โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กระดูกอัลนา

ดัชนี กระดูกอัลนา

ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ กระดูกอัลนา (Ulna) หรือ กระดูกปลายแขนด้านนิ้วก้อย เป็นหนึ่งในสองกระดูกที่เป็นแกนหลักของส่วนปลายแขนซึ่งเชื่อมต่อระหว่างข้อต่อที่สำคัญของรยางค์บน คือข้อศอก (elbow) และข้อมือ (wrist) และขนานไปกับกระดูกเรเดียส และเชื่อมกันโดยเอ็นเยื่อระหว่างกระดูก (interosseous membrane) เช่นเดียวกับกระดูกเรเดียส กระดูกอัลนาเป็นจุดเกาะที่สำคัญของกล้ามเนื้อและเอ็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของปลายแขนและมือ.

32 ความสัมพันธ์: กระดูกต้นแขนกระดูกเรเดียสกล้ามเนื้อสุพิเนเตอร์กล้ามเนื้อแอบดักเตอร์ พอลิซิส ลองกัสกล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ ควอดราตัสกล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ เทเรสกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ พอลิซิส ลองกัสกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม โปรฟันดัสกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริสกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส ลองกัสกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ อินดิซิสกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริสกายวิภาคศาสตร์มนุษย์มือรยางค์บนรอยเว้าอัลนารอยเว้าเรเดียสรอยเว้าเซมิลูนาร์ส่วนกลางของกระดูกอัลนาส่วนต้นของกระดูกอัลนาส่วนปลายของกระดูกอัลนาสไตลอยด์ โพรเซสของกระดูกอัลนาข้อศอกข้อต่อปลายแขนปุ่มหัวกระดูกอัลนาแอ่งโอเลครานอนแอ่งโคโรนอยด์โอเลครานอน โพรเซสโทรเคลียร์โคโรนอยด์ โพรเซสเอ็นเยื่อระหว่างกระดูกของปลายแขน

กระดูกต้นแขน

ในกายวิภาคศาสตร์ กระดูกต้นแขน (Humerus) เป็นกระดูกแบบยาวที่เป็นแกนของส่วนต้นแขน (Arm) หรือต้นขาหน้าในสัตว์สี่เท้า กระดูกต้นแขนจะอยู่ระหว่างกระดูกสะบัก (scapula) ที่อยู่ในบริเวณไหล่ กับกระดูกของส่วนปลายแขน (forearm) คือกระดูกเรเดียส (Radius) และกระดูกอัลนา (Ulna) พื้นผิวด้านต่างๆของกระดูกต้นแขนยังเป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อจากบริเวณต่างๆที่ช่วยในการเคลื่อนไหวของแขนอีกด้ว.

ใหม่!!: กระดูกอัลนาและกระดูกต้นแขน · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกเรเดียส

ในกายวิภาคศาสตร์ กระดูกเรเดียส (Radius, ภาษาละตินอ่านว่า ราดิอุส) หรือกระดูกปลายแขนด้านนิ้วหัวแม่มือ เป็นหนึ่งในกระดูกสองชิ้นที่เป็นแกนหลักของส่วนปลายแขน และเชื่อมต่อระหว่างข้อต่อสองจุดที่สำคัญ คือข้อศอก (elbow) และข้อมือ (wrist) กระดูกเรเดียสจะมีลักษณะเป็นแท่งยาวคล้ายรูปปริซึม และวางอยู่ทางด้านข้างของกระดูกอัลนา (Ulna, ภาษาละตินอ่านว่า อุลนา) โดยจะมีแผ่นของเอ็นซึ่งเรียกว่า เอ็นเยื่อระหว่างกระดูก (interosseous membrane) และยังเป็นกระดูกที่มีจุดเกาะของกล้ามเนื้อจำนวนมาก เพื่อรองรับการเคลื่อนไหวของปลายแขนและมืออีกด้ว.

ใหม่!!: กระดูกอัลนาและกระดูกเรเดียส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อสุพิเนเตอร์

กล้ามเนื้อสุพิเนเตอร์ (Supinator) เป็นกล้ามเนื้อกว้าง โค้งรอบด้านบน 1/3 ของกระดูกเรเดี.

ใหม่!!: กระดูกอัลนาและกล้ามเนื้อสุพิเนเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อแอบดักเตอร์ พอลิซิส ลองกัส

กล้ามเนื้อแอบดักเตอร์ พอลิซิส ลองกัส (Abductor pollicis longus) เป็นกล้ามเนื้อที่ทอดตัวอยู่ใต้กล้ามเนื้อสุพิเนเตอร์ (supinator) และบางครั้งอาจรวมเข้าอยู่ด้วยกัน.

ใหม่!!: กระดูกอัลนาและกล้ามเนื้อแอบดักเตอร์ พอลิซิส ลองกัส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ ควอดราตัส

กล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ ควอดราตัส (Pronator quadratus; PQ) เป็นกล้ามเนื้อรูปสี่เหลี่ยมที่อยู่บนส่วนปลายของปลายแขน ทำหน้าที่คว่ำมือ เนื่องจากกล้ามเนื้อนี้อยู่ในพื้นที่ด้านหน้าของปลายแขน (anterior side of the arm) จึงถูกเลี้ยงด้วยเส้นประสาทแอนทีเรียร์อินเตอร์ออสเซียส (anterior interosseous nerve) ซึ่งเป็นแขนงของเส้นประสาทมีเดียน (median nerve) และถูกเลี้ยงโดยหลอดเลือดแดงแอนทีเรียร์อินเตอร์ออสเซียส (interosseous artery).

ใหม่!!: กระดูกอัลนาและกล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ ควอดราตัส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ เทเรส

กล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ เทเรส (pronator teres) เป็นกล้ามเนื้อที่ส่วนใหญ่อยู่บริเวณปลายแขน (forearm) ของร่างกายมนุษย์ ทำหน้าที่คว่ำปลายแขนร่วมกับกล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ ควอดราตัส (pronator quadratus).

ใหม่!!: กระดูกอัลนาและกล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ เทเรส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ พอลิซิส ลองกัส

กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ พอลิซิส ลองกัส (flexor pollicis longus, FPL) เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ในปลายแขน (forearm) และมือ ที่ทำหน้าที่งอนิ้วหัวแม่มือ กล้ามเนื้อนี้วางตัวอยู่ในระนาบเดียวกันกับกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม โปรฟันดัส (flexor digitorum profundus).

ใหม่!!: กระดูกอัลนาและกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ พอลิซิส ลองกัส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม โปรฟันดัส

ในทางกายวิภาคศาสตร์มนุษย์ กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม โปรฟันดัส (flexor digitorum profundus; FDP) เป็นกล้ามเนื้อในปลายแขนที่ทำหน้าที่งอนิ้วมือ จัดว่าเป็น extrinsic muscle เพราะว่าการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อนี้อยู่ที่ตำแหน่งที่แตกต่างจากตัวหลักของมัดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม โปรฟันดัส ร่วมกับกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม ซุเปอร์ฟิเชียลิส (flexor digitorum superficialis) มีเอ็นกล้ามเนื้อยาวที่วิ่งลงตมาลอดปลายแขน ผ่านคาร์ปัล ทันเนล (carpal tunnel) และยึดเกาะกับด้านฝ่ามือของกระดูกนิ้วมือ กล้ามเนื้อนี้มีจุดเกาะต้นอยู่ที่ด้านหน้าของกระดูกอัลนา กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม โปรฟันดัสทอดตัวอยู่ใต้กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม ซุเปอร์ฟิเชียลิส แต่ว่าจะมีจุดเกาะปลายที่อยู่ด้านปลายมากกว่า โดยเอ็นของกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม โปรฟันดัสจะวิ่งผ่านช่องของเอ็นกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม ซุเปอร์ฟิเชียลิส เข้าไปเกาะกับกระดูกนิ้วมือท่อนปลาย (distal phalanx).

ใหม่!!: กระดูกอัลนาและกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม โปรฟันดัส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริส

กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริส (flexor carpi ulnaris muscle; FCU) เป็นกล้ามเนื้อของปลายแขนของมนุษย์ ทำหน้าที่งอ (flex) และหุบ (adduct) มือ.

ใหม่!!: กระดูกอัลนาและกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส ลองกัส

กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส ลองกัส (Extensor pollicis longus) เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ในปลายแขน มีขนาดใหญ่กว่ากล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส เบรวิส (Extensor pollicis brevis) จุดเกาะต้นของกล้ามเนื้อบางส่วนถูกปกคลุมด้วยกล้ามเนื้ออื่น.

ใหม่!!: กระดูกอัลนาและกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส ลองกัส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ อินดิซิส

กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ อินดิซิส หรือ กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ อินดิซิส โพรเพรียส (Extensor indicis; extensor indicis proprius) เป็นกล้ามเนื้อแบน ยาว อยู่ด้านใกล้กลางและทอดขนานไปกับกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส ลองกัส (extensor pollicis longus).

ใหม่!!: กระดูกอัลนาและกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ อินดิซิส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริส

กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริส (Extensor carpi ulnaris; ECU) เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ในปลายแขนของมนุษย์ ทำหน้าที่เหยียด (extend) และหุบ (adduct) ข้อมือ อยู่บริเวณพื้นที่ด้านหลังของปลายแขน (posterior side of the forearm).

ใหม่!!: กระดูกอัลนาและกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริส · ดูเพิ่มเติม »

กายวิภาคศาสตร์มนุษย์

รูปแสดงระบบกล้ามเนื้อของมนุษย์ในลักษณะธรรมชาติ จากหนังสือ ''Fabrica'' โดยแอนเดรียส เวซาเลียส กายวิภาคศาสตร์มนุษย์ (Human anatomy) เป็นสาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่เน้นทางด้านการศึกษาโครงสร้างต่างๆที่ประกอบกันเป็นร่างกายของมนุษย์ และเป็นหนึ่งในศาสตร์ที่มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน การศึกษากายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์สามารถแบ่งออกได้เป็นสี่สาขาหลัก ได้แก่ มหกายวิภาคศาสตร์ (Gross anatomy) จุลกายวิภาคศาสตร์ (Histology) ประสาทกายวิภาคศาสตร์ (Neuroanatomy) และกายวิภาคศาสตร์การเจริญเติบโต (Developmental anatomy) ในปัจจุบันการศึกษากายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์จะเน้นไปในด้านการประยุกต์ใช้ และการนำเอาเทคโนโลยีทางด้านอณูชีววิทยามาใช้ในการศึกษากายวิภาคศาสตร์ในระดับเซลล์และเนื้อเยื่อ.

ใหม่!!: กระดูกอัลนาและกายวิภาคศาสตร์มนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

มือ

มือ (Hand) คืออวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายอยู่ต่อแขน สำหรับจับ หยิบ สิ่งของต่าง.

ใหม่!!: กระดูกอัลนาและมือ · ดูเพิ่มเติม »

รยางค์บน

ต้นแขนของมนุษย์ ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ รยางค์บน (upper limb หรือ upper extremities) คือส่วนของร่างกายมนุษย์ที่เรียกโดยทั่วไปว่า แขน (arm) คือโครงสร้างตั้งแต่แขนจนถึงปลายนิ้ว รวมทั้งส่วนของต้นแขน (upper arm) ด้ว.

ใหม่!!: กระดูกอัลนาและรยางค์บน · ดูเพิ่มเติม »

รอยเว้าอัลนา

รอยเว้าอัลนา (Ulnar notch) หรือ แอ่งซิกมอยด์ (Sigmoid cavity) ของกระดูกเรเดียส เป็นบริเวณของกระดูกเรเดียสที่เป็นข้อต่อกับกระดูกอัลนา มีลักษณะแคบ เว้า เรียบ และเป็นข้อต่อกับหัวกระดูกอัลนา หมวดหมู่:กระดูกของรยางค์บน.

ใหม่!!: กระดูกอัลนาและรอยเว้าอัลนา · ดูเพิ่มเติม »

รอยเว้าเรเดียส

รอยเว้าเรเดียส (radial notch, lesser sigmoid cavity; ละติน: incisura radialis) เป็นรอยเว้าแคบๆ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่อยู่ทางด้านข้างของโคโรนอยด์ โพรเซส (coronoid process) ซึ่งจะรับกับส่วนต้นของกระดูกเรเดียสเพื่อประกอบเป็นข้อต่อเรดิโออัลนาส่วนต้น (Proximal radioulnar joint) ซึ่งเกี่ยวข้องการการพลิกและการหมุนของปลายแขน รอยเว้านี้มีลักษณะเว้าจากด้านหน้าไปด้านหลัง และมีส่วนยื่นซึ่งให้เป็นจุดเกาะของเอ็นแอนนูลาร์ (annular ligament).

ใหม่!!: กระดูกอัลนาและรอยเว้าเรเดียส · ดูเพิ่มเติม »

รอยเว้าเซมิลูนาร์

รอยเว้าเซมิลูนาร์ หรือ รอยเว้าโทรเคลียร์ (Semilunar notch, Trochlear notch, Greater sigmoid cavity; ละติน: incisura semilunaris) เป็นรอยเว้าขนาดใหญ่บนกระดูกอัลนา เกิดจากโอเลครานอน โพรเซส (olecranon) และโคโรนอยด์ โพรเซส (coronoid process) และทำหน้าที่เป็นบริเวณรองรับกับโทรเคลียร์ (trochlea) ของปลายกระดูกต้นแขน ประมาณตรงกลางของรอยเว้านี้เป็นรอยขรุขระแบบฟันเลื่อยซึ่งเป็นบริเวณรอยต่อของโอเลครานอนและโคโรนอยด์ โพรเซส รอยเว้านี้เว้าในแนวบนลงล่าง และแบ่งออกเป็นส่วนใกล้กลางและส่วนด้านข้างโดยสันตื้นซึ่งวิ่งจากยอดของโอเลครานอนไปยังยอดของโคโรนอยด์ โพรเซส โดยส่วนใกล้กลางจะมีขนาดใหญ่กว่าและค่อนข้างเว้าในแนวขวาง และส่วนด้านข้างจะนูนในด้านบนและค่อนข้างเว้าในด้านล่าง.

ใหม่!!: กระดูกอัลนาและรอยเว้าเซมิลูนาร์ · ดูเพิ่มเติม »

ส่วนกลางของกระดูกอัลนา

วนกลางของกระดูกอัลนา หรือ ตัวกระดูกอัลนา ส่วนบนมีลักษณะคล้ายแท่งปริซึมสามเหลี่ยม และโค้งนูนด้านหลังและทางด้านข้าง ส่วนกลางมีลักษณะตรง และส่วนล่างมีลักษณะกลม เรียบ และโค้งงอไปทางด้านข้างเล็กน้อย กระดูกนี้มีลักษณะเรียวลงจากด้านบนลงด้านล่าง ส่วนกลางของกระดูกอัลนาประกอบด้วยพื้นผิวสามด้าน และขอบสามขอบ ซึ่งจะเป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อต่าง.

ใหม่!!: กระดูกอัลนาและส่วนกลางของกระดูกอัลนา · ดูเพิ่มเติม »

ส่วนต้นของกระดูกอัลนา

วนต้นของกระดูกอัลนา เป็นส่วนของกระดูกอัลนาที่ลักษณะใหญ่และมีส่วนยื่นของกระดูกที่มีลักษณะโค้งเห็นได้อย่างชัดเจน ได้แก่ โอเลครานอน โพรเซส (olecranon) และโคโรนอยด์ โพรเซส (coronoid process) และยังมีส่วนเว้าซึ่งเป็นเบ้ารับกับปลายของกระดูกต้นแขนและหัวของกระดูกเรเดียสอีกสองจุด คือรอยเว้าเซมิลูนาร์ (Semilunar notch) และรอยเว้าเรเดียส (Radial notch).

ใหม่!!: กระดูกอัลนาและส่วนต้นของกระดูกอัลนา · ดูเพิ่มเติม »

ส่วนปลายของกระดูกอัลนา

วนปลายของกระดูกอัลนา เป็นส่วนของกระดูกอัลนาที่มีลักษณะเล็ก ซึ่งมีปุ่มนูน 2 อัน อันแรกอยู่ทางด้านข้างมีขนาดใหญ่กว่า รูปร่างกลม เป็นข้อต่อกับกระดูกอื่น เรียกว่า ปุ่มหัวกระดูกอัลนา (head of the ulna) อีกอันหนึ่งอยู่ทางด้านใกล้กลาง ไม่เป็นพื้นผิวข้อต่อ เรียกว่าสไตลอยด์ โพรเซส (styloid process).

ใหม่!!: กระดูกอัลนาและส่วนปลายของกระดูกอัลนา · ดูเพิ่มเติม »

สไตลอยด์ โพรเซสของกระดูกอัลนา

ตลอยด์ โพรเซสของกระดูกอัลนา (Styloid process) เป็นส่วนยื่นเล็กๆ ที่ยื่นออกมาทางด้านหลังและด้านใกล้กลางของกระดูกอัลนา ส่วนยื่นนี้จะชี้ลงล่างต่ำกว่าหัวกระดูกอัลนาเล็กน้อย มีลักษณะกลม ซึ่งเป็นจุดเกาะของเอ็นอัลนาคอลแลทเทอรัล (Ulnar collateral ligament) ซึ่งเป็นเอ็นส่วนหนึ่งของข้อมือ ปุ่มหัวกระดูกอัลนาแยกออกจากสไตลอยด์ โพรเซสโดยรอยเว้าซึ่งเป็นจุดเกาะของยอดของแผ่นรองข้อต่อรูปสามเหลี่ยม (triangular articular disk) และทางด้านหลังโดยร่องตื้นๆ สำหรับเอ็นกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริส (extensor carpi ulnaris).

ใหม่!!: กระดูกอัลนาและสไตลอยด์ โพรเซสของกระดูกอัลนา · ดูเพิ่มเติม »

ข้อศอก

้อศอก (Elbow joint) เป็นข้อต่อที่เกิดจากการติดต่อกันระหว่างกระดูกสามชิ้น คือ กระดูกต้นแขน (humerus) กระดูกอัลนา (Ulna) และกระดูกเรเดียส (Radius) และเป็นข้อต่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเคลื่อนไหวของปลายแขน (forearm) โดยเฉพาะการงอ-เหยียด และการพลิกปลายแขน ข้อศอกยังเป็นข้อต่อที่มีเอ็นรอบข้อต่อและกล้ามเนื้อต่างๆมาช่วยในการค้ำจุนระหว่างการเคลื่อนไหว รวมทั้งมีแขนงของหลอดเลือดและเส้นประสาทในบริเวณใกล้เคียงมาเลี้ยงอีกด้ว.

ใหม่!!: กระดูกอัลนาและข้อศอก · ดูเพิ่มเติม »

ข้อต่อ

้อ หรือ ข้อต่อ (Joints) ในทางกายวิภาคศาสตร์ หมายถึงบริเวณที่กระดูกตั้งแต่สองชิ้นขึ้นไปมีการติดต่อกัน ทำให้กระดูกมีการทำงานร่วมกันเป็นระบบเพื่อการค้ำจุนปกป้องร่างกายและการเคลื่อนไหวในรูปแบบต่างๆที่เหมาะสม ข้อต่อในร่างกายมนุษย์มีหลายแบบ และสามารถจัดจำแนกได้ตามลักษณะโครงสร้าง และคุณสมบัติในการเคลื่อนไหว.

ใหม่!!: กระดูกอัลนาและข้อต่อ · ดูเพิ่มเติม »

ปลายแขน

ปลายแขน หรือ แขนท่อนปลาย (Forearm) เป็นโครงสร้างส่วนหนึ่งของรยางค์บน (upper limb) อยู่ระหว่างข้อศอกและข้อมือ ซึ่งจะต่างจากแขนหรือต้นแขน (arm หรือ upper arm) ที่ในทางกายวิภาคจะนับจากหัวไหล่ลงมาถึงแค่ข้อศอก.

ใหม่!!: กระดูกอัลนาและปลายแขน · ดูเพิ่มเติม »

ปุ่มหัวกระดูกอัลนา

ปุ่มหัวกระดูกอัลนา (Head of ulna) เป็นพื้นผิวข้อต่อ ส่วนหนึ่งมีลักษณะกลม ชี้ลงล่าง ต่อกับพื้นผิวด้านบนของแผ่นรองข้อต่อรูปสามเหลี่ยม (triangular articular disk) ซึ่งแบ่งระหว่างปุ่มหัวกระดูกและข้อมือ ในขณะที่อีกส่วนจะชี้ไปทางด้านข้าง มีลักษณะแคบ นูน จะต่อกับรอยเว้าอัลนา (ulnar notch) บนกระดูกเรเดียส เพื่อประกอบเป็นข้อต่อเรดิโออัลนาส่วนปลาย (Distal radioulnar joint).

ใหม่!!: กระดูกอัลนาและปุ่มหัวกระดูกอัลนา · ดูเพิ่มเติม »

แอ่งโอเลครานอน

แอ่งโอเลครานอน (Olecranon fossa) เป็นแอ่งลึกรูปสามเหลี่ยมบนด้านหลังของกระดูกต้นแขน (humerus) อยู่เหนือด้านหลังของโทรเคลียร์ (trochlea) ซึ่งเป็นเบ้ารับกับยอดของโอเลครานอน โพรเซส (olecranon) เมื่ออยู่ในท่าเหยียดปลายแขน.

ใหม่!!: กระดูกอัลนาและแอ่งโอเลครานอน · ดูเพิ่มเติม »

แอ่งโคโรนอยด์

แอ่งโคโรนอยด์ (Coronoid fossa) เป็นแอ่งขนาดเล็กบนด้านหน้าของกระดูกต้นแขน อยู่เหนือด้านหน้าของโทรเคลียร์ (trochlea) ซึ่งเป็นเบ้ารับกับโคโรนอยด์ โพรเซส (coronoid process) ของกระดูกอัลนา (ulna) เมื่ออยู่ในท่างอปลายแขน.

ใหม่!!: กระดูกอัลนาและแอ่งโคโรนอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

โอเลครานอน โพรเซส

อเลครานอน (Olecranon) หรือ โอเลครานอน โพรเซส (Olecranon process) หรือ ปุ่มปลายศอก หรือ ยอดศอก เป็นส่วนยื่นที่มีลักษณะโค้ง ขนาดใหญ่และหนา ตั้งอยู่ที่ด้านบนและด้านหลังของกระดูกอัลนา ที่ยอดมีลักษณะโค้งไปทางด้านหน้าเป็นจะงอยรับเข้ากับแอ่งโอเลครานอน (olecranon fossa) ของกระดูกต้นแขนเมื่อปลายแขนอยู่ในท่าเหยียดตรง ส่วนฐานของโอเลครานอน โพรเซสเป็นคอคอดเชื่อมกับส่วนกลางของกระดูกอัลนา นับว่าเป็นส่วนคอดที่สุดของปลายบนของกระดูกอัลนา พื้นผิวด้านหลังของโอเลครานอน โพรเซสชี้ไปทางด้านหลัง มีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม เรียบ อยู่ในชั้นใต้ผิวหนัง (subcutaneous) และถูกปกคลุมด้วยถุงลดเสียดสี (bursa) พื้นผิวด้านบนมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม ด้านหลังมีรอยประทับขรุขระซึ่งเป็นจุดเกาะปลายของกล้ามเนื้อไตรเซ็ปส์ เบรคิไอ (triceps brachii) ส่วนด้านหน้าใกล้กับขอบกระดูกมีร่องตื้นๆ ในแนวขวางซึ่งเป็นจุดเกาะของส่วนของเอ็นด้านหลังของข้อศอก พื้นผิวด้านหน้ามีลักษณะเรียบ เว้า และสร้างเป็นส่วนบนของรอยเว้าเซมิลูนาร์ (semilunar notch) ขอบของโอเลครานอน โพรเซสเป็นส่วนต่อของร่องบนขอบของพื้นผิวด้านบนซึ่งให้เป็นจุดเกาะของเอ็นต่างๆ ดังนี้.

ใหม่!!: กระดูกอัลนาและโอเลครานอน โพรเซส · ดูเพิ่มเติม »

โทรเคลียร์

ริเวณตรงกลางของพื้นผิวข้อต่อของกระดูกต้นแขน (humerus) เรียกว่า โทรเคลียร์ (Trochlea) มีลักษณะเป็นร่องลึกระหว่างขอบยกทั้งสอง มีลักษณะนูนในแนวหน้า-หลัง และเว้าในแนวข้าง และกินพื้นที่ด้านหน้า ด้านล่าง และด้านหลังของส่วนปลายกระดูกต้นแขน (lower extremity of humerus) ส่วนนี้เป็นข้อต่อกับกระดูกอัลนา (ulna).

ใหม่!!: กระดูกอัลนาและโทรเคลียร์ · ดูเพิ่มเติม »

โคโรนอยด์ โพรเซส

รนอยด์ โพรเซส (Coronoid process; ละติน: processus coronoideus) เป็นสันนูนรูปสามเหลี่ยมชี้ไปทางด้านหน้า อยู่บริเวณด้านบนและด้านหน้าของกระดูกอัลนา ฐานของโคโรนอยด์ โพรเซสต่อเนื่องกับส่วนกลางของกระดูกอัลนาและมีความแข็งแรงมาก ยอดมีลักษณะแหลมค่อนข้างโค้งไปทางด้านบน และเมื่ออยู่ในท่างอปลายแขน ส่วนของโคโรนอยด์ โพรเซสนี้จะรับกับแอ่งโคโรนอยด์ (coronoid fossa) ของกระดูกต้นแขน พื้นผิวด้านบนของโคโรนอยด์ โพรเซสมีลักษณะเรียบ เว้า และสร้างเป็นส่วนล่างของรอยเว้าเซมิลูนาร์ (semilunar notch) พื้นผิวด้านหน้าและด้านล่างมีลักษณะเว้า และมีรอยประทับขรุขระซึ่งเป็นจุดเกาะปลายของกล้ามเนื้อเบรเคียลิส (brachialis) ที่รอยต่อของพื้นผิวด้านนี้และส่วนหน้าของตัวกระดูกอัลนาเป็นส่วนยื่นขรุขระ เรียกว่า ปุ่มนูนอัลนา (tuberosity of the ulna) ซึ่งเป็นจุดเกาะปลายของส่วนของกล้ามเนื้อเบรเคียลิส และมีออบลีก คอร์ด (oblique cord) มายึดเกาะที่ขอบด้านข้างของปุ่มนูนอัลนา พื้นผิวด้านข้างมีลักษณะคอด รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เป็นรอยเว้าซึ่งเป็นข้อต่อกับกระดูกอื่น เรียกว่า รอยเว้าเรเดียส (radial notch) พื้นผิวด้านใกล้กลางเป็นขอบอิสระซึ่งให้เป็นจุดเกาะของส่วนของเอ็นอัลนาคอลแลทเทอรัล (ulnar collateral ligament) ส่วนหน้าของพื้นผิวด้านนี้เป็นส่วนยื่นรูปกลมขนาดเล็กซึ่งเป็นจุดเกาะต้นของปลายจุดเกาะหนึ่งของกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม ซุเปอร์ฟิเชียลิส (Flexor digitorum sublimis) ด้านหลังของส่วนยื่นเป็นรอยเว้าสำหรับส่วนของจุดเกาะต้นของกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม โปรฟันดัส (flexor digitorum profundus) ส่วนล่างของส่วนยื่นนี้เป็นสันซึ่งให้เป็นจุดเกาะต้นของปลายจุดเกาะหนึ่งของกล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ เทเรส (pronator teres) บ่อยครั้งที่จะพบใยกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ พอลิซิส ลองกัส (flexor pollicis longus) เกาะกับส่วนล่างของโคโรนอยด์ โพรเซ.

ใหม่!!: กระดูกอัลนาและโคโรนอยด์ โพรเซส · ดูเพิ่มเติม »

เอ็นเยื่อระหว่างกระดูกของปลายแขน

อ็นเยื่อระหว่างกระดูกของปลายแขน (interosseous membrane of the forearm) เป็นแผ่นเส้นใยที่เชื่อมระหว่างกระดูกเรเดียส (radius) และกระดูกอัลนา (ulna) เป็นโครงสร้างหลักของข้อต่อชนิดแผ่นเยื่อคั่นเรดิโออัลนา (radio-ulnar syndesmosis) ซึ่งเป็นข้อต่อระหว่างกระดูกทั้งสองชิ้นนี้ เอ็นเยื่อระหว่างกระดูกของปลายแขนแบ่งพื้นที่ของปลายแขนออกเป็นพื้นที่ด้านหน้า (anterior compartment) และด้านหลัง (posterior compartment) เป็นบริเวณที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อในปลายแขน และส่งผ่านแรงจากกระดูกเรเดียส ไปยังกระดูกอัลนา ไปยังกระดูกต้นแขน (humerus).

ใหม่!!: กระดูกอัลนาและเอ็นเยื่อระหว่างกระดูกของปลายแขน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Ulnaกระดูกอัลนาร์กระดูกปลายแขนอันในอยูทางนิ้วก้อยกระดูกปลายแขนท่อนในอัลนา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »