โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กิ้งก่า

ดัชนี กิ้งก่า

กิ้งก่า (Lizard, Iguana, Gecko, Skink; ภาษาไทยถิ่นเหนือ: จั๊กก่า; ภาษาไทยถิ่นอีสาน: กะปอม) เป็นสัตว์เลื้อยคลานในอันดับย่อย Lacertilia หรือ Sauria ในอันดับใหญ่ Squamata หรือ อันดับกิ้งก่าและงู โดยสัตว์ในอันดับนี้รวมถึงงูที่อยู่ในอันดับย่อย Serpentes ด้วย เหตุที่จัดอยู่ในอันดับเดียวกันเพราะมีลักษณะร่วมบางประการมากถึง 70 อย่าง คำว่า "Lacertilia" มาจากภาษาละตินคำว่า "lacerta" ในความหมายเดียวกัน โดยทั่วไปแล้วกิ้งก่ามี 4 ขา มีเกล็ดปกคลุมลำตัว แต่บางสกุลหรือบางชนิดก็ไม่มีขาหรือมีแต่ก็เล็กมากจนสังเกตได้ยาก เช่น จิ้งเหลนด้วง ในวงศ์จิ้งเหลน (Scincidae) หรือในวงศ์ Amphisbaenidae กิ้งก่าโดยมากแล้วเป็นสัตว์กินเนื้อ โดยจะกินแมลงและสัตว์ขาปล้องเป็นหลัก แต่สำหรับในวงศ์ที่มีขนาดใหญ่ เช่น วงศ์เหี้ย (Varanidae) จะกินสัตว์มีกระดูกสันหลังด้วย แต่ขณะที่บางชนิด เช่น อีกัวน่าเขียว (Iguana iguana) ที่พบในอเมริกากลางและทวีปอเมริกาใต้ กินพืชและผักเป็นอาหารหลัก กิ้งก่าพบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วทุกมุมโลก ยกเว้นในบริเวณอาร์กติก แถบขั้วโลกเหนือและทวีปแอนตาร์กติกา แถบขั้วโลกใต้ มีขนาดแตกต่างกันมากตั้งแต่เพียงไม่กี่เซนติเมตร จนถึงเกือบ 3 เมตร ในมังกรโคโมโด (Varanus komodoensis) ที่หนักได้ถึงเกือบ 100 กิโลกรัม ซึ่งนับเป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในอันดับย่อยนี้ ปัจจุบันมีการอนุกรมวิธานไว้แล้วกว่า 19 วงศ์ ประมาณ 555 สกุล รวมทั้งหมดราว 4,184 ชนิด ซึ่งจำนวนนี้ไม่แน่นอน เพราะมีการสำรวจค้นพบชนิดใหม่ ๆ ขึ้นทุกปี โดยวงศ์ที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุด คือ Scincidae ที่มีประมาณ 1,000 ชนิด รองลงไป คือ Gekkonidae หรือ ตุ๊กแกกับจิ้งจก มีประมาณ 900 ชนิด ส่วนในวงศ์ Agamidae ก็มีประมาณเกือบ 500 ชน.

40 ความสัมพันธ์: บริเวณแห้งแล้งพ.ศ. 2410พ.ศ. 2552การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์กิล่ามอนสเตอร์กิ้งก่าหนามกิ้งก่าแผงคอภาษาละตินภาษาไทยถิ่นอีสานภาษาไทยถิ่นเหนือมังกรโกโมโดยุคไทรแอสซิกวงศ์กิล่ามอนสเตอร์วงศ์กิ้งก่าวงศ์กิ้งก่าคาเมเลี่ยนวงศ์ย่อยกิ้งก่าวงศ์อิกัวนาวงศ์จิ้งจกและตุ๊กแกวงศ์จิ้งเหลนน้อยหางยาววงศ์เหี้ยสกุล (ชีววิทยา)สัตว์สัตว์มีกระดูกสันหลังสัตว์มีแกนสันหลังสัตว์ขาปล้องสัตว์เลื้อยคลานสปีชีส์อันดับกิ้งก่าและงูอาร์กติกอิกัวนาทะเลอนุกรมวิธานอเมริกากลางจิ้งเหลนทวีปอเมริกาใต้ทวีปแอนตาร์กติกาขั้วโลกใต้ขั้วโลกเหนืองูประเทศออสเตรเลียแผนที่

บริเวณแห้งแล้ง

ทะเลทราย ทะเลทรายอาตากามา บริเวณแห้งแล้ง หรือ ทะเลทราย (desert) เป็นบริเวณแผ่นดินแห้งแล้งซึ่งเกิดหยาดน้ำฟ้าน้อยและทำให้สภาพการดำรงชีพไม่เอื้อสำหรับพืชและสัตว์ ประมาณหนึ่งในสามของพื้นผิวดินของโลกแห้งแล้งหรือกึ่งแห้งแล้ง ซึ่งรวมเขตขั้วโลกด้วยซึ่งเกิดหยาดน้ำฟ้าน้อย และบ้างเรียก "บริเวณแห้งแล้งเย็น" บริเวณแห้งแล้งสามารถจำแนกได้โดยปริมาณหยาดน้ำฟ้าที่ตก อุณหภูมิ สาเหตุของการกลายเป็นบริเวณแห้งแล้ง (desertification) หรือโดยที่ตั้งภูมิศาสตร.

ใหม่!!: กิ้งก่าและบริเวณแห้งแล้ง · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2410

ทธศักราช 2410 ตรงกั.

ใหม่!!: กิ้งก่าและพ.ศ. 2410 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2552

ทธศักราช 2552 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2009 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีสุดท้ายในคริสต์ทศวรรษ 2000.

ใหม่!!: กิ้งก่าและพ.ศ. 2552 · ดูเพิ่มเติม »

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

ใหม่!!: กิ้งก่าและการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

กิล่ามอนสเตอร์

กิล่ามอนสเตอร์ (Gila monster) เป็นกิ้งก่ามีพิษชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Heloderma suspectum พบในเขตทะเลทรายอริโซน่าทางตอนตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศสหรัฐอเมริกา กิล่ามอนสเตอร์มีความยาวถึงสองฟุต จัดเป็นกิ้งก่าขนาดใหญ่ที่สุดที่พบในประเทศสหรัฐอเมริกา ลำตัวมีลายดำ ชมพู ส้ม และเหลือง อุปนิสัยเชื่องช้า มักหลบในโพรงเป็นส่วนใหญ่ ล่าสัตว์จำพวกหนู นก และไข่ต่าง ๆ เป็นอาหาร กิล่ามอนสเตอร์สามารถผลิตพิษที่มีผลต่อระบบประสาทของเหยื่อ โดยพิษจะส่งเข้าสู่เหยื่อผ่านทางฟันทางกรามล่าง แต่พิษนี้ไม่เป็นอันตรายถึงชีวิตต่อมนุษย์ กิล่ามอนสเตอร์เป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ชนิดหนึ่ง ซึ่งมีการคุ้มครองโดยกฎหมาย ทั้งในท้องถิ่นคือกฎหมายรัฐอริโซน่า และในระดับประเทศคือกฎหมายประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศเม็กซิโก ส่วนในระดับนานาชาติกิล่ามอนสเตอร์เป็นสัตว์ในบัญชีหมายเลข ๒ ของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าใกล้สูญพันธุ์ (CITES) โดยห้ามส่งออกหรือนำเข้าโดยปราศจากใบอนุญาต ซึ่งรวมถึงประเทศไทย ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำหรับในประเทศไทยมีการจัดแสดงในสวนสัตว์ดุสิตในช่วงปลายปี พ.ศ. 2554 ถึงต้นปี พ.ศ. 2555.

ใหม่!!: กิ้งก่าและกิล่ามอนสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

กิ้งก่าหนาม

ำหรับกิ้งก่าหนามชนิดที่พบในทะเลทรายของออสเตรเลีย ดูที่: กิ้งก่าปีศาจหนาม กิ้งก่าหนาม (Horned lizards) เป็นสัตว์เลื้อยคลานประเภทกิ้งก่าจำพวกหนึ่ง จัดอยู่ในสกุล Phrynosoma ในวงศ์กิ้งก่าหนามอเมริกาเหนือ (Phrynosomatidae) (บางข้อมูลจัดให้อยู่ในวงศ์อีกัวนา (Iguanidae) โดยถือเป็นวงศ์ย่อยออกมา) มีรูปร่างตัวอ้วนป้อม ลำตัวสั้น หางสั้น แลดูคล้ายกบหรือคางคก มีลักษณะเด่น คือ มีหนามสั้น ๆ อยู่รอบลำตัวและส่วนหัว ซึ่งพัฒนามาจากเกล็ด ในส่วนที่เป็นเขาจริง ๆ เป็นกระดูกแข็งมีอยู่ส่วนหัว กระจายพันธุ์อยู่ในพื้นที่แห้งแล้งที่เป็นทะเลทรายทางตอนใต้ของสหรัฐอเมริกาต่อกับภาคเหนือของเม็กซิโก เช่น เท็กซัส และนิวเม็กซิโก มีพฤติกรรมที่อยู่เฉย ๆ นิ่ง ๆ กับพื้น เมื่อเคลื่อนที่ก็ช้ากว่ากิ้งก่าทั่วไป หากินแมลงเล็ก ๆ เช่น มด ด้วยการนิ่งอยู่เฉย ๆ แล้วตวัดกินเอา กิ้งก่าหนามมีวิธีการป้องกันตัวที่นับได้ว่าหลากหลายและแปลกประหลาดมากอย่างหนึ่ง ในอาณาจักรสัตว์โลกทั้งหมด เมื่อถูกคุกคาม สามารถที่จะพองตัวขึ้นมาเพื่อให้หนามเล็ก ๆ บนตัวทิ่มแทงผู้รุกรานได้ รวมถึงการเปลี่ยนสีเพื่อพรางตัวกลมกลืนไปกับสิ่งแวดล้อมที่เป็นพื้นกรวดทรายหรือพุ่มไม้เตี้ย ๆ ได้อย่างดีเยี่ยมและรวดเร็ว อีกทั้งยังมีเส้นขีดสีขาว 2 เส้น บนหลังที่ดูคล้ายกับกิ่งไม้หรือหญ้าแห้ง ๆ อีกด้วย และการป้องกันตัวที่พิเศษที่สุด คือ การสามารถพ่นเลือดออกจากตาเพื่อไล่ผู้รุกรานให้หนีไปได้ด้วย ในเลือดนั้นมีสารเคมีบางอย่างที่ยังไม่มีการศึกษาไปถึงว่าเป็นอะไร แต่เป็นสารเคมีที่มีกลิ่นฉุน มีรสชาติที่ไม่พิศมัย สร้างความรำคาญแก่สัตว์กินเนื้อขนาดใหญ่ เช่น หมาจิ้งจอก, หมาโคโยตี้ ที่จับกินเป็นอาหาร ที่เมื่อโดนเลือดนี้พ่นเข้าใส่ จะปล่อยตัวกิ้งก่าทันที และเอาหัวถูไถไปกับวัสดุต่าง ๆ เพื่อลบกลิ่นและเลือดให้ออก กิ้งก่าหนามพ่นเลือดได้จากการบีบของกล้ามเนื้อในเปลือกตาให้พ่นออกมาเข้าปากของผู้ที่มารุกราน ซึ่งกิ้งก่าหนามจะใช้วิธีนี้ต่อเมื่อถูกคาบอยู่ในปากหรืออยู่ในตำแหน่งที่ใกล้ปากแล้วเท่านั้น โดยเลือดที่ถูกบีบพุ่งออกมานั้น เกิดจากเส้นเลือดดำที่ปิดตัวเอง ทำให้เกิดความดันขึ้นในโพรงกะโหลก จนตาทั้ง 2 ข้างพองออก เลือดแดงจะรวมตัวกันเป็นจำนวนมากในเส้นเลือดฝอยจนมากพอในปริมาณที่จะปล่อยพุ่งออกมาได้ จากการศึกษาพบว่าสามารถพ่นได้มากถึง 54 ครั้ง ภายในเวลาไม่ถึง 2 นาที แม้จะดูว่าเสียเลือดไปเป็นจำนวนมาก แต่กิ้งก่าหนามจะไม่เป็นอะไรเลย และร่างกายสามารถผลิตเลือดใหม่ขึ้นทดแทนได้ในเวลาไม่นานBLOOD SQUIRTING LIZARD, "Nick Baker's Weird Creatures" สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต.

ใหม่!!: กิ้งก่าและกิ้งก่าหนาม · ดูเพิ่มเติม »

กิ้งก่าแผงคอ

กิ้งก่าแผงคอ (Frill-necked lizard, Frilled lizard, Frilled dragon) สัตว์เลื้อยคลานประเภทกิ้งก่าชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chlamydosaurus kingii เป็นกิ้งก่าเพียงชนิดเดียวในสกุล Chlamydosaurus.

ใหม่!!: กิ้งก่าและกิ้งก่าแผงคอ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาละติน

ษาละติน (Latin) เป็นภาษาโบราณในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน มีต้นกำเนิดในที่ราบลาติอุม (Latium) ซึ่งเป็นพื้นที่รอบๆกรุงโรม และได้ชื่อว่าเป็นภาษาทางการในการสื่อสารของจักรวรรดิโรมัน ต่อมาภาษาละตินได้ถูกกำหนดให้เป็นภาษาสื่อสารและในพิธีสวดของศาสนจักรโรมันคาทอลิก และยังเป็นภาษาที่ใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา และนักเทววิทยาของยุโรป ตั้งแต่ตลอดยุคกลางจนมาถึงยุคสมัยใหม่ ภาษาละตินจึงเป็นภาษาต้นฉบับของงานเขียนที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และทางวรรณกรรมเป็นจำนวนมาก ภาษาอังกฤษได้รับคำในภาษาละตินเข้ามาในภาษาตนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอิทธิพลของเจ้าปกครองชาวแองโกล-นอร์มัน ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้คำศัพท์ที่ใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ล้วนเป็นคำศัพท์ภาษาละตินหรือสร้างจากภาษาละติน ภาษาละตินเป็นภาษามีวิภัติปัจจัย (การผันคำ) มีการก 7 การก (case), มีเพศ 3 เพศ, และมีพจน์ 2 พจน์ ภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน พัฒนาสืบต่อมาจากภาษาละตินพื้นบ้าน ซึ่งจะเรียกกลุ่มภาษาเหล่านี้ว่า ภาษากลุ่มโรมานซ์ ภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ที่สำคัญได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมาเนีย ภาษาอิตาลี ภาษาโปรตุเกส และภาษาสเปน ภาษาส่วนใหญ่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนก็มีความสัมพันธ์บางอย่างกับภาษาละติน แม้ภาษาละตินในปัจจุบัน จะมีผู้ใช้น้อยมากจนถูกนับว่าเกือบเป็นภาษาสูญแล้ว แต่การศึกษาภาษาละตินในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยก็ยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้อักษรละติน (ที่พัฒนามาจากอักษรกรีก) ยังคงมีใช้ในหลายภาษา และเป็นอักษรที่ใช้มากที่สุดในโลก.

ใหม่!!: กิ้งก่าและภาษาละติน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทยถิ่นอีสาน

ษาไทยถิ่นอีสาน หรือ ภาษาลาวอีสาน เป็นภาษาท้องถิ่นที่ใช้พูดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เป็นภาษาลาวสำเนียงหนึ่งในสำเนียงภาษาถิ่นของภาษาลาวซึ่งแบ่งเป็น 6 สำเนียงใหญ่ คือ.

ใหม่!!: กิ้งก่าและภาษาไทยถิ่นอีสาน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทยถิ่นเหนือ

ำเมือง (40px)) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า ภาษาถิ่นภาคพายัพ เป็นภาษาถิ่นของชาวไทยวนทางภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ซึ่งเป็นอาณาจักรล้านนาเดิม ได้แก่ เชียงใหม่, เชียงราย, อุตรดิตถ์, แพร่, น่าน, แม่ฮ่องสอน, ลำพูน, ลำปาง, พะเยา และยังมีการพูดและการผสมภาษากันในบางพื้นที่ของจังหวัดตาก, สุโขทัย และเพชรบูรณ์ ปัจจุบันกลุ่มคนไทยวนได้กระจัดกระจายและมีถิ่นที่อยู่ในจังหวัดสระบุรี, จังหวัดราชบุรี และอำเภอของจังหวัดอื่นที่ใกล้เคียงกับราชบุรีอีกด้วย คำเมืองยังสามารถแบ่งออกเป็นสำเนียงล้านนาตะวันตก (ในจังหวัดเชียงใหม่, ลำพูน และแม่ฮ่องสอน) และสำเนียงล้านนาตะวันออก (ในจังหวัดเชียงราย, พะเยา, ลำปาง, อุตรดิตถ์, แพร่ และน่าน) ซึ่งจะมีความแตกต่างกันบ้าง คือ สำเนียงล้านนาตะวันออกส่วนใหญ่จะไม่พบสระเอือะ เอือ แต่จะใช้สระเอียะ เอียแทน (มีเสียงเอือะและเอือเพียงแต่คนต่างถิ่นฟังไม่ออกเอง เนื่องจากเสียงที่ออกมาจะเป็นเสียงนาสิกใกล้เคียงกับเอียะ เอีย) ส่วนคนในจังหวัดลำพูนมักจะพูดสำเนียงเมืองยอง เพราะชาวลำพูนจำนวนมากสืบเชื้อสายมาจากชาวยองในรัฐฉาน จึงมีสำเนียงที่เป็นเอกลักษณ์ คำเมืองมีไวยากรณ์คล้ายกับภาษาไทยกลางแต่ใช้คำศัพท์ไม่เหมือนกันและไวยากรณ์ที่แตกต่างกันอยู่บ้าง แต่เดิมใช้คู่กับ อักษรธรรมล้านนา ซึ่งเป็นตัวอักษรของอาณาจักรล้านนาที่ใช้อักษรมอญเป็นต้นแ.

ใหม่!!: กิ้งก่าและภาษาไทยถิ่นเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

มังกรโกโมโด

มังกรโกโมโด (Komodo dragon; ชื่อวิทยาศาสตร์: Varanus komodoensis) เป็นสัตว์เลื้อยคลานในอันดับกิ้งก่าชนิดหนึ่ง มีถิ่นอาศัยอยู่บนเกาะโกโมโด, รินจา, ฟลอเรส และกีลีโมตังในประเทศอินโดนีเซีย อยู่ในวงศ์และสกุลเดียวกับเหี้ย (Varanidae) จัดเป็นตะกวดชนิดที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่ยังสืบเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบันนี้ ตัวโตเต็มวัยมีขนาดความยาวโดยเฉลี่ย 2-3 เมตร (6.6 ถึง 9.8 ฟุต) และมีน้ำหนักประมาณ 90 กิโลกรัม (150 ปอนด์) มังกรโกโมโดมีรูปร่างหน้าตาเหมือนตัวเงินตัวทองชนิดอื่นทั่วไป แต่ทว่ามีลำตัวใหญ่และยาวกว่ามาก มีลำตัวสีเทาออกดำกว.

ใหม่!!: กิ้งก่าและมังกรโกโมโด · ดูเพิ่มเติม »

ยุคไทรแอสซิก

อร์เมียน←ยุคไทรแอสซิก→ยุคจูแรสซิก ยุคไทรแอสซิก (Triassic) เป็นยุคหนึ่งทางธรณีกาลของโลก ตรงกับช่วงเวลาประมาณ 251 ± 0.4 ถึง 199.6 ± 0.6 ล้านปีก่อน ยุคไทรแอสซิกเป็นยุคแรกของมหายุคมีโซโซอิก อยู่หลังยุคเพอร์เมียนและอยู่หน้ายุคจูแรสซิก จุดเริ่มต้นและสิ้นสุดยุคไทรแอสซิกกำหนดจากเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดการสูญพันธุ์มากมาย ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวสามารถกำหนดจากชั้นหินได้แน่นอน แต่ช่วงเวลาที่เกิดขึ้นยังไม่สามารถระบุได้ละเอียดจริง ๆ มีค่าความผิดพลาดได้หลายล้านปี ในยุคไทรแอสซิก สิ่งมีชีวิตทั้งบนบกและในทะเลมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ จากพื้นผิวโลกที่มีสภาพแย่ลงอย่างรวดเร็วหลังการสูญพันธุ์ในช่วงรอยต่อระหว่าง ยุคเพอร์เมียน และ ยุคไทรแอสซิก ปะการังในกลุ่มเฮกซะคอราลเลีย (hexacorallia) ถือกำเนิดขึ้น พืชดอกอาจจะวิวัฒนาการในยุคนี้ รวมกระทั่งสัตว์มีกระดูกสันหลังที่บินได้คือเทอโรซอร์ (Pterosaur).

ใหม่!!: กิ้งก่าและยุคไทรแอสซิก · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์กิล่ามอนสเตอร์

วงศ์กิล่ามอนสเตอร์ (Gila monster, Venomous lizard) เป็นสัตว์เลื้อยคลานวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Helodermatidae อยู่ในอันดับย่อยกิ้งก่า รูปร่างโดยรวมของสัตว์ในวงศ์นี้ คือ มีลำตัวป้อม หางป้อมและส่วนปลายมนกลม ซึ่งเป็นอวัยวะเก็บสำรองไขมัน มีต่อมน้ำพิษอยู่ในเนื้อเยื่อตามความยาวของขากรรไกรล่าง ผิวหนังลำตัวหนา เกล็ดปกคลุมลำตัวด้านหลังและด้านข้างเป็นตุ่มกลมและไม่มีกระดูกในชั้นหนังรองรับ แต่เกล็ดด้านท้องเป็นรูปเหลี่ยมและมีขนาดใหญ่กว่าเกล็ดด้านหลังรวมทั้งมีกระดูกในชั้นหนังรองรับ กระดูกหัวไหล่มีกระดูกอินเตอร์คลาวิเคิลเป็นรูปตัวอักษรที (T) ในภาษาอังกฤษ หรือเป็นรูปโค้งและกระดูกไหปลาร้าเป็นรูปหักมุม ปล่อยหางหลุดจากลำตัวไม่ได้ พื้นผิวด้านบนของลิ้นเป็นตุ่มยาว ฟันที่ขากรรไกรเกาะติดกับร่องที่ขอบด้านในของกระดูกขากรรไกร กระดูกพเทอรีกอยด์มีฟัน มีลำตัวขนาดใหญ่ มีความยาวของลำตัวประมาณ 30-50 เซนติเมตร มีอยู่เพียงสกุลเดียว คือ Heloderma โดยมีความหมายว่า "ผิวที่เป็นปุ่ม" อันหมายถึงลักษณะผิวหนังของกิ่งก่าในวงศ์นี้ มีที่มาจากภาษากรีกโบราณคำว่า "hêlos" (ἧλος) หมายถึง "หัว" หรือ "เล็บ" หรือ "ปุ่ม" และ "Derma" (δέρμα) หมายถึง "ผิว" เดิมถูกแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ กิล่ามอนสเตอร์ (H. suspectum) และกิ้งก่าลูกปัด (H. horridum) แพร่กระจายพันธุ์ในทะเลทรายที่แห้งแล้งของสหรัฐอเมริกาจนถึงเม็กซิโกและกัวเตมาลา อาศัยอยู่บนพื้นดินโดยการขุดโพรง แต่สามารถปีนป่ายต้นไม้หรือโขดหินได้เป็นอย่างดี หากินในเวลากลางวันโดยอาศัยการฟังเสียงและรับภาพ มีอุปนิสัยหากินตามลำพัง โดยที่ กิล่ามอนสเตอร์จะกินสัตว์ขนาดใหญ่อย่าง กระต่ายหรือสัตว์ฟันแทะขนาดเล็กด้วย ส่วนกิ้งก่าลูกปัดจะหากินเพียงไข่นกและกิ้งก่าเท่านั้น ทั้ง 2 ชนิดขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ แต่ปัจจุบันได้แบ่งออกอีกเป็น 3 ชนิด รวมเป็น 5 ชนิด คือ กิ้งก่าลูกปัดเชียปัน (H. alvarezi), กิ้งก่าลูกปัดริโอเฟอเต (H. exasperatum) และกิ้งก่าลูกปัดกัวเตมาลัน (H. charlesbogerti).

ใหม่!!: กิ้งก่าและวงศ์กิล่ามอนสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์กิ้งก่า

วงศ์กิ้งก่า (Dragon lizards, Old Wolrd lizards, ชื่อวิทยาศาสตร์: Agamidae) เป็นวงศ์ของสัตว์เลื้อยคลานในอันดับย่อยกิ้งก่า วงศ์หนึ่ง ที่มีจำนวนสมาชิกมากและมีความหลากหลายมาก ประมาณเกือบ 500 ชนิด จนสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ย่อย (ดูในตาราง) มีลักษณะโดยรวม คือ มีขา 4 ข้างเห็นชัดเจน มีเกล็ดปกคลุมด้านหลังและด้านท้องของลำตัว เกล็ดมีขนาดเล็กเรียงตัวซ้อนเหลื่อมกันหรือต่อเนื่องกัน ไม่มีกระดูกในชั้นหนัง กระดูกหัวไหล่มีกระดูกอินเตอร์คลาวิเคิลเป็นรูปตัวอักษรที และกระดูกไหปลาร้ามีรูปร่างโค้ง มีหางยาว แต่โดยทั่วไปน้อยกว่า 1.4 เท่าของความยาวจากปลายจมูกถึงรูก้น ไม่สามารถสะบัดหางให้หลุดจากลำตัวได้ ยกเว้นในสกุล Uromystax พื้นผิวด้านบนของลิ้นมีตุ่ม ฟันที่ขากรรไกรเกาะติดกับพื้นผิวกระดูกโดยตรง กระดูกพเทอรีกอยด์ไม่มีฟัน พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางในทวีปเอเชีย, แอฟริกา, ออสเตรเลีย ส่วนใหญ่ออกลูกเป็นไข่ มีเพียงบางสกุลเท่านั้นที่ตกลูกเป็นตัว สำหรับในประเทศไทย มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด อาทิ ตะกอง (Physignathus cocincinus) ซึ่งเป็นกิ้งก่าขนาดใหญ่ พบได้ในป่าดิบชื้นใกล้แหล่งน้ำในป่า เช่น น้ำตก ในภูมิภาคอินโดจีน, กิ้งก่าบินคอแดง (Draco blanfordii), กิ้งก่าสวน (Calotes mystaceus), หรือ แย้เส้น (Leiolepis belliana) ที่พบได้ทั่วไปตามพื้นดินภาคอีสาน.

ใหม่!!: กิ้งก่าและวงศ์กิ้งก่า · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์กิ้งก่าคาเมเลี่ยน

วงศ์กิ้งก่าคาเมเลี่ยน (Chameleon) เป็นวงศ์ของสัตว์เลื้อยคลานจำพวกกิ้งก่า ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว.

ใหม่!!: กิ้งก่าและวงศ์กิ้งก่าคาเมเลี่ยน · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยกิ้งก่า

วงศ์ย่อยกิ้งก่า (Agamid lizards, Old world arboreal lizards; ชื่อวิทยาศาสตร์: Agaminae) เป็นวงศ์ย่อยของกิ้งก่าในวงศ์ Agamidae เป็นวงศ์ย่อยที่มีจำนวนสมาชิกหลากหลายที่สุดของวงศ์นี้ มีประมาณ 52 สกุล 421 ชนิด มีลักษณะโดยรวม คือ มีช่องเปิดบริเวณแอ่งเบ้าตาใหญ่ และมีช่องเปิดบริเวณกล่องหูใหญ่ มีความยาวของลำตัวแตกต่างกันมากตั้งแต่เพียงไม่กี่เซนติเมตรจนถึง 1.1 เมตร บางชนิดก็มีส่วนหางที่ยาวมาก รูปร่างมีแตกต่างกันตั้งแต่อ้วนป้อมและขาสั้นในสกุล Moloch และเรียวยาวและขายาวในสกุล Sitana เกล็ดปกคลุมลำตัวในหลายชนิดเปลี่ยนสภาพเป็นโครงสร้างอื่น เช่น กิ้งก่าแผงคอ (Chlamydosaurus kingii) ที่เป็นแผงคอที่สามารถกางแผ่ออกได้เมื่อตกใจหรือขู่ศัตรูให้กลัว หรือเป็นหนามในสกุล Moloch และ Acanthosaura โครงสร้างเหล่านี้เป็นลักษณะแตกต่างระหว่างเพศของหลายชนิด ส่วนใหญ่อาศัยอยู่บนพื้นดินหรือบนต้นไม้หรือแม้แต่ใช้ชีวิตแบบครึ่งบกครึ่งน้ำ อย่าง ตะกอง (Physignathus cocincinus) ที่มีพฤติกรรมอาศัยในป่าดิบชื้นที่ใกล้แหล่งน้ำในป่า เช่น ลำธารหรือน้ำตก ว่ายน้ำเก่งมาก แต่ไม่มีชนิดใดที่อาศัยอยู่ในโพรงดิน ในสกุล Draco ที่พบในป่าดิบในแหลมมลายู ที่มีแผ่นหนังข้างลำตัวกางออกเพื่อร่อนได้ในอากาศ ส่วนใหญ่หากินในเวลากลางวัน และเปลี่ยนอุณหภูมิในร่างกายให้อบอุ่นขึ้นด้วยการนอนผึ่งแดด บางสกุล เช่น Agama มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นสังคม และมีการจัดลำดับในสังคมด้วย กินอาหารโดยเฉพาะสัตว์ขาปล้องเป็นอาหาร โดยรอให้เหยื่อเข้ามาหาเอง ขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ในโพรงดินหรือทราย แต่ในสกุล Phrynocephalus ตกลูกเป็นตัว.

ใหม่!!: กิ้งก่าและวงศ์ย่อยกิ้งก่า · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์อิกัวนา

วงศ์อิกัวนา (Iguana) เป็นวงศ์ของสัตว์เลื้อยคลานประเภทกิ้งก่าวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อว่า Iguanidae มีลักษณะเด่น คือ ทุกชนิดมีรยางค์ขา มีเกล็ดปกคลุมด้านหลังและด้านท้องของลำตัว บางชนิดมีเกล็ดขนาดใหญ่และเรียงตัวซ้อนเหลื่อมกันและบางชนิดมีเกล็ดขนาดเล็กและเรียงตัวต่อเนื่องกัน ไม่มีกระดูกในชั้นหนัง กระดูกหัวไหล่มีกระดูกอินเตอร์คลาวิเคิลเป็นรูปตัวที (T) และมีกระดูกไหปลาร้ารูปร่างโค้ง ส่วนใหญ่มีหางยาวและบางชนิดสามารถปล่อยให้หลุดจากลำตัวได้ แต่ตำแหน่งในการปล่อยหางไม่แน่นอน พื้นผิวด้านนอกของลิ้นมีตุ่ม ฟันที่ขากรรไกรเกาะติดกับร่องที่ขอบด้านในของกระดูก กระดูกพเทอรีกอยด์มีฟันหรือไม่มีฟัน วงศ์อิกัวนาแบ่งออกได้เป็น 8 วงศ์ย่อย แบ่งออกได้เป็น 44 สกุล และพบมากกว่า 672 ชนิด โดยชนิดที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี คือ อิกัวนาเขียว (Iguana iguana) ที่นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง และอิกัวนาทะเล (Amblyrhynchus cristatus) ที่อาศัยอยู่ตามเกาะต่าง ๆ ในหมู่เกาะกาลาปากอ.

ใหม่!!: กิ้งก่าและวงศ์อิกัวนา · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์จิ้งจกและตุ๊กแก

วงศ์จิ้งจกและตุ๊กแก (Gecko) เป็นวงศ์ของสัตว์เลื้อยคลานในอันดับย่อยกิ้งก่า (Lacertilia) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Gekkonidae เป็นวงศ์ที่คุ้นเคยเป็นอย่างดีในชื่อสามัญว่า "จิ้กจก" และ "ตุ๊กแก" มีลักษณะโดยรวม คือ ส่วนมากมีขาเห็นได้ชัดเจน ยกเว้นในวงศ์ย่อยบางวงศ์ในออสเตรเลียที่ไม่มีขา ผิวหนังของลำตัวมีเกล็ดขนาดเล็กปกคลุมและอาจมีตุ่มกระจายอยู่บ้าง ไม่มีกระดูกในชั้นหนังทางด้านหลังของลำตัว แต่บางชนิดอาจจะมีกระดูกในชั้นหนังทางด้านท้องของลำตัว กระดูกหัวไหล่มีกระดูกอินเตอร์คลาวิเคิลเป็นรูปตัวที และกระดูกไหปลาร้าเป็นรูปหักมุม สามารถสะบัดหางให้หลุดจากลำตัวได้เพื่อหลอกศัตรูที่มาคุกคาม โดยตำแหน่งที่ปล่อยหางหลุดนั้นอยู่ทางด้านท้ายของก้านกระดูกทางด้านข้างของกระดูกสันหลังส่วนหางทุกปล้อง พื้นผิวด้านบนมีลิ้นมีตุ่มกลม ฟันที่ขากรรไกรเกาะติดกับร่องที่ขอบด้านในของกระดูกขากรรไกร กระดูกพเทอรีกอยด์ไม่มีฟัน เป็นวงศ์ที่มีขนาดใหญ่ โดยยังแบ่งออกได้เป็นวงศ์ย่อยอีก 4 วงศ์ (ดูในตาราง) มีจำนวนสมาชิกในวงศ์มากมายถึงเกือบ 1,000 ชนิด และ 109 สกุล ซึ่งจำนวนนี้ยังไม่แน่นอน เนื่องจากมีการสำรวจพบเจอชนิดใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นทุกปี ขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ มีเพียงไม่สกุลเท่านั้น เช่น Hoplodacatylus ที่ตกลูกเป็นตัว ลักษณะเด่นอีกประการหนึ่งของวงศ์นี้ที่เป็นที่รับรู้อย่างดีของมนุษย์ คือ เสียงร้อง อันเป็นที่มาของชื่อสามัญและชื่อวิทยาศาสตร์ที่ใช้เรียก สัตว์เลื้อยคลานในวงศ์นี้โดดเด่นมากในการส่งเสียงร้อง โดยมีแผ่นเยื่อกำเนิดเสียงและกล่องเสียงจึงทำให้เกิดเสียงได้ และด้วยความซับซ้อนมากกว่าเสียงที่เกิดจากการผลักดันอากาศออกทางจมูกหรือปาก ในตัวผู้ของหลายชนิดใช้เสียงในการประกาศอาณาเขตตลอดจนใช้ดึงดูดตัวเมีย โดยเป็นเสียงร้องที่สั้นและมักร้องซ้ำ ๆ และติดต่อกันหลายครั้ง แม้ว่าส่วนใหญ่เสียงร้องอาจจะคล้ายคลึงกันแต่ชนิดที่ต่างกันแม้อาศัยอยู่ในบริเวณเดียวกันก็มีเสียงที่ต่างกัน โดยทั่วไปตัวผู้จะส่งเสียงร้องไปยังทิศทางที่มีตัวผู้ตัวอื่นหรือมีตัวเมียอยู่ตรงนั้น แต่บางครั้งก็อาจส่งเสียงร้องได้โดยไม่มีทิศทาง ในสกุล Ptenopus ที่พบในแอฟริกา เมื่ออกจากโพรงในช่วงใกล้ค่ำและส่งเสียงร้องประสานกันคล้ายกับเสียงร้องของกบ นอกจากนี้แล้วในบางชนิดจะมีเสียงร้องอย่างจำเพาะระหว่างแสดงพฤติกรรมปกป้องอาณาเขต และเป็นเสียงร้องช่วงยาวมากกว่าเสียงร้องที่ใช้ในเวลาทั่วไป ซึ่งเสียงร้องเตือนนี้นอกจากจะใช้ร้องเตือนสัตว์ประเภทเดียวกันที่มาเข้าใกล้ ยังร้องเตือนสัตว์ที่ใหญ่ รวมถึงมนุษย์ได้ด้วย โดยทั้งตัวผู้และตัวเมียจะส่งเสียงร้องได้เท่ากัน โดยเฉพาะเสียงร้องประกาศอาณาเขตนี้ โดยชนิดที่มีเสียงร้องที่ซับซ้อนและหลากหลายที่สุด คือ ตุ๊กแกบ้าน (Gekko gecko) เพราะมีเสียงที่ขึ้นต้นด้วยพยางค์เดียวที่ร้องถี่ ๆ ติดกันหลายครั้งแล้วตามด้วยเสียงร้องที่เป็น 2 พยางค์ นอกจากนี้แล้วลักษณะพิเศษเฉพาะที่สำคัญอีกประการของสัตว์เลื้อยคลานวงศ์นี้ คือ สามารถเกาะติดกับผนังได้เป็นอย่างดี โดยไม่หล่นลงมา ด้วยหลักของสุญญากาศที่บริเวณใต้ฝ่าเท้าทั้ง 4 ด้าน โดยเป็นแผ่นหนังที่เรียงตัวต่อกัน ซึ่งแผ่นหนังแต่ละแผ่นมีเส้นขนจำนวนมากและแต่ละเส้นนั้นยาวประมาณ 60-90 ไมครอน เรียกว่า "เซต้า" ซึ่งส่วนปลายของขนนั้นแตกแขนงและขยายออกเป็นกลุ่ม การเรียงตัวของแผ่นหนังและรายละเอียดของเส้นขนนี้ใช้ในการอนุกรมวิธานแยกประเภท แต่ในหลายสกุลก็ไม่อาจจะเกาะติดกับผนังได้ วงศ์จิ้งจกและตุ๊กแกนี้กระจายไปอยู่ทุกมุมโลก ยกเว้นในเขตขั้วโลก มีทั้งหากินในเวลากลางวันและกลางคืน เป็นสัตว์เลื้อยคลานที่มนุษย์รู้จักเป็นอย่างดี เพราะสามารถพบเห็นได้ทั่วไปแม้กระทั่งในบ้านเรือน.

ใหม่!!: กิ้งก่าและวงศ์จิ้งจกและตุ๊กแก · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์จิ้งเหลนน้อยหางยาว

วงศ์จิ้งเหลนน้อยหางยาว หรือ วงศ์สางห่า (Wall lizard, True lizard, Old world runner, Lacertid lizard) เป็นวงศ์ของสัตว์เลื้อยคลานในอันดับ Squamata หรืองูและกิ้งก่า ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lacertidae มีลักษณะโดยรวม คือ ทุกชนิดของวงศ์นี้มีขา เกล็ดปกคลุมลำตัวมีขนาดแตกต่างกัน เกล็ดปกคลุมลำตัวด้านหลังและทางด้านข้างแปรผันตั้งแต่มีขนาดใหญ่และเรียบและเรียงซ้อนตัวเหลื่อมกันหรือมีขนาดเล็กเป็นตุ่มและมีสัน เกล็ดด้านท้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ และเรียงตัวต่อเนื่องกันหรือเรียงตัวซ้อนเหลื่อมกัน ไม่มีกระดูกในชั้นหนัง กระดูกหัวไหล่มีกระดูกอินเตอร์ควาวิเคิลเป็นรูปโค้งและกระดูกไหปลาร้าเป็นรูปหักมุม หางยาว สามารถปล่อยหางหลุดจากลำตัวได้เพื่อหลบหนีศัตรู พื้นผิวด้านบนของลิ้นเป็นตุ่มยาว ฟันที่ขากรรไกรเกาะติดกับร่องที่ขอบด้านในของกระดูกขากรรไกร กระดูกเทอรีกอยด์มีฟันหรือไม่มีฟัน เป็นสัตว์เลื้อยคลานที่มีขนาดเล็ก ตั้งแต่ 4 เซนติเมตรจนถึงมีขนาดใหญ่สุดไม่เกิน 12 เซนติเมตร ส่วนมากอาศัยและหากินบนพื้นดินในเวลากลางวัน หรือไม่ก็อาศัยในไม้พุ่มหรือต้นไม้ในระดับเตี้ย ๆ ส่วนมากกินแมลงเป็นอาหาร บางชนิดกินเมล็ดพืชเป็นอาหาร พบกระจายพันธุ์ในพื้นที่ ๆ ที่เป็นโลกเก่า คือ ทวีปยุโรป, แอฟริกา และเอเชีย จนถึงอินเดียตะวันออก มีความสัมพันธ์ใกล้เคียงกับกิ้งก่าในวงศ์ Teiidae ที่พบในโลกใหม่ เนื่องจากมีนิเวศวิทยา, พฤติกรรม ตลอดจนแบบแผนการสืบพันธุ์คล้ายคลึงกัน พบประมาณ 220 ชนิด แบ่งออกได้เป็น 37 สกุล (ขณะที่บางข้อมูลระบุว่า 27 สกุล หรือแม้แต่ 5 สกุล).

ใหม่!!: กิ้งก่าและวงศ์จิ้งเหลนน้อยหางยาว · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์เหี้ย

วงศ์เหี้ย (Monitor lizard, Goanna) เป็นวงศ์ของสัตว์เลื้อยคลานในอันดับ Squamata ใช้ชื่อวงศ์ว่า Varanidae (/วา-รา-นิ-ดี้/).

ใหม่!!: กิ้งก่าและวงศ์เหี้ย · ดูเพิ่มเติม »

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

ใหม่!!: กิ้งก่าและสกุล (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: กิ้งก่าและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีกระดูกสันหลัง

ัตว์มีกระดูกสันหลัง (Vertebrate) สิ่งมีชีวิตประเภทนี้มีกระดูกสันหลังหรือไขสันหลัง สิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลังเริ่มมีวิวัฒนาการมาเป็นเวลาประมาณ 505 ล้านปี ในยุคแคมเบรียนกลาง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของช่วงยุคแคมเบรียน โครงกระดูกของไขสันหลัง ถูกเรียกว่ากระดูกสันหลัง Vertebrate เป็นไฟลัมย่อยที่ใหญ่ที่สุดใน Chordates รวมทั้งยังมีสัตว์ที่คนรู้จักมากที่สุดอีกด้วย (ยกเว้นแมลง) ปลา สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน นก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (รวมทั้งมนุษย์) เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลังทั้งสิ้น ลักษณะเฉพาะของไฟลัมย่อยนี้คือระบบของกล้ามเนื้อจำนวนมาก เช่นเดียวกับระบบประสาทส่วนกลางที่ถูกวางในกระดูกสันหลังเป็นส่วน ๆ สัตว์มีกระดูกสันหลัง คือกระดูกสันหลังจะอยู่เป็นแนวยาวไปตามด้านหลังของสัตว์ กระดูกสันหลังจะต่อกันเป็นข้อๆ ยืดหยุ่น เคลื่อนไหวได้มีหน้าที่ช่วยพยุงร่างกายให้เป็นรูปร่างทรวดทรงอยู่ได้และยังช่วยป้องกันเส้นประสาทอีกด้วย สัตว์พวกมีกระดูกสันหลัง นักวิทยาศาสตร์ยังแบ่งออกเป็น 5 พวกคือ.

ใหม่!!: กิ้งก่าและสัตว์มีกระดูกสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: กิ้งก่าและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ขาปล้อง

ัตว์ขาปล้อง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Arthropoda อาร์โธรโพดา) หรือที่รู้จักกันดีและนิยมเรียกว่า อาร์โธพอด เป็นไฟลัมหลักของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ที่มีขนาดของลำตัวแบ่งเป็นส่วน ๆ 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนหัว ส่วนอกและส่วนท้อง ซึ่งสัตว์ขาปล้องบางจำพวกอาจจะมีส่วนหัวและส่วนอกที่เชื่อต่อกันเป็นส่วนเดียวกันด้วยก็ได้ จะมีเปลือกแข็งหุ้มบริเวณลำตัวสำหรับทำหน้าที่ป้องกันและช่วยพยุงร่างกายที่อ่อนนิ่มที่ซ่อนอยู่ภายใต้เปลือกแข็ง ชั้นคิวติเคิลเปลี่ยนไปตามรายละเอียดของรูปร่าง ประกอบด้วยสามชั้นคือ ชั้นผิวนอก (epicuticle) เป็นชั้นนอกที่บาง มีขี้ผึ้งเคลือบเพื่อป้องกันความชื้น ชั้นนอก (exocuticle) ประกอบด้วยไคติน และโปรตีนที่ทำให้แข็ง และชั้นใน (endocuticle) ที่ประกอบด้วยไคตินและโปรตีนที่ไม่ทำให้แข็ง ชั้นนอกและชั้นในเรียกรวมกันว่า procuticle และที่สำคัญคือช่วยพยุงให้ร่างกายของพวกสัตว์ขาปล้องมีรูปร่างที่แน่นอน.

ใหม่!!: กิ้งก่าและสัตว์ขาปล้อง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลื้อยคลาน

ัตว์เลื้อยคลาน (reptile) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Reptilia มาจากคำว่า Repera ที่มีความหมายว่า "คลาน" เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่จัดเป็นสัตว์ในกลุ่มแรก ๆ ของโลกที่มีการดำรงชีวิตบนบกอย่างแท้จริง สัตว์เลื้อยคลานในยุคดึกดำบรรพ์ที่รอดชีวิตจากการสูญพันธุ์และยังดำรงชีวิตในปัจจุบัน มีจำนวนมากถึง 7,000 ชนิดชนิดของสัตว์เลื้อยคลาน, สัตววิทยา, บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 364 กระจายอยู่ทั่วโลกทั้งชนิดอาศัยในแหล่งน้ำและบนบก จัดเป็นกลุ่มของสัตว์ที่ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนสภาพร่างกายในการเอาตัวรอดจากเหตุการณ์หินอุกกาบาตพุ่งชนโลกมามากกว่า 100 ล้านปีมาแล้ว ในยุคจูแรสซิกที่อยู่ในมหายุคมีโซโซอิก ซึ่งมีอายุของยุคที่ยาวนานถึง 100 ล้านปี จัดเป็นยุคที่สัตว์เลื้อยคลานมีวิวัฒนาการจนถึงขีดสุด มีสัตว์เลื้อยคลานมากมายหลากหลายขนาด ตั้งแต่กิ้งก่าตัวเล็ก ๆ จนถึงไทรันโนซอรัส เร็กซ์ซึ่งเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ ที่มีจำนวนมากมายครอบครองพื้นที่ทั่วทุกแห่งในโลก ยุคจูแรสซิกจึงถือเป็นยุคของสัตว์เลื้อยคลานอย่างแท้จริง ต่อมาภายหลังเกิดเหตุการณ์อุกกาบาตพุ่งชนโลก ทำให้กลุ่มสัตว์บกที่อาศัยในยุคจูแรสซิก เกิดล้มตายและสูญพันธุ์อย่างกะทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุของการสูญพันธุ์ที่ชัดเจนและแน่นอน.

ใหม่!!: กิ้งก่าและสัตว์เลื้อยคลาน · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: กิ้งก่าและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับกิ้งก่าและงู

อันดับกิ้งก่าและงู (Lizard and Snake) เป็นอันดับของสัตว์เลื้อยคลานที่ยังคงสืบเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบันนี้ ใช้ชื่อว่า Squamata (/สะ-ควอ-มา-ตา/) นับเป็นอันดับที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุดและพบได้หลากหลายกว้างขวางมากที่สุด โดยอันดับนี้แบ่งได้เป็น 2 อันดับย่อย คือ Lacertilia หรือ อันดับย่อยกิ้งก่า กับ Serpentes หรือ อันดับย่อยงู การที่รวมสัตว์เลื้อยคลานทั้ง 2 ประเภทนี้ไว้ด้วยกัน เหตุเพราะมีโครงสร้างบางอย่างที่ร่วมกันถึง 70 ประการ โดยงูนั้นมีวิวัฒนาการมาจากกิ้งก่าในวงศ์ Amphisbaenidae ที่มีการลดรูปของขา นอกจากนั้นแล้วยังมีกล้ามเนื้อ, กระดูก, กะโหลก, อวัยวะถ่ายอสุจิที่เป็นถุงพีนิสคู่ แต่มีความแตกต่างกันทางด้านสรีระ พฤติกรรม และการทำงานของโครงสร้างอวัยวะ ทั้งกิ้งก่าและงูมีเกล็ดปกคลุมลำตัว โดยมีปริมาณ ลักษณะ และจำนวนที่ปกคลุมอวัยวะแต่ละส่วนแตกต่างกันตามลักษณะทางอนุกรมวิธาน กิ้งก่าบางชนิดมีกระดูกในชั้นหนังซ้อนอยู่ใต้เกล็ดซึ่งไม่มีในงู พื้นผิวลำตัวของกิ้งก่ามีต่อมผิวหนังไม่มากแต่บริเวณด้านหน้าช่องเปิดทวารร่วมและทางด้านในของต้นขาหลังของกิ้งก่าหลายชนิดมีต่อมผิวหนังค่อนข้างมาก ซึ่งสังเคราะห์สารเคมีเพื่อใช้ในการกำหนดอาณาเขตและหน้าที่ประการต่าง ๆ ซึ่งจำนวนต่อมดังกล่าวนี้อีกทั้งตำแหน่งที่ตั้งแตกต่างกันระหว่างเพศ โดยตัวผู้จะมีมากกว่าและใหญ่กว่า ซึ่งต่อมดังกล่าวนี้ยังใช้เป็นลักษณะในการจำแนกประเภทอีกด้วย กิ้งก่าและงูหลายชนิดสามารถปล่อยท่อนหางให้หลุดจากลำตัวเพื่อหนีเอาตัวรอดจากศัตรูได้ เช่น ในวงศ์จิ้งเหลน (Scincidae) บางตัวอาจหลุดได้หลายครั้งในช่วงชีวิต เหตุที่หลุดและงอกใหม่ได้เนื่องจากลักษณะการเรียงตัวของกล้ามเนื้อกับเนื้อเยื่อที่เกี่ยวพันซึ่งอาจมีตำแหน่งเดียวหรือหลายตำแหน่ง เมื่อหางหลุดไปแล้วอาจงอกขึ้นมาใหม่สั้นกว่าเดิมหรือใช้เวลานานกว่าจะเท่าเดิม เพราะมีแกนเป็นแท่งกระดูกอ่อนทดแทนปล้องของกระดูกสันหลังแทน แต่ส่วนของงูแล้วเมื่อหลุดไปแล้วไม่อาจงอกใหม่ได้ กิ้งก่าในหลายวงศ์ ได้ลดรูปของขาลงจนหดเล็กสั้นจนดูเหมือนไม่มีขา รวมทั้งนิ้วด้วย เพื่อเป็นประโยชน์ในการอาศัยอยู่ในโพรงดิน เช่น จิ้งเหลนด้วง เป็นต้น อวัยวะถ่ายอสุจิของตัวผู้ของกิ้งก่าและงูจะมีลักษณะเป็นถุงพีนิสอยู่ทางด้านท้ายของช่องเปิดทวารร่วม พื้นผิวด้นนอกจะเป็นร่องเพื่อใช้เป็นเส้นทางในการลำเลียงตัวอสุจิเข้าสู่ช่องทวารร่วมของตัวเมียขณะผสมพันธุ์ ซึ่งถุงนี้มีลักษณะเป็นหนามและเป็นสันซึ่งอยู่ทางด้านหน้าของถุง ซึ่งลักษณะรูปร่างและหนามของถุงนี้จะแตกต่างกันไปตามวงศ์ เช่น กิ้งก่าในวงศ์เหี้ย (Varanidae) มีแท่งกระดูกอยู่ภายในถุงเพื่อเสริมให้มั่นคงขณะผสมพันธุ์ ขณะเดียวกันในตัวเมียก็มีกระดูกดังกล่าว แต่มีขนาดเล็กมาก ขยายพันธุ์ได้ด้วยการวางไข่และตกลูกเป็นตัว ซึ่งปริมาณและจำนวนที่ออกมาแตกต่างกันไปตามวงศ์, สกุล และชนิด แต่ในส่วนของกิ้งก่าแล้วมีเพียงร้อยละ 20 เท่านั้นที่ตกลูกเป็นตัว อีกทั้งยังมีบางส่วนที่เกิดได้โดยไม่ผ่านการผสมพันธุ์ด้วย เช่น ในวงศ์เหี้ย, Leiolepidinae หรือ แย้ หรืองูในวงศ์ Typhlopidae.

ใหม่!!: กิ้งก่าและอันดับกิ้งก่าและงู · ดูเพิ่มเติม »

อาร์กติก

้นสีแดงในภาพเป็นบริเวณของอาร์กติกที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยเท่าๆกัน อาร์กติก (Arctic) เป็นพื้นที่ในบริเวณขั้วโลกเหนือ ซึ่งบริเวณของอาร์กติกนี้ประกอบไปด้วยพื้นที่บางส่วนของประเทศต่าง ๆ เช่น แคนาดา, กรีนแลนด์ (ดินแดนของเดนมาร์ก), รัสเซีย, สหรัฐอเมริกา (อะแลสกา), ไอซ์แลนด์, นอร์เวย์, สวีเดน และฟินแลนด์ รวมถึงบริเวณของมหาสมุทรอาร์กติกด้วย บริเวณพื้นที่ส่วนใหญ่ของอาร์กติกจะเป็นพื้นที่กว้าง มหาสมุทรปกคลุมไปด้วยน้ำแข็ง พื้นที่รอบ ๆ ปราศจากพืชพันธุ์และผืนดินก็ปกคลุมไปด้วยน้ำแข็งเช่นเดียวกัน แต่กลับอุดมไปด้วยสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ทั้งที่อาศัยอยู่ในน้ำแข็ง, ปลา,สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม, นก และรวมถึงมนุษย์ด้วย ตามธรรมชาติของบริเวณอาร์กติกจะเป็นที่ที่แตกต่างจากที่อื่นอย่างเห็นได้ชัด ผู้คนที่อาศัยอยู่ในอาร์กติกจะมีการปรับตัวและใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางความหนาวเหน็บและธรรมชาติอันโหดร้าย อาร์กติกจะมีความอ่อนไหวได้ง่ายมากจากการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนโลกของเรา เช่น อุณหภูมิบนโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ความอ่อนไหวได้ง่ายนี้ทำให้อาร์กติกนี้ถูกมองเสมือนเป็นระบบเตือนภัยล่วงหน้าให้แก่โลกของเรา คำว่า อาร์กติก มากจากภาษากรีกโบราณ αρκτος ซึ่งมีความหมายว่า หมี และยังอ้างอิงไปถึงกลุ่มดาวหมีใหญ่และหมีเล็กที่อยู่ใกล้กับดาวเหนือด้ว.

ใหม่!!: กิ้งก่าและอาร์กติก · ดูเพิ่มเติม »

อิกัวนาทะเล

อิกัวนาทะเล หรือ อิกัวนาทะเลกาลาปาโกส (Marine iguana, Galápagos marine iguana) เป็นสัตว์เลื้อยคลานทะเลจำพวกกิ้งก่าชนิดหนึ่งในวงศ์อิกัวนา (Iguanidae) จัดเป็นกิ้งก่าเพียงชนิดเดียวในปัจจุบันนี้ที่พบอาศัยอยู่ได้ในทะเล และเป็นสัตว์เพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Amblyrhynchus.

ใหม่!!: กิ้งก่าและอิกัวนาทะเล · ดูเพิ่มเติม »

อนุกรมวิธาน

อนุกรมวิธานวิทยา (อังกฤษ: Taxonomy) เป็นการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ตามสายวิวัฒนาการ อนุกรมวิธานเป็นวิชาที่ว่าด้วยกฎเกณฑ์เกี่ยวกับ ในการศึกษาอนุกรมวิธานจะมีศัพท์ที่ใช้เรียกแตกต่างกันออกไป ถ้าหากการศึกษาเป็นไปในทางรวบรวมตัวอย่าง (specimen) บิดาแห่งอนุกรมวิธานวิทยา คือ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน.

ใหม่!!: กิ้งก่าและอนุกรมวิธาน · ดูเพิ่มเติม »

อเมริกากลาง

แผนที่อเมริกากลาง อเมริกากลาง (Central America) เป็นภูมิภาคย่อยที่หมายถึงกลุ่มประเทศที่อยู่ทางตอนใต้ของทวีปอเมริกาเหนือ ซึ่งตามความหมายส่วนใหญ่แล้วจะนับจาก ทางใต้ของ อ่าวเม็กซิโก ไปถึงพรมแดนระหว่างปานามากับโคลัมเบีย (หรือประเทศต่าง ๆ ระหว่างเม็กซิโกกับโคลัมเบีย) ได้แก.

ใหม่!!: กิ้งก่าและอเมริกากลาง · ดูเพิ่มเติม »

จิ้งเหลน

้งเหลน (Skink, ชื่อวิทยาศาสตร์: Scincidae) เป็นสัตว์เลื้อยคลานที่จัดอยู่ในอันดับ Squamata เช่นเดียวกับงูและกิ้งก่า จัดอยู่ในวงศ์ Scincidae มีรูปร่างโดยรวม คือ ลดรูปรยางค์ขาแตกต่างกันหลายระดับเพราะบางชนิดมีขาใหญ่ บางชนิดมีขาเล็กมาก และบางชนิดไม่มีขา มีรูปร่างแตกต่างกันตั้งแต่ลำตัวป้อมและขาใหญ่ไปจนถึงลำตัวเรียวยาวคล้ายงู เกล็ดปกคลุมลำตัวด้านหลังและด้านท้องรูปร่างกลมและเรียบเป็นมัน เกล็ดเรียงซ้อนเหลื่อมกันและมีกระดูกในชั้นหนังรองรับโดยมีลักษณะจำเพาะ คือ เกล็ดแต่ละแผ่นมีกระดูกในชั้นหนังหลายชิ้นซึ่งแตกต่างจากกิ้งก่าวงศ์อื่น ๆ ที่มีชั้นเดียว ลักษณะจำเพาะและแตกต่างจากกิ้งก่าวงศ์อื่นอีกประการ คือ หลายชนิดของวงศ์นี้มีเพดานปากแบบทุติยภูมิเจริญขึ้นมา กระดูกหัวไหล่มีกระดูกอินเตอร์ควาวิเคิลเป็นรูปโค้งหรือไม่มีกระดูกชิ้นนี้และกระดูกไหปลาร้าเป็นรูปหักมุม หางค่อนข้างยาว หลายชนิดปล่อยหางหลุดจากลำตัวได้เหมือนเช่น จิ้งจก เพื่อเอาตัวรอดจากศัตรู โดยตำแหน่งที่ปล่อยหางอยู่ทางด้านหน้าของก้านกระดูกทางด้านข้างของก้านกระดูกทางด้านข้างของกระดูกสันหลังส่วนหาง พื้นผิวด้านบนของลิ้นเป็นตุ่มยาว ฟันที่ขากรรไกรเกาะติดกับร่องที่ขอบด้านในของกระดูกขากรรไกร กระดูกพเทอรีกอยด์มีฟันหรือไม่มีฟัน วงศ์จิ้งเหลนนี้ถือว่าเป็นวงศ์ที่ใหญ่มาก สามารถแบ่งออกได้เป็นวงศ์ย่อย ๆ ได้อีก 4 วงศ์ (ดูในตาราง) แบ่งออกได้เป็นสกุลต่าง ๆ ได้ถึง 116 สกุล และเป็นชนิดต่าง ๆ ได้ราว 1,000 ชนิด ซึ่งจำนวนนี้ไม่แน่นอน เพราะการค้นพบใหม่ ๆ ขึ้นทุกปี สำหรับสัตว์ในวงศ์นี้ที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี คือ จิ้งเหลนบ้าน (Eutropis multifasciata) ที่สารถพบได้ทั่วไปในประเทศไทย เป็นต้น.

ใหม่!!: กิ้งก่าและจิ้งเหลน · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปอเมริกาใต้

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปอเมริกาใต้ แผนที่ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปอเมริกาใต้ เป็นทวีปที่เส้นศูนย์สูตรโลกพาดผ่าน พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในซีกโลกใต้ ขนาบข้างด้วยมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรแอตแลนติก ในทางภูมิศาสตร์ ทวีปอเมริกาใต้เพิ่งจะเคลื่อนมาบรรจบกับทวีปอเมริกาเหนือเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้เกิดคอคอดปานามา เทือกเขาแอนดีสที่มีอายุน้อยและไม่หยุดนิ่งพาดผ่านเขตด้านตะวันตกของทวีป ดินแดนทางตะวันออกของเทือกเขาแอนดีส คือ แอ่งแม่น้ำแอมะซอน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเขตป่าดิบชื้น ทวีปอเมริกาใต้มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับ 4 รองจากเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาเหนือตามลำดับ ส่วนจำนวนประชากรเป็นอันดับ 5 รองจากเอเชีย แอฟริกา ยุโรป และอเมริกาเหนือ.

ใหม่!!: กิ้งก่าและทวีปอเมริกาใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปแอนตาร์กติกา

วเทียมของทวีปแอนตาร์กติกา แอนตาร์กติกา (Antarctica) เป็นทวีปที่อยู่ใต้สุดของโลกตั้งอยู่ในภูมิภาคแอนตาร์กติกในซีกโลกใต้และเป็นที่ตั้งขั้วโลกใต้ทางภูมิศาสตร์ เกือบทั้งหมดอยู่ในวงกลมแอนตาร์กติกและล้อมลอบด้วยมหาสมุทรใต้ มีพื้นที่ประมาณ 14,000,000 ตารางกิโลเมตร เป็นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลกใหญ่กว่าทวีปออสเตรเลียถึง 2 เท่า พื้นที่ 98% ของทวีปปกคลุมด้วยน้ำแข็งหนาเฉลี่ย 1.9 กิโลเมตร ซึ่งครอบคลุมพื้นที่เกือบจะถึงเหนือสุดของคาบสมุทรแอนตาร์กติก โดยค่าเฉลี่ยแล้วแอนตาร์กติกาเป็นทวีปที่หนาวที่สุด แห้งแล้งที่สุด ลมแรงที่สุดและมีความสูงโดยเฉลี่ยมากที่สุด แอนตาร์กติกาเป็นทะเลทรายที่มีหยาดน้ำฟ้าเฉลี่ย 200 มิลลิเมตรต่อปีตามแนวชายฝั่งและพื้นที่ภายใน แม้ว่าช่วงที่หนาวสุดของปีจะมีอุณหภูมิเฉลี่ย −63 °C แต่อุณหภูมิอาจต่ำถึง −89.2 °C (และอาจถึง -94.7 ° C หากวัดจากอากาศ) บางสถานที่มีคนราว 1,000 ถึง 5,000 คนอาศัยในสถานีวิจัยที่กระจายอยู่ทั่วที้งทวีปตลอดทั้งปี สิ่งมีชีวิตในแอนตาร์กติกาจะเป็นพวกสาหร่าย แบคทีเรีย เห็ดรา พืช โพรทิสต์และสัตว์บางชนิดเช่นตัวเห็บ ตัวไร นีมาโทดา เพนกวิน สัตว์ตีนครีบและหมีน้ำส่วนพืชก็จะเป็นพวกทันดรา แม้ว่ามีตำนานเล่าขานเกี่ยวกับการมีอยู่ของดินแดนใต้ตั้งแต่ยุคโบราณ แอนตาร์กติกาถูกระบุว่าเป็นดินแดนสุดท้ายบนโลกในประวัติศาสตร์ที่ถูกค้นพบเพราะไม่มีใครเคยพบเลยจนกระทั่ง..

ใหม่!!: กิ้งก่าและทวีปแอนตาร์กติกา · ดูเพิ่มเติม »

ขั้วโลกใต้

ั้วโลกใต้ (South Pole) เป็นจุดที่อยู่ทางทิศใต้สุดของโลก.

ใหม่!!: กิ้งก่าและขั้วโลกใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ขั้วโลกเหนือ

ั้วโลกเหนือภูมิศาสตร์ ขั้วโลกเหนือ (North Pole) เป็นจุดที่ถือว่าอยู่ทางเหนือที่สุดของโลก.

ใหม่!!: กิ้งก่าและขั้วโลกเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

งู

งู เป็นสัตว์เลื้อยคลานอันดับหนึ่ง ไม่มีขา ไม่มีเปลือกตา มีเกล็ดปกคลุมผิวหนังทั่วทั้งลำตัว ลักษณะลำตัวยาวซึ่งโดยขนาดของความยาวนั้น จะขึ้นอยู่กับชนิดของงู ปราดเปรียวและว่องไวในการเคลื่อนที่ มีลิ้นสองแฉกเพื่อใช้สำหรับรับความรู้สึกทางกลิ่น จัดอยู่ในชั้น Reptilia, ตระกูล Squamata, ตระกูลย่อย Serpentes โดยทั่วไปแล้วงูจะกลัวและไม่กัด นอกเสียจากถูกรบกวนหรือบุกรุก จะเลื้อยหลบหนีเมื่อมีสิ่งใดเข้ามาใกล้บริเวณที่อยู่ ออกล่าเหยื่อเมื่อรู้สึกหิว โดยกินสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กเป็นอาหาร ยกเว้นงูบางชนิดที่กินงูด้วยกันเอง เช่น งูจงอาง สามารถมองเห็นได้ดีในที่มืดและในเวลากลางคืน โดยทั่วไปจะออกลูกเป็นไข่ ยกเว้นแต่งูที่มีพิษซึ่งมีผลโดยตรงทางด้านโลหิต (วงศ์งูหางกระดิ่ง((Viperidae)) ซึ่งจะออกลูกเป็นตัว เช่น งูแมวเซา ธรรมชาติโดยทั่วไป งูจะลอกคราบเมื่อมันเริ่มโตขึ้น ทำให้ผิวหนังของงูเริ่มแข็งและคับขึ้น ซึ่งงูจะลอกคราบบ่อยครั้งเมื่องูยังมีอายุไม่มากนัก ซึ่งภายหลังจากการลอกคราบของงู จะทำให้ผิวหนังเก่าหลุดออก แต่เซลล์สีที่ทำให้งูมีสีสันยังคงอยู่ในตัวงู ทำให้เกล็ดที่ปกคลุมผิวหนัง มีสีสันสดใสรวมทั้งทำให้เคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างรวดเร็ว ปัจจุบัน มีงูถูกค้นพบแล้วประมาณ 2,700 ชนิด แต่เป็นงูไม่มีพิษประมาณ 2,300 ชนิด สำหรับในประเทศไทยมีงูจำนวนมากตามสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อการดำรงชีวิต ทั่วทุกภูมิภาพของประเทศไทยสามารถพบเห็นงูได้มากกว่า 180 ชนิด โดยเป็นงูที่มีพิษจำนวน 46 ชนิด และสามารถจำแนกงูที่มีพิษออกได้อีก 2 ประเภทคือ.

ใหม่!!: กิ้งก่าและงู · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศออสเตรเลีย

ออสเตรเลีย (Australia) หรือชื่อทางการคือ เครือรัฐออสเตรเลีย เป็นประเทศซึ่งประกอบด้วยแผ่นดินหลักของทวีปออสเตรเลีย, เกาะแทสเมเนีย และเกาะอื่น ๆ ในมหาสมุทรอินเดีย แปซิฟิก และมหาสมุทรใต้ มันเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับหกของโลกเมื่อนับพื้นที่ทั้งหมด ประเทศเพื่อนบ้านของออสเตรเลียประกอบด้วย อินโดนีเซีย ปาปัวนิวกินีและติมอร์-เลสเตทางเหนือ หมู่เกาะโซโลมอน วานูอาตู และนิวแคลิโดเนียทางตะวันออกเฉียงเหนือ และนิวซีแลนด์ทางตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเวลาอย่างน้อย 40,000 ปี ก่อนที่จะตั้งถิ่นฐานครั้งแรกของอังกฤษในศตวรรษที่ 18,Davison, Hirst and Macintyre, pp.

ใหม่!!: กิ้งก่าและประเทศออสเตรเลีย · ดูเพิ่มเติม »

แผนที่

231x231px แผนที่ คือ รูปภาพอย่างง่ายซึ่งจำลองบริเวณบริเวณหนึ่ง และมีการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น วัตถุ หรือบริเวณย่อย ๆ ที่อยู่ในบริเวณนั้น แผนที่มักเป็นรูปสองมิติซึ่งแสดงระยะห่างระหว่างจุดสองจุดในบริเวณใดบริเวณหนึ่งได้อย่างถูกต้องตามหลักเรขาคณิต ยกตัวอย่างเช่น แผนที่ทางภูมิศาสตร์ นอกจากนี้เรายังสามารถวาดแผนที่แสดงคุณสมบัติของบริเวณต่าง ๆ บนพื้นโลก เช่น ความหนาแน่นของประชากร ความสูงของพื้นที่ ดัชนีการพัฒนาของมนุษย์ในแต่ละประเทศ เป็นต้น.

ใหม่!!: กิ้งก่าและแผนที่ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

LacertiliaLizardSauriaอันดับย่อยกิ้งก่าจั๊กก่า

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »