โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สัตว์ขาปล้อง

ดัชนี สัตว์ขาปล้อง

ัตว์ขาปล้อง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Arthropoda อาร์โธรโพดา) หรือที่รู้จักกันดีและนิยมเรียกว่า อาร์โธพอด เป็นไฟลัมหลักของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ที่มีขนาดของลำตัวแบ่งเป็นส่วน ๆ 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนหัว ส่วนอกและส่วนท้อง ซึ่งสัตว์ขาปล้องบางจำพวกอาจจะมีส่วนหัวและส่วนอกที่เชื่อต่อกันเป็นส่วนเดียวกันด้วยก็ได้ จะมีเปลือกแข็งหุ้มบริเวณลำตัวสำหรับทำหน้าที่ป้องกันและช่วยพยุงร่างกายที่อ่อนนิ่มที่ซ่อนอยู่ภายใต้เปลือกแข็ง ชั้นคิวติเคิลเปลี่ยนไปตามรายละเอียดของรูปร่าง ประกอบด้วยสามชั้นคือ ชั้นผิวนอก (epicuticle) เป็นชั้นนอกที่บาง มีขี้ผึ้งเคลือบเพื่อป้องกันความชื้น ชั้นนอก (exocuticle) ประกอบด้วยไคติน และโปรตีนที่ทำให้แข็ง และชั้นใน (endocuticle) ที่ประกอบด้วยไคตินและโปรตีนที่ไม่ทำให้แข็ง ชั้นนอกและชั้นในเรียกรวมกันว่า procuticle และที่สำคัญคือช่วยพยุงให้ร่างกายของพวกสัตว์ขาปล้องมีรูปร่างที่แน่นอน.

30 ความสัมพันธ์: กระสุนพระอินทร์กั้งการสูญพันธุ์การตั้งชื่อทวินามกิ้งกือกุ้งก้ามกรามมดสัตว์สัตว์พวกกุ้งกั้งปูสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหมาจักจั่นทะเลตะขาบตั๊กแตนซิมไฟลาปอดปูม้าแมลงแมลงสาบแมงแมงมุมแมงมุมทะเลแมงดาแมงป่องไฟลัมไมโทคอนเดรียไรแดงไทรโลไบต์เชลิเซอราตาเมอโรสโทมาทา

กระสุนพระอินทร์

กระสุนพระอินทร์ (Glomerida) เป็นอันดับของกิ้งกือกระสุน พบได้ส่วนใหญ่ในซีกโลกเหนือ พวกมันมีลักษณะคล้ายคลึงกับตัวกะปิมาก และสามารถม้วนตัวเป็นก้อนกลมๆ ได้ พวกมันมี 12 ปล้องลำตัว ขา 17–19 คู่ อันดับนี้ประกอบไปด้วยสิ่งมีชีวิต 30 สกุล และ 280 ชนิดเป็นอย่างน้อย รวมทั้ง Glomeris marginata กิ้งกือกระสุนที่พบได้ทั่วไปในทวีปยุโรป หมวดหมู่:กิ้งกือ.

ใหม่!!: สัตว์ขาปล้องและกระสุนพระอินทร์ · ดูเพิ่มเติม »

กั้ง

กั้ง (Mantis shrimps, Stomatopods) คือสัตว์น้ำจำพวกหนึ่ง อาศัยอยู่ในทะเล ในไฟลัมครัสตาเซียน ในอันดับสโตมาโตโพดา (Stomatopoda) ซึ่งมีอยู่หลากหลายสกุลและหลากหลายชนิด กั้ง โดยทั่วไปมีรูปร่างคล้ายกุ้งผสมกับตั๊กแตนตำข้าว ลำตัวยาวคล้ายตะขาบ หายใจด้วยเหงือกเช่นเดียวกับกุ้ง ลำตัวมีรูปร่างแบนหรือกลม แบ่งเป็นปล้อง ๆ เปลือกที่หุ้มท่อนหัวและอกคลุมมาถึงอกปล้องที่ 5 แต่ไม่ถึงปล้องที่ 8 กรีมีลักษณะแบนราบ มีขาทั้งหมด 3 คู่ เป็นสัตว์ที่ถือกำเนิดขึ้นมาบนโลกตั้งแต่ 400 ล้านปีก่อน มักอาศัยอยู่ในทะเลโคลน หรือ บริเวณปากแม่น้ำ หรือตามแนวปะการัง และพบได้ถึงระดับความลึกกว่า 1,500 เมตร กั้งเป็นสัตว์ที่ถือกำเนิดในโลกนี้มาก่อนกุ้ง มีจุดเด่น คือ มีดวงตาขนาดใหญ่ สามารถใช้สแกนมองภาพได้ดี โดยสามารถมองเห็นภาพชัดลึกได้ดี ตาแต่ละข้างของกั้งสามารถมองเห็นได้ 3 ตา และตาแต่ละดวงมองเห็นภาพได้ 3 ภาพ และสามารถกะระยะได้ดีมากเพื่อใช้ในการล่าเหยื่อ กั้งมีแก้วตาหลายพันชิ้น และสามารถมองเห็นสีได้ในระดับที่ซับซ้อน โดยถือว่าเป็นสัตว์จำพวกหนึ่งที่มีระบบการมองเห็นภาพดีที่สุดในอาณาจักรสัตว์โลก ไม่มีก้ามหนีบ แต่มีระยางค์ส่วนอกคู่ที่ 2 มีลักษณะเป็นก้ามสับขนาดใหญ่พับได้คล้ายมีดโกน และมีซี่ฟันแหลมคมเรียงกันเป็นแถวคล้ายหวี ใช้สำหรับฆ่าเหยื่อหรือป้องกันตัว ซึ่งสามารถใช้สับน้ำให้เกิดเป็นแรงขนาดมากได้ จนอาจถึงทำร้ายสัตว์ที่มีขนาดใหญ่กว่า เช่น มนุษย์ให้ได้รับบาดเจ็บได้ กั้งถูกค้นพบแล้วกว่า 450 ชนิด ในประเทศไทยมีรายงานพบแล้วอย่างน้อย 61 ชนิด กั้งนิยมนำมารับประทานเป็นอาหารเช่นเดียวกับกุ้ง โดยปกติแล้วจะมีราคาสูงกว่ากุ้งธรรมดาหรือปู ในบางชนิดนิยมนำมาแช่กับน้ำปลารับประทานกับข้าวต้ม.

ใหม่!!: สัตว์ขาปล้องและกั้ง · ดูเพิ่มเติม »

การสูญพันธุ์

ียน นกโดโด้ ตัวอย่างของการสูญพันธุ์ยุคใกล้ การสูญพันธุ์ (Extinction) ในทางชีววิทยาและนิเวศวิทยา คือการสิ้นสุดของการดำรงอยู่ของสปีชีส์หรือของสิ่งมีชีวิต ซึ่งทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง โดยทั่วไปแล้ว ถือว่าชั่วขณะของการสูญพันธุ์คือชั่วขณะความตายของสิ่งมีชีวิตตัวสุดท้ายในสปีชีส์นั้น แม้ว่าความสามารถในการผสมพันธุ์และฟื้นตัวอาจจะสูญเสียไปแล้วก่อนหน้านั้นก็ตาม.

ใหม่!!: สัตว์ขาปล้องและการสูญพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

การตั้งชื่อทวินาม

ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม (Binomial nomenclature) เป็นระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ชื่อแต่ละชื่อในระบบนี้เรียกว่า ชื่อทวินาม (Binomial name) หรือ ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) คือชื่อที่ใช้เรียกแทนสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์ต่าง ๆ อย่างเป็นทางการ ชื่อทวินามจะเป็นภาษาละติน ประกอบด้วยคำศัพท์ 2 คำ คือ สกุล และ สปีชีส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับสิ่งมีชีวิตที่ต้องการระบุ โดยรายละเอียดปลีกย่อยอาจแตกต่างกันออกไปบ้าง.

ใหม่!!: สัตว์ขาปล้องและการตั้งชื่อทวินาม · ดูเพิ่มเติม »

กิ้งกือ

กิ้งกือ (อังกฤษ: millipede; ภาษาไทยถิ่นเหนือ: แมงแสนตี๋น) เป็นชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหลายวงศ์ มีเปลือกตัวแข็ง ลำตัวยาวแบ่งเป็นปล้อง ไม่แบ่งอกหรือท้องให้เห็น ปล้องตามลำตัวจับกันเป็นคู่ตามยาวยืดหดเข้าหากันได้ ทำให้สามารถขดตัวเป็นวงกลมได้เมื่อถูกรบกวน ปล้องแต่ละคู่จะมีขาสองคู่ ยกเว้นปล้องแรกไม่มีขา ปล้องที่สองถึงสี่มีขาเพียงคู่เดียว จำนวนขาอาจมีได้ถึงสองร้อยสี่สิบคู่ ชนิดตัวโตที่พบบ่อย ๆ อยู่ในสกุล Graphidostreptus ส่วนตัวขนาดย่อมอยู่ในสกุล Cylindroiulus ทั้งสองสกุลอยู่ในวงศ์ Julidae กิ้งกือจัดอยู่ในไฟลัมอาร์โทรโปดา (Phylum Arthropoda) ชั้นดิพโพลโปดา (Class Diplopoda) ที่มีมากถึง 10,000 สปีชีส์ทั่วโลก และคาดว่าน่าจะมีมากถึง 80,000 สปีชีส์ โดยมีประวัติยาวนานกว่า 400 ล้านปี กิ้งกือทุกชนิดมีประโยชน์ต่อระบบนิเวศ ต้นไม้ในป่าเขตร้อนอาจไม่สามารถยืนต้นได้หากไม่มีกิ้งกือ ที่ทำหน้าที่ย่อยสลายเศษซากพืช ใบไม้ ลูกไม้ ให้กลายเป็นแร่ธาตุอาหารกลับคืนสู่ธรรมชาติโดยมีจุลินทรีย์คอยช่วยเหลือ กิ้งกือทำหน้าที่นี้มายาวนานหลายล้านปี ซากพืชที่กิ้งกือกินเข้าไป ก็จะถูกถ่ายออกมาเป็นมูลก้อนเล็ก ๆ คล้ายยาลูกกลอน ที่มีทั้งจุลินทรีย์และสารอินทรีย์ที่ช่วยเพิ่มธาตุอาหารในดิน เช่นเดียวกับมูลของไส้เดือนและหอยทาก พายัพเรียก แมงแสนตีน และชื่อสามัญในภาษาอังกฤษเรียก millipede แปลว่า พันเท้.

ใหม่!!: สัตว์ขาปล้องและกิ้งกือ · ดูเพิ่มเติม »

กุ้งก้ามกราม

กุ้งก้ามกราม หรือ กุ้งก้ามคราม กุ้งน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ Palaemonidae มีเปลือกสีเขียวอมฟ้าหรือม่วง ก้ามยาวมีสีครามหรือม่วงเข้ม ตลอดทั้งก้ามมีปุ่มตะปุ่มตะป่ำ โดยธรรมชาติจะอยู่ในแม่น้ำลำคลอง แทบทุกจังหวัดในภาคกลางและภาคใต้ของประเทศไทย ในต่างประเทศพบได้ในทุกประเทศของภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก จนถึงตอนเหนือของออสเตรเลียและฟิลิปปินส์ โดยพบทั้งในน้ำจืดและน้ำกร่อย วางไข่ในน้ำกร่อยที่เค็มจัด อาหารได้แก่ ไส้เดือน, ตัวอ่อนของลูกน้ำ, ลูกไร, ลูกปลาขนาดเล็ก, ซากของสัตว์ต่าง ๆ และในบางโอกาสก็กินพวกเดียวกันเอง พบชุกชุมทำให้จับง่าย โดยเฉพาะในฤดูหนาว ด้วยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน ทำให้ปริมาณในธรรมชาติลดน้อยลง ปัจจุบันมีการเพาะเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายในจังหวัดต่าง ๆ แถบภาคกลางของไทย เช่น สุพรรณบุรี, นครปฐม, ฉะเชิงเทรา และต่างประเทศด้วย เช่น ที่สหรัฐอเมริกา เป็นต้น โดยที่กุ้งก้ามกรามชนิดที่พบในประเทศไทย ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า M. dacqueti ส่วนชนิดที่ใช้ชื่อว่า M. rosenbergii เป็นชนิดที่พบในภูมิภาคปาปัวนิวกินี แต่ปัจจุบันถือว่าเป็นชนิดเดียวกันหรือเป็นชื่อพ้อง กุ้งก้ามกรามมีความยาวประมาณ 13 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 1 ฟุต น้ำหนักราว 1 กิโลกรัม เป็นกุ้งที่ถูกใช้ปรุงเป็นอาหารได้หลากหลาย เช่น ต้มยำ, เผา หรือทอด เป็นต้น เพราะเนื้อมีมาก เนื้อแน่น มัน อร่อย ทำให้มีราคาที่ขายสูง ปัจจุบันยังนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์น้ำสวยงามด้วย กุ้งก้ามกรามมีชื่อเรียกที่ต่างออกไปมากมาย เช่น "กุ้งแม่น้ำ", "กุ้งหลวง" ขณะที่กุ้งตัวเมียที่มีขนาดลำตัวเล็กกว่า เรียก "กุ้งนาง" เป็นต้น.

ใหม่!!: สัตว์ขาปล้องและกุ้งก้ามกราม · ดูเพิ่มเติม »

มด

มด เป็นมดในมด Formicidae อันดับ Hymenoptera มดมีการสร้างรังเป็นอาณาจักรขนาดใหญ่ บางรังมีจำนวนประชากรมากถึงล้านตัว มีการแบ่งวรรณะกันทำหน้าที่คือ วรรณะมดงาน เป็นมดเพศเมียเป็นหมัน ทำหน้าที่หาอาหาร สร้างและซ่อมแซมรัง ปกป้องรังจากศัตรู ดูแลตัวอ่อน และงานอื่น ๆ ทั่วไป เป็นวรรณะที่พบได้มากที่สุด วรรณะสืบพันธุ์ เป็นมดเพศผู้ และราชินี เพศเมีย มีหน้าที่สืบพันธุ์ เนื่องจากมดเป็นสัตว์ในวงศ์ Formicidae จึงสามารถผลิตกรดมดหรือกรดฟอร์มิกได้เป็นลักษณะเฉพาะของสัตว์ในวงศ์นี้.

ใหม่!!: สัตว์ขาปล้องและมด · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: สัตว์ขาปล้องและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์พวกกุ้งกั้งปู

รัสเตเชียน หรือ กุ้ง-กั้ง-ปู เป็นไฟลัมย่อยของสัตว์ขาปล้อง ประกอบด้วยพวกกุ้ง กั้ง และปู สัตว์ในกลุ่มนี้มีระยางค์ 5 คู่ แต่ละคู่มี 2 ก้าน ส่วนท้ายมีระยางค์อีก 8 คู่ ตาประกอบเป็นก้าน มีขนแข็งทั่วตัวใช้รับสัมผัส ระบบสืบพันธุ์แยกเพศกัน ปฏิสนธิภายใน ตัวอ่อนลอกคราบหลายครั้งจนกว่าจะเป็นตัวเต็มวัย แบ่งย่อยเป็น.

ใหม่!!: สัตว์ขาปล้องและสัตว์พวกกุ้งกั้งปู · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

Invertebrata สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง (Invertebrates) หมายความรวมถึงสัตว์ที่ไม่มีแท่งกระดูกสันหลังสำหรับยึดติดให้เป็นส่วนเดียวกันของร่างกาย จัดเป็นสัตว์ประเภทที่ไม่มีกระดูก และไม่มีกระดูกอ่อนอยู่ภายในร่างกาย มีความแตกต่างจากสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง ที่ทั้งหมดถูกจัดอยู่ในไฟลัมเดียวในอาณาจักรสัตว์ แต่สำหรับสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง มีจำนวนมากมายหลากหลายไฟลัม และมีจำนวนมากกว่าสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังมากที่สุดในโลกบพิธ - นันทพร จารุพันธุ์, สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เล่ม 1, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2545 หน้า 1 สัตว์จำพวกไม่มีกระดูกสันหลังมีจำนวนมากว่าสัตว์พวกมีกระดูกสันหลัง แบ่งเป็น.

ใหม่!!: สัตว์ขาปล้องและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

หมา

หมา หรือคำสุภาพว่า สุนัข (ชื่อวิทยาศาสตร์: malie suimak หรือ Canis familiaris)Wang, Xiaoming; Tedford, Richard H.; Dogs: Their Fossil Relatives and Evolutionary History.

ใหม่!!: สัตว์ขาปล้องและหมา · ดูเพิ่มเติม »

จักจั่นทะเล

ักจั่นทะเล (Mole crab, Sand crab) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จำพวกอาร์โธพอด ในไฟลัมย่อยครัสตาเชียน อันดับฐานปูไม่แท้ โดยใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hippoidea จักจั่นทะเล เป็นสัตว์ที่มีรูปร่างคล้ายกับจักจั่นที่เป็นแมลง ตัวขนาดเท่าแมลงทับ แต่อาศัยอยู่ในทะเลอันเป็นที่มาของชื่อสามัญ ซึ่งตามพจนานุกรมฉบับ เปลื้อง ณ นคร ได้อธิบายไว้ว่า จักจั่นทะเล ขนาดเท่านิ้วหัวแม่โป้ง มีกระดองแข็งคล้ายปู มีขาทั้งหมด 5 คู่ แต่ส่วนของขาว่ายน้ำไม่ได้ใช้ว่ายน้ำ แต่ใช้ในการพยุงรักษาไข่เหมือนปูมากกว่า ส่วนหัวมีกรี แต่ไม่แข็งเหมือนกุ้ง ไม่มีก้ามหนีบ เป็นสัตว์ที่กินแพลงก์ตอน, สัตว์น้ำขนาดเล็ก และพืชน้ำจำพวกสาหร่ายที่ลอยมากับกระแสน้ำเป็นอาหาร โดยปกติแล้วจะอาศัยอยู่ในพื้นทรายที่ใกล้ชายฝั่งทะเลทั่วโลก เมื่อพบกับศัตรูผู้รุกรานจะมุดตัวลงใต้ทรายอย่างรวดเร็ว โดยโผล่มาแค่ก้านตา จะมีร่องรอยที่มุดลงทรายเป็นรูปตัวยู (U) หรือตัววี (V) มีพฤติกรรมการขยายพันธุ์ ด้วยการที่ตัวผู้จะฉีดน้ำเชื้อเข้าไปผสมกับไข่ของตัวเมีย ที่เกาะอยู่ใต้ท้องเหมือนกับสัตว์จำพวกอื่นในไฟลัมย่อยครัสตาเชียนเหมือนกัน โดยวางไข่ใต้พื้นทรายลึกลงไปริมชายหาด เมื่อฟักเป็นตัวอ่อนก็ถูกกระแสคลื่นน้ำพัดพาออกไปใช้ชีวิตเบื้องต้นเหมือนแพลงก์ตอน จากนั้นเมื่อเจริญเติบโตขึ้นก็ถูกกระแสน้ำพัดกลับเข้าฝั่งเป็นวงจรชีวิต จักจั่นทะเลตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้มาก โดยตัวผู้จะมีขนาดใหญ่ประมาณ 10 มิลลิเมตรเท่านั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 วงศ์ ด้วยกัน ได้แก่;Albuneidae Stimpson, 1858.

ใหม่!!: สัตว์ขาปล้องและจักจั่นทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ตะขาบ

ตะขาบ (อังกฤษ: Centipedes; พายัพ: จักขาบ; อีสาน: ขี้เข็บ) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่อยู่ในชั้น Chilopoda จัดอยู่ในไฟลัมอาร์โธรพอด เป็นสัตว์ขาข้อที่พบได้ในเขตร้อนชื้น อาศัยอยู่บนบก มีหลายขนาด ส่วนใหญ่ความยาวของลำตัวตั้งแต่ 3-8 เซนติเมตร (ขนาดใหญ่ที่สุดคือชนิด Scolopendra heros มีความยาว 8-10 นิ้ว) ลำตัวแบนราบ มีปล้อง 15-100 ปล้อง แต่ละปล้องมีขา 1 คู่ ส่วนหัวแยกจากลำตัวชัดเจน มีหนวด 1 คู่ และเขี้ยวพิษ 1 คู่ ซึ่งดัดแปลงมาจากปล้องแรกของลำตัว เขี้ยวพิษเชื่อมต่อกับต่อมพิษ เมื่อกัดเหยื่อจะปล่อยพิษออกมา ทำให้เหยื่อเจ็บปวดและเป็นอัมพาต เมื่อถูกตะขาบกัดจะพบรอยเขี้ยวสองรอย ลักษณะเป็นจุดเลือดออกตรงบริเวณที่ถูกกัด ตะขาบวางไข่ในที่ชื้นหรือต้นพืช ต้นหญ้า ใช้เวลาในการเจริญเติบโตนานโดยลอกคราบ 10 ครั้ง ตัวเต็มวัยมีอายุ 3-5 ปี ในเวลากลางวันจะซ่อนอยู่ในที่เย็นๆ เช่น ใต้ก้อนหิน ออกหาเหยื่อในเวลากลางคืน กินแมลงเป็นอาหาร ในประเทศไทย พบทั้งหมด 48 ชนิด (ค.ศ. 2017).

ใหม่!!: สัตว์ขาปล้องและตะขาบ · ดูเพิ่มเติม »

ตั๊กแตน

อวัยวะสืบพันธุ์ของตั๊กแตน ภาพของ ''Coryphistes ruricola'' ที่คล้ายตั๊กแตน ตั๊กแตน (Grasshopper) จัดอยู่ในไฟลัมอาร์โธรพอ.

ใหม่!!: สัตว์ขาปล้องและตั๊กแตน · ดูเพิ่มเติม »

ซิมไฟลา

ซิมไฟลา (Class Symphyla) เป็นชั้นหนึ่งของไฟลัมอาร์โธรโพดา หมวดหมู่:สัตว์ขาปล้อง.

ใหม่!!: สัตว์ขาปล้องและซิมไฟลา · ดูเพิ่มเติม »

ปอด

ปอด คำว่าปอดในภาษาอังกฤษ ใช้คำว่า lung ในทางการแพทย์สิ่งที่เกี่ยวกับปอดใช้คำว่า Pulmonary นำหน้าสิ่งนั้น ๆ ในมนุษย์นั้นมีปอดอยู่ในทรวงอก มีสองข้าง คือขวาและซ้าย ปอดมีลักษณะนิ่ม ร่างกายจึงมีกระดูกซี่โครงคอยปกป้องปอดไว้อีกชั้นหนึ่ง ปอดแต่ละข้างจะมีถุงบาง ๆ 2 ชั้นหุ้มอยู่ เรียกว่า เยื่อหุ้มปอด เยื่อหุ้มปอดที่เป็นถุงบาง ๆ 2 ชั้นนี้เรียกว่า เยื่อหุ้มปอดชั้นในและ เยื่อหุ้มปอดชั้นนอก เยื่อหุ้มปอดชั้นในจะแนบติดไปกับผิวของปอด ส่วนเยื่อหุ้มปอดชั้นนอกจะแนบติดไปกับช่องทรวงอก ระหว่างเยื่อหุ้มปอด 2 ชั้นบางๆนี้จะมีช่องว่าง เรียกว่า ช่องเยื่อหุ้มปอด ในช่องเยื่อหุ้มปอดจะมีของเหลวคอยหล่อลื่นอยู่ เรียกว่า ของเหลวเยื่อหุ้มปอด ของเหลวนี้จะช่วยให้เยื่อหุ้มปอดแต่ละชั้นสไลด์ไปมาระหว่างกันได้โดยไม่เสียดสีกัน และของเหลวเยื่อหุ้มปอดก็ยังช่วยยึดเยื่อหุ้มปอดทั้งสองชั้นไว้ไม่ให้แยกจากกันโดยง่าย ปอดข้างซ้ายนั้นมีขนาดเล็กกว่าปอดข้างขวา เพราะปอดข้างซ้ายต้องเว้นที่เอาไว้ให้หัวใจอยู่ในทรวงอกด้วยกันด้ว.

ใหม่!!: สัตว์ขาปล้องและปอด · ดูเพิ่มเติม »

ปูม้า

ปูม้า (Flower crab, Blue crab, Blue swimmer crab, Blue manna crab, Sand crab) จัดเป็นปูที่อาศัยอยู่ในทะเลชนิดหนึ่ง ที่อยู่ในสกุล Portunus ซึ่งพบทั้งหมด 90 ชนิดทั่วโลก และพบในน่านน้ำไทยราว 19 ชน.

ใหม่!!: สัตว์ขาปล้องและปูม้า · ดูเพิ่มเติม »

แมลง

แมลง (Insect) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จัดอยู่ในไฟลัมอาร์โทรโพดา จำแนกออกเป็นไฟลัมต่าง ๆ ได้ 13 กลุ่ม มีลักษณะสำคัญคือมีลำตัวเป็นปล้องคล้อง ซึ่งอาจแบ่งเป็น 2 หรือ 3 ส่วน สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ลำตัวทั้งสองด้านซ้ายขวามีความเหมือนและมีขนาดเท่ากัน มีเปลือกห่อหุ้มลำตัวด้วยสารไคติน (Chitinous Exoskeleton) ไม่มีขน หายใจแบบใช้เหงือกหรือใช้รูหายใจ มีวัฎจักรวงจรชีวิตในการเจริญเติบโตแบบไข่ มีการลอกคราบเป็นบางครั้งแล้วสร้างผนังหรือเปลือกห่อหุ้มลำตัวใหม่ มีรยางค์เป็นคู่และเป็นปล้อง ส่วนใหญ่นักกีฏวิทยามักใช้รยางค์ในการแบ่งเพศผู้เพศเมียของแมลง มีอวัยวะภายในที่มีท่อทางเดินอาหารเป็นท่อยาวตลอดจากปากไปถึงทวารหนัก ระบบเลือดเป็นแบบเปิดและมีท่อเลือดอยู่ทางด้านสันหลังเหนือระบบทางเดินอาหาร มีระบบประสาทที่ประกอบไปด้วยสมองอยู่เหนือท่ออาหาร มีเส้นประสาทขนาดใหญ่หนึ่งคู่เชื่อมต่อจากสมอง มีการรวมตัวเป็นระยะก่อเกิดเป็นปมประสาท เส้นประสาทขนาดใหญ่ของแมลง จะอยู่ทางด้านล่างของลำตัวใต้ท่ออาหาร มีกล้ามเนื้อแบบเรียบอยู่ตามลำตัวบทปฏิบัติการกีฎวิทยาเบื้องต้น, ภาควิชากีฎวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ร. ดร.สาวิตรี มาไลยพันธุ์, สำนักพิมพ์รั้วเขียว,..

ใหม่!!: สัตว์ขาปล้องและแมลง · ดูเพิ่มเติม »

แมลงสาบ

แมลงสาบ (Cockroachs) เป็นแมลงที่อยู่ในอันดับ Blattodea หรือ Blattaria จัดเป็นแมลงที่มีวงจรชีวิตไม่สมบูรณ์ คือ ไม่เป็นตัวหนอนและดักแด้ ปัจจุบันเป็นแมลงที่พบกระจายไปแล้วทั่วโลก โดยติดไปกับยานพาหนะต่าง ๆ พบได้ถึงขนาดบนเครื่องบินโดยสาร ถือเป็นสัตว์ที่เป็นพาหะนำโร.

ใหม่!!: สัตว์ขาปล้องและแมลงสาบ · ดูเพิ่มเติม »

แมง

แมง (arachnid) เป็นชื่อเรียกสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในกลุ่มของสัตว์ขาปล้อง ชื่อในภาษาอังกฤษมีรากศัพท์มาจากสตรีนามว่าอะแรกนีในเทพปกรณัมกรีก ร่างกายของแมงเมื่อโตเต็มที่แบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ หัวกับอกรวมกันเป็นส่วนหนึ่งและท้องอีกส่วนหนึ่ง การแยกแยะระหว่างแมงกับแมลง คือ แมงมี 8 หรือ 10 ขา ส่วนแมลงมี 6 ขา นอกจากนี้แมงยังไม่มีหนวดและปีกอีกด้วยซึ่งต่างจากแมลงที่มีหนวดและส่วนใหญ่มีปีก แมงมีความยาวของลำตัวตั้งแต่ 0.08 มิลลิเมตร ถึง 21 เซนติเมตร ตัวอย่างของสัตว์ประเภทแมง ได้แก่ แมงมุม แมงป่อง แมงดาทะเล เห็บ และไร เป็นต้น.

ใหม่!!: สัตว์ขาปล้องและแมง · ดูเพิ่มเติม »

แมงมุม

แมงมุม จัดเป็นสิ่งมีชีวิตพวกสัตว์ขาปล้อง หรืออาร์โธพอด เช่นเดียวกับแมลง, กิ้งกือ, ปู เป็นต้น จัดอยู่ในอันดับ Araneae (/อา-รัค-เน/) มีรูปทรง ลักษณะ และขนาดแตกต่างหลากหลายกันออกไป บางชนิดมีลำตัวที่กว้างมาก บางชนิดมีรูปร่างที่เพรียวยาว ขณะที่บางชนิดกลับมีรูปร่างที่คล้ายกับสัตว์หรือสิ่งมีชีวิตประเภทอื่น เช่น มด หรือปู เพื่อใช้ในการพรางตัว โดยแมงมุมนั้นถูกค้นพบแล้วกว่า 40,000 ชนิด และก็ยังมีชนิดใหม่ ๆ ถูกค้นพบเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ประเมินว่าจำนวนที่ถูกค้นพบนี้เป็นเพียงแค่ครึ่งเดียวของทั้งหมดที่มีเท่านั้น โดยแมงมุมขนาดเล็กที่สุด พบที่โคลัมเบีย ในทวีปอเมริกาใต้ มีความยาวเพียง 0.4 มิลลิเมตรเท่านั้น และที่ชนิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ แมงมุมกินนกโกไลแอท มีความยาวลำตัว 12–13 เซนติเมตร หรือขนาด 25–33 เซนติเมตรเลยทีเดียว แมงมุมพบได้ในแทบทุกภูมิภาคของโลก ไม่เว้นแม้กระทั่งในทะเลทรายที่แห้งแล้งและร้อนอบอ้าว หรือในถ้ำลึก หรือภูเขาสูง หรือในน้ำ แต่ทั้งหมดเป็นสัตว์กินเนื้อ แมงมุมกินอาหารจำพวก เพลี้ยอ่อน, ตัวหนอน, ผีเสื้อ, แมลงวัน, ยุง, ปลวก, ด้วง, มด เป็นตัน จึงมีความสำคัญในระบบนิเวศทางการเกษตร และระบบนิเวศทั่วไป โดยส่วนใหญ่เมื่อจะล่าเหยื่อจะสร้างใยเพื่อเป็นรังอาศัย และดักเหยื่อ ในขณะที่บางชนิดไม่สร้างใยก็มี ซึ่งก็จะมีการใช้เส้นใยที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละชนิด ขึ้นอยู่กับรูปแบบการอยู่อาศัยของแมงมุมในแต่ละชนิดในพื้นที่นั้น.

ใหม่!!: สัตว์ขาปล้องและแมงมุม · ดูเพิ่มเติม »

แมงมุมทะเล

แมงมุมทะเล (Sea spiders) หรือ พีคโนโกนิดา เป็นสัตว์ทะเลไม่มีแกนสันหลังที่ในไฟลัมอาร์โธพอด จัดอยู่ในชั้น Pycnogonida และอันดับ Pantopoda แมงมุมทะเล เป็นสัตว์ที่มีรูปร่างคล้ายกับแมงมุม ที่เป็นอาร์โธพอดจำพวกแมงที่อยู่บนพื้นผิวโลก แต่ทั้งสองมิได้เกี่ยวเนื่องอะไรกันเลยนอกจากจะอยู่ในไฟลัมเดียวกัน แมงมุมทะเลมีลักษณะเด่น คือ ส่วนขาที่ยาวที่อาจยาวได้ถึง 25 เซนติเมตร เป็นสัตว์นักล่าที่โดยดูดกินเนื้อเยื่อสัตว์อื่นเป็นอาหาร ที่อาศัยที่พื้นทะเล พบได้ในทะเลต่าง ๆ เช่น ทะเลเมดิเตอเรเนียนและทะเลแคริบเบียน รวมถึงมหาสมุทรอาร์กติก แต่พบมากที่มหาสมุทรแอนตาร์กติก โดยที่มหาสมุทรแอนตาร์กติกนั้นจะมีขนาดใหญ่กว่าที่พบในที่อื่น แมงมุมทะเลเป็นสัตว์ที่มีอัตราการเต้นของหัวใจต่ำและเบามาก โดยระบบการไหลเวียนของเลือดจะอยู่ช่วงล่างของลำตัว ขณะที่ลำไส้ที่เป็นท่อลงไปและช่วงขาที่มีความแข็งแรง ลักษณะการเดินของแมงมุมทะเล เป็นไปในลักษณะขึ้น ๆ ลง ๆ เรียกว่า เพอริสทอลซิส (Peristalsis) คือ กระบวนการที่กล้ามเนื้อบีบรัดและคลายตัวอย่างมีจังหวะ เป็นกระบวนการเช่นเดียวกับการย่อยอาหารในกระเพาะอาหารไปจนถึงลำไส้ของมนุษย์ หากแต่กระบวนนี้ในแมงมุมทะเลอยู่ไกลกว่าจะเป็นที่ต้องการสำหรับการย่อยอาหาร เพราะต้องได้รับออกซิเจนเพียงพอในร่างกายด้ว.

ใหม่!!: สัตว์ขาปล้องและแมงมุมทะเล · ดูเพิ่มเติม »

แมงดา

การผสมพันธุ์ของแมงดา แมงดา หรือที่บางครั้งเรียกว่า แมงดาทะเล จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในไฟลัมอาร์โธรพอด โดยที่ไม่ใช่ครัสเตเชียน แต่เป็นเมอโรสโทมาทา อยู่ในอันดับ Xiphosura และวงศ์ Limulidae.

ใหม่!!: สัตว์ขาปล้องและแมงดา · ดูเพิ่มเติม »

แมงป่อง

แมงป่อง (ภาษาไทยถิ่นอีสาน: แมงงอด; ภาษาไทยถิ่นเหนือ: แมงเวา) จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จำพวกสัตว์ขาปล้อง เป็นสัตว์มีมาตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ ซึ่งมีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของแมงป่องที่มีอายุถึง 440 ล้านปี ตั้งแต่ยุคซิลลูเรียน เช่น Archaeobuthus estephani หรือ Protoischnurus axelrodorum http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name.

ใหม่!!: สัตว์ขาปล้องและแมงป่อง · ดูเพิ่มเติม »

ไฟลัม

ฟลัม (phylum) เป็นขั้นอนุกรมวิธานขั้นหนึ่งในการจำแนกสัตว์ในทางวิทยาศาสตร์ (ในทางพืชนิยมใช้คำว่า ส่วน แทนไฟลัม ไฟลัมถือเป็นการจัดกลุ่มในขั้นสูงที่สุดแยกตามสายวิวัฒนาการ แต่บางครั้งก็มีการรวมไฟลัมเป็นไฟลัมใหญ่ (superphylum) อีกทีหนึ่ง เช่น สัตว์ที่มีการลอกคราบในการเจริญเติบโต (Echdysozoa) ประกอบด้วยสัตว์มีเปลือกแข็งและหนอนตัวกลม และ สัตว์ที่มีช่องปากเกิดภายหลังช่องทวาร (Deuterostomia) ประกอบด้วยปลาดาวและสัตว์มีแกนสันหลัง ไฟลัมของสัตว์ที่รู้จักกันมากที่สุด ได้แก่ มอลลัสกา, ฟองน้ำ, ไนดาเรีย, หนอนตัวแบน, นีมาโทดา, หนอนปล้อง, สัตว์ขาปล้อง, เอคคิโนเดอร์มาทา และสัตว์มีแกนสันหลัง (ซึ่งมนุษย์อยู่ในไฟลัมนี้) ถึงแม้ว่าจะมีไฟลัมทั้งหมดประมาณ 35 ไฟล่า (หน่วยของไฟลัม) ไฟลัมที่กล่าวทั้ง 9 ตัวนี้ครอบคลุมสปีชีส์ส่วนใหญ่ และทุกไฟลัมยกเว้นหนอนกำมะหยี่ ต่างก็มีสมาชิกอาศัยในมหาสมุทร.

ใหม่!!: สัตว์ขาปล้องและไฟลัม · ดูเพิ่มเติม »

ไมโทคอนเดรีย

รงสร้างของไมโทคอนเดรีย ไมโทคอนเดรียน หรือมักเรียกว่า ไมโทคอนเดรีย (mitochondrion, พหูพจน์: mitochondria) ทำหน้าที่เป็นแหล่งพลังงานของเซลล์ ถูกค้นพบครั้งแรกโดย คอลลิกเกอร์ ส่วนใหญ่มีรูปร่างกลมท่อนสั้น คล้ายไส้กรอก ยาว 5-7 ไมครอน มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.2-1 ไมครอน ประกอบไปด้วยโปรตีน 60-65% ลิพิด 35-40% มีเยื่อหุ้มสองชั้น (double unit membrane) ชั้นนอกเรียบหนา 60-80 อังสตรอม เยื่อชั้นในพับเข้าไปเป็นรอยหยักเรียก คริสตี้ (cristae) หนา 60-80 อังสตรอม ภายในบรรจุของเหลวประกอบไปด้วยสารหลายชนิดเรียก แมทริกซ์ (matrix) ภายในไมโทคอนเดรียสามารถพบ DNA ได้เช่นเดียวกับในนิวเคลียสและคลอโรพลาสต์ โดยเรียกว่า mtDNAhttp://www.mitochondrial.net/ มีการสันนิษฐานว่าไมโทคอนเดรียนั้นมีวิวัฒนาการร่วมกันกับเซลล์ยูคาริโอตมานานแล้ว โดยเริ่มแรกนั้นเซลล์สิ่งมีชีวิตชั้นสูงอาจไปกินเซลล์ที่มีขนาดเล็กกว่าเข้าไป ในเซลล์มนุษย์ DNA ภายในไมโทคอนเดรียมีลักษณะเป็นวงกลม โดยมียีนที่สร้างโปรตีนได้เพียงไม่กี่สิบยีนเท่านั้นมหัศจรรย์ดีเอ็นเอ.

ใหม่!!: สัตว์ขาปล้องและไมโทคอนเดรีย · ดูเพิ่มเติม »

ไรแดง

ทความนี้หมายถึงไรที่เป็นสัตว์น้ำ หากไรที่เป็นแมง ดูที่: ไร ไรแดง หรือ ไรน้ำจืด หรือ ลูกไร เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจำพวกครัสเตเชียนสกุลหนึ่ง โดยอยู่ในสกุล Moina ถือเป็นแพลงก์ตอนสัตว์อย่างหนึ่ง อาศัยอยู่ทั่วไปในแหล่งน้ำจืด มีขนาดโดยทั่วไป 0.4–1.8 มิลลิเมตร ลำตัวมีสีแดงเรื่อ ๆ ถ้าอยู่รวมกันเป็นจำนวนมากจะมองเห็นเป็นกลุ่มสีแดงเข้ม ตัวผู้จะมีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย ลำตัวอ้วนเกือบกลมมีขนาดโดยเฉลี่ย 1.3 มิลลิเมตร ขณะที่ตัวผู้มีขนาดเล็กและค่อนข้างยาวกว่า มีขนาดเฉลี่ย 0.5 มิลลิเมตร ตัวอ่อนของไรแดงเมื่ออกมาจากไข่ใหม่ ๆ จะมีขนาด 0.22–0.35 มิลลิเมตร มีสีจางกว่าตัวเต็มวัย ไรแดงนิยมให้เป็นอาหารปลาทั้งปลาสวยงาม และปลาเศรษฐกิจ โดยเป็นอาหารที่เหมาะมากสำหรับลูกปลาวัยอ่อน และเป็นอาหารถ่ายท้องแก้ปัญหาท้องผูกของปลา คุณค่าทางสารอาหารของไรแดง ประกอบไปด้วย โปรตีนร้อยละ 74.09, คาร์โบไฮเดรตร้อยละ 12.50, ไขมันร้อยละ 10.19 และเถ้าร้อยละ 3.47 ปัจจุบันมีการเพาะขยายพันธุ์ไรแดงเป็นสัตว์เศรษฐกิจเพื่อส่งขายเป็นอาหารปลาทั่วไป.

ใหม่!!: สัตว์ขาปล้องและไรแดง · ดูเพิ่มเติม »

ไทรโลไบต์

ทรโลไบต์ (Trilobite; สามพู) เป็นสัตว์ทะเลที่มีรยางค์เป็นข้อปล้องในไฟลัมอาร์โธรโพดา ในชั้น “ไทรโลไบตา” เริ่มปรากฏครั้งแรกในยุคแคมเบรียนตอนต้นและชุกชุมในมหายุคพาลีโอโซอิกตอนต้นก่อนที่จะเริ่มต้นลดจำนวนลงและสูญพันธุ์ไปในที่สุด โดยระหว่างช่วงเหตุการณ์การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ในช่วงยุคดีโวเนียนตอนปลายไทรโลไบต์ทุกอันดับได้สูญพันธุ์ไปยกเว้นแต่เพียงอันดับพรีเอตทิดา และไทรโลไบต์ก็ได้สูญสิ้นเผ่าพันธุ์ไปทั้งหมดเมื่อสิ้นยุคเพอร์เมียนประมาณ 250 ล้านปีมาแล้ว ไทรโลไบต์เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่เป็นที่รู้จักกันกว้างขวางและอาจจะเป็นซากดึกดำบรรพ์ที่มีชื่อเสียงเป็นอันดับสองรองจากไดโนเสาร์ เมื่อไทรโลไบต์ได้ปรากฏขึ้นครั้งแรกในช่วงต้นของยุคแคมเบรียนก็เกิดการแตกแขนงเผ่าพันธุ์อย่างรวดเร็วและแผ่ขยายแพร่พันธุ์ไปกว้างขวาง เนื่องด้วยความหลากหลายในสายพันธุ์และมีเปลือกกระดองที่ง่ายต่อการกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์จึงได้พบเป็นซากดึกดำบรรพ์ได้มากกว่า 17,000 ชนิดในช่วงตลอดมหายุคพาลีโอโซอิก ไทรโลไบต์มีความสำคัญในการวิจัยทางด้านการลำดับชั้นหินทางชีวภาพ บรรพชีวินวิทยา และเพลทเทคโทนิก ไทรโลไบต์ถูกจัดให้อยู่ในไฟลัมอาร์โธรโพดา ไฟลัมย่อยชีสโซราเมีย อยู่ในเหนือชั้นอะราชโนมอร์ฟา (เทียบเคียงได้กับ อะราชนาต้า) แต่ก็พบว่ามีผู้จัดจำแนกที่แตกต่างไปจากนี้ ไทรโลไบต์ต่างชนิดกันก็มีรูปแบบการดำรงชีวิตที่แตกต่างกันไป บางกลุ่มก็อาศัยอยู่ตามพื้นท้องทะเล อาจเป็นนักล่า กินของเน่า หรือดูดกรองอาหารจากน้ำทะเล บางกลุ่มก็ดำรงชีวิตด้วยการว่ายน้ำและกินแพลงตอนเป็นอาหาร การดำรงชีวิตทั้งหลายก็จะคล้ายกับสัตว์ทะเลปัจจุบันที่อยู่ในไฟลั่มนี้ทั้งหลายยกเว้นไม่เป็นพวกพาราสิต ไทรโลไบต์บางกลุ่ม (โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกที่อยู่ในวงศ์โอลีนิดา) ถูกเข้าใจว่าได้วิวัฒนาการมีความสัมพันธ์แบบซิมไบโอติกกับแบคทีเรียที่กินกำมะถันจากอาหารที่ตนได้รับม.

ใหม่!!: สัตว์ขาปล้องและไทรโลไบต์ · ดูเพิ่มเติม »

เชลิเซอราตา

ฟลัมย่อยเชลิเซอราตา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Chelicerata) หรือ เชลิเซอเรต (Chelicerate) เป็นไฟลัมย่อยของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในไฟลัมอาร์โธพอดา (Arthropoda) หรือ อาร์โธพอด ถือกำเนิดมาแล้วกว่า 600 ล้านปี ลักษณะโดยรวมของสัตว์ในไฟลัมย่อยนี้คือ ไม่มีกราม และไม่มีหนวด ลำตัวแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ เซฟาโลทอแรกซ์ และส่วนท้อง เซฟาโลทอแรกซ์เป็นส่วนที่รวมส่วนหัวและส่วนอกเข้าไว้ด้วยกัน โดยมีเปลือกแข็งชิ้นเดียวคลุมอยู่เรียก คาราเพช ระยางค์ทั้ง 6 คู่ ประกอบด้วยระยางคู่แรกเป็นระยางค์หนีบ ระยางค์คู่ที่ 2 คือ เพดิพาลพ์ ช่วยในการฉีกอาหาร ระยางค์อีก 4 คู่ เป็นขาเกิน ส่วนท้องไม่มีระยางค์ แบ่งออกเป็น 2 ชั้น ได้แก.

ใหม่!!: สัตว์ขาปล้องและเชลิเซอราตา · ดูเพิ่มเติม »

เมอโรสโทมาทา

มอโรสโทมาทา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Merostomata) จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไฟลัมอาร์โธรโพดา ชั้นย่อยเชลิเซอราตา เป็นสัตว์น้ำที่แบ่งออกได้เป็น 2 อันดับ ได้แก่ Eurypterida หรือ แมงป่องทะเล ซึ่งสูญพันธุ์ไปแล้ว กับ Xiphosura หรือ แมงดาทะเล ที่ยังคงสืบเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน โดยเมอโรสโมมาทาได้พัฒนาแยกออกมาจากอาร์โธรโพดาเมื่อกว่า 480 ล้านปีมาแล้ว แมงดาทะเล ในปัจจุบันเหลือเพียง 5 ชนิด จัดว่าเป็นเซริเชอราตาที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีความยาวถึง 60 เซนติเมตร ที่พบเป็นฟอสซิลยาวถึง 2 เมตร ด้านหลังของคาราเพชมีตาประกอบ 1 คู่ ด้านล่างของเซฟาโรทอแรกซ์เป็นที่ตั้งของระยางค์ทั้ง 6 คู่ โดยระยางค์ขา 3 คู่ มีลักษณะเป็นก้ามหนีบ ยกเว้นขาคู่สุดท้ายใช้ในการกวาดโคลน ทราย ปล้องส่วนท้องจะรวมกัน ด้านท้ายสุดจะยื่นยาวออกเป็นหาง ด้านล่างของส่วนท้องเป็นที่ตั้งของเหงือก 5 คู่ และมีแผ่นปิดเหงือก แมงดาทะเลเป็นสัตว์ที่ไม่เป็นอันตราย จะใช้ระยางค์ขาคู่สุดท้ายดันขุดดินไปด้านหลังเพื่อฝังตัวลงในโคลนหรือทราย การดำรงชีวิตเป็นทั้งกินพืชและกินซาก รวมทั้งสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีลำตัวอ่อนนุ่ม.

ใหม่!!: สัตว์ขาปล้องและเมอโรสโทมาทา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ArthropodArthropodaอาร์โธรพอดอาร์โธรพอดาอาร์โธรโพดาอาร์โธพอดอาร์โทรพอดอาร์โทรโพดาอาโทรโพดาพวกสัตว์มีขาเป็นข้อเป็นปล้องไฟลัมสัตว์ขาปล้อง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »