โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน

ดัชนี ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน

ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน หรือ ตระกูลภาษาอินเดีย-ยุโรป ประกอบด้วยภาษาและภาษาย่อยรวม 443 ภาษา (ตามการประมาณของ SIL) ที่พูดโดยคนประมาณ 3 พันล้านคน ซึ่งรวมถึงตระกูลภาษาหลัก ๆ ของยุโรป และเอเชียตะวันตก ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลใหญ่ ภาษาปัจจุบันที่อยู่ในตระกูลใหญ่นี้ มีเช่น ภาษาเบงกาลี ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาฮินดี ภาษาโปรตุเกส ภาษารัสเซีย และ ภาษาสเปน (แต่ละภาษามีคนพูดมากกว่า 100 ล้านคน).

95 ความสัมพันธ์: ชาวสลาฟชาวนอร์สชาวเคลต์ชนะ คณะ มนะพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์กลุ่มชนละตินกลุ่มชนอิหร่านกลุ่มชนเจอร์แมนิกกลุ่มภาษาบอลติกกลุ่มภาษาฟินโน-ยูกริกกลุ่มภาษาสลาวิกกลุ่มภาษาอานาโตเลียกลุ่มภาษาอิหร่านกลุ่มภาษาอินโด-อารยันกลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านกลุ่มภาษาคอเคซัสตะวันตกเฉียงเหนือกลุ่มภาษาคอเคเซียนกลุ่มภาษาโรมานซ์กลุ่มภาษาเจอร์แมนิกกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกเหนือกลุ่มภาษาเคลต์การผันคำกิลกาเมชภาษาบัลแกเรียภาษาบาลีภาษาบาสก์ภาษาฟิลิสไตน์ภาษาพัชโตภาษาพิซิเดียภาษากรีกภาษาญี่ปุ่นภาษามราฐีภาษายูเครนภาษารัสเซียภาษาละตินภาษาลัตเวียภาษาลิทัวเนียภาษาศาสตร์เปรียบเทียบภาษาสวีเดนภาษาสันสกฤตภาษาสิงหลภาษาสโลวักภาษาสเปนภาษาสเปนเก่าภาษาอังกฤษภาษาอังกฤษสมัยกลางภาษาอาร์มีเนียภาษาอาหมภาษาอูรดูภาษาอเวสตะ...ภาษาฮิตไทต์ภาษาฮินดีภาษาทอกพิซินภาษาทาจิกภาษาของชาวยิวภาษาคีร์กีซภาษาปรากฤตภาษาปัญจาบภาษาแอลเบเนียภาษาในประเทศไทยภาษาไอริชภาษาเอสเปรันโตภาษาเดนมาร์กภาษาเตลูกูภาษาเปอร์เซียรายชื่อภาษาเรียงตามจำนวนผู้ใช้เป็นภาษาแม่รายชื่อรหัสภาษา ISO 639-1รายชื่อตัวละครในกันดั้มดับเบิลโอรายพระนามเทวดาเจอร์แมนิกลิงค์ (ภาษาศาสตร์)วันวิกิพีเดียภาษาญี่ปุ่นสกุลลิงซ์หงส์อักษรโตคาเรียนอุปสรรค (ไวยากรณ์)คำกำกับนามคุชราตงูงูเห่าอียิปต์ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนตระกูลภาษาไท-กะไดตระกูลของภาษาประวัติศาสตร์อานาโตเลียประวัติศาสตร์ฮิตไทต์ประวัติศาสตร์เอเชียกลางประเทศฟินแลนด์ประเทศฮังการีประเทศตุรกีแม่น้ำเอมส์แวมไพร์โยสท์ กิพเพิร์ทเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เฮกเตอร์ (ทรอย) ขยายดัชนี (45 มากกว่า) »

ชาวสลาฟ

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและชาวสลาฟ · ดูเพิ่มเติม »

ชาวนอร์ส

แผนที่แสดงบริเวณการตั้งถิ่นฐานของไวกิงระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 8 ถึง 11 รวมทั้งบริเวณที่ปล้นสะดมและค้าขายที่ส่วนใหญ่แทบจะแยกกันไม่ได้ ชาวนอร์ส (Norsemen) เป็นคำที่เคยใช้ในการเรียกกลุ่มชนทั้งกลุ่มที่พูดภาษากลุ่มเจอร์แมนิกเหนือ (North Germanic language) เป็นภาษาแม่ (“นอร์ส” โดยเฉพาะหมายถึงภาษานอร์สโบราณที่เป็นสาขาของภาษากลุ่มเจอร์แมนิกเหนือของตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน โดยเฉพาะภาษานอร์เวย์ ภาษาไอซ์แลนด์ ภาษาสวีเดน และภาษาเดนมาร์กแบบโบราณ) “นอร์สเม็น” หมายความว่า “ผู้มาจากทางเหนือ” และเป็นคำที่ใช้สำหรับชนนอร์ดิกที่เดิมมาจากทางตอนไต้และตอนกลางของสแกนดิเนเวีย ชาวนอร์สได้ตั้งถิ่นฐานและอาณาบริเวณการปกครองในดินแดนต่าง ๆ ที่รวมทั้งบางส่วนของหมู่เกาะแฟโร อังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ ไอซ์แลนด์ ฟินแลนด์ ไอร์แลนด์ รัสเซีย อิตาลี แคนาดา กรีนแลนด์ ฝรั่งเศส ยูเครน เอสโตเนีย ลัตเวีย และเยอรมนี “นอร์ส” และ “นอร์สเม็น” หมายถึงประชากรสแกนดิเนเวียของปลายคริสต์ศตวรรษ 8 ถึง 11 ส่วนคำว่า “นอร์มัน” ต่อมาหมายถึงผู้ที่ดั้งเดิมคือผู้มาจากทางเหนือที่ตั้งถิ่นฐานในนอร์ม็องดีในฝรั่งเศส ที่รับวัฒนธรรมและภาษาฝรั่งเศส คำว่า “Norse-Gaels” (เกลลิคต่างประเทศ) เป็นคำที่ใช้เรียก “นอร์ส” ที่มาจากไอร์แลนด์และสกอตแลนด์ผู้ยอมรับวัฒนธรรมเกลส์ ไวกิงเป็นคำทั่วไปที่ใช้สำหรับ “นอร์สเม็น” ในต้นสมัยกลางโดยเฉพาะเมื่อกล่าวถึงการปล้นสดมสำนักสงฆ์ต่าง ๆ ในสหราชอาณาจักรและไอร์แลน.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและชาวนอร์ส · ดูเพิ่มเติม »

ชาวเคลต์

ริเวณที่ยังมีการใช้ภาษากลุ่มเคลต์อย่างกว้างขวางในปัจจุบัน เคลต์ หรือ เซลต์ (Celts; หรือ) เป็นคำที่ใช้เรียกชนยุโรปที่เดิมพูดหรือยังพูดภาษากลุ่มเคลต์ (Celtic languages) นอกจากนั้นก็ยังเป็นคำที่ใช้ในความหมายกว้าง ๆ ในการบรรยายผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากชาวเคลต์ที่ยังคงรักษาวัฒนธรรมเคลต์อยู่ เคลต์ในประวัติศาสตร์เป็นกลุ่มชนหลายกลุ่มในยุคเหล็กยุโรป อารยธรรมเคลต์ดั้งเดิมเริ่มก่อตั้งในสมัยต้นยุคเหล็กในตอนกลางของทวีปยุโรป (สมัยวัฒนธรรมฮัลล์ชตัทท์ที่ตั้งชื่อตามบริเวณที่เป็นออสเตรียปัจจุบัน) พอมาถึงปลายยุคเหล็ก (สมัยลาแตน) เคลต์ก็ขยายตัวไปในดินแดนต่าง ๆ ที่รวมทั้งทางตะวันตกที่ไปถึงไอร์แลนด์และคาบสมุทรไอบีเรีย ทางตะวันออกไปสุดที่กาเลเชีย (Galatia) (กลางอานาโตเลีย) และทางเหนือสุดที่สกอตแลนด์ หลักฐานแรกที่บ่งถึงภาษาเคลต์อยู่ในคำจารึกในภาษาเลพอนติค (Lepontic language) จากคริสต์ศตวรรษที่ 6 กลุ่มภาษาเคลต์ภาคพื้นยุโรปมีหลักฐานเฉพาะชื่อสถานที่ กลุ่มภาษาเคลต์เกาะ (Insular Celtic) ปรากฏในหลักฐานจากคริสต์ศตวรรษที่ 4 ในคำจารึกออกัม (Ogham inscription) อารยธรรมทางวรรณกรรมเริ่มด้วยการใช้ภาษาไอริชเก่าตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 8 วรรณกรรมไอริชสมัยต้น เช่น "Táin Bó Cúailnge" มีหลักฐานมาจนถึงฉบับแก้ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 เมื่อมาถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่หนึ่งหลังการขยายดินแดนของจักรวรรดิโรมันและสมัยการย้ายถิ่นฐาน (Migration Period) ของกลุ่มชนเจอร์แมนิกแล้ว อารยธรรมเคลต์ก็จำกัดอยู่แต่เพียงหมู่เกาะบริติช (ภาษาเคลต์เกาะ) และภาษาเคลต์ยุโรปก็หยุดใช้กันไปในคริสต์ศตวรรษที่ 6 เคลต์เกาะที่ว่าหมายถึงดินแดนรอบทะเลไอริช รวมทั้งคอร์นวอลล์และบริตตานีบนสองฝั่งของช่องแคบอังกฤษ.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและชาวเคลต์ · ดูเพิ่มเติม »

ชนะ คณะ มนะ

"ชนะ คณะ มนะ" (জন গণ মন, Jôno Gôno Mono; แปลว่า "จิตใจแห่งปวงชน") เป็นชื่อของเพลงชาติแห่งสาธารณรัฐอินเดีย บทเพลงนี้เขียนขึ้นด้วยภาษาเบงกาลีสันสกฤตและประพันธ์ทำนองโดยรพินทรนาถ ฐากูร นักเขียนรางวัลโนเบลชาวเบงกาลี โดยบทที่นำมาใช้เป็นเพลงชาตินี้นำมาจากบทแรกของเพลงเดิมซึ่งเป็นเพลงสรรเสริญแบบพฺราหฺมะ (ব্রাহ্ম, Brahmo) ของแคว้นเบงกอล มีเนื้อหาทั้งหมด 5 บท เพลงดังกล่าวได้มีการขับร้องอย่างเป็นทางการครั้งแรกในที่ประชุมคองเกรสแห่งชาติของอินเดีย (Indian National Congress) ที่เมืองกัลกัตตา เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ. 1911 ภายหลังเพลง "ชนะ คณะ มนะ" ได้รับการยอมรับให้ใช้เป็นเพลงชาติอินเดียอย่างเป็นทางการโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 24 มกราคม ค.ศ. 1950 Ganpuley's Memoirs.1983.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและชนะ คณะ มนะ · ดูเพิ่มเติม »

พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์

แผนที่แสดงเขตพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์เป็นสีแดง เขต พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์ (Fertile Crescent) ที่รู้จักกันโดยเป็นอู่อารยธรรม เป็นบริเวณรูปจันทร์เสี้ยวที่รวมแผ่นดินที่ชื้นและอุดมสมบูรณ์โดยเทียบกับบริเวณข้างเคียงในเอเชียตะวันตกที่เป็นเขตกึ่งแห้งแล้ง และรวมบริเวณรอบ ๆ ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำและลุ่มแม่น้ำไนล์ เป็นบริเวณอยู่ติดกับเขตเอเชียน้อยหรือที่เรียกว่าอานาโตเลีย คำนี้เริ่มใช้ในการศึกษาประวัติศาสตร์โบราณ แล้วต่อมาจึงกลายมาเป็นคำที่นิยมใช้ในโลกตะวันตกแม้ในสาขาภูมิรัฐศาสตร์ (geopolitics) และในเรื่องความสัมพันธ์ทางการทูต ความหมายทั้งหมดที่มีของคำนี้ ล้วนรวมเขตเมโสโปเตเมีย คือผืนแผ่นดินรอบ ๆ แม่น้ำไทกริสและแม่น้ำยูเฟรทีส และรวมเขตลิแวนต์ คือฝั่งทิศตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ประเทศต่าง ๆ ปัจจุบันที่มีดินแดนร่วมอยู่ในเขตนี้รวมทั้งประเทศอิรัก คูเวต ซีเรีย เลบานอน จอร์แดน อิสราเอล และปาเลสไตน์ โดยอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศตุรกีและทางทิศตะวันตกของอิหร่าน เขตนี้บ่อยครั้งเรียกว่าอู่อารยธรรม (cradle of civilization) เพราะเป็นเขตที่เกิดพัฒนาการเป็นอารยธรรมมนุษย์แรก ๆ สุด ซึ่งเจริญรุ่งเรืองโดยอาศัยทรัพยากรน้ำและเกษตรกรรมที่มีอยู่ในเขต ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในเขตนี้รวมทั้งการพัฒนาภาษาเขียน การทำแก้ว ล้อ และระบบชลประทาน.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มชนละติน

ษากลุ่มโรมานซ์ในทวีปยุโรปในศตวรรษที่ 20 กลุ่มชนละติน (Latin peoples) หรือ กลุ่มชนโรมานซ์ (Romance peoples) เป็นกลุ่มชนในประวัติศาสตร์ที่เดิมตั้งถิ่นฐานอยู่ทางตอนใต้ของยุโรปที่พูดภาษากลุ่มโรมานซ์ในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน ซึ่งประกอบด้วยชาวฝรั่งเศส, ชาวอิตาลี, ชาวโรมาเนีย, ชาวสเปน, ชาวโปรตุเกส, ชาวอันดอร์รา, ชาวมอลโดวา, ชาววัลลูน, ชาวโรแมนซ์, ชาวคะแนรี, ชาวกาลิเซีย และชาวกาตาล.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและกลุ่มชนละติน · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มชนอิหร่าน

ูมิศาสตร์การกระจายของภาษากลุ่มอิหร่าน กลุ่มชนอิหร่าน (Iranian peoples) เป็นกลุ่มชาติพันธ์ของตระกูลอินโด-ยูโรเปียนที่ตั้งถิ่นฐานส่วนใหญ่อยู่ในบริเวณที่ราบสูงอิหร่าน โดยผู้พูดภาษาอยู่ในตระกูลภาษากลุ่มอิหร่านและชาติพันธุ์ของสังคมที่ยังคงมีอยู่ในปัจจุบันเช่นชาวเปอร์เซีย, ชาวออสเซเตีย, ชาวเคิร์ด, ชาวปาทาน, ชาวทาจิก, ชาวบาโลช, และZaza People Lurs.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและกลุ่มชนอิหร่าน · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มชนเจอร์แมนิก

การประชุมของสภาทิง (Thing) ของชนเจอร์แมนิก วาดจากภาพแกะนูนบนคอลัมน์มาร์คัส ออเรลิอัส (Marcus Aurelius) (ค.ศ. 193) กลุ่มชนเจอร์แมนิก (Germanic peoples) เป็นกลุ่มชนในประวัติศาสตร์ที่เดิมตั้งถิ่นฐานอยู่ทางตอนเหนือของยุโรปที่พูดภาษากลุ่มเจอร์แมนิกในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนซึ่งแยกมาจากกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกดั้งเดิมในช่วงสมัยก่อนยุคเหล็กก่อนโรมัน ผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากกลุ่มชนนี้กลายมาเป็นต้นตระกูลของชาติพันธุ์ต่าง ๆ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปซึ่งได้แก่ ชาวสวีเดน, ชาวเดนมาร์ก, ชาวนอร์เวย์, ชาวอังกฤษ, ชาวไอซ์แลนด์, ชาวแฟโร, ชาวเยอรมัน, ชาวออสเตรีย, ชาวดัตช์, ชาวฟรีเซียน, ชาวเฟลมิช, ชาวแอฟริกาเนอร์ และรวมภาษาสกอตด้วย ชนเจอร์แมนิกย้ายถิ่นฐานไปทั่วยุโรปในปลายยุคโบราณตอนปลายระหว่างปี..

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและกลุ่มชนเจอร์แมนิก · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาบอลติก

กลุ่มภาษาบอลติก เป็นสาขาหนึ่งกลุ่มภาษาบัลโต-สลาวิก กลุ่มย่อยของตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและกลุ่มภาษาบอลติก · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาฟินโน-ยูกริก

กลุ่มภาษาฟินโน-ยูกริก (Finno-Ugric languages) เป็นกลุ่มของภาษาที่อยู่ในตระกูลภาษายูราลิก ประกอบด้วยภาษาเอสโทเนีย ภาษาฟินน์ ภาษาฮังการีและภาษาที่เกี่ยวข้อง แบ่งเป็นกลุ่มย่อยคือกลุ่มภาษาฟินโน-เปอร์มิกและกลุ่มภาษายูกริก.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและกลุ่มภาษาฟินโน-ยูกริก · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาสลาวิก

ประเทศที่มกลุ่มภาษาสลาวิกใต้เป็นภาษาประจำชาติ กลุ่มภาษาสลาวิก เป็นสาขาหนึ่งของกลุ่มภาษาบัลโต-สลาวิก ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน กลุ่มภาษาสลาวิกเป็นภาษาแม่ของชาวสลาฟ ซึ่งส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในยุโรปตะวันออกและคาบสมุทรบอลข่าน แก้ไข กลุ่มภาษาสลาวิก.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและกลุ่มภาษาสลาวิก · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาอานาโตเลีย

การแผ่ขยายของจักรวรรดิฮิตไทต์ บริเวณที่เคยใช้ภาษาลูเวีย บริเวณล่าสุดที่เคยใช้กลุ่มภาษาอานาโตเลีย กลุ่มภาษาอานาโตเลีย (Anatolian languages)เป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนที่ตายแล้ว เคยใช้พูดในบริเวณเอเชียไมเนอร์ ภาษาที่เป็นที่รู้จักดีที่สุดคือ ภาษาฮิตไทต.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและกลุ่มภาษาอานาโตเลีย · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาอิหร่าน

การแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์ของผุ้พูดกลุ่มภาษาอิหร่าน กลุ่มภาษาอิหร่านเป็นสาขาย่อยของกลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านที่อยู่ในตระกูลภาษาอินโด-ยุโรเปียน ภาษาอเวสตะถือเป็นภาษาที่เก่าที่สุดของกลุ่มนี้ที่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร กลุ่มภาษานี้มีผู้พูดเป็นภาษาแม่ราว 150 - 200 ล้านคน ภาษาที่มีผู้พูดมากที่สุดคือภาษาเปอร์เซีย (ประมาณ 70 ล้านคน) ภาษาพาซตู (ประมาณ 40 ล้านคน) ภาษาเคิร์ด (35 ล้านคน) และภาษาบาโลชิ (ประมาณ 7 ล้านคน).

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและกลุ่มภาษาอิหร่าน · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาอินโด-อารยัน

ตที่มีผู้พูดกลุ่มภาษาอินโดอารยัน กลุ่มภาษาอินโด-อารยัน เป็นสาขาย่อยของกลุ่มภาษาอินโด-อิหร่าน ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน จากรายงานใน..

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและกลุ่มภาษาอินโด-อารยัน · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่าน

กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่าน หรืออินโด-อิราเนียนเป็นสาขาทางตะวันออกสุดของตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนประกอยด้วย 3 กลุ่มย่อย คือ กลุ่มภาษาอินโด-อารยัน กลุ่มภาษาอิราเนียน และกลุ่มภาษาดาร์ดิก มีการใช้คำว่า "อารยัน" ในการอ้างถีงกลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านจากทฤษฎีส่วนใหญ่เกี่ยวกับการอพยพของชาวอารยัน คนที่พูดภาษาโปรโต-อินโด-อิราเนียนที่เรียกตัวเองว่าอารยัน ตั้งหลักแหล่งอยู่ทางใต้และตะวันออกของทะเลสาบแคสเปียนในอินเดียเหนือ ปากีสถาน อิหร่าน และอัฟกานิสถาน คาดว่าการแพร่กระจายเกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์รถม้.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและกลุ่มภาษาอินโด-อิหร่าน · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาคอเคซัสตะวันตกเฉียงเหนือ

right กลุ่มภาษาคอเคซัสตะวันตกเฉียงเหนือ (Northwest Caucasian languages) หรือกลุ่มภาษาปอนดิก หรืออับคาซ-อะดืยเก เป็นกลุ่มของภาษาที่ใช้พูดในเทือกเขาคอเคซัสโดยเฉพาะในรัสเซีย จอร์เจีย และตุรกี และมีผู้พูดภาษาเหล่านี้กลุ่มเล็กๆในตะวันออกกลาง.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและกลุ่มภาษาคอเคซัสตะวันตกเฉียงเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาคอเคเซียน

กลุ่มภาษาคอเคเซียน (Caucasian languages)เป็นกลุ่มภาษาใหญ่ที่มีผู้พูดมากกว่า 10 ล้านคนในบริเวณเทือกเขาคอเคซัสของยุโรปตะวันออกและเอเชียตะวันตกซึ่งอยู่ระหว่างทะเลดำกับทะเลสาบแคสเปียน นักภาษาศาสตร์จัดแบ่งภาษาในบริเวณนี้ออกเป็นหลายตระกูล ภาษาบางกลุ่มไม่พบผู้พูดนอกบริเวณเทือกเขาคอเคซัสจึงเรียกว่ากลุ่มภาษาคอเคซั.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและกลุ่มภาษาคอเคเซียน · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาโรมานซ์

ภาษาโรมาเนีย กลุ่มภาษาโรมานซ์ เป็นสาขาหนึ่งของตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน และเป็นกลุ่มภาษาที่กลายพันธุ์มาจากภาษาละติน ประกอบด้วย ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอิตาลี ภาษาสเปน ภาษาโปรตุเกส ภาษาโรมาเนีย และ ภาษากาตาลา เป็นต้น มีผู้พูดภาษาในกลุ่มนี้ทั่วโลกมากกว่า 700 ล้านคน รโมานซ์ หมวดหมู่:กลุ่มภาษาโรมานซ์.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและกลุ่มภาษาโรมานซ์ · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาเจอร์แมนิก

้นแบ่งระหว่างกลุ่มเจอร์แมนิกตะวันตกและกลุ่มเจอร์แมนิกเหนือ กลุ่มภาษาเจอร์แมนิก เป็นสาขาหนึ่งของตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและกลุ่มภาษาเจอร์แมนิก · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาเจอร์แมนิกเหนือ

250px กลุ่มภาษาเจอร์แมนิกเหนือ หรือกลุ่มภาษาสแกนดิเนเวีย เป็นสาขาย่อยของกลุ่มภาษาเจอร์แมนิก ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน หมวดหมู่:ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาเคลต์

กลุ่มภาษาเคลต์เป็นลูกหลานของภาษาเคลต์ตั้งเดิมหรือภาษาเคลต์ทั่วไปซึ่งเป็นภาษาในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน คำว่าเคลต์เป็นคำที่ประดิษฐ์โดย Edward Lhuyd เมื่อ..

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและกลุ่มภาษาเคลต์ · ดูเพิ่มเติม »

การผันคำ

การผันคำ หรือ การลงวิภัตติปัจจัย คือการเปลี่ยนแปลงรูปคำในประโยค เพื่อแสดงเพศ พจน์ การก บุรุษ กาล วาจก มาลา ฯลฯ การเปลี่ยนแปลงรูปคำเช่นนี้ไม่พบในภาษาไทย แต่จะพบในภาษาในหลายๆตระกูล เช่น ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน เป็นต้น ภาษาที่อาศัยการผันคำเพื่อเปลี่ยนความหมายในระดับสูงเรียกว่า ภาษามีวิภัตติปัจจัย (Inflectional Language) ซึ่งตรงกันข้ามกับ ภาษาคำโดด (Isolating Language) ซึ่งมักจะเป็นภาษาที่คำแต่ละคำมีพยางค์เดียวและไม่มีการผันคำ สำหรับภาษาที่จำแนกตามลักษณะอื่นๆ ได้แก่ ภาษาคำติดต่อ (Agglutinative Language) และ ภาษาคำควบมากพยางค์ (Poly-synthetic Language).

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและการผันคำ · ดูเพิ่มเติม »

กิลกาเมช

รูปปั้นกิลกาเมช ที่มหาวิทยาลัยซิดนีย์ กิลกาเมช เป็นกษัตริย์ในตำนาน แห่งนครอุรุค ในอาณาจักรบาบิโลน หรือบาบีโลเนีย ซึ่งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยูเฟรติส ในประเทศอิรักปัจจุบัน เชื่อว่าเคยมีชีวิตอยู่เมื่อประมาณ 2,700 ปีก่อนคริสตกาล มีเรื่องเล่าและปกรณัมมากมายที่เขียนเกี่ยวกับกิลกาเมช บางเรื่องเขียนไว้ตั้งแต่เมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล โดยจารึกบนแผ่นดินเหนียวเป็นภาษาของพวกซูเมอร์ เรียกว่าภาษาซูเมเรียน ซึ่งยังหลงเหลือมาจนถึงปัจจุบัน ภาษาดังกล่าวนี้นักโบราณคดีเชื่อว่าไม่มีความสัมพันธ์ใดๆ กับภาษาอื่นๆ ที่เราเคยรู้จักเลย เรื่องกิลกาเมชของพวกซูเมอร์นั้น ถูกรวบรวมขึ้นเป็นบทกวีเรื่องยาว เรียกว่า มหากาพย์กิลกาเมช (Epic of Gilgamesh) หลงเหลืออยู่เป็นวรรณกรรมในหลายภาษา เช่น ของชาวอัคคาเดีย (ภาษาตระกูลเซมิติค ซึ่งมีความสัมพันธ์กับภาษาฮีบรู, เป็นภาษาที่พูดกันในอาณาจักรบาบิโลน) นอกจากนี้ยังมีปรากฏบนแผ่นจารึกดินเหนียว เป็นภาษาฮูร์เรียน และภาษาฮิตไตต์ (ภาษาหนึ่งในตระกูลอินโด-ยูโรเปียน ซึ่งพูดกันในเขตรอยต่อยุโรปและเอเชีย นับเป็นหนึ่งในบรรดาภาษาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก) ภาษาทั้งหมดที่พูดมานี้ จารด้วยอักษรลิ่ม หรือที่เราคุ้นเคยกันด้วยชื่อ คูเนฟอร์ม ตำนานฉบับเต็มเกี่ยวกับกิลกาเมชนั้น ได้มาจากศิลาจารึก 12 แท่ง จารเป็นภาษาอัคคาเดียน พบในซากปรักหักพังของหอพระสมุด พระเจ้าอะชูรบานิปัล แห่งอัสสิเรีย เมื่อราว 669-633 ปีก่อนคริสตกาล ที่เมืองนีนะเวห์(Nineveh) หอสมุดแห่งนี้ถูกพวกเปอร์เซียทำลายเมื่อ 612 ปีก่อนคริสตกาล และจารึกทั้งหมดก็พินาศไปด้วย จารึกนี้ระบุชื่อผู้แต่งไว้ด้วย ซึ่งนับเป็นเรื่องที่แปลกมาก เนื่องจากในสมัยโบราณ แทบจะไม่มีการจารึกชื่อผู้แต่งเรื่องใด ๆ (จารึกไทยในสมัยสุโขทัยหรืออยุธยาก็ไม่มีการจารึกชื่อผู้แต่งเช่นกัน) ผู้แต่งจารึกนี้คือ ชิเนฆิอุนนินนิ (Shin-eqi-unninni) อาจกล่าวได้ว่า บุคคลผู้นี้เป็นนักเขียนที่เก่าแก่ที่สุดในโลกวรรณกรรม ที่เราสามารถระบุชื่อได้ ตำนานของกิลกาเมชนั้นกล่าวโดยย่อ คงเทียบได้กับเรื่องของโนอาห์ ในคัมภีร์ไบเบิ้ลหรือนูห์ ในคัมภีร์อัลกุรอาน นั่นเอง นับเป็นตำนานน้ำท่วมโลกที่เก่าแก่ที่สุดเรื่องหนึ่งของโลก.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและกิลกาเมช · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาบัลแกเรีย

ษาบัลแกเรียเป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน โดยเป็นสมาชิกของแขนงใต้ของภาษากลุ่มสลาวิก.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและภาษาบัลแกเรีย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาบาลี

ษาบาลี (ปาลิ; पाऴि); (Pali) เป็นภาษาที่เก่าแก่ภาษาหนึ่ง ในตระกูลอินเดีย-ยุโรป (อินโด-ยูโรเปียน) ในสาขาย่อย อินเดีย-อิหร่าน (อินโด-อิเรเนียน) ซึ่งจัดเป็นภาษาปรากฤตภาษาหนึ่ง เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะเป็นภาษาที่ใช้บันทึกคัมภีร์ในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท (มี พระไตรปิฎก เป็นต้น) โดยมีลักษณะทางไวยากรณ์ และคำศัพท์ที่คล้ายคลึงกับภาษาสันสกฤต ไม่มีอักษรชนิดใดสำหรับใช้เขียนภาษาบาลีโดยเฉพาะ มีหลักฐานจารึกภาษาบาลีด้วยอักษรต่าง ๆ มากมายในตระกูลอักษรอินเดีย เช่น อักษรพราหมี อักษรเทวนาครี จนถึง อักษรล้านนา อักษรขอม อักษรไทย อักษรมอญ แม้กระทั่งอักษรโรมัน (โดยมีการเพิ่มเครื่องหมายเล็กน้อย) ก็สามารถใช้เขียนภาษาบาลีได้ อนึ่ง บางตำราสะกด “บาลี” ว่า “ปาฬิ” หรือ “ปาฬี” ก็มี.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและภาษาบาลี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาบาสก์

ก์ (Basque) เป็นภาษาที่พูดโดยชาวบาสก์ซึ่งอาศัยอยู่แถบเทือกเขาพีเรนีสในตอนกลางของภาคเหนือของประเทศสเปน รวมทั้งในบริเวณภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศฝรั่งเศสที่มีอาณาเขตติดต่อกัน หรือลึกลงไปกว่านั้นคือ ชาวบาสก์ได้ครอบครองแคว้นปกครองตนเองที่มีชื่อว่าแคว้นประเทศบาสก์ (Basque Country autonomous community) ซึ่งมีวัฒนธรรมและอิสระในการปกครองตนเองทางการเมือง นอกจากนี้ก็ยังมีชาวบาสก์ที่อยู่ในเขตนอร์เทิร์นบาสก์ในฝรั่งเศสและแคว้นปกครองตนเองนาวาร์ในสเปนอีกด้วย ชื่อเรียกภาษาบาสก์อย่างเป็นทางการ (ในภาษาตนเอง) คือ เออุสการา (euskara) ส่วนในรูปภาษาถิ่นอื่น ๆ ได้แก่ เออุสเกรา (euskera) เอสกูอารา (eskuara) และ อุสการา (üskara) แม้ว่าในทางภูมิศาสตร์จะถูกล้อมรอบด้วยภาษาในตระกูลอินโด-ยูโรเปียน แต่ภาษาบาสก์กลับจัดเป็นภาษาโดดเดี่ยว (language isolate) ไม่ใช่ภาษาในตระกูลดังกล่าว.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและภาษาบาสก์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฟิลิสไตน์

ษาฟิลิสไตน์ เป็นภาษาที่เคยใช้พูดในฟิลิสไตน์ ซึ่งอยู่ที่ ชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของคานาอัน สำเนียงหนึ่งของภาษานี้ มีอ้างถึงในไบเบิลว่า “Ashdodit” มาจากชื่อเมืองแอชดอด (Ashdod) ข้อมูลที่แสดงความเกี่ยวข้อง กับภาษาอื่นมีน้อย บางทฤษฎีกล่าวว่าภาษานี้ พัฒนามาจากสำเนียงหนึ่ง ในภาษาคานาอันไนต์ หรืออาจเกี่ยวข้องกับภาษากรีกสำเนียงไมซีเนีย ไม่มีข้อมูลเพียงพอสำหรับการเชื่อมโยงภาษาในฟิลิสไตน์กับภาษาอื่นๆ มีความสัมพันธ์ที่เป็นไปได้กับตระกูลภาษาอินโด-ยุโรเปียน โดยเฉพาะภาษากรีกสำเนียงไมซีเนีย ซึ่งสนับสนุนทฤษฎีที่ว่าผู้อพยพเข้ามาในฟิลิสไตน์เป็นกลุ่มชนที่อาศัยตามชายทะเลมาก่อน หลักฐานจากจารึกสั้นๆในยุคเหล็ก แสดงให้เห็นว่าในบริเวณนั้นเมื่ออยู่ในยุคเหล็ก ใช้ภาษาและอักษรที่เป็นสาขาหนึ่งของภาษาคานาอันไนต์ ต่อมาจึงถูกแทนที่ด้วยภาษาทางการค้าที่แพร่มาจากบริเวณอื่นๆ จนกระทั่งสิ้นสุดยุคเหล็กเมื่อ 257 - 157 ปีก่อนพุทธศักราช ภาษาเขียนที่เป็นภาษาแรกในฟิลิสไตน์คือสำเนียงของภาษาคานาอันไนต์ที่เขียนด้วยอักษรอราเมอิกตะวันตกหรือที่เรียกว่าอักษรฟิลิสไตน์ใหม่ จนราว..

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและภาษาฟิลิสไตน์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาพัชโต

ษาพัชโต (Pashto, Pashtoe, Pushto, Pukhto; پښتو, pax̌tō) หรือ ภาษาปุกโต หรือเรียกในเชิงประวัติศาสตร์ว่า ภาษาอัฟกัน (Afghani; افغاني, afğānī) และ ภาษาปาทาน (Pathani) เป็นภาษาแม่ของชาวปาทาน (Pashtun) ซึ่งอาศัยอยู่ในประเทศอัฟกานิสถานและแคว้นทางตะวันตกของประเทศปากีสถาน.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและภาษาพัชโต · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาพิซิเดีย

ภาษาพิซิเดีย เป็นภาษาตระกูลอินโด-ยูโรเปียน สาขาอนาโตเลียที่ตายแล้ว เคยใช้พูดในพิซิเดีย ซึ่งพบหลักฐานจากจารึกสั้นๆ ใกล้เคียงกับภาษาไลเซีย และภาษาซิเดติก มีอิทธิพลของภาษาฟริเจียปรากฏอยู่ด้วย พิซิเดีย.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและภาษาพิซิเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากรีก

ษากรีก ซึ่งคนที่พูดและเขียนภาษานี้เรียกว่า เฮลเลนิก หรือ เอลเลนิกา (Ελληνικά) เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เกิดในประเทศกรีซ และเคยเป็นภาษาพูดตามชายฝั่งของเอเชียไมเนอร์และทางใต้ของประเทศอิตาลีในยุคโบราณ มีการพูดภาษาถิ่นจำนวนหนึ่ง เช่น ไอโอนิก ดอริก และแอททิก การเรียนการสอนภาษากรีกในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายนัก ปัจจุบันมีเพียง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, รูปแบบไฟล.doc /สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม..

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและภาษากรีก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาญี่ปุ่น

ษาญี่ปุ่น (日本語) เป็นภาษาทางการของประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันมีผู้ใช้ทั่วโลกราว 130 ล้านคน นอกเหนือจากประเทศญี่ปุ่นแล้ว รัฐอังกาอูร์ สาธารณรัฐปาเลา ได้กำหนดให้ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาทางการภาษาหนึ่ง นอกจากนี้ภาษาญี่ปุ่นยังถูกใช้ในหมู่ชาวญี่ปุ่นที่ย้ายไปอยู่นอกประเทศ นักวิจัยญี่ปุ่น และนักธุรกิจต่างๆ คำภาษาญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลมาจากภาษาต่างประเทศเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะภาษาจีน ที่ได้นำมาเผยแพร่มาในประเทศญี่ปุ่นเมื่อกว่า 1,500 ปีที่แล้ว และตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา ก็ได้มีการยืมคำจากภาษาต่างประเทศที่ไม่ใช่ภาษาจีนมาใช้อีกเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เช่นคำที่มาจากภาษาดัตช์ ビール (bier แปลว่า เบียร์) และ コーヒー (koffie แปลว่า กาแฟ).

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและภาษาญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามราฐี

ษามราฐี (मराठी) เป็นภาษาหนึ่งในตระกูลอินเดีย-ยุโรป หรืออินโด-ยูโรเปียน (Indo-European) ที่พูดกันในประเทศอินเดีย และใช้เป็นประจำรัฐอย่างเป็นทางการของรัฐมหาราษฏระและรัฐใกล้เคียง โดยใช้อักษรที่เรียกว่า อักษรเทวนาครี นอกจากนี้ภาษามราฐียังเป็นหนึ่งใน 18 ภาษาประจำชาติอย่างเป็นทางการของอินเดียด้วย โดยมีผู้ใช้เกือบร้อยล้านคน เฉพาะในรัฐมหาราษฏระ มีผู้ใช้ภาษามราฐีราว 90 ล้านคน ทั้งยังนับเป็นภาษาหนึ่งที่มีประวัติยาวนาน จารึกภาษามราฐีที่เก่าที่สุด พบครั้งแรกในรัฐกรณาฏกะ เป็นจารึก ของอินเดีย สันนิษฐานจารึกไว้เมื่อประมาณ 1,300 ปีที่แล้ว.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและภาษามราฐี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษายูเครน

ภาษายูเครน (украї́нська мо́ва, ukrayins'ka mova) เป็นภาษากลุ่มสลาวิกตะวันออก เป็นภาษาทางการของยูเครน ระบบการเขียนใช้อักษรซีริลลิก และใช้คำร่วมกับภาษาของประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะภาษาเบลารุส ภาษาโปแลนด์, ภาษารัสเซีย และภาษาสโลวัก ซึ่งมีลักษณะคล้ายๆ กัน หมวดหมู่:ภาษาในประเทศยูเครน ยูเครน.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและภาษายูเครน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษารัสเซีย

ษารัสเซีย (русский язык) เป็นภาษากลุ่มสลาวิกที่ใช้เป็นภาษาพูดอย่างกว้างขวางที่สุด ภาษารัสเซียจัดอยู่ในกลุ่มอินโด-ยูโรเปียน ดังนั้นจึงมีความสัมพันธ์กับภาษาสันสกฤต ภาษากรีก และภาษาละติน รวมไปถึงภาษาในกลุ่มเจอร์แมนิก โรมานซ์ และเคลติก (หรือเซลติก) ยุคใหม่ ตัวอย่างของภาษาทั้งสามกลุ่มนี้ได้แก่ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาไอริชตามลำดับ ส่วนภาษาเขียนนั้นมีหลักฐานยืนยันปรากฏอยู่เริ่มจากคริสต์ศตวรรษที่ 10 ในปัจจุบัน ภาษารัสเซียเป็นภาษาที่มีการใช้นอกประเทศรัสเซียด้วย มีเอกสารทางวิทยาศาสตร์จำนวนหนึ่งตีพิมพ์เป็นภาษารัสเซีย รวมทั้งความรู้ในระดับมหาวิทยาลัยจำนวนหนึ่ง ภาษารัสเซียเป็นภาษาที่มีความสำคัญทางการเมืองในยุคที่สหภาพโซเวียตเรืองอำนาจและยังเป็นภาษาราชการภาษาหนึ่งของสหประชาชาต.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและภาษารัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาละติน

ษาละติน (Latin) เป็นภาษาโบราณในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน มีต้นกำเนิดในที่ราบลาติอุม (Latium) ซึ่งเป็นพื้นที่รอบๆกรุงโรม และได้ชื่อว่าเป็นภาษาทางการในการสื่อสารของจักรวรรดิโรมัน ต่อมาภาษาละตินได้ถูกกำหนดให้เป็นภาษาสื่อสารและในพิธีสวดของศาสนจักรโรมันคาทอลิก และยังเป็นภาษาที่ใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา และนักเทววิทยาของยุโรป ตั้งแต่ตลอดยุคกลางจนมาถึงยุคสมัยใหม่ ภาษาละตินจึงเป็นภาษาต้นฉบับของงานเขียนที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และทางวรรณกรรมเป็นจำนวนมาก ภาษาอังกฤษได้รับคำในภาษาละตินเข้ามาในภาษาตนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอิทธิพลของเจ้าปกครองชาวแองโกล-นอร์มัน ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้คำศัพท์ที่ใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ล้วนเป็นคำศัพท์ภาษาละตินหรือสร้างจากภาษาละติน ภาษาละตินเป็นภาษามีวิภัติปัจจัย (การผันคำ) มีการก 7 การก (case), มีเพศ 3 เพศ, และมีพจน์ 2 พจน์ ภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน พัฒนาสืบต่อมาจากภาษาละตินพื้นบ้าน ซึ่งจะเรียกกลุ่มภาษาเหล่านี้ว่า ภาษากลุ่มโรมานซ์ ภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ที่สำคัญได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมาเนีย ภาษาอิตาลี ภาษาโปรตุเกส และภาษาสเปน ภาษาส่วนใหญ่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนก็มีความสัมพันธ์บางอย่างกับภาษาละติน แม้ภาษาละตินในปัจจุบัน จะมีผู้ใช้น้อยมากจนถูกนับว่าเกือบเป็นภาษาสูญแล้ว แต่การศึกษาภาษาละตินในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยก็ยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้อักษรละติน (ที่พัฒนามาจากอักษรกรีก) ยังคงมีใช้ในหลายภาษา และเป็นอักษรที่ใช้มากที่สุดในโลก.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและภาษาละติน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาลัตเวีย

ภาษาลัตเวีย เป็นภาษาราชการของประเทศลัตเวีย อยู่ในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน หมวดหมู่:ภาษาในประเทศลัตเวีย.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและภาษาลัตเวีย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาลิทัวเนีย

ษาลิทัวเนีย (lietuvių kalba) เป็นภาษาทางการของประเทศลิทัวเนีย และเป็นภาษาทางการภาษาหนึ่งของสหภาพยุโรป.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและภาษาลิทัวเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาศาสตร์เปรียบเทียบ

ภาษาศาสตร์เปรียบเทียบ (comparative linguistics) หรือ นิรุกติศาสตร์เปรียบเทียบ (comparative philology) เป็นสาขาหนึ่งของภาษาศาสตร์เชิงประวัติ มุ่งที่จะศึกษาความเกี่ยวเนื่องของภาษาโบราณ เช่น ภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน อันมีภาษาต่าง ๆ ได้แก่ กรีก ละติน สันสกฤต อเวสตะ บาลี ฮิตไทต์ เปอร์เซียโบราณ ฯลฯ เนื้อหาสาระจะศึกษาประวัติศาสตร์และวิวัฒนาการของภาษาตระกูลอินโดยุโรปที่ไปแตกกิ่งแขนงในรูปภาษาต่าง ๆ ดังกล่าว แต่ภาษาเหล่านี้ยังมีระบบเสียง (phonology) ระบบหน่วยคำ (morphology) และระบบวากยสัมพันธ์ (syntax) ที่ละม้ายกันมาก ความละม้ายกันนี้ มีผู้ตั้งทฤษฎีต่าง ๆ ขึ้นมามากมาย ซึ่งแต่ละทฤษฎีล้วนแต่ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่มีต่อกันอย่างแนบแน่น ทำให้ความเชื่อที่ว่าภาษาต่าง ๆ เหล่านี้มาจากต้นตอเดียวกันแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ในประเทศไทย ผู้บุกเบิกงานนิรุกติศาสตร์เปรียบเทียบ และผลิตงานวิชาการทางนี้ออกมาบ้าง ได้แก่ เสฐียรโกเศศ (พระยาอนุมานราชธน) และกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ปัจจุบันมีการศึกษาด้านนี้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะภาษาในตระกูลไท มอญ-เขมร ส่วย กูย เป็นต้น หมวดหมู่:ภาษาศาสตร์.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและภาษาศาสตร์เปรียบเทียบ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสวีเดน

แผนที่แสดงบริเวณที่มีผู้พูดภาษาสวีเดน ภาษาสวีเดน (svenska) เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกเหนือ (หรือภาษาสแกนดิเนเวีย) ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของกลุ่มภาษาเจอร์แมนิก สาขาของภาษาตระกูลอินโด-ยูโรเปียน ภาษาสวีเดนเป็นภาษาราชการภาษาเดียวของสวีเดน เป็นภาษาราชการหนึ่งในสองภาษาของฟินแลนด์ (อีกภาษาหนึ่งคือภาษาฟินแลนด์) และเป็นภาษาราชการภาษาเดียวของหมู่เกาะโอลันด์ ซึ่งเป็นเขตการปกครองตนเองของฟินแลนด์ ภาษาสวีเดนสามารถใช้แทนกันกับภาษาสแกนดิเนเวียอีก 2 ภาษาคือ ภาษาเดนมาร์ก และภาษานอร์เวย์ ภาษาสวีเดนมาตรฐาน เป็นภาษาประจำชาติที่วิวัฒนาการมาจากภาษาย่อยของสวีเดนกลางในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และมีความมั่นคงในช่วงตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ในขณะที่ภาษาย่อยตามภูมิภาคที่สืบมาจากภาษาพื้นเมืองในชนบทยังคงมีอยู่ ภาษาพูดและ ภาษาเขียน มีมาตรฐาน และมีอัตราความสามารถในการอ่านและเขียน 99% ในกลุ่มผู้ใหญ่ ภาษาพื้นเมืองบางภาษาต่างจากภาษามาตรฐานทั้งเรื่องไวยากรณ์และคำศัพท์ และไม่สามารถเข้าใจกับภาษาสวีเดนมาตรฐานได้เสมอไป ภาษาพื้นเมืองเหล่านี้จะจำกัดเฉพาะพื้นที่ชนบทและส่วนใหญ่คนพูดเป็นคนกลุ่มน้อยที่มีความเคลื่อนไหวทางสังคมต่ำ ถึงแม้ว่าจะไม่สูญพันธุ์ในเร็ว ๆ นี้ ภาษาพื้นเมืองเหล่านี้ได้ถดถอยในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าจะมีการวิจัยเป้นอย่างดี และเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นส่งเสริมการใช้ ภาษาสวีเดนมีลักษณะเด่นในเรื่องฉันทลักษณ์ ซึ่งจะแตกต่างกันตามชนิดต่าง ๆ มีทั้งเสียงเน้นที่ต่างกันตามแต่ละคำ และ เสียงวรรณยุกต์ ภาษาสวีเดนมีเสียงสระค่อนข้างมาก โดยที่มีเสียงสระถึง 9 เสียงที่ต่างกันด้วยความยาว และลักษณะเสียง ทำให้มีหน่วยเสียงสระ (vowel phoneme) ถึง 17 หน่วย นอกจากนี้ ภาษาสวีเดนยังมีเสียง voiceless dorso-palatal velar fricative ซึ่งสามารถพบได้ในภาษาพื้นเมืองหลายภาษา รวมถึงภาษามาตรฐานชั้นสูง และไม่ปรากฏในภาษาอื่น.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและภาษาสวีเดน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสันสกฤต

ษาสันสกฤต เป็นภาษาที่รับอิทธิพลมาจากอินเดียและส่งผลมาถึงอาณาจักรในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (संस्कृता वाक्, สํสฺกฺฤตา วากฺ; Sanskrit) เป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน (หรืออินเดีย-ยุโรป) สาขาย่อยอินโด-อิเรเนียน (อินเดีย-อิหร่าน) และอยู่ในกลุ่มย่อยอินโด-อารยัน (อินเดีย-อารยะ) โดยมีระดับวิวัฒนาการในระดับใกล้เคียงกับภาษาละตินและภาษากรีก เป็นต้น โดยทั่วไปถือว่าเป็นภาษาที่ตายแล้ว ทว่ายังมีผู้ใช้ภาษาสันสกฤตอยู่บ้างในแวดวงที่จำกัดในประเทศอินเดีย เช่น หมู่บ้านมัททูร์ ในรัฐกรณาฏกะ โดยมีการคิดคำศัพท์ใหม่ๆ ขึ้นมาด้วย ในศาสนาฮินดูเชื่อว่า ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาสื่อที่เทพเจ้าใช้สื่อสารกับมวลมนุษย์ เพื่อถ่ายทอดความรู้แจ้งและปัญญาญาณแก่เหล่าฤๅษีทั้งหลายแต่ครั้งดึกดำบรร.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและภาษาสันสกฤต · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสิงหล

ษาสิงหล (සිංහල) เป็นภาษาของชาวสิงหล ซึ่งเป็นกลุ่มชนพื้นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศศรีลังกา เป็นภาษาในสาขาอินโด-อารยันของตระกูลอินโด-ยูโรเปียน มีสัมพันธ์ใกล้ชิดกับภาษามัลดีฟส์ของประเทศมัลดีฟส์ มีคนพูดเป็นภาษาแม่ประมาณ 15 ล้านคน เจ้าชายวิชายาและพรรคพวกนำชาวสิงหลอพยพเข้าสู่เกาะลังกาเมื่อราว 500 ปีก่อนพุทธศักราช วรรณคดีจำนวนมากในศรีลังกาได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนา และวรรณคดีอินเดีย การติดต่อกับชาวทมิฬทำให้มีศัพท์ภาษาทมิฬปนอยู่ นอกจากนี้ยังมีคำยืมจากภาษาดัตช์ ภาษาโปรตุเกส และภาษาอังกฤษ เป็นจำนวนมากเพราะเคยถูกปกครองโดยชาติเหล่านี้ เขียนด้วยอักษรสิงหลที่พัฒนามาจากอักษรพราหมี รัฐบาลศรีลังกาประกาศให้ภาษาสิงหลเป็นภาษาราชการเมื่อปี พ.ศ. 2499 และบังคับให้โรงเรียนทุกโรงเรียนสอนหนังสือด้วยภาษาสิงหล ทำให้ชาวทมิฬ ไม่พอใ.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและภาษาสิงหล · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสโลวัก

ภาษาสโลวัก (slovenčina, slovenský jazyk) เป็นภาษากลุ่มภาษาสลาวิกตะวันตก (กลุ่มเดียวกับภาษาเช็ก ภาษาโปแลนด์ และภาษาซอร์เบีย) ในตระกูลภาษาอินโด-ยุโรเปียน ภาษาสโลวักมีความใกล้ชิดกับภาษาเช็กเป็นพิเศษ นอกจากนี้ ภาษาสโลวักและภาษาสโลวีเนียเป็นภาษาสลาฟสมัยใหม่สองภาษาเท่านั้นที่ชื่อท้องถิ่นของตนเองมีความหมายตรงตามตัวอักษรว่า "สลาวิก (Slavic) " (ชาวสโลวาเกีย: slovenčina และชาวสโลวีเนีย: slovenščina) (ส่วน slověnskii เป็นภาษาสลาโวนิกเก่า) ภาษาสโลวักพูดในประเทศสโลวาเกีย (ประมาณ 5 ล้านคน) สหรัฐอเมริกา (500,000 คน เป็นผู้อพยพ) ประเทศเช็กเกีย (320,000 คน เนื่องมาจากอดีตเชโกสโลวาเกีย) ประเทศฮังการี (20,000 คน เป็นชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์โบราณ) ประเทศเซอร์เบีย-วอยวอดีนาภาคเหนือ (60,000 คน ผู้สืบเชื้อสายจากผู้ตั้งถิ่นฐานรุ่นแรก ๆ ในช่วงที่อยู่ภานใต้การปกครองของราชวงศ์ฮับส์บูร์ก) ประเทศโรมาเนีย (22,000 คน เป็นชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์เก่าแก่) ประเทศโปแลนด์ (20,000 คน) ประเทศแคนาดา (20,000 คน เป็นผู้อพยพ) ประเทศออสเตรเลีย (เป็นผู้อพยพ) ประเทศออสเตรีย ประเทศยูเครน ประเทศบัลแกเรีย ประเทศโครเอเชีย (5,000 คน) และประเทศอื่น ๆ บางประเทศ สโลวัก หมวดหมู่:ภาษาในประเทศสโลวาเกีย หมวดหมู่:ภาษาในประเทศสหรัฐอเมริกา หมวดหมู่:ภาษาในประเทศแคนาดา หมวดหมู่:ภาษาในสาธารณรัฐเช็ก หมวดหมู่:ภาษาในประเทศเซอร์เบีย หมวดหมู่:ภาษาในประเทศโรมาเนีย หมวดหมู่:ภาษาในประเทศฮังการี.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและภาษาสโลวัก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสเปน

ษาสเปน (Spanish; สเปน: español) หรือ ภาษาคาสตีล (Castilian; สเปน: castellano) เป็นภาษาในกลุ่มภาษาไอบีเรียนโรมานซ์ หนึ่งในภาษาทางการ 6 ภาษาขององค์การสหประชาชาติ และภาษาที่มีผู้พูดเป็นภาษาแม่มากที่สุดในโลกรองจากภาษาจีนกลาง รวมทั้งยังเป็นภาษาราชการขององค์การระหว่างประเทศทางเศรษฐกิจและการเมืองที่สำคัญอีกหลายองค์การอีกด้วย เช่น สหภาพยุโรป สหภาพแอฟริกา องค์การรัฐอเมริกา องค์การรัฐไอบีเรียอเมริกา ข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ และสหภาพชาติอเมริกาใต้ เป็นต้น มีผู้พูดภาษาสเปนเป็นภาษาที่หนึ่งและภาษาที่สองเป็นจำนวนระหว่าง 450-500 ล้านคนEl País.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและภาษาสเปน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสเปนเก่า

ษาสเปนเก่า (Old Spanish), ภาษากัสตียาเก่า (castellano antiguo) หรือ ภาษาสเปนยุคกลาง (español medieval) เป็นภาษาสเปนรูปแบบแรกเริ่ม ใช้สื่อสารกันในคาบสมุทรไอบีเรียยุคกลางตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 10 จนถึงช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 ก่อนที่การเปลี่ยนแปลงในระบบเสียงพยัญชนะจะก่อให้เกิดวิวัฒนาการมาเป็นภาษาสเปนยุคใหม่ วรรณคดีภาษาสเปนเก่าที่มีชื่อเสียงและมีเนื้อหามากที่สุดคือ เพลงขับวีรกรรมเรื่อง กันตาร์เดมิโอซิด (Cantar de Mio Cid, "บทเพลงแห่งซิดของข้า") ซึ่งแต่งขึ้นในราวปี ค.ศ. 1200.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและภาษาสเปนเก่า · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษสมัยกลาง

ษาอังกฤษสมัยกลาง (Middle English) เป็นชื่อที่นักภาษาศาสตร์ใช้เรียกภาษาอังกฤษในหลากหลายรูปแบบ ซึ่งใช้พูดสื่อสารตั้งแต่สมัยชาวนอร์มันพิชิตอังกฤษ ใน..

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและภาษาอังกฤษสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอาร์มีเนีย

ภาษาอาร์มีเนีย (Armenian language) เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน ที่พูดในเทือกเขาคอเคซัส (โดยเฉพาะในประเทศอาร์มีเนีย) และใช้โดยชุมชนชาวอาร์มีเนียในต่างประเทศ เป็นแขนงย่อยของตัวเองในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน โดยที่ไม่มีภาษาที่ใกล้เคียงที่ยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน ในปัจจุบัน มีหลายคนเชื่อว่าภาษาอาร์มีเนียเป็นภาษาที่สัมพันธ์ใกล้เคียงกับภาษาฟรีเจียน (Phrygian) ที่สูญพันธุ์ จากภาษาที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน ภาษากรีกน่าจะมีความสัมพันธ์ที่ใกล้เคียงทีสุดกับภาษาอาร์มีเนีย ภาษาอาร์มีเนียมีคำยืมจากภาษาเปอร์เซีย ซึ่งเป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนด้วย อาร์มเนเอีย หมวดหมู่:ประเทศอาร์มีเนีย.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและภาษาอาร์มีเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอาหม

ษาอาหม (Ahom language) เป็นหนึ่งในกลุ่มภาษาย่อยไทพายัพ ซึ่งเป็นภาษาในกลุ่มกัม-ไท, เบ-ไท, ไท-แสก อยู่ในตระกูลภาษาไท-กะได ภาษาอาหมนั้นมีอักษร และถ้อยคำของตนใช้สื่อสารทั้งพูดและเขียนมาอย่างต่อเนื่อง แต่ชาวอาหมในปัจจุบันนั้นหันไปใช้ภาษาอัสสัมซึ่งอยู่ในตระกูลภาษาอินโด-ยุโรเปียนแล้ว อย่างไรก็ตาม ถ้อยคำที่บันทึกจารึกไว้ในคัมภีร์ในบทสวดในพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ก็แสดงให้เห็นว่านักบวชชาวไทอาหมยังใช้ภาษาไทได้อย่างสมบูรณ.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและภาษาอาหม · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอูรดู

ษาอูรดู (اردو) เป็นภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-อารยัน ซึ่งพัฒนามาจากหลายภาษารวมกันคือ ภาษาเปอร์เซีย ตุรกี อาหรับ ฮินดี และ สันสกฤต นิยมใช้กันมากในช่วงสมัยรัฐสุลต่านเดลฮี และจักรวรรดิโมกุล (ค.ศ.๑๒๐๐ - ๑๘๐๐) ภาษาอูรดู อยู่ในอันดับที่ ๒๐ ของภาษาที่มีคนใช้เป็นภาษาแม่ และเป็นภาษาราชการของประเทศปากีสถาน นอกจากนี้ยังเป็นภาษาหนึ่งในภาษาราชการ ๒๓ ภาษา ของประเทศอินเดี.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและภาษาอูรดู · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอเวสตะ

ษาอเวสตะ (Avestan language) เป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดของชาวอิหร่านโบราณ มีอายุไล่เลี่ยกับ ภาษาพระเวท หรือ ภาษาไวทิกะ ซึ่งเป็นภาษาบันทึกคัมภีร์พระเวทของฝ่ายอินเดีย ภาษาอเวสตะเป็นภาษาที่บันทึกความเชื่อทางศาสนาของคนอิหร่านโบราณที่เก่าแก่ที่สุดของชาตินี้ ใช้ในบทสวดมนต์ของศาสนาโซโรอัสเตอร์ ภาษาอเวสตะจัดอยู่ในตระกูลภาษาอินเดีย-ยุโรป สาขาย่อยอินเดีย-อิหร่าน (อินโด-อิเรเนียน)เป็นภาษากลุ่มอิหร่านที่เก่าสุดเท่าที่มีหลักฐาน เช่นเดียวกับภาษาเปอร์เซียโบราณ เขียนด้วยอักษรอเวสตะ ภาษานี้แบ่งได้เป็นสองกลุ่มคือ.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและภาษาอเวสตะ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฮิตไทต์

ษาฮิตไทต์ (Hittite language) จัดเป็นภาษาที่สำคัญที่สุดภาษาหนึ่งในบรรดาภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนหรืออินเดีย-ยุโรป ในอานาโตเลีย อยู่ในกลุ่มย่อยภาษาอินโด-ฮิตไทต์ จัดเป็นภาษาที่ตายแล้ว มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับภาษาลูเวีย ภาษาลิเดีย ภาษาไลเซีย และภาษาปาลา เคยใช้พูดโดยชาวฮิตไทต์ กลุ่มชนที่สร้างจักรวรรดิฮิตไทต์มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองฮัตตูซาสในอานาโตเลียภาคกลางตอนเหนือ (ตุรกีปัจจุบัน) ภาษานี้ใช้พูดในช่วง 1,057 – 557 ปีก่อนพุทธศักราช มีหลักฐานแสดงว่าภาษาฮิตไทต์และภาษาที่เกี่ยวข้องได้ใช้พูดต่อมาอีก 200 -300 ปีหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิฮิตไทต์ ภาษาฮิตไทต์จัดเป็นภาษาตระกูลอินโด-ยุโรเปียนรุ่นแรกๆ นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่จัดให้เป็นภาษาที่สืบทอดมาจากภาษาอินโด-ยุโรเปียนดั้งเดิมและเป็นพี่น้องกับภาษาตระกูลอินโด-ยุโรเปียนในสมัยโบราณ.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและภาษาฮิตไทต์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฮินดี

ษาฮินดีเป็นภาษาที่พูด ส่วนใหญ่ในประเทศอินเดียเหนือและกลาง เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน อยู่ในกลุ่มย่อย อินโด-อิหร่าน มีวิวัฒนาการมาจากภาษาปรากฤต ในสาขาอินโด-อารยันกลาง ของยุคกลาง และมีวิวัฒนาการทางอ้อมจากภาษาสันสกฤต ภาษาฮินดีได้นำคำศัพท์ชั้นสูงส่วนใหญ่มาจากภาษาสันสกฤต นอกจากนี้ เนื่องจากอิทธิพลของชาวมุสลิมในอินเดียเหนือ ภาษาฮินดียังมีคำที่ยืมมาจากภาษาเปอร์เซีย ภาษาอาหรับ และ ภาษาตุรกี เป็นจำนวนมาก และในที่สุดได้ก่อให้เกิดภาษาอูรดูขึ้น สำหรับภาษา"ฮินดีมาตรฐาน" หรือ "ฮินดีแท้" นั้น มีใช้เฉพะการสื่อสารที่เป็นทางการ ขณะที่ภาษาซึ่งใช้ในชีวิตประจำวันในพื้นที่ส่วนใหญ่นั้น ถือว่าเป็นหนึ่งในภาษาถิ่นย่อย ของภาษาฮินดูสตานี ในแง่ความสัมพันธ์ทางภาษาศาสตร์นั้น ภาษาฮินดีและภาษาอูรดู ถือว่าเป็นภาษาเดียวกัน แตกต่างตรงที่ ภาษาฮินดีนั้นเขียนด้วยอักษรเทวนาครี (Devanāgarī) ขณะที่ภาษาอูรดูนั้น เขียนด้วยอักษรเปอร์เซียและอาหรั.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและภาษาฮินดี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาทอกพิซิน

ภาษาทอกพิซิน (Tok Pisin; tok แปลว่า "คำ" หรือ "ภาษา", pisin แปลว่า "ธุรกิจ" หรือ "ภาษาผสมแก้ขัด") เป็นภาษาจำพวกครีโอลที่พูดในประเทศปาปัวนิวกินี เป็นหนึ่งในภาษาทางการของปาปัวนิวกินี และเป็นภาษาที่ใช้มากที่สุดในประเทศ มีคนพูดเป็นภาษาที่ 2 ประมาณ 2 ล้านคน ทอกพิซินเรียกเป็นชื่ออื่นว่า "ภาษาอังกฤษพิดจินเมลานีเซีย" (Melanesian Pidgin English) หรือ "ภาษานีโอ-เมลานีเซีย" (Neo-Melanesian) มีการใช้ภาษาทอกพิซินอยู่บ้างในสื่อมวลชนและรัฐบาล อย่างไรก็ดี ภาษาอังกฤษยังคงเป็นที่ใช้มากกว่าในบริบทเหล่านี้ ในโรงเรียนบางแห่ง ภาษาทอกพิซินเป็นภาษาที่ใช้สอนใน 3 ปีแรกของการเรียนชั้นต้น คำศัพท์ของภาษานี้ 5 ใน 6 มาจากตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน และ 1 ใน 6 มาจากตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน และมีไวยากรณ์ที่มีพื้นฐานจากไวยากรณ์ภาษาแก้ขัดอย่างง่าย โดยที่มีความไม่สม่ำเสมอต่าง ๆ ทอกพิซิน ทอกพิซิน.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและภาษาทอกพิซิน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาทาจิก

ษาทาจิก (Tajik Persian หรือ Tajik language หรือ Tajiki;Tadjik หรือ Tadzhik;,อักษรอาหรับเปอร์เซีย تاجیکی‎, tojikī โทจิกิ),тоҷикӣ) เป็นรูปแบบสมัยใหม่แบบหนึ่งของภาษาเปอร์เซีย ที่พูดในเอเชียกลาง เป็นภาษาตระกูลอินโด-ยูโรเปียน ใน กลุ่มภาษาอิเรเนียน คนที่พูดภาษาทาจิกส่วนใหญ่อาศัยในประเทศทาจิกิสถาน ประเทศอุซเบกิสถาน ประเทศอัฟกานิสถาน และตะวันตกของปากีสถาน แต่ผู้พูดภาษาทาจิกประมาณ 30,000 คน ใกล้ชายแดนประเทศทาจิกิสถานในประเทศจีน) เป็นภาษาราชการของประเทศทาจิกิสถาน ภาษาทาจิก ที่เป็นภาษาราชการของทาจิกิสถาน ต่างจากภาษาเปอร์เซียที่ใช้พูดในอิหร่านและอัฟกานิสถาน ซึ่งเป็นผลมาจากการแบ่งแยกดินแดนทางการเมือง การแบ่งแยกทางภูมิศาสตร์และการจัดมาตรฐานทางภาษา รวมทั้งอิทธิพลของภาษารัสเซียและภาษากลุ่มเตอร์กิกที่อยู่รอบๆ มาตรฐานของภาษานี้ยึดตามสำเนียงตะวันตกเฉียงเหนือของทาจิกิสถานซึ่งเป็นเมืองเก่าของซามาร์คันฑ์ และได้รับอิทธิพลจากภาษาอุซเบกด้วย ภาษาทาจิกมีหน่วยคำในคำศัพท์ การออกเสียงและไวยากรณ์ซึ่งไม่มีในภาษาเปอร์เซียที่พูดในที่อื่น ซึ่งน่าจะเป็นมาจากการที่ถูกแบ่งแยกโดยภูมิศาสตร์เขตเทือกเขาของเอเชียกลาง.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและภาษาทาจิก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาของชาวยิว

งานเขียนอายุราวพุทธศตวรรษที่ 21 ของ Elia Levita แสดงจากซ้ายไปขวา ภาษายิดดิช - ภาษาฮีบรู - ภาษาละติน - ภาษาเยอรมัน ภาษาของชาวยิว (Jewish languages) เป็นกลุ่มของภาษาและสำเนียงที่พัฒนาในชุมชนชาวยิวทั่วโลกทั้งในยุโรป เอเชียและแอฟริกาเหนือ พัฒนาการของภาษาเหล่านี้เกิดขึ้นโดยการเพิ่มศัพท์ภาษาฮีบรูเพื่อใช้อธิบายแนวคิดเฉพาะของชาวยิวเข้าสู่ภาษาท้องถิ่น ส่วนใหญ่เขียนด้วยอักษรฮีบรู การอยู่เป็นกลุ่มก้อนอย่างเป็นเอกเทศของชาวยิว ทำให้ภาษาเหล่านี้รักษาคำศัพท์และลักษณะดั้งเดิมของภาษาที่เป็นภาษาต้นกำเนิดได้ภาษาของชาวยิวที่มีผู้พูดมากที่สุดคือภาษายิดดิช ซึ่งเคยมีผู้พูดมากที่สุดในอดีต ภาษาลาดิโนที่เป็นภาษาของชาวยิวเซฟาร์ดีมากว่า 5 ศตวรรษและภาษาอาหรับของชาวยิวที่ใช้พูดในบริเวณที่มีผู้พูดภาษาอาหรับมากว่าพันปี ภาษาฮีบรูเป็นภาษาทางศาสนาของศาสนายูดาย และเคยใช้เป็นภาษาพูดมาก่อน จนราว..

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและภาษาของชาวยิว · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาคีร์กีซ

ษาคีร์กีซ (Kyrgyz Language; Кыргыз тили, Kyrgyz tili; قىرعىز تىلى) เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิกตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นภาษาราชการของประเทศคีร์กีซสถานคู่กับภาษารัสเซีย มีผู้พูด 7 ล้านคน ในคีร์กีซสถาน จีน อัฟกานิสถาน คาซัคสถาน ทาจิกิสถาน ตุรกี อุซเบกิสถาน ปากีสถานและรัสเซีย เขียนด้วยอักษรซีริลลิกดัดแปลงในคีร์กีซสถาน และอักษรอาหรับดัดแปลงในจีน เคยเขียนด้วยอักษรละตินในช่วง..

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและภาษาคีร์กีซ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาปรากฤต

ษาปรากฤต (Prakrit) เป็นภาษาโบราณกลุ่มหนึ่งในอินเดียสมัยโบราณ จัดอยู่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน (อินเดีย-ยุโรป)ในสาขาย่อย ภาษากลุ่มอินโด-อิเรเนียน (อินเดีย-อิหร่าน) โดยมากจะจัดเป็นภาษาที่มีวิวัฒนาการในกึ่งกลาง ระหว่างภาษาโบราณกับภาษาสมัยใหม่ ที่เรียก ภาษาปรากฤตนี้ ไม่ได้หมายจำเพาะไปที่ตัวภาษาหนึ่งภาษาใด แต่เป็นการเรียกภาษากลุ่มหนึ่งในระดับภาษาถิ่น และเป็นการยากที่จะระบุให้ชัดว่าภาษาปรากฤตคืออย่างไร และนักวิชาการด้านภาษาอินเดียก็ยังมีความเห็นไม่ลงรอยกัน บ้างก็ว่าหมายถึงภาษาถิ่นอินเดียยุคใหม่ รวมทั้งในยุคกลาง หรือกล่าวโดยย่อก็คือ ภาษาอื่นนอกเหนือจากภาษาสันสกฤตและภาษาพระเวท บ้างก็ว่าหมายถึงภาษาอินเดียยุคใหม่ ที่วิวัฒนาการมาจากภาษาปรากฤตยุคกลาง นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอว่า ภาษาปรากฤตคือภาษาถิ่นของภาษาสันสกฤต และยังมีความเห็นว่า ภาษาบาลี ก็อาจจัดอยู่ในกลุ่มภาษาปรากฤตก็ได้ หลักฐานภาษาปรากฤตที่เก่าแก่ที่สุด คือจารึกอโศก บนเสาอโศก ที่พระเจ้าอโศกมหาราชรับสั่งให้สร้างขึ้น โดยใช้อักษรพราหมี ทว่าไม่ปรากฏว่ามีการใช้ภาษาปรากฤตในงานวรรณกรรมอย่างกว้างขวาง แต่กลับมีการใช้ในรูปของภาษาพูด ดังจะพบได้จากบทละครภาษาสันสกฤต ที่ให้ตัวละครในวรรณะสูงพูดภาษาสันสกฤต ขณะที่วรรณะต่ำจะพูดภาษาปรากฤต หรือภาษาอปรภรัมศะ คำว่า ปรากฤต ในภาษาสันสกฤต นั้น หมายถึง ธรรมชาติ ปกติ ดั้งเดิม หรือท้องถิ่น ฯลฯ นักภาษาศาสตร์จึงสันนิษฐานว่า ภาษาปรากฤต น่าจะหมายถึงภาษาที่มีวิวัฒนาการโดยธรรมชาติตามกระบวนการทางภาษา ซึ่งตรงข้ามกับภาษา สันสกฤต ที่หมายถึง ขัดเกลาแล้ว อันเป็นภาษาที่ได้รับการวางระเบียบกฎเกณฑ์โดยนักปราชญ์ ในแง่ของไวยากรณ์แล้ว ภาษาปรากฤตมีความซับซ้อนน้อยกว่าภาษาสันสกฤตอย่างมาก ไม่มีทวิพจน์ มีการกน้อยกว่า และมีการแจกกริยาที่ง่ายกว่า และคำศัพท์ทั้งหมดในภาษาปรากฤตก็มาจากต้นกำเนิดในภาษาอินเดียโบราณ ภาษาอรรธมคธีเป็นรูปแบบโบราณของภาษามคธี ซึ่งใช้ในการเขียนเอกสารทางศาสนาเชน และมักเป็นตัวแทนของภาษาปรากฤต นักไวยากรณ์ของภาษาปรากฤตจะแสดงไวยากรณ์ของภาษาอรรธมคธีก่อน เพราะฉะนั้นในการเรียนภาษาปรากฤต มักจะเริ่มด้วยภาษาอรรธมคธี.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและภาษาปรากฤต · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาปัญจาบ

ษาปัญจาบ หรือ ปัญจาบี หรือ ปัญชาพี (อักษรคุรมุขี: ਪੰਜਾਬੀ Paṁjābī,อักษรชาห์มุขี: پنجابی Panjābī) เป็นภาษาของชาวปัญจาบ และภูมิภาคปัญจาบของประเทศอินเดีย และประเทศปากีสถาน ภาษาปัญจาบเป็นภาษากลุ่มอินโด-ยุโรเปียน ในกลุ่มย่อยอินโด-อิเรเนียน เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยุโรเปียนภาษาเดียวที่เป็นภาษาวรรณยุกต์ ซึ่งวรรณยุกต์เกิดจากการออกเสียงพยัญชนะชุดต่าง ๆ ด้วยเสียงสูงต่ำที่ต่างกัน ในเรื่องของความซับซ้อนของรูปศัพท์ เป็นภาษาที่ใช้คำประกอบ (agglutinative language) และมักจะเรียงคำตามลำดับ 'ประธาน กรรม กิริยา' ชาวปัญจาบได้ถูกแบ่งระหว่างอินเดียและปากีสถานระหว่างการแบ่งอินเดียเมื่อพ.ศ. 2490 อย่างไรก็ดี ภาษาและวัฒนธรรมปัญจาบมักเป็นปัจจัยที่ทำให้ชาวปัญจาบอยู่รวมกันไม่ว่าจะสัญชาติหรือศาสนาใด มีชาวปัญจาบอพยพจำนวนมากในหลายประเทศเช่น สหรัฐ ออสเตรเลีย อังกฤษ แคนาดา ภาษาปัญจาบเป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์ของชาวสิกข์ที่ใช้เขียนวรรณกรรมทางศาสนา เป็นภาษาที่ใช้ในดนตรีภันคระที่แพร่หลายในเอเชียใต้.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและภาษาปัญจาบ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาแอลเบเนีย

ษาแอลเบเนีย (Shqip; Albanian language) เป็นภาษาที่พูดโดยมากกว่า 6 ล้านคน ส่วนใหญ่ในประเทศแอลเบเนีย รวมถึงประเทศอื่น ๆ ใน ภูมิภาคบอลข่านด้วย โดยพวกผู้อพยพในประเทศอิตาลีและประเทศตุรกี เป็นสาขาของตัวเองในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและภาษาแอลเบเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาในประเทศไทย

ษาในประเทศไทย มีผู้พูดหลายภาษาด้วยกัน โดยมีภาษาหลักคือภาษาไทยมาตรฐาน นอกจากนั้นยังมีภาษาถิ่นย่อย และภาษาอื่น ๆ อีกหลายตระกูลภาษา โดยรวม มีผู้ใช้ภาษาราว 74 ภาษาในประเทศไทย สำหรับภาษาตระกูลไทนั้น ยังมีภาษาถิ่นย่อยหลัก ได้แก่ ภาษาไทยภาคกลาง ภาษาไทยถิ่นใต้ ภาษาไทยโคราช ไทยอีสาน และภาษาไทยภาคเหนือ หรือภาษาไทยล้านนา (คำเมือง) ขณะเดียวกันก็มีภาษาจีนอีกหลายถิ่นย่อย เช่น จีนแต้จิ๋ว จีนกลาง จีนแคะ ภาษาจีนกวางตุ้ง.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและภาษาในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไอริช

ษาไอริช หรือ ภาษาไอร์แลนด์ (Gaeilge) เป็นภาษากอยเดลภาษาหนึ่งที่จัดอยู่ในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน มีรากฐานจากประเทศไอร์แลนด์ ซึ่งในอดีตมีการพูดโดยคนเชื้อสายไอริช ผู้ปัจจุบันมักพูดภาษาอังกฤษ ภาษาไอริชมีฐานะเป็นภาษาทางการในประเทศไอร์แลนด์ กำหนดโดยรัฐธรรมนูญของไอร์แลนด์ นอกจากนี้ยังเป็นภาษาที่ใช้อย่างเป็นทางการของสหภาพยุโรป และ ในไอร์แลนด์เหนือของสหราชอาณาจักรอีกด้ว.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและภาษาไอริช · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเอสเปรันโต

ษาเอสเปรันโต (Esperanto) เป็นภาษาประดิษฐ์ในกลุ่มภาษาช่วยในการสื่อสารระดับสากลที่ใช้กันมากที่สุดในโลก คิดค้นโดย แอล.แอล. ซาเมนฮอฟ (L.L. Zamenhof) จักษุแพทย์ชาวโปแลนด์ (ในช่วงที่รัสเซียปกครองโปแลนด์ โดยมีพ่อแม่เป็นชาวยิว) เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2430 โดยต้องการให้ภาษาเอสเปรันโตเป็นภาษาที่เรียนง่าย และเป็นภาษาที่สองสำหรับการสื่อสารระดับนานาประเทศ ชื่อ เอสเปรันโต มาจากนามปากกา ดร.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและภาษาเอสเปรันโต · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเดนมาร์ก

ษาเดนมาร์ก (dansk แดนฺสฺก) เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกเหนือ(หรือภาษาสแกนดิเนเวีย) ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของกลุ่มภาษาเจอร์แมนิก สาขาของภาษาตระกูลอินโด-ยูโรเปียน ภาษาเดนมาร์กเป็นภาษาราชการภาษาเดียวของเดนมาร์ก และเป็นภาษาราชการหนึ่งในสองภาษาของเกาะกรีนแลนด์และหมู่เกาะแฟโร ซึ่งมีฐานะเป็นดินแดนปกครองตนเองของเดนมาร์ก นอกจากนี้ภาษาเดนมาร์กยังพูดกันในหมู่ชนกลุ่มน้อยทางตอนเหนือของประเทศเยอรมนี ในประเทศไอซ์แลนด์ ภาษาเดนมาร์กเป็นภาษาต่างประเทศภาษาที่สอง(ต่อจากภาษาอังกฤษ)ที่มีการเรียนการสอนกันในสถาบันการศึกษาแพร่หลายที.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและภาษาเดนมาร์ก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเตลูกู

ษาเตลูกู (Telugu తెలుగు) อยู่ในตระกูลภาษาดราวิเดียน แต่มีอิทธิพลพอสมควรจากภาษากลุ่มอินโด-อารยันภายใต้ตระกูล อินโด-ยุโรเปียนและเป็นภาษาราชการของรัฐอานธรประเทศ (Andhra Pradesh) ของอินเดีย ภาษาเตลูกูเป็นตระกูลภาษาดราวิเดียนที่มีผู้พูดมากที่สุด เป็นภาษาที่พูดเป็นอันดับ 2 รองจากภาษาฮินดี และเป็นหนึ่งใน 22 ภาษาราชการของอินเดีย เขียนด้วยอักษรเตลูกู ชาวอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เรียกภาษาเตลูกูว่า ภาษาอิตาลีของโลกตะวันออก (Italian of the East) เนื่องจากทุกคำในภาษาเตลูกูลงท้ายด้วยเสียงสระ แต่เชื่อว่านักสำรวจชาวอิตาลี นิกโกเลาะ ดา กอนตี (Niccolò Da Conti) ได้คิดวลีนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 15.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและภาษาเตลูกู · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเปอร์เซีย

ษาเปอร์เซีย หรือ ฟาร์ซี (فارسی Farsi, ฟอร์ซี ชื่อท้องถิ่นใน ประเทศอิหร่าน และประเทศอัฟกานิสถาน), ทาจิก (Tajik, ภาษาย่อยในเอเชียกลาง) หรือ ดารี (Dari ชื่อท้องถิ่นในประเทศอัฟกานิสถาน) เป็นภาษาที่พูดใน ประเทศอิหร่าน ประเทศอัฟกานิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศบาห์เรน และประเทศอุซเบกิสถาน เป็นภาษาทางการใน 3 ประเทศแรกที่กล่าวไว้ คนที่พูดเป็นภาษาแม่มีอยู่ประมาณ 75 ล้านคน เป็นสมาชิกของภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เป็นชนิดประธาน กรรม กร.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและภาษาเปอร์เซีย · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อภาษาเรียงตามจำนวนผู้ใช้เป็นภาษาแม่

นี่คือ รายชื่อภาษาเรียงตามจำนวนผู้ที่ใช้เป็นภาษาแม.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและรายชื่อภาษาเรียงตามจำนวนผู้ใช้เป็นภาษาแม่ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อรหัสภาษา ISO 639-1

ตารางนี้ประกอบด้วยรหัสทั้งหมดของ.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและรายชื่อรหัสภาษา ISO 639-1 · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อตัวละครในกันดั้มดับเบิลโอ

รายละเอียดของตัวละครจากภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องกันดั้มดับเบิลโอผลงานของบริษัทซันไร.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและรายชื่อตัวละครในกันดั้มดับเบิลโอ · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามเทวดาเจอร์แมนิก

ในลัทธิเพเกินเจอร์แมนิก ศาสนาพื้นเมืองของกลุ่มชนเจอร์แมนิกโบราณซึ่งอยู่อาศัยในเจอร์แมนิกยุโรป มีเทวดาหลายพระองค์ บทความนี้เสนอรายการครอบคลุมของเทวดาเหล่านี้.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและรายพระนามเทวดาเจอร์แมนิก · ดูเพิ่มเติม »

ลิงค์ (ภาษาศาสตร์)

ลิงค์ (อ่านว่า ลิง) หรือ เพศทางไวยากรณ์ เป็นคำศัพท์ที่ใช้ในการแบ่งประเภทคำนามในบางตระกูลภาษา โดยเฉพาะตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน เช่น ภาษากรีก ภาษาละติน ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต แม้ในภาษาสมัยใหม่ ก็ยังมีการใช้ลิงค์ เช่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาฮินดี เป็นต้น ลิงค์โดยทั่วไปจะแบ่งเป็น 3 จำพวก คือ เพศชาย เพศหญิง และเพศกลาง ตำราไวยากรณ์ของไทย มักจะใช้ศัพท์บาลี หรือสันสกฤต ว่า ปุลลิงค์ (ปุงลิงค์), อิตถีลิงค์ (สตรีลิงค์) และนปุงสกลิงค์ ทั้งนี้ โดยทั่วไปแล้ว ลิงค์ ในทางไวยากรณ์ไม่ได้ผูกพันกับลักษณะทางเพศในเชิงชีววิทยาของสิ่งมีชีวิตแต่อย่างใด หมวดหมู่:ไวยากรณ์.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและลิงค์ (ภาษาศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

วัน

วัน คือหน่วยของเวลาที่เท่ากับ 24 ชั่วโมง ถึงแม้หน่วยนี้จะไม่ใช่หน่วยเอสไอ แต่ก็มีการยอมรับเพื่อใช้ประกอบกับหน่วยเอสไออื่น ซึ่งหน่วยเวลาที่เป็นหน่วยเอสไอคือ วินาที คำว่า วัน มาจากภาษาไทยเดิม (ลาว: ວັນ วัน, ไทใหญ่:ဝၼ်း วั้น) คำว่า day ในภาษาอังกฤษมาจากคำในภาษาอังกฤษเก่า dæg ซึ่งสะกดคล้ายกับภาษาอื่น ๆ ในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน ตัวอย่างเช่น dies ในภาษาละตินและ dive ในภาษาสันสกฤต ซึ่งกลายเป็น ทิวา ในภาษาไท.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและวัน · ดูเพิ่มเติม »

วิกิพีเดียภาษาญี่ปุ่น

วิกิพีเดียภาษาญี่ปุ่น (ウィキペディア日本語版) เป็นสารานุกรมวิกิพีเดียที่จัดทำขึ้นในภาษาญี่ปุ่น เริ่มสร้างเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2545 ปัจจุบันวิกิพีเดียภาษาญี่ปุ่นมีบทความมากกว่า 1,010,199 บทความ (1 เมษายน 2559) วิกิพีเดียภาษาญี่ปุ่นเป็นวิกิพีเดียที่มีจำนวนบทความมากที่สุดในบรรดาวิกิพีเดียที่ไม่ได้อยู่ในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและวิกิพีเดียภาษาญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

สกุลลิงซ์

ำหรับลิงซ์ในความหมายอื่น ดูที่: Lynx ตะกูลลิงซ์ (Lynx, Bobcat) เป็นตะกูลของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กินเนื้อสกุลหนึ่ง จัดเป็นเสือขนาดเล็ก ใช้ชื่อสกุลว่า Lynx อยู่ในวงศ์เสือและแมว (Felidae) คำว่า Lynx ที่ใช้เป็นชื่อสกุล มีที่มาจากภาษาอังกฤษกลาง ที่มาจากภาษากรีกคำว่า "λύγξ" หรือมาจากรากศัพท์ภาษาอินโด-ยูโรเปียนคำว่า "ลุก" หมายถึง "แสงสว่าง" ซึ่งหมายถึงตาของลิงซ์ที่แวววาว ลิงซ์ มีลักษณะทั่วไปเหมือนแมวในสกุล Felis ทำให้ครั้งหนึ่งมีการพิจารณาว่า ควรมีสกุลเป็นของตนเองหรือไม่ หรือแค่จัดเป็นสกุลย่อยของสกุล Felis แต่ปัจจุบันได้ยอมรับว่าเป็นสกุลของตนเอง โดย จอห์นสัน และคนอื่น ๆ รายงานว่า ลิงซ์ได้มีเครือบรรพบุรุษร่วมกับ เสือพูม่า, แมวดาว และเชื้อสายของแมวบ้าน เมื่อ 7.15 ล้านปีมาแล้ว และลิงซ์ได้แยกตัวออกมาเป็นกลุ่มแรก เมื่อประมาณ 3.24 ล้านปีก่อน ลักษณะเด่นของลิงซ์ คือ มีขนที่หนาและปุกปุยกว่าตั้งแต่หางตาตลอดจนแก้ม มีจุดเด่น คือ ขนปลายหูที่เป็นพู่แหลมชี้ตั้งขึ้นตรง ลำตัวมีความยาวประมาณ 2 ฟุตครึ่ง แต่มีส่วนหางที่สั้นไม่สมมาตรกับลำตัว อุ้งเท้ามีขนาดกว้างใหญ่ ทำให้เดินบนหิมะและน้ำแข็งได้อย่างสะดวก ลิงซ์มีอุปนิสัยชอบลับเล็บกับต้นไม้ เหมือนกับสัตว์ในวงศ์นี้ทั่วไป ลิงศ์เป็นสัตว์ที่กินเนื้อได้หลากหลาย ตั้งแต่สัตว์เล็กเช่น นก, หนู, กระต่าย จนกระทั่งสัตว์ขนาดใหญ่กว่า เช่น ลูกวัว และลูกแกะ เป็นต้น ลิงซ์ กระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางตั้งแต่ทวีปเอเชียตอนเหนือและตอนกลาง, ทวีปยุโรป และอเมริกาเหนือ โดยอนุกรมวิธานออกเป็นชนิดได้ทั้งหมด 4 ชน.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและสกุลลิงซ์ · ดูเพิ่มเติม »

หงส์

หงส์ (มักเขียนผิดเป็น หงษ์) เป็นนกน้ำขนาดใหญ่ที่อยู่ในสกุล Cygnus ในวงศ์ Anatidae อันเป็นวงศ์เดียวกับเป็ดและนกเป็ดน้ำ มีลักษณะทั่วไป มีขนสีขาวทั้งตัว จะงอยปากสีเหลืองส้มและมีปุ่มสีดำที่ฐานของปาก มักรวมฝูงในบึงน้ำเพื่อกินพืชน้ำและสัตว์น้ำขนาดเล็ก พบในทวีปเอเชียทางตอนเหนือ, ยุโรปทางตอนเหนือ, อเมริกา และออสเตรเลีย หงส์ สามารถร่อนลงบนพื้นน้ำแข็งหรือผิวน้ำที่เยือกตัวเป็นน้ำแข็งได้ เพราะมีอุ้งตีนที่ใหญ่คล้ายใบพายซึ่งช่วยกระจายน้ำหนักได้เมื่อร่อนลง แต่จะควบคุมการร่อนได้ดีกว่าในบริเวณที่น้ำแข็งละลาย หงส์มีทั้งหมด 6 ชนิด ได้แก.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและหงส์ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรโตคาเรียน

right อักษรโตคาเรียน เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาโตคาเรียน ซึ่งเนภาษาในตระกูลอินโด-ยูโรเปียน หลักฐานลายลักษณ์อักษรที่หลงเหลืออยู่ส่วนมากมีความเก่าแก่ตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 8 ซึ่งจดจารไว้บนวัสดุหลายประเภท ได้แก่ ใบลาน แผ่นไม้ และกระดาษจีน โดยหลักฐานดังกล่าวนั้นถูกค้นพบในพื้นที่ที่มีความชื้นต่ำในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ อักษรโตคาเรียนพัฒนามาจากอักษรพราหมี ซึ่งเป็นอักษรสระประกอ.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและอักษรโตคาเรียน · ดูเพิ่มเติม »

อุปสรรค (ไวยากรณ์)

อุปสรรค หรือ หน่วยคำเติมหน้า (Prefix) คือหน่วยคำเติมชนิดหนึ่งที่ใช้สำหรับเติมหน้ารากศัพท์ เพื่อเพิ่มความหมาย เปลี่ยนความหมาย หรือเปลี่ยนหน้าที่ของคำ (เช่นเปลี่ยนคำกริยาเป็นคำนาม) มีใช้ในภาษาต่าง ๆ ในหลายตระกูล เช่น ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน (ภาษาบาลี สันสกฤต กรีก ละติน แม้กระทั่งภาษาอังกฤษ) ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก (ภาษามอญ เขมร) ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน (ภาษามลายู) เป็นต้น อุปสรรคจะไม่ปรากฏอยู่เดี่ยว ๆ ต้องเติมหน้าคำอื่น ในภาษาหนึ่ง ๆ มักจะมีอุปสรรคจำนวนจำกัด เช่น ในภาษาบาลีมีอุปสรรคเพียง 20 คำ อาทิ วิ, อุ, อา, นิ, ป, สํ, สุ, อต, อธิ, อนุ, อภิ, อุป ฯลฯ ในภาษาไทยไม่มีอุปสรรคแท้ แต่มักนำศัพท์ที่เติมอุปสรรคแล้วมาใช้ อย่างไรก็ตาม มีความนิยมสร้างคำโดยใช้อุปสรรคเติมหน้าศัพท์อื่นบ้างเช่นกัน ขณะที่ในบางภาษามีการยืมอุปสรรคของภาษาอื่นมาใช้เติมในคำศัพท์ของภาษาตัวเองอยู่บ้าง.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและอุปสรรค (ไวยากรณ์) · ดูเพิ่มเติม »

คำกำกับนาม

ำกำกับนาม คือคำชนิดหนึ่งใช้ประกอบเข้ากับคำนาม เพื่อแสดงชนิดของการอ้างถึงซึ่งถูกสร้างขึ้นโดยคำนามนั้น คำกำกับนามเป็นตัวระบุความชี้เฉพาะทางไวยากรณ์ของคำนาม ในบางภาษาขยายขอบเขตไปถึงปริมาณและจำนวนด้วย คำกำกับนามไม่มีใช้ในภาษาไทย แต่พบได้บ่อยในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน เช่นภาษาอังกฤษมีคำว่า a, an, the ภาษาฝรั่งเศสมีคำว่า le, la, l’, les เป็นต้น ในการวิเคราะห์ชนิดของคำ (part of speech) คำกำกับนามอาจจัดว่าเป็นคำคุณศัพท์ชนิดพิเศษ นักภาษาศาสตร์สมัยใหม่นิยมจัดแบ่งภายในโครงสร้างแยกส่วนเป็นตัวกำหนด (determiner).

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและคำกำกับนาม · ดูเพิ่มเติม »

คุชราต

ราต อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและคุชราต · ดูเพิ่มเติม »

งู

งู เป็นสัตว์เลื้อยคลานอันดับหนึ่ง ไม่มีขา ไม่มีเปลือกตา มีเกล็ดปกคลุมผิวหนังทั่วทั้งลำตัว ลักษณะลำตัวยาวซึ่งโดยขนาดของความยาวนั้น จะขึ้นอยู่กับชนิดของงู ปราดเปรียวและว่องไวในการเคลื่อนที่ มีลิ้นสองแฉกเพื่อใช้สำหรับรับความรู้สึกทางกลิ่น จัดอยู่ในชั้น Reptilia, ตระกูล Squamata, ตระกูลย่อย Serpentes โดยทั่วไปแล้วงูจะกลัวและไม่กัด นอกเสียจากถูกรบกวนหรือบุกรุก จะเลื้อยหลบหนีเมื่อมีสิ่งใดเข้ามาใกล้บริเวณที่อยู่ ออกล่าเหยื่อเมื่อรู้สึกหิว โดยกินสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กเป็นอาหาร ยกเว้นงูบางชนิดที่กินงูด้วยกันเอง เช่น งูจงอาง สามารถมองเห็นได้ดีในที่มืดและในเวลากลางคืน โดยทั่วไปจะออกลูกเป็นไข่ ยกเว้นแต่งูที่มีพิษซึ่งมีผลโดยตรงทางด้านโลหิต (วงศ์งูหางกระดิ่ง((Viperidae)) ซึ่งจะออกลูกเป็นตัว เช่น งูแมวเซา ธรรมชาติโดยทั่วไป งูจะลอกคราบเมื่อมันเริ่มโตขึ้น ทำให้ผิวหนังของงูเริ่มแข็งและคับขึ้น ซึ่งงูจะลอกคราบบ่อยครั้งเมื่องูยังมีอายุไม่มากนัก ซึ่งภายหลังจากการลอกคราบของงู จะทำให้ผิวหนังเก่าหลุดออก แต่เซลล์สีที่ทำให้งูมีสีสันยังคงอยู่ในตัวงู ทำให้เกล็ดที่ปกคลุมผิวหนัง มีสีสันสดใสรวมทั้งทำให้เคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างรวดเร็ว ปัจจุบัน มีงูถูกค้นพบแล้วประมาณ 2,700 ชนิด แต่เป็นงูไม่มีพิษประมาณ 2,300 ชนิด สำหรับในประเทศไทยมีงูจำนวนมากตามสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อการดำรงชีวิต ทั่วทุกภูมิภาพของประเทศไทยสามารถพบเห็นงูได้มากกว่า 180 ชนิด โดยเป็นงูที่มีพิษจำนวน 46 ชนิด และสามารถจำแนกงูที่มีพิษออกได้อีก 2 ประเภทคือ.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและงู · ดูเพิ่มเติม »

งูเห่าอียิปต์

งูเห่าอียิปต์ (Egyptian cobra; كوبرا مصرية) งูพิษประเภทงูเห่าชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์งูพิษเขี้ยวหน้า (Elapidae).

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและงูเห่าอียิปต์ · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน

ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน เป็นตระกูลภาษาที่มีผู้พูดกระจายไปทั่วหมู่เกาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และมหาสมุทรแปซิฟิก มีจำนวนน้อยบนผืนแผ่นดินของทวีปเอเชีย อยู่ในระดับมาตรฐานเดียวกับตระกูลภาษาอินโด-ยุโรเปียนและตระกูลภาษายูราลิกคือสามารถสืบหาภาษาดั้งเดิมของตระกูลได้ คำว่าออสโตรนีเซียนมาจากภาษาละติน austro (ลมใต้) รวมกับคำภาษากรีก nesos (เกาะ) ตระกูลภาษานี้ได้ชื่อนี้ เพราะส่วนมากใช้พูดในบริเวณหมู่เกาะ มีเพียงไม่กี่ภาษา เช่น ภาษามลายู และ ภาษาจามที่ใช้พูดบนผืนแผ่นดิน สมาชิกของตระกูลนี้มีถึง 1,268 ภาษา หรือประมาณ 1 ใน 5 ของภาษาที่รู้จักกันทั่วโลก การแพร่กระจายจากแหล่งกำเนิดของภาษาถือว่ากว้างไกล เริ่มตั้งแต่เกาะมาดากัสการ์ ไปจนถึงเกาะทางตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิก ภาษาราปานูอี ภาษามาลากาซี และ ภาษาฮาวาย เป็นภาษาที่ใช้พูดตามรอบนอกของขอบเขตที่มีการใช้ภาษาตระกูลนี้ ภาษาตระกูลนี้มีสาขามากมาย ส่วนมากพบในไต้หวัน ภาษากลุ่มเกาะฟอร์โมซาในไต้หวันเป็นสาขาหลักของภาษาในตระกูลนี้ มีถึง 9 สาขา ภาษาที่ใช้พูดนอกเกาะฟอร์โมซาทั้งหมดอยู่ในภาษากลุ่มมาลาโย-โพลีเนเซีย ซึ่งบางครั้งเรรียกว่าภาษานอกเกาะฟอร์โมซ.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน

ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน หรือ ตระกูลภาษาอินเดีย-ยุโรป ประกอบด้วยภาษาและภาษาย่อยรวม 443 ภาษา (ตามการประมาณของ SIL) ที่พูดโดยคนประมาณ 3 พันล้านคน ซึ่งรวมถึงตระกูลภาษาหลัก ๆ ของยุโรป และเอเชียตะวันตก ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลใหญ่ ภาษาปัจจุบันที่อยู่ในตระกูลใหญ่นี้ มีเช่น ภาษาเบงกาลี ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาฮินดี ภาษาโปรตุเกส ภาษารัสเซีย และ ภาษาสเปน (แต่ละภาษามีคนพูดมากกว่า 100 ล้านคน).

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลภาษาไท-กะได

ตระกูลภาษาไท-กะได (Tai–Kadai languages) หรือรู้จักกันในนาม กะได (Kadai), ขร้าไท (Kradai) หรือ ขร้า-ไท (Kra–Dai) เป็นตระกูลภาษาของภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์ที่พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และตอนใต้ของประเทศจีน ในช่วงแรก ตระกูลภาษาไท-กะไดเคยถูกกำหนดให้เป็นอยู่ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต แต่ปัจจุบันได้แยกมาเป็นอีกตระกูลภาษาหนึ่ง และยังมีผู้เห็นว่าตระกูลภาษาไท-กะไดนี้มีความสัมพันธ์กับตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน โดยอยู่ในกลุ่มภาษาที่เรียกว่า "ออสโตร-ไท" หรือจัดเป็นตระกูลภาษาใหญ่ออสตริก รอเจอร์ เบลนช์ (Roger Blench) ได้กล่าวว่า ถ้าข้อจำกัดของความเชื่อมต่อของตระกูลภาษาออสโตร-ไทมีความสำคัญมาก แสดงว่าความสัมพันธ์ทั้งสองตระกูลอาจไม่ใช่ภาษาที่เป็นพี่น้องกัน กลุ่มภาษากะไดอาจเป็นสาขาของภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนที่อพยพจากฟิลิปปินส์ไปสู่เกาะไหหลำ แล้วแพร่สู่จีนแผ่นดินใหญ่ ในขณะที่สาขาไดของภาษากลุ่มกะไดมีการปรับโครงสร้างใหม่โดยได้รับอิทธิพลจากกลุ่มภาษาม้ง-เมี่ยนและภาษาจีน โลร็อง ซาการ์ (Laurent Sagart) ได้เสนอว่า ภาษาไท-กะไดดั้งเดิมได้เกิดขึ้นในยุคต้นของตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนที่อาจจะอพยพกลับจากทางตะวันตกเฉียงเหนือของไต้หวันไปยังชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของจีน หรือจากจีนไปไต้หวันและเกิดการพัฒนาของภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนบนเกาะนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนและไท-กะไดอาจจะอธิบายได้จากคำศัพท์ที่ใกล้เคียงกัน คำยืมในยุคก่อนประวัติศาสตร์และอื่น ๆ ที่ยังไม่รู้ นอกจากนั้นภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนอาจจะมีความสัมพันธ์กับตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ซึ่งมีจุดเริ่มต้นในบริเวณชายฝั่งของจีนภาคเหนือและภาคตะวันออก ความหลากหลายของตระกูลภาษาไท-กะไดในทางตอนใต้ของประเทศจีนบ่งบอกถึงมีความสัมพันธ์กับถิ่นกำเนิดของภาษา ผู้พูดภาษาสาขาไทอพยพจากตอนใต้ของจีนลงทางใต้เข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แต่ครั้งโบราณ เข้าสู่ดินแดนที่เป็นประเทศไทยและลาวบริเวณนี้เป็นบริเวณที่พบผู้พูดภาษาในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก ชื่อ "ไท-กะได" มาจากการจัดแบ่งตระกูลภาษาออกเป็นสองสาขาคือ "ไท" และ "กะได" ซึ่งเลิกใช้แล้ว เนื่องจากกะไดจะเป็นกลุ่มภาษาที่เป็นไปได้ก็ต่อเมื่อมีกลุ่มภาษาไทรวมอยู่ด้วย ในบางบริบทคำว่ากะไดจึงใช้เรียกตระกูลภาษาไท-กะไดทั้งตระกูล แต่บางบริบทก็จำกัดการใช้คำนี้ให้แคบลง โดยหมายถึงกลุ่มภาษาขร้าที่เป็นส่วนหนึ่งของตระกูลภาษานี้.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและตระกูลภาษาไท-กะได · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลของภาษา

ตระกูลภาษาต่างๆทั่วโลก ภาษาส่วนใหญ่สามารถจะจำแนกให้อยู่ในตระกูลของภาษา (ซึ่งจะเรียกว่า "กลุ่มภาษา" ในบทความนี้) กลุ่มภาษาที่มีการจัดกลุ่มอย่างชัดเจน จะเป็นหน่วยทางวิวัฒนาการ กล่าวคือ ทุกสมาชิกจะสืบทอดมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน ส่วนใหญ่แล้ว ภาษาบรรพบุรุษมักจะไม่เป็นที่รู้จักโดยตรง เนื่องจากภาษาส่วนใหญ่จะมีประวัติของการเขียนสั้นมาก อย่างไรก็ดี เป็นไปได้ที่จะค้นพบคุณสมบัติต่าง ๆ ของภาษาบรรพบุรุษโดยใช้วิธีการเปรียบเทียบ (comparative method) -- เป็นวิธีการสร้างใหม่ที่คิดโดย นักภาษาศาสตร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ชื่อ เอากุสต์ ชไลเกอร์ ซึ่งสามารถแสดงถึงสถานภาพของกลุ่มภาษาของกลุ่มจำนวนมากที่จะได้กล่าวถึงต่อไป ตระกูลของภาษาสามารถแบ่งย่อยเป็นหน่วยที่เล็กลงไปอีก ซึ่งมักจะเรียกหน่วยย่อยว่า "สาขา" (เนื่องจากประวัติของกลุ่มภาษามักจะเขียนเป็นแผนผังต้นไม้) บรรพบุรุษของกลุ่มภาษา (หรือสาขาของภาษา) เรียกว่า "protolanguage" เช่น protolanguage ของตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนที่สร้างใหม่เรียกว่า โปรโต-อินโด-ยูโรเปียน (Proto-Indo-European, ไม่เป็นที่รู้จักจากการเขียน เนื่องจากพูดกันในสมัยที่ก่อนจะมีการประดิษฐ์การเขียนขึ้น) ในบางกรณี สามารถจะระบุ protolanguage ได้เป็นภาษาที่รู้จักในสมัยประวัติศาสตร์ ด้วยเหตุนี้ ภาษาย่อยตามมณฑลชนบทต่าง ๆ ของภาษาละติน ("Vulgar Latin") ทำให้เกิดตระกูลภาษาโรมานซ์ปัจจุบัน ฉะนั้น ภาษาโปรโต-โรมานซ์จะค่อนข้างเหมือนกับภาษาละติน (ถ้าไม่ใช่ภาษาละตินที่นักเขียนคลาสสิกใช้เขียน) และภาษาย่อยของภาษานอร์สโบราณ (Old Norse) เป็น protolanguage ของภาษานอร์เวย์, ภาษาสวีเดน, ภาษาเดนมาร์ก และภาษาไอซ์แลนด์ ภาษาที่ไม่สามารถจัดได้อย่างแน่นอนลงไปในกลุ่มภาษาใด ๆ เรียกว่า ภาษาโดดเดี่ยว (language isolate).

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและตระกูลของภาษา · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์อานาโตเลีย

ประวัติศาสตร์อานาโตเลียกล่าวถึงดินแดนที่เรียกว่าอานาโตเลียหรือเอเชียไมเนอร์ ซึ่งเป็นดินแดนทางตะวันตกของทวีปเอเชีย ในทางภูมิศาสตร์หมายถึงดินแดนส่วนใหญ่ของประเทศตุรกีในปัจจุบัน จากทะเลอีเจียนซึ่งเป็นขอบเขตทางตะวันตกจนถึงภูเขาชายแดนประเทศอาร์มีเนียทางตะวันออก และเทือกเขาทะเลดำทางเหนือจนถึงเทือกเขาเทารัสทางใต้ โดยสภาพทางภูมิศาสตร์ อานาโตเลียเป็นเสมือนสะพานที่เชื่อมระหว่างยุโรปและเอเชียตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ ดินแดนแห่งนี้จึงเป็นเส้นทางสำหรับการเดินทางไปมาระหว่างยุโรปและเอเชีย ตลอดระยะเวลากว่า 4 ถึง 5,000 ปีที่ผ่านมา มีชนหลายเผ่าพันธุ์เดินทางเข้ามายังอานาโตเลียและได้ตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนของตนบนดินแดนแห่งนี้ อาณาจักรของชนเหล่านี้ได้พัฒนาเจริญรุ่งเรืองและในที่สุดก็ต้องล่มสลายไปตามกาลเวลา ความเก่าแก่และหลากหลายของอารยธรรมที่เคยเจริญรุ่งเรืองบนผืนแผ่นดินแห่งนี้เป็น 1 ใน 3 สิ่งที่ชาวตุรกีมีความภาคภูมิใจเป็นพิเศษสำหรับดินแดนอันเป็นประเทศตนในปัจจุบัน ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ที่ราบสูงอานาโตเลียเคยเป็นที่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่ยุคหิน ยุคประวัติศาสตร์ของอานาโตเลียเริ่มต้นขึ้นในยุคโลหะ ประมาณ 3,000 - 1,200 ก่อนคริสตกาล หากมองย้อนหลังไปในยุคดังกล่าวกลับมาจนถึงยุคปัจจุบันจะพบว่าอานาโตเลียมีลักษณะพิเศษที่ไม่เหมือนดินแดนอื่นใดในโลกคือ เป็นดินแดนที่มีอารยธรรมที่เก่าแก่และหลากหลายของชนหลายกลุ่มซึ่งได้ผลัดเปลี่ยนกันเข้ามาครอบครองดินแดนแห่งนี้.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและประวัติศาสตร์อานาโตเลีย · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์ฮิตไทต์

ราชรถของฮิตไทต์จากภาพนูนของอียิปต์ ฮิตไทต์ (History of the Hittites) ฮิตไทต์เป็นชนโบราณที่พูดภาษาตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและก่อตั้งอาณาจักรที่มีศูนย์กลางอยู่ที่ฮัตทูซา (Hattusa) ทางตอนเหนือของตุรกีตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 ก่อนคริสต์ศักราช ในศตวรรษที่ 14 ก่อนคริสต์ศักราช “ราชอาณาจักรฮิตไทต์” ก็รุ่งเรืองถึงจุดสูงสุดโดยอาณาบริเวณที่ครอบคลุมตอนกลางของอานาโตเลีย ด้านตะวันตกเฉียงเหนือของซีเรียไปจนจรดอูการิต (Ugarit) และตอนเหนือของเมโสโปเตเมีย หลังจากปี 1180 ก่อนคริสต์ศักราชท่ามกลางความวุ่นวายต่าง ๆ ในเลแวนต์ที่เกิดจากการรุกรานของชนทะเล (Sea Peoples) จักรวรรดิฮิตไทต์ก็สลายตัวลงเป็นนครรัฐไซโรฮิตไทต์ (Syro-Hittite states) หลายนครที่เป็นอิสระต่อกัน บางนครก็รุ่งเรืองต่อมาจนถึงศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสต์ศักราช ประวัติศาสตร์ของวัฒนธรรมชนฮิตไทต์ทราบได้จากบันทึกอักษรรูปลิ่มที่พบในบริเวณที่เคยเป็นอาณาจักร และจากการติดต่อทางการค้าขายและการทูตที่พบในสถานที่เก็บหลักฐานโบราณของอียิปต์และตะวันออกกลาง.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและประวัติศาสตร์ฮิตไทต์ · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์เอเชียกลาง

แผนที่เอเชียกลางแสดงเขตแดนตามคำนิยามที่ต่างกัน 3 แบบ ''Equus przewalskii'' หรือม้าป่ามองโกเลีย, หรือทาคี, อาจเป็นบรรพบุรุษของม้าบ้าน. ประวัติศาสตร์เอเชียกลาง คือ ประวัติศาสตร์ของดินแดนเอเชียกลาง ซึ่งเป็นบริเวณที่ทำการเกษตรได้ยากและอยู่ห่างไกลจากทะเล ทำให้ถูกตัดขาดจากเส้นทางการค้า เมืองใหญ่ๆจึงเกิดขึ้นน้อย ชนร่อนเร่ที่เชี่ยวชาญการขี่ม้าเป็นกลุ่มชนหลักในทุ่งหญ้าสเตปป์ และความสัมพันธ์ระหว่างชนร่อนเร่และกลุ่มชนอื่นๆในเอเชียกลางเต็มไปด้วยความขัดแย้ง ทักษะในการขี่ม้าของพวกเขาทำให้กลายเป็นนักรบที่มีประสิทธิภาพกลุ่มหนึ่งของโลก ผู้นำเผ่าจะเป็นผู้จัดการนำเผ่าย่อย ๆ มารวมกันเป็นกองทัพ ตัวอย่างของกลุ่มชนเหล่านี้ เช่น ชาวฮันที่เข้ารุกรานยุโรป กลุ่มชนเตอร์กิกที่อพยพเข้าสู่ทรานโซเซียนา(Transoxiana) พวกหูทั้ง 5 ชนกลุ่ม(Five Barbarians)ที่โจมตีจักรวรรดิฮั่น และชาวมองโกลที่มีอิทธิพลในเอเชียและยุโรป ความโดดเด่นของชนร่อนเร่สิ้นสุดลงในพุทธศตวรรษที่ 21 เมื่ออาวุธสมัยใหม่เข้ามามีบทบาทในสงคราม จักรวรรดิรัสเซีย ราชวงศ์หมิงของจีน และมหาอำนาจอื่นเข้าครอบครองเอเชียกลางทั้งหมดในพุทธศตวรรษที่ 24 หลังการปฏิวัติรัสเซี..

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและประวัติศาสตร์เอเชียกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฟินแลนด์

ประเทศฟินแลนด์ (ซูโอมี) มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐฟินแลนด์ เป็นประเทศในกลุ่มนอร์ดิก ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปยุโรป เขตแดนด้านตะวันตกเฉียงใต้จรดทะเลบอลติก ทางด้านใต้จรดอ่าวฟินแลนด์ ทางตะวันตกจรดอ่าวบอทเนีย ประเทศฟินแลนด์มีชายแดนติดกับประเทศสวีเดน นอร์เวย์ และรัสเซีย สำหรับหมู่เกาะโอลันด์ที่อยู่ห่างจากชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้นั้น อยู่ภายใต้การปกครองของฟินแลนด์ แต่เป็นเขตปกครองตนเอง เคยถูกรัสเซียยึดครองและเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของรัสเซีย ฟินแลนด์มีประชากรเพียง 5 ล้านคน ในพื้นที่ 338,145 ตารางกิโลเมตร นับว่ามีประชากรที่เบาบาง แต่มีดัชนีการพัฒนามนุษย์ตามสถิติของสหประชาชาติ พ.ศ. 2549 อยู่ในลำดับที่ 11 ฟินแลนด์เคยเป็นส่วนหนึ่งของสวีเดนหลายศตวรรษ หลังจากนั้นก็อยู่ภายใต้จักรวรรดิรัสเซียจนถึงปี พ.ศ. 2460 ปัจจุบันฟินแลนด์เป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตย ภาษาฟินแลนด์เป็นหนึ่งในภาษาทางการไม่กี่ภาษาของสหภาพยุโรป ที่ไม่ได้มีต้นกำเนิดเป็นกลุ่มภาษาอินโด-ยูโรเปียน ร่วมกับภาษาเอสโตเนีย ภาษาฮังการี และภาษามอลตา ตั้งแต่ประมาณ 2,700 ปีก่อนพุทธกาล ดินแดนฟินแลนด์ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากทางใต้ของอ่าวฟินแลนด์ โดยเข้ามาทางตะวันตกเฉียงใต้ของฟินแลนด์ มีหลักฐานของเครื่องปั้นดินเผาที่มีลักษณะเฉพาะ ต่อมาในยุคสำริด พื้นที่ทางชายฝั่งของฟินแลนด์ได้รับอิทธิพลจากสแกนดิเนเวียและยุโรปกลาง ในขณะที่พื้นที่ที่อยู่ห่างจากทะเลเข้าไป ได้รับอิทธิพลการใช้สำริดมาจากทางตะวันออกมากกว่า ในพุทธศตวรรษที่ 5 พบว่ามีการค้าขายแลกเปลี่ยนกับสแกนดิเนเวียมากขึ้น และการค้นพบวัตถุแบบโรมันจากยุคนี้ด้วย ปรากฏการกล่าวถึงชาวฟินแลนด์ในเอกสารของชาวโรมันในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 7.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและประเทศฟินแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฮังการี

ังการี (Hungary, Magyarország มอยอโรรฺซาก) เป็นประเทศในภูมิภาคยุโรปกลางที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล มีอาณาเขตทิศเหนือจรดประเทศสโลวาเกีย ทิศตะวันออกจรดประเทศโรมาเนียและประเทศยูเครน ทิศใต้จรดประเทศเซอร์เบียและประเทศโครเอเชีย ทิศตะวันตกเฉียงใต้จรดประเทศสโลวีเนียและทิศตะวันตกจรดประเทศออสเตรีย เมืองที่ใหญ่ที่สุดและเป็นเมืองหลวงของประเทศคือเมืองบูดาเปสต์ ชื่อประเทศฮังการีในภาษาฮังการี แปลว่า "ประเทศของชาวม็อดยอร์" (Country of the Magyars) ประเทศฮังการีมีพื้นที่ 93,030 ตารางกิโลเมตร ซึ่งมีอาณาเขตเพียงร้อยละ 28 ของพื้นที่ราชอาณาจักรฮังการีเดิมก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยพื้นที่ปัจจุบันนับเป็นอันดับที่ 110 ของโลก โดยมีลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบในที่ราบพันโนเนีย และมีประชากร 9,919,128 คน นับเป็นอันดับที่ 90 ของโลก ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวม็อดยอร์ ใช้ภาษาฮังการีเป็นภาษาราชการซึ่งเป็นหนึ่งในภาษาทางการไม่กี่ภาษาของสหภาพยุโรป ที่ไม่ได้มีต้นกำเนิดเป็นกลุ่มภาษาอินโด-ยูโรเปียน ร่วมกับภาษาเอสโตเนีย ภาษาฟินแลนด์ และภาษามอลต.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและประเทศฮังการี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศตุรกี

ประเทศตุรกี (Turkey; Türkiye ทือรคีเย) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐตุรกี (Republic of Turkey; Türkiye Cumhuriyeti) เป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภาในยูเรเซีย พื้นที่ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันตก โดยมีส่วนน้อยในอีสเทรซในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศตุรกีมีพรมแดนติดต่อกับ 8 ประเทศ ได้แก่ ประเทศซีเรียและอิรักทางใต้ ประเทศอิหร่าน อาร์มีเนียและดินแดนส่วนแยกนาคีชีวันของอาเซอร์ไบจานทางตะวันออก ประเทศจอร์เจียทางตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศบัลแกเรียทางตะวันตกเฉียงเหนือ และประเทศกรีซทางตะวันตก ทะเลดำอยู่ทางเหนือ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางใต้ และทะเลอีเจียนทางตะวันตก ช่องแคบบอสฟอรัส ทะเลมาร์มะราและดาร์ดะเนลส์ (รวมกันเป็นช่องแคบตุรกี) แบ่งเขตแดนระหว่างเทรซและอานาโตเลีย และยังแยกทวีปยุโรปกับทวีปเอเชีย ที่ตั้งของตุรกี ณ ทางแพร่งของยุโรปและเอเชียทำให้ตุรกีมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างยิ่ง ประเทศตุรกีมีผู้อยู่อาศัยมาตั้งแต่ยุคหินเก่า มีอารยธรรมอานาโตเลียโบราณต่าง ๆ เอโอเลีย โดเรียและกรีกไอโอเนีย เทรซ อาร์มีเนียและเปอร์เซีย หลังการพิชิตของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ดินแดนนี้ถูกทำให้เป็นกรีก เป็นกระบวนการซึ่งสืบต่อมาภายใต้จักรวรรดิโรมันและการเปลี่ยนผ่านสู่จักรวรรดิไบแซนไทน์ เติร์กเซลจุคเริ่มย้ายถิ่นเข้ามาในพื้นที่ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 เริ่มต้นกระบวนการทำให้เป็นเติร์ก ซึ่งเร่งขึ้นมากหลังเซลจุคชนะไบแซนไทน์ที่ยุทธการที่มันซิเคิร์ต..

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและประเทศตุรกี · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำเอมส์

แม่น้ำเอมส์ (Ems; Eems) เป็นแม่น้ำทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศเยอรมนีและทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศเนเธอร์แลนด์ ต้นน้ำอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐนอร์ทไรน์-เวสต์ฟาเลีย ไหลผ่านรัฐโลว์เออร์แซกโซนี ไหลลงทะเลวอดเดน (Wadden Sea) ส่วนหนึ่งของทะเลเหนือ แม่น้ำมีความยาว 371 กม.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและแม่น้ำเอมส์ · ดูเพิ่มเติม »

แวมไพร์

Nosferutu: A Symphony of Horror'' ที่ดัดแปลงมาจากนวนิยายเรื่อง เค้าท์แดร็กคูลา ภาพยนตร์เรื่องนี้ฉายในปี ค.ศ. 1922 แวมไพร์ (Vampire) ผีชนิดหนึ่งตามความเชื่อของชาวยุโรป ในยุคกลาง เชื่อว่าเป็นผีดิบ ที่มีรูปร่างหน้าตาเหมือนมนุษย์ทั่วไป แต่มีฟันแหลมคม ดื่มเลือดของมนุษย์ด้วยกันเป็นอาหารเพื่อหล่อเลี้ยง โดยที่แวมไพร์จะมีชีวิตเป็นอมตะ ไม่มีวันตาย จะปรากฏตัวได้แต่เฉพาะเวลากลางคืน เพราะกลางวันแพ้แสงแดด แวมไพร์จะหลบซ่อนอยู่ในโลงของตนหรือในหลุมในเวลากลางวัน สามารถแปลงร่างได้หลายแบบ เช่น ค้างคาว, นกฮูก, หมาป่า, หมาจิ้งจอก, กบ, คางคก, แมลงเม่า, งูพิษ เป็นต้น สามารถกำบังกายหายตัวได้ ไม่มีเงาเมื่อกระทบกับแสงหรือสะท้อนในกระจก มีแรงมากเหมือนผู้ชาย 20 คน รวมถึงสามารถบังคับสิ่งของให้เคลื่อนที่ด้วยอำนาจของตนได้ด้วย สิ่งที่จะกำราบแวมไพร์ได้คือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนา เช่น ไม้กางเขน, น้ำมนตร์ หรือแม้กระทั่งสมุนไพรกลิ่นแรงบางชนิด เช่น กระเทียม วิธีฆ่าแวมไพร์มีมากมาย เช่น ตอกลิ่มให้ทะลุหัวใจ เผา หรือ ตัดหัวด้วยจอบของสัปเหร่อ บุคคลที่ตกเป็นเหยื่อของมัน จะกลายเป็นแวมไพร์ไปด้วย และกลายเป็นสาวกของแวมไพร์ตนที่ดูดเลือดตัวเอง ชาวยุโรปในยุคกลางนั้น หวาดกลัวแวมไพร์มาก ผู้ที่สงสัยว่าเป็นแวมไพร์ จะตกอยู่ในสถานะเดียวกับแม่มด หรือ มนุษย์หมาป่า คือ ถูกตัดสินลงโทษด้วยการเอาถึงชีวิต มีวิธีการป้องกันการรุกรานของแวมไพร์หลายวิธี เช่น บางหมู่บ้านจะโปรยเมล็ดข้าวไว้บนหลังคาบ้าน เพราะเชื่อว่าแวมไพร์จะง่วนกับการนับเมล็ดข้าวเป็นการถ่วงเวลาจนรุ่งเช้า หรือ โรยเศษขนมปังไว้ตั้งแต่สุสานให้แวมไพร์เดินเก็บเศษขนมนั้นวนเวียนไปมา หรือแม้แต่การวางไม้กางเขนหรือดอกกุหลาบที่มีหนามแหลมเพื่อเป็นการพันธนาการไว้ในโลง เรื่องราวของแวมไพร์ มีมากมาย ที่เป็นนิทานพื้นบ้านและวรรณกรรม โดยวรรณกรรมที่ว่าถึงแวมไพร์ที่เก่าแก่ที่สุด มีมาตั้งแต่สมัยโรมัน วรรณกรรมที่มีชื่อเสียงที่สุดของแวมไพร์คือ เรื่องแดรกคูลา ของ บราม สโตกเกอร์ ที่โด่งดังจนมีการนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ ละคร ละครเวที หรือแม้แต่กระทั่งภาพยนตร์การ์ตูนมากมายตราบจนปัจจุบัน เช่น ภาพยนตร์เรื่อง Nosferatu: A Symphony of Horror ในปี..

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและแวมไพร์ · ดูเพิ่มเติม »

โยสท์ กิพเพิร์ท

ท์ กิพเพิร์ท โยสท์ กิพเพิร์ท (Jost Gippert) (เกิดวันที่ 12 มีนาคม ค.ศ. 1956 ที่ วินซ-นีเดอร์เวนิเกิร์น, ขณะนี้คือเมือง ฮัททิงเงน ประเทศเยอรมนี) เป็นนักภาษาศาสตร์ชาวเยอรมัน นักวิชาการภาษาคอเคซัส และศาสตราจารย์วิชาภาษาศาสตร์เปรียบเทียบของคณะภาษาศาสตร์เชิงประสบการณ์ (Empirical Linguistics) มหาวิทยาลัย เกอเธ่ แฟรงก์เฟิร์ต/ไมน์ (Goethe University of Frankfurt) นอกจากนั้นยังมีผลงานทางวิชาการเป็นจำนวนมาก.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและโยสท์ กิพเพิร์ท · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อเชียตะวันออกเฉียงใต้, อุษาคเนย์ หรือ เอเชียอาคเนย์ เป็นอนุภูมิภาคของทวีปเอเชีย ประกอบด้วยประเทศต่าง ๆ ซึ่งทิศเหนือติดจีน ทิศตะวันตกติดอินเดีย ทิศตะวันออกติดปาปัวนิวกินี และทิศใต้ติดออสเตรเลีย ภูมิภาคดังกล่าวตั้งอยู่บนรอยต่อของแผ่นทวีปหลายแผ่นที่ยังมีการไหวสะเทือนรุนแรงและการปะทุของภูเขาไฟอยู่ต่อเนื่อง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งได้ภาคภูมิศาสตร์ได้สองภาค ได้แก่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่หรืออินโดจีน ประกอบด้วย กัมพูชา ลาว พม่า ไทย เวียดนาม และมาเลเซียตะวันตก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร ประกอบด้วยบรูไน มาเลเซียตะวันออก ติมอร์-เลสเต อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ · ดูเพิ่มเติม »

เฮกเตอร์ (ทรอย)

'''เฮกเตอร์''' ในภาพยนตร์เรื่อง ''ทรอย'' ค.ศ. 2004 รับบทโดย อีริก บานา เฮกเตอร์ (Hectōr หรือคำกรีกโบราณว่า Ἕκτωρ) เจ้าชายแห่งเมืองทรอย เป็นวีรบุรุษในตำนานกรีกโบราณว่าด้วยเรื่องสงครามเมืองทรอย ชื่อมีความหมายว่า "คว้าอย่างรวดเร็ว" (holding fast) เขาเป็นโอรสของท้าวเพรียมและนางเฮคคิวบา ผู้ครองเมืองทรอย ณ เชิงขุนเขาไอดา เป็นพี่ชายของปารีส ผู้ชิงตัวนางเฮเลนมาจากเมนนิลิอัส เฮกเตอร์ได้รับยกย่องเป็นหนึ่งในเก้าผู้ยิ่งใหญ่ (The Nine Worthies) ซึ่งประกอบด้วยความกล้าหาญและเกียรติยศ ดังนั้นไม่ว่าเขาจะเห็นด้วยกับการกระทำของน้องชายหรือไม่ แต่ก็นำทัพออกปกป้องบ้านเมืองและครอบครัวอย่างเต็มกำลังเลยทีเดียว ในสงครามเมืองทรอย เฮกเตอร์ได้ประลองกับอจักซ์ ผู้มีฉายาว่าจอมพลัง เป็นเวลาถึงวันกับคืนโดยไม่มีผู้ใดแพ้ชนะ ต่อมาทั้งสองได้ชื่นชมกันและกัน เฮกเตอร์มอบดาบแก่อจักซ์ ส่วนอจักซ์มอบเข็มขัดให้เป็นที่ระลึก ระหว่างสงคราม นักรบฝ่ายกรีกชื่อ อคิลลีส ผิดใจกับแม่ทัพอักกะเมมนอน จึงถอนตัวออกจากการรบ ทำให้ทัพกรีกเกือบพ่ายแพ้ ปโตรกลัสนำชุดเกราะของอคิลลีสมาสวมและนำทัพเมอร์มิดอนออกรบ เฮกเตอร์เข้าใจผิดว่าปโตรกลัสคืออคิลลีส จึงเข้าสู้ด้วยเต็มกำลัง และสังหารปโตรกลัสได้ ทำให้อคิลลีสโกรธจัดและกลับเข้าร่วมรบอีกครั้ง อคิลลีสสามารถสังหารเฮกเตอร์ได้ และใช้เข็มขัดของอจักซ์มัดร่างของเฮกเตอร์ไว้กับรถม้าลากกลับค่าย ไม่ยอมคืนศพให้ฝ่ายทรอยตามธรรมเนียมการรบ จนภายหลัง ท้าวเพรียมผู้ชราลอบเข้าค่ายกรีกเพื่อวิงวอนขอร่างของเฮกเตอร์คืน อคิลลีสจึงใจอ่อนยอมมอบให้.

ใหม่!!: ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและเฮกเตอร์ (ทรอย) · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Indo-European languageIndo-European languagesภาษากลุ่มอินโด-ยุโรเปียนภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนภาษากลุ่มอินโดยูโรเปียนอินโด-ยูโรเปียอินโด-ยูโรเปียนตระกูลภาษาอินโด-ยุโรเปียนตระกูลภาษาอินเดีย-ยูโรป

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »