โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การสังหารหมู่นานกิง

ดัชนี การสังหารหมู่นานกิง

การสังหารหมู่นานกิง (Nanking Massacre หรือ Nanjing Massacre) หรือรู้จักกันในนามการข่มขืนนานกิง (Rape of Nanking) เป็นการสังหารหมู่และการข่มขืนยามสงคราม (war rape) ซึ่งเกิดขึ้นเป็นเวลาหกสัปดาห์หลังญี่ปุ่นยึดนครนานกิง อดีตเมืองหลวงของสาธารณรัฐจีน เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 1937 ระหว่างสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง ในช่วงนี้ พลเรือนและทหารจีนที่ถูกปลดอาวุธหลายแสนคนถูกทหารกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นฆ่าTotten, Samuel.

12 ความสัมพันธ์: การตรวจพิจารณาการฉาบปูนขาวการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ยอน ราเบอยุทธการที่นานกิงสาเหตุของสงครามโลกครั้งที่สองสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สองสงครามโลกครั้งที่สองหนานจิงอิวะเนะ มะสึอิโรเบิร์ต โอ วิลสันเขตปลอดภัยนานกิง

การตรวจพิจารณา

การตรวจพิจารณา (censorship) คือ การระงับหรือทำลายซึ่งถ้อยคำหรือวัตถุแห่งการติดต่อสื่อสารอันได้รับการพิจารณาโดยผู้ตรวจแล้วว่า ผิดศีลธรรม ผิดจรรยาบรรณวิชาชีพ ไม่พึงประสงค์ เป็นอันตรายต่อความมั่นคง เป็นหัวข้ออ่อนไหว หรือสร้างความลำบากให้แก่รัฐบาลหรือองค์การสื่อสาร.

ใหม่!!: การสังหารหมู่นานกิงและการตรวจพิจารณา · ดูเพิ่มเติม »

การฉาบปูนขาว

การฉาบปูนขาวภาคพันธสัญญาใหม่, มัทธิว, บทที่ 23, ข้อที่ 27:"วิบัติแก่เจ้า พวกธรรมาจารย์และพวกฟาริสี คนหน้าซื่อใจคด เพราะว่า เจ้าเป็นเหมือนอุโมงค์ฝังศพซึ่งฉาบด้วยปูนขาว ข้างนอกดูงดงามจริง ๆ แต่ข้างในเต็มไปด้วยกระดูกคนตาย และการโสโครกสารพัด" "...like whitewashed tombs, which look beautiful on the outside but on the inside are full of dead men's bones." (whitewashing) เป็นคำพังเพยในสังคมตะวันตก หมายถึง "ปกปิดหรือซ่อนเร้นความชั่ว ความผิด หรือความอัปยศ หรือทำให้พ้นข้อครหา โดยใช้วิธีสืบสวนแบบขอไปที หรือนำเสนอข้อมูลข่าวสารอันมากด้วยอคติ""Whitewash",Encyclopedia Britannica, 2003 DVD Ultimate reference suite.

ใหม่!!: การสังหารหมู่นานกิงและการฉาบปูนขาว · ดูเพิ่มเติม »

การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์

การโจมตีท่าเพิร์ลเป็นการโจมตีทางทหารอย่างจู่โจมของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นต่อฐานทัพเรือสหรัฐที่ท่าเพิร์ล ดินแดนฮาวาย ในเช้าวันที่ 7 ธันวาคม..

ใหม่!!: การสังหารหมู่นานกิงและการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ยอน ราเบอ

อน ราเบอ (John Rabe; 23 พฤศจิกายน 1882 — 5 มกราคม 1950) เป็นนักธุรกิจชาวเยอรมันผู้เป็นที่รู้จักกันในความพยายามที่จะหยุดยั้งการสังหารหมู่นานกิงของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นระหว่างการยึดครองนานกิง และการทำงานของเขาในการป้องกันและช่วยเหลือประชาชนจีนในช่วงเหตุการณ์การสังหารหมู่นานกิง เขตปลอดภัยนานกิงที่เขาช่วยสร้างขึ้นนั้น ได้กลายมาเป็นที่พำนักและช่วยให้ชาวจีนประมาณ 200,000 คน รอดจากการสังหารหมู.

ใหม่!!: การสังหารหมู่นานกิงและยอน ราเบอ · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่นานกิง

ทธการที่นานกิง เริ่มหลังจากยุทธการเซี่ยงไฮ้เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม..

ใหม่!!: การสังหารหมู่นานกิงและยุทธการที่นานกิง · ดูเพิ่มเติม »

สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่สอง

นิโต มุสโสลินีกับอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ สองผู้นำเผด็จการในทวีปยุโรปก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง สาเหตุเบื้องต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง คือ ความตึงเครียดเกี่ยวกับชาตินิยม ประเด็นปัญหาที่ไม่ได้รับการแก้ไข และความไม่พอใจอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และสมัยระหว่างสงครามในทวีปยุโรป รวมทั้งผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930 เหตุการณ์ต่าง ๆ ได้ลงเอยด้วยการปะทุของสงคราม ซึ่งมักเป็นที่เข้าใจว่าเป็นการบุกครองโปแลนด์ โดยนาซีเยอรมนี ความก้าวร้าวทางทหารนี้เป็นผลมาจากการตัดสินใจของผู้นำของเยอรมนีและญี่ปุ่น สงครามโลกครั้งที่สองเริ่มต้นขึ้นจากการปฏิบัติอันก้าวร้าวและบรรจบกับการประกาศสงคราม และ/หรือ การต่อต้านด้วยกำลัง.

ใหม่!!: การสังหารหมู่นานกิงและสาเหตุของสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง

งครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง (Second Sino-Japanese War;; 日中戦争) ระหว่างวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2480 ถึงวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2488 เป็นสงครามระหว่างจีนกับญี่ปุ่น เกิดขึ้นก่อนสงครามโลกครั้งที่สองต่อมากลายเป็นส่วนหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่สองเรียกว่า "สงครามแปซิฟิก" และดำเนินเรื่อยมาจนยุติลงพร้อมกับสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นสงครามที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชียในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ย้อนกลับไปใน พ.ศ. 2474 ญี่ปุ่นได้เข้ารุกรานแมนจูเรีย ซึ่งเหตุการณ์นี้เรียกว่ากรณีมุกเดน ทำให้ญี่ปุ่นสามารถเข้าไปมีอิทธิพลในดินแดนจีนแผ่นดินใหญ่ได้ จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ ณ สะพานมาร์โค โปโล อันเป็นจุดเริ่มต้นอย่างเป็นทางการของสงครามครั้งนี้ ตั้งแต่เริ่มต้นสงครามจนถึง..

ใหม่!!: การสังหารหมู่นานกิงและสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: การสังหารหมู่นานกิงและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

หนานจิง

หนานจิง หรือรู้จักกันอีกชื่อว่า นานกิง เป็นเมืองหลวงของมณฑลเจียงซู สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยหนานจิงเป็นหนึ่งในเมืองหลวงเก่าของจีน ปัจจุบันหนานจิงเป็นเมืองใหญ่อันดับสองในภาคตะวันออกของจีน รองจากช่างไห่ และหนานจิงเป็นเมืองหลวงของจีนคณะชาติสมัยปฏิวัติล้มล้างจักรพรรดิจีน ราชวงศ์ชิงหรือแมนจู หนานจิง ที่แปลว่านครหลวงใต้ เคยเป็นเมืองหลวงของหลายราชวงศ์ จนได้รับสมญานามว่า เมืองหลวงสิบแผ่นดิน และยังเป็น 1 ใน 6 นครโบราณ อันได้แก่ ปักกิ่ง หนานจิง ซีอาน ลั่วหยาง หางโจว และ ไคเฟิง เป็นเมืองหลวงครั้งสุดท้ายระหว่างปี พ.ศ. 2470 ถึง พ.ศ. 2492 โดยรัฐบาลสาธารณรัฐจีน ซึ่งมีผู้นำขณะนั้น คือ นายพลเจียงไคเช็ค หลังสถาปนาเป็นสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี พ.ศ. 2492 รัฐบาลใหม่จึงได้ย้ายเมืองหลวงกลับมายังปักกิ่งดังเดิม บรรพบุรุษชาวหนานจิง จำนวนมากอพยพมาจากปักกิ่งตั้งแต่สมัยราชวงศ์หมิง จึงมีส่วนทำให้ภาษาหนานจิงมีสำเนียงคล้ายภาษาจีนกลางที่ฟังเข้าใจได้ทั่วไป จนทำให้ปัจจุบันหนานจิงเป็นหนึ่งในเมืองที่มีนักศึกษาต่างชาติมากที่สุดในประเทศจีน แต่เนิ่นๆการพัฒนา ตั้งแต่ 3 ราชอาณาจักรระยะเวลาหนานจิงได้กลายเป็นศูนย์แห่งอุตสาหกรรมอุตสาหกรรมของหนานจิงราชวงศ์ถูกขยายเพิ่มเติมและเมืองกลายเป็นหนึ่งในเมืองที่เจริญมากที่สุดในจีน.

ใหม่!!: การสังหารหมู่นานกิงและหนานจิง · ดูเพิ่มเติม »

อิวะเนะ มะสึอิ

อิวะเนะ มะสึอิ; 22 พฤษภาคม..

ใหม่!!: การสังหารหมู่นานกิงและอิวะเนะ มะสึอิ · ดูเพิ่มเติม »

โรเบิร์ต โอ วิลสัน

รเบิร์ต โอ วิลสัน แพทยศาสตรบัณฑิต (5 ตุลาคม 1906 —) เป็นแพทย์ชาวอเมริกันและมิชชันนารีนิกายโปรแตสแตนท์ วิลสันเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยพรินซ์ตันและได้รับการฝึกทางการแพทย์จากสถาบันแพทยศาสตร์ฮาร์วาร์ด และสำเร็จการศึกษาในปี..

ใหม่!!: การสังหารหมู่นานกิงและโรเบิร์ต โอ วิลสัน · ดูเพิ่มเติม »

เขตปลอดภัยนานกิง

ตปลอดภัยนานกิง (南京安全区 Nankin Anzenku, 南京安全地帯, Nankin Anzenchitai) เป็นเขตปลอดทหารสำหรับพลเรือนชาวจีนซึ่งจัดตั้งขึ้นก่อนหน้ายุทธการนานกิง (22 พฤศจิกายน 1937) โดยยึดเอาตัวอย่างจากหลวงพ่อพระเยซูอิตในเซี่ยงไฮ้ ชาวต่างชาติในนานกิงได้ก่อตั้งเขตปลอดภัยนานกิงขึ้น อยู่ภายใต้การจัดการโดยคณะกรรมการระหว่างประเทศว่าด้วยเขตปลอดภัยนานกิง นำโดยนักธุรกิจชาวเยอรมันและสมาชิกพรรคนาซี ยอน ราเบอ เขตและกิจกรรมของคณะกรรมการดังกล่าวมีส่วนช่วยชีวิตพลเรือนชาวจีนหลายพันคนระหว่างการสังหารหมู่นานกิง.

ใหม่!!: การสังหารหมู่นานกิงและเขตปลอดภัยนานกิง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

การสังหารหมู่ที่นานกิงการสังหารหมู่นานจิงการข่มขืนที่นานกิงสังหารหมู่นานกิงสังหารหมู่นานจิงข่มขืนที่นานกิง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »