โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สัญกรณ์โอใหญ่

ดัชนี สัญกรณ์โอใหญ่

ตัวอย่างของสัญกรณ์โอใหญ่ โดย ''f''(''x'') ∈ O(''g''(''x'')) ซึ่งหมายความว่ามี ''c'' > 0 (เช่น ''c''.

50 ความสัมพันธ์: กราฟเชิงระนาบกลวิธีการค้นหาแบบฟีโบนัชชีกองซ้อนการยกกำลังการวิเคราะห์ขั้นตอนวิธีการค้นหาแบบสองทิศทางการค้นหาแบบเบสท์บินเฟิร์สท์การเข้าถึงโดยสุ่มรายการ (โครงสร้างข้อมูล)รายการโยงลอการิทึมสมการซิลเวสเตอร์สัญกรณ์โอใหญ่สทูจซอร์ตอันดับของขนาดฮีป (โครงสร้างข้อมูล)ผลรวมทรีพทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณขั้นตอนวิธี Schonhage-Strassenขั้นตอนวิธีการเรียงลำดับขั้นตอนวิธีฮอปครอฟท์-คาร์พขั้นตอนวิธีของครูสกาลขั้นตอนวิธีของคาราซูบาขั้นตอนวิธีของคาร์เกอร์ขั้นตอนวิธีของเฟรย์วัลส์ขั้นตอนวิธีของเฮิร์ชเบิร์กขั้นตอนวิธีแบบสุ่มขั้นตอนวิธีโรห์ของพอลลาร์ดคอลเลกชันตัวกรองของบลูมต้นไม้ (โครงสร้างข้อมูล)ต้นไม้สเปลย์ต้นไม้ค้นหาแบบทวิภาคต้นไม้แดงดำซิปเปอร์ปัญหาทางเดินม้าหมากรุกปัญหาคอนกรูเอนซ์ของจำนวนเต็มยกกำลังสองมอดุโลเอ็นแฟกทอเรียลแถวลำดับพลวัตแถวลำดับซัฟฟิกซ์แถวลำดับแบบจับคู่แถวคอยแถวคอยลำดับความสำคัญแถวคอยสองหน้าโอไมครอนโครงสร้างข้อมูลเซตไม่มีส่วนร่วมไพรมอเรียลเกรแฮมสแกนเซต (โครงสร้างข้อมูล)

กราฟเชิงระนาบ

กราฟเชิงระนาบ (planar graph) ในทฤษฎีกราฟ คือกราฟที่สามารถวาดบนระนาบได้โดยไม่มีเส้นเชื่อมใดๆ ตัดกัน เช่น กราฟต่อไปนี้เป็นกราฟเชิงระนาบ ไฟล์:6n-graf.svg 200px (รูปที่สอง สามารถวาดให้ไม่มีเส้นเชื่อมตัดกันได้ โดยย้ายเส้นทแยงมุมเส้นหนึ่งออกไปข้างนอก) แต่กราฟสองรูปข้างล่างนี้ ไม่เป็นกราฟเชิงระนาบ ''K''5 ''K''3,3 เนื่องจากเป็นไปไม่ได้ที่จะวาดกราฟสองรูปนี้โดยไม่มีเส้นเชื่อมตัดกัน กราฟสองรูปนี้เป็นกราฟที่ไม่เป็นกราฟเชิงระนาบที่เล็กที่สุดด้ว.

ใหม่!!: สัญกรณ์โอใหญ่และกราฟเชิงระนาบ · ดูเพิ่มเติม »

กลวิธีการค้นหาแบบฟีโบนัชชี

ในวิทยาการคอมพิวเตอร์ กลวิธีการค้นแบบฟีโบนัชชี (Fibonacci search technique) เป็นกลวิธีการค้นโดยนำเอาจำนวนฟีโบนัชชีมาสร้างเป็นกลวิธีค้นตำแหน่งของข้อมูลในแถวลำดับ ที่ได้รับการเรียงลำดับแล้วโดยใช้หลักการของขั้นตอนวิธีการแบ่งแยกและเอาชนะ ซึ่งเป็นหลักการเดียวกับที่ใช้ในกลวิธีการค้นหาแบบทวิภาค แต่เมื่อเปรียบเทียบกับกลวิธีการค้นแบบเลขคู่แล้วกลวิธีการค้นแบบฟีโบนัชชีจะมีการตรวจสอบตำแหน่งของข้อมูลโดยใช้การกระจายตัวที่น้อยกว่า ทำให้เกิดข้อได้เปรียบเมื่อใช้กลวิธีการค้นแบบฟีโบนัชชีกับข้อมูลที่ถูกเก็บอยู่ในแหล่งเก็บข้อมูลไม่มีรูปแบบ ซึ่งเวลาในการใช้ค้นตำแหน่งของข้อมูลที่ต้องการในแหล่งข้อมูลดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งของข้อมูลที่ได้มีการเข้าถึงครั้งล่าสุด ยกตัวอย่างแหล่งข้อมูลแบบไม่มีรูปแบบอาธิเช่น แถบบันทึก ที่ซึ่งเวลาในการเข้าถึงข้อมูลใดๆในแถบแม่เหล็กจะขึ้นอยู่กับระยะทางระหว่างข้อมูลนั้นกับข้อมูลที่หัวของแถบแม่เหล็กกำลังอ่านอยู่ ทั้งนี้กลวิธีการค้นแบบฟีโบนัชชียังมีข้อได้เปรียบในการค้นข้อมูลในแคช (Cache) หรือแรม (Ram) ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลแบบไม่มีรูปแบบอีกด้วยเช่นกัน.

ใหม่!!: สัญกรณ์โอใหญ่และกลวิธีการค้นหาแบบฟีโบนัชชี · ดูเพิ่มเติม »

กองซ้อน

กองซ้อน หรือ สแต็ก หมายถึง แบบชนิดข้อมูลนามธรรมที่มีลักษณะการเรียงลำดับข้อมูล ในการเข้า-ออกในลักษณะเข้าก่อนออกทีหลัง FILO (First In Last Out) กล่าวคือข้อมูลที่เข้าใหม่ๆจะได้ออกก่อน คล้ายกองที่ทับถมซึ่งสิ่งที่เข้ามาใหม่จะอยู่ด้านบนๆ จึงเรียกว่า กองซ้อน (stack) กองซ้อนมีการดำเนินการพื้นฐานเพียง 3 อย่าง ได้แก่ push, pop และ top กองซ้อน โดยที่การ push คือการใส่ข้อมูลลงไปในกองซ้อน ซึ่งจะกระทำได้หากกองซ้อนยังว่างอยู่ หากไม่มีที่ว่างในกองซ้อนเหลืออยู่หรือกองซ้อนเต็ม กองซ้อนนั้นจะอยู่ในสภาวะล้นหรือมากเกินเก็บ (overflow) การ pop คือการนำข้อมูลออกจากส่วนบนสุดของกองซ้อน นอกจากนี้ การ pop จะเผยข้อมูลที่ถูกผิดอยู่ก่อนหน้า หรือทำให้กองซ้อนว่างได้ แต่ถ้ากองซ้อนนั้นว่างอยู่แล้ว การ pop จะทำให้อยู่ในสภาวะน้อยเกินเก็บ (underflow) (นั่นคือ ไม่มีข้อมูลให้นำออกแล้ว) การ top กองซ้อน จะดึงข้อมูลที่อยู่บนสุดและส่งค่านั้นให้ผู้ใช้โดยที่ไม่ได้ลบทิ้งไป การ top กองซ้อนอาจทำให้กองซ้อนอยู่ในสภาวะน้อยเกินเก็บได้เช่นกัน หากกองซ้อนว่างอยู่แล้ว กองซ้อนจึงเป็นวิธีการจัดการเข้า-ออกของข้อมูลอีกแบบหนึ่ง เป็นโครงสร้างข้อมูลที่นำมาใช้ในการทำงานของโปรแกรมคอมพิวเตอร์หลายประการ อาทิการสร้าง subroutine การเรียงลำดับนิพจน์ ฯลฯ.

ใหม่!!: สัญกรณ์โอใหญ่และกองซ้อน · ดูเพิ่มเติม »

การยกกำลัง

้าx+1ส่วนx.

ใหม่!!: สัญกรณ์โอใหญ่และการยกกำลัง · ดูเพิ่มเติม »

การวิเคราะห์ขั้นตอนวิธี

ในศาสตร์คอมพิวเตอร์ การวิเคราะห์ขั้นตอนวิธี เป็นการตัดสินเกี่ยวกับจำนวนทรัพยากร (เช่น เวลา หรือเนื้อที่หน่วยความจำ) ที่จำเป็นต้องใช้ประมวลผลมัน ขั้นตอนวิธีส่วนใหญ่ถูกออกแบบให้ทำงานกับอินพุตที่มีความยาวเท่าไรก็ได้ โดยปกติประสิทธิภาพ หรือเวลาการทำงานของขั้นตอนวิธีเขียนในรูปฟังก์ชันความสัมพันธ์ของความยาวอินพุตกับจำนวนขั้นตอนที่ต้องใช้ในการทำงานนั้น (ความซับซ้อนด้านเวลา) หรือตำแหน่งของเนื้อที่จัดเก็บ (ความซับซ้อนด้านเนื้อที่) การวิเคราะห์ขั้นตอนวิธีเป็นส่วนที่มีความสำคัญของทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณที่กว้างขึ้น ซึ่งเอื้ออำนวยสำหรับการประมาณการเชิงทฤษฎีสำหรับทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้โดยขั้นตอนวิธีใด ๆ สำหรับใช้ไขปัญหาที่ต้องการคำนวณ การประมาณการนี้ช่วยให้เข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงคำสั่งที่มีเหตุผลของการค้นหาประสิทธิภาพของขั้นตอนวิธี การวิเคราะห์ขั้นตอนวิธีทางทฤษฎีเป็นวิธีการปกติที่ใช้ประเมินความซับซ้อนของมันเมื่อพิจารณาประสิทธิภาพของขั้นตอนวิธีกับชุดข้อมูลที่มีขนาดใหญ่มาก เช่น ประมาณฟังก์ชันความซับซ้อนสำหรับอินพุตขนาดใหญ่ใด ๆ สัญกรณ์โอใหญ่ (Big O notation) สัญกรณ์โอเมก้า และสัญกรณ์ธีต้า (theta notation) ถูกใช้เพื่อการนี้ด้วย ตัวอย่างเช่น การทำงานสำหรับการค้นหาแบบทวิภาคเท่ากับจำนวนของขั้นตอนสัมพันธ์กับลอการิทึมของความยาวของรายการที่ต้องการค้นหา หรือ O (log (n)) หรือกว่าว่า "ในเวลาลอการิทึม" โดยปกติการประเมินประสิทธิภาพของขั้นตอนวิธีมักใช้กับข้อมูลขนาดใหญ่มาก ๆ เนื่องจากการดำเนินการที่แตกต่างกันของขั้นตอนวิธีเดียวกันอาจมีประสิทธิภาพต่างกัน อย่างไรก็ตามประสิทธิภาพของการดำเนินการอย่างมีเหตุผลสองวิธีของขั้นตอนวิธีที่ให้เกี่ยวข้องกันโดยปัจจัยตัวคูณคงที่ที่เรียกว่าค่าคงที่แฝง (Hidden factor) การวัดประสิทธิภาพอย่างแม่นยำ บางครั้งสามารถคำนวณได้ แต่มันต้องการสมมติฐานที่แน่นอนเกี่ยวกับการดำเนินการเป็นพิเศษของขั้นตอนวิธี เรียกว่าโมเดลของการคำนวณ ซึ่งอาจนิยามในเทอมของ คอมพิวเตอร์นามธรรม เช่น เครื่องจักรทัวริง และ/หรือ โดยการสมมุติว่าการดำเนินการที่แน่นอนถูกกระทำในเวลาหนึ่งหน่วย ตัวอย่างเช่น การค้นหาอิลีเมนต์จากรายการที่จัดเรียงแล้ว (Sorted list) n อิลีเมนต์ ด้วยวิธีค้นหาแบบทวิภาค และเราสามารถรับประกันว่าการค้นหาอิลีเมนต์แต่ละครั้งทำในเวลาหนึ่งหน่วย ดังนั้นคำตอบที่ได้จะใช้เวลาในการค้นหาอย่างมากที่สุดเท่ากับ log2 n + 1 หน่วยเวลา หมวดหมู่:ขั้นตอนวิธี หมวดหมู่:การวิเคราะห์ขั้นตอนวิธี.

ใหม่!!: สัญกรณ์โอใหญ่และการวิเคราะห์ขั้นตอนวิธี · ดูเพิ่มเติม »

การค้นหาแบบสองทิศทาง

การค้นหาแบบสองทิศทางผสมกับการค้นหาแบบกระจายตามแนวขวาง การค้นหาแบบสองทิศทาง (Bidirectional Search) คือวิธีหนึ่งที่ใช้สำหรับการค้นหาข้อมูลภายในกราฟระบุทิศทาง โดยมีจุดประสงค์เป็นการหาวิถีสั้นสุดจากจุดเริ่มต้นไปยังจุดสิ้นสุดบนกราฟ หลักการค้นหาที่เป็นเอกลักษณ์ของวิธีการนี้ก็คือเราจะทำการค้นหาจากจุดเริ่มไปยังจุดสิ้นสุดและจากจุดสิ้นสุดกลับมายังจุดเริ่มต้นไปพร้อมๆกัน และเมื่อการค้นหามาบรรจบพร้อมกันที่จุดๆหนึ่งระหว่างกลางก็จะถือเป็นอันสิ้นสุด นอกจากนี้การค้นหาแบบสองทิศทางนี้ยังสามารถนำเอาไปประยุกต์รวมเข้ากับการค้นหาแบบอื่นๆเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้นได้ ตัวอย่างของวิธีการค้นหาที่สามารถนำเอามาประยุกต์กับการค้นหาแบบสองทิศทางเช่น การค้นตามแนวกว้าง, การค้นแบบดีที่สุด, ขั้นตอนวิธีเอสตาร์เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหาให้ดีที่สุดนั่นเอง.

ใหม่!!: สัญกรณ์โอใหญ่และการค้นหาแบบสองทิศทาง · ดูเพิ่มเติม »

การค้นหาแบบเบสท์บินเฟิร์สท์

การค้นแบบเบสท์บินเฟิร์สท์ เป็นขั้นตอนวิธีการค้นหาที่ใช้ในการหาจุดที่อยู่ใกล้ที่สุด (nearest neighbor search) โดยประมาณในปริภูมิหลายมิติ โดยขั้นตอนวิธีนี้มีการประยุกต์มาจากต้นไม้เคดี (k-d tree) ทำให้การค้นมีประสิทธิภาพและเร็วมากขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นขั้นตอนวิธีการค้นหาที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในทางปฏิบัติ อย่างเช่น ใช้กับการตรวจหาลักษณะเด่นแบบซิฟท์ (SIFT) ซึ่งเป็นหนึ่งในขั้นตอนวิธีในการตรวจหาลักษณะเด่น (feature detection) ในเรื่องคอมพิวเตอร์วิทัศน์ (computer vision).

ใหม่!!: สัญกรณ์โอใหญ่และการค้นหาแบบเบสท์บินเฟิร์สท์ · ดูเพิ่มเติม »

การเข้าถึงโดยสุ่ม

การเข้าถึงโดยสุ่ม เปรียบเทียบกับการเข้าถึงเชิงเส้น ในวิทยาการคอมพิวเตอร์ การเข้าถึงโดยสุ่ม (random access) หรือ การเข้าถึงโดยตรง (direct access) คือความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลในลำดับภายในเวลาที่เท่าๆกันสำหรับข้อมูลตัวใด ๆ ก็ตาม เวลาในการเข้าถึงข้อมูลนี้ไม่ขึ้นกับกับขนาดของลำดับด้วย ตัวอย่างของการเข้าถึงโดยสุ่มคือการอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดี ซึ่งสามารถอ่านข้อมูลตำแหน่งใดๆได้ทันที การเข้าถึงข้อมูลที่ตรงกันข้ามกับการเข้าถึงโดยสุ่มคือการเข้าถึงเชิงเส้น ซึ่งข้อมูลที่อยู่ไกลกว่าจะเสียเวลาในการเข้าถึงข้อมูลมากกว่า ตัวอย่างเช่นการอ่านข้อมูลจากตลับเทป ซึ่งต้องมีกรอเทปไปยังตำแหน่งที่ต้องการอ่านข้อมูล สำหรับโครงสร้างข้อมูล ความสามารถในการเข้าถึงโดยสุ่มคือความสามารถในการเข้าถึงรายการได้ภายในเวลาคงที่ หรือ O(1) ซึ่งโครงสร้างข้อมูลที่เรียบง่ายที่สุดที่มีความสามารถนี้ก็คือแถวลำดับ โครงสร้างข้อมูลที่เหลือที่มีความสามารถนี้ โดยมากแล้วก็จะมาจากการดัดแปลงแถวลำดับ เช่น แถวลำดับพลวัต อย่างไรก็ตาม การมีความสามารถในการเข้าถึงโดยสุ่มก็ความหมายอีกนัยหนึ่งว่าที่อยู่ของหน่วยความจำต้องเรียงกันแบบมีแบบแผน ดังนั้นจึงทำให้โครงสร้างข้อมูลทั้งหลายที่มีความสามารถนี้ไม่สามารถเพิ่มข้อมูลกลางรายการได้อย่างมีประสิทธิภาพ บางโครงสร้างข้อมูลเช่นรายการโยงแลกความสามารถในการเข้าถึงแบบสุ่มด้วยความสามารถในการเพิ่มและลบข้อมูลกลางรายการแทน ความสามารถในการเข้าถึงโดยสุ่มมีความสำคัญมาก มีขั้นตอนวิธีมากมายที่ใช้ประโยชน์จากโครงสร้างข้อมูลที่มีการเข้าถึงข้อมูลโดยสุ่ม เช่น การค้นหาแบบทวิภาค ขั้นตอนวิธีการเรียงลำดับ ตะแกรงเอราทอสเทนีส เป็นต้น.

ใหม่!!: สัญกรณ์โอใหญ่และการเข้าถึงโดยสุ่ม · ดูเพิ่มเติม »

รายการ (โครงสร้างข้อมูล)

รายการ เป็นแบบชนิดข้อมูลนามธรรมประเภทหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะการเรียงแบบต่อเนื่องไปเป็นลำดับ ข้อมูลจะมีลำดับก่อนหลังกันคล้ายเวกเตอร์ ตัวอย่างของรายการเช่น การเรียงลำดับตัวอักษร A,B,C,...

ใหม่!!: สัญกรณ์โอใหญ่และรายการ (โครงสร้างข้อมูล) · ดูเพิ่มเติม »

รายการโยง

รายการโยง เป็นรายการประเภทหนึ่ง ซึ่งจะใช้ประเภทข้อมูลประเภทโครงสร้าง วัตถุ หรือตัวชี้ (Pointer) เพื่อชี้สมาชิกตัวถัดไปที่เก็บไปเรื่อยๆ รายการโยงมีจุดเด่นทางด้านการเพิ่มหรือลดข้อมูลหรือชุดข้อมูลได้ง่าย จึงนำมาดัดแปลงในการสร้างโครงสร้างข้อมูลประเภทอื่นๆ เช่น กองซ้อน คิว ฯลฯ จึงนับว่าเป็นโครงสร้างข้อมูลที่ใช้บ่อยมากประเภทหนึ่ง.

ใหม่!!: สัญกรณ์โอใหญ่และรายการโยง · ดูเพิ่มเติม »

ลอการิทึม

ีม่วงคือฐาน 1.7 กราฟทุกเส้นผ่านจุด (1, 0) เนื่องจากจำนวนใด ๆ ที่ไม่เป็นศูนย์ เมื่อยกกำลัง 0 แล้วได้ 1 และกราฟทุกเส้นผ่านจุด (''b'', 1) สำหรับฐาน ''b'' เพราะว่าจำนวนใด ๆ ยกกำลัง 1 แล้วได้ค่าเดิม เส้นโค้งทางซ้ายเข้าใกล้แกน ''y'' แต่ไม่ตัดกับแกน ''y'' เพราะมีภาวะเอกฐานอยู่ที่ ''x''.

ใหม่!!: สัญกรณ์โอใหญ่และลอการิทึม · ดูเพิ่มเติม »

สมการซิลเวสเตอร์

มการซิลเวสเตอร์ (Sylvester equation) มักพบในทฤษฎีระบบควบคุม คือสมการเมทริกซ์ ในรูปแบบ โดยที่ A,B,X,C คือ n \times n เมทริกซ์ A,B,C เป็นเมทริกซ์ทราบค่า และ X คือเมทริกซ์ตัวแปรที่เราต้องการห.

ใหม่!!: สัญกรณ์โอใหญ่และสมการซิลเวสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

สัญกรณ์โอใหญ่

ตัวอย่างของสัญกรณ์โอใหญ่ โดย ''f''(''x'') ∈ O(''g''(''x'')) ซึ่งหมายความว่ามี ''c'' > 0 (เช่น ''c''.

ใหม่!!: สัญกรณ์โอใหญ่และสัญกรณ์โอใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

สทูจซอร์ต

ทูจซอร์ต (stooge sort) การจัดเรียงเป็นขั้นตอนการเรียงลำดับแบบทวนซ้ำ (recursive sorting algorithm) โดยมีความซับซ้อนเวลา และ Stooge Sort เป็นการจัดเรียงข้อมูลของอาเรย์ จากน้อยไปมาก ซึงมีประสิทธิต่ำมากเมื่อเปรียบกับ Merge sort และ Bubble sort เพราะว่า 1.  Stooge sort ซึ่งเขียนแบบ recursive แต่ทำงานช้ากว่าแบบ Merge sort  แต่โค้ดของ Stooge sort         สั้นกว่ามาก 2.

ใหม่!!: สัญกรณ์โอใหญ่และสทูจซอร์ต · ดูเพิ่มเติม »

อันดับของขนาด

อันดับของขนาด (Order of magnitude) เขียนอยู่ในรูปของกำลังสิบ ตัวอย่างเช่น อันดับขนาดของเลข 1500 คือ 3 เพราะว่า 1500 สามารถเขียนอยู่ในรูปของ 1.5 × 103 ความแตกต่างของอันดับขนาดต้องวัดในระบบการวัดลอการิทึม (logarithmic scale) ใน "กลุ่มสิบ" (ตัวอย่างเช่น ตัวประกอบของสิบ) ตัวอย่างของตัวเลขของขนาดต่าง ๆ พบได้ที่หน้าอันดับของขนาด (จำนวน).

ใหม่!!: สัญกรณ์โอใหญ่และอันดับของขนาด · ดูเพิ่มเติม »

ฮีป (โครงสร้างข้อมูล)

ีป (Heap) เป็นโครงสร้างข้อมูลที่นำมาสร้างแถวคอยลำดับความสำคัญ (priority queue) รูปแบบหนึ่ง ซึ่งนิยมใช้กันมาก โดยฮีปที่สร้างขึ้นโดยอาศัยแนวคิดจากต้นไม้ทวิภาคใช้ชื่อว่า "ฮีปทวิภาค" (binary heap) ซึ่งยังมีการสร้างฮีปโดยอาศัยแนวคิดแบบอื่น ๆ ได้อีกเช่น ฟีโบนักชีฮีป (fibonacci heap) โดยฮีปทุกชนิดนั้นมีความสัมพันธ์เหมือนกันคือปมพ่อมีลำดับความสำคัญมากกว่าปมลูก แนวคิดของฮีปนอกจากนำมาสร้างแถวคอยลำดับความสำคัญแล้ว ยังนำมาประยุกต์ใช้ในการสร้างโครงสร้างข้อมูลอื่นๆ เช่นทรีพ เป็นต้น.

ใหม่!!: สัญกรณ์โอใหญ่และฮีป (โครงสร้างข้อมูล) · ดูเพิ่มเติม »

ผลรวม

ในทางคณิตศาสตร์ ผลรวม (summation) หมายถึงการบวกของเซตของจำนวน ซึ่งจะให้ผลลัพธ์เป็น ผลบวก (sum, total) จำนวนที่กล่าวถึงอาจเป็นจำนวนธรรมชาติ จำนวนเชิงซ้อน เมตริกซ์ หรือวัตถุอื่นที่ซับซ้อนกว่านั้น ผลรวมไม่จำกัดของลำดับเรียกว่าเป็นอนุกรม.

ใหม่!!: สัญกรณ์โอใหญ่และผลรวม · ดูเพิ่มเติม »

ทรีพ

ทรีพ เป็นต้นไม้ค้นหาแบบทวิภาคประเภทหนึ่ง ที่มีการประกันความสูง เฉลี่ยเป็น O (log n) โดยวิธีการนำแนวคิดเรื่องของฮีป เข้ามาช่วย โดยคำว่าทรีพ (treap) นั้นเป็นคำที่เกิดจากการประกอบของคำว่า binary search tree รวมกับคำว่า heap เป็น treap นั้นเอง.

ใหม่!!: สัญกรณ์โอใหญ่และทรีพ · ดูเพิ่มเติม »

ทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณ

ทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณ (Computational Complexity Theory) เป็นสาขาหนึ่งของทฤษฎีการคำนวณ ที่มุ่งเน้นไปในการวิเคราะห์เวลาและเนื้อที่สำหรับการแก้ปัญหาหนึ่ง ๆ โดยปกติแล้วคำว่า "เวลา" ที่เราพูดถึงนั้น จะเป็นการนับจำนวนขั้นตอนที่ใช้ในการแก้ปัญหา ส่วนในเรื่องของ "เนื้อที่" เราจะพิจารณาเนื้อที่ ๆ ใช้ในการทำงานเท่านั้น (ไม่นับเนื้อที่ ๆ ใช้ในการเก็บข้อมูลป้อนเข้า).

ใหม่!!: สัญกรณ์โอใหญ่และทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณ · ดูเพิ่มเติม »

ขั้นตอนวิธี Schonhage-Strassen

ั้นตอนวิธีของ Schönhage–Strassen คือ ขั้นตอนวิธีในการคูณเลขจำนวนเต็มขนาดใหญ่ ขั้นตอนวิธีนี้ได้รับการพัฒนามาจาก อาร์โนลด์ ชุนฮาเก้ และ วอล์คเกอร์ สตราเซน ในปี..

ใหม่!!: สัญกรณ์โอใหญ่และขั้นตอนวิธี Schonhage-Strassen · ดูเพิ่มเติม »

ขั้นตอนวิธีการเรียงลำดับ

ในวิทยาการคอมพิวเตอร์ ขั้นตอนวิธีการเรียงลำดับ (sorting algorithm) คือ ขั้นตอนวิธีที่จัดเรียงสมาชิกของรายการ (list) ให้เป็นไปตามรูปแบบของอันดับที่กำหนด ส่วนใหญ่อันดับที่ใช้กันคือ อันดับตัวเลข และอันดับตัวอักษร การเรียงลำดับที่มีประสิทธิภาพมีความสำคัญต่อขั้นตอนวิธีอื่นๆ (เช่น ขั้นตอนวิธีการค้นหา และ การผสาน) ซึ่งขั้นตอนวิธีเหล่านี้ต้องใช้รายการที่เรียงอย่างถูกต้อง.

ใหม่!!: สัญกรณ์โอใหญ่และขั้นตอนวิธีการเรียงลำดับ · ดูเพิ่มเติม »

ขั้นตอนวิธีฮอปครอฟท์-คาร์พ

ั้นตอนวิธีฮอปครอฟท์-คาร์พ (Hopcroft–Karp algorithm) เป็นขั้นตอนวิธี ที่มีข้อมูลนำเข้าเป็นกราฟสองส่วน และมีผลลัพธ์เป็นจำนวนการจับคู่ที่มากที่สุด นั่นคือเซ็ตของเส้นเชื่อมที่มากที่สุดที่เป็นไปได้โดยที่ไม่มีเส้นเชื่อมสองเส้นที่ต่างกันใดๆ เชื่อมไปยังจุดเดียวกัน ใช้เวลาในการทำงานเป็น O(m\sqrt n) ในกรณีแย่สุด, โดย O คือ สัญกรณ์โอใหญ่, m คือ จำนวนของเส้นเชื่อมในกราฟ, และ n คือจำนวนจุดในกราฟ สำหรับกราฟซับซ้อน ใช้เวลาในการทำงานเป็น O(n^) และสำหรับกราฟแบบสุ่ม ใช้เวลาในการทำงานเป็นเชิงเส้น ขั้นตอนวิธีฮอปครอฟท์-คาร์พคิดค้นโดยจอห์น ฮอปครอฟท์และริชาร์ด คาร์พ เป็นขั้นตอนวิธีสำหรับการจับคู่เช่นเดียวกับขั้นตอนวิธีฮังกาเรียนและ ขั้นตอนวิธีฮอปครอฟท์-คาร์พทำโดยการเพิ่มขนาดของการจับคู่ซ้ำๆโดยการหาวิถีแต่งเติม ใช้การวนซ้ำ O(\sqrt n) รอบ โดนหลักการเดียวกันนี้ยังใช้พัฒนาขั้นตอนวิธีที่ซับซ้อนขึ้นสำหรับการจับคู่ในกราฟที่ไม่ใช่กราฟสองส่วน โดยใช้เวลาในการทำงานเหมือนกับขั้นตอนวิธีฮอปครอฟท์-คาร.

ใหม่!!: สัญกรณ์โอใหญ่และขั้นตอนวิธีฮอปครอฟท์-คาร์พ · ดูเพิ่มเติม »

ขั้นตอนวิธีของครูสกาล

การจำลองการทำงานของขั้นตอนวิธีของครูสกาล ขั้นตอนวิธีของครูสกาล (อังกฤษ: Kruskal's algorithm) เป็นขั้นตอนวิธีแบบละโมบในทฤษฎีกราฟ ที่ใช้หา ต้นไม้แบบทอดข้ามน้อยสุด (Minimum spanning tree) สำหรับกราฟเชื่อมโยงแบบมีน้ำหนัก นั้นหมายความว่าเราจะได้เซตย่อยของเส้นเชื่อมในต้นไม้ที่เชื่อมทุกๆปม โดยที่ผลรวมของน้ำหนักบนเส้นเชื่อมจะมีค่าน้อยที่สุด หากกราฟไม่เป็นกราฟเชื่อมโยง เราจะได้ ป่าแบบทอดข้ามน้อยสุด (คือต้นไม้แบบทอดข้ามน้อยสุดแต่ละต้นในกราฟ) ขั้นตอนวิธีนี้ปรากฏครั้งแรกบนนิตยสารทางวิทยาศาสตร์ชื่อ Proceedings of the American Mathematical Society หน้. 48-50 ในปี 1956, และเขียนโดย โจเซฟ ครูสกาล และยังมีขั้นตอนวิธีสำหรับแก้ปัญหาแบบเดียวกัน เช่น ขั้นตอนวิธีของพริม ขั้นตอนวิธีการลบย้อนกลับ และ ขั้นตอนวิธีของโบรุฟก.

ใหม่!!: สัญกรณ์โอใหญ่และขั้นตอนวิธีของครูสกาล · ดูเพิ่มเติม »

ขั้นตอนวิธีของคาราซูบา

ั้นตอนวิธีของคาราซูบา (Karatsuba algorithm) เป็น ขั้นตอนวิธี ที่ค้นพบโดย Anatolii Alexeevitch Karatsuba ในปี..

ใหม่!!: สัญกรณ์โอใหญ่และขั้นตอนวิธีของคาราซูบา · ดูเพิ่มเติม »

ขั้นตอนวิธีของคาร์เกอร์

ในวิทยาการคอมพิวเตอร์และทฤษฎีกราฟ ขั้นตอนวิธีของคาร์เกอร์ (Karger's algorithm) เป็น Monte Carlo method เพื่อคำนวณหา การตัดน้อยสุด (minimun cut) ของกราฟต่อเนื่อง ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นโดย David Karger โดยการตัดน้อยสุด คือ จำนวนเส้นเชื่อมน้อยสุดที่ต้องลบออกเพื่อให้กราฟแยกเป็น 2 ส่วน(component).

ใหม่!!: สัญกรณ์โอใหญ่และขั้นตอนวิธีของคาร์เกอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ขั้นตอนวิธีของเฟรย์วัลส์

ั้นตอนวิธีของเฟรย์วัลส์ (Freivalds' algorithm) เป็นขั้นตอนวิธีแบบสุ่ม (randomised algorithm) ที่รูซินส์ มาร์ตินส์ เฟรย์วัลส์ (Rusins Martins Freivalds) นักวิทยาศาสตร์ชาวลัตเวีย นำเสนอขึ้นสำหรับใช้ตรวจสอบความเท่ากันของผลคูณของเมทริกซ์กับเมทริกซ์ต้นแ.

ใหม่!!: สัญกรณ์โอใหญ่และขั้นตอนวิธีของเฟรย์วัลส์ · ดูเพิ่มเติม »

ขั้นตอนวิธีของเฮิร์ชเบิร์ก

ั้นตอนวิธีของเฮิร์ชเบิร์ก เป็นขั้นตอนวิธีสำหรับการเปรียบเทียบของสายอักขระ มีชื่อมาจากผู้คิดค้น แดน เฮิร์ชเบิร์ก (Dan Hirschberg) ซึ่งขั้นตอนวิธีนี้เป็นขั้นตอนวิธีการเขียนโปรแกรมแบบพลวัต (Dynamic programming algorithm) ที่ถูกออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาลำดับย่อยร่วมยาวสุด (Longest common subsequence) โดยขั้นตอนวิธีนี้จะแก้ปัญหาการเปรียบเทียบสายอักขระโดยใช้ปริภูมิเชิงเส้น (Linear space) เพื่อหาระยะทางที่ถูกแก้ไขของราเวนสตีน (Levenshtein edit distance) ของสายอักขระ 2 สายที่เปรียบเทียบกันรวมทั้งหาการเรียงตัวของสายอักขระทั้งสองด้ว.

ใหม่!!: สัญกรณ์โอใหญ่และขั้นตอนวิธีของเฮิร์ชเบิร์ก · ดูเพิ่มเติม »

ขั้นตอนวิธีแบบสุ่ม

ั้นตอนวิธีแบบสุ่ม (randomized algorithm) เป็นขั้นตอนวิธีที่ยอมให้มีการโยนเหรียญได้ ในทางปฏิบัติ เครื่องที่ใช้ทำงานขั้นตอนวิธีนี้ จะต้องใช้ตัวสร้างเลขสุ่มเทียม (pseudo-random number generator) ในการสร้างตัวเลขสุ่มขึ้นมา อัลกอรึทึมโดยทั่วๆไปมักใช้บิทสุ่ม (random bit) สำหรับเป็นอินพุตเสริม เพื่อชี้นำการกระทำของมันต่อไป โดยมีความหวังว่าจะช่วยให้มีประสิทธิภาพที่ดีใน "กรณีส่วนมาก (average case)" หรือหากพูดในทางคณิตศาสตร์ก็คือ ประสิทธิภาพของขั้นตอนวิธีมีค่าเท่ากับตัวแปรสุ่ม (random variable) ซึ่งคำนวณจากบิทสุ่ม โดยหวังว่าจะมีค่าคาดหมาย (expected value) ที่ดี กรณีที่แย่มากที่สุดมักจะมีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมากจนแทบจะไม่ต้องสนใ.

ใหม่!!: สัญกรณ์โอใหญ่และขั้นตอนวิธีแบบสุ่ม · ดูเพิ่มเติม »

ขั้นตอนวิธีโรห์ของพอลลาร์ด

ั้นตอนวิธีโรห์ของพอลลาร์ด (Pollard's rho algorithm) เป็นขั้นตอนวิธีแบบสุ่มที่ใช้หาตัวประกอบของจำนวนประกอบที่มีค่ามาก โดยอาศัยคุณสมบัติของการหาร เพื่อให้หาตัวประกอบของเลขจำนวนนั้น ๆ ได้เร็ว ขั้นตอนวิธีนี้ จอห์น พอลลาร์ด (John Pollard) นำเสนอขึ้นในปี 1975 และต่อมา ริชาร์ด เบรนท์ (Richard Brent) ปรับปรุงในปี 1980.

ใหม่!!: สัญกรณ์โอใหญ่และขั้นตอนวิธีโรห์ของพอลลาร์ด · ดูเพิ่มเติม »

คอลเลกชัน

Collection หรือ Container หมายถึง แบบชนิดข้อมูลนามธรรมหรือวิธีการเก็บข้อมูล ซึ่งไม่สนใจการเรียงลำดับความสำคัญ สามารถให้ข้อมูลซ้ำได้ กล่าวคือสิ่งที่เก็บข้อมูลได้ถือว่าเป็น Collection นิยามของ Collection เช่นนี้ส่งผลให้การเก็บข้อมูลหรือโครงสร้างข้อมูล ทุกชนิดเป็น Collection ด้วย Collection จึงอาจใช้ในความหมายว่าเป็นที่เก็บข้อมูลหรือโครงสร้างข้อมูลได้เช่น Java Collections Framework.

ใหม่!!: สัญกรณ์โอใหญ่และคอลเลกชัน · ดูเพิ่มเติม »

ตัวกรองของบลูม

ตัวกรองของบลูม (Bloom Filter) ถูกคิดขึ้นโดย เบอร์ตัน ฮาเวิร์ด บลูม ในปี..

ใหม่!!: สัญกรณ์โอใหญ่และตัวกรองของบลูม · ดูเพิ่มเติม »

ต้นไม้ (โครงสร้างข้อมูล)

ต้นไม้ เป็น แบบชนิดข้อมูลนามธรรม ประเภทหนึ่ง มีลักษณะการเรียงเป็นกิ่งก้านสาขาแตกแขนงออกไป จะไม่มีวงวน (loop) โยงในสมาชิกตัวต่างๆ โดยสมาชิกจะถูกเก็บไว้ในประเภทข้อมูลชนิดวัตถุ (Object) หรือโครงสร้าง (Structure) เรียกว่าปม (node) ซึ่งจะมีตัวแปรซึ่งเก็บตัวชี้ (Pointer) ไปยังปมอื่นๆได้ ต้นไม้ถูกใช้ในการจัดการข้อมูลที่เปรียบเทียบกันได้ (comparable) อย่างรวดเร็วเช่น ตัวเลข หรือ การเรียงลำดับความสำคัญของข้อมูล เช่น การคำนวณที่มีวงเล็บ เป็นอาท.

ใหม่!!: สัญกรณ์โอใหญ่และต้นไม้ (โครงสร้างข้อมูล) · ดูเพิ่มเติม »

ต้นไม้สเปลย์

Gg (gg) เป็นต้นไม้ค้นหาแบบทวิภาคที่มีโครงสร้างปรับตัวเอง (self-adjusting tree) ได้คือ สามารถปรับโครงสร้างทุกครั้งที่เรียกใช้บริการ ตั้งแต่การเพิ่ม การลบ หรือแม้กระทั่งการค้นหาเอง โดยจะนำปมต้นไม้ที่ถูกใช้บริการขึ้นมาเป็นรากแทน สำหรับต้นไม้สเปลย์ ถูกคิดค้นขึ้นโดย Daniel Sleator และ Robert Tarjan.

ใหม่!!: สัญกรณ์โอใหญ่และต้นไม้สเปลย์ · ดูเพิ่มเติม »

ต้นไม้ค้นหาแบบทวิภาค

ต้นไม้ค้นหาแบบทวิภาค (binary search tree, BST) เป็นโครงสร้างข้อมูล ซึ่งใช้โครงสร้างต้นไม้ในการทำต้นไม้ค้นหาแบบทวิภาคต่างจากต้นไม้แบบทวิภาคตรงที่ส่วนของต้นไม้ด้านซ้ายของข้อมูลใดๆ จะน้อยกว่าข้อมูลนั้น และส่วนของต้นไม้ด้านขวาของข้อมูลใดๆ จะมากกว่าข้อมูลนั้นเสมอ ต้นไม้ค้นหาแบบทวิภาคสร้างขึ้นมาเพื่อให้เติมลบ หรือหาได้ง่าย สำหรับข้อมูลที่เปรียบเทียบกันได้ ต้นไม้ค้นหาแบบทวิภาคมักใช้ในการทำโครงสร้างข้อมูลชนิดอื่นๆต่อไป.

ใหม่!!: สัญกรณ์โอใหญ่และต้นไม้ค้นหาแบบทวิภาค · ดูเพิ่มเติม »

ต้นไม้แดงดำ

ต้นไม้แดงดำ (Red-Black Tree) เป็นต้นไม้ค้นหาแบบทวิภาคที่ประยุกต์แนวคิดมาจากต้นไม้ได้ดุล 2-3-4 ให้เป็นต้นไม้ค้นหาแบบทวิภาค โดยที่ปมของต้นไม้แดงดำจะมีการเก็บตัวแปรหนึ่ง มักเรียกว่าสีแดงและสีดำ มีสองสีซึ่งสามารถเก็บด้วยค่าความจริงหรือตัวแปรขนาดหนึ่งบิตได้ และทำให้ต้นไม้นี้ถูกเรียกชื่อว่า ต้นไม้แดงดำ.

ใหม่!!: สัญกรณ์โอใหญ่และต้นไม้แดงดำ · ดูเพิ่มเติม »

ซิปเปอร์

ซิปเปอร์ เป็นโครงสร้างข้อมูลชนิดหนึ่งหรืออาจเรียกว่าเป็นวิธีการที่สามารถใช้แสดงข้อมูลที่เราสนใจอยู่พร้อมกับรายการของข้อมูลอื่น ๆ ที่อยู่ภายในโครงสร้างข้อมูลเดียวกัน กล่าวคือ ในการเข้าถึงข้อมูลใด ๆ ภายในโครงสร้างข้อมูลนี้จะต้องระบุทั้งข้อมูลที่เราสนใจและที่อยู่ของข้อมูลซึ่งก็คือรายการของข้อมูลที่อยู่ในวิถีจากข้อมูลนั้นไปยังรากหรือตอนต้นของรายการและจากข้อมูลนั้นไปยังใบหรือปลายสุดของรายการ อีกทั้งเมื่อเราเข้าถึงข้อมูลที่เราสนใจได้แล้วเรายังเปลี่ยนจุดสนใจไปยังข้อมูลที่อยู่รอบ ๆ ข้อมูลที่เราสนใจได้ด้วยหรืออาจใช้คำสั่งอย่างอื่น เช่น เพิ่ม เปลี่ยน หรือลบข้อมูล โดยคำสั่งส่วนใหญ่มีประสิทธิภาพการทำงานเป็น O(1) แนวคิดนี้ถูกคิดค้นขึ้นโดย Gérard Huet เมื่อปี 1997 โดยตั้งชื่อตามการทำงานของโครงสร้างข้อมูลนี้ที่เปรียบเสมือนซิปที่เราสามารถรูดขึ้นลงได้ นอกจากนี้โครงสร้างข้อมูลชนิดนี้มักเขียนเป็นโปรแกรมด้วยการเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน (Functional programming) และแนวคิดของซิปเปอร์สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับโครงสร้างข้อมูลได้หลายอย่าง เช่น รายการ (List) และต้นไม้ (Tree).

ใหม่!!: สัญกรณ์โอใหญ่และซิปเปอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ปัญหาทางเดินม้าหมากรุก

ทางเดินม้าหมากรุกปิด ทางเดินม้าหมากรุกเปิด ปัญหาทางเดินม้าหมากรุก (Knight's tour) เป็นปัญหาทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับการเดินม้าในกระดานหมากรุก โดยม้าจะต้องเดินผ่านช่องทุกช่องบนกระดานหมากรุกเพียงช่องละหนึ่งครั้งเท่านั้นและเป็นไปตามกฎกติกาของเกมหมากรุก ถ้าการเดินม้ามีจุดเริ่มต้นเป็นช่องเดียวกับจุดสิ้นสุดจะเรียกการเดินม้านั้นว่า ”การเดินม้าแบบปิด” แต่ถ้าหากเป็นคนละช่องกันจะเรียกการเดินม้านั้นว่า “การเดินม้าแบบเปิด” ซึ่งในปัจจุบันยังไม่ทราบจำนวนวิธีในการเดินม้าแบบเปิดที่แน่ชัด ขนาดของตารางหมากรุกที่ใช้ในปัญหานี้มีหลายขนาด โดยขนาดที่ใช้โดยทั่วไปจะเป็นขนาด 8 x 8 ช่อง.

ใหม่!!: สัญกรณ์โอใหญ่และปัญหาทางเดินม้าหมากรุก · ดูเพิ่มเติม »

ปัญหาคอนกรูเอนซ์ของจำนวนเต็มยกกำลังสองมอดุโลเอ็น

ปัญหาคอนกรูเอนซ์ของจำนวนเต็มยกกำลังสองมอดุลโลเอ็น (Congruence of squares (mod n)) ในเรื่องทฤษฎีจำนวนนั้นได้ถูกนำมาใช้บ่อยครั้งในปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการแยกตัวประกอบของจำนวนเต็ม โดยเริ่มต้นจากปัญหาที่ว่า " จงหาจำนวนเต็ม x,y ที่ทำให้สมการดังกล่าวเป็นจริง เมื่อกำหนดจำนวนเต็ม n " โดย ซึ่งการใช้ขั้นตอนวิธีการแยกตัวประกอบของจำนวนเต็มของแฟร์มาต์ (Fermat's factorization method) โดยการพยายามแยกตัวประกอบของ n ในรูปแบบ n.

ใหม่!!: สัญกรณ์โอใหญ่และปัญหาคอนกรูเอนซ์ของจำนวนเต็มยกกำลังสองมอดุโลเอ็น · ดูเพิ่มเติม »

แฟกทอเรียล

ในทางคณิตศาสตร์ แฟกทอเรียล (factorial) ของจำนวนเต็มไม่เป็นลบ n คือผลคูณของจำนวนเต็มบวกทั้งหมดที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ n เขียนแทนด้วย n! (อ่านว่า n แฟกทอเรียล) ตัวอย่างเช่น สำหรับค่าของ 0! ถูกกำหนดให้เท่ากับ 1 ตามหลักการของผลคูณว่าง การดำเนินการแฟกทอเรียลพบได้ในคณิตศาสตร์สาขา ต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคณิตศาสตร์เชิงการจัด พีชคณิต และคณิตวิเคราะห์ การพบเห็นโดยพื้นฐานที่สุดคือข้อเท็จจริงที่ว่า การจัดลำดับวัตถุที่แตกต่างกัน n สิ่งสามารถทำได้ n! วิธี (การเรียงสับเปลี่ยนของเซตของวัตถุ) ข้อเท็จจริงนี้เป็นที่ทราบโดยนักวิชาการชาวอินเดียตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 12 เป็นอย่างน้อย นอกจากนี้ คริสเตียน แครมป์ (Christian Kramp) เป็นผู้แนะนำให้ใช้สัญกรณ์ n! เมื่อ ค.ศ. 1808 (พ.ศ. 2351) นิยามของแฟกทอเรียลสามารถขยายแนวคิดไปบนอาร์กิวเมนต์ที่ไม่เป็นจำนวนเต็มได้โดยยังคงมีสมบัติที่สำคัญ ซึ่งเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ชั้นสูงยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคนิคต่าง ๆ ที่ใช้ในคณิตวิเคราะห.

ใหม่!!: สัญกรณ์โอใหญ่และแฟกทอเรียล · ดูเพิ่มเติม »

แถวลำดับพลวัต

แถวลำดับพลวัต (dynamic array) หรืออาจเรียกว่า แถวลำดับที่ขยายได้ (growable array), แถวลำดับที่เปลี่ยนขนาดได้ (resizable array), ตารางพลวัต (dynamic table), รายการแถวลำดับ (array list) หรือ เวกเตอร์ (vector) เป็นรายการประเภทหนึ่ง มีคุณสมบัติการเข้าถึงโดยสุ่มเหมือนแถวลำดับ แต่ต่างจากแถวลำดับธรรมดาตรงที่สามารถขยายขนาดเองได้เมื่อใส่ข้อมูลเพิ่มเข้าไปสมชาย ประสิทธิ์จูตระกูล, การออกแบบและวิเคราะห์อัลกอริทึม, พิมพ์ครั้งที่ 4 แถวลำดับพลวัตไม่ใช่แถวลำดับจากการจองหน่วยความจำพลวัต เนื่องจากแถวลำดับจากการจองหน่วยความจำพลวัตมีขนาดคงที่ ในขณะที่แถวลำดับพลวัตสามารถขยายขนาดได้ อย่างไรก็ตาม ในการอิมพลีเมนต์แถวลำดับพลวัต ก็อาจใช้แถวลำดับจากการจองหน่วยความจำพลวัตเป็นส่วนประกอบได้การอิมพลีเมนต์แถวลำดับพลวัตในภาษาจาว.

ใหม่!!: สัญกรณ์โอใหญ่และแถวลำดับพลวัต · ดูเพิ่มเติม »

แถวลำดับซัฟฟิกซ์

ในวิทยาการคอมพิวเตอร์ แถวลำดับซัฟฟิกซ์ (suffix array) คือการจัดเรียง อาร์เรย์ ของ ข้อความทั้งหมดจากท้ายข้อความ เป็นโครงสร้างข้อมูลที่ใช้ในดัชนีข้อความแบบเต็ม อัลกอริทึมการบีบอัดข้อมูลและภายในเขตข้อมูลของ bibliometrics แถวลำดับซัฟฟิกซ์ ถูกเป็นแนะนำโดย Manber & Myers (1990) เป็นเรื่องง่ายสำหรับ suffix trees.

ใหม่!!: สัญกรณ์โอใหญ่และแถวลำดับซัฟฟิกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

แถวลำดับแบบจับคู่

แถวลำดับแบบจับคู่ (Associative array) หมายถึง กลุ่มโครงสร้างข้อมูลหรือแบบชนิดข้อมูลนามธรรม ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยผ่านข้อมูลอีกตัว เรียกว่า คีย์ (key) โดยเป็นการจับคู่คีย์เข้ากับค่าข้อมูล (value) เป็นคู่ๆไป ในภาษาโปรแกรมหลายภาษา แถวลำดับแบบจับคู่ ถือเป็นประเภทข้อมูลประเภทหนึ่งที่สำคัญมากและมีใช้หลากหลายรูปแบบ อาทิ ใช้ในการจัดการข้อมูลในฐานข้อมูล ใช้เป็นโครงสร้างข้อมูลเบื้องต้น เป็นต้น.

ใหม่!!: สัญกรณ์โอใหญ่และแถวลำดับแบบจับคู่ · ดูเพิ่มเติม »

แถวคอย

แถวคอย หรือ คิว เป็นแบบชนิดข้อมูลนามธรรมที่มีลักษณะการเรียงลำดับข้อมูล การดำเนินการในแถวคอยจะแบ่งเป็น การเพิ่มข้อมูลไปที่ส่วนหลังสุดของแถวคอย และการดึงข้อมูลออกจากส่วนหน้าสุดของแถวคอย เข้าออกในลักษณะการเข้าก่อนออกก่อน (First In First Out: FIFO) ในโครงสร้างข้อมูลลักษณะเข้าก่อนออกก่อนนี้ ข้อมูลแรกสุดที่ถูกเพิ่มเข้าไปในแถวคอยจะเป็นข้อมูลแรกที่ถูกดึงออก ซึ่งก็เท่ากับว่า ความจำเป็นที่ว่า เมื่อมีข้อมูลหนึ่งถูกเพิ่มเข้ามาแล้ว ข้อมูลที่ถูกเพิ่มก่อนหน้านี้ทั้งหมดจะต้องถูกดึงออกก่อนที่ข้อมูลใหม่จะถูกใช้งาน คล้ายกับการเข้าแถวซื้อของในชีวิตประจำวัน แถวคอยจัดเป็นวิธีการจัดการเข้า-ออกของข้อมูลอีกแบบหนึ่ง เป็นโครงสร้างข้อมูลที่นำมาใช้ในการทำงานของโปรแกรมคอมพิวเตอร์หลายประการ อาทิแถวคอยในการทำงานของเครือข่าย การออกแบบการทำงานระบบท่อ (pipeline) เป็นต้น.

ใหม่!!: สัญกรณ์โอใหญ่และแถวคอย · ดูเพิ่มเติม »

แถวคอยลำดับความสำคัญ

ในแถวคอยปกติ ข้อมูลที่เข้ามาก่อนจะมีสิทธิ์ออกก่อน (First In First Out:FIFO) อย่างไรก็ตาม มีบางครั้งที่เราต้องยกให้สมาชิกบางประเภทได้ทำงานก่อนทั้งที่มาทีหลัง เช่นการให้คิวงานที่เล็กกว่าได้ทำก่อน หรือ การให้สิทธิพิเศษแก่การทำงานบางประเภท เช่นนี้เราจะสร้าง แถวคอยลำดับความสำคัญ เป็นคิวที่ถึงแม้เข้าก่อน แต่สิ่งที่มีความสำคัญมากกว่าจะได้ออกก่อน ถ้ามีความสำคัญเท่ากัน ข้อมูลที่เข้ามาก่อนจะได้ออกก่อนเช่นเดียวกับแถวคอยปกติ แถวคอยลำดับความสำคัญทำให้เราสามารถประยุกต์ใช้คิวได้ดีขึ้น เนื่องจากเพิ่มการให้ความสำคัญของสมาชิกที่แตกต่างกัน ส่งผลให้เราสามารถจัดเรียงแถวคอยได้ใหม่ให้เหมาะสมกับการทำงานได้ เราใช้แถวคอยลำดับความสำคัญในการจัดการทำงาน การตรวจนับ ฯลฯ.

ใหม่!!: สัญกรณ์โอใหญ่และแถวคอยลำดับความสำคัญ · ดูเพิ่มเติม »

แถวคอยสองหน้า

แถวคอยสองหน้า เป็นแบบชนิดข้อมูลนามธรรมที่เราสามารถนำข้อมูลแรกสุดหรือหลังสุดที่เราเพิ่มเข้าหรือออกก็ได้ เปรียบเสมือนเป็นแถวคอยที่มีหัวเปิดสองด้านให้เข้า-ออกได้ นั้นเอง แถวคอยสองหน้า สามารถประยุกต์ใช้ในแนวคิด กึ่งแถวคอยกึ่งกองซ้อนได้ ทำให้จัดการกับการเข้าออกของข้อมูลได้ทุกรูปแ.

ใหม่!!: สัญกรณ์โอใหญ่และแถวคอยสองหน้า · ดูเพิ่มเติม »

โอไมครอน

โอไมครอน, ออมิครอน (omicron) หรือ โอมีกรอน (όμικρον, ตัวใหญ่ Ο, ตัวเล็ก ο) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 15 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 70 ความหมายตามตัวอักษรแปลว่า โอเล็ก (มิครอน แปลว่า เล็ก ซึ่งตรงข้ามกับโอเมกาหรือโอใหญ่) เสียงของโอไมครอนในภาษากรีก คล้ายกับเสียงสระออในภาษาไทย อักษรโอไมครอนตัวใหญ่ถูกนำไปใช้เป็นสัญลักษณ์ของสัญกรณ์โอใหญ่ (Big O notation) อโอไมครอน.

ใหม่!!: สัญกรณ์โอใหญ่และโอไมครอน · ดูเพิ่มเติม »

โครงสร้างข้อมูลเซตไม่มีส่วนร่วม

การดำเนินการ ''MakeSet'' สร้างเซตโทนขึ้น 8 เซต หลังจากมีการดำเนินการ ''Union'' ไประยะหนึ่ง หลาย ๆ เซตได้ถูกรวมเข้าด้วยกัน ในวิทยาการคอมพิวเตอร์ โครงสร้างข้อมูลเซตไม่มีส่วนร่วม (Disjoint-set data structure) เป็นโครงสร้างข้อมูลที่ใช้เก็บข้อมูลที่แบ่งเป็นหลาย ๆ เซต โดยที่แต่ละเซตไม่มีส่วนร่วมกันเลย (disjoint, nonoverlapping) โดยมีขั้นตอนวิธียูเนียนและค้นหา (union-find algorithm) เป็นขั้นตอนวิธีที่ดำเนินการบนโครงสร้างข้อมูลนี้ มีจุดประสงค์คือ 1.

ใหม่!!: สัญกรณ์โอใหญ่และโครงสร้างข้อมูลเซตไม่มีส่วนร่วม · ดูเพิ่มเติม »

ไพรมอเรียล

รมอเรียล (primorial) เป็นคำที่รวมกันระหว่างจำนวนเฉพาะ (prime) กับแฟกทอเรียล (factorial) ตั้งโดย ฮาร์วีย์ ดับเนอร์ (Harvey Dubner) มีความหมายสองแบบ ดังที่จะได้กล่าวต่อไป ฟังก์ชันไพรมอเรียลถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นข้อพิสูจน์ให้กับทฤษฎีบทของยุคลิด ว่ามีจำนวนเฉพาะเป็นจำนวนอนันต.

ใหม่!!: สัญกรณ์โอใหญ่และไพรมอเรียล · ดูเพิ่มเติม »

เกรแฮมสแกน

กรแฮมสแกน (อังกฤษ:Graham Scan) เป็นขั้นตอนวิธีสำหรับคำนวณหา เปลือกนูน ของเซตจุดบนระนาบ โดยมีความซับซ้อนด้านเวลา (time complexity) เป็น O(n log n) ชื่อของชั้นตอนวิธีมาจากผู้เผยเพร่ขั้นตอนวิธีต้นฉบับในปี..

ใหม่!!: สัญกรณ์โอใหญ่และเกรแฮมสแกน · ดูเพิ่มเติม »

เซต (โครงสร้างข้อมูล)

ซต หมายถึงแบบชนิดข้อมูลนามธรรมที่ไม่อนุญาตให้ซ้ำกัน แต่ไม่เรียงลำดับสมาชิก เซตจึงถูกนำมาใช้ในการตรวจสอบความซ้ำกันของข้อมูล โครงสร้างข้อมูลที่เป็นเซต ได้แก่ ต้นไม้ค้นหาและตารางแฮช เพียงแต่ต้นไม้จะเก็บข้อมูลที่เปรียบเทียบได้ (Comparable) เท่านั้น ส่วนตารางแฮชไม่มีเงื่อนไขนี้.

ใหม่!!: สัญกรณ์โอใหญ่และเซต (โครงสร้างข้อมูล) · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Big O notationสัญกรณ์ธีตาสัญกรณ์ทีตาสัญกรณ์โอเมกาใหญ่สัญกรณ์เชิงเส้นกำกับ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »