผล่พ้นดิน กลิ่นฉุนน้อยกว่า กระจายพันธุ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีนและไต้หวัน เหง้าใช้ทำแป้งโชติซึ่งเป็นแป้งย่อยง่ายเหมาะสำหรับทารก ในอินโดนีเซียนำยอดอ่อนมารับประทานเป็นผัก อินเดียใช้เหง้าทำเครื่องหอม เป็นยาสมุนไพร ใช้เป็นยาขับลมและขับน้ำคาวปลาหลังคลอดบุตร ใช้ล้างรักษาแผล เหง้าใช้เคี้ยวดับกลิ่นปาก น้ำต้มเหง้าแก้ปวดท้อง ในทางไสยศาสตร์เชื่อว่าเป็นว่านที่ทำให้คงกระพันชาตรี.

13 ความสัมพันธ์: พืชพืชดอกพืชใบเลี้ยงเดี่ยววงศ์ขิงว่านชักมดลูกสกุลขมิ้นอันดับขิงขมิ้นประเทศอินโดนีเซียประเทศอินเดียประเทศจีนประเทศไต้หวันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

พืช

ืช เป็นสิ่งมีชีวิตกลุ่มใหญ่ประเภทหนึ่ง (มีประมาณ 350,000 สปีชีส์ ถูกระบุแล้ว 287,655 สปีชีส์ เป็นพืชดอก 258,650 ชนิด และพืชไม่มีท่อลำเลียง 18,000 ชนิด) อยู่ในอาณาจักรพืช (Kingdom Plantea) ประกอบด้วย ไม้ยืนต้น ไม้ดอก พืชล้มลุก และเฟิร์น พบได้ทั้งบนบกและในน้ำ เป็นสิ่งมีชีวิตที่เนื้อเยื่อส่วนใหญ่ประกอบด้วยหลายเซลล์ นิวเคลียสมีผนังเซลล์ ห่อหุ้ม เคลื่อนที่ไม่ได้ ได้แค่เอียงตัว จะสามารถเห็นได้ชัดเจน.เมื่อมีแดดส่อง พืชจะเอียงตัวไปที่แดด ไม่มีอวัยวะเกี่ยวกับความรู้สึก มีคลอโรฟิลล์ซึ่งเป็นสารสีเขียว ช่วยในการสังเคราะห์และเจริญเติบโต.

ใหม่!!: ขมิ้นอ้อยและพืช · ดูเพิ่มเติม »

พืชดอก

ืชดอก ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Magnoliophyta เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Angiospermae หรือ Angiosperms เป็นกลุ่มของพืชกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่ง มีดอกไม้ และเมล็ดเป็นส่วนประกอบ ซึ่งเมล็ดจะกลายเป็นผลไม้ พืชดอกแบ่งได้ออกเป็นกลุ่มใหญ่ 8 กลุ่มดังนี้ เรียงตามจำนวนสปีชี.

ใหม่!!: ขมิ้นอ้อยและพืชดอก · ดูเพิ่มเติม »

พืชใบเลี้ยงเดี่ยว

ืชใบเลี้ยงเดี่ยว (Monocotyledon หรือ Liliopsida) เป็นชั้นหนึ่งในส่วนพืชดอกที่มีความสำคัญอย่างยิ่งกลุ่มหนึ่ง ครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของพื้นโลก และเป็นพื้ชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจสูงอีกด้วย พืชใบเลี้ยงเดี่ยววงศ์ใหญ่ที่สุด คือ กล้วยไม้ (Orchidaceae) โดยมีดอกที่ซับซ้อน และสวยงาม เพื่อดึงดูดแมลงชนิดต่างให้ช่วยในการผสมพันธุ์ ส่วนพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่มีปริมาณมากเป็นอันดับสอง และอาจจะเป็นวงศ์ที่โดดเด่นกว่า ก็คือ หญ้า (Poaceae หรือ Gramineae) โดยมีวิวัฒนาการอีกทางหนึ่ง มีลักษณะพิเศษคือ การแพร่ขยายพันธุ์โดยอาศัยลม พืชในวงศ์หญ้านั้นมีดอกขนาดเล็ก แต่เมื่อรวมเป็นกลุ่มอาจปรากฏเป็นช่อดอกที่มองเห็นชัดเจนและสวยงาม.

ใหม่!!: ขมิ้นอ้อยและพืชใบเลี้ยงเดี่ยว · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ขิง

ืชวงศ์ขิง (Zingiberaceae) เป็นพืชที่มีเหง้า มีด้วยกัน 47 สกุล ประมาณ 1,000 ชนิดพืชตระกูลขิงหลายชนิดมีความสำคัญในฐานะเป็นไม้ดอกไม้ประดับ บ้างก็ใช้เป็นเครื่องเทศ หรือยาสมุนไพร พืชสำคัญได้แก่ ขิง ข่า ดาหลา กร.

ใหม่!!: ขมิ้นอ้อยและวงศ์ขิง · ดูเพิ่มเติม »

ว่านชักมดลูก

ว่านชักมดลูก เป็นพืชในวงศ์ขิง ลำต้นตั้งตรง แตกหน่อมาก เหง้ามีใบเกล็ดที่แก่และแห้งหุ้มเป็นวง เหง้าสีออกเหลืองหรือน้ำตาลอมส้มหรือแดง เหง้าแก่เปลี่ยนเป็นสีออกเทา เนื้อเหง้าสีส้มเข้มหรือแดงเข้ม ส่วนที่อ่อนสีจะจางลง กาบใบเรียงซ้อนเป็นลำต้นเทียม ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้ม กลางใบเป็นแถบสีน้ำตาลอมแดง ผิวใบด้านล่างสีเขียวน้ำทะเลหรือเขียวอ่อน ดอกช่อแบบเชิงลด ทรงกระบอก ริ้วประดับเรียงเวียน แต่ละริ้วมีกลีบย่อยอยู่ภายในซอก ริ้วประดับสีม่วง ดอกย่อยสีออกเหลือง ลักษณะลำต้นโดยทั่วไปคล้ายขมิ้นอ้อย ถิ่นกำเนิดอยู่ในเกาะบาหลี เกาะชวา กระจายพันธุ์มาจนถึงมาเลเซีย ไทย และอินเดีย เหง้าสีเหลืองเข้ม กลิ่นฉุนและขม สกัดแป้งออกมาโดยใช้การขูดกับตะแกรงและล้างแป้งจนหมดกลิ่น แป้งที่ได้นิยมใช้ทำพุดดิ้งและโจ๊ก ในชวา นำเหง้าแห้งที่หั่นเป็นชิ้นบางๆไปต้ม เติมน้ำตาล ทำเป็นเครื่องดื่มรสหวาน ส่วนอ่อนของลำต้น เหง้า และช่อดอกอ่อนนำมารับประทานเป็นผักได้ เหง้าให้สีย้อมสีเหลือง และเป็นยาสมุนไพร น้ำสกัดจากเหง้าใช้รักษาโรคตับ แก้ไข้ อาหารไม่ย่อย ปวดตามข้อ ใช้เป็นยาบำรุงหลังคลอดบุตร ในเหง้าแห้งมีคูเคอร์มิน 1-4% เมื่ออ่อนสารนี้มีมากกว่าแป้ง แป้งจะมีมากที่สุดในเหง้าโตเต็มที.

ใหม่!!: ขมิ้นอ้อยและว่านชักมดลูก · ดูเพิ่มเติม »

สกุลขมิ้น

กุลขมิ้นหรือCurcuma เป็นสกุลของพืชมีดอก มีสมาชิกประมาณ 80 สปีชีส์ อยู่ในวงศ์ Zingiberaceae ซึ่งประกอบด้วยพืชที่สำคัญเช่น ขมิ้นชัน ขมิ้นอ้อย ชื่อสกุลนี้มาจากภาษาอาหรับ kurkum (كركم) หมายถึงขมิ้น.

ใหม่!!: ขมิ้นอ้อยและสกุลขมิ้น · ดูเพิ่มเติม »

อันดับขิง

อันดับขิง หรือ Zingiberales เป็นอันดับของพืชมีดอก เป็นอันดับที่มีสมาชิกเป็นพืชที่รู้จักกันดีหลายชนิด เช่น ขิง ข่า ขมิ้น กระวาน กล้วย สาคู เฮลิโคเนี.

ใหม่!!: ขมิ้นอ้อยและอันดับขิง · ดูเพิ่มเติม »

ขมิ้น

มิ้นชัน เป็นพืชล้มลุกในวงศ์ขิง มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อในของเหง้าเป็นสีเหลือง มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีสีเหลืองเข้ม จนสีแสดจัด มีชื่อสามัญอื่นอีกคือ ขมิ้นแกง (เชียงใหม่) ขมิ้นชัน (กลาง, ใต้) ขมิ้นหยอก (เชียงใหม่) ขมิ้นหัว (เชียงใหม่) ขี้มิ้น (ตรัง, ใต้) ตายอ (กะเหรี่ยง กำแพงเพชร) สะยอ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) และ หมิ้น (ตรัง, ใต้).

ใหม่!!: ขมิ้นอ้อยและขมิ้น · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินโดนีเซีย

อินโดนีเซีย (Indonesia) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republik Indonesia) เป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรอินโดจีนกับทวีปออสเตรเลีย และระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิก มีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียวหรือกาลีมันตัน (Kalimantan), ประเทศปาปัวนิวกินีบนเกาะนิวกินีหรืออีเรียน (Irian) และประเทศติมอร์-เลสเตบนเกาะติมอร์ (Timor).

ใหม่!!: ขมิ้นอ้อยและประเทศอินโดนีเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ใหม่!!: ขมิ้นอ้อยและประเทศอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: ขมิ้นอ้อยและประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไต้หวัน

ประเทศไต้หวัน (Taiwan) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐจีน (Republic of China) เป็นรัฐในทวีปเอเชียตะวันออก ปัจจุบันประกอบด้วยเกาะใหญ่ 5 แห่ง คือ จินเหมิน (金門), ไต้หวัน, เผิงหู (澎湖), หมาจู่ (馬祖), และอูชิว (烏坵) กับทั้งเกาะเล็กเกาะน้อยอีกจำนวนหนึ่ง ท้องที่ดังกล่าวเรียกรวมกันว่า "พื้นที่ไต้หวัน" (臺灣地區) ไต้หวันด้านตะวันตกติดกับจีนแผ่นดินใหญ่ ด้านตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือติดกับญี่ปุ่น และด้านใต้ติดกับฟิลิปปินส์ กรุงไทเปเป็นเมืองหลวง ส่วนไทเปใหม่เป็นเขตปกครองที่จัดตั้งขึ้นใหม่ กินพื้นที่กรุงไทเป และเป็นเขตซึ่งประชากรหนาแน่นที่สุดในเวลานี้ เกาะไต้หวันนั้นเดิมเป็นที่อยู่ของชนพื้นเมือง และมีชาวจีนจากแผ่นดินใหญ่เข้ามาอาศัยร่วมด้วย จนกระทั่งชาววิลันดาและสเปนเดินทางเข้ามาในยุคสำรวจเมื่อศตวรรษที่ 17 และมาตั้งบ้านเรือนกลายเป็นนิคมใหญ่โต ต่อมาในปี 1662 ราชวงศ์หมิงในแผ่นดินใหญ่ถูกราชวงศ์ชิงแทนที่ เจิ้ง เฉิงกง (鄭成功) ขุนศึกหมิง รวมกำลังหนีมาถึงเกาะไต้หวัน และเข้ารุกไล่ฝรั่งออกไปได้อย่างราบคาบ เขาจึงตั้งราชอาณาจักรตงหนิง (東寧) ขึ้นบนเกาะเพื่อ "โค่นชิงฟื้นหมิง" (反清復明) แต่ในปี 1683 ราชวงศ์ชิงปราบปรามอาณาจักรตงหนิงและเข้าครอบครองไต้หวันเป็นผลสำเร็จ ไต้หวันจึงกลายเป็นมณฑลหนึ่งของจีน อย่างไรก็ดี ความบาดหมางระหว่างจีนกับญี่ปุ่นเป็นเหตุให้ญี่ปุ่นได้ไต้หวันไปในปี 1895 ก่อนเสียไต้หวันคืนให้แก่จีนหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ช่วงนั้น มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในจีน พรรคชาตินิยม (國民黨) ได้เป็นใหญ่ แต่ไม่นานก็เสียทีให้แก่พรรคสังคมนิยม (共产党) พรรคชาตินิยมจึงหนีมายังเกาะไต้หวัน แล้วสถาปนาสาธารณรัฐจีนขึ้นบนเกาะไต้หวันแยกต่างหากจากสาธารณรัฐประชาชนจีนบนแผ่นดินใหญ่ อย่างไรก็ดี จีนยังคงถือว่า ไต้หวันเป็นมณฑลหนึ่งของตน และไต้หวันเองก็ยังมิได้รับการยอมรับจากนานาชาติว่าเป็นประเทศเอกราชมาจนบัดนี้ ในช่วงทศวรรษ 1980 ถึงต้นทศวรรษ 1990 การเมืองการปกครองสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้เจริญรุ่งเรืองจนเป็นประชาธิปไตยที่มีพรรคการเมืองหลายพรรคและมีการเลือกตั้งทั่วหน้า อนึ่ง ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 เศรษฐกิจไต้หวันงอกงามอย่างรวดเร็ว ไต้หวันจึงกลายเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ทั้งได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในสี่เสือแห่งเอเชีย มีอุตสาหกรรมล้ำหน้า และมีเศรษฐกิจใหญ่โตเป็นอันดับที่ 19 ของโลก อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงของไต้หวันยังมีบทบาทสำคัญมากในเศรษฐกิจโลก เป็นเหตุให้ไต้หวันได้เป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกและความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก นอกจากนี้ เสรีภาพของสื่อมวลชน เสรีภาพทางเศรษฐกิจ การสาธารณสุข การศึกษา และการพัฒนามนุษย์ในไต้หวันยังได้รับการจัดอยู่ในอันดับสูงด้วยhttp://www.dgbas.gov.tw/public/Data/366166371.pdf.

ใหม่!!: ขมิ้นอ้อยและประเทศไต้หวัน · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อเชียตะวันออกเฉียงใต้, อุษาคเนย์ หรือ เอเชียอาคเนย์ เป็นอนุภูมิภาคของทวีปเอเชีย ประกอบด้วยประเทศต่าง ๆ ซึ่งทิศเหนือติดจีน ทิศตะวันตกติดอินเดีย ทิศตะวันออกติดปาปัวนิวกินี และทิศใต้ติดออสเตรเลีย ภูมิภาคดังกล่าวตั้งอยู่บนรอยต่อของแผ่นทวีปหลายแผ่นที่ยังมีการไหวสะเทือนรุนแรงและการปะทุของภูเขาไฟอยู่ต่อเนื่อง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งได้ภาคภูมิศาสตร์ได้สองภาค ได้แก่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่หรืออินโดจีน ประกอบด้วย กัมพูชา ลาว พม่า ไทย เวียดนาม และมาเลเซียตะวันตก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร ประกอบด้วยบรูไน มาเลเซียตะวันออก ติมอร์-เลสเต อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร.

ใหม่!!: ขมิ้นอ้อยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Curcuma zedoaria

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »