โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ซอฟต์แวร์เสรี

ดัชนี ซอฟต์แวร์เสรี

ปรแกรมจัดการภาพกิมป์ และวีแอลซีมีเดียเพลเยอร์ ซอฟต์แวร์เสรี (free software) หมายถึงซอฟต์แวร์ที่สามารถนำไปใช้ แก้ไข ดัดแปลง พัฒนา และจำหน่ายแจกจ่ายได้โดยเสรี โดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์แต่อย่างใด ตามคำนิยามของมูลนิธิซอฟต์แวร์เสรี (Free Software Foundation) ในบางครั้งซอฟต์แวร์เสรีจะถูกกล่าวถึงในชื่ออื่น ๆ เช่น libre software, FLOSS หรือซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ซอฟต์แวร์เสรีที่เป็นนิยมใช้งานได้แก่ ลินุกซ์ ไฟร์ฟอกซ์ และโอเพ่นออฟฟิศ ในทางปฏิบัติ ซอฟต์แวร์เสรี และ ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส มีลักษณะร่วมที่คล้ายกัน แต่แตกต่างกันโดยแนวความคิดของกลุ่ม โดยซอฟต์แวร์เสรีเน้นในแนวทางสังคมการเมืองที่ต้องการให้มีการใช้ซอฟต์แวร์ได้อย่างอิสระ ไม่ถูกจำกัดด้วยลิขสิทธิ์ ในขณะที่ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สมีแนวความคิดในการเปิดกว้างให้แลกเปลี่ยนซอร์สโค้ดได้อิสระซึ่งเป็นแนวคิดทางด้านเทคโนโลยี อย่างไรก็ตามซอฟต์แวร์เสรีทุกตัวถูกจัดให้เป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สเสมอ แต่กระนั้นเคยมีกรณีที่มูลนิธิซอฟต์แวร์เสรีไม่ยอมรับ Apple Public Source License รุ่นแรกให้อยู่อยู่ในรายการโดยเนื้อหาใน Apple Public Source License รุ่นแรกกำหนดให้การปรับปรุงแก้ไขที่เป็นส่วนตัวจะต้องเผยแพร่ patch ออกสู่สาธารณะและรายงานให้ Apple ทราบทุกครั้ง ซึ่งทางมูลนิธิซอฟต์แวร์เสรีมองว่าเป็นการไม่เคารพความเป็นส่วนตัวและจำกัดเสรีภาพในการแก้ไขซอฟต์แวร์ นอกจากนี้มีการสับสนระหว่างฟรีแวร์ที่มีลักษณะนำไปใช้ได้ฟรี โดยไม่รวมถึงการนำไปดัดแปลงแก้ไข กับซอฟต์แวร์เสรีที่สามารถนำไปใช้รวมทั้งดัดแปลงแก้ไขได้อย่างสมบูรณ.

80 ความสัมพันธ์: บั๊กซิลลาบาซาร์ (ซอฟต์แวร์)ฟรีบีเอสดีฟรีแวร์ฟาบริเคเตอร์ฟีโดราพิดจินกอปปีเลฟต์กะโนมกิมป์กนูภาษารูบีภาษาจาวามอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์มูลนิธิซอฟต์แวร์เสรีมูเดิลระบบสุริยะระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์ริชาร์ด สตอลล์แมนลักซ์เร็นเดอร์ลินุกซ์ลินุกซ์ เคอร์เนลลินุส โตร์วัลดส์ลูซีนวิกิแมเปียวิมวีแอลซีมีเดียเพลเยอร์สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนูสัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปแบบผ่อนปรนของกนูสัญญาอนุญาตของสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์สตาร์ดิกต์สแลชดอตสแลกแวร์ออแดซิตีอินสแตนต์เบิร์ดอูบุนตูอูบุนตู ไคลินจีทีเคพลัสทอร์ (เครือข่ายนิรนาม)ทักซ์เพนท์คิวต์ตัวแบบโอเพนซอร์ซซอฟต์แวร์จำกัดสิทธิ์ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ซิกวินซิทามิประชาธิปไตยโดยตรงนูพีเดีย...แมคโอเอสแมคโอเอส ไฮ ซีร่าแมคโอเอสเท็น ลีโอพาร์ดแม็กซิมา (ซอฟท์แวร์)แลมป์โพสต์เกรสคิวเอลโอเพนออฟฟิศดอตอ็อกโจรกรรมทางวรรณกรรมเบลนเดอร์ (ซอฟต์แวร์)เกียส์เล็กซิตรอนเสรีเสรีภาพเอวินซ์เอ็กซ์วินโดวซิสเต็มเอเดียมเจดิตเดเบียนเคดีอีเซคันด์ไลฟ์เซนต์โอเอสเซเลสเทียเน็ตบีเอสดีBig Buck BunnyCommon Desktop EnvironmentGNU Privacy GuardJFireMiroSQLObjectStet ขยายดัชนี (30 มากกว่า) »

บั๊กซิลลา

ั๊กซิลลา (Bugzilla) เป็นเครื่องมือในการติดตามบั๊กที่พัฒนาโดยมูลนิธิมอซิลลา โดย Bugzilla เป็นซอฟต์แวร์เสรีที่ทำงานผ่านเว็บ เขียนด้วยภาษาเพิร์ล บั๊กสามารถรายงานโดยใครก็ได้และจะถูกมอบหมายให้นักพัฒนาเพื่อตรวจสอบและแก้ไข ผู้ใช้สามารถติดตามสถานะของบั๊กต่าง ๆ ได้ รวมทั้งการเขียนบันทึกของบั๊กและตัวอย่างบั๊กด้วย Bugzilla จำเป็นต้องใช้เว็บเซิร์ฟเวอร์ เช่น Apache และโปรแกรมฐานข้อมูล เช่น MySQL หรือ PostgreSQL ในการทำงาน ซอฟต์แวร์ที่คล้ายกันเช่น FogBugz, JIRA, Trac, and Mantis.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและบั๊กซิลลา · ดูเพิ่มเติม »

บาซาร์ (ซอฟต์แวร์)

ซาร์ (Bazaar) เป็นระบบควบคุมการปรับปรุงแก้ไข บาซาร์เป็นซอฟต์แวร์เสรีที่มีสัญญาอนุญาตแบบ GPL และได้รับการสนับสนุนหลักจาก Canonical Ltd.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและบาซาร์ (ซอฟต์แวร์) · ดูเพิ่มเติม »

ฟรีบีเอสดี

ฟรีบีเอสดี (FreeBSD) คือซอฟต์แวร์เสรีซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่เหมือนยูนิกซ์ (Unix-like) สืบทอดมาจาก AT&T UNIX ผ่านทางสายของ Berkeley Software Distribution (BSD) คือ 386BSD และ 4.4BSD ฟรีบีเอสดีรองรับการทำงานบนซีพียูตระกูลหลักๆ หลายตระกูลด้วยกัน นอกจากตระกูล X86 ของอินเทลที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง ก็ยังมี DEC Alpha, UltraSPARC ของ Sun Microsystems, Itanium (IA-64), AMD64 และ PowerPC ส่วนของตระกูลรองได้แก่คอมพิวแตอร์สถาปัตยกรรมแบบ PC-98 การรองรับสำหรับตระกูล ARM และ MIPS กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนา จุดเด่นที่สำคัญของฟรีบีเอสดีคือประสิทธิภาพและเสถียรภาพ โลโก้ดั้งเดิมและตัวมาสคอตของโครงการฟรีบีเอสดีคือตัวดีม่อนสีแดงซึ่ง มาร์แชล เคิร์ก แมคคูสิก (Marshall Kirk McKusick) เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ การพัฒนาฟรีบีเอสดีเป็นแบบเบ็ดเสร็จทั้งระบบปฏิบัติการ กล่าวคือทั้งเคอร์เนล ยูเซอร์แลนด์ยูทิลิตี้เช่น เชลล์ และดีไวซ์ไดรเวอร์อยู่ในทรีของระบบควบคุมเวอร์ชันของซอร์สโค้ด (CVS) เดียวกัน ซึ่งแตกต่างจากลินุกซ์ที่มีการพัฒนาเฉพาะส่วนของเคอร์เนลโดยบุคคลกลุ่มหนึ่ง ส่วนของยูเซอร์แลนด์ยูทิลิตี้พัฒนาโดยกลุ่มอื่นๆ เช่น กลุ่มในโครงการของกนูและนำมารวมเข้าด้วยกันกับโปรแกรมประยุกต์กลายเป็นดิสทริบิวท์ชั่นซึ่งนำมาเผยแพร่ให้ผู้ใช้ได้ใช้กัน ฟรีบีเอสดีได้รับการยกย่องว่าเป็นระบบปฏิบัติการที่มีชื่อเสียงทางด้านเสถียรภาพและความอึด (แต่ไม่อืด) จึงเป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้รันเซิร์ฟเวอร์อย่างแพร่หลาย ข้อยืนยันนี้ดูได้จากรายงานอัพไทม์ (เวลาจากการรีบูตครั้งล่าสุด) ในรายการ 50 อันดับของเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่มีอัพไทม์นานที่สุดก็มฟรีบีเอสดีและBSD/OS ปรากฏอยู่เป็นจำนวนมาก สิ่งนี้เป็นตัวบ่งบอกถึงความมั่นคงของฟรีบีเอสดีว่า ตลอดเวลาการปฏิบัติงานอันยาวนานนี้นอกจากจะไม่มีการแครชแล้ว ยังไม่จำเป็นต้องมีการอัปเดตเคอร์เนลแต่อย่างใด (หลังจากอัพเกรดเคอร์เนลจำเป็นต้องรีบูต).

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและฟรีบีเอสดี · ดูเพิ่มเติม »

ฟรีแวร์

ฟรีแวร์ (freeware) หมายถึงซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นและสามารถนำไปใช้ได้ในทุกจุดประสงค์โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย (เช่นราคาขายหรือค่าลิขสิทธิ์) ฟรีแวร์เป็นลักษณะก้ำกึ่งระหว่างซอฟต์แวร์พาณิชย์และซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซ คืออนุญาตให้กลุ่มผู้พัฒนามีส่วนร่วมในการสร้างซอฟต์แวร์ แต่ก็ไม่เผยแพร่รหัสต้นฉบับสู่สาธารณชนเพื่อรักษาความลับทางการค้า ฟรีแวร์นั้นคล้ายกับแชร์แวร์ (shareware) คือสามารถใช้ได้ทุกจุดประสงค์เหมือนกัน แต่แชร์แวร์อาจมีระยะเวลาทดลองใช้และต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเพื่อต่ออายุ หรือเปิดฟังก์ชันการใช้งานที่สมบูรณ์ และฟรีแวร์ต่างจากซอฟต์แวร์เสรี (free software) คือ ซอฟต์แวร์เสรีอนุญาตให้เปิดเผยรหัสต้นฉบับและอนุญาตให้ผู้อื่นนำไปพัฒนาต่อได้ ในขณะที่ฟรีแวร์ไม่อนุญาต.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและฟรีแวร์ · ดูเพิ่มเติม »

ฟาบริเคเตอร์

ฟาบริเคเตอร์ คือ ชุดเครื่องมือร่วมกันพัฒนาซอฟต์แวร์บนเว็บ รวมไปถึงเครื่องมือทบทวนโค้ดเชิงอนุพันธ์, เบราว์เซอร์บรรจุแบบกระจาย, เครื่องมือเฝ้าดูการเปลี่ยนแปลงเฮอรัลด์, ตัวติดตามบัคแบบประจักษ์ และวิกิเสียดทาน ฟาบริเคเตอร์ทำงานร่วมกับกิต, เมอร์คิวเรียล, และซับเวอร์ชั่น ชุดเครื่องมือนี้อยู่ในรูปแบบของซอฟต์แวร์เสรีภายใต้ลิขสิทธิ์อาปาเช่ เวอร์ชั่น 2 เดิมทีฟาบริเคเตอร์ถูกพัฒนาเป็นเครื่องมือภายในของเฟสบุ๊ก โดยอีวาน พรีสท์ลี่Fagerholm, F.; Johnson, P.; Guinea, A. S.; Borenstein, J; Münch, J (2013).

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและฟาบริเคเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ฟีโดรา

Fedora (ฟีโดรา, เฟดอรา, ฟีดอรา) เป็นอีกลินุกซ์ดิสทริบิวชันที่แตกแขนงมาจาก Red Hat Enterprise Linux ซึ่งเป็น ลินุกซ์เชิงธุรกิจ ต่างจาก ลินุกซ์ทั่วไป เกิดจากการที่ บริษัทเรดแฮต ต้องการนำเอา Red Hat กลับสู่พันธ์สัญญาซอฟต์แวร์เสรี โดยการพัฒนา Fedora นั้นอยู่ภายใต้การดูแลของทีม Fedora Project นอกจากนี้ทุกวันนี้บริษัท เรดแฮต ยังคงให้การสนับสนุน Fedora อยู่เสมอ ในบ้างครั้งหากระบบ package ใดที่ได้รับการพัฒนาและเพิ่มเติ่มใน Fedora แล้วทำงานได้ดีและมีความนิยมสูง เรดแฮต ก็จะนำ package นั้นเข้าไปใน Red Hat Enterprise Linux รุ่นถัดไปด้วย รุ่นล่าสุดคือ Fedora 25.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและฟีโดรา · ดูเพิ่มเติม »

พิดจิน

น (Pidgin เดิมชื่อ Gaim) เป็นโปรแกรมรับส่งข้อความด่วน (เมสเซนเจอร์) ที่ทำงานได้บนหลายระบบปฏิบัติการ และสนับสนุนโพรโทคอลในการพูดคุยหลายชนิด พิดจินเป็นซอฟต์แวร์เสรี และใช้สัญญาอนุญาตแบบ GPL.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและพิดจิน · ดูเพิ่มเติม »

กอปปีเลฟต์

ตัวอักษร c หันหลังกลับ สัญลักษณ์ของ copyleft เครื่องหมายลิขสิทธิ์ กอปปีเลฟต์ (Copyleft) หมายถึงกลุ่มของสัญญาอนุญาตของสิ่งต่าง ๆ รวมทั้ง ซอฟต์แวร์ เอกสาร เพลง งานศิลปะ โดยอ้างอิงกฎหมายลิขสิทธิ์เป็นแนวเปรียบเทียบ ในการจำกัดสิทธิในการคัดลอกงานและเผยแพร่งาน โดยสัญญาอนุญาตกลุ่ม copyleft มอบเสรีภาพให้ทุกคนสามารถคัดลอก ดัดแปลง ปรับปรุง และจำหน่ายงานได้ โดยมีเงื่อนไขว่าต้องยังคงรักษาเสรีภาพเดียวกันนี้ในงานที่ดัดแปลงแก้ไขมาจากงานดังกล่าว อาจจะมองได้ว่าลักษณะพิเศษของ copyleft คือการที่เจ้าของลิขสิทธิ์ยอมสละสิทธิบางอย่าง (ที่ได้รับการคุ้มครอง) ภายใต้กฎหมายลิขสิทธิ์แต่ไม่ทั้งหมด แทนที่เจ้าของลิขสิทธิ์จะปล่อยงานของเขาออกมาภายในพื้นที่สาธารณะโดยสมบูรณ์ (นั่นคือไม่สงวนสิทธิ์ใด ๆ) copyleft จะให้เจ้าของสามารถกำหนดข้อจำกัดหรือเงื่อนไขทางด้านลิขสิทธิ์บางประการ สำหรับผู้ที่ต้องการมีส่วนร่วมในงานอันมีลิขสิทธิ์นี้ โดยถ้าผู้นั้นไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขนี้แล้ว จะถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เงื่อนไขเพื่อที่จะไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ภายใต้ copyleft นี้ ได้แก่ การที่ผู้ที่ใช้สอยผลงานจะต้องรักษาสิทธิภายใต้ copyleft นี้ไว้ดังเดิมอย่างถาวร ด้วยเหตุนี้ สัญญาอนุญาต copyleft จึงถูกเรียกว่าเป็น สัญญาอนุญาตต่างตอบแทน (reciprocal licenses) สัญลักษณ์ของ copyleft เป็นตัวอักษร c หันหลังกลับ (ɔ) โดยไม่ได้มีความหมายอะไรเป็นพิเศษนอกจากการตรงกันข้ามกับ copyright โดยล้อกับอีกความหมายหนึ่งของคำว่า right ที่แปลว่า ขวา ในภาษาไทย ยังไม่มีคำที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปสำหรับ copyleft สมเกียรติ ตั้งนโม นักวิชาการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ใช้ว่า "ลิขซ้าย" คงการล้อ ขวา-ซ้าย ไว้หน้าแรก มีข้อความ "ลิขซ้าย 2548, 2549, 2550: สมเกียรติ ตั้งนโม" ส่วน สมชาย ปรีชาศิลปกุล อาจารย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ใช้คำว่า "นิรสิทธิ์" หมายถึง ระบบที่ไม่มีหรือไม่ให้สิทธิคุ้มครอง, ประชาไท, 5 เม..

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและกอปปีเลฟต์ · ดูเพิ่มเติม »

กะโนม

รงการ GNOME เป็นการสร้างแพลตฟอร์มทางคอมพิวเตอร์ ที่เป็นซอฟต์แวร์เสรี โดยมีเป้าหมายคือสร้างชุดเครื่องมือที่ช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างโปรแกรมขึ้นมาได้ง่าย รวมไปถึงสภาวะการทำงานแบบเดสก์ท็อป (desktop environment - ซอฟต์แวร์ที่ใช้เรียกซอฟต์แวร์อื่น ทำหน้าที่จัดการกับไฟล์และระบบหน้าต่าง) มีซอฟต์แวร์จำนวนมากที่ถูกพัฒนาขึ้นใต้โครงการ GNOME ซึ่งมักจะถูกนำไปรวมเป็นส่วนหนึ่งของระบบปฏิบัติการบางชนิด เช่น ลินุกซ์ หรือ โซลาริส เป็นต้น GNOME เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ GNU และเป็นสภาวะการทำงานแบบเดสก์ท็อปหลักของ GNU ด้วย GNOME.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและกะโนม · ดูเพิ่มเติม »

กิมป์

กนูอิมิจมานิพิวเลชันโปรแกรม (- โปรแกรมจัดการภาพกนู) หรือกิมป์ (GIMP) เป็นซอฟต์แวร์สำหรับตกแต่งภาพแบบแรสเตอร์ คล้ายกับซอฟต์แวร์อย่าง อะโดบี โฟโตชอป กิมป์สามารถทำงานได้บนหลายระบบปฏิบัติการ เช่น วินโดวส์ แมคโอเอสเท็น และ ลินุกซ์ กิมป์เป็นซอฟต์แวร์เสรี ที่อนุญาตให้นำไปใช้ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และยังอนุญาตให้นำไปแก้ไขและแจกจ่ายได้ด้ว.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและกิมป์ · ดูเพิ่มเติม »

กนู

ำหรับ กนู ที่เป็นสัตว์ป่าแอฟริกา ดูที่: เครื่องหมายการค้าของกนู โครงการ กนู (GNU) เป็นชื่อของโครงการพัฒนาระบบปฏิบัติการ ริเริ่มโดยริชาร์ด สตอลแมน เมื่อปี พ.ศ. 2527 โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนาระบบปฏิบัติการเพื่อให้เป็นซอฟต์แวร์เสรี ที่ทุกคนสามารถนำไปใช้ แก้ไข ปรับปรุง หรือจำหน่ายฟรี โดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ โครงการกนู ประกอบไปด้วย เคอร์เนล ไลบรารี คอมไพเลอร์ โปรแกรมระบบ และ โปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ คำว่า กนู (IPA: /ɡəˈnuː/ เกอะนู หรือ /ˈnjuː/ นยู ในบางประเทศ) เป็นคำย่อแบบกล่าวซ้ำ มาจากคำเต็มว่า GNU's Not Unix (กนูไม่ใช่ยูนิกซ์) เพราะระบบกนูพัฒนาให้เหมือนระบบยูนิกซ์แต่ไม่ได้ใช้ซอร์สโคดของยูนิกซ์เล..

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและกนู · ดูเพิ่มเติม »

ภาษารูบี

ษารูบี (Ruby) เป็นภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ ที่ได้รับอิทธิพลของโครงสร้างภาษามาจาก ภาษาเพิร์ลกับภาษาเอดา มีความสามารถในเชิงวัตถุแบบเดียวกับภาษาสมอลทอล์ค และมีความสามารถหลายอย่างจากภาษาไพทอน, ภาษาลิสป์, ภาษา Dylan และภาษา CLU ตัวแปลภาษารูบีตัวหลักเป็นซอฟต์แวร์เสรี และเป็นตัวแปลแบบอินเตอร์พรีเตอร.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและภาษารูบี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาจาวา

ลโก้ของภาษาจาวา ภาษาจาวา (Java programming language) เป็นภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object Oriented Programming) พัฒนาโดย เจมส์ กอสลิง และวิศวกรคนอื่นๆ ที่ ซัน ไมโครซิสเต็มส์ ภาษาจาวาถูกพัฒนาขึ้นในปี พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) โดยเป็นส่วนหนึ่งของ โครงการกรีน (the Green Project) และสำเร็จออกสู่สาธารณะในปี พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) ซึ่งภาษานี้มีจุดประสงค์เพื่อใช้แทนภาษาซีพลัสพลัส (C++) โดยรูปแบบที่เพิ่มเติมขึ้นคล้ายกับภาษาอ็อบเจกต์ทีฟซี (Objective-C) แต่เดิมภาษานี้เรียกว่า ภาษาโอ๊ก (Oak) ซึ่งตั้งชื่อตามต้นโอ๊กใกล้ที่ทำงานของ เจมส์ กอสลิง แต่ว่ามีปัญหาทางลิขสิทธิ์ จึงเปลี่ยนไปใช้ชื่อ "จาวา" ซึ่งเป็นชื่อกาแฟแทน และแม้ว่าจะมีชื่อคล้ายกัน แต่ภาษาจาวาไม่มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับภาษาจาวาสคริปต์ (JavaScript) ปัจจุบันมาตรฐานของภาษาจาวาดูแลโดย Java Community Process ซึ่งเป็นกระบวนการอย่างเป็นทางการ ที่อนุญาตให้ผู้ที่สนใจเข้าร่วมกำหนดความสามารถในจาวาแพลตฟอร์มได้.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและภาษาจาวา · ดูเพิ่มเติม »

มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์

มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ (Mozilla Firefox) รู้จักในชื่อ ไฟร์ฟอกซ์ เป็นเว็บเบราว์เซอร์ที่สามารถใช้ได้ในหลายระบบปฏิบัติการ พัฒนาโดยมูลนิธิมอซิลลาและอาสาสมัครอีกหลายร้อยคน ปัจจุบันอยู่ใต้การดำเนินงานของบริษัท มอซิลลา ปัจจุบันไฟร์ฟอกซ์เป็นเว็บเบราว์เซอร์ที่นิยมอันดับ 3 รองจากอินเทอร์เน็ต เอกซ์พลอเรอร์และกูเกิล โครม และเมื่อแบ่งตามรุ่นของแต่ละเบราว์เซอร์ ไฟร์ฟอกซ์ รุ่น 3.5 เป็นเบราว์เซอร์ที่มีคนใช้มากที่สุดในโลก ไฟร์ฟอกซ์มีส่วนแบ่งในตลาดเว็บเบราว์เซอร์ทั่วโลกร้อยละ 24.61 และมีส่วนแบ่งในตลาดเว็บเบราว์เซอร์ในประเทศไทยร้อยละ 15.28 (ข้อมูลเมื่อธันวาคม พ.ศ. 2552) 21 ตุลาคม 2554 ไฟร์ฟอกซ์ใช้เกกโกตัวเรนเดอริงเอนจินโอเพนซอร์ซซึ่งจัดการตามมาตรฐานเว็บสอดคล้องกับทางดับเบิลยูธรีซีกำหนดไว้ และเพิ่มคำสั่งพิเศษเข้าไป คำสั่งไฟร์ฟอกซ์เป็นซอฟต์แวร์ที่เปิดให้โปรแกรมเมอร์ที่เรียกว่า "แอด-ออนส์" ทำงานร่วมกับตัวโปรแกรม โดยปัจจุบันมีมากกว่า 2,000 ตัว โดยตัวที่นิยมมากที่สุดตามลำดับคือ ฟอกซีทูนส์ (ควบคุมโปรแกรมเล่นเพลง) สตัมเบิลอัปออน (ค้นหาเว็บไซต์) แอดบล็อกพลัส (บล็อกโฆษณา) ดาวน์เดมออล! (ดาวน์โหลด) และเว็บเดเวลอปเปอร์ (เครื่องมือสำหรับทำเว็บ) ไฟร์ฟอกซ์ทำงานได้ในหลายระบบปฏิบัติการรวมถึง วินโดวส์ แมคโอเอสเท็น ลินุกซ์ รุ่นปัจจุบันคือรุ่น 12.0 ออกเมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2555 ตัวโค้ดโปรแกรมเขียนขึ้นในภาษา C++ XUL XBL และ จาวาสคริปต์ โดยโค้ดทั้งหมดเปิดให้ใช้ฟรีภายใต้ลิขสิทธิ์ MPL GPL / LGPL และ Mozilla EULA โดยที่ในรุ่นนี้ได้ทำารแก้Bugในรุ่น9.0ที่ทำให้เบราว์เซอร์Crashบนระบบปฏิบัติการหลักทั้งสามตัว ในกรณีที่ติดตั้งTools Barบางตัวลงไป ไฟร์ฟอกซ์ในปัจจุบันรับรองการใช้ 75 ภาษ.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและมอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

มูลนิธิซอฟต์แวร์เสรี

300px มูลนิธิซอฟต์แวร์เสรี (Free Software Foundation, ชื่อย่อ: FSF) เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรที่ก่อตั้งโดย ริชาร์ด สตอลล์แมน เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985) เพื่อสนับสนุนแนวทางซอฟต์แวร์เสรี มีจุดประสงค์ต้องการให้สามารถเผยแพร่และแก้ไขซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ได้โดยปราศจากข้อจำกัดใดๆ มูลนิธินี้จดทะเบียนในรัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงราวกลางคริสต์ทศวรรษที่ 1990 ทุนส่วนใหญ่ของมูลนิธินำไปใช้จากนักพัฒนามาเขียนซอฟต์แวร์เสรีสำหรับโครงการกนู แต่นับจากกลางคริสต์ทศวรรษที่ 1990 เป็นต้นมา พนักงานและอาสาสมัครของมูลนิธิส่วนใหญ่ทำงานด้านกฎหมาย และปัญหาทางโครงสร้างของแนวทางซอฟต์แวร์เสรีและชุมชนของซอฟต์แวร์เสรี เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมาย คอมพิวเตอร์ของมูลนิธิทุกเครื่องใช้แต่ซอฟต์แวร์เสรีเท่านั้น.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและมูลนิธิซอฟต์แวร์เสรี · ดูเพิ่มเติม »

มูเดิล

มูเดิล (Moodle ย่อมาจาก Modular Object-Oriented Dynamic Learning Environment) เป็นซอฟต์แวร์เสรีเพื่อจัดการสภาพแวดล้อมการศึกษาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (อาจเรียกว่า Learning Management System หรือ Virtual Learning Environment; VLE) ในเดือนตุลาคม..

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและมูเดิล · ดูเพิ่มเติม »

ระบบสุริยะ

ระบบสุริยะ (Solar System) ประกอบด้วยดวงอาทิตย์และวัตถุอื่น ๆ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์เนื่องจากแรงโน้มถ่วง ได้แก่ ดาวเคราะห์ 8 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 166 ดวง ดาวเคราะห์แคระ 5 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 4 ดวง กับวัตถุขนาดเล็กอื่น ๆ อีกนับล้านชิ้น ซึ่งรวมถึง ดาวเคราะห์น้อย วัตถุในแถบไคเปอร์ ดาวหาง สะเก็ดดาว และฝุ่นระหว่างดาวเคราะห์ โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งย่านต่าง ๆ ของระบบสุริยะ นับจากดวงอาทิตย์ออกมาดังนี้คือ ดาวเคราะห์ชั้นในจำนวน 4 ดวง แถบดาวเคราะห์น้อย ดาวเคราะห์ขนาดใหญ่รอบนอกจำนวน 4 ดวง และแถบไคเปอร์ซึ่งประกอบด้วยวัตถุที่เย็นจัดเป็นน้ำแข็ง พ้นจากแถบไคเปอร์ออกไปเป็นเขตแถบจานกระจาย ขอบเขตเฮลิโอพอส (เขตแดนตามทฤษฎีที่ซึ่งลมสุริยะสิ้นกำลังลงเนื่องจากมวลสารระหว่างดวงดาว) และพ้นไปจากนั้นคือย่านของเมฆออร์ต กระแสพลาสมาที่ไหลออกจากดวงอาทิตย์ (หรือลมสุริยะ) จะแผ่ตัวไปทั่วระบบสุริยะ สร้างโพรงขนาดใหญ่ขึ้นในสสารระหว่างดาวเรียกกันว่า เฮลิโอสเฟียร์ ซึ่งขยายออกไปจากใจกลางของแถบจานกระจาย ดาวเคราะห์ชั้นเอกทั้ง 8 ดวงในระบบสุริยะ เรียงลำดับจากใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดออกไป มีดังนี้คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน นับถึงกลางปี ค.ศ. 2008 วัตถุขนาดย่อมกว่าดาวเคราะห์จำนวน 5 ดวง ได้รับการจัดระดับให้เป็นดาวเคราะห์แคระ ได้แก่ ซีรีสในแถบดาวเคราะห์น้อย กับวัตถุอีก 4 ดวงที่โคจรรอบดวงอาทิตย์อยู่ในย่านพ้นดาวเนปจูน คือ ดาวพลูโต (ซึ่งเดิมเคยถูกจัดระดับไว้เป็นดาวเคราะห์) เฮาเมอา มาคีมาคี และ อีรีส มีดาวเคราะห์ 6 ดวงและดาวเคราะห์แคระ 3 ดวงที่มีดาวบริวารโคจรอยู่รอบ ๆ เราเรียกดาวบริวารเหล่านี้ว่า "ดวงจันทร์" ตามอย่างดวงจันทร์ของโลก นอกจากนี้ดาวเคราะห์ชั้นนอกยังมีวงแหวนดาวเคราะห์อยู่รอบตัวอันประกอบด้วยเศษฝุ่นและอนุภาคขนาดเล็ก สำหรับคำว่า ระบบดาวเคราะห์ ใช้เมื่อกล่าวถึงระบบดาวโดยทั่วไปที่มีวัตถุต่าง ๆ โคจรรอบดาวฤกษ์ คำว่า "ระบบสุริยะ" ควรใช้เฉพาะกับระบบดาวเคราะห์ที่มีโลกเป็นสมาชิก และไม่ควรเรียกว่า "ระบบสุริยจักรวาล" อย่างที่เรียกกันติดปาก เนื่องจากไม่เกี่ยวข้องกับคำว่า "จักรวาล" ตามนัยที่ใช้ในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและระบบสุริยะ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์

ระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์ (Unix-like operating system) เป็นคำเรียกระบบปฏิบัติการที่คล้ายคลึงกับยูนิกซ์ ซึ่งอาจไม่จำเป็นต้องตรงตามนิยามหรือได้รับการรับรองตาม Single UNIX Specification ก็ได้ คำว่า "ระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์" ครอบคลุม.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ริชาร์ด สตอลล์แมน

ริชาร์ด สตอลล์แทน ผู้พูดรับเชิญในงานวิกิเมเนีย ริชาร์ด แมธธิว สตอลล์แมน (Richard Matthew Stallman, RMS; เกิดเมื่อ 16 มีนาคม ค.ศ. 1953) เป็นผู้ก่อตั้ง โครงการกนู และ มูลนิธิซอฟต์แวร์เสรี ซอฟต์แวร์เสรีที่เขาได้เป็นผู้เริ่มเขียนตั้งแต่สมัยแรก ๆ ได้แก่ GNU Emacs, GNU C Compiler และ GNU Debugger ซึ่งปัจจุบันนี้ก็ยังนิยมใช้กันอยู่แพร่หลาย เขาผู้ริเริ่มแนวคิด Copyleft และเป็นผู้ร่าง "สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู" GNU General Public License (GPL) ขึ้นมา และสัญญานี้ได้กลายเป็นบรรทัดฐานของสัญญาอนุญาตให้งานซอฟต์แวร์เสรีจำนวนมาก ริชาร์ด สตอลล์แมน เข้ารับการศึกษาจากเอ็มไอที แต่ได้ลาออกขณะที่ศึกษาและย้ายมาทำงานที่ เอ็มไอทีแล็บ โดยทำหน้าที่พัฒนาโปรแกรม ในระหว่างที่ทำงาน เขามีความคิดอุดมคติที่จะพัฒนาระบบปฏิบัติการในระบบที่ใกล้เคียงกับระบบยูนิกซ์ ให้ใช้งานได้เสรีสำหรับทุกคน โดยได้ร่วมโครงการกับแฮกเกอร์หลายคน ซึ่งในขณะที่พัฒนาเคอร์เนลและยังไม่สำเร็จนั้น ได้พบว่า ลีนุส ทอร์วัลส์ นักศึกษามหาวิทยาลัยชาวฟินแลนด์ได้พัฒนาเคอร์เนล ลินุกซ์เป็นผลสำเร็จขึ้นในเวลาหกเดือน สตอลล์แมนจึงได้ติดต่อกับลีนุส และรับอาสาทำหน้าที่จัดการระบบสัญญาอนุญาตเสรี GPL ให้กับทางระบบลินุกซ.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและริชาร์ด สตอลล์แมน · ดูเพิ่มเติม »

ลักซ์เร็นเดอร์

ลักซ์เร็นเดอร์ (LuxRender) เป็นซอฟต์แวร์เสรีสำหรับให้แสงและเงาแบบจำลองสามมิติแบบ unbiased โปรแกรมทำงานได้บน Microsoft Windows, Mac OS X และ Linux โดยมีซอฟต์แวร์เสริมสำหรับช่วยส่งออกงานจาก Blender, XSI และ Maya.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและลักซ์เร็นเดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ลินุกซ์

ลินุกซ์ (Linux) และรู้จักในชื่อ กะนู/ลินุกซ์ (GNU/Linux) โดยทั่วไปเป็นคำที่ใช้ในความหมายที่หมายถึงระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์ โดยใช้ลินุกซ์ เคอร์เนล เป็นศูนย์กลางทำงานร่วมกับไลบรารีและเครื่องมืออื่น ลินุกซ์เป็นตัวอย่างหนึ่งในฐานะซอฟต์แวร์เสรี และซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียง ทุกคนสามารถดูหรือนำโค้ดของลินุกซ์ไปใช้งาน, แก้ไข, และแจกจ่ายได้อย่างเสรี ลินุกซ์นิยมจำหน่ายหรือแจกฟรีในลักษณะเป็นแพคเกจ โดยผู้จัดทำจะรวมซอฟต์แวร์สำหรับใช้งานในด้านอื่นเป็นชุดเข้าด้วยกัน เริ่มแรกของของลินุกซ์พัฒนาและใช้งานในเฉพาะกลุ่มผู้ที่สนใจ ซึ่งในปัจจุบันลินุกซ์ได้รับความนิยมเนื่องมาจากระบบการทำงานที่เป็นอิสระ ปลอดภัย เชื่อถือได้ และราคาต่ำ จึงได้มีการพัฒนาจากองค์กรต่าง ๆ เช่น ไอบีเอ็ม ฮิวเลตต์-แพคการ์ด และโนเวลล์ ใช้สำหรับในระบบเซิร์ฟเวอร์และพีซี เริ่มแรกลินุกซ์พัฒนาสำหรับใช้กับเครื่อง อินเทล 386 ไมโครโพรเซสเซอร์ หลังจากที่ได้รับความนิยมปัจจุบัน ลินุกซ์ได้พัฒนารับรองการใช้งานของระบบสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ในระบบต่าง ๆ รวมถึงในโทรศัพท์มือถือ และกล้องวิดีโอ ลินุกซ์มีสัญญาอนุญาตแบบ GPL ซึ่งเป็นสัญญาอนุญาตที่กำหนดให้ผู้ที่นำโค้ดไปใช้ต้องใช้สัญญาอนุญาตแบบเดิมต่อคือใช้สัญญาอนุญาต GPL เช่นเดียวกัน ซึ่งลักษณะสัญญาอนุญาตแบบนี้เรียกว่า copyleft.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและลินุกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ลินุกซ์ เคอร์เนล

ทักซ์ สัญลักษณ์ของลินุกซ์ ลินุกซ์ เป็นชื่อของเคอร์เนลตัวหนึ่ง ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์เสรี ลินุกซ์พัฒนาขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) โดย ลีนุส ทอร์วัลด์ส (Linus Torvalds) ชาวฟินแลนด์ และพัฒนาต่อมาเรื่อยๆ ด้วยความช่วยเหลือจากโปรแกรมเมอร์อิสระจากทั่วโลก เดิมออกแบบสำหรับระบบที่ใช้หน่วยประมวลผล อินเทล 80386 แต่ต่อมาได้ถ่ายโอนไปยังสถาปัตยกรรมต่างๆ อีกมากมาย โดยทั่วไป นิยมใช้เคอร์เนลตัวนี้คู่กับระบบกนู ได้เป็นระบบปฏิบัติการที่สมบูรณ์คือ กนู/ลินุกซ.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและลินุกซ์ เคอร์เนล · ดูเพิ่มเติม »

ลินุส โตร์วัลดส์

ลินุส เบเนดิกต์ โตร์วัลดส์ (สวีเดน: Linus Benedict Torvalds) เกิดเมื่อ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2512 ที่เมืองเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ เป็นผู้สร้าง ลินุกซ์ (Linux kernel) แก่นกลางของระบบปฏิบัติการซอฟต์แวร์เสรี.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและลินุส โตร์วัลดส์ · ดูเพิ่มเติม »

ลูซีน

ลูซีน (Lucene) เป็นซอฟต์แวร์เสรีและซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สสำหรับใช้เป็นส่วนต่อประสานโปรแกรมประยุกต์ในการค้นคืนสารสนเทศ แต่เดิมลูซีนถูกเขียนขึ้นโดยใช้ภาษาจาวา โดย Doug Cutting ซึ่งสนับสนุนโดยมูลนิธิซอฟต์แวร์อาแพชี และเผยแพร่โดยใช้สัญญาอนุญาตซอฟต์แวร์อาแพชี ลูซีนถูกย้ายไปเขียนขึ้นด้วยภาษาอื่น ๆ นอกจากภาษาจาวาด้วย ได้แก่ ภาษาเพิร์ล ภาษาซีชาร์ป ภาษาซีพลัสพลัส ภาษาไพทอน ภาษารูบี้ และภาษาพีเอชพี ลูซีนเหมาะกับการใช้งานใดที่ต้องการการสร้างดัชนีข้อความอย่างเต็มรูปแบบ (Full-text indexing) และความสามารถในการค้นคืนข้อความแบบเต็มรูปแบบ (Full-text searching) ลูซีนได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในการนำไปใช้สร้างเครื่องมือช่วยค้นหาข้อมูลสำหรับอินเทอร์เน็ต หรือ ภายในองค์กร หรือ เฉพาะในเว็บไซต์เดียว ซึ่งบางครั้งก็มีผู้เข้าใจผิดว่าลูซีนเป็นเครื่องมือช่วยค้นหาข้อมูลเต็มรูปแบบ ที่มีเครื่องมือรวบรวมเว็บเพจ (Web crawler) และโปรแกรมแจงโครงสร้างภาษา HTML ด้วย ทั้งนี้โปรแกรมที่ใช้งานลูซีนจะต้องมีมีเครื่องมือรวบรวมเว็บเพจ (Web crawler) และโปรแกรมแจงโครงสร้างภาษา HTML โดยแยกออกจากลูซีน สิ่งที่อยู่ในแก่นของสถาปัตยกรรมเชิงตรรกะของลูซีนคือแนวคิดว่าเอกสารประกอบไปด้วยเขตข้อมูลของข้อความ ซึ่งทำให้ส่วนต่อประสานโปรแกรมประยุกต์ของลูซีนยืดหยุ่นพอที่จะไม่ขึ้นอยู่กับรูปแบบไฟล์ ข้อความจากไฟล์ในรูปแบบ PDF HTML เอกสารไมโครซอฟท์เวิร์ด และรูปแบบอื่น ๆ อีกมากมายสามารถนำมาสร้างดัชนีได้ตราบเท่าที่สามารถสกัดข้อความจากเอกสารได้.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและลูซีน · ดูเพิ่มเติม »

วิกิแมเปีย

วิกิแมเปีย (WikiMapia) เป็นโครงการที่จัดตั้งขึ้น เพื่อรวมการใช้งานแบบวิกิพีเดีย และ กูเกิลแมป เข้าด้วยกัน โดยใช้ เว็บ 2.0 เป็นโครงการที่ริเริ่มโดย Alexandre Koriakine และ Evgeniy Saveliev เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 2006 โครงการวิกิแมเปีย ไม่เกี่ยวข้องกับ วิกิพีเดีย หรือ มูลนิธิวิกิมีเดีย แต่มีข้อความระบุไว้บนเว็บไซต์ว่า "ได้รับแรงบันดาลใจจากวิกิพีเดีย".

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและวิกิแมเปีย · ดูเพิ่มเติม »

วิม

Vim หรือ วิม ย่อมาจาก Vi IMproved เป็นซอฟต์แวร์เสรี สำหรับเอดิเตอร์สำหรับแก้ไขไฟล์ มีรากฐานการพัฒนามาจากโปรแกรม vi ที่มีอยู่เดิม สามารถทำงานบนระบบปฏิบัติการหลายๆ ตัว Vim ถูกพัฒนาโดย แบรม มูลีนาร์ (Bram Moolenaar) ออกเผยแพร่เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2534 นับตั้งแต่นั้นมามีการเพิ่มเติมขีดความสามารถให้กับ Vim ความสามารถหลายอย่างออกแบบมาให้เป็นประโยชน์ในการแก้ไขซอร์สโค้ดโปรแกรม Vim ถูกออกแบบสำหรับทั้ง command line interface และ graphical user interface โดยดังเดิม Vim ทำงานบนระบบปฏิบัติการ อะมีกา เท่านั้น จนกระทั่งมีการพัฒนา สนับสนุนการทำงานบนระบบปฏิบัติการหลายๆ ตัว ในปี..

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและวิม · ดูเพิ่มเติม »

วีแอลซีมีเดียเพลเยอร์

วีแอลซีมีเดียเพลเยอร์ (VLC media player) คือโปรแกรมเล่นไฟล์สื่อเช่นเพลงและภาพเคลื่อนไหวได้หลายสกุล รวมทั้งไฟล์ที่เล่นบนมือถือ พัฒนาโดยโครงการ วิดีโอแลน (VideoLAN) โดยเป็นซอฟต์แวร์เสรีที่ใช้สัญญาอนุญาตแบบ GPL สำหรับเล่นไฟล์มีเดียต่างๆ โดยโครงการวิดีโอแลน วีแอลซีมีเดียเพลเยอร์เป็นซอฟต์แวร์เล่นไฟล์สื่อคุณภาพสูง รับชมภาพและเสียง บันทึกภาพและเสียง และการถ่ายทอดแบบสตรีม ซึ่งสนับสนุนไฟล์ในหลายๆประเภท ที่รู้จักกันดีเช่น วีซีดี ดีวีดี และการสตรีม โพรโทคอล และยังสามารถสตรีมระหว่างเน็ตเวิร์ก และยังสามารถแปลงไฟล์ได้อีกด้วย วีแอลซี ย่อมาจาก วิดีโอแลน ไคลเอนต์ (VideoLan Client) และยังรองรับระบบปฏิบัติการที่หลากหลาย เช่น ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ Mac OS X BeOS BSD Solaris มีผู้ดาวน์โหลดวีแอลซี ตั้งแต่เวอร์ชันแรกถึงเวอร์ชัน 2.2.6 มากกว่า 2,400 ล้านคน นับเป็นคู่แข่งจากค่ายโอเพนซอร์ซที่สำคัญกับวินโดว์มีเดียเพลเยอร.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและวีแอลซีมีเดียเพลเยอร์ · ดูเพิ่มเติม »

สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู

รื่องหมายการค้าของกนู สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู หรือ กนูจีพีแอล หรือ จีพีแอล (GNU General Public License, GNU GPL, GPL) เป็นสัญญาอนุญาตสำหรับซอฟต์แวร์เสรี ที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดในปัจจุบัน ฉบับแรกสุดเขียนโดย ริชาร์ด สตอลล์แมน เริ่มต้นใช้กับโครงการกนู ในปี พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991).

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและสัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู · ดูเพิ่มเติม »

สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปแบบผ่อนปรนของกนู

รื่องหมายการค้าของกนิว สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปแบบผ่อนปรนของกนิว หรือ แอลจีพีแอล (GNU Lesser General Public License, LGPL) เป็นสัญญาอนุญาตของซอฟต์แวร์เสรีรูปแบบหนึ่ง คล้ายคลึงกับสัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนิวหรือจีพีแอล ซึ่งจัดทำโดยมูลนิธิซอฟต์แวร์เสรีเช่นกัน แอลจีพีแอลถูกเขียนขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2534 และดัดแปลงเมื่อ พ.ศ. 2542 โดย ริชาร์ด สตอลล์แมน โดยได้รับคำปรึกษาจาก อีเบน โมเกลน แอลจีพีแอลใช้งานส่วนใหญ่กับไลบรารีมากกว่าตัวซอฟต์แวร์ โดยข้อแตกต่างระหว่างกับจีพีแอลคือ ตัวแอลจีพีแอลสามารถเชื่อมเข้ากับซอฟต์แวร์ทั่วไปได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นแอลจีพีแอลหรือจีพีแอลเหมือนกัน นั่นคือ "การผ่อนปรน" กว่าตามชื่อสัญญาอนุญาตนั่นเอง ซอฟต์แวร์ของมอซิลลาและโอเพนออฟฟิศดอตอ็อกใช้สัญญาอนุญาตแอลจีพีแอล.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและสัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปแบบผ่อนปรนของกนู · ดูเพิ่มเติม »

สัญญาอนุญาตของสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์

ัญญาอนุญาตของสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ หรือ สัญญาอนุญาตเอ็มไอที (MIT License) เป็นสัญญาอนุญาตซอฟต์แวร์เสรีที่สร้างขึ้นโดยสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) มีลักษณะเป็นสัญญาอนุญาตซอฟต์แวร์เสรีที่มีข้อจำกัดน้อย (Permissive License) โดยอนุญาตให้นำซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ชนิดดังกล่าวไปประกอบเป็นส่วนหนึ่งของซอฟต์แวร์กรรมสิทธิ์ได้ โดยที่ชุดซอฟต์แวร์ที่แจกจ่ายไปนั้นต้องมีข้อความในสัญญาอนุญาตเอ็มไอที ซอฟต์แวร์กรรมสิทธิ์ที่ใช้งานที่อยู่ภายใต้สัญญาอนุญาตเอ็มไอทีนี้ยังคงสภาพของความเป็นซอฟต์แวร์กรรมสิทธิ์อยู่ สัญญาอนุญาตดังกล่าวสามารถใช้กับสัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู (GPL) ได้ ทำให้สามารถทำการรวมและแจกจ่ายซอฟต์แวร์ GPL คู่กับซอฟต์แวร์ที่ใช้สัญญาอนุญาตเอ็มไอทีได้.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและสัญญาอนุญาตของสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ · ดูเพิ่มเติม »

สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์

ันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology, ตัวย่อ เอ็มไอที, เรียกโดยชุมชน MIT ว่า "the Institute แปลว่า สถาบัน") เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนในเมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา ที่มีชื่อเสียงมานานในเรื่องงานวิจัยและการศึกษาในสาขาเคมี ฟิสิกส์ และวิศวกรรมศาสตร์สาขาต่าง ๆ แล้วเริ่มมีชื่อเสียงมากขึ้นต่อ ๆ มาในสาขาชีววิทยา เศรษฐศาสตร์ ภาษาศาสตร์ และการจัดการ MIT ตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ · ดูเพิ่มเติม »

สตาร์ดิกต์

ตาร์ดิกต์ (StarDict) เป็นโปรแกรมพจนานุกรมหลายภาษา เขียนโดยชาวจีนชื่อ หู เจิ้ง (胡正) สามารถใช้งานได้กับหลายระบบปฏิบัติการ พัฒนาต่อยอดจากโปรแกรม สตาร์ดิก (StarDic) สตาร์ดิกต์เป็นซอฟต์แวร์เสรีเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาต GPL รุ่นล่าสุด 3.0.3 เผยแพร่เมื่อ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 อย่างไรก็ตามโครงการสตาร์ดิกต์ได้ถูกถอดออกจาก sourceforge.net เนื่องจากได้รับรายงานว่าซอฟต์แวร์นั้นละเมิดลิขสิท.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและสตาร์ดิกต์ · ดูเพิ่มเติม »

สแลชดอต

Slashdot (สแลชดอต) หรือมักนิยมเขียนในรูปตัวย่อ "/." เป็นเว็บไซต์ข่าวสารด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ, วิทยาการ, นิยายวิทยาศาสตร์ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเปิดโอกาสให้ผู้อ่านมีส่วนร่วมโดยการส่งข่าวมายังเว็บไซต์ได้ ผู้อ่านสามารถแสดงความคิดเห็นของตัวเองต่อท้ายข่าวได้ ซึ่ง Slashdot ถือเป็นเว็บไซต์แรกที่ให้บริการความคิดเห็นในลักษณะนี้ ชื่อ Slashdot ถูกตั้งขึ้นเพื่อต้องการทำให้ผู้อ่านออกเสียงสับสน เมื่ออ่าน URL ของ Slashdot เป็นภาษาอังกฤษว่า "h-t-t-p-colon-slash-slash-slashdot-dot-org" Slashdot ตั้งขึ้นเมื่อเดือนสิงหาคม..​ 1997 โดย Rob Malda หรือรู้จักในนาม "CmdrTaco" ปัจจุบันมีบริษัท SourceForge Inc.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและสแลชดอต · ดูเพิ่มเติม »

สแลกแวร์

หน้าจอในโหมดกราฟิก สแลกแวร์ใช้ภาพ Tux คาบกล้องยาเป็นมาสคอตแทนตัวซอฟต์แวร์ สแลกแวร์ (Slackware) เป็นระบบปฏิบัติการลินุกซ์แบบเสรีและโอเพนซอร์ซ ที่พัฒนาขึ้นโดย Patrick Volkerding โปรแกรมเมอร์ชาวอเมริกัน โดยปรับปรุงมาจาก Softlanding Linux System (SLS Linux) เผยแพร่เป็นครั้งแรกเมื่อปี..

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและสแลกแวร์ · ดูเพิ่มเติม »

ออแดซิตี

250px Audacity (ออแดซิตี) เป็นซอฟต์แวร์เสรี ใช้สำหรับตัดต่อเสียง สนับสนุนแพลตฟอร์ม แม็ค วินโดวส์ และลินุกซ์ สามารถอัดเสียง อิมพอร์ต/เอกซ์พอร์ต แปลงไฟล์ไป-มา ได้หลายฟอร์แม็ต แก้ไข ตัตแต่ง วิเคราะห์ สนับสนุนไฟล์ในหลายรูปแบบรวมถึง WAV MP3 Ogg Vorbis และไฟล์รูปแบบอื่นๆ เริ่มพัฒนาเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2543.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและออแดซิตี · ดูเพิ่มเติม »

อินสแตนต์เบิร์ด

อินสแตนต์เบิร์ด (Instantbird) เป็นโปรแกรมเมสเซนเจอร์ที่พัฒนาบน XULRunner ของมอซิลลา และไลบรารี libpurple ที่สร้างโดยผู้พัฒนาโปรแกรมพิดจิน Instantbird ก็ยังเป็นซอฟต์แวร์เสรีที่พัฒนาภายใต้สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู ซึ่งในตอนนี้ยังไม่มีคุณสมบัติอะไรมากนัก แต่ตามแผนในการพัฒนาคุณสมบัติต่างๆ จะเทียบเท่าพิดจินในเวอร์ชัน 1.0.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและอินสแตนต์เบิร์ด · ดูเพิ่มเติม »

อูบุนตู

อูบุนตู (Ubuntu) เป็นระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ที่เป็นระบบปฏิบัติการแบบเปิดซึ่งมีพื้นฐานบนลินุกซ์ดิสทริบิวชันที่พัฒนาต่อมาจากเดเบียน การพัฒนาสนับสนุนโดยบริษัท Canonical Ltd ซึ่งเป็นบริษัทของนายมาร์ก ชัทเทิลเวิร์ธ ชื่อของดิสทริบิวชันนั้นมาจากคำในภาษาซูลู และภาษาโคซา (ภาษาในแอฟริกาใต้) ว่า Ubuntu ซึ่งมีความหมายในภาษาอังกฤษคือ "humanity towards others" อูบุนตูต่างจากเดเบียนตรงที่ออกรุ่นใหม่ทุก 6 เดือน และแต่ละรุ่นจะมีระยะเวลาในการสนับสนุนเป็นเวลา 18 เดือน รุ่นปัจจุบันของ Ubuntu คือ 18.04 LTS ซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่รวมมาใน อูบุนตูนั้นเป็นซอฟต์แวร์เสรีเกือบทั้งหมด(มีบางส่วนที่เป็นลิขสิทธิ์ เช่น ไดรเวอร์โดยจุดมุ่งหมายหลักของ อูบุนตูคือเป็นระบบปฏิบัติการสำหรับคนทั่วไป ที่มีโปรแกรมทันสมัย และมีเสถียรภาพในระดับที่ยอมรับได้.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและอูบุนตู · ดูเพิ่มเติม »

อูบุนตู ไคลิน

Ubuntu Kylin เป็นระบบปฏิบัติการอูบุนตูรุ่นภาษาจีน โดยรุ่นนี้เป็นรุ่นที่รวมความสามารถต่าง ๆ ที่มาจาก Kylin OS มาไว้ในตัวระบบด้วย โดยในปี..

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและอูบุนตู ไคลิน · ดูเพิ่มเติม »

จีทีเคพลัส

ีทีเคพลัส (GTK+) เป็นวิจิททูลคิทสำหรับพัฒนาส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ (GUI) โปรแกรมในแพลตฟอร์มต่าง ๆ สำหรับระบบเอกซ์วินโดว์ จีทีเคพลัส เป็นหนึ่งในวิจิททูลคิทที่เป็นที่นิยมที่สุดสองตัว วิจิททูลคิทที่เป็นที่นิยมที่สุดอีกตัวหนึ่งสำหรับระบบเอกซ์วินโดว์ คือคิวที ปัจจุบันนี้ทั้งจีทีเคพลัสและคิวทีเข้ามาแทนที่โมทีฟซึ่งเคยเป็นวิจิททูลคิทที่นิยมใช้ที่สุดสำหรับระบบเอกซ์วินโดว์ ในช่วงตั้งต้น จีทีเคพลัส สร้างขึ้นเพื่อใช้ในโปรแกรมจัดการแก้ไขรูปภาพแรสเตอร์ชื่อกนูอิมเมจแมนนิพูเลชันโปรแกรม (GNU Image Manipulation Program, GIMP) ดังนั้นจีทีเคพลัสจึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ากิมป์ทูลคิท (GIMP Toolkit) อย่างไรก็ตามคนส่วนมากรู้จักจีทีเคพลัสเพียงชื่อเดียว จีทีเคพลัส เป็นซอฟต์แวร์เสรี ส่วนหนึ่งในโครงการกนู เผยแพร่โดยใช้สัญญาอนุญาต LGPL ปัจจุบันดูแลการพัฒนาโดย มูลนิธิกโนม (GNOME Foundation).

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและจีทีเคพลัส · ดูเพิ่มเติม »

ทอร์ (เครือข่ายนิรนาม)

#ทอร์เบราว์เซอร์ --> ทอร์ (Tor) เป็นซอฟต์แวร์เสรี (ฟรี) ที่ช่วยให้สื่อสารทางอินเทอร์เน็ตอย่างนิรนามได้ด้วยการจัดเส้นทางการสื่อสารแบบหัวหอม รวมทั้งช่วยให้สามารถเรียกดูเว็บไซต์บางแห่งที่ถูกเซ็นเซอร์ได้ ส่วนชื่อเป็นอักษรย่อจากโปรเจ็กต์ซอฟต์แวร์ดั้งเดิมคือ "The Onion Router" (เราเตอร์หัวหอม) ทอร์ส่งการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตผ่านเครือข่ายทั่วโลก ฟรี ให้บริการโดยอาสาสมัคร และมีสถานีส่งต่อ/รีเลย์มากกว่า 7,000 สถานี เพื่อซ่อนตำแหน่งและการใช้งานของผู้ใช้จากใครก็ได้ที่ทำการเพื่อสอดแนมทางเครือข่าย หรือเพื่อวิเคราะห์การสื่อสาร เพราะการใช้ทอร์จะทำให้ตามรอยกิจกรรมทางอินเทอร์เน็ตกลับไปหาผู้ใช้ได้ยากขึ้น ซึ่งรวมทั้ง "การเยี่ยมใช้เว็บไซต์ การโพสต์ข้อความออนไลน์ การส่งข้อความทันที และรูปแบบการสื่อสารอื่น ๆ" ทอร์มุ่งหมายเพื่อป้องกันความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ รวมทั้งป้องกันเสรีภาพและให้สมรรถภาพในการสื่อสารอย่างเป็นส่วนตัว โดยป้องกันการสื่อสารไม่ให้เฝ้าสังเกตได้ การจัดเส้นทางแบบหัวหอม (Onion routing) ทำให้เกิดผลโดยการเข้ารหัสลับในชั้นโปรแกรมประยุกต์ของโพรโทคอลสแตกที่ใช้ในการสื่อสาร โดยทำเป็นชั้น ๆ เหมือนกับของหัวหอม คือทอร์จะเข้ารหัสข้อมูล รวมทั้งเลขที่อยู่ไอพีของโหนดหรือสถานีต่อไปเป็นชั้น ๆ แล้วส่งข้อมูลผ่านวงจรเสมือนที่ประกอบด้วยสถานีรีเลย์ของทอร์ที่เลือกโดยสุ่มเป็นลำดับ ๆ สถานีรีเลย์แต่ละสถานีจะถอดรหัสชั้นการเข้ารหัสชั้นหนึ่ง เพื่อหาว่า สถานีไหนเป็นรีเลย์ต่อไปในวงจร แล้วส่งข้อมูลเข้ารหัสที่เหลือไปให้ สถานีสุดท้ายจะถอดรหัสชั้นลึกสุด แล้วส่งข้อมูลดั้งเดิมไปยังเป้าหมายโดยไม่เปิดเผยและก็ไม่รู้ด้วยถึงเลขที่อยู่ไอพีซึ่งเป็นแหล่งเบื้องต้น เพราะการจัดเส้นทางการสื่อสารจะปิดไว้ส่วนหนึ่ง ณ สถานีเชื่อมต่อทุก ๆ สถานีภายในวงจร วิธีการนี้กำจัดจุด ๆ เดียวชนิดที่การสอดแนมทางเครือข่ายอาจกำหนดต้นปลายการสื่อสาร แต่ฝ่ายตรงข้ามก็อาจพยายามระบุผู้ใช้โดยวิธีการต่าง ๆ ซึ่งอาจทำได้โดยการถือเอาประโยชน์จากจุดอ่อนของซอฟต์แวร์บนคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ เช่น สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐมีเทคนิคที่ใช้จุดอ่อนหนึ่งที่ตั้งชื่อรหัสว่า EgotisticalGiraffe ในเว็บเบราว์เซอร์มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ล้าสมัยรุนหนึ่ง ที่เคยรวมแจกจ่ายกับชุดโปรแกรมทอร์ และโดยทั่วไป สำนักงานจะเพ่งเล็งเฝ้าสังเกตผู้ใช้ทอร์ในโปรแกรมการสอดแนม XKeyscore ขององค์กร การโจมตีทอร์เป็นประเด็นงานวิจัยที่ยังดำเนินการอยู่ ซึ่งโปรเจ็กต์ทอร์เองก็สนับสนุน อย่างไรก็ดี ไม่ใช่เพียงแค่ครั้งหนึ่งเท่านั้นเมื่อต้นคริสต์ทศวรรษ 2000 ที่ทอร์ได้พัฒนาขึ้นโดยบุคคลที่อยู่ใต้สัญญาการว่าจ้างจากสำนักงานโปรเจ็กต์การวิจัยก้าวหน้าของกระทรวงกลาโหมสหรัฐ (DARPA) และจากแล็บวิจัยกองทัพเรือสหรัฐ (U.S. Naval Research Laboratory) แต่ตั้งแต่เริ่มโครงการมา เงินทุนโดยมากก็มาจากรัฐบาลกลางสหรั.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและทอร์ (เครือข่ายนิรนาม) · ดูเพิ่มเติม »

ทักซ์เพนท์

ทักซ์เพนท์ เป็นซอฟต์แวร์เสรีสำหรับตกแต่งภาพแบบแรสเตอร์ สามารถทำงานได้บนหลายระบบปฏิบัติการ เช่น วินโดวส์ แมคโอเอสเท็น และ ลินุกซ์ ภายใต้สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและทักซ์เพนท์ · ดูเพิ่มเติม »

คิวต์

วต์ (Qt อ่านเหมือน cute) เป็นวิจิททูลคิทสำหรับพัฒนาส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ (GUI) โปรแกรมในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ตัวอย่างของซอฟต์แวร์ที่ใช้คิวต์ เช่น KDE, โอเปรา, กูเกิลเอิร์ท, สไกป์, โฟโตชอป เอเลเมนส์ เป็นต้น คิวต์ พัฒนาโดยใช้ภาษา C++ และใช้ส่วนขยายอื่นนอกเหนือจาก C++ มาตรฐาน ที่ต้องใช้ preprocessor ประมวลเพื่อสร้างคำสั่ง C++ ก่อนการคอมไพล์ มี binding สำหรับใช้ในภาษา เอดา, ซีชาร์ป, จาวา, ปาสกาล, เพิร์ล, พีเอชพี, รูบี้ และ ไพทอน ขีดความสามารถอื่นนอกเหนือจากส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ เช่นการติดต่อกับฐานข้อมูลSQL การอ่านข้อมูล XML การบริหารทรีด (thread) ด้านเครือข่าย และการจัดการไฟล์ ปัจจุบัน Qt ถูก Nokia เทคโอเวอร์ และ ออกผลิตภัณฑ์ ที่เน้นเขียนแอพพลิเคชั้นให้สามารถ รันข้ามแพรตฟอร์มหลากหลายและสามารถทำงานบน โทรศัพทืมือถือและอุปกรณ์เครื่อนที่(Mobile Device)ต่างได้ เช่น อุปกรณ์นำทางบนรถยนต์, แทปเลสพีซี(Tables PC) โดยกาสนับสนุนของ Intel Qt สามารถทำงานได้บนระบบปฏิบัติการ Maemo,Meego,Embleded Linux,Ubantu และ Android.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและคิวต์ · ดูเพิ่มเติม »

ตัวแบบโอเพนซอร์ซ

ตัวแบบโอเพนซอร์ซ (open-source model) เป็นตัวแบบการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบกระจายอำนาจที่สนับสนุนให้มีการร่วมมือกันอย่างเสรีLevine, Sheen S., & Prietula, M. J. (2013).

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและตัวแบบโอเพนซอร์ซ · ดูเพิ่มเติม »

ซอฟต์แวร์จำกัดสิทธิ์

ซอฟต์แวร์จำกัดสิทธิ์ หรือ ซอฟต์แวร์กรรมสิทธิ์ (proprietary software) คือ ซอฟต์แวร์ที่สิทธิ์ในการใช้งาน ทำซ้ำ ดัดแปลง หรือ เผยแพร่ ถูกจำกัดหรือสงวนสิทธิ์ไว้โดยเจ้าของซอฟต์แวร์หรือผู้จัดทำ ผู้อื่นไม่สามารถนำมาใช้งาน ทำซ้ำ ดัดแปลง หรือ เผยแพร่ ได้นอกจากได้รับอนุญาตในสิทธิ์นั้นจากเจ้าของ.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและซอฟต์แวร์จำกัดสิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซ

ตราโอเพนซอร์ซ ของ Open Source Initiative (OSI) ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซ (Open source software; ตัวย่อ: OSS) คือ ซอฟต์แวร์ที่เปิดแผยหลักการหรือแหล่งที่มาของเทคโนโลยีของซอฟต์แวร์นั้นให้บุคคลภายนอกได้ใช้ ภายใต้เงื่อนไขบางประการที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้ทำการแก้ไข ดัดแปลงและเผยแพร่ซอร์สโค้ดได้ ภายใต้เงื่อนไขทางข้อตกลงทางกฎหมาย เช่น สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู (จีพีแอล) และสัญญาอนุญาตแจกจ่ายซอฟต์แวร์ของเบิร์กลีย์ (บีเอสดี) ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซที่เป็นที่รู้จักกันดีได้แก่ เพิร์ล ไฟร์ฟอกซ์ ลินุกซ์ อะแพชี เว็บเซิร์ฟเวอร.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซ · ดูเพิ่มเติม »

ซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์

ซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ คือซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ที่ผลิตขึ้นเพื่อจำหน่าย หรือสงวนไว้เพื่อจุดประสงค์เชิงพาณิชย์ ซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ส่วนใหญ่มักจะเป็นซอฟต์แวร์กรรมสิทธิ์ แต่ซอฟต์แวร์เสรีที่เป็นที่รู้จักทุกตัวก็เป็นซอฟต์แวร์ชนิดนี้เช่นกัน ส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของแพกเกจซอฟต์แวร์และบริการที่รองรับการพาณิชย์ ถูกสร้างเป็นซอฟต์แวร์เสรีมากขึ้น รวมไปถึงผลิตภัณฑ์จากเรดแฮต แอปเปิล ซันไมโครซิสเต็มส์ กูเกิล และไมโครซอฟท์ นอกจากนั้นไมโครซอฟท์ใช้คำว่า ซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ เป็นตัวแทนของ ซอฟต์แวร์กรรมสิทธิ์ เพื่ออธิบายแบบจำลองทางธุรกิจของไมโครซอฟท์เอง.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ · ดูเพิ่มเติม »

ซิกวิน

right ซิกวิน (Cygwin - อ่านเหมือน sig-win) เป็นชุดเครื่องมือซอฟต์แวร์เสรี ที่ริ่เริ่มพัฒนาโดย Cygnus Solutions เพื่อทำให้ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์วินโดวส์สามารถปฏิบัติงานได้คล้ายระบบยูนิกซ์ จุดประสงค์หลักของชุดเครื่องมือนี้คือ เพื่อพอร์ตหรือโอนย้ายซอฟต์แวร์ที่ใช้งานบนระบบ POSIX (เช่น ลีนุกซ์ บีเอสดี และยูนิกซ์) ให้มาใช้งานบนวินโดวส์ได้โดยง่าย เช่น อาจจะแค่คอมไพล์ใหม่ หรือแก้ไขเพียงเล็กน้อย โปรแกรมที่พอร์ตโดย Cygwin นี้ ทำงานได้ดีที่สุดบนวินโดวส์เอ็นที, วินโดวส์ 2000 วินโดวส์เอกซ์พี, และวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 แต่บางตัวก็ใช้ได้บน วินโดวส์ 95 และ วินโดวส์ 98.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและซิกวิน · ดูเพิ่มเติม »

ซิทามิ

ซิทามิ หรือ ชิทามิ (Xitami) เป็นซอฟต์แวร์เสรีโอเพนซอร์สประเภทเว็บเซิร์ฟเวอร์และเอฟทีพีเซิร์ฟเวอร์ พัฒนาโดยบริษัทอิมาทิกซ์ (iMatix Corporation) ประสิทธิภาพในการทำงานถึงจะไม่เร็วเท่าเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่เร็วที่สุด แต่ตัวซอฟต์แวร์นั้นมีขนาดเล็กมาก (ไม่เกิน 2 เมกะไบต์) และใช้ทรัพยากรระบบน้อย ซิทามิรองรับการทำงานบนเว็บแอปพลิเคชันที่เขียนด้วยภาษาซีจีไอ อาทิ ภาษาพีเอชพี และยังมีส่วนต่อประสานกับผู้ใช้บนเว็บเพจที่ช่วยสามารถจัดการตั้งค่าซอฟต์แวร์ผ่านเว็บเบราว์เซอร์ได้อีกทางหนึ่ง ซิทามิสามารถทำงานได้บนวินโดวส์ ลินุกซ์ และระบบปฏิบัติการอื่นที่คล้ายยูนิกซ์ เช่น โอเพนวีเอ็มเอส โอเอส/2 เป็นต้น สำหรับรุ่นเชิงพาณิชย์ของซิทามิรองรับการใช้งานเอสเอสแอลได้ด้ว.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและซิทามิ · ดูเพิ่มเติม »

ประชาธิปไตยโดยตรง

การชุมนุมตามกระบวนการประชาธิปไตยโดยตรงที่เรียกว่า Landsgemeinde ในแคนทอนกลารุสปี พ.ศ. 2549 ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ประชาธิปไตยโดยตรง (direct democracy) หรือ ประชาธิปไตยบริสุทธิ์ (pure democracy.) เป็นการปกครองแบบประชาธิปไตย ที่ประชาชนตัดสินการริเริ่มออกกฎหมาย/นโยบายต่าง ๆ โดยตรง ไม่ว่าจะโดยออกเสียงลงคะแนนหรือลงประชามติเป็นต้น ซึ่งต่างจากรัฐประชาธิปไตยปัจจุบันโดยมากอันเป็นประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน ที่ประชาชนออกเสียงเลือกผู้แทนเพื่อทำหน้าที่ริเริ่มแล้วออกเสียงตัดสินนโยบายอีกทอดหนึ่ง ในระบอบนี้ ประชาชนอาจมีอำนาจการตัดสินใจทางฝ่ายบริหาร ริเริ่มแล้วตัดสินการออกกฎหมายทางฝ่ายนิติบัญญัติ เลือกตั้งและถอดถอนเจ้าหน้าที่ และดำเนินการทางฝ่ายตุลาการ ประชาธิปไตยโดยตรงมีรูปแบบหลัก ๆ สองอย่างคือประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมและประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและประชาธิปไตยโดยตรง · ดูเพิ่มเติม »

นูพีเดีย

ัญลักษณ์นูพีเดีย นูพีเดีย (Nupedia) เป็นสารานุกรมออนไลน์ก่อตั้งโดย จิมมี เวลส์ ผู้ก่อตั้งวิกิพีเดีย เนื้อหาของนูพีเดียถูกเขียนโดยผู้เชี่ยวชาญจากแต่ละสาขา โดยเปิดใช้งานครั้งแรกเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2543 แต่ได้ปิดตัวลงเมื่อ กันยายน พ.ศ. 2546 โดยโอนเนื้อหาทั้งหมดย้ายมาในโครงการวิกิพีเดีย ซึ่งทำให้นูพีเดียได้ชื่อว่าเป็นวิกิพีเดียรุ่นแรก ข้อมูลของนูพีเดียได้มีการถูกตรวจสอบความถูกต้องและหลักภาษาค่อนข้างสูง ถึงแม้ว่านูพีเดียจะเป็นต้นฉบับของวิกิพีเดีย แต่ซอฟต์แวร์ที่ใช้แตกต่างกัน โดยใช้ซอฟต์แวร์ชื่อ นูปโค้ด (NupeCode) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์เสรีที่ใช้สำหรับโครงการเขียนหนังสือซึ่งมีระบบตรวจทาน (peer-review) แต่ปัญหาในการเชื่อมโยงที่ยากลำบาก ซอฟต์แวร์มีเดียวิกิจึงถูกเลือกมาใช้แทนที่ซอฟต์แวร์เดิม ซีเน็ตได้จัดให้นูพีเดียเป็นเว็บไซต์ยอดเยี่ยมที่ถูกปิดตัวลง.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและนูพีเดีย · ดูเพิ่มเติม »

แมคโอเอส

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและแมคโอเอส · ดูเพิ่มเติม »

แมคโอเอส ไฮ ซีร่า

แมคโอเอส ไฮ ซีร่า เป็นระบบเป็นระบบปฏิบัติการแมคโอเอสรุ่นที่ 14 ต่อจากรุ่น แมคโอเอส ซีร่า โดยเวอร์ชันนี้ จะไปเน้นที่เทคโนโลยีใหม่ และปรับปรุงแอพพลิเคชั่นอย่าง รูปภาพ, ซาฟารี เป็นต้น โดยได้เปิดตัวในงาน WWDC 2017 ในวันที่ 6 มิถุนายน 2560 โดย High Sierra นั้นเป็นชื่อของแคมป์ในอุทยานแห่งชาติ Yosemite ในรัฐแคลิฟอร์เนียซึ่งก่อนหน้านี้ ก็ได้ใช้ชื่อ OS X Yosemite และ macOS Sierra ไปแล้ว ถือว่าเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเทียวในรัฐแคลิฟอร์เนียที่สวยงามและเป็นเอกลักษณ์เป็นอย่างมาก.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและแมคโอเอส ไฮ ซีร่า · ดูเพิ่มเติม »

แมคโอเอสเท็น ลีโอพาร์ด

Mac OS X version 10.5 "Leopard" (แมคโอเอสเทน "เลเพิร์ด" - มักถูกเรียกผิดเป็น ลีโอพาร์ด) เป็นระบบปฏิบัติการแมคโอเอสเท็นรุ่นที่ 6 โดยเป็นรุ่นต่อจากรุ่น Mac OS X v10.4 "ไทเกอร์" เลเพิร์ดออกวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2550 และได้แบ่งจำหน่ายเป็นสองรุ่นคือ รุ่นคอมพิวเตอร์เดสก์ทอป และรุ่นเซิร์ฟเวอร.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและแมคโอเอสเท็น ลีโอพาร์ด · ดูเพิ่มเติม »

แม็กซิมา (ซอฟท์แวร์)

Maxima เป็น ซอฟต์แวร์เสรี เพื่องาน computer algebra system (CAS) พัฒนาขึ้นด้วยภาษา common lisp โดยอิงจาก Macsyma รุ่นปี.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและแม็กซิมา (ซอฟท์แวร์) · ดูเพิ่มเติม »

แลมป์

Squid). A high performance and high-availability solution for a hostile environment แลมป์ (LAMP) เป็นอักษรย่อของชุดซอฟต์แวร์เสรีสำหรับการทำเว็บไซต์ โดยตัวย่อต้นฉบับนั้นย่อมาจาก.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและแลมป์ · ดูเพิ่มเติม »

โพสต์เกรสคิวเอล

ต์เกรสคิวเอล (PostgreSQL) หรือนิยมเรียกว่า โพสต์เกรส (Postgres) เป็นระบบจัดการฐานข้อมูลในลักษณะของซอฟต์แวร์เสรีภายใต้สัญญาอนุญาตบีเอสดี ชื่อเดิมของซอฟต์แวร์คือ โพสต์เกรส ซึ่งต่อมาได้ถูกเปลี่ยนเป็นโพสต์เกรสคิวเอล โดยประกาศออกมาจากทีมหลักในปี 2550 ชื่อของโพสต์เกรสมาจากชื่อ post-Ingres ซึ่งหมายถึงตัวซอฟต์แวร์ที่พัฒนาต่อจากซอฟต์แวร์ชื่ออินเกรส โพสต์เกรสถูกใช้งานในเว็บไซต์ชื่อดังหลายแห่งเช่น ยาฮู! โซนี่ออนไลน์เกม สไกป์ และไฮไฟฟ.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและโพสต์เกรสคิวเอล · ดูเพิ่มเติม »

โอเพนออฟฟิศดอตอ็อก

อเพนออฟฟิศดอตอ็อก (OpenOffice.org ย่อว่า OO.o หรือ OOo) เป็นชุดซอฟต์แวร์สำนักงานที่ทำงานบนหลายระบบปฏิบัติการ เผยแพร่ในรูปแบบซอฟต์แวร์เสรี เขียนขึ้นโดยใช้ชุดเครื่องมือส่วนต่อประสานกราฟิกของตัวเอง รองรับรูปแบบโอเพนด็อกคิวเมนต์ (ODF) ซึ่งเป็นมาตรฐานไอเอสโอ/ไออีซีเพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูล และใช้เป็นรูปแบบแฟ้มพื้นฐาน อีกทั้งยังรองรับรูปแบบเอกสารจากไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ และอื่น ๆ กระทั่งเดือนพฤศจิกายน..

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและโอเพนออฟฟิศดอตอ็อก · ดูเพิ่มเติม »

โจรกรรมทางวรรณกรรม

รกรรมทางวรรณกรรม หรือ การลอกเลียนวรรณกรรม (plagiarism) หมายถึง การลอกงานเขียน ความคิดหรืองานสร้างสรรค์ดั้งเดิมทั้งหมดหรือบางส่วนที่เหมือนหรือเกือบเหมือนงานดั้งเดิมของผู้อื่นมาแอบอ้างเป็นงานดั้งเดิมของตนเอง ในวงวิชาการ โจรกรรมทางวรรณกรรมโดยนิสิตนักศึกษา อาจารย์หรือนักวิจัยถือเป็น “ความไม่สุจริตทางวิชาการ” (en:academic dishonesty) หรือ “การฉ้อฉลทางวิชาการ” (en:academic fraud) และผู้กระทำผิดจะต้องถูกตำหนิทางวิชาการ (academic censure) โจรกรรมทางวรรณกรรมในงานสื่อสารมวลชนถือเป็นละเมิดจรรยาบรรณทางวารสารศาสตร์ (en:journalistic ethics) นักข่าวที่ถูกจับได้โดยทั่วไปจะถูกลงโทษทางวินัยตั้งแต่พักงานถึงการถูกให้ออกจากงาน สำหรับบุคคลทั่วไปที่ถูกจับได้ว่าทำโจรกรรมทางวรรณกรรมทางวิชาการหรือทางงานหนังสือพิมพ์มักอ้างว่าได้กระทำลงไปโดยไม่ได้ตั้งใจ โดยลืมใส่อ้างอิง หรือใส่คำประกาศกิตติคุณ (en:citation) ที่เหมาะสมไว้ ปัญหาโจรกรรมทางวรรณกรรมเป็นปัญหาที่เกิดมานานนับศตวรรษมาแล้วซึ่งเป็นแบบรูปเล่ม การพัฒนาทางอินเทอร์เน็ตที่บทความปรากฏในรูปของอีเล็กทรอนิกส์ ทำให้งานคัดลอกทำได้เพียง “ลอก” ข้อความในเว็บมา “ใส่” ไว้ในอีกเว็บหนึ่งอย่างง่ายดายที่เรียกว่า “การคัดลอก-แปะ” (en:copying and pasting) โจรกรรมทางวรรณกรรมต่างกับการละเมิดลิขสิทธิ์แม้ทั้งสองคำนี้ใช้กับพฤติกรรมที่คล้าย ๆ กัน เพียงแต่เน้นการละเมิดที่ต่างมุมกัน การละเมิดลิขสิทธิ์เป็นการละเมิดสิทธิ์ด้วยการไม่บอกกล่าวกับผู้ถือลิขสิทธิ์ แต่ขณะเดียวกัน ในอีกด้านหนึ่งโจรกรรมทางวรรณกรรมเกี่ยวข้องกับการสร้างชื่อเสียงให้ตนเองของผู้กระทำด้วยการแอบอ้างว่าตนเป็นผู้เขียน.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและโจรกรรมทางวรรณกรรม · ดูเพิ่มเติม »

เบลนเดอร์ (ซอฟต์แวร์)

ลนเดอร์ เป็นซอฟต์แวร์เสรี สำหรับงานคอมพิวเตอร์กราฟิกสามมิติ สามารถใช้สร้าง โมเดลสามมิติ, คลี่ UV, ทำพื้นผิว (Texture), จัดการการเคลื่อนไหวแบบใช้กระดูก, จำลองการไหลของน้ำ, จำลองผิวหนัง, คอมพิวเตอร์แอนิเมชัน, เร็นเดอร์, พาทิเคิล, การจำลองด้วยคอมพิวเตอร์อื่นๆ, การตัดต่อและตบแต่งวีดิทัศน์และภาพผ่านระบบ คอมโพสิต, และยังใช้สร้างแอปพลิเคชันแบบสามมิติได้อีกด้วย เบลนเดอร์ทำงานได้บนหลายระบบปฏิบัติการ, เช่น Microsoft Windows, Mac OS X, GNU/Linux, IRIX, Solaris, NetBSD, FreeBSD, OpenBSD และมีการพอร์ตอย่างไม่เป็นทางการไปยังระบบ BeOS, SkyOS, AmigaOS, MorphOS และ Pocket PC เบลนเดอร์มีคุณลักษณะทัดเทียมกับโปรแกรมสามมิติระดับสูงอื่นๆเช่น XSI, Cinema 4D, 3 ดีเอสแมกซ์, Lightwave และ Maya โดยมีคุณลักษณะสำคัญเช่นการจำลองกองวัตถุล้มกระทบ, การกระทบกันระหว่าง ของไหล, ผ้าถูกลมพัดพริ้ว และโครงสร้างยืดหยุ่นต่างๆ, มีระบบ modifier แบบเป็นชั้นสำหรับปรับโมเดล, ระบบจัดการภาพเคลื่อนไหวคุณภาพสูง, ระบบจัดการวัสดุและการคอมโพสิตแบบ node และรองรับ ภาษาไพทอน สำหรับเขียนสคริป Blender ต้องการ OpenGL ในการทำงาน ในปี..

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและเบลนเดอร์ (ซอฟต์แวร์) · ดูเพิ่มเติม »

เกียส์

Gears หรือชื่อเดิม Google Gears เป็นซอฟต์แวร์ที่กูเกิลเผยแพร่ ช่วยให้เว็บแอปพลิเคชันทำงานได้มากขึ้นได้ด้วยการเพิ่มความสามารถใหม่ให้แก่เว็บเบราว์เซอร์ เผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตบีเอสดี เกียส์เป็นซอฟต์แวร์เสรี เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและเกียส์ · ดูเพิ่มเติม »

เล็กซิตรอน

ล็กซิตรอน (LEXiTRON) เป็นชุดพจนานุกรมสองภาษาสองชุด ได้แก่ พจนานุกรมไทย-อังกฤษ และพจนานุกรมอังกฤษ-ไทย สร้างขึ้นโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาต.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและเล็กซิตรอน · ดูเพิ่มเติม »

เสรี

รี อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและเสรี · ดูเพิ่มเติม »

เสรีภาพ

รีภาพ, อิสรภาพ หรือเสรีธรรม ในทางปรัชญา หมายถึง เจตจำนงเสรี ซึ่งตรงข้ามกับนิยัตินิยม ในทางการเมือง เสรีภาพประกอบด้วยเสรีภาพทางสังคมและการเมืองที่รับประกันแก่พลเมืองทุกคน ในทางเทววิทยา เสรีภาพ คือ อิสรภาพจากพันธะบาป.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและเสรีภาพ · ดูเพิ่มเติม »

เอวินซ์

อวินซ์ (Evince) เป็นโปรแกรมดูเอกสารชนิด PDF และ PostScript ของแพลตฟอร์ม GNOME เป้าหมายของ Evince คือเป็นโปรแกรมดูเอกสารแบบครบวงจรที่สามารถแทนโปรแกรมดูเอกสารอื่นๆ ในอดีตของ GNOME เพื่อลดความสับสนของผู้ใช้ เอวินซ์ถูกรวมเข้ามาใน GNOME 2.12 ซึ่งออกเมื่อ 7 กันยายน ค.ศ. 2005 โดยภาษาที่ใช้ส่วนใหญ่คือ ภาษาซี มีส่วนประกอบที่เป็น C++ เล็กน้อย เอวินซ์เป็นซอฟต์แวร์เสรี ใช้สัญญาอนุญาตแบบ GPL.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและเอวินซ์ · ดูเพิ่มเติม »

เอ็กซ์วินโดวซิสเต็ม

X Window System (อาจรู้จักในชื่อ X11 หรือ X) เป็นระบบการแสดงผลหน้าต่างแบบบิตแมปในคอมพิวเตอร์ X Window เป็นระบบ GUI มาตรฐานของระบบปฏิบัติการในตระกูลยูนิกซ์ และ OpenVMS ระบบ X นั้นเตรียมส่วนประกอบพื้นฐานของระบบ GUI เช่น การวาดและเคลื่อนย้ายหน้าต่างบนหน้าจอคอมพิวเตอร์, การทำงานร่วมกับคีย์บอร์ดและเมาส์ แต่ไม่ได้ยุ่งกับส่วนติดต่อผู้ใช้โดยตรง ปล่อยให้โปรแกรมแต่ละตัวที่ทำงานบน X ทำหน้าที่นี้อย่างอิสร.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและเอ็กซ์วินโดวซิสเต็ม · ดูเพิ่มเติม »

เอเดียม

อเดียม (Adium) เป็นโปรแกรมเมสเซนเจอร์บนระบบปฏิบัติการ Mac OS X สนับสนุนโพรโทคอลการพูดคุยหลายชนิด โดยพัฒนามาจากไลบรารี libpurple โปรแกรมพัฒนาขึ้นด้วย API ของ Mac OS X ที่ชื่อ Cocoa และใช้วิธีการพัฒนาแบบซอฟต์แวร์เสรี มีสัญญาอนุญาตใช้งานเป็น GPL.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและเอเดียม · ดูเพิ่มเติม »

เจดิต

ต หรือ เกดิต (gedit; หรือ) เป็นโปรแกรมแก้ไขข้อความอย่างเป็นทางการของแพลตฟอร์ม GNOME สนับสนุนการเข้ารหัสตัวอักษรแบบ UTF-8 และใช้สัญญาอนุญาตแบบซอฟต์แวร์เสรี เจดิตสามารถทำ syntax highlighting ด้วยสีหรือตัวหนา โดยรองรับภาษาโปรแกรมหลายชนิด นอกจากนี้ยังสนับสนุนการแก้ไขหลายไฟล์พร้อมกันด้วยแท็.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและเจดิต · ดูเพิ่มเติม »

เดเบียน

ียน (Debian) เป็นชุดของซอฟต์แวร์เสรีที่พัฒนาโดยอาสาสมัครภายใต้โครงการเดเบียน ภายใต้โครงการนี้มีเดเบียนลินุกซ์ (Debian GNU/Linux) ที่ใช้ลินุกซ์เป็นเคอร์เนล และใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในโครงการ GNU ประกอบกันเป็นระบบปฏิบัติการ เดเบียนมีชื่อเสียงในฐานะที่เป็นลินุกซ์ดิสทริบิวชันแรกที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาด้วยชุมชนล้วน ๆ โดยไม่มีเอกชนอยู่เบื้องหลัง มีการสร้างสัญญาประชาคม บทนิยามซอฟต์แวร์เสรี และแนวนโยบายที่ชัดเจนทั้งทางเทคนิคและการบริหารงาน กลายเป็นต้นแบบให้กับชุมชนอื่น ๆ ต่อมา รวมถึงปริมาณแพกเกจในโครงการมากกว่า 37,000 แพกเกจ และรองรับสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์มากกว่า 11 ชนิด ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่คอมพิวเตอร์ฝังตัว ไปจนถึงเมนเฟรม มีลินุกซ์ดิสทริบิวชันจำนวนมากที่นำเดเบียนไปพัฒนาต่อ อย่างเช่น อูบุนตู หรือ Knoppix เป็นต้น.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและเดเบียน · ดูเพิ่มเติม »

เคดีอี

KDE หรือชื่อเต็ม K Desktop Environment เป็นสภาพแวดล้อมในการทำงานแบบเดสก์ท็อป (Desktop Environment) ที่เป็นซอฟต์แวร์เสรี พัฒนาบนทูลคิท Qt ของบริษัท Trolltech และทำงานได้บนระบบปฏิบัติการตระกูลยูนิกซ์เกือบทุกรุ่น เช่น ลินุกซ์, BSD, AIX และ Solaris รวมถึงมีรุ่นที่ใช้งานได้บน Mac OS X และไมโครซอฟท์วินโดวส์ KDE มีโครงการพี่น้องที่พัฒนาไปพร้อมกันอย่าง KDevelop ซึ่งเป็นชุดเครื่องมือสำหรับการพัฒนาโปรแกรม และ KOffice ชุดโปรแกรมสำนักงาน ในรุ่น 4.1 ได้แก้ไขในเรื่องบั๊กทั้งหมดและหน้าตาของชุดตกแต่งพลาสมา รวมถึงการตั้งค่า TaskBar ดีมากยิ่งขึ้น และส่วนการติดต่อที่ค่อนข้างจะสมบูรณ์กว่า KDE 4.0.X ปัจจุบันรุ่น 4.8.0.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและเคดีอี · ดูเพิ่มเติม »

เซคันด์ไลฟ์

ซคันด์ไลฟ์ (Second Life: SL) เป็นโลกเสมือนบนอินเทอร์เน็ต เริ่มให้บริการเมื่อราว พ.ศ. 2546 พัฒนาโดยบริษัทลินเดนรีเสิร์ช (นิยมเรียกกันว่า ลินเดนแล็บ) และได้รับความสนใจในทางสากลผ่านสื่อข่าวเป็นกระแสหลักในช่วงปลายปี พ.ศ. 2549 ถึงต้นปี พ.ศ. 2550 สามารถใช้บริการเซคันด์ไลฟ์ผ่านทางโปรแกรมลูกข่ายที่ชื่อว่า Second Life Viewer ซึ่งดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์หลัก ผู้ใช้งานแต่ละคนจะเรียกว่า ผู้อาศัย (Resident) ซึ่งสามารถสื่อสารหรือแสดงปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้คนอื่นผ่านการแสดงออกของอวตาร (avatar) โปรแกรมดังกล่าวเป็นระดับการพัฒนาขั้นสูงของบริการเครือข่ายเชิงสังคมผสานเข้ากับมุมมองทั่วไปของเมทาเวิร์ส (metaverse) ผู้อาศัยแต่ละคนสามารถสำรวจ พบปะกับผู้อาศัยอื่น คบหาสมาคม มีส่วนร่วมในกิจกรรมส่วนบุคคลหรือเป็นกลุ่ม สร้างและซื้อขายไอเทม (ทรัพย์สินเสมือน) หรือให้บริการใดๆ บนเซคันด์ไลฟ์ เซคันด์ไลฟ์เป็นหนึ่งในโลกเสมือนที่ได้รับแรงบันดาลใจจากความเคลื่อนไหวทางวรรณกรรมที่เรียกว่า ไซเบอร์พังก์ (cyberpunk) และนวนิยายของนีล สตีเฟนสัน (Neal Stephenson) เรื่อง Snow Crash จุดมุ่งหมายของลินเดนแล็บคือสร้างโลกใหม่ที่คล้ายเมทาเวิร์สซึ่งสตีเฟนสันอธิบายไว้ว่า เป็นโลกที่ผู้ใช้งานสร้างขึ้นเอง และผู้คนสามารถมีปฏิสัมพันธ์ เล่นด้วยกัน ทำธุรกิจ หรือการสื่อสารอย่างอื่น เซคันด์ไลฟ์มีหน่วยเงินเป็นของตัวเองเรียกว่า ลินเดนดอลลาร์ (Linden Dollar: L$) และสามารถแลกเปลี่ยนได้กับหน่วยเงินจริงเป็นดอลลาร์สหรัฐ ในตลาดที่ประกอบด้วย ผู้อาศัย ลินเดนแล็บ และบริษัทในชีวิตจริง แม้เซคันด์ไลฟ์จะถูกเรียกว่าเกมในบางครั้ง แต่ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ ถึงแม้อาจจัดได้ว่าเป็นเกมอย่างหนึ่งที่พื้นฐานที่สุด แต่เซคันด์ไลฟ์ก็ไม่มีแต้ม คะแนน ผู้ชนะหรือผู้แพ้ ระดับ กลยุทธ์ในการจบเกม หรือคุณสมบัติอื่นใดที่จะระบุว่าเป็นเกม แต่ถึงกระนั้น ในโลกของเซคันด์ไลฟ์อาจมีเกมให้เล่นด้วยก็ได้ โปรแกรมนี้เป็นเพียงสภาพแวดล้อมเสมือนที่วางโครงสร้างไว้บางส่วน ที่ซึ่งตัวละครจะต้องรับผิดชอบกิจกรรมใดๆ ด้วยตัวเอง เพื่อความบันเทิงส่วนตัว บัญชีผู้ใช้ทั้งหมดของเซคันด์ไลฟ์ได้รับการลงทะเบียนมากกว่า 8.5 ล้านบัญชี ถึงแม้ว่าจะมีหลายบัญชีที่ไม่ได้ใช้งาน ผู้อาศัยบางคนก็อาจมีบัญชีมากกว่าหนึ่ง และไม่มีตัวเลขใดที่ได้รับรายงานอย่างเป็นทางการ ถึงอย่างไรก็ตามสิ่งที่เด่นชัดก็คือ เซคันด์ไลฟ์มีคู่แข่งหลายโปรแกรมที่โดดเด่น เช่น อิมวู (IMVU), แทร์ (There), แอ็กทีฟเวิลด์ส (Active Worlds) และเรดไลต์เซนเทอร์ (Red Light Center).

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและเซคันด์ไลฟ์ · ดูเพิ่มเติม »

เซนต์โอเอส

เซนต์โอเอส หรือ เซนตอส (CentOS) เป็นลินุกซ์ ที่พัฒนาต่อมาจากเรดแฮต (เรดแฮท เอ็นเทอร์ไพรซ์ ลินุกซ์) โดยอยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์แบบซอฟต์แวร์เสรี ใช้เป็นทั้งเซิร์ฟเวอร์หรือเวิร์กสเตชันได้ตามการใช้งาน โดยเซนต์โอเอส นั้นสามารถทำงาน 100% Compatible ของ RedHat Enterprise Linux หมวดหมู่:ระบบปฏิบัติการ.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและเซนต์โอเอส · ดูเพิ่มเติม »

เซเลสเทีย

วเสาร์จากหน้าจอโปรแกรม Celestia เซเลสเทีย (Celestia) เป็นซอฟต์แวร์เสรี ด้านดาราศาสตร์ ใช้ได้ทั้งบนระบบไมโครซอฟท์ วินโดวส์ แมคโอเอส และ ลินุกซ์ ภายใต้เงื่อนไขโครงการกนู โปรแกรมนี้ออกแบบโดย Chris Laurel โดยใช้ฐานข้อมูลดวงดาวจากรายชื่อวัตถุท้องฟ้าของฮิปปาร์คอส (Hipparcos Catalogue) ผู้ใช้โปรแกรมสามารถมองภาพดาวเทียม ดาว จนถึงกลุ่มดาว เคลื่อนที่ได้อย่างอิสระด้วย OpenGL นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถจำลองภาพการเดินทางไปในอวกาศได้เหมือนจริง และสามารถดาวโหลดโปรแกรม add-on เพิ่มเติมได้ องค์การอวกาศยุโรป (ESA) และ องค์การนาซา ก็ใช้โปรแกรมเซเลสเทียภายในหน่วยงาน จุดเด่นของโปรแกรมเซเลสเทียคือ ผู้ใช้สามารถสร้างวัตถุขึ้นมาได้ด้วยตัวเอง เป็นฟอร์แมท 3ds (3D Studio Max) กำหนดพื้นผิวของวัตถุได้เอง และกำหนดรูปแบบการเคลื่อนที่ของวัตถุได้ จึงมีผู้ใช้จำนวนมากเขียน add-on ขึ้นมาเอง เพื่อแสดงภาพยานอวกาศในจินตนาการ เช่น ยานอวกาศจากภาพยนตร์สตาร์ วอร์ส, 2001 จอมจักรวาล หรือแม้แต่จรวดสำรวจดวงจันทร์ในหนังสือการ์ตูน ตินตินผจญภัย ซึ่งสามารถดาวโหลดได้จากเว็บไซต.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและเซเลสเทีย · ดูเพิ่มเติม »

เน็ตบีเอสดี

น็ตบีเอสดี (NetBSD) คือระบบปฏิบัติการแบบเหมือนยูนิกซ์ (Unix-like) โดยสืบทอดมาจาก BSD โดย NetBSD เป็นซอฟต์แวร์เสรี โดยเป็นระบบปฏิบัติการตัวที่สองในตระกูล BSD ที่เปิดเผยซอร์สโค้ดสู่สาธารณะ (หลังจาก 386BSD) และพัฒนายังคงต่อเนื่องเรื่อยมา จุดเด่นที่สำคัญของ NetBSD คือ สามารถรันได้บนแพลทฟอร์มจำนวนมาก และการออกแบบระบบที่ดี NetBSD จึงถูกนำไปใช้กับระบบฝังตัว (embedded systems) นอกจากนี้มันยังเป็นจุดเริ่มต้นในการพอร์ตระบบปฏิบัติการอื่นไปสู่สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์แบบใหม่อีกด้ว.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและเน็ตบีเอสดี · ดูเพิ่มเติม »

Big Buck Bunny

Big Buck Bunny (ในชื่อเล่นว่า Peach) เป็นภาพยนตร์สั้นสร้างขึ้นโดยใช้คอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ Blender Institute ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Blender Foundation และเช่นเดียวกับภาพยนตร์เรื่องแรกของ Blender Foundation เรื่อง Elephants Dream ภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ใช้ซอฟต์แวร์เสรีในการสร้างทั้งหมด ได้แก่ กนู/ลินุกซ์อูบุนตู เบลนเดอร์ กิมป์ โปรแกรมแปลคำสั่งภาษาไพทอน จาก มูลนิธิซอฟต์แวร์ไพทอน และ SVN โดยได้เริ่มสร้างในเดือนตุลาคม..

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและBig Buck Bunny · ดูเพิ่มเติม »

Common Desktop Environment

Common Desktop Environment หรือ CDE เป็น ซอฟต์แวร์กรรมสิทธิ์ desktop environment ที่ทำงานบน ยูนิกซ์, โดยใช้วิจิททูลคิทที่ชื่อ MotifMotif พัฒนาร่วมกันโดย ฮิวเลตต์-แพคการ์ด ไอบีเอ็ม โนเวลล์ และ ซัน ไมโครซิสเต็มส์ CDE ได้รับการยอมรับว่าเป็น de facto standard สำหรับ UNIX desktop มาโดยตลอด, จนกระทั่งช่วงปี 2000, desktop environment ที่เป็นซอฟต์แวร์เสรี เช่น KDE และ กโนม (GNOME) ได้รับการพัฒนาเติบโตขึ้นมากแล้ว จนแทบจะกลายเป็นมาตรฐานสำหรับระบบ กนู/ลินุกซ์ ที่มีฐานผู้ใช้เยอะกว่ามาก ปี 2001 ฮิวเลตต์-แพคการ์ด (HP-UX) และ ซัน (โซลาริส) ประกาศว่าจะเลิกใช้ CDE และหันมาสนับสนุน กโนม แทน แต่ปี 2003 ฮิวเลตต์-แพคการ์ด เปลี่ยนใจกลับมาใช้ CDE อีก โดยให้เหตุผลว่า API ของกโนม เปลี่ยนแปลงบ่อย และตัวระบบเองก็ไม่ค่อยเสถียรเท่าที่ควร.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและCommon Desktop Environment · ดูเพิ่มเติม »

GNU Privacy Guard

GNU Privacy Guard หรือที่เรียกว่า GnuPG หรือ GPG เป็นโปรแกรมในการเข้ารหัสข้อมูล เพื่อป้องกันการบุกรุกทางข้อมูลและเพื่อทำให้ข้อมูลนั้นมีความปลอดภัยมากขึ้น GnuPG เป็นโปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานแทนทื่โปรแกรม PGP หรือ Pretty Good Privacy เนื่องจาก PGP นั้นมีข้อจำกัดเรื่องสัญญาอนุญาตและสิทธิบัตรซอฟต์แวร์ โดย GnuPG ใช้มาตรฐาน RFC 4880 ของ IETF ซึ่งเป็นมาตรฐานของ OpenPGP โดยรุ่นล่าสุดของ PGP นั้นสามารถทำงานร่วมกับ GnuPG และระบบอื่น ๆที่เป็น OpenPGP ได้ ซึ่งในตัวเวอร์ชันเก่าของ PGP ไม่สามารถสนับสนุนการทำงานของโปรแกรมได้ทั้งหมด GPG เป็นโปรแกรมที่พัฒนาโดย Free Software Foundation โดยได้รับเงินทุนสนับสนุนจากรัฐบาลของประเทศเยอรมัน ภายใต้เงื่อนไขของเวอร์ชันที่ 3 ของ GNU General Public License ดังนั้นจึงทำให้ GPG เป็นซอฟต์แวร์เสรีที่สามารถแจกจ่ายแก้ไขดัดแปลงได้โดยเสรี.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและGNU Privacy Guard · ดูเพิ่มเติม »

JFire

JFire เป็นระบบ ERP รวมกับ CRM ที่เปิดตัวครั้งแรกเมื่อเดือนมกราคม 2549 ภายใต้เงื่อนไขของ LGPL JFire จึงเป็นซอฟต์แวร์เสรี ที่ทุกคนสามารถที่จะเปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือแจกจ่ายต่อได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ JFire ทั้งหมดถูกเขียนขึ้นโดยใช้ Java และเทคโนโลยีอื่น ๆ เช่น Java EE 1.4 (J2EE เดิม) JDO 2, Eclipse RCP 3 ดังนั้นในส่วนของผู้ใช้และส่วนของเซิฟเวอร์สามารถพัฒนาต่อได้อย่างง่ายดาย และการปรับให้เข้ากับหน่วยงานหรือบริษัทหนึ่ง ๆ นั้นก็ทำได้โดยง่ายดายเช่นกัน JFire ขณะนี้เป็นรุ่นที่อยู่ในขั้นกำลังพัฒนาระดับ beta ประกอบด้วยส่วนจัดการพื้นฐานที่สำคัญได้แก่ โมดูลการจัดการโดยผู้ใช้ โมดูลบัญชี โมดูลจัดการร้านค้า โมดูลสำหรับออนไลน์เทรดดิ้ง (ผ่านระบบเว็บชอป) เครื่องมือในการสร้างกราฟิกสองมิติ และ plugin อื่นๆที่มีประโยชน์ โมดูลการทำรายงานอยู่บนฐานของ BIRT ที่สามารถจัดการแก้ไขรูปแบบรายงาน สถิติ และเอกสารอื่น ๆ (เช่น ใบจัดซื้อจัดจ้าง ใบเสนอราคา เอกสารเรียกเก็บเงิน เป็นต้น) แม้ว่าเป้าหมายหลักของโครงการนี้คือการสร้าง framework ที่มีเสถียรภาพและยืดหยุ่น เพื่อสะดวกในการดัดแปลงแก้ไขในการประยุกต์ใช้กับส่วนงานเฉพาะด้าน แต่ก็มีการจัดหาโมดูลเพื่องานอื่นๆสำหรับกิจการขนาดเล็กและขนาดกลางด้วย เนื่องจาก JFire เป็นระบบที่พัฒนาโดยใช้ JDO ในส่วนการจัดการฐานข้อมูล ทำให้เป็นอิสระต่อระบบฐานข้อมูล (DBMS) ที่ใช้ และเปิดช่องให้ใช้ SQL ได้ด้วย นอกจากนั้นการใช้ JDO ทำให้สามารถใช้ฐานข้อมูลแบบ DBMS ชนิดอื่นได้ (เช่น object databases) ในการนำเอา JFire ไปใช้ จะได้ JDO2/JPOX ไปด้วยซึ่งสามารถใช้งานกับ relational databasesและ db4o ด้วย แม้ว่า JavaEE, JDO และ Eclipse RCP จะมีข้อดีหลายอย่าง แต่ก็ยังจะมีข้อเสีย นั่นคือต้องการระยะเวลาในการอบรมที่นานกว่าเทคโนโลยีก่อน ๆ อยู่บ้าง เมื่อเทียบกับ SQL.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและJFire · ดูเพิ่มเติม »

Miro

Miro ชื่อเดิมคือ Democracy Player และ DTV เป็นแอปพลิเคชันในลักษณะโทรทัศน์อินเทอร์เน็ต พัฒนาโดยมูลนิธิวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม (Participatory Culture Foundation - PCF) มันสามารถดาวน์โหลดวีดิทัศน์โดยอัตโนมัติจาก "ช่อง" ที่ใช้เทคโนโลยี RSS พร้อมทั้งจัดการและเล่นวีดิทัศน์เหล่านั้น ตัวโปรแกรมพัฒนาขึ้นบน XULRunner และเป็นซอฟต์แวร์เสรี Democracy Player ทำงานได้บน Windows, OS X, และ GNU/Linux โดยตัวมันได้รวมเอาความสามารถของ RSS aggregator, BitTorrent client และโปรแกรมเล่นสื่อ VLC (หรือ Xine สำหรับ GNU/Linux) Democracy Player เป็นส่วนหนึ่งของ Democracy TV Platform ซึ่งรวม Broadcast Machine และ Video Bomb อยู่ด้ว.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและMiro · ดูเพิ่มเติม »

SQLObject

SQLObject เป็นตัวส่งระหว่างโมเดลเชิงวัตถุและเชิงสัมพันธ์ระหว่างฐานข้อมูลเอสคิวแอลและวัตถุภาษาไพทอน SQLObject ได้รับความนิยมในชุมชนผู้ใช้และยังเป็นส่วนหนึ่งของโครงการอื่นๆ (เช่น เทอร์โบเกียร์) SQLObject คล้ายกับ Active Record ของ Ruby On Rails มาก ในการดำเนินการ SQLObject ใช้นิยามของคลาสเพื่อกำหมดรูปแบบของตารางซึ่งสมบัติการสะท้อนและความไดนามิกมีประโยชน์มาก SQLObject ใช้ได้กับโปรแกรมฐานข้อมูลที่เป็นที่นิยมหลายโปรแกรม ได้แก่ MySQL PostgreSQL SQLite Sybase SQL Server MaxDB Microsoft SQL Server และ Firebird SQLObject เป็นซอฟต์แวร์เสรีที่มีสัญญาอนุญาตแบบ LGPL.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและSQLObject · ดูเพิ่มเติม »

Stet

stet เป็นชุดซอฟต์แวร์เสรีสำหรับรวบรวมความคิดเห็นเกี่ยวกับเอกสารข้อความผ่านทางหน้าเว็บ สร้างขึ้นเมื่อต้นปี พ.ศ. 2549 โดยมูลนิธิซอฟต์แวร์เสรี (FSF) เพื่อใช้ในการทำประชาพิจารณ์ สำหรับการปรับปรุงสัญญาอนุญาต GNU General Public License ซึ่งเป็นสัญญาอนุญาตซอฟต์แวร์เสรี ที่กำหนดข้อตกลงที่ให้ซอฟต์แวร์เสรีจำนวนมากสามารถแจกจ่ายได้ ในการที่จะเพิ่มความคิดเห็นนั้น ผู้ใช้จะต้องเลือกคำจำนวนหนึ่งหรือประโยค ๆ หนึ่งจากตัวเอกสาร ก่อนที่จะใส่ความคิดเห็น โดยเป็นที่คาดหวังว่า ข้อกำหนดนี้จะช่วยให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับเอกสารนั้นเฉพาะเจาะจงยิ่งขึ้น ความคิดเห็นที่ผ่านมาทั้งหมดจะปรากฏแก่ผู้ใช้ทุกคน และส่วนของเอกสารที่มีผู้แสดงความคิดเห็นมาก ก็จะถูกทำให้เด่นด้วยสีอ่อน-เข้ม ตามจำนวนความคิดเห็น stet สร้างด้วยจาวาสคริปต์ XSLT และ ภาษาเพิร์ล ใช้บางส่วนของซอฟต์แวร์ Request Trackerstet พัฒนาโดย Orion Montoya สำหรับมูลนิธิซอฟต์แวร์เสรี สำหรับกระบวนการร่างสัญญาอนุญาต GNU General Public License รุ่นที่สาม ผ่านเว็บท.

ใหม่!!: ซอฟต์แวร์เสรีและStet · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Free software

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »