โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แม่น้ำแยงซี

ดัชนี แม่น้ำแยงซี

้นทางแม่น้ำแยงซีในประเทศจีน แม่น้ำแยงซี, แยงซีเกียง (Yangtze river) หรือแม่น้ำฉางเจียง เป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดในทวีปเอเชีย และเป็นแม่น้ำที่ยาวเป็นอันดับที่ 3 ของโลก รองจากแม่น้ำไนล์ในทวีปแอฟริกาและแม่น้ำแอมะซอนในทวีปอเมริกาใต้ แม่น้ำแยงซียาว 6,300 กิโลเมตร ต้นน้ำอยู่ที่มณฑลชิงไห่และทิเบต ในทิศตะวันตกของสาธารณรัฐประชาชนจีน และไหลมาทางทิศตะวันออก ออกสู่ทะเลจีนตะวันออก.

103 ความสัมพันธ์: ช่องเขาเสือกระโจนพ.ศ. 2474พื้นที่คุ้มครองแม่น้ำขนานสามสายแห่งยูนนานกรณีมุกเดนกลยุทธ์จูงแพะติดมือกวางคุณพ่อดาวีดการล่องเรือในแม่น้ำการสังหารหมู่นานกิงกีวี (พืช)ก่อนฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิกมิสแกรนด์จีนมณฑลกวางตุ้งมณฑลยูนนานมณฑลหูหนานมณฑลหูเป่ย์มณฑลอานฮุยมณฑลเสฉวนมณฑลเจียงซูยุทธการหูโข่วยุทธการที่อิเหลง (208)ยุทธการที่ผาแดงยุทธการที่แฮเค้ายุทธการที่เซี่ยงไฮ้ (พ.ศ. 2480)ยุคสามก๊กรัฐอู๋ราชวงศ์หมิงราชวงศ์จิ้นราชวงศ์ซ่งรถไฟใต้ดินอู่ฮั่น สาย 2ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1940)วงศ์ย่อยแอลลิเกเตอร์วงศ์ปลาหมูกระโดงสูงวงศ์ปลาฉลามปากเป็ดวงศ์แอลลิเกเตอร์สามก๊ก (การ์ตูน)สาธารณรัฐเตอร์เกสถานตะวันออกที่ 2สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สองสงครามโลกครั้งที่สองหลี่ ไป๋หวังอันฉือหางโจวหนานเยฺว่อาณาจักรล้านช้างอุทกภัยในประเทศจีน พ.ศ. 2474อุทกภัยในประเทศจีน พ.ศ. 2553อุทกภัยในประเทศจีน พ.ศ. 2554อู่ฮั่นจระเข้ตีนเป็ดจักรพรรดิยฺเหวียนฮุ่ยจงจักรวรรดิมองโกล...จังหวัดตากจื่อเฟิงทาวเวอร์จูกัดกิ๋นทวีปเอเชียทะเลสาบหยางเฉิงทะเลสาบไท่ทากิฟูงุทางรถไฟอี๋วั่นทุพภิกขภัยที่ราบสูงทิเบตข้าวดิอะเมซิ่งเรซ 18ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซีคลองใหญ่ (ประเทศจีน)ความเชื่อเรื่องการสร้างโลกของจีนตะพาบยักษ์แยงซีเกียงฉงชิ่งซูโจวประวัติศาสตร์มวยไทยประวัติศาสตร์จีนประวัติศาสตร์ทิเบตประเทศจีนปลาบู่เขือคางยื่นปลาช่อนเอเชียติกาปลาหมูกระโดงสูงปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำโขงปลาฉลามหัวบาตรปลาฉลามปากเป็ดจีนปลาแบมบูซ่าปลาแค้ติดหินนกกระเรียนคอขาวนกกระเรียนไซบีเรียแม่น้ำสาละวินแม่น้ำหวงแม่น้ำโขงแอลลิเกเตอร์จีนแผนหลงจงแนวคิดเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของชนชาติไทโลมาหัวบาตรหลังเรียบโลมาแม่น้ำจีนไทสัน อาร์. โรเบิร์ตส์ไป๋ตี้เฉิงเกงจิ๋วเมืองแมนแดนสันติเจียงหนานเทศกาลไหว้บ๊ะจ่างเทศมณฑลอู๋เทือกเขาคุนหลุนเขื่อนซานเสียต้าป้าเซี่ยงไฮ้เซี่ยงไฮ้โอเชียนอะควาเรียมเนื้อเรื่องสามก๊ก1 E6 m ขยายดัชนี (53 มากกว่า) »

ช่องเขาเสือกระโจน

นาขั้นบันไดบนเชิงผาด้านข้างช่องเขาเสือกระโจน ทิวทัศน์ของช่องเขาเสือกระโจนที่มองจากที่สูง มองเห็นภูเขาหิมะมังกรหยกทางด้านซ้าย และภูเขาหิมะฮาป๋าทางด้านขวา ช่องเขาเสือกระโจน (หู่เที่ยวเสีย) เป็นช่องหุบเขาเหนือแม่น้ำแยงซี ในมณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งอยู่ห่างจากเมืองลี่เจียงไปทางเหนือ 60 กิโลเมตร ช่องหุบเขานี้ความยาว 15 กิโลเมตร ตำแหน่งที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่แม่น้ำไหลผ่านระหว่างภูเขาหิมะมังกรหยกที่สูง 5,596 เมตร และภูเขาหิมะฮาป๋าที่สูง 5,396 เมตร ซึ่งเป็นบริเวณที่น้ำไหลเชี่ยวและอยู่ใต้หน้าผาสูง 2,000 เมตร ตามตำนานกล่าวว่า มีเสือตัวหนึ่งได้หนีการตามล่าจากนายพราน โดยกระโดดข้ามแม่น้ำที่จุดที่แคบที่สุด (กว้าง 25 เมตร) จึงเป็นที่มาของชื่อของช่องเขาแห่งนี้ ช่องเขาเสือกระโจนเป็นหนึ่งในหุบเขาเหนือแม่น้ำที่ลึกที่สุดในโลก ผู้อยู่อาศัยในบริเวณนี้มีจำนวนเพียงเล็กน้อย ส่วนใหญ่เป็นชนพื้นเมืองชาวน่าซี โดยจะอาศัยอยู่ในหมู่บ้านเล็กๆบริเวณใกล้เคียง และหาเลี้ยงชีพโดยการเพาะปลูกและรับจ้างนำทางคนต่างถิ่น หมวดหมู่:ภูมิศาสตร์จีน หมวดหมู่:มณฑลยูนนาน.

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและช่องเขาเสือกระโจน · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2474

ทธศักราช 2474 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1931 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดี ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและพ.ศ. 2474 · ดูเพิ่มเติม »

พื้นที่คุ้มครองแม่น้ำขนานสามสายแห่งยูนนาน

ื้นที่คุ้มครองแม่น้ำขนานสามสายแห่งยูนนาน (Three Parallel Rivers of Yunnan Protected Areas) คือแหล่งมรดกโลกที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑลยูนนาน ประเทศจีน กินอาณาบริเวณของเมืองลี่เจียง เขตปกครองตนเองชนชาติทิเบต ตี๋ชิ่ง และเขตปกครองตนเองชนชาติลีซอ นู่เจียง แม่น้ำสามสายหมายถึงแม่น้ำสามสายที่มีต้นน้ำอยู่ในที่ราบสูงทิเบตและไหลขนานกันลงมา ได้แก่ แม่น้ำแยงซี แม่น้ำโขง และแม่น้ำสาละวิน และนับได้ว่าเป็นสถานที่แห่งหนึ่งบนโลกที่มีความอุดมสมบูรณ์และความหลายหลายทางชีวภาพสูง.

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและพื้นที่คุ้มครองแม่น้ำขนานสามสายแห่งยูนนาน · ดูเพิ่มเติม »

กรณีมุกเดน

ในวันที่ 18 กันยายน ค.ศ. 1931 ใกล้กับเมืองมุกเดน (หรือ เสิ่นหยางในปัจจุบัน) ทางแมนจูเรียตอนใต้ ส่วนหนึ่งของรางรถไฟซึ่งกองทัพญี่ปุ่นยังคงยึดครองอยู่ในขณะนั้นเกิดการระเบิดขึ้น กองทัพญี่ปุ่นจึงได้ใช้ข้ออ้างดังกล่าวในการรุกรานแมนจูเรีย และนำไปสู่การก่อตั้งแมนจูกัวในปีต่อมา ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการรบในสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง ถึงแม้ว่าสงครามครั้งนี้จะปะทุขึ้นมาในปี ค.ศ. 1937 ก็ตาม เหตุการณ์ดังกล่าวมีชื่อเรียกกันหลายแบบ เช่น กรณีมุกเดน (Mukden Incident) ในญี่ปุ่นเรียก กรณีแมนจูเรีย (Manchurian Incident, 滿洲事變 หรือ 満州事変) ส่วนในจีนเรียก เหตุการณ์ 18 กันยายน (九•一八事变/九•一八事變 → Jiǔyībā Shìbiàn) หรือ เหตุการณ์หลิ่วเถียวโกว (柳条沟事变/柳條溝事變 → Liǔtiáogōu Shìbiàn).

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและกรณีมุกเดน · ดูเพิ่มเติม »

กลยุทธ์จูงแพะติดมือ

กลยุทธ์จูงแพะติดมือ หรือ ซุ่นโส่วเชียนหยาง (Take the opportunity to pilfer a goat) เป็นหนึ่งในกลศึกสามก๊ก กลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการใช้ความประมาทเลินเล่อของศัตรูเพียงเล็กน้อยให้เป็นประโยชน์ เมื่อพบเห็นโอกาสให้รีบฉกฉวยมาเป็นของตน แม้จะเป็นเพียงชัยชนะที่เล็กน้อยก็ตาม ในยามศึกสงครามแม้โอกาสเพียงน้อยนิดที่สามารถเป็นประโยชน์แก่กองทัพจำต้องช่วงชิงมาเป็นของตนให้ได้ ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์จูงแพะติดมือไปใช้ได้แก่จูกัดเหลียงที่หลอกเอาลูกเกาฑัณฑ์จำนวนสิบหมื่นจากโจโฉ ตามคำสั่งของจิวยี่ที่สั่งให้จูกัดเหลียงทำลูกเกาฑัณฑ์จำนวนสิบหมื่นให้เสร็จภายในระยะเวลาสิบวัน เพื่อหาทางกำจัดจูกัดเหลียงด้วยความอิจฉาริษยาที่มีความฉลาดหลักแหลม รู้เท่าทันแผนการของตนเองตลอดเวลาซุ่นโส่วเชียนหยาง กลยุทธ์จูงแพะติดมือ, 36 กลยุทธ์ในสามก๊ก-อินไซด์สามก๊ก, กัญจน์ดามาศ โกพล, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและกลยุทธ์จูงแพะติดมือ · ดูเพิ่มเติม »

กวางคุณพ่อดาวีด

กวางคุณพ่อดาวีด หรือ กวางปักกิ่ง (Père David's deer) เป็นกวางชนิดหนึ่ง จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Elaphurus กวางคุณพ่อดาวีด เป็นกวางชนิดที่พบได้เฉพาะในประเทศจีนเท่านั้น โดยกระจายพันธุ์อยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของลุ่มน้ำแยงซี ได้ชื่อว่า "ดาวีด" มาจากชื่อของบาทหลวงชาวฝรั่งเศส อาร์ม็อง ดาวีด ซึ่งเป็นชาวตะวันตกคนแรกที่พบเห็นและรู้จักกวางชนิดนี้ ชาวจีนมองว่า กวางคุณพ่อดาวีดเป็นสัตว์ที่แปลก โดยมีลักษณะ 4 ประการที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกับสัตว์ชนิดต่าง ๆ ผสมผสานกัน (ญี่ปุ่น: shifuzō) คือ มีส่วนหัวเหมือนม้า, มีตีนเหมือนวัว, มีหางเหมือนลา และมีเขาเหมือนกวางแต่งองุ้มไปข้างหลัง กวางคุณพ่อดาวีดตัวเมีย กวางคุณพ่อดาวีด เป็นกวางที่หากินในที่ราบลุ่มที่น้ำท่วมขังหรือสภาพพื้นที่ชุ่มน้ำ เช่น หนอง, บึง โดยกินหญ้าและตะไคร่น้ำเป็นอาหาร ในฤดูผสมพันธุ์ เมื่อเป็นสัด กวางตัวผู้จะตกแต่งเขาตัวเองด้วยใบไม้ต่าง ๆ ห้อยย้อยลงมา กวางตัวผู้จะต่อสู้กันด้วยความดุเดือดเพื่อแย่งชิงตัวเมีย ขณะที่กวางตัวเมียจะไม่มีเขา กวางคุณพ่อดาวีดจะผสมพันธุ์กันปีต่อปี ในขณะที่ลูกกวางที่เกิดขึ้นจากการผสมพันธุ์เมื่อปีที่แล้วยังไม่หย่านม แต่จะอยู่รวมกันเป็นฝูงในหมู่ลูกกวางด้วยกัน จึงทำให้หลีกเลี่ยงที่จะเผชิญกับกวางตัวผู้ที่ก้าวร้าว ปัจจุบัน สถานะของกวางคุณพ่อดาวีดได้สูญพันธุ์ไปแล้วจากธรรมชาติ ในจีนคาดว่ามีจำนวนประชากรราว 2,500 ตัว ในเขตอนุรักษ์ การที่ยังมีกวางคุณพ่อดาวีดหลงเหลืออยู่นั้นเกิดจากในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 กวางในธรรมชาติได้สูญพันธุ์ลงแล้ว แต่ยังมีการนำไปเลี้ยงและได้ขยายพันธุ์ในโบสถ์ของประเทศอังกฤษ ในทวีปยุโรป และได้นำส่งกลับมายังจีนจำนวน 40 ตัว ในปี..

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและกวางคุณพ่อดาวีด · ดูเพิ่มเติม »

การล่องเรือในแม่น้ำ

การล่องเรือในแม่น้ำ (อังกฤษ: River cruise) คือ การเดินทางไปตามแม่น้ำภายในประเทศ มักจะจอดหยุดที่พักเรือ เนื่องจากการล่องเรือในแม่น้ำอยู่ภายในเมืองของประเทศนั้น.

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและการล่องเรือในแม่น้ำ · ดูเพิ่มเติม »

การสังหารหมู่นานกิง

การสังหารหมู่นานกิง (Nanking Massacre หรือ Nanjing Massacre) หรือรู้จักกันในนามการข่มขืนนานกิง (Rape of Nanking) เป็นการสังหารหมู่และการข่มขืนยามสงคราม (war rape) ซึ่งเกิดขึ้นเป็นเวลาหกสัปดาห์หลังญี่ปุ่นยึดนครนานกิง อดีตเมืองหลวงของสาธารณรัฐจีน เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 1937 ระหว่างสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง ในช่วงนี้ พลเรือนและทหารจีนที่ถูกปลดอาวุธหลายแสนคนถูกทหารกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นฆ่าTotten, Samuel.

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและการสังหารหมู่นานกิง · ดูเพิ่มเติม »

กีวี (พืช)

กีวี กีวี ภาษาจีนเรียกหมีโหวเถา เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน บริเวณลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน.

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและกีวี (พืช) · ดูเพิ่มเติม »

ก่อนฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก

ทความนี้กล่าวถึงช่วงก่อนฤดูพายุไต้ฝุ่นที่เกิดขึ้นในช่วงก่อนหน้าศตวรรษที่ยี่สิบ มันจะไม่สมบูรณ์; ข้อมูลเกี่ยวกับช่วงก่อนฤดูพายุไต้ฝุ่นมีเป็นช่วง ๆ ต้องอาศัยการสังเกตของนักท่องเที่ยวและนักเรือ ไม่มีการเก็บข้อมูลที่ครอบคลุมโดยหน่วยงานกลางในช่วงต้นนี้ พายุหมุนเขตร้อนส่วนใหญ่มักจะก่อตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิกระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงพฤศจิกายน เหล่านี้จะอยู่ภายในอัตภาพขอบเขตระยะเวลาของแต่ละปี ขณะที่พายุหมุนเขตร้อนส่วนใหญ่จะก่อตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก ขอบเขตของบทความนี้จะถูกจำกัดอยู่ภายในมหาสมุทรแปซิฟิก, ทางเหนือของเส้นศูนย์สูตร และทางตะวันตกของเส้นแบ่งเขตวันสากล โดยพายุที่ก่อตัวทางตะวันออกของเส้นแบ่งเขตวันสากลและทางเหนือของเส้นศูนย์สูตรจะถูกเรียกว่า "เฮอร์ริเคน" ส่วนพายุที่ก่อตัวทางใต้ของเส้นศูนย์สูตรจะเรียกว่า "ไซโคลน".

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและก่อนฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก · ดูเพิ่มเติม »

มิสแกรนด์จีน

มิสแกรนด์จีน (Miss Grand China) เป็นตำแหน่งในการประกวดนางงามระดับประเทศของจีน เพื่อคัดเลือกตัวแทนเข้าร่วมการประกวดมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล เริ่มจัดประกวดเพื่อคัดเลือกผู้ดำรงตำแหน่งเป็นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและมิสแกรนด์จีน · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลกวางตุ้ง

มณฑลกวางตุ้ง หรือ กว่างตง แบ่งการปกครองออกเป็น 21 เมืองใหญ่ 30 เมืองระดับอำเภอ 42 อำเภอและ 3 เขตปกครองตนเอง ตั้งอยู่ตอนใต้สุดของประเทศ ทางใต้ติดกับทะเลจีนใต้ ใกล้กับเกาะฮ่องกงและมาเก๊า เป็นประตูสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ มณฑลนี้นี่เองที่ประชากรส่วนมากได้อพยพไปตั้งถิ่นฐานในต่างประเทศ 100 กว่าปีที่แล้ว.

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและมณฑลกวางตุ้ง · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลยูนนาน

มณฑลยูนนาน หรือ หยุนหนาน มีชื่อย่อว่า หยุน(云)หรือ เตียน(滇)มีชื่อในภาษาไทยถิ่นเหนือว่า วิเทหราช ตั้งอยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจีน มีเมืองหลวงชื่อ คุนหมิง มีเนื้อที่ 394,100 ก.ม. มีประชากร ประมาณ 45,966,000 คน (2010) จีดีพี 10309.47 พันล้านหยวน (2012) ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น นอกจากนั้นยังมีกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆอีก 25 กลุ่มชาติพัน.

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและมณฑลยูนนาน · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลหูหนาน

มณฑลหูหนาน (จีน: 湖南省) ชื่อย่อ เซียง (湘)ตั้งอยู่บนลองจิจูด 108 องศา 47 ลิปดาถึง 114 องศา 45 ลิปดา ตะวันออก และละติจูด 24 องศา 39 ลิปดาถึง 30 องศา 28 ลิปดาเหนือ ทางตอนใต้ของทะเลสาบต้งถิง (洞庭湖) ทะเลสาบใหญ่ทางตอนกลางของแม่น้ำแยงซี มีเมืองหลวงชื่อ ฉางชา มีเนื้อที่ 211,800 ตาราง ก.ม.

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและมณฑลหูหนาน · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลหูเป่ย์

มณฑลหูเป่ย์ (จีน: 湖北省 Húběi Shěng) ชื่อย่อ เอ้อ (鄂) ตั้งอยู่ตอนกลาง ของประเทศ มีอาณาเขตอยู่ในพื้นที่ของแม่น้ำ 2 สายคือ แม่น้ำฉางเจียง (แยงซีเกียง) และฮั่นเจียง เนื่องจากอยู่ ทางเหนือของทะเลสาบต้งถิงทางตอนกลางของแม่น้ำ ฉางเจียง จึงได้ชื่อว่า ‘หูเป่ย’ ซึ่งแปลว่า เหนือทะเลสาบ มีเมืองหลวงชื่อ อู่ฮั่น มีเนื้อที่ 185,900 ตร.ก.ม. มีประชากร 60,160,000 คน ความหนาแน่น 324/ตร.

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและมณฑลหูเป่ย์ · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลอานฮุย

มณฑลอานฮุย ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีน มีเมืองเอกชื่อ เหอเฟย์ มีเนื้อที่ทั้งหมด 139,400 ตาราง ก.ม.

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและมณฑลอานฮุย · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลเสฉวน

มณฑลเสฉวน หรือ ซื่อชวน หรือชื่อย่อว่า ชวน(川)หรือ สู่(蜀)เป็นมณฑลหนึ่งของประเทศจีน มีเมืองเอกชื่อเฉิงตู มณฑลเสฉวนอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีนตอนบนของแม่น้ำแยงซีเกียง มีพื้นที่ 485,000 ตาราง ก.ม. มีประชากรประมาณ 87,250,000 คน นับเป็นมณฑลที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของจีน ทั้งขนาดพื้นที่และจำนวนประชากร ความหนาแน่น 180/ก.ม. จีดีพี 655.6 พันล้านเหรินหมินปี้ ต่อประชากร 7,510 ชื่อ "เสฉวน" มีความหมายว่า "แม่น้ำสี่สาย" เพราะมณฑลเสฉวนตั้งอยู่บนพื้นที่ของแม่น้ำ 3 สายมาบรรจบกัน คือ แม่น้ำแยงซีเกียง, แม่น้ำหลินเจียง, แม่น้ำจินซางเจียง สภาพอากาศเป็นแบบกึ่งร้อนชื้น สภาพโดยทั่วไปจะมีความชื้นในอากาศสูง สภาพอากาศจึงค่อนข้างครึ้มไม่ค่อยมีแสงแดด โดยในรอบสัปดาห์จะมีแสงแดดหรือเห็นพระอาทิตย์เพียงไม่กี่วัน แต่จะมีหมอกปกคลุมเป็นปกติ จนได้รับฉายาว่า "เมืองในหมอก" หรือ "หมาเห่าพระอาทิตย์" และได้รับการกล่าวขานว่า เพราะสภาพอากาศเป็นเช่นนี้ ผู้หญิงในมณฑลเสฉวนมีผิวสวยที่สุดในประเทศจีน ในทางประวัติศาสตร์เคยเป็นราชธานีก๊กสู่ฮั่นของเล่าปี่และขงเบ้งในสมัยสามก๊ก ปลายราชวงศ์ฮั่น ขงเบ้งได้เลือกเอาเสฉวนเป็นราชธานีของก๊กสู่ เพื่อหมายฟื้นฟูราชวงศ์ฮั่น.

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและมณฑลเสฉวน · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลเจียงซู

มณฑลเจียงซู (จีนตัวย่อ: 江苏省 จีนตัวเต็ม: 江蘇省 เจียงซูเฉิ่ง) ชื่อย่อ ‘ซู’ (苏) ตั้งอยู่ตอนกลางของดินแดนชายฝั่งทะเลตะวันออกของประเทศจีน มีเมืองหลวงชื่อว่าหนานจิง มีเนื้อที่ 102,600 ก.ม.มีประชากร ปี 2004 74,330,000 คน จีดีพี 1.54 ล้านล้านเหรินหมินปี้ต่อประชากร 20,700 ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น แม่น้ำแยงซีเกียงไหลผ่านส่วนต่าง ๆ ทางใต้ของมณฑล.

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและมณฑลเจียงซู · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการหูโข่ว

ทธการหูโข่ว เป็นยุทธการที่เกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์ชิง โดยเป็นการรบระหว่างเจิงกว๋อพาน แม่ทัพแห่งกองทัพเรือราชสำนักชิง กับสือต๋าไค่ แม่ทัพมือดีของกองทัพกบฎไท่ผิงเทียนกว๋อ การต่อสู้ในยุทธการหูโข่ว.

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและยุทธการหูโข่ว · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่อิเหลง (208)

ทธการที่อิเหลง (Battle of Yiling) สงครามย่อยใน ยุทธการที่ผาแดง เกิดขึ้นเมื่อฤดูหนาว..

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและยุทธการที่อิเหลง (208) · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่ผาแดง

แผนที่บริเวณศึก ยุทธการที่ผาแดง หรือ ศึกผาแดง (Battle of Red Cliffs) หรือ ศึกเซ็กเพ็ก หรือ ศึกเปี๊ยะเชียะ หรือ ศึกชื่อปี้ (Battle of Chìbì) เป็นสงครามที่มีความสำคัญที่สุดสงครามหนึ่งในยุคปลายราชวงศ์ฮั่นในรัชสมัยของพระเจ้าฮั่นเหี้ยนเต้ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของยุคสามก๊กในประเทศจีนในเวลาต่อมา ศึกผาแดงนี้เกิดขึ้นใน..

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและยุทธการที่ผาแดง · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่แฮเค้า

ึกแฮเค้า (Battle of Xiakou) เป็นสงครามที่รบกันระหว่างซุนกวน กับเล่าเปียว เกิดขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 746 ในช่วงปลาย ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก กองกำลังของซุนกวนพยายามที่จะปราบผู้บัญชาการเมืองกังแฮ (ปัจจุบันเป็นเขตยุนเม็ง, มณฑลหูเป่ย์) ซึ่งได้รับการปกป้องโดยแม่ทัพของเล่าเปียว หองจอ สงครามไม่มีผลสรุป ในขณะที่กองกำลังจะซุนกวนก็ไม่สามารถที่จะยึดกังแฮได้แม้เมื่อหองจอ ถอยทัพก็ตาม.

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและยุทธการที่แฮเค้า · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่เซี่ยงไฮ้ (พ.ศ. 2480)

ทธการที่เซี่ยงไฮ้ เป็นหนึ่งในภารกิจสำคัญของการต่อสู้ระหว่าง กองทัพปฏิวัติชาติของสาธารณรัฐจีนและกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นของจักรวรรดิญี่ปุ่นในช่วง สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง การรบครั้งนี้เป็นหนึ่งในการต่อสู้ที่ใหญ่ที่สุด จนนักเขียนเกี่ยวกับการสงคราม ปีเตอร์ ฮาร์มเซิน (Peter harmsen) ขนานนามว่าเป็น สตาลินกราดแห่งแยงซีเกียง.

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและยุทธการที่เซี่ยงไฮ้ (พ.ศ. 2480) · ดูเพิ่มเติม »

ยุคสามก๊ก

แผ่นที่แสดงอาณาเขตของแต่ละก๊กในปี พ.ศ. 805 (Wei-วุย) (Wu-ง่อ) (Shu-จ๊ก) สามก๊ก (ค.ศ. 220–280; Three Kingdoms) เป็นไตรภาคีระหว่างรัฐวุย (魏) จ๊ก (蜀) และง่อ (吳) หลังการหมดอำนาจโดยพฤตินัยของราชวงศ์ฮั่นในจีน นำสู่การเริ่มหกราชวงศ์ (六朝) แต่ละรัฐปกครองโดยจักรพรรดิซึ่งอ้างการสืบราชสันตติวงศ์โดยชอบจากราชวงศ์ฮั่น ในความหมายทางวิชาการอย่างเคร่งครัด ยุคสามก๊กหมายถึงช่วงเวลาระหว่างการก่อตั้งรัฐวุยใน..

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและยุคสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

รัฐอู๋

รัฐอู๋ เป็นรัฐหนึ่งในช่วงราชวงโจวตะวันตก (Western Zhou Dynasty) และยุควสันตสารท (ยุคชุนชิว) และเป็นที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า โกวอู๋ (Gouwu; 勾吳) หรือ กงอู๋ (Gongwu; 工吳) ตามลักษณะการออกเสียงในสำเนียงภาษาท้องถิ่น รัฐอู๋ตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำแยงซี ทางตะวันออกของแค้วนฉู่ (อังกฤิษ: State of Chu; จีน: 楚; พินอิน: Chǔ; หรือ จีนตัวเต็ม: 楚國; จีนตัวย่อ: 楚国; พินอิน: Chǔguó) มีเมืองหลวงแห่งแรกชื่อ เหมยหลี่ (อังกฤิษ: Meili; จีน:梅里; พินอิน: Méilǐ) (เมืองอู๋ซีในปัจจุบัน) และภายหลังย้ายไปที่เมืองกูซู (อังกฤษ: Gusu; จีนตัวย่อ: 姑苏; จีนตัวเต็ม: 姑蘇; พินอิน: Gūsū) (ในบริเวณเมืองใหม่ซูโจว) และเมืองเหอหลู (อังกฤิษ: Helü; จีนตัวเต็ม: 闔閭; จีนตัวย่อ: 阖闾) (บริเวณเมืองเก่าซูโจวในปัจจุบัน).

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและรัฐอู๋ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์หมิง

ราชวงศ์หมิง หรือ ราชวงศ์เบ๋ง (ฮกเกี้ยน) หรือ ราชวงศ์เม้ง (แต้จิ๋ว) หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ จักรวรรดิต้าหมิง เป็นราชวงศ์ที่ปกครองจักรวรรดิจีน ระหว่าง พ.ศ. 1911 (ค.ศ. 1368) ถึง พ.ศ. 2187 (ค.ศ. 1644) ดำรงอยู่เป็นเวลารวม 276 ปี โดยปกครองต่อจากราชวงศ์หยวนของชาวมองโกล และพ่ายแพ้ให้กับราชวงศ์ชิงของชาวแมนจูในภายหลัง ราชวงศ์หมิงเป็นราชวงศ์ที่รุ่งเรืองในด้านวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก ในยุคนี้มีการสำรวจทางทะเลอย่างกว้างขวาง ราชวงศ์หมิงในตอนต้น (1368 - 1464) ถือเป็นอาณาจักรที่ก้าวหน้าที่สุดในโลก ณ ช่วงเวลานั้น ราชวงศ์หมิงถือเป็นหนึ่งในยุคที่ถูกจัดโดยนักวิชาการชาวตะวันตกว่ามีการปกครองที่เป็นระบบและสังคมที่มีเสถียรภาพในประวัติศาสตร์มนุษย์ชาติก่อนที่จะล่มสลาย ราชวงศ์หมิงถือเป็นราชวงศ์ที่ปกครองประเทศจีนราชวงศ์สุดท้ายที่ปกครองโดยชาวฮั่น ปฐมจักรพรรดิต้าหมิง จูหยวนจาง หรือ จักรพรรดิหงหวู่ หลังจากที่ได้ทรงประกาศปลดแอกชาวฮั่นจากภายใต้การปกครองของราชวงศ์หยวนของชาวมองโกล ได้สถาปนาราชวงศ์หมิงขึ้น พระองค์ได้ทรงพยายามปฏิรูปการปกครองอาณาจักรเสียใหม่ ทรงพยายามสร้างระบบสังคมชุมชนชนบทแบบพึ่งพาตนเอง ปฏิรูประบบราชการ, กฎหมาย จักรพรรดิหงหวู่ได้สร้างระบบที่เป็นระเบียบที่ยืดหยุ่นเปลี่ยนแปลงได้ที่จะสามารถรองรับและสนับสนุนการทหารของราชวงศ์หมิงอย่างยั่งยืน ทำให้ด้านการทหารในช่วงนั้นราชวงศ์หมิงประสบความสำเร็จมีกองทัพภาคพื้นดินเกินกว่า 1 ล้านคนและกองทัพเรือมีอู่ต่อเรือที่หนานจิงเป็นอู่ต่อเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลกในขณะนั้น พระองค์ยังได้ทรงตระหนักถึงการลดทอนอำนาจของเหล่าขันทีในราชสำนักCrawford, Robert.

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและราชวงศ์หมิง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์จิ้น

ราชวงศ์จิ้น (คริสต์ศักราช 265 – คริสต์ศักราช 420) เป็นราชวงศ์หนึ่งของจีน สถาปนาในปี..

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและราชวงศ์จิ้น · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ซ่ง

ราชวงศ์ซ่ง ตามสำเนียงกลาง หรือ ซ้อง ตามสำเนียงฮกเกี้ยน เป็นหนึ่งในราชวงศ์ซึ่งปกครองประเทศจีนอยู่ระหว่างปี พ.ศ. 1503 ถึง ปีพ.ศ. 1822 รัฐบาลซ่งเป็นรัฐบาลแรกในโลกที่ใช้เงินตราแบบกระดาษ เจ้า ควงอิ้น ได้ชื่อว่า พระเจ้าซ่งไท่จู่ ได้พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมขึ้นมาใหม่ แต่กลับตัดทอนอำนาจทางการทหาร ของแม่ทัพ เนื่องจากความระแวง กลัวจะยึดอำนาจ ทำให้การทหารอ่อนแอ อย่างไรก็ดี ในราชวงศ์นี้ ศิลปกรรมและวัฒนธรรมรุ่งเรืองมาก การศึกษาของประชาชนดีขึ้น และเปาบุ้นจิ้น ก็ได้มาเกิดในยุคในสมัยของจักรพรรดิซ่งเหรินจง ซึ่งเป็นยุคที่ฮ่องเต้อ่อนแอ อำนาจอยู่ในมือพวกกังฉิน ท่านตัดสินคดีอย่างยุติธรรม และเด็ดขาด ไม่เกรงหน้าอินทร์หน้าพรหมใดๆ จนเป็นที่เลื่องลือมาถึงปัจจุบัน ในสมัยราชวงศ์ซ่ง จีนถูกรุกรานโดยชนเผ่าต่างๆ คือ พวกเซี่ย พวกชิตัน (เมืองเหลียว) จึงมีศึกอยู่ตลอดมา แถมยังต้องยอมเซ็นสัญญาสงบศึกกับ "คนป่าเถื่อน" ต้องส่งบรรณาการให้ ทำให้การเงินไม่คล่องตัว จนมีนักปฏิรูปชื่อ "หวังอั้นจี่" ออกกฎหมายมาควบคุมการใช้เงิน ของบรรดาเชื้อพระวงศ์ แต่สุดท้าย ก็ต้องยกเลิก เพราะไปขัดผลประโยชน์เจ้าใหญ่นายโต ครั้นต่อมา มีชนเผ่าจินหรือกิม (บรรพบุรุษของแมนจู) เข้ามาตี และเนื่องจากมีขุนนางกังฉิน ไปเข้ากับศัตรู (ดังเช่น ฉินไคว่ กังฉินชื่อดัง ซึ่งใส่ความแม่ทัพงักฮุย และสังหารงักฮุยกับลูกชายเสีย ทำให้ชาวจีนเคียดแค้นชิงชังอย่างยิ่ง) บวกกับการทหารที่อ่อนแออยู่แล้ว (ผสมกับฮ่องเต้ที่ไร้สามารถ หูเบา เชื่อฟังกังฉิน) ทำให้พวกจินสามารถบุกจนถึงเมืองไคฟง (เมืองหลวง) จึงต้องย้ายเมืองหลวง ไปอยู่ทางทิศใต้ มีชื่อเรียกว่า ซ่งใต้ ซึ่งพวกจินก็ยังตามล้างผลาญตลอด แต่ต่อมา ในที่สุด พวกจิน, เซี่ยกับชิตันก็ถูกมองโกล ซึ่งนำโดย เจงกิสข่าน (เตมูจิน) เข้าตี แล้วหันมาตีจีนต่อจนถึงปักกิ่ง หลังจากนั้น กุบไลข่าน หลานปู่ของเจงกิสข่าน ได้โจมตีราชวงศ์ซ่งใต้ โดยได้ความร่วมมือจากขุนนาง และทหารของราชวงศ์ซ่งบางคน ที่กลับลำหันมาช่วยเหลือมองโกล โจมตีพวกของตัวเอง จนสิ้นราชวงศ์ในที่สุด แล้วกุบไลข่านจึงตั้งราชวงศ์หยวนขึ้นมาแทน.

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและราชวงศ์ซ่ง · ดูเพิ่มเติม »

รถไฟใต้ดินอู่ฮั่น สาย 2

รถไฟใต้ดินอู่ฮั่น สาย 2เป็นเส้นทางรถไฟฟ้าในนครอู่ฮั่น ประเทศจีน ลอดใต้ แม่น้ำแยงซี เปิดให้บริการชั่วคราววันที่ 25 กันยายน..

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและรถไฟใต้ดินอู่ฮั่น สาย 2 · ดูเพิ่มเติม »

ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1940)

รียงลำดับเหตุการณ์ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ระหว่างวันที่ 1 มกราคม จนถึง 31 ธันวาคม 1940 ทหารสกีของฟินแลนด์ - 12 มกราคม 1940 ทหารโซเวียตเสียชีวิตหลังจากถูกโจมตีที่ถนนราเต เส้นทางการรุกของกองทัพเยอรมันและกองทัพอังกฤษในการทัพนอร์เวย์ การรุกสายฟ้าแลบระหว่างยุทธการแห่งฝรั่งเศส - กลางเดือนพฤษภาคม 1940 อพยพจากดันเคิร์กระหว่างปฏิบัติการไดนาโม อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ในกรุงปารีส - 23 มิถุนายน 1940 เครื่องบินรบเยอรมันเตรียมทำการรบในยุทธการแห่งบริเตน เดอะบลิตซ์: กรุงลอนดอนถูกทิ้งระเบิดทางอากาศโดยกองทัพอากาศเยอรมัน.

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1940) · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยแอลลิเกเตอร์

วงศ์ย่อยแอลลิเกเตอร์ (วงศ์: Alligatorinae) เป็นวงศ์ย่อยของวงศ์ Alligatoridae ซึ่งเป็นวงศ์ใหญ่ของอันดับจระเข้ (Crocodylia) มีลักษณะเฉพาะคือ มีกระดูกฮัยออยด์เป็นชิ้นเรียวแคบ ช่องเปิดจมูกเป็นช่องคู่ เดิมเคยมีจำนวนสมาชิกที่หลากหลาย แต่ได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว ในปัจจุบันเหลือเพียงแค่ 2 ชนิดเท่านั้น และอยู่ในสกุลเดียว คือ Alligator คือ แอลลิเกเตอร์อเมริกัน (A. mississippiensis) และแอลลิเกเตอร์จีน (A. sinensis) แอลลิเกเตอร์อเมริกัน จัดเป็นแอลลิเกเตอร์ขนาดใหญ่ ที่เมื่อโตเต็มที่แล้วยาวได้ถึง 4 เมตร โดยมีขนาดเฉลี่ย 2.1 เมตร พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปตามแหล่งน้ำต่าง ๆ ของสหรัฐอเมริกา เช่น หนอง, บึง หรือลุ่มแม่น้ำต่าง ๆ ส่วนแอลลิเกเตอร์จีนเป็นขนาดเล็กกว่ามาก ปัจจุบันอยู่ในสภาวะใกล้สูญพันธุ์มากแล้ว พบได้เฉพาะในลุ่มแม่น้ำแยงซีของจีนแผ่นดินใหญ่ในภาคตะวันออกเท่านั้น.

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและวงศ์ย่อยแอลลิเกเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาหมูกระโดงสูง

วงศ์ปลาหมูกระโดงสูง (Sucker, Chinese sucker, American sucker) เป็นวงศ์ของปลาน้ำจืดกระดูกแข็ง ในอันดับปลาตะเพียน (Cypriformes) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Catostomidae (มาจากภาษากรีก คำว่า "kata" หมายถึง "ล่าง" และ "stoma" หมายถึง "ปาก") มีลักษณะโดยรวมคล้ายกับปลาในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) หรือ วงศ์ปลาสร้อยน้ำผึ้ง (Gyrinocheilidae) ที่อยู่ในอันดับเดียวกัน มีลักษณะร่วม คือ มี ปากอยู่ด้านล่างของส่วนหัว ริมฝีปากหนา มีความแตกต่างไปจากปลาวงศ์อื่นในอันดับเดียวกัน คือ มีแถวฟันในคอหอยเพียงแถวเดียวเท่านั้น มีความยาวเต็มที่ประมาณ 60-90 เซนติเมตร แต่ส่วนใหญ่จะมีความยาวน้อยกว่านั้น เป็นปลาที่หากินตามพื้นท้องน้ำ โดยหากินอาหารจำพวก ตะไคร่น้ำหรือสัตว์น้ำขนาดเล็ก เช่น หนอนแดง, ไส้เดือนน้ำ, กุ้ง หรือ แมลงน้ำต่าง ๆ เป็นต้น พบกระจายพันธุ์ส่วนมากในทวีปอเมริกาเหนือ และพบบางส่วนในประเทศจีน แบ่งออกได้เป็น 13 สกุล 68 ชนิด มีหลายชนิด หลายสกุลที่สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว.

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและวงศ์ปลาหมูกระโดงสูง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาฉลามปากเป็ด

วงศ์ปลาฉลามปากเป็ด (Paddle fish) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งน้ำจืดขนาดใหญ่วงศ์หนึ่ง ในชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Polyodontidae (มาจากภาษากรีกคำว่า "poly" หมายถึง "มาก" และ "odous" หมายถึง "ฟัน") ในอันดับปลาสเตอร์เจียน (Acipenseriformes) เป็นปลาขนาดใหญ่ ที่ถือกำเนิดมาตั้งแต่ยุคครีเตเชียสตอนปลายจนถึงปัจจุบัน มีลักษณะเด่น คือ จะงอยปากแบนยาวคล้ายปากของเป็ด หรือใบพายเรือ เป็นที่มาของชื่อสามัญ ปัจจุบัน เหลือเพียง 2 ชนิด ใน 2 สกุลเท่านั้น พบในสหรัฐอเมริกา และแม่น้ำแยงซีเกียง ในประเทศจีน ซึ่งเป็นปลาที่ใกล้สูญพันธุ์มากแล้วในปัจจุบัน.

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและวงศ์ปลาฉลามปากเป็ด · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์แอลลิเกเตอร์

วงศ์แอลลิเกเตอร์ (Alligator, Caiman; ชื่อวิทยาศาสตร์: Alligatoridae) เป็นวงศ์ของสัตว์เลื้อยคลานในอันดับจระเข้ (Crocodylia) ที่ยังคงสืบเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน ที่แยกออกจากวงศ์ Crocodylidae หรือวงศ์ของจระเข้ทั่วไป โดยวงศ์แอลลิเกเตอร์ปรากฏขึ้นมายุคครีเตเชียสเป็นครั้งแรก และไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงรูปร่างจากเดิมมากนักจนถึงปัจจุบันจนอาจเรียกว่าเป็นซากดึกดำบรรพ์มีชีวิตจำพวกหนึ่งก็ว่าได้ รูปร่างและลักษณะของวงศ์แอลลิเกเตอร์ จะแตกต่างจากจระเข้ในวงศ์ Crocodylidae คือ ปลายปากมีลักษณะคล้ายตัวอักษรยู (U) เมื่อหุบปากแล้วฟันที่ขากรรไกรล่างจะสวมเข้าไปในร่องของขากรรไกรบนจึงมองไม่เห็นฟันของขากรรไกรล่าง ส่วนปลายของขากรรไกรล่างซ้ายและขวาเชื่อมต่อกันเป็นพื้นที่แคบ กระดูกเอนโทพเทอรีกอยด์อยู่ห่างจากแถวของฟันที่กระดูกแมคซิลลาเป็นช่องกว้าง กระดูกพาลาทีนมีก้านกระดูกชิ้นยาวอยู่ทางด้านหน้าและยื่นเลยช่องในเบ้าตา พื้นผิวด้านบนของลิ้นมีสารเคอราติน ไม่มีต่อมขจัดเกลือบนลิ้น แบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ย่อย คือ Alligatorinae คือ แอลลิเกเตอร์อเมริกัน (Alligator mississippiensis) ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุด พบได้ในสหรัฐอเมริกาอย่างกว้างขวาง และแอลลิเกเตอร์จีน (A. sinensis) ซึ่งมีขนาดเล็กกว่ามาก พบได้เฉพาะพื้นที่ลุ่มแม่น้ำแยงซีในภาคตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่เท่านั้น และ Caimaninae ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า และเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อสามัญว่า "จระเข้เคแมน" ซึ่งพบได้ตั้งแต่อเมริกากลางจนถึงทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง เพราะมีขนาดเล็ก โดยแต่เดิมนั้น แอลลิเกเตอร์มีจำนวนสมาชิกของวงศ์มากกว่านี้ แต่ได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว ซึ่งปัจจุบันในสองวงศ์ย่อยนี้รวมกันแล้วมีจำนวนเพียง 8 ชนิดเท่านั้น.

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและวงศ์แอลลิเกเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

สามก๊ก (การ์ตูน)

มก๊ก เป็นการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่องยาว ที่แปลมาจาก วรรณกรรรมจีน เรื่องสามก๊ก วาดภาพโดย มิตสึเทรุ โยโกยามะ ต่อมาได้ถูกสร้างเป็นอะนิเมะ ในปี พ.ศ. 2534 ออกอากาศทางสถานีทีวีโตเกียว และสร้างเป็นเกม สำหรับเครื่องนินเทนโดดีเอส ในปี พ.ศ. 2550 เนื้อเรื่องในการ์ตูน แปลมาจาก หนังสือสามก๊กฉบับภาษาญี่ปุ่น ของเออิจิ โยชิคาวะ ซึ่งจะแตกต่างจาก สามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)หรือ สามก๊กฉบับวณิพกของยาขอบเล็กน้อย สามก๊กเป็นนิยาย ที่เต็มไปด้วย แผนการรบและกลอุบาย จนมีคำกล่าวว่า อ่านสามก๊กครบสามจบ คบไม่ได้ ในประเทศไทย สำนักพิมพ์จัมโบ้ จัดพิมพ์สามก๊กเป็นเล่มใหญ่ โดยแบ่งเป็น 15 เล่ม.

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและสามก๊ก (การ์ตูน) · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐเตอร์เกสถานตะวันออกที่ 2

รณรัฐเตอร์เกสถานตะวันออกที่ 2 (The Second East Turkestan Republic หรือ East Turkestan Republic; ETR) เป็นรัฐคอมมิวนิสต์อายุสั้นของชาวเติร์กที่สหภาพโซเวียต ให้การสนับสนุน ระหว่าง 12 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและสาธารณรัฐเตอร์เกสถานตะวันออกที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง

งครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง (Second Sino-Japanese War;; 日中戦争) ระหว่างวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2480 ถึงวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2488 เป็นสงครามระหว่างจีนกับญี่ปุ่น เกิดขึ้นก่อนสงครามโลกครั้งที่สองต่อมากลายเป็นส่วนหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่สองเรียกว่า "สงครามแปซิฟิก" และดำเนินเรื่อยมาจนยุติลงพร้อมกับสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นสงครามที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชียในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ย้อนกลับไปใน พ.ศ. 2474 ญี่ปุ่นได้เข้ารุกรานแมนจูเรีย ซึ่งเหตุการณ์นี้เรียกว่ากรณีมุกเดน ทำให้ญี่ปุ่นสามารถเข้าไปมีอิทธิพลในดินแดนจีนแผ่นดินใหญ่ได้ จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ ณ สะพานมาร์โค โปโล อันเป็นจุดเริ่มต้นอย่างเป็นทางการของสงครามครั้งนี้ ตั้งแต่เริ่มต้นสงครามจนถึง..

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

หลี่ ไป๋

หลี่ ไป๋ (Li Bai) (ค.ศ. 701-762) เป็นกวีจีนที่ยิ่งใหญ่แห่งราชวงศ์ถัง ได้รับยกย่องเป็น กวีผู้ยิ่งใหญ่ หนึ่งในสองคนเท่าที่ปรากฏในประวัติศาสตร์งานประพันธ์ของจีน เคียงคู่กันกับชื่อของตู้ฝู่ บทกวีของหลี่ไป๋ได้รับอิทธิพลจากจินตภาพของเต๋า และการนิยมชมชอบการดื่มสุรา เช่นเดียวกับ ตู้ฝู่ เขาเป็นหนึ่งในแปดของ แปดอมตะไหสุรา (飲中八仙, Eight Immortals of the Wine Cup) ซึ่งปรากฏชื่ออยู่ในงานกวีของตู้ฝู่ หลี่ไป๋ได้ใช้เวลาส่วนใหญ่ในชีวิตไปกับการท่องเที่ยว ในกรณีของเขาเนื่องจากมีฐานะดีจึงสามารถท่องเที่ยวได้ ไม่ใช่เพราะว่าความยากจนจึงต้องท่องเที่ยวไปในที่ต่าง ๆ หลี่ไป๋เคยเล่าว่าครั้งหนึ่ง เขาได้ตกจากเรือลงไปในแม่น้ำแยงซี ขณะกำลังเมาและพยายามจะไขว่คว้าพระจันทร์ งานกวีนิพนธ์ของหลี่ไป๋ยังคงอยู่มาจนถึงปัจจุบันมากกว่า 1,100 ชิ้น มีการแปลบทกวีของเขาไปเป็นภาษาตะวันตกครั้งแรกในปี พ.ศ. 2405 โดย มาร์ควิส ดีเฮอร์วีย์ เดอ แซงต์เดนีส์ ในหนังสือ Poésies de l'Époque des Thang และต่อมาในปี พ.ศ. 2444 งานกวีนิพนธ์ของหลี่ไป๋ก็เป็นที่รู้จักกว้างขวางในแวดวงวรรณกรรมตะวันตก เมื่อสำนักพิมพ์ Herbert Allen Giles พิมพ์เผยแพร่ผลงานเรื่อง "ประวัติศาสตร์วรรณคดีจีน" (History of Chinese Literature).

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและหลี่ ไป๋ · ดูเพิ่มเติม »

หวังอันฉือ

หวังอันฉือ (เกิด: พ.ศ. 1564; ตาย: วันที่ 6 เดือน 4 ปีหยวนโหยวที่ 1 ตรงกับวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 1629 ตามปฏิทินสุริยคติ) เป็นข้าราชการชาวจีนในประวัติศาสตร์ มีบทบาทเป็นนักเศรษฐศาสตร์ นักปฏิรูป อัครมหาเสนาบดีซึ่งตรงกับตำแหน่ง "นายกรัฐมนตรี" ในปัจจุบัน และกวีสมัยราชวงศ์ซ่งเหนือ หวังอันฉือมีผลงานโดดเด่นในด้านการปฏิรูปเศรษฐกิจ เขาเล็งเห็นความล้าหลังของสังคมและเป็นผู้นำการปฏิรูปทางเศรษฐกิจสังคม ส่งผลให้การใช้จ่ายของประชาชนคล่องตัว ทำลายการผูกขาดทางการค้า และสร้างระเบียบทางการปกครองและสวัสดิการสังคมรูปแบบใหม่ หวังอันฉือยังปรับปรุงระบบการสอบคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการ โดยขัดขวางคติเห็นแก่ญาติและระบบอุปถัมภ์อันฝังรากลึกในมาแต่เดิม การปฏิรูปของหวังอันฉือไม่เป็นที่พึงใจของกลุ่มอนุรักษนิยมอันนำโดยรัฐมนตรีซือหม่ากวงอย่างยิ่ง นอกจากนี้ สมเด็จพระจักรพรรดิเหรินจงซึ่งมีพระราชอัธยาศัยใฝ่พระราชหฤทัยไปทางซือหม่ากวงก็ไม่โปรดด้วย ทำให้การปฏิรูปดำเนินการและประสบความสำเร็จในช่วงสั้น ๆ เท่านั้น อัครมหาเสนาบดีหวังมีชีวิตอยู่ในช่วงก่อนกรุงสุโขทัยเมื่อเทียบกันแล้ว.

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและหวังอันฉือ · ดูเพิ่มเติม »

หางโจว

หางโจว ทิวทัศน์ในปัจจุบันของทะเลสาบซีหู เมืองหางโจว มณฑลเจ้อเจียง ซึ่งในอดีตคือเมืองหลินอันราชธานีของซ่งใต้ หางโจว (จีน: 杭州; Hangzhou) เป็นเมืองหลวงของมณฑลเจ้อเจียง สาธารณรัฐประชาชนจีน เมืองหางโจว ซึ่งเป็นเมืองเก่าแก่ 1 ใน 6 ของประเทศจีน ปัจจุบันหางโจว ถือเป็นเมืองที่อยู่ในเขตภาคตะวันออกที่ได้รับการพัฒนาอย่างสูงสุดแล้ว ดังนั้นหางโจวจึงเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีว่า เป็นเมืองที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ มีวัฒนธรรมที่ยาวนาน และเป็นเมืองที่มีทัศนียภาพที่สวยสดงดงามเมืองหนึ่งของประเทศจีน รวมทั้งมั่งคั่งไปด้วยเภสัชอุตสาหกรรม และสถาบันศิลปะมากมาย เมืองหางโจวถือว่าเมืองดิจิตอลไร้สายได้ครอบคลุมถึงทางหลวงและตรอกเล็กซอยน้อยต่างๆในเมือง.

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและหางโจว · ดูเพิ่มเติม »

หนานเยฺว่

หนานเยฺว่ หรือ นามเหวียต (Nam Việt) เป็นอาณาจักรโบราณที่มีอาณาเขตปกคลุมบริเวณมณฑลทางตอนใต้ของจีน อันได้แก่ กวางตุ้ง, กว่างซี และยูนนาน ไปจนถึงตอนเหนือของเวียดนามในปัจจุบัน หนานเยฺว่ได้รับการก่อตั้งในช่วง 204 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในช่วงการล่มสลายของราชวงศ์ฉินของจีน หนานเยฺว่ได้ถูกก่อตั้งโดย จ้าว ถัว ผู้ปกครองดินแดนทะเลจีนใต้ อาณาเขตของหนานเยฺว่ในช่วงแรกประกอบด้วยหนานไฮ่, กุ้ยหลิน และ เซียง ใน 196 ปีก่อนคริสต์ศักราช จ้าว ถัว ได้สวามิภักดิ์ต่อจักรพรรดิฮั่นเกาจู่แห่งราชวงศ์ฮั่น ดินแดนหนานเยฺว่ได้ถูกเรียกโดยผู้ปกครองชาวจีนฮั่นว่าเป็น "คนรับใช้ชาวต่างชาติ" มีภาพพจน์เป็นดินแดนส่วนหนึ่งของจีน ประมาณ 183 ปีก่อนคริสต์ศักราช ความสัมพันธ์ระหว่างหนานเยฺว่และราชวงศ์ฮั่นได้ห่างเหินต่อกันมากขึ้น และ จ้าว ถัวได้เริ่มที่จะสถาปนาอ้างตัวเองว่าเป็นจักรพรรดิอีกทั้งประกาศอาณาจักรหนานเยฺว่เป็นอิสระ ใน 179 ปีก่อนคริสต์ศักราช ความสัมพันธ์ระหว่างหนานเยฺว่และราชวงศ์ฮั่นกลับมาดีขึ้นอีกครั้ง จ้าว ถัวได้ยอมสวามิภักดิ์ส่งเครื่องราชบรรณาการต่อราชวงศ์ฮั่นอีกครั้ง ในสมัยของจักรพรรดิฮั่นเหวิน ในฐานะเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของราชวงศ์ฮั่นของจีน อย่างไรก็ตามแม้จะมีการส่งบรรณาการและการยอมสวามิภักดิ์ หนานเยฺว่ยังคงมีอิสระและยังคงปกครองตนเองจากชาวจีนฮั่น และจ้าว ถัว ยังอ้างตนเป็น "จักรพรรดิ" แห่งหนานเยฺว่ จนกระทั่งพระองค์สิ้นพระชนม์ ในช่วง 113 ปีก่อนคริสตกาล ผู้นำ 4 รุ่น แห่งตระกูลจ้าว จ้าว ซิง มีแนวโน้มที่มีใจฝักใฝ่จีนโดยได้พยายามขอให้ราชวงศ์ฮั่นยอมรับหนานเยฺว่เป็นส่วนหนึ่งอย่างเป็นทางการ อัครมหาเสนาบดีของพระองค์ ลฺหวี่เจีย ได้คัดค้านอย่างรุนแรงและได้สมคบคิดวางแผนกับขุนนางคนอื่นๆทำการลอบสังหารจ้าว ซิง และอัญเชิญพระเชษฐา จ้าว เจี้ยนเต๋อที่มีพระชนม์มากกว่าขึ้นครองราชย์ ลฺวี่เจียได้บับบังคับจ้าว เจี้ยนเต๋อตั้งตนเป็นอิสระแข็งข้อต่อราชวงศ์ฮั่น ซึ่งเท่ากับเผชิญหน้ากับราชวงศ์ฮั่น ในปีต่อมาจักรพรรดิฮั่นอู่แห่งราชวงศ์ฮั่นได้ส่งกองทัพ 100,000 คน ทำสงครามบุกหนานเยฺว่ จนกระทั่งเมื่อถึงปลายปีเดียวกันนั้น กองทัพราชวงศ์ฮั่นได้บุกยึดและทำลายหนานเยฺว่ลงอย่างราบคาบและสถาปนาเป็นดินแดนของชาวจีนฮั่น ดินแดนหนานเยฺว่ได้สิ้นสุดลงนับแต่บัดนั้น โดยดำรงอยู่ 93 ปี มีกษัตริย์ปกครอง 5 รุ่น การก่อตั้งอาณาจักรหนานเยฺว่เกิดมาจากการที่เป็นเมืองหน้าด่านของแคว้นหลิงหนานในระหว่างช่วงความวุ่นวายสับสนระหว่างการล่มสลายของราชวงศ์ฉิน เปิดโอกาสให้แคว้นทางตอนใต้ของจีนได้มีอิสระและหลีกเลี่ยงการปกครองที่กดขี่จากชาวจีนฮั่นที่มาจากแคว้นทางเหนือของจีน อาณาจักรหนานเยฺว่ถูกก่อตั้งโดยผู้นำชาวจีนฮั่นที่มาจากภาคกลางของจีนตอนบนซึ่งนำไปสู่การนำรูปแบบการปกครองแบบเจ้าขุนมูลนายจีน, เทคนิควิธีทางการเกษตร, ข้าวของเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทันสมัย มาสอนเผยแพร่แก่ชนพื้นเมืองแคว้นทางตอนใต้ อาทิเช่น การรับรู้ภาษาจีนและระบบการเขียนแบบจีน ผู้นำหนานเยฺว่แทบทุกพระองค์สนับสนุนนโยบาย "สามัคคีและรวบรวมชนเผ่าไป่เยฺว่" ประกอบกับตัวผู้นำเองมีใจฝักใฝ่จีนโดยมีการเชิญชวนให้ชาวจีนฮั่นผู้เป็นมิตรมาแสวงโชคโดยอพยพจากดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำหวงโฮทางตอนเหนือเข้ามาอาศัยในดินแดนตอนใต้ พวกเขายังสนับสนุนนโยบาย เปลี่ยนให้เป็นจีน โดยการกลมกลืนระหว่างสองวัฒนธรรมและผู้คน ระหว่างสองวัฒนธรรมจีนฮั่นและวัฒนธรรมพื้นเมืองทางตอนใต้ บ่อยครั้งที่วัฒนธรรมจีนมักจะดูดกลืนวัฒนธรรมของชนพื้นเมือง ผู้นำหนานเยฺว่ ตระกูลจ้าว ยังประกาศใช้วัฒนธรรมจีนและภาษาจีนไปทั่วทั้งดินแดนหนานเยฺว่ แม้ว่าจะมีการรักษาขนบธรรมเนียมดั้งเดิมของตนเอาไว้ควบคู่กัน.

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและหนานเยฺว่ · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรล้านช้าง

อาณาจักรล้านช้าง (ອານາຈັກລ້ານຊ້າງ) เป็นอาณาจักรของชนชาติลาวซึ่งตั้งอยู่ในแถบลุ่มแม่น้ำโขง มีอาณาเขตอยู่ในบริเวณประเทศลาวทั้งหมด ตลอดจนพื้นที่บางส่วนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย โดยมีความเจริญรุ่งเรืองทั้งการเมืองการปกครอง ด้านศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนพระพุทธศาสนา ที่มีพัฒนาการเคียงคู่มาพร้อมกันอาณาจักรอื่น ๆ ใกล้เคียง ทั้งล้านนา สยาม พม่า และเขมร อาณาจักรแห่งนี้ได้สถาปนาขึ้นอย่างเป็นปึกแผ่นมั่งคงอย่างแท้จริงในปี พ.ศ. 1896 สมัยพระเจ้าฟ้างุ้ม มีความรุ่งเรืองสลับกับความร่วงโรยต่อมาหลายสมัย ซึ่งยุคที่นับได้ว่าเป็นยุคทองของอาณาจักรล้านช้างคือรัชสมัยของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช (พ.ศ. 2091- พ.ศ. 2114 และรัชสมัยพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช (พ.ศ. 2181- พ.ศ. 2238) หลังจากนั้นอาณาจักรลาวก็เสื่อมอำนาจลงและแตกแยกเป็น 3 ราชอาณาจักร และในปี พ.ศ. 2321 ทั้ง 3 อาณาจักรก็ได้สูญเสียเอกราชแก่ราชอาณาจักรสยามในที.

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและอาณาจักรล้านช้าง · ดูเพิ่มเติม »

อุทกภัยในประเทศจีน พ.ศ. 2474

อุทกภัยในประเทศจีน..

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและอุทกภัยในประเทศจีน พ.ศ. 2474 · ดูเพิ่มเติม »

อุทกภัยในประเทศจีน พ.ศ. 2553

อุทกภัยในประเทศจีน..

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและอุทกภัยในประเทศจีน พ.ศ. 2553 · ดูเพิ่มเติม »

อุทกภัยในประเทศจีน พ.ศ. 2554

ปริมาณหยาดน้ำฟ้าเฉลี่ยประจำปี ในภูมิภาคต่างๆของจีนแผ่นดินใหญ่และเกาะไต้หวัน อุทกภัยในประเทศจีน..

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและอุทกภัยในประเทศจีน พ.ศ. 2554 · ดูเพิ่มเติม »

อู่ฮั่น

ทิวทัศน์เมืองอู่ฮั่น อู่ฮั่น เป็นเมืองเอกของมณฑลหูเป่ยและเป็นเมืองใหญ่สุดในมณฑล มีพื้นที่ 8,467.11 ตร.กม. (ในเมือง 1,954 ตร.กม.) ประชากร 8,100,000 (พ.ศ. 2549).

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและอู่ฮั่น · ดูเพิ่มเติม »

จระเข้ตีนเป็ด

แอลลิเกเตอร์ หรือ จระเข้ตีนเป็ด (Alligators; เรียกสั้น ๆ ว่า เกเตอร์: Gators) เป็นสกุลของสัตว์เลื้อยคลานในอันดับจระเข้ (Crocodilia) ในวงศ์ Alligatoridae ใช้ชื่อสกุลว่า Alligator แอลลิเกเตอร์เป็นจระเข้ที่อยู่ในวงศ์ Alligatoridae ซึ่งแยกมาจากจระเข้ทั่วไปส่วนใหญ่ที่จะอยู่ในวงศ์ Crocodylidae ซึ่งแยกออกมาจากกันราว 200 ล้านปีก่อน ในมหายุคมีโซโซอิก และไม่เปลี่ยนแปลงรูปร่าง แอลลิเกเตอร์จึงจัดเป็นซากดึกดำบรรพ์มีชีวิตจำพวกหนึ่ง แอลลิเกเตอร์ มีลักษณะที่แตกต่างไปจากจระเข้ในวงศ์ Crocodylidae หรือจระเข้ทั่วไป คือ เมื่อมองจากด้านบนจะเห็นจะงอยปากสั้นและเป็นรูปตัวยู รูจมูกมีขนาดใหญ่ และเมื่อหุบปากแล้วฟันล่างจะไม่โผล่ออกมาให้เห็น เพราะมีส่วปลายของหัวแผ่กว้างและขากรรไกรยาว ส่วนปลายของขากรรไกรล่างซ้ายและขวาเชื่อมต่อกันเป็นพื้นที่แคบ กระดูกแอนโทพเทอรีกอยด์อยู่ห่างจากแถวของฟันที่กระดูกแมคซิลลาเป็นช่องกว้าง กระดูกพาลาทีนมีก้านกระดูกชิ้นยาวอยู่ทางด้านหน้าและยื่นเลยช่องในเบ้าตา พื้นผิวด้านบนของลิ่นมีสารเคอราติน ไม่มีต่อมขจัดเกลือบนลิ้น ปัจจุบัน แอลลิเกเตอร์ มีอยู่ 2 ชนิดเท่านั้น คือ แอลลิเกเตอร์อเมริกัน (Alligator mississippiensis) ซึ่งถือเป็นสัตว์จำพวกจระเข้ที่ใหญ่ที่สุดที่พบได้ในทวีปอเมริกาเหนือ และแอลลิเกเตอร์จีน (A. sinensis) ที่พบในลุ่มแม่น้ำแยงซีในประเทศจีนเท่านั้น และเป็นสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์มากแล้ว ซึ่งคำว่า แอลลิเกเตอร์นั้น มาจากภาษาสเปนคำว่า "Lagarto" หมายถึง "สัตว์เลื้อยคลาน".

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและจระเข้ตีนเป็ด · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิยฺเหวียนฮุ่ยจง

หวียนฮุ่ยจง (25 พฤษภาคม ค.ศ. 1320 – 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1370) หรือ ถั่วฮฺวัน เทียมู่เอ่อร์ (Toghon Temür) เสด็จสวรรคตแล้วจึงได้พระนามว่า ยฺเหวียนชุ่นตี้ เป็นจักรพรรดิจีนแห่งราชวงศ์หยวน (ยฺเหวียน) ใน..

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและจักรพรรดิยฺเหวียนฮุ่ยจง · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิมองโกล

อาณาเขตของจักรวรรดิมองโกล จักรวรรดิมองโกล (มองโกล: Mongolyn Ezent Güren; Mongol Empire) ซึ่งมีอยู่ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 13 และ 14 เป็นจักรวรรดิทางบกที่มีอาณาเขตต่อเนื่องใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ กำเนิดในสเต็ปป์เอเชียกลาง สุดท้ายจักวรรดิมองโกลมีอาณาเขตครอบคลุมยุโรปตะวันออกจนถึงทะเลญี่ปุ่น ขยายไปทางเหนือเข้าไปในไซบีเรีย ทางตะวันออกและใต้เข้าไปในอนุทวีปอินเดีย อินโดจีนและที่ราบสูงอิหร่าน และทางตะวันตกไปไกลถึงเลแวนต์และคาบสมุทรอาหรับ จักรวรรดิรวมเผ่าชนเร่ร่อนมองโกเลียในประวัติศาสตร์ภายใต้การนำของเจงกิสข่าน ผู้ได้รับประกาศเป็นผู้ปกครองชาวมองโกลทั้งปวงใน..

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและจักรวรรดิมองโกล · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดตาก

นมิตรภาพ ไทย-พม่า (แม่สอด-เมียวดี) ทอดข้ามแม่น้ำเมย จังหวัดตาก (30px) เป็นจังหวัดในภาคตะวันตกหรือบางแห่งจัดอยู่ในภาคเหนือตอนล่างของไทย มีพื้นที่มากเป็นอันดับ 4 ของประเทศ แต่มีประชากรเบาบางที่สุดเป็นอันดับ 2 ของประเทศ นับเป็นจังหวัดชายแดนที่สำคัญอีกจังหวัดหนึ่งของไทย มีประวัติศาสตร์เก่าแก่นับแต่สมัยกรุงสุโขทัย ทั้งยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมที่งดงามหลายแห่งด้วย นอกจากนี้จังหวัดตากยังเป็นจังหวัดที่มีอาณาเขตติดต่อจังหวัดอื่น ๆ ถึง 9 จังหวั.

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและจังหวัดตาก · ดูเพิ่มเติม »

จื่อเฟิงทาวเวอร์

ื่อเฟิงทาวเวอร์ (อาจรู้จักในชื่อ Greenland Center-Zifeng Tower หรือ Greenland Square Zifeng Tower; เดิมชื่อ Nanjing Greenland Financial Center) เป็นตึกระฟ้าความสูง 450 เมตร (1,500 ฟุต) ในเมืองหนานจิง ประเทศจีน ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2552 ตึกทั้งหมด 66 ชั้นสำหรับใช้เป็นสำนักงานและขายปลีกในส่วนล่างของตึก ส่วนภัตตาคารและหอชมวิวสาธารณะในชั้นใกล้บนสุด ซึ่งบนสุดจะเป็นยอดแหลม ปัจจุบันตึกระฟ้าแห่งนี้เป็นตึกสูงที่สุดอันดับ 4 ของประเทศจีนและสูงที่สุดเป็นอันดับ 11 ของโลก โดยสร้างถึงยอดตึกในปี..

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและจื่อเฟิงทาวเวอร์ · ดูเพิ่มเติม »

จูกัดกิ๋น

จูกัดกิ๋น (Zhuge Jin) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก เป็นพี่ชายแท้ ๆ คนโตของขงเบ้ง รับราชการเป็นขุนนางฝ่ายบุ๋นอยู่กับ ซุนกวน ในตอนต้นของศึกเซ็กเพ็ก ระหว่างที่ขงเบ้งมาที่กังตั๋งเพื่อยุยงให้ซุนกวนและจิวยี่ออกรบ เพราะทัพของโจโฉยกมาตั้งที่ฝั่งตรงข้ามของแม่น้ำแยงซีเกียง โดยมีเจตนาเพื่อจะมายึดครองกังตั๋ง จูกัดกิ๋นได้เกลี่ยกล่อมให้ขงเบ้งมาสวามิภักดิ์กับซุนกวนด้วยเหตุผลที่ว่าเพื่อพี่น้องจะได้อยู่ร่วมกัน แต่ก็ไม่สำเร็จ กลับเป็นฝ่ายโดนขงเบ้งเกลี้ยกล่อมมาให้มาฝ่ายเล่าปี่เสียเอง และหลังจากที่เล่าปี่ยึดเสฉวนได้แล้ว ซุนกวนได้สั่งให้จูกัดกิ๋นไปทวงเกงจิ๋วที่เล่าปี่เคยสัญญาไว้ว่า "ถ้ายึดเสฉวนเมื่อไหร่จะยกเกงจิ๋วให้ทันที" เล่าปี่ได้ยกเมืองคืนไป 3 เมือง คือเมือง เลงเหลง, ฮุยเอี๋ยงและเตียงสา โดยเล่าปี่ได้ให้หนังสือถึงกวนอูเพื่อให้กวนอูคืนเมืองทั้งสาม แต่เมื่อจูกัดกิ๋นไปถึงเกงจิ๋วกวนอูกับไม่ยอมคืนสามเมืองให้ จึงกลับหาซุนกวน ซุนกวนจึงต่อว่าจูกัดกิ๋นว่า "ท่านวิ่งกลับมาครั้งนี้ก็ด้วยอุบายของขงเบ้งทั้งสิ้น" ในตอนที่ขงเบ้งยกทัพบุกเขากิสานครั้งที่ 5 ได้มีหนังสือไปยังพระเจ้าซุนกวนเพื่อให้ยกทัพง่อก๊กไปตีวุยก๊กด้วยเป็นการประสานการโจมตีพร้อมกัน ก็เป็นจูกัดกิ๋นและลกซุนเป็นแม่ทัพใหญ่ที่ยกไป ร้อนถึงพระเจ้าโจยอยต้องยกทัพมาเองจากลกเอี๋ยงเพื่อต้านทัพ เพราะสุมาอี้ แม่ทัพใหญ่ก็ติดพันศึกอยู่กับขงเบ้งที่เขากิสาน ท้ายที่สุดทัพของพระเจ้าโจยอยก็ได้รับชัยชนะทำเอาขงเบ้งถึงกับตกใจ จูกัดกิ๋นมีบุตรชายชื่อจูกัดเก๊ก ซึ่งภายหลังได้เป็นราชครูและแม่ทัพใหญ่ของง่อก๊กในรัชสมัยพระเจ้าซุนเหลียง แทนจูกัดกิ๋นผู้เป็นบิดา จูกัดกิ๋นเสียชีวิตในปี พ.ศ. 784 รวมอายุได้ 67 ปี จูกัดกิ๋น จูกัดกิ๋น.

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและจูกัดกิ๋น · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปเอเชีย

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปเอเชีย เอเชีย (Asia; Ασία อาเซีย) เป็นทวีปใหญ่และมีประชากรมากที่สุดในโลก พื้นที่ส่วนมากตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือและตะวันออก ทวีปเอเชียตั้งอยู่ในทวีปยูเรเชียรวมกับทวีปยุโรป และอยู่ในทวีปแอฟโฟร-ยูเรเชียร่วมกับยุโรปและแอฟริกา ทวีปเอเชียมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 44,579,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 30% ของแผ่นดินทั่วโลกหรือคิดเป็น 8.7% ของผิวโลกทั้งหมด ทวีปเอเชียเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มานานและเป็นแหล่งกำเนินอารยธรรมแรก ๆ ของโลกหลายแห่ง เอเชียไม่ได้เพียงแค่มีขนานใหญ่และมีประชากรเยอะแต่ยังมีสถานที่ ๆ ตั้งถิ่นฐานหนาแน่นและมีขนาดใหญ่เช่นเดียวกับที่ยังมีบริเวณที่ประชากรตั้งถิ่นฐานเบาบางด้วย ทั้งนี้ทวีปเอเชียมีประชากรราว 4.5 พันล้านคน คิดเป็น 60% ของประชากรโลก โดยทั้วไปทางตะวันออกของทวีปติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ทางใต้ติดมหาสมุทรอินเดียและทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก บริเวณชายแดนระหว่างเอเชียและยุโรปมีประวัติศาสตร์และโครงสร้างวัฒนธรรมมากมายเพราะไม่มีการแยกกันด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ชัดเจน จึงมีการโยกย้ายติดต่อกันในช่วงสมัยคลาสสิก ทำให้บริเวณนี้แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม ภาษา ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ของตะวันออกกับตะวันตกและแบ่งจากกันอย่างเด่นชัดกว่าการขีดเส้นแบ่ง เขตแดนที่เด่นชัดของเอเชียคือตั้งแต่ฝั่งตะวันออกของคลองสุเอซ, แม่น้ำยูรัล, เทือกเขายูรัล, ช่องแคบตุรกี, ทางใต้ของเทือกเขาคอเคซัส, ทะเลดำและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68–69); "Asia" (pp. 90–91): "A commonly accepted division between Asia and Europe is formed by the Ural Mountains, Ural River, Caspian Sea, Caucasus Mountains, and the Black Sea with its outlets, the Bosporus and Dardanelles." จีนและอินเดียเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกตั้งแต่คริสต์ศักราชที่ 1 ถึง 1800 จีนเป็นประเทศที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจที่สำคัญและดึงดูดผู้คนจำนวนมากให้ไปทางตะวันออก และตำนาน ความมั่งคั่งและความรุ่งเรืองของวัฒนธรรมโบราณของอินเดียกลายเป็นสัญลักษณ์ของเอเชีย สิ่งเหล่านี้จึงดึงดูดการค้า การสำรวจและการล่าอาณานิคมของชาวยุโรป การค้นพบเส้นทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกโดยบังเอิญจากยุโรปไปอเมริกาของโคลัมบัสในขณะที่กำลังค้นหาเส้นทางไปยังอินเดียแสดงให้เห็นความดึงดูดใจเหล่านี้ เส้นทางสายไหมกลายเป็นเส้นทางการค้าหลักของฝั่งตะวันออกกับฝั่งตะวันตกในขณะที่ช่องแคบมะละกากลายเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญ ช่วงศตวรรษที่ 20 ความแข็งแรงของประชากรเอเชียและเศรษฐกิจ (โดยเฉพาะเอเชียตะวันออก) เติบโตเป็นอย่างมากแต่การเติบโตของประชากรโดยรวมลดลงเรื่อย ๆ เอเชียเป็นแหล่งกำเนิดของศาสนาหลักบนโลกหลายศาสนา อาทิศาสนาคริสต์, ศาสนาอิสลาม, ศาสนายูดาห์, ศาสนาฮินดู, ศาสนาพุทธ, ลัทธิขงจื๊อ, ลัทธิเต๋า, ศาสนาเชน, ศาสนาซิกข์, ศาสนาโซโรอัสเตอร์และศาสนาอื่น ๆ อีกมากมาย เนื่องเอเชียจากมีขนาดใหญ่และมีความหลากหลายทางแนวคิด ภูมินามวิทยาของเอเชียมีตั้งแต่สมัยคลาสสิกซึ่งคาดว่าน่าจะตั้งตามลักษณะผู้คนมากกว่าลักษณะทางกายภาพ เอเชียมีความแตกต่างกันอย่างมากทั้งด้านภูมิภาค กลุ่มชาติพันธุ์ วัฒนธรรม, สภาพแวดล้อม, เศรษฐศาสตร์, ประวัติศาสตร์และระบบรัฐบาล นอกจากนี้ยังมีสภาพอากาศที่แตกต่างกันอย่างมากเช่น พื้นเขตร้อนหรือทะเลทรายในตะวันออกกลาง, ภูมิอากาศแบบอบอุ่นทางตะวันออก ภูมิอากาศแบบกึ่งอารกติกทางตอนกลางของทวีปและภูมิอากาศแบบขั่วโลกในไซบีเรี.

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและทวีปเอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลสาบหยางเฉิง

ทะเลสาบหยางเฉิง (Yangcheng Lake) เป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดเล็ก ตั้งทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือห่างจากเมืองซูโจว ในมณฑลเจียงซู ประเทศจีน ประมาณ เป็นแหล่งที่มีชื่อเสียงที่เป็นต้นกำเนิดของปูขน (ก้ามขน) ทะเลสาบหยางเฉิงตั้งอยู่ระหว่งทะเลสาบไท่หรือไท่หู (อังกฤษ: Lake Tai; จีนตัวย่อ: 太湖) และแม่น้ำแยงซี โดยรอบทะเลสาบมีอาณาเขตติดกับเมืองซูโจว เมืองฉางสู (Changshu) (จีนตัวย่อ: 常熟) และเมืองคุณซาน (Kunshan) (จีนตัวย่อ: 昆山) ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ.

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและทะเลสาบหยางเฉิง · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลสาบไท่

ทะเลสาบไท่ หรือไท่หู (อังกฤษ: Lake Tai หรือ Lake Taihu; จีน: 太湖; พินอิน: Tài Hú; แปลตามตัวอักษรว่า "Great Lake") เป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ในบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี (Yangtze Delta) ใกล้เมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ตั้งอยู่ในเขตมณฑลเจียงซู โดยมีบริเวณตอนใต้ของทะเลสาบติดกับเขตของมณฑลเจ้อเจียง พื้นที่ทะเลสาบมีขนาดประมาณ และความลึกเฉลี่ยประมาณ จึงนับได้ว่าเป็นทะเลสาบน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่สามของประเทศจีนต่อจากทะเลสาบโป๋หยาง (อังกฤษ: Poyang; จีน:  鄱阳湖; พินอิน: Póyáng Hú, Gan: Po-yong U) และทะเลสาบต้งถิง (อังกฤษ: Dongting; จีน: 洞庭湖; พินอิน: Dòngtíng Hú) ภายในบริเวณทะเลสาบประกอบด้วยเกาะต่าง ๆ กว่า 90 เกาะJiangsu.net (http://wuxi.jiangsu.net/attraction/premier.php?name.

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและทะเลสาบไท่ · ดูเพิ่มเติม »

ทากิฟูงุ

ทากิฟูงุ (Takifugu; トラフグ属.) เป็นชื่อวิทยาศาสตร์เรียกสกุลหนึ่งของปลาปักเป้าในวงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่ (Tetraodontidae) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อสามัญภาษาญี่ปุ่นว่า "ฟูงุ" (河豚-แปลว่า หมูแม่น้ำ) เนื่องจากเป็นปลาปักเป้าสกุลที่นิยมนำมาทำซาชิมิหรือปลาดิบ อาหารญี่ปุ่นที่มีชื่อไปทั่วโลก โดยใช้ชื่อสกุลว่า Takifugu.

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและทากิฟูงุ · ดูเพิ่มเติม »

ทางรถไฟอี๋วั่น

ทางรถไฟอี๋วั่น (เส้นสีแดงหนา) ในแผนที่ก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงในจีน ทางรถไฟอี้ชาง-วั่นโจว หรือ ทางรถไฟอี๋วั่น เป็นทางรถไฟสำหรับรถไฟความเร็วสูงเชื่อมระหว่างเมืองอี้ชางและฉงชิ่ง ในอนาคต ทางรถไฟดังกล่าวจะเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางเฉพาะขนส่งผู้โดยสารฮู่ฮั่นหยง ซึ่งเป็นทางเชื่อมจากเซี่ยงไฮ้ไปยังอู่ฮั่นไปยังเฉิงตู เชื่อมกับทางรถไฟฮั่นอี้ (อู่ฮั่น-อี้ชาง) ที่สถานีรถไฟอี้ชางตะวันออก และเชื่อมกับทางรถไฟอีกเส้นหนึ่งทางตะวันตกที่วั่นโจว ทางรถไฟดังกล่าวมีความยาว 377 กิโลเมตร ตัดผ่านภูมิประเทศสลับซับซ้อนทางตะวันตกเฉียงใต้ของมณฑลหูเป่ย (เมืองอี้ชางและเขตปกครองตนเองเอินชีถู่เจียและเหมียว) และส่วนตะวันออกของมหานครฉงชิ่ง (เขตหวั่นโจว) ภูมิภาคดังกล่าวมีภูเขาอยู่มากและบางครั้งได้รับชื่อว่า "ขอบด้านตะวันออก" ของที่ราบสูงยูนนาน-กุยโจว ก่อนหน้านี้ พื้นที่ดังกล่าวไม่มีทางรถไฟ และพบถนนลาดยางคุณภาพดีน้อย (นอกเหนือจากทางหลวงแห่งชาติจีน 318 ซึ่งทางรถไฟอี๋วั่นสร้างขึ้นขนานกับถนนเส้นดังกล่าวเป็นส่วนใหญ่) ทางด่วนพิเศษใหม่กำลังถูกสร้างขึ้นในเส้นทางเดียวกันนี้ ที่สถานีรถไฟลีชวน ทางรถไฟสายอูรี (ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้างใน พ.ศ. 2553) จะเชื่อมกับทางรถไฟอี๋วั่น ซึ่งเป็นการเชื่อมทางให้รถไฟสามารถเดินทางไปยังฉงชิ่งได้โดยตรง จากความยาวทั้งหมดของทางรถไฟ 324 กิโลเมตรอยู่ในมณฑลหูเป่ย และอีก 53 กิโลเมตรอยู่ในมหานครฉงชิ่ง เนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่เต็มไปด้วยอุปสรรค ทำให้โครงการก่อสร้างต้องสร้างสะพานและอุโมงค์ขึ้นมาเป็นจำนวนมาก โดยมีสะพานถูกสร้างขึ้น 253 แห่ง และอุโมงค์ 159 แห่ง (รวมไปถึงสะพานข้ามแม่น้ำแยงซีสองแห่ง: ใกล้กับอี้ชางที่หนึ่งและใกล้กับวั่นโจวอีกที่หนึ่ง) ทางรถไฟกว่า 288 กิโลเมตรเป็นเส้นทางที่อยู่บนสะพานหรือลอดอุโมงค์ นับว่าเส้นทางรถไฟดังกล่าวเป็นเส้นทางรถไฟในประเทศจีนที่ยากที่สุด และแพงที่สุดเมื่อคิดเป็นราคาต่อกิโลเมตรตราบจนถึงปัจจุบัน โดยมีราคาก่อสร้างกว่า 9.01 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อกิโลเมตร (22,570 ล้านหยวน(Dec 22 2010). 26-12-2010.) นับเป็นราคาต่อกิโลเมตรที่สูงกว่าทางรถไฟเซี่ยงไฮ้-ทิเบต (4.35 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อกิโลเมตร) ถึงสองเท.

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและทางรถไฟอี๋วั่น · ดูเพิ่มเติม »

ทุพภิกขภัย

ทุพภิกขภัย (famine) คือสภาวะของการขาดแคลนอาหารอย่างกว้างขวางซึ่งอาจใช้กับสภาวะที่เกิดในสัตว์ชนิดใดก็ได้ วิกฤติการณ์ดังกล่าวมักจะตามมาด้วยสภาวะทุพโภชนาการ, การอดอยาก, โรคระบาด และการเพิ่มจำนวนการเสียชีวิต องค์ประกอบสำคัญในการบรรเทาสภาวะทุพภิกขภัยก็ได้แก่การแจกจ่ายสารอาหารรอง เช่นวิตามินและ แร่ธาตุจากซองอาหารบำบัดที่ประกอบด้วยสารเสริมอาหาร หรือให้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโดยตรงhttp://www.time.com/time/magazine/article/0,9171,1914655, 00.html Can one pill tame the illness no one wants to talk about? ประเภทการบรรเทาสภาวะทุพภิกขภัยแบบหนึ่งการให้เงินหรือให้ตั๋วแก่ผู้ที่อดอยากเพื่อนำไปซื้อหรือแลกเปลี่ยนเป็นอาหารจากเกษตรกรท้องถิ่น แทนที่จะนำทุนไปซื้ออาหารจากประเทศผู้บริจาค กฎหมายมักต้องระบุ เพราะเป็นการเสียเงินค่าขนส่ง การแก้ปัญหาความขาดแคลนระยะยาวก็ทำได้โดยการลงทุนในการเกษตรกรรมแบบใหม่ในภูมิภาคที่ยังไม่มีระบบดังกล่าว เช่นการใช้ปุ๋ย และสร้างระบบการชลประทานอันวิธีสำคัญที่ใช้ในการกำจัดความหิวโหยในประเทศพัฒนาแล้ว แต่กฎของธนาคารโลกจำกัดการให้ทุนช่วยเหลือเกษตรกร และการใช้ปุ๋ยก็ได้รับการต่อต้านจากนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบางกลุ่มเพราะมีผลตามมาอย่างคาดไม่ถึง คือ ปริมาณน้ำและถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ลดลงhttp://www.theatlantic.com/issues/97jan/borlaug/borlaug.htm Forgotten benefactor of humanity.

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและทุพภิกขภัย · ดูเพิ่มเติม »

ที่ราบสูงทิเบต

ริเวณที่ราบสูงทิเบต ที่ราบสูงทิเบต (Tibetan Plateau) ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน และมีพื้นที่บางส่วนในลาดักแคว้นแคชเมียร์ เป็นที่ราบกว้างใหญ่ มีพื้นที่ประมาณ 1.3 ล้านตารางกิโลเมตร มีความสูงโดยเฉลี่ย 4,600 เมตร จากระดับน้ำทะเล จึงได้ชื่อว่าเป็นหลังคาโลก เขตที่ราบสูงทิเบตเป็นเขตที่ราบสูงที่มีภูเขาล้อมถึง 3 ด้าน คือทางทิศเหนือมีเทือกเขาคุนหลุนทิศใต้มีเทือกเขาหิมาลัย และทางทิศตะวันตกมีเทือกเขาคาราโครัม ที่ราบสูงทิเบตเป็นแหล่งต้นกำเนิดของแม่น้ำที่สำคัญหลายสายได้แก่ แม่น้ำเหลือง แม่น้ำแยงซี แม่น้ำสินธุ แม่น้ำสาละวิน แม่น้ำโขง แม่น้ำพรหมบุตร หมวดหมู่:ที่ราบสูง หมวดหมู่:ภูมิภาคในทวีปเอเชีย.

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและที่ราบสูงทิเบต · ดูเพิ่มเติม »

ข้าว

้าว ข้าว เป็นเมล็ดของพืชในสกุลข้าวที่พบมากในเอเชีย ข้าวเป็นธัญพืชซึ่งประชากรโลกบริโภคเป็นอาหารสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทวีปเอเชีย จากข้อมูลเมื่อปี 2553 ข้าวเป็นธัญพืชซึ่งมีการปลูกมากที่สุดเป็นอันดับสามทั่วโลก รองจากข้าวสาลีและข้าวโพด ข้าวเป็นธัญพืชสำคัญที่สุดในด้านโภชนาการและการได้รับแคลอรีของมนุษย์ เพราะข้าวโพดส่วนใหญ่ปลูกเพื่อจุดประสงค์อื่น มิใช่ให้มนุษย์บริโภค ทั้งนี้ ข้าวคิดเป็นพลังงานกว่าหนึ่งในห้าที่มนุษย์ทั่วโลกบริโภค หลักฐานพันธุศาสตร์แสดงว่าข้าวมาจากการนำมาปลูกเมื่อราว 8,200–13,500 ปีก่อน ในภูมิภาคหุบแม่น้ำจูเจียงของจีน ก่อนหน้านี้ หลักฐานโบราณคดีเสนอว่า ข้าวมีการนำมาปลูกในเขตหุบแม่น้ำแยงซีในจีน ข้าวแพร่กระจายจากเอเชียตะวันออกไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ ข้าวถูกนำมายังทวีปยุโรปผ่านเอเชียตะวันตก และทวีปอเมริกาผ่านการยึดอาณานิคมของยุโรป ปกติการปลูกข้าวเป็นแบบปีต่อปี ทว่าในเขตร้อน ข้าวสามารถมีชีวิตอยู่ได้หลายปีและสามารถไว้ตอ (ratoon) ได้นานถึง 30 ปี ต้นข้าวสามารถโตได้ถึง 1–1.8 เมตร ขึ้นอยู่กับพันธุ์และความอุดมสมบูรณ์ของดินเป็นหลัก มีใบเรียว ยาว 50–100 เซนติเมตร และกว้าง 2–2.5 เซนติเมตร ช่อดอกห้อยยาว 30-50 เซนติเมตร เมล็ดกินได้เป็นผลธัญพืชยาว 5–12 มิลลิเมตร และหนา 2–-3 มิลลิเมตร การเตรียมดินสำหรับเพาะปลูกข้าวเหมาะกับประเทศและภูมิภาคที่ค่าแรงต่ำและฝนตกมาก เนื่องจากมันใช้แรงงานมากที่จะเตรียมดินและต้องการน้ำเพียงพอ อย่างไรก็ตาม ข้าวสามารถโตได้เกือบทุกที่ แม้บนเนินชันหรือเขตภูเขาที่ใช้ระบบควบคุมน้ำแบบขั้นบันได แม้ว่าสปีชีส์บุพการีของมันเป็นสิ่งพื้นเมืองของเอเชียและส่วนที่แน่นอนของแอฟริกา ร้อยปีของการค้าขายและการส่งออกทำให้มันสามัญในหลายวัฒนธรรมทั่วโลก วิธีแบบดั้งเดิมสำหรับเตรียมดินสำหรับข้าวคือทำให้น้ำท่วมแปลงชั่วขณะหนึ่งหรือหลังจากการตั้งของต้นกล้าอายุน้อย วิธีเรียบง่ายนี้ต้องการการวางแผนที่แข็งแรงและการให้บริการของเขื่อนและร่องน้ำ แต่ลดพัฒนาการของเมล็ดที่ไม่ค่อยแข็งแรงและวัชพืชที่ไม่มีภาวะเติบโตขณะจมน้ำ และยับยั้งศัตรูพืช ขณะที่การทำให้น้ำท่วมไม่จำเป็นสำหรับการเตรียมดินสำหรับเพาะปลูกข้าว วิธีทั้งหมดในการการชลประทานต้องการความพยายามสูงกว่าในการควบคุมวัชพืชและศัตรูพืชระหว่างช่วงเวลาการเจริญเติบโตและวิธีที่แตกต่างสำหรับใส่ปุ๋ยลงดิน.

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและข้าว · ดูเพิ่มเติม »

ดิอะเมซิ่งเรซ 18

อะเมซิ่ง เรซ 18 (The Amazing Race 18) เป็นฤดูกาลที่ 18 ของรายการ ดิ อะเมซิ่ง เรซ ซึ่งเป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ระดับรางวัลเอ็มมี 8 สมัยซ้อนทางโทรทัศน์ รายการนี้จะมีผู้เข้าแข่งขันเป็นทีมๆ ละ 2 คนซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้ว ทำการแข่งขันโดยเดินทางรอบโลก โดยทีมที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเกมส์โชว์ดังกล่าวเริ่มออกอากาศในสหรัฐอเมริกาทางสถานีโทรทัศน์ซีบีเอส ในฤดูกาลนี้ทำลักษณะแบบ ทีมรวมดารา โดยเอาทีมต่างๆ จากฤดูกาลที่ 12-17 มาแข่งขันกันใหม่ จากฤดูกาลที่ 11 ใช้ชื่อว่า The Amazing Race: All-Stars (ดิ อะเมซิ่ง เรซ รวมดารา) แต่ในฤดูกาลนี้จะใช้ชื่อว่า The Amazing Race: Unfinished Business (ดิ อะเมซิ่ง เรซ ธุรกิจนี้ยังสะสางไม่เสร็จ) ซึ่งซีบีเอสได้โปรโมทฤดูกาลนี้ทันที โดยอยู่ภายในตอนสุดท้ายของฤดูกาลที่ 17 เลยและรวมถึงฤดูกาลนี้เป็นฤดูกาลแรกที่จะถ่ายทำในระบบโทรทัศน์ความละเอียดสูงอีกด้วย แต่เป็นที่ทราบกันดีว่ารายการนี้ถ่ายทำยากมาก เนื่องจากช่างกล้องจะต้องวิ่งตามผู้เข้าแข่งขันตลอดและภาพบางภาพในรายการใช้การตัดต่อหรือดึงภาพจากแฟ้มข้อมูลที่เคยมีไว้มาตัดต่อลงไปทำให้อาจมีภาพแบบขนาดความละเอียดมาตรฐานปนอยู่บ้าง โดยทางผู้ผลิตได้กล่าววาจะจัดการปัญหาตรงจุดนี้ให้เหมาะสมอย่างสมดุลและออกอากาศในแบบโทรทัศน์ความละเอียดสูงอย่างแน่นอน และจะมีการจัดฉลองการครบรอบ 10 ปีของรายการซึ่งในการจัดงานครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากเครื่องดื่มชาสแนปเปิล โดยจะทำการจัดงานวันที่ 8 พฤษภาคม 2554 (ตรงกับวันที่ 9 พฤษภาคม 2554 ของประเทศไทย) รวมถึงการออกอากาศตอนสุดท้ายของฤดูกาลนี้ในวันที่ 9 พฤษภาคม 2554 (ตรงกับวันที่ 10 พฤษภาคม 2554 ของประเทศไทย) ด้วยความยาว 2 ชั่วโมงเป็น 2 เลกสุดท้ายติดต่อกันเนื่องจากเคยมีการหยุดฉายไป 1 สัปดาห์ที่ทางสถานีได้ถ่ายทอดสด คันทรี มิวสิก อาวอร์ด คู่พี่น้องจากฤดูกาลที่ 14 คิชากับเจน ซึ่งได้ลำดับที่ 4 ในฤดูกาลนั้น เป็นผู้ชนะการแข่งขันครั้งนี้ไปรวมถึงทั้งคู่ยังเป็นทีมหญิงล้วนคู่ที่สองที่ชนะรายการนี้อีกด้ว.

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและดิอะเมซิ่งเรซ 18 · ดูเพิ่มเติม »

ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี

ทางอากาศดินดอนปากแม่น้ำแยงซี ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี เกิดขึ้นจากแม่น้ำแยงซี ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากที่ราบสูงทิเบตบริเวณมณฑลชิงไห่ และไหลลงสู่ที่ราบในทางทิศตะวันออกและเปิดออกสู่ทะเลจีนใต้ตะวันออกที่มณฑลเจียงซู ในบริเวณนี้จีงเกิดเป็น "ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี" ขึ้น เนื่องจากเป็นแม่น้ำขนาดใหญ่ มีปริมาณน้ำและตะกอนสูงมาก ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำที่เกิดขึ้นจึงมีขนาดใหญ่มากเช่นกัน ลักษณะสภาพพื้นที่บริเวณที่ปากแม่น้ำแยงซีเปิดออกสู่ทะเลจีนตะวันออกนั้น มีลักษณะเป็นร่องเหวลึก (incised valley) แสดงการเปลี่ยนแปลงของการลดลงของระดับความสูงในทันทีทันใด ซึ่งในยุคโฮโลซีนช่วงที่มีระดับน้ำทะเลขึ้นสูงสุด เป็นช่วงที่มีตะกอนลงมาตกสะสมในบริเวณนี้ในปริมาณที่มาก จึงเป็นช่วงเวลาสำคัญของการเกิดดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี.

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี · ดูเพิ่มเติม »

คลองใหญ่ (ประเทศจีน)

แผนที่คลองใหญ่ในสมัยราชวงศ์สุย คลองใหญ่ (Grand Canal) หรือ ต้า-ยฺวิ่นเหอ ขุดในสมัยราชวงศ์สุย เริ่มขุดตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและคลองใหญ่ (ประเทศจีน) · ดูเพิ่มเติม »

ความเชื่อเรื่องการสร้างโลกของจีน

หวงตี้ ฮ่องเต้องค์แรกในความเชื่อของจีน ความเชื่อเรื่องการสร้างโลกของจีน (开天辟地) เป็นนิทานปรัมปราที่เล่าสืบกันมาแต่โบราณ ว่า โลกเดิมทีเป็นฟองไข่ทรงกลม ที่ภายในมียักษ์ตนหนึ่งที่มีผมเพ้าและหนวดเครายาว มีร่างกายยาวถึง 90,000 ลี้ (ประมาณ 45,000 กิโลเมตร) ชื่อ ป้านกู (盤古) วันหนึ่งป้านกูตื่นขึ้นมาและได้ฟักตัวออกจากไข่ ด้วยเรี่ยวแรงมหาศาลของป้านกู ป้านกูจึงดันส่วนบนของไข่ให้กลายเป็นสวรรค์และด้านล่างกลายเป็นโลก แต่สวรรค์และโลกกลับดูดตัวเข้าหากัน ป้านกูจึงให้พละกำลังดันทั้ง 2 ส่วนอยู่อย่างนั้นเป็นเวลานับหมื่น ๆ ปี จนในที่สุดทั้งสวรรค์และโลกไม่อาจรวมตัวกันได้ ป้านกูจึงล้มลงและเสียชีวิต ภายหลังเสียชีวิตแล้ว ตาข้างซ้ายของป้านกูกลายเป็นพระอาทิตย์ ตาข้างขวากลายมาเป็นพระจันทร์ ร่างกลายกลายเป็นภูเขา เลือดกลายเป็นแม่น้ำ ผมและหนวดเคราที่ยาวสลวยกลายเป็นผักและหญ้า ผ่านไปหลังจากนั้นอีกเนิ่นนาน เจ้าแม่หนี่วา (女媧) ได้ลงมาท่องเที่ยวชมพื้นโลก และชื่นชมว่าโลกเป็นสถานที่ ๆ น่าอยู่ยิ่งนัก เมื่อนางได้ใช้นิ้วจิ้มดินและเศษดินตกลงสู่น้ำก็กลายเป็นลูกอ๊อด องค์เจ้าแม่หนี่วา ทรงดีพระทัยยิ่งนัก จึงใช้ดินปั้นเป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ จึงกำเนิดขึ้นเป็นสัตว์ชนิดต่าง ๆ แต่นางรู้สึกว่าขาดอะไรบางอย่างไป ในวันที่ 7 พระนางจึงเริ่มปั้นรูปเหมือนตัวพระนางขึ้น เกิดเป็นมนุษย์ผู้หญิงขึ้น และพระนางเกรงว่ามนุษย์ผู้หญิงนี้จะเหงา จึงปั้นรูปใหม่ขึ้นมาให้คล้ายเคียงกันเป็นมนุษย์ผู้ชาย และให้มนุษย์ทั้ง 2 เพศนี้อยู่คู่กันและออกลูกหลานสืบต่อกันมา ต่อมา ฟูซี (伏羲) ซึ่งเป็นผู้ปกครองชนเผ่าของมนุษย์ได้สังเกตปรากฏการณ์ต่าง ๆ ของธรรมชาติ จนสามารถพึ่งตัวเองได้และเกิดเป็นองค์ความรู้ วันหนึ่งมีกิเลนตัวหนึ่งกระโดดขึ้นมาจากแม่น้ำฮวงโห บนหลังกิเลนมีสัญลักษณ์ปรากฏที่ถูกเรียกในภายหลังว่า "แผนภูมิเหอถู" (河图) ซึ่งต่อมาได้พัฒนากลายเป็นตัวอักษร หลังยุคฟูซี เสินหนง (神農) ได้เป็นผู้ปกครองแทน เสินหนงได้สอนให้ผู้คนรู้จักการเพาะปลูก และใช้คันไถ และยุคต่อมาก็คือ ยุคของหวงตี้ (黃帝) หรือ จักรพรรดิเหลือง หวงตี้ได้ทำสงครามกับเหยียนตี้ที่ปั่นเฉวียน (阪泉) สุดท้ายเหยียนตี้พ่ายแพ้ หวงตี้จึงขยายอำนาจการปกครองจากทางตอนเหนือลงไปทางใต้ จนถึงลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียงและฮั่นสุ่ย ซึ่งหวงตี้ได้รับการนับถือจากชาวจีนรุ่นต่อมาว่าเป็น ฮ่องเต้หรือจักรพรรดิองค์แรกของจีน และชื่อของพระองค์ก็กลายมาเป็นคำว่า ฮ่องเต้ หรือ จักรพรรดิ ความหมายของชื่อก็กลายมาเป็นสีประจำตัวฮ่องเต้ด้วย คือ สีเหลือง ชาวจีนเชื่อว่า ในราชวงศ์ชั้นหลัง เช่น ราชวงศ์เซี่ย, ราชวงศ์ซาง, ราชวงศ์โจว ต่อมาต่างก็สืบเชื้อสายจากหวงตี้ทั้งนั้น หลังยุคหวงตี้ เป็นยุคของเชาเหา (少昊) และ ซวนซู (顓頊) ซึ่งในยุคนี้ได้กำเนิดดาราศาสตร์, ปฏิทิน, ความเชื่อ, ไสยศาสตร์และเรือ ต่อมาจึงเป็นยุคของ กู (帝嚳) และ เหยา (尧) ซึ่งในยุคนี้พระอาทิตย์มีมากมายพร้อมกันถึง 10 ดวง และต่างพากันเปล่งรัศมีความร้อนแรงมายังโลกมนุษย์ ทำให้เดือดร้อนกันมาก เง็กเซียนฮ่องเต้จึงมีบัญชาให้ โหวอี้ นักยิงธนูบนสวรรค์ลงไปยังโลกมนุษย์เพื่อจัดการ โหวอี้ใช้ธนูยิงดวงอาทิตย์ตกไปถึง 9 ดวง และตำนานโฮ๋วอี้ยิงดวงอาทิตย์ 9 ดวงนี้ก็ก่อให้เกิดตำนาน เทพธิดาฉางเอ๋อ เหาะไปดวงจันทร์และเป็นต้นกำเนิดเทศกาลไหว้พระจันทร์ของจีน ต่อมาเป็นยุคของซุน (舜) และ อวี่ (禹) ในยุคของอวี่ได้เกิดอุทกภัย (大禹治水) และอวี่สามารถสร้างเขื่อนควบคุมกระแสน้ำได้สำเร็จ โดยไม่ได้กลับบ้านเป็นระยะเวลานานถึง 9 ปี และวันหนึ่งก็ได้มีเต่าศักดิ์สิทธิ์ตัวหนึ่งผุดขึ้นมาจากแม่น้ำลั่ว บนกระดองเต่ามีอักษรที่ต่อมาเรียกว่า "แผนภูมิลั่วซู" (洛书) ซึ่งกลายมาเป็นศิลปะวิทยาการต่าง ๆ สืบมาจนปัจจุบัน ภายหลังจากอวี่เสียชีวิตลง บุตรชายของอวี่ก็สังหารอี้เพื่อแย่งชิงตำแหน่งหัวหน้า และเริ่มเข้าสู่ยุคแห่งการสืบทอดตำแหน่งหัวหน้าโดยสายเลือดในระบบวงศ์วานว่านเครือ และหลังจากนั้น ประวัติศาสตร์จีนก้าวเข้าสู่ราชวงศ์แรกที่มีการสืบทอดบัลลังก์อำนาจโดยสายเลือด นั่นคือ จุดกำเนิดของราชวงศ์เซี่ย (夏代) ราชวงศ์แรกของจีน.

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและความเชื่อเรื่องการสร้างโลกของจีน · ดูเพิ่มเติม »

ตะพาบยักษ์แยงซีเกียง

ตะพาบยักษ์แยงซีเกียง หรือ ตะพาบเซี่ยงไฮ้ (จีน: 斑鳖, พินอิน: Bān Bīe; ตรึงเวียด: Rùa mai mềm Thượng Hải) ตะพาบขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งที่ใกล้จะสูญพันธุ์มาก ๆ แล้วชนิดหนึ่งของโลก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rafetus swinhoei (มีชื่อวิทยาศาสตร์อีกชื่อหนึ่งเป็นชื่อพ้อง โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวเวียดนามตั้งให้ว่า Rafetus leloii เพื่อเป็นเกียรติแด่จักรพรรดิเลเลย) พบในแม่น้ำแยงซีเกียง ในประเทศจีน และมณฑลยูนนาน นอกจากนี้ยังพบได้ที่แม่น้ำแดง ในประเทศเวียดนามด้วย เป็นตะพาบที่มีขนาดใหญ่มาก และเป็นหนึ่งในเต่าน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีส่วนหัว ที่มีจมูกและปากคล้ายหมู ขนาดโตเต็มที่สามารถมีน้ำหนักมากถึง 136 กิโลกรัม ถึง 200 กิโลกรัม ยาวถึง 0.9144 เมตร และมีชีวิตอยู่ได้นานกว่า 100 ปี สถานะในธรรมชาติใกล้สูญพันธุ์มาก ๆ แล้ว ในสถานที่เลี้ยงปัจจุบันมีเพียง 5 ตัวใน 2 ที่เท่านั้น คือที่สวนสัตว์ในประเทศจีน 4 ตัว และที่ทะเลสาบคืนดาบที่เมืองฮานอย 1 ตัว ปัจจุบันตะพาบน้ำแยงซีเกียงในทะเลสาบคืนดาบยังมีชีวิตอยู่ แต่น้ำในทะเลสาบกลับมีสภาพที่ย่ำแย่ ทั้งยังมีการปล่อยสิ่งปฏิกูลรวมไปถึงเต่าชนิดอื่นเข้าไปทำลายระบบนิเวศของทะเลสาบ ทำให้ตะพาบเกิดบาดแผลที่หัวและขาของมัน.

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและตะพาบยักษ์แยงซีเกียง · ดูเพิ่มเติม »

ฉงชิ่ง

ฉงชิ่ง หรือ จุงกิง เป็นเขตเทศบาลนคร ตั้งอยู่ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน มีพื้นที่ติดกับมณฑลหูเป่ย์ หูหนัน กุ้ยโจว เสฉวนและส่านซี ภายในตัวเมืองมีแม่น้ำไหลพาดผ่านหลายสายเป็นเมืองขนาดใหญ่อันดับ 8 ของจีน มีเนื้อที่ 82,300 ก.ม.² มีประชากร (พ.ศ. 2548) 31,442,300 คน ความหนาแน่น 379/ก.ม.² จีดีพี (2005) (310) พันล้านหยวน รวมต่อประชากร 8,540 พันล้านหยวน ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น.

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและฉงชิ่ง · ดูเพิ่มเติม »

ซูโจว

ซูโจว (จีนตัวเต็ม: 蘇州; จีนตัวย่อ: 苏州) เป็นเมืองสำคัญทางตะวันออกเฉียงใต้ของมณฑลเจียงซู ซึ่งอยู่ทางภาคตะวันออกของประเทศจีน อยู่ติดกับเขตการปกครองพิเศษเซี่ยงไฮ้ ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ตอนปลายของแม่น้ำแยงซี ริมฝั่งทะเลสาบไท่หรือไท่หู (อังกฤษ: Lake Tai or Tai Hu; จีนตัวย่อ: 太湖) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี เป็นเขตการปกครองระดับจังหวัดที่มีประชากรอาศัยอยู่มากกว่า 4 ล้านคนในเขตเมือง และมีประชากรรวมกว่า 10 ล้านคนในพื้นที่เขตปกครองทั้งหมด เมืองซูโจวยังถือได้ว่าเป็นเมืองที่ร่ำรวยที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศจีน เป็นศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม ศูนย์กลางการค้า และการขนส่ง นอกจากนี้ซูโจวยังเป็นเมืองสำคัญด้านวัฒนธรรม การศึกษา ศิลปะ และการคมนาคม เมืองซูโจวเริ่มก่อตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อ 514 ปี ก่อนคริสตกาล มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 2,500 ปี ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก หรือเมื่อประมาณ 100 ปี ก่อนคริสตกาล เมืองซูโจวเป็นหนึ่งในสิบเมืองใหญ่ที่สุดในโลกเนื่องจากมีผู้คนอพยพเข้ามาอยู่จำนวนมาก และในศตวรรษที่ 10 สมัยราชวงศ์ซ่ง เมืองซูโจวเคยเป็นเมืองศูนย์กลางด้านพาณิชย์ที่สำคัญของประเทศ ต่อมาในสมัยราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง จนถึงช่วงกบฏไท่ผิง (Taiping Rebellion) ในปี..

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและซูโจว · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์มวยไทย

การแข่งมวยคาดเชือกหน้าพระที่นั่งในประเทศไทย ประวัติศาสตร์มวยไทย มีส่วนเกี่ยวข้องกับการอพยพของประชากรที่อาศัยอยู่ในมณฑลยูนนาน บนฝั่งแม่น้ำแยงซีเกียง ของประเทศจีน โดยตามตำนานของไทย เชื่อว่ามีผู้คนจำนวนมากที่เดินทางออกจากมณฑลยูนนาน ประเทศจีน มาสู่ประเทศไทย เพื่อค้นหาที่ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สำหรับการเกษตร อย่างไรก็ตาม ในระหว่างการโยกย้ายของพวกเขา ชาวไทยกลุ่มนี้ได้ถูกโจมตีโดยโจรและสัตว์ นอกจากนี้ ยังมีโรคต่าง ๆ ที่พวกเขาต้องเผชิญ เพื่อเพิ่มความสามารถในการป้องกันร่างกายและจิตใจ, การรับมือกับความทุกข์ยาก ชาวไทยสยามจึงได้คิดค้นวิธีการต่อสู้ แม้ว่าการจัดเก็บเอกสารตำราทางประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่จะสูญหายไปเมื่อครั้งที่ถูกกองทัพพม่าทำลาย และขับไล่ออกจากเมืองอยุธยาในสมัยสงครามพม่า-ไทย (พ.ศ. 2302-2303) แต่เราก็ยังสามารถพบได้จากบันทึกของพม่า, กัมพูชา และจากชาวยุโรปเมื่อครั้งมาเยือนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นครั้งแรก รวมถึงจากบันทึกเหตุการณ์ของล้านนา หรือเมืองเชียงใหม่ในปัจจุบัน.

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและประวัติศาสตร์มวยไทย · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์จีน

ตพื้นที่ของราชวงศ์ต่างๆตามประวัติศาสตร์ของจีน ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีอารยธรรมยาวนานที่สุดประเทศหนึ่ง โดยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สามารถค้นคว้าได้บ่งชี้ว่าอารยธรรมจีนมีอายุถึง 5,000 ปี รากฐานที่สำคัญของอารยธรรมจีนคือ การสร้างระบบภาษาเขียน ในยุคราชวงศ์กอณัฐ (ศตวรรษที่ 58 ก่อน ค.ศ.) ให้เป็นภาษากลางใช้ได้ทั่วประเทศ เป็นครั้งแรกในโลก (ไม่ว่าชนเผ่าใดๆจะพูดต่างกัน สำเนียงต่างกัน แต่ใช้ตัวเขียนเหมือนกัน) และการพัฒนาแนวคิดลัทธิขงจื๊อ เมื่อประมาณ ศตวรรษที่ 2 ก่อน ค.ศ. ประวัติศาสตร์จีนมีทั้งช่วงที่เป็นปึกแผ่นและแตกเป็นหลายอาณาจักรสลับกันไป ในบางครั้งก็ถูกปกครองโดยชนชาติอื่น เช่น มองโกล แมนจู ญี่ปุ่น วัฒนธรรมของจีนมีอิทธิพลอย่างสูงต่อชาติอื่นๆ ในทวีปเอเชีย และในสังคมโลก ยุคก่อนประวัติศาสตร์นั้นไม่มีหลักฐานแน่ชัดนักว่าเริ่มต้นเมื่อไร แต่จากการขุดพบวัตถุโบราณตามลุ่มแม่น้ำฉางเจียงและหวางเหอ แบ่งช่วงเวลานี้ออกได้เป็นสังคมสองแบบ แบบแรกเป็นช่วงที่ผู้หญิงเป็นใหญ่เรียกว่าช่วงวัฒนธรรมหยางเซา และช่วงที่ผู้ชายเป็นใหญ่เรียกว่าวัฒนธรรมหลงซาน ตำนานเล่ากันว่าบรรพบุรุษจีนมีชื่อเรียกว่า หวางตี้ และ เหยียนตี้.

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและประวัติศาสตร์จีน · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์ทิเบต

ทิเบต ตั้งอยู่ในใจกลางของทวีปเอเชียระหว่างประเทศจีนกับอินเดีย ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 2.5 ล้านตารางกิโลเมตร ในบริเวณที่มีภูเขาและที่ราบสูงที่สุดในโลก มีอากาศแห้งและหนาวเย็น รวมทั้งที่ราบกลางหุบเขาริมแม่น้ำอันกว้างใหญ่หลายสาย อันเป็นที่พำนักพิงของชาวธิเบต ผู้ซึ่งมีวัฒนธรรมประเพณีเป็นของตนเอง มาเป็นเวลาช้านาน และมีชีวิตความเป็นอยู่แตกต่างจากผู้คนในประเทศเพื่อนบ้าน ชาวธิเบตได้มีการพัฒนาทางวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ในตนเอง ทั้งยังมีการพัฒนาด้านสติปัญญาและจิตใจ ได้แก่ การมีภาษาที่โดดเด่น มีวรรณกรรมอันยิ่งใหญ่ และมีผลงานศิลปะที่น่ามหัศจรรย์ นอกจากนี้ อารยธรรมของชาวธิเบต ซึ่งสืบเนื่องมาเป็นเวลาหลายพันปีนั้น ยังเป็นอารยธรรมที่สูงส่ง และมีคุณค่าสืบทอดต่อกันมา เป็นมรดกของมนุษยชาต.

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและประวัติศาสตร์ทิเบต · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาบู่เขือคางยื่น

ปลาบู่เขือคางยื่น (Bearded worm goby) ปลาน้ำเค็มชนิดหนึ่งที่สามารถปรับตัวให้อยู่ในน้ำกร่อยได้ ในวงศ์ปลาบู่ (Gobiidae) มี รูปร่างยาวคล้ายงู หัวเหมือนปลาบู่ทั่วไป แต่หน้าหัก คางยื่นออกมาเล็กน้อย ปากกว้าง มีฟันเป็นซี่แหลมขนาดเล็กในปาก ใต้ปากล่างมีติ่งเนื้อยื่นออกมาโดยรอบ ตามีขนาดเล็กมาก ครีบอกมีขนาดใหญ่ ครีบหลัง ครีบก้นไม่ต่อเนื่องกับครีบก้น ลำตัวลื่นมาก มีเกล็ดขนาดเล็กละเอียด พื้นสีลำตัวเป็นสีชมพูหรือเหลืองเหลือบทองในบางตัว ยาวเต็มที่ประมาณ 30 นิ้ว อาศัยอยู่ในป่าชายเลนหรือป่าจากปากแม่น้ำ โดยขุดรูอยู่ในดินโคลน ออกหากินในเวลากลางคืน และอาศัยอยู่ในที่ ๆ ไม่ต้องใช้แสงสว่าง ตาจึงปรับสภาพให้มีขนาดเล็ก กินอาหารได้หลากหลาย ตั้งแต่ สัตว์น้ำขนาดเล็กรวมถึงซากพืช ซากสัตว์ พบกระจายอย่างกว้างขวาง ตั้งแต่ชายฝั่งทะเลแอฟริกาตะวันออก, เอเชียใต้, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้จรดโอเชียเนียและเอเชียตะวันออก ไม่จัดเป็นปลาเศรษฐกิจ แต่สามารถนำมาบริโภคได้ โดยไม่มีพิษหรืออันตรายใด ๆ เช่น ทอดกระเทียม ด้วยรูปร่างประหลาดแลดูคล้ายงูหรือมังกรนี้ จึงมักถูกจับมาขายในตลาดปลาสวยงามบ่อย ๆ โดยมีชื่อเรียกเฉพาะว่า "มังกรแยงซีเกียง" หรือ "มังกรเงิน มังกรทอง" หรือ "ดราก้อนบอล" หรือสุดแต่ผู้ขายจะตั้งชื่อ ซึ่งผู้ขายมักจะบอกว่า เป็นปลาหายากจากแดนไกล สามารถเลี้ยงในน้ำจืดได้ แต่การนำมาเลี้ยงจริง ๆ มักไม่รอดเพราะปลาไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาวะในสถานที่เลี้ยงได้ มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "ปลาเขือ", "ปลาเขือหน้าผี", "ปลาเขือยักษ์", "ปลาเขือแดง" หรือ "ปลาเขือลื่น" เป็นต้น.

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและปลาบู่เขือคางยื่น · ดูเพิ่มเติม »

ปลาช่อนเอเชียติกา

ปลาช่อนเอเชียติกา หรือ ปลาช่อนสีจีนใต้ (Small snakehead, Chinese snakehead) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) เป็นปลาช่อนอีกชนิดหนึ่งที่มีความสวยงามมาก พบกระจายพันธุ์ในแถบตอนกลางและตอนใต้ของแม่น้ำแยงซี และแม่น้ำสวิ๋น ในมณฑลกวางสี และกวางตุ้ง ในประเทศจีน และยังพบในเกาะไหหลำไปจนถึงแม่น้ำแดงในประเทศเวียดนาม และยังมีรายงานพบในประเทศเวียดนาม และศรีลังกาอีกด้วย มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 35 เซนติเมตร เป็นปลาช่อนอีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมในฐานะของการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ซึ่งเป็นปลาที่มีราคาแพงมาก โดยเฉพาะในปลาที่มีความหลากหลายทางสีสันที่มีจุดสีแดงขนาดใหญ่ ที่ใช้ชื่อว่า "Red Spot" ที่พบในหมู่เกาะซะคิชิมะ จังหวัดโอะกินะวะ ประเทศญี่ปุ่น (ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าเป็นชนิดใหม่) มีราคาซื้อขายแพงมากเป็นรองก็เพียงแค่ปลาช่อนบาร์กา (C. barca) เท่านั้น สำหรับในประเทศไทยเป็นปลาที่ไม่ค่อยมีการนำเข้ามาจำหน่ายมากนัก แต่การเลี้ยงในตู้เลี้ยงสามารถกระทำได้ไม่ยาก เนื่องจากเป็นปลาที่สามารถปรับตัวให้เข้าที่สภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี กินอาหารได้อย่างหลากหลาย แต่มีอุปนิสัยดุ ควรแก่การเลี้ยงลำพังเพียงตัวเดียว สามารถเพาะขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้ โดยไข่เป็นการวางไข่แบบลอยน้ำ ตัวผู้มีการอมไข่เป็นบางครั้ง ปลาทั้งพ่อและแม่มีการดูแลเลี้ยงดูลูกปลาเป็นอย่างดี.

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและปลาช่อนเอเชียติกา · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหมูกระโดงสูง

ปลาหมูกระโดงสูง (Chinese sucker, Chinese loach, Chinese high fin sucker, Chinese high fin banded shark; 胭脂魚; พินอิน: yānzhiyú) ปลาน้ำจืดกระดูกแข็งชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหมูกระโดงสูง (Catostomidae) จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Myxocyprinus (มาจากภาษากรีก "myxos" หมายถึง "น้ำมูกหรือเสมหะ" และภาษาละติน "cyprinus" หมายถึง ปลาตะเพียน) มีพื้นลำตัวสีขาวอมชมพู มีแถบสีดำหนา 3 เส้นเป็นแนวตั้ง มีจุดเด่น คือ มีครีบหลังที่ปลายแหลมสูงและมีขนาดใหญ่ ในปลาที่มีขนาดเล็กกว่า 4 นิ้วจะมีสีสันสดใสและลำตัวทรงสั้นมีครีบหลังใหญ่มองดูคล้ายใบเรือ แต่เมื่อมีขนาดใหญ่ขึ้นสีขาวบนลำตัวจะเริ่มหายไป สีจะซีดจาง ขนาดของครีบหลังจะมีขนาดเล็กลงและความยาวลำตัวจะออกไปทางทรงยาวมากกว่าทรงสูง มีความยาวเมื่อโตเต็มที่ได้ถึง 90 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์เฉพาะในแม่น้ำแยงซีเกียง ในประเทศจีนเท่านั้น มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง ปลาหมูกระโดงสูง เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ด้วยเป็นปลาที่มีความสวย ซ้ำยังมีอุปนิสัยเรียบร้อย ไม่ดุร้ายก้าวร้าวเลย และสามารถทำความสะอาดตู้ที่ใช้เลี้ยงได้เป็นอย่างดี ด้วยเป็นปลาที่หากินกับพื้นท้องน้ำ แต่เป็นปลาที่มีอัตราการเจริญเติบโตได้ช้ามาก เพียงแค่ 1–2 นิ้วต่อปีเท่านั้น เป็นปลาที่ยังไม่สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ ต้องรวบรวมพันธุ์ปลาจากแหล่งน้ำธรรมชาติเท่านั้น การจำแนกเพศ สามารถดูได้ที่เพศผู้ในฤดูผสมพันธุ์จะมีตุ่มขาว ๆ คล้ายสิวบริเวณส่วนหัวและโคนครีบอก เช่นเดียวกับปลาหลายชนิดในวงศ์ Cyprinidae.

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและปลาหมูกระโดงสูง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำโขง

แผนที่แสดงสาขาแม่น้ำโขง ปลาในลุ่มแม่น้ำโขงที่วางขายในตลาดสด ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำโขง ในปัจจุบันนี้พบแล้วกว่า 1,200 ชนิด และคาดว่าอาจมีถึง 1,700 ชน.

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำโขง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามหัวบาตร

ปลาฉลามหัวบาตร (Bull shark) เป็นปลาฉลามชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาฉลามครีบดำ (Carcharhinidae).

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและปลาฉลามหัวบาตร · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามปากเป็ดจีน

ปลาฉลามปากเป็ดจีน (จีนตัวย่อ: 白鲟; จีนตัวเต็ม: 白鱘; พินอิน: báixún) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Psephurus gladius อยู่ในวงศ์ปลาฉลามปากเป็ด (Polyodontidae) ในอันดับปลาสเตอร์เจียน (Acipenseriformes) ซึ่งมีอยู่ด้วยกันเพียง 2 ชนิด (อีกชนิดหนึ่งคือ ปลาฉลามปากเป็ด (Polyodon spathula) พบในทวีปอเมริกาเหนือบริเวณลุ่มแม่น้ำมิสซิสซิปปี) ปลาฉลามปากเป็ดจีนเป็นปลาที่พบเฉพาะแม่น้ำ, ทะเลสาบ และสาขาของแม่น้ำแยงซี และตัวโตเต็มวัยมักจะอพยพลงสู่ทะเล และบ่อยครั้งที่จะถูกพบในทะเลเหลือง ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของประเทศจีน หากจะกล่าวว่ามีการพบเห็นบางตัวได้โดยบังเอิญโดยการเดินทางเนื่องจากกระแสน้ำในฤดูใบไม้ผลิ ปลาชนิดนี้เป็นปลาที่อยู่ตัวเดียว แต่ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ กลับพบเห็นตัวเต็มวัยขนาดต่าง ๆ มารวมตัวกันในแหล่งน้ำตื้น ปลาฉลามปากเป็ดจีนเป็นปลากินปลา ซึ่งต่างจากอีกชนิดที่พบในทวีปอเมริกาเหนือที่กินแพลงก์ตอนเป็นอาหารหลัก การหาอาหารจะอยู่ในระดับความลึกจากกลางน้ำลงไป ขากรรไกรของปลาชนิดนี้สามารถยื่นออกมาได้ในขณะที่ขากรรไกรปลาฉลามปากเป็ดอเมริกาเหนือไม่สามารถยื่นยาวออกไปคว้าเหยื่อได้ ปลาฉลามปากเป็ดจีนสามารถโตเต็มที่ได้ถึง 7 เมตร ซึ่งใหญ่กว่าปลาฉลามปากเป็ดอเมริกาเหนือมาก น้ำหนักถึง 300 กิโลกรัม ฤดูผสมพันธุ์ของปลาฉลามปากเป็ดจีนจะเกิดขึ้นประมาณกลางเดือนมีนาคมไปจนถึงต้นเดือนเมษายน ปลาที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 25 กิโลกรัมขึ้นไป มารวมตัวกันบริเวณพื้นที่กลางแม่น้ำที่มีท้องน้ำเป็นดินโคลนหรือทราย ที่มีความเร็วของกระแสน้ำ 0.72–0.94 m/s ปริมาณอ็อกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำ 8–10 มิลลิกรัม/l ค่า pH 8.2 อุณหภูมิประมาณ 18.3–20.0 องศาเซลเซียส ช่วงที่ตัวผู้ปล่อยน้ำเชื้อน้ำบริเวณนั้นจะขุ่นราวกับสีน้ำนม ในขณะที่ตัวเมียสามารถผลิตไข่ได้ถึง 100,000 ฟอง มีเส้นผ่าศูนย์กลางราว 2.7 มิลลิเมตร มีสีเทาอมน้ำตาล ปัจจุบัน ปลาฉลามปากเป็ดจีนเป็นปลาอีกชนิดหนึ่งที่อยู่ในภาวะวิกฤตใกล้สูญพันธุ์เป็นอย่างยิ่ง เป็นปลาที่หาได้ยากมาก น้อยครั้งที่จะพบตัวแม้จะเป็นเพียงซากก็ตาม ในปัจจุบัน ทางการจีนได้ให้การอนุรักษ์และศึกษาเป็นการด่วน.

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและปลาฉลามปากเป็ดจีน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแบมบูซ่า

ปลาแบมบูซ่า (Yellowcheek; 鳡; ชื่อวิทยาศาสตร์: Elopichthys bambusa) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ที่อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Elopichthys โดยชื่อสกุล Elopichthys มาจากคำว่า Elops ซึ่งหมายถึงปลาในกลุ่มปลาตาเหลือกหรือปลาตาเหลือกยาวในภาษาอังกฤษ และภาษากรีกโบราณ ἰχθύς (ikhthús) หมายถึง "ปลา" โดยรวมหมายถึง ปลาในสกุลนี้มีรูปร่างคล้ายกับปลาตาเหลือก และชื่อชนิด bambusa หมายถึง "ไม้ไผ่" ซึ่งอ้างอิงมาจากภาษาถิ่นของจีนที่เรียกปลาชนิดนี้ว่า "ชู่ ไหน่ หยู" (พินอิน: Chǔh nuy yu) หมายถึง "ปลาไม้ไผ่นิสัยเสีย" โดย จอห์น รีฟส์ ผู้วาดภาพปลานี้ระหว่างทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบชาในจีนระหว่างปี..

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและปลาแบมบูซ่า · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแค้ติดหิน

ปลาแค้ติดหิน หรือ ปลาแค้ห้วย (Hill-stream catfish) เป็นปลาหนังในสกุล Glyptothorax (/กลีพ-โท-ทอ-แร็กซ์/) ในวงศ์ปลาแค้ (Sisoridae) จัดเป็นปลาขนาดเล็ก มีรูปร่างโดยรวมคือ มีลำตัวเพรียวยาว ครีบหางเว้าลึก อาจมีสีเหลืองเป็นลายพาดด้านข้างลำตัว พื้นลำตัวสีน้ำตาล มีหนวด 4 คู่ โดยหนวดที่ริมฝีปากเป็นเส้นแบนและแข็ง หนวดที่จมูกสั้น หนวดใต้คางยาว ผิวสาก และมีแผ่นหนังย่นใต้อกซึ่งใช้เกาะพื้นหินได้ ครีบหลังอยู่หน้าครีบท้อง ครีบอกและครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยวที่เป็นเงี่ยงแข็งและขอบจักเป็นฟันเลื่อย มักพบอาศัยอยู่ในลำธารน้ำตกบนภูเขาที่มีกระแสน้ำไหลเชี่ยว กินอาหารจำพวก แมลงน้ำและสัตว์น้ำขนาดเล็ก ออกหากินในเวลากลางคืน มีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 10-15 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางตั้งแต่ลุ่มน้ำของทะเลดำทางตอนเหนือของตุรกี ไปจนถึงเอเชียไมเนอร์, ตอนใต้ของจีนและลุ่มแม่น้ำแยงซี, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงเกาะชวาในอินโดนีเซีย มีทั้งหมดประมาณ 93 ชนิด มีชื่อเรียกโดยรวมในภาษาไทยว่า "แค้", "แค้ห้วย" หรือ "ปลาติดหิน" ในขณะที่วงการปลาสวยงามจะนิยมเรียกว่า "ฉลามทอง".

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและปลาแค้ติดหิน · ดูเพิ่มเติม »

นกกระเรียนคอขาว

นกกระเรียนคอขาว (White-naped Crane) เป็นนกในวงศ์นกกระเรียน เป็นนกขนาดใหญ่ ยาว 112-125 ซม.

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและนกกระเรียนคอขาว · ดูเพิ่มเติม »

นกกระเรียนไซบีเรีย

นกกระเรียนไซบีเรีย นกกระเรียนขาวไซบีเรีย หรือ นกกระเรียนหิมะ เป็นนกในวงศ์นกกระเรียน นกชนิดนี้ทำรังวางไข่ในบริเวณใกล้ขั้วโลกเหนือของประเทศรัสเซีย ในสาธารณรัฐซาฮาและทางตะวันตกของไซบีเรีย เป็นนกอพยพระยะทางไกล ประชากรทางตะวันออกอาศัยในบริเวณแม่น้ำแยงซีและทะเลสาบผอหยางในประเทศจีน ประชากรทางตอนกลางอาศัยอยู่ที่อุทยานแห่งชาติเคโอลาเดโอ ประเทศอินเดีย (ประชากรตัวสุดท้ายของนกกระเรียนไซบีเรียกลุ่มนี้ถูกพบเมื่อปี ค.ศ. 2002) และประชากรทางตะวันตกอาศัยอยู่ในเฟ่ะเรดูนเค่ะนอรในประเทศอิหร่าน นกกระเรียนอาศัยในพื้นที่ชุ่มน้ำ กินหน่อ ราก และหัวพืชน้ำเป็นอาหาร.

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและนกกระเรียนไซบีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำสาละวิน

แม่น้ำสาละวิน (Salween River; သံလွင်မြစ်; 40px; กะเหรี่ยงสะกอ: โคโหล่โกล) เป็นแม่น้ำสายที่ยาวเป็นอันดับที่ 26 ของโลก ยาว 2,800 กิโลเมตร และเป็นแม่น้ำที่มีความยาวเป็นอันดับสองของภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ รองมาจากแม่น้ำโขง จากไทยพีบีเอส มีต้นกำเนิดจากการละลายของหิมะเหนือเทือกเขาหิมาลัย ไหลผ่านมณฑลยูนนาน ประเทศจีน ที่ซึ่งเรียกแม่น้ำนี้ว่า นู่เจียง (怒江) หมายถึง "แม่น้ำพิโรธ" และผ่านประเทศพม่าผ่านรัฐฉาน รัฐกะยา รัฐกะเหรี่ยง ซึ่งเป็นแม่น้ำกั้นพรมแดน ระหว่างพม่ากับไทยที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน และไหลลงมาบรรจบกับแม่น้ำเมย หลังจากนั้นแม่น้ำสาละวินจึงไหลวกกลับเข้าประเทศพม่า และไหลลงสู่มหาสมุทรอินเดียที่อ่าวเมาะตะมะ รัฐมอญ แม่น้ำสาละวินมีต้นกำเนิดที่เดียวกับแม่น้ำโขง และแม่น้ำแยงซี โดยแบ่งแยกออกจากกันอย่างชัดเจนจากต้นกำเนิด และเนื่องจากเป็นน้ำที่เกิดจากการละลายของหิมะ อุณหภูมิของน้ำในแม่น้ำสาละวินจึงมีความเย็นกว่าน้ำในแม่น้ำอื่น ๆ ในประเทศไทย บางช่วงมีความลึกมากและน้ำไหลแรง นอกจากนี้ ในประเทศ จีน แม่น้ำสาละวิน เป็น 1 ในแม่น้ำ 3 สาย ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น "มรดกโลก" ร่วมกับ แม่น้ำโขง และ แม่น้ำแยงซี ในเขตพื้นที่มณฑลยูนนาน ภายใต้ชื่อ พื้นที่คุ้มครองแม่น้ำขนานสามสายแห่งยูนนาน โดยพื้นที่ดังกล่าว นับได้ว่าเป็นสถานที่แห่งหนึ่งบนโลกที่มีความอุดมสมบูรณ์และความหลายหลายทางชีวภาพสูง.

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและแม่น้ำสาละวิน · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำหวง

แม่น้ำหวางเหอที่น้ำตกหูโกว แม่น้ำหวางเหอช่วงที่ไหลผ่านมณฑลกานซู แม่น้ำหวางเหอ, หวง หรือ แม่น้ำฮวง, ฮวงโห (แปลว่า แม่น้ำเหลือง) เป็นแม่น้ำที่ยาวเป็นอันดับสองของประเทศจีน รองจากแม่น้ำแยงซี และเป็นแม่น้ำที่ยาวเป็นอันดับที่ 6 ของโลก มีความยาว 3,395 ไมล์ หรือ 5,464 กิโลเมตร สูงเหนือระดับน้ำทะเล ถึง 5,400 เมตร (ยาวกว่าแม่น้ำเจ้าพระยาถึง 15 เท่า) ไหลจากฝั่งตะวันตกมาทางตะวันออก ผ่านมณฑลชิงไห่, เสฉวน, กานซู, หนิงเซี่ย, มองโกเลียใน, ซานซี, เหอหนาน และออกสู่ทะเลโป๋ (โป๋ไห่) ใน มณฑลซานตง ซึ่งเป็นทะเลในอ่าวทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศจีน น้ำในแม่น้ำหวางเหอ เป็นสีเหลืองเนื่องจากมีตะกอนดินทรายพัดพามาจากทิศตะวันตก ยังความอุดมสมบูรณ์ในการเพาะปลูกให้เกิดขึ้นสองฟากฝั่งแม่น้ำ ในขณะเดียวกันก็เกิดภาวะน้ำล้นตลิ่ง เกิดอุทกภัยหลายครั้งซึ่งแต่ละครั้งก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนอย่างมากมายมหาศาล จึงได้รับฉายาว่า "แม่น้ำวิปโยค" (悲劇河) ลุ่มแม่น้ำหวางเหอเป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมจีนมาช้านาน ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยมีการขุดค้นพบซากฟอสซิลมนุษย์วานรอายุ 5–600,000 ปี เรียกว่า "มนุษย์หลันเถียน" (蓝田人) ที่เชื่อว่าเป็นบรรพบุรุษของชนชาติจีน ที่มีถิ่นฐานอยู่ในพื้นที่อำเภอหลันเถียน มณฑลชานซี นอกจากนี้ยังพบซากโบราณสถานจำนวนมาก.

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและแม่น้ำหวง · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำโขง

แม่น้ำโขง (မဲခေါင်မြစ်; ແມ່ນ້ຳຂອງ; ទន្លេដ៏ធំ; Mê Kông) มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาหิมาลัย ไหลผ่านบริเวณที่ราบสูงทิเบตและมณฑลชิงไห่ ประเทศจีน ผ่านประเทศจีน ประเทศพม่า ประเทศลาว ประเทศไทย ประเทศกัมพูชา และออกสู่ทะเลจีนใต้ที่ประเทศเวียดนาม มีความยาวทั้งหมด 4,880 กิโลเมตร เป็นความยาวในประเทศจีน 2,130 กิโลเมตร ช่วงที่แม่น้ำไหลผ่านประเทศจีนมีชื่อเรียกว่า แม่น้ำหลานชาง หรือ หลานชางเจียง (จีนตัวย่อ: 澜沧江, จีนตัวเต็ม: 瀾滄江) แปลว่า "แม่น้ำที่มีความเชี่ยวกราก" และเมื่อไหลผ่านเข้าเขตประเทศพม่าและประเทศลาว เรียกว่า แม่น้ำของ รวมถึงคำเมืองล้านนาก็เรียก น้ำของ เช่นกัน ส่วนในภาษาไทยเรียกว่า แม่น้ำโขง ลักษณะสำคัญของแม่น้ำโขงคือ มีตลิ่งที่สูงชันมากทั้งสองฝั่ง ไหลเลี้ยวเลาะไปตามไหล่เขา กระแสน้ำจะไหลจากทางเหนือลงสู่ทางใต้ตลอดทั้งปี ระดับน้ำในฤดูฝนกับฤดูแล้งจะมีความแตกต่างกันอย่างมาก ความเร็วของกระแสน้ำขึ้นอยู่กับแต่ละฤดูกาล ดินในแม่น้ำโขงเป็นดินทราย มีเกาะแก่งน้อยใหญ่กว่าหนึ่งร้อยแห่งเรียงรายตลอดแม่น้ำ การที่แม่น้ำโขงไหลผ่านหลายประเทศเช่นเดียวกับแม่น้ำดานูบในยุโรป ทำให้บางคนเรียกว่าแม่น้ำนานาชาติ และทำให้ได้รับการขนานนามว่า แม่น้ำดานูบตะวันออก นอกจากนี้ ในประเทศจีน แม่น้ำโขงยังเป็น 1 ในแม่น้ำ 3 สาย ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกร่วมกับแม่น้ำแยงซีและแม่น้ำสาละวินในเขตพื้นที่มณฑลยูนนาน ภายใต้ชื่อ พื้นที่คุ้มครองแม่น้ำขนานสามสายแห่งยูนนาน พื้นที่ดังกล่าวนับได้ว่าเป็นสถานที่แห่งหนึ่งบนโลกที่มีความอุดมสมบูรณ์และความหลายหลายทางชีวภาพสูง สัตว์น้ำขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญและพบได้เฉพาะในแม่น้ำโขงได้แก่ ปลาบึก.

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและแม่น้ำโขง · ดูเพิ่มเติม »

แอลลิเกเตอร์จีน

แอลลิเกเตอร์จีน หรือ จระเข้ตีนเป็ดจีน (Chinese alligator;; พินอิน: yáng zǐ è) เป็นแอลลิเกเตอร์หนึ่งในสองชนิดที่ยังหลงเหลืออยู่ในโลก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Alligator sinensis มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 2 เมตร น้ำหนักมากกว่า 40 กิโลกรัม ทำรังด้วยการขุดโพรงวางไข่ที่ชายหาดริมฝั่งแม่น้ำ พบอาศัยอยู่ในลุ่มแม่น้ำแยงซีในประเทศจีน แถบมณฑลอันฮุย เจียงซูและเจ้อเจียงเท่านั้น ครั้งหนึ่ง แอลลิเกเตอร์ชนิดนี้ เคยมีอยู่เป็นจำนวนมากโดยเฉพาะบริเวณชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของจีน แต่ในปัจจุบัน ถูกจัดว่าเป็นหนึ่งใน 10 อันดับสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ชนิดหนึ่งในอนาคตของโลก เนื่องจากปัญหาด้านมลพิษ และอุณหภูมิที่สูงขึ้นรวมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์เป็นภัยคุกคามต่อการดำรงชีวิตของมัน ซึ่งปัจจุบันคาดมีปริมาณแอลลิเกเตอร์จีนอาศัยอยู่ในธรรมชาติราว 120 ตัว ซึ่งสถานะการอนุรักษ์ของแอลลิเกเตอร์จีน จัดอยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์ขั้นวิกฤต และติดอยู่ในบัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติของสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) และอยู่ในบัญชีรายชื่อหมายเลข 1 (Appendix I) ของไซเตส ซึ่งห้ามค้าขายโดยเด็ดขาด เว้นแต่จะกระทำไปเพื่อการอนุรักษ์หรือวิจัย แต่ต้องได้รับการอนุญาตจากประเทศต้นกำเนิดเสียก่อน ปัจจุบัน ทางการจีนได้มีการอนุรักษ์และเพาะขยายพันธุ์แอลลิเกเตอร์จีนมาแล้วกว่า 30 ปี ซึ่งผลจากการอนุรักษ์และเพาะพันธุ์ที่ผ่านมานี้ทำให้มีลูกแอลลิเกเตอร์จีนเกิดมากขึ้นและมีเปอร์เซนต์รอดในธรรมชาติเพิ่มมากขึ้นจากอดีตในรอบ 5 ปี และคาดว่าจะมีปริมาณแอลลิเกเตอร์จีนเพิ่มขึ้น 300 ตัว ในอนาคต 5-10 ปีข้างหน้.

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและแอลลิเกเตอร์จีน · ดูเพิ่มเติม »

แผนหลงจง

วาดแสดงแผนที่ตามแผนหลงจง แผนหลงจง (Longzhong Plan; 隆中對) เป็นชื่อเรียกแผนยุทธศาสตร์ที่จูกัดเหลียง (ขงเบ้ง) นักยุทธวิธีและผู้ปกครองชาวจีนสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 3 เป็นผู้เสนอ แผนดังกล่าวเป็นรากฐานสำหรับแผนใหญ่ของขุนศึกเล่าปี่ (หลิวเป้ย) และจ๊กก๊ก (รัฐฉู่) ในสมัยสามก๊กต่อมา ใจความสำคัญเล็งเห็นการยึดฐานภูมิภาคที่อยู่รอดได้ในภาคใต้ของจีน แล้วโจมตีสองง่ามเพื่อพิชิตภาคเหนือ แม้แผนดังกล่าวจะพุ่งเป้าไปยังวุยก๊ก (รัฐเว่ย์) ที่เข้มแข็ง แต่เป้าหมายบั้นปลายในการสร้างเอกภาพอีกครั้งซึ่งจักรวรรดิราชวงศ์ฮั่นที่ล่มสลายจำเป็นต้องทำลายง่อก๊ก (รัฐอู๋) ของซุนกวน (ซุนเฉวียน) ฝ่ายทิศตะวันออกด้วย จูกัดเหลียงเข้าร่วมกับหลิวเป้ยเป็นโหมวจึ้ (謀士) หรือที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์ใน..

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและแผนหลงจง · ดูเพิ่มเติม »

แนวคิดเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของชนชาติไท

แนวคิดเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของชนชาติไท ประกอบด้วยแนวคิดทั้งหลายซึ่งอธิบายถึงถิ่นกำเนิดของชนชาติไทที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยปัจจุบัน โดยมีอยู่หลากหลายแนวคิด เช่น.

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและแนวคิดเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของชนชาติไท · ดูเพิ่มเติม »

โลมาหัวบาตรหลังเรียบ

ลมาหัวบาตรหลังเรียบ หรือ โลมาหัวบาตรไร้ครีบหลัง (Finless porpoise, 江猪, พินอิน: Jiāng zhū-หมูแม่น้ำ) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับวาฬและโลมา (Cetacea) ขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์พอร์พอยส์ (Phocoenidae) จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Neophocaena แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดย่อย (ดูในตาราง) เป็นสัตว์ที่สืบทอดเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบันแล้วประมาณ 20 ล้านปี มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับโลมาอิรวดี หรือ โลมาหัวบาตรมีครีบหลัง (Orcaella brevirostris) คือ มีส่วนหัวกลมหลิมเหมือนบาตรพระไม่มีจะงอยปาก แต่ส่วนหลังเรียบไม่มีครีบหลัง ครีบข้างค่อนข้างใหญ่ปลายแหลม และลักษณะฟันในปากจะเป็นตุ่ม ไม่แหลมคม อันเป็นลักษณะเฉพาะของโลมาในวงศ์พอร์พอย์ ซึ่งทั่วโลกพบอยู่ 6 ชนิด ในประเทศไทยพบเพียงชนิดนี้ชนิดเดียว มีขนาดโตเต็มที่ยาว 1.9 เมตร ลูกแรกเกิดยาว 70–80 เซนติเมตร ในน่านน้ำไทยสามารถได้ทุกจังหวัดที่ติดกับทะเล โดยพบมากที่สุดในฝั่งอ่าวไทย คือ ทะเลแถบจังหวัดตราด และจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 เหมือนกับวาฬและโลมาชนิดอื่น ๆ ในประเทศจีน โลมาหัวบาตรหลังเรียบ เป็นโลมาเพียง 1 ใน 2 ชนิด นอกจากโลมาแม่น้ำแยงซีเกียง (Lipotes vexillifer) หรือไป๋จี๋ ที่สามารถพบได้ในแม่น้ำแยงซีเกียง โดยมีชื่อเล่นจากชาวจีนว่า "หมูแม่น้ำ" หรือ"แพนด้าแม่น้ำ" เป็นสัตว์ที่อยู่ในฐานะหวั่นวิตกว่าจะสูญพันธุ์ เนื่องจากมลภาวะสภาพแวดล้อม จากการประเมินพบว่าปัจจุบันหลงเหลือเพียงพันกว่าตัวเท่านั้น ซึ่งทุกปีจะมีจำนวนลดลงอย่างรวดเร็วถึงร้อยละ 5–10 ต่อปี.

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและโลมาหัวบาตรหลังเรียบ · ดูเพิ่มเติม »

โลมาแม่น้ำจีน

ลมาแม่น้ำจีน หรือ โลมาแม่น้ำแยงซี หรือ โลมาครีบขาว (Chinese river dolphin, Yangtze river dolphin, White-flag dolphin; หรือ "ไป๋จี" 白鱀豚) เป็นโลมาน้ำจืด อาศัยอยู่ในแม่น้ำแยงซีตอนกลางและตอนล่างของประเทศจีน รวมทั้งแม่น้ำเชียนถังที่อยู่ใกล้เคียง จัดเป็นโลมาเพียงชนิดเดียวเท่านั้น ที่อยู่ในสกุล Lipotes และวงศ์ Lipotidae (แต่บางข้อมูลจัดให้อยู่ในวงศ์ Iniidae).

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและโลมาแม่น้ำจีน · ดูเพิ่มเติม »

ไทสัน อาร์. โรเบิร์ตส์

ทสัน อาร.

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและไทสัน อาร์. โรเบิร์ตส์ · ดูเพิ่มเติม »

ไป๋ตี้เฉิง

ป๋ตี้เฉิง (Baidicheng) หรือในสามก๊กเรียก เป๊กเต้เสีย เมืองที่ตั้งอยู่บนเขาริมฝั่ง แม่น้ำแยงซี ราว 8 กิโลเมตรทางตะวันออกของ อำเภอเฟิ่งเจี่ย นครฉงชิ่ง เมืองแห่งนี้เป็นที่รู้จักเนื่องจาก พระเจ้าเล่าปี่ ปฐมจักรพรรดิแห่ง จ๊กก๊ก ได้เสด็จมาประทับภายหลังจากพ่ายแพ้ใน ยุทธการที่อิเหลง เมื่อ..

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและไป๋ตี้เฉิง · ดูเพิ่มเติม »

เกงจิ๋ว

กงจิ๋ว หรือ จังหวัดเกง หรือ จิ้งโจว (Jingzhou, Jing Province; 荆州; พินอิน: Jīngzhōu) เป็น 1 ใน 9 จังหวัดหรือมณฑลของประวัติศาสตร์จีนในอดีต โดยเป็นเขตการปกครองในช่วงของจักรพรรดิฮั่นอู่ (ก่อน ค.ศ. 141– ค.ศ. 87) ของราชวงศ์ฮั่น เป็นเมืองที่ติดกับแม่น้ำแยงซี ขึ้นชื่ออย่างยิ่งในยุคสามก๊ก และปรากฏในวรรณกรรมสามก๊ก.

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและเกงจิ๋ว · ดูเพิ่มเติม »

เมืองแมนแดนสันติ

มืองแมนแดนสันติ เป็นชื่อรัฐซึ่งก่อตั้งขึ้นเพื่อต่อต้านรัฐบาลในประเทศจีนตั้งแต..

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและเมืองแมนแดนสันติ · ดูเพิ่มเติม »

เจียงหนาน

Xishi bridge, Mudu, Suzhouเจียงหนาน (Jiangnan;; หรือบางครั้งสะกดว่า Kiang-nan) คือพื้นที่บริเวณตอนล่างของแม่น้ำแยงซีในประเทศจีนปัจจุบัน โดยรวมถึงพื้นที่ตอนใต้ของสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี (Yangtze River Delta) ด้วย บริเวณเจียงหนานมีพื้นที่ครอบคลุมนครเซี่ยงไฮ้ ทางตอนใต้ของมณฑลเจียงซู ทางตอนใต้ของมณฑลอานฮุย ทางตอนเหนือของมณฑลเจียงซี และตอนเหนือของมณฑลเจ้อเจียง เมืองสำคัญในบริเวณนี้ ได้แก่ เมืองเซี่ยงไฮ้ หนานจิง หนิงป่อ หางโจว ซูโจว อู๋ซี ฉางโจว (อังกฤษ: Changzhou; จีน: 常州; พินอิน: Chángzhōu) และ เช่าซิง (Shaoxing; จีนตัวย่อ: 绍兴; จีนตัวเต็ม: 紹興; พินอิน: Shàoxīng) ประชาชนในบริเวณเจียงหนานส่วนมากมักใช้ภาษาจีนอู๋เป็นภาษาพูดประจำท้องถิ่น.

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและเจียงหนาน · ดูเพิ่มเติม »

เทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง

การแข่งเรือมังกรที่มาเก๊า เทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง, เทศกาลตวนอู่ หรือ เทศกาลต่วนหงอ (端午节,端陽節) ตรงกับวันที่ 5 เดือน 5 ตามปฏิทินทางจันทรคติ หรือ "โหงวเหว่ยโจ่ว" เป็นการระลึกถึงวันที่ คุดก้วน หรือ ชีว์หยวน หรือ ชีหยวน (屈原, Qu Yuan (340-278 ปีก่อนคริสต์ศักราช) กวีผู้รักชาติแห่งรัฐฉู่ กระโดดน้ำเสียชีวิต นอกจากนี้ ในประเทศจีน บริเวณแม่น้ำฉางเจียง (แยงซีเกียง), ฮ่องกง, ไต้หวัน, มาเก๊า ยังมีการละเล่น แข่งเรือมังกร (Dragon Boat Festival 龙舟赛) จัดอย่างยิ่งใหญ่ในวันนี้ด้วย ทางรัฐบาลจีนยังกำหนดให้วันขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 นี้เป็น วันกวีจีน (The Chinese Poet's Day) อีกด้วย เนื่องจากชีหยวน นับเป็นอีกผู้หนึ่งที่เป็นกวีคนสำคัญของจีน.

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและเทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง · ดูเพิ่มเติม »

เทศมณฑลอู๋

ทศมณฑลอู๋ (Wu County; 221 ปีก่อนคริสตกาล-ธันวาคม 2000) เป็นเขตปกครองทางตะวันออกสุดของประเทศจีน อยู่ทางตอนล่างของแม่น้ำแยงซีเกียง เดิมเป็นเทศมณฑลในนครซูโจว (Suzhou City) มณฑลเจียงซู ก่อนจัดตั้งขึ้นเป็นนครต่างหาก และภายหลังก็ยุบเลิกแล้วแยกออกเป็นอำเภอ 2 แห่ง.

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและเทศมณฑลอู๋ · ดูเพิ่มเติม »

เทือกเขาคุนหลุน

ทือกเขาคุนหลุน เป็นเทือกเขาที่ยาวที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชีย มีความยาวมากกว่า 3,000 กิโลเมตร.

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและเทือกเขาคุนหลุน · ดูเพิ่มเติม »

เขื่อนซานเสียต้าป้า

ื่อนซานเสียต้าป้า ด้านเหนือน้ำ แผนที่ ภาพเปรียบเทียบก่อนและหลังสร้างเขื่อน เขื่อนซานเสียต้าป้า หรือ เขื่อนสามหุบเขา หรือ เขื่อนสามผา (Three Gorges Dam) เป็นเขื่อนอเนกประสงค์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก (พ.ศ. 2550) ของประเทศจีน ลักษณะของเขื่อนเป็นแบบเขื่อนคอนกรีตถ่วงน้ำหนัก (Concrete gravity dam) กั้นขวางแม่น้ำแยงซี ปัจจุบันเขื่อนซานเสียต้าป้ากำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง เขื่อนซานเสียต้าป้า เป็นเขื่อนแรกของจีนที่มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษ ชื่อเต็มในภาษาอังกฤษของโครงการก่อสร้างเขื่อนนี้ คือ “Three Gorges multipurpose water control project” มีประวัติการก่อสร้างยาวนาน ตั้งแต่สมัย ดร.ซุน ยัตเซ็น ในปี พ.ศ. 2462 และเริ่มศึกษาโครงการฯ เมื่อปี พ.ศ. 2473 สภาประชาชน ลงมติให้ก่อสร้างได้ในปี พ.ศ. 2535 ในสมัยรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีหลี่เผิง วัตถุประสงค์ของการก่อสร้างเขื่อน ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นหลักและป้องกันน้ำท่วม ซึ่งในขณะที่สร้างเขื่อนนั้น มีผู้อพยพจากน้ำท่วมบริเวณโดยรอบมีถึงประมาณ 1.35 ล้านคน.

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและเขื่อนซานเสียต้าป้า · ดูเพิ่มเติม »

เซี่ยงไฮ้

ซี่ยงไฮ้ หรือ ช่างไห่ (จีน: 上海, พินอิน: Shànghǎi) เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศจีน ตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำแยงซี เป็นเขตการปกครองระดับเขตการปกครองพิเศษแบบเทศบาลนคร ซึ่งมีสถานะเทียบเท่ากับมณฑล พื้นที่อยู่ในมณฑลเจ้อเจียงแต่ไม่ได้ขึ้นกับมณฑล การปกครองขึ้นตรงกับรัฐบาลกลาง มีท่าเรือที่มีจำนวนเรือคับคั่งที่สุดในโลก ตามมาด้วยสิงคโปร์และรอตเทอร์ดาม เซี่ยงไฮ้ในอดีตเป็นเพียงหมู่บ้านชาวประมง แต่ในปัจจุบันเซี่ยงไฮ้กลายเป็นเมืองที่มีคนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นมากที่สุดในประเทศจีน เต็มไปด้วยร้านค้า สิ่งก่อสร้าง ถนนเต็มไปด้วยรถ จักรยาน และผู้คน สิ่งที่พบเห็นได้มากในเมืองนี้จนอาจถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของเมืองคือต้นเมเปิลที่มีอายุเกือบร้อยปี ซึ่งปลูกโดยในสมัยที่ฝรั่งเศสเข้ามายึดครองเซี่ยงไฮ้.

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและเซี่ยงไฮ้ · ดูเพิ่มเติม »

เซี่ยงไฮ้โอเชียนอะควาเรียม

้านหน้าเซี่ยงไฮ้โอเชียนอะควาเรียม เซี่ยงไฮ้โอเชียนอะควาเรียม (上海海洋水族馆; Shanghai Ocean Aquarium; ตัวย่อ: SOA.) สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำแห่งหนึ่งที่มีชื่อเสียง ตั้งอยู่ในเมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน จัดเป็นสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำที่ใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชีย มีเนื้อที่กว่า 22,400 ตารางเมตร เปิดให้บริการในปี ค.ศ. 2002 เซี่ยงไฮ้โอเชียนอะควาเรียม ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 1388 ถนนลู่เจียเจ่ยริง เขตผู่ตง ประกอบด้วยส่วนที่อยู่บนดิน 5 ชั้น และใต้ดิน 3 ชั้น สร้างโดยทีมงานเดียวกับอันเดอร์วอเตอร์ เวิร์ล, สิงคโปร์ และ นานจิง อันเดอร์วอเตอร์ เวิร์ล มีจุดที่น่าสนใจอยู่ที่อุโมงค์ทางเดินใต้น้ำที่ยาวที่สุดถึง 155 เมตร ที่ประกอบไปด้วยกระจกใสแผ่นใหญ่ยาวตลอดแนวอุโมงค์นั้น มูลค่ากว่า 6.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 9 โซน และได้รวบรวมสัตว์น้ำกว่า 450 ชนิด ภายในจะแสดงให้เห็นถึง กำเนิดแม่น้ำแยงซีเกียงในประเทศจีน, ผืนป่าอะเมซอนในทวีปอเมริกาใต้, น่านน้ำจีน, ป่าโกงกางในประเทศออสเตรเลีย, แม่น้ำในทวีปแอฟริกา และผืนป่าดงดิบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, ธารน้ำแข็งในทวีปแอนตาร์ติก โดยมีสัตว์น้ำและสัตว์ชนิดต่าง ๆ ที่น่าใจรวบรวมไว้อยู่ที่นี่ อาทิ ปลาฉนากน้ำจืด, แอลลิเกเตอร์จีน, ซาลาแมนเดอร์ยักษ์จีน, ปลาฉลามพอร์ตแจ็คสัน, ตะกอง เป็นต้น.

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและเซี่ยงไฮ้โอเชียนอะควาเรียม · ดูเพิ่มเติม »

เนื้อเรื่องสามก๊ก

นื้อเรื่องสามก๊ก เป็นเนื้อเรื่องฉบับย่อของวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) สำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร..

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและเนื้อเรื่องสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

1 E6 m

ำหรับการเปรียบเทียบอันดับของขนาด (อังกฤษ: orders of magnitude) หน้านี้เป็นเป็นรายชื่อความยาวตั้งแต่ 1 Mm (1,000 กม.) ถึง 10 Mm (10,000 กม.) (106 และ 107 ม.) ---- ความยาวน้อยกว่า 106 เมตร ----.

ใหม่!!: แม่น้ำแยงซีและ1 E6 m · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

หยางจื่อเจียงหยางซีแม่น้ำฉางเจียงแม่น้ำแยงซีเกียงแยงซีเกียง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »