โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ชาวฮัน

ดัชนี ชาวฮัน

จักรวรรดิฮันทางตะวันตกที่ครอบคลุมตั้งแต่สเต็ปป์ของเอเชียกลางไปจนถึงเยอรมนีปัจจุบันและตั้งแต่ทะเลดำไปจนถึงทะเลบอลติก ชาวฮัน (Huns) หรือ ชาวซฺยง (匈人 ซฺยงเหริน) เป็นกลุ่มชาติพันธ์เร่ร่อนในทุ่งกว้างที่ปรากฏตั้งแต่เลยจากแม่น้ำวอลกาออกไปผู้โยกย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานในยุโรปตั้งแต่ราว..

23 ความสัมพันธ์: ชาววิซิกอทบูดอชนบัลการ์กลุ่มชนเตอร์กิกการพลัดถิ่นกำแพงเมืองจีนภาษาฮันวาลคิรีศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานสมัยกลางสาธารณรัฐเวนิสสงครามกอธิค (ค.ศ. 376-382)อัตติลาอาสนวิหารตูลจักรวรรดิฮันทรานซิลเวเนียต้นสมัยกลางซฺยงหนูประวัติศาสตร์เอเชียกลางประเทศเยอรมนีนักบุญสเทเฟนโอซีเยกเซมุน

ชาววิซิกอท

้นทางการอพยพของชาววิซิกอท วิซิกอท (Visigoths, Visigothi, Wisigothi, แปลว่า "กอทตะวันตก") เป็นหนึ่งในชาติพันธุ์สองสาขาหลักของชาวกอท ซึ่งเป็นชนเผ่าเจอร์มานิคตะวันออกกลุ่มหนึ่ง โดยอีกสาขาหนึ่งในกลุ่มนี้คือชาวออสโตรกอทหรือ "กอทตะวันออก" สันนิษฐานกันว่าชาวกอททั้งสองสาขานี้มีต้นกำเนิดอยู่แถบประเทศยูเครนในปัจจุบัน ชาววิซิกอทเป็นหนึ่งในอนารยชนกลุ่มชนเจอร์มานิคต่าง ๆ ที่เข้ามารุกรานจักรวรรดิโรมันตอนปลายในสมัยการอพยพ เนื่องจากประชากรที่เพิ่มจำนวนขึ้น ความขาดแคลนอาหาร ประกอบกับการถูกกดดันจากอนารยชนชาวฮัน ที่มาจากเอเชียกลาง จนกระทั่งในปี ค.ศ. 410 กองทัพวิซิกอทที่นำโดยพระเจ้าอาลาริกที่ 1 ประสบความสำเร็จในการพิชิตกรุงโรม และหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกเป็นต้นมา ชาววิซิกอทก็มีบทบาทสำคัญในด้านต่าง ๆ ของภูมิภาคยุโรปตะวันตกอยู่เป็นเวลานานถึงสองศตวรรษครึ่ง.

ใหม่!!: ชาวฮันและชาววิซิกอท · ดูเพิ่มเติม »

บูดอ

ปราสาทบูดอ บูดอ (Buda) หรือ โอเฟิน (Ofen) เป็นพื้นที่ด้านตะวันตกของกรุงบูดาเปสต์ (บูดอเปชต์) ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศฮังการี ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำดานูบ ชื่อเมืองตั้งตามเบลดาประมุขชาวฮั่นที่มีเป็นภาษาฮังการีว่า "บูดอ" โรมันตั้งชื่อเมืองนี้ว่า "อากวินกุม" (Aquincum) บูดอมีเนื้อที่หนึ่งในสามของบูดาเปสต์ที่เป็นบริเวณที่เป็นป่าโปร่งและเนิน และมักจะเป็นบริเวณที่มีความเป็นอยู่ดีกว่าทางฝั่งตะวันออกแต่ก็ขึ้นอยู่กับบริเวณ สิ่งก่อสร้างที่สำคัญที่สุดที่เห็นได้เด่นชัดคือปราสาทบูดอบนเนินซิทาเดลลา (Citadella).

ใหม่!!: ชาวฮันและบูดอ · ดูเพิ่มเติม »

ชนบัลการ์

ัยชนะของทหารบัลการ์ในการต่อสู้กับทหารฝ่ายไบแซนไทน์ในคริสต์ศตวรรษที่ 10 ชนบัลการ์ หรือ ชนโบลการ์ (Bulgars, หรือ Bolgars, หรือ Bulghars, หรือ Proto-Bulgarians, ภาษาฮั่น-Bulgars) เป็นกลุ่มชาติพันธ์กึ่งเร่ร่อนที่อาจจะสืบเชื้อสายมาจากชนเตอร์กิกที่เดิมมาจากเอเชียกลาง ที่มาเริ่มเข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณต่างๆ ในยุโรปตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 2 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 ชนบัลการ์ก่อก่อตั้งรัฐเกรตบัลแกเรีย, วอลกาบัลแกเรีย และ จักรวรรดิบัลแกเรียที่ 1 ในบริเวณต่างๆ ในยุโรปสามบริเวณ ภาษาบัลการ์ที่ใช้ในพูดกันในบรรดาชนชั้นสูงเป็นภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มเตอร์กิกซึ่งกับภาษาฮั่น คาซาร์ และ เตอร์กิกอวาร์เป็นหนึ่งในสาขาOghuricของภาษากลุ่มเตอร์กิกEncyclopaedia Britannica Online - หลังจากการโยกย้าถิ่นฐานมาจากเอเชียกลางชนบัลการ์ก็มาตั้งถิ่นฐานในบริเวณเสต็ปป์ (steppe) ทางตอนเหนือของCaucasusและในบริเวณรอบฝั่งแม่น้ำวอลกา (ต่อมา คอเคซัส) ระหว่าง..

ใหม่!!: ชาวฮันและชนบัลการ์ · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มชนเตอร์กิก

กลุ่มชนเตอร์กิก (Turkic peoples) เป็นกลุ่มชนยูเรเชียที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ทางตอนเหนือ กลาง และตะวันตกของยูเรเชียผู้พูดภาษาที่อยู่ในตระกูลภาษากลุ่มเตอร์กิก, Encyclopædia Britannica, Online Academic Edition, 2008 ชนในกลุ่มชนเตอร์กิกมีลักษณะวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์บางอย่างร่วมกัน คำว่า “เตอร์กิก” เป็นคำที่ใช้แทนกลุ่มชาติพันธุ์/ภาษา (ethno-linguistic group) ของชาติพันธุ์ของสังคมที่ยังคงมีอยู่ในปัจจุบันเช่นชาวอาเซอร์ไบจาน, ชาวคาซัคสถาน, ชาวตาตาร์, ชาวคีร์กีซ, ชาวตุรกี, ชาวเติร์กเมน, ชาวอุยกูร์, ชาวอุซเบกิสถาน, ชาวฮาซารา, ชาวการากัลปัก ชาวโนกาย ชาวการาเชย์-บัลการ์ ชาวตาตาร์ไซบีเรีย ชาวตาตาร์ไครเมีย ชาวชูวาช ชาวตูวัน ชาวบัชกีร์ ชาวอัลไต ชาวยาคุตส์ ชาวกากาอุซ และรวมทั้งประชาชนในรัฐและจักรวรรดิเตอร์กิกในอดีตเช่นฮั่น, บัลการ์, คูมัน, ชนอาวาร์, เซลจุค, คาซาร์, ออตโตมัน, มามลุค, ติมูริด และอาจจะรวมทั้งซฺยงหนู (Xiongnu).

ใหม่!!: ชาวฮันและกลุ่มชนเตอร์กิก · ดูเพิ่มเติม »

การพลัดถิ่น

ียนแสดงการอพยพของชาวไอริช ราว ค.ศ. 1868 การพลัดถิ่น (Diaspora) คำว่า “Diaspora” มาจากภาษากรีก “διασπορά” ที่แปลว่า “การหว่าน” เป็นคำที่หมายถึงการโยกย้ายของประชากรที่มีชาติพันธุ์เดียวกันเป็นกลุ่มใหญ่ ที่อาจจะเกิดจากการถูกบังคับให้ทำการโยกย้าย หรือ เลือกที่จะโยกย้ายถิ่นฐานโดยความตั้งใจของตนเองจากถิ่นฐานที่อยู่เดิมไปตั้งถิ่นฐานและเป็นพลเมืองในดินแดนใหม่ที่มักจะไกลจากถิ่นฐานที่ตั้งอยู่เดิม “การพลัดถิ่น” แตกต่างจากวัฒนธรรมของผู้เร่ร่อน และใกล้เคียงกับการเป็นผู้ลี้ภัย (Refugee) มากกว่า แต่การลี้ภัยอาจจะเป็นการโยกย้ายไปตั้งถิ่นฐานอย่างถาวรในดินแดนใหม่หรือไม่ก็ได้ คำว่า “การพลัดถิ่น” แตกต่างจากการลี้ภัยที่หมายถึงกลุ่มผู้ที่พลัดจากบ้านเกิดเมืองนอนที่ไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในดินแดนใหม่อย่างเป็นการถาวร คำนี้นิยมใช้กับการอพยพของชนกลุ่มใหญ่ที่อาจจะมีสาเหตุมาจากการบังคับให้โยกย้าย หรือจากปัญหาทางเศรษฐกิจที่ทำให้มีความจำเป็นต้องไปหาที่ตั้งถิ่นฐานใหม่ก็ได้ ความเปลี่ยนแปลงทางสังคม การวิวัฒนาการทางวัฒนธรรมของผู้พลัดถิ่นที่ไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในดินแดนอื่น ก็อาจจะแตกต่างไปจากการวิวัฒนาการของชนกลุ่มเดียวกันในบ้านเกิดเมืองนอนที่ทิ้งมา การรักษาวัฒนธรรม ประเพณี นอกจากนั้นปัจจัยต่างๆ ของแต่ละกลุ่มก็จะต่างระดับกันไป แต่แนวโน้มโดยทั่วไปแล้วความผูกพันทางวัฒนธรรมของกลุ่มผู้พลัดถิ่นมักจะดำเนินไปในรูปของการต่อต้านความเปลี่ยนแปลงของภาษาและในการรักษาประเพณีการปฏิบัติทางศาสนาเช่นที่เคยทำกันมาในประเทศบ้านเกิดอย่างเหนียวแน่นโดยเฉพาะในชั่วคนรุ่นแรก.

ใหม่!!: ชาวฮันและการพลัดถิ่น · ดูเพิ่มเติม »

กำแพงเมืองจีน

ราชวงศ์ฉิน กำแพงเมืองจีน ("ฉางเฉิง", Great Wall of China) เป็นกำแพงที่มีป้อมคั่นเป็นช่วง ๆ ของจีนสมัยโบราณ กำแพงส่วนใหญ่ที่ปรากฏในปัจจุบันสร้างขึ้นในสมัย ราชวงศ์ฉิน ทั้งนี้เพื่อป้องกันการรุกรานจาก ชาวฮัน หรือ ซฺยงหนู คำว่า ซฺยงหนู บางทีก็สะกดว่า ซุงหนู หรือ ซวงหนู ที่เป็นไม้เบื่อไม้เมากับอารยธรรมจีนในยุคต้นๆ ตั้งแต่สมัยราชวงศ์โจว (ราว 400 ปีก่อนคริสตกาล) เนื่องจากจะเข้ามารุกรานจีนตามแนวชายแดนทางเหนือ ในสมัยราชวงค์ฉิน ได้สั่งให้สร้างกำแพงหมื่นลี้ตามชายแดน เพื่อป้องกันพวกซยงหนูเข้ามารุกรานและพวกเติร์กจากทางเหนือ หลังจากนั้นยังมีการสร้างกำแพงต่ออีกหลายครั้งด้วยกัน แต่ภายหลังก็มีเผ่าเร่ร่อนจากมองโกเลียและแมนจูเรียสามารถบุกฝ่ากำแพงเมืองจีนได้สำเร็จ กำแพงเมืองจีนยังคงเรียกว่า กำแพงหมื่นลี้ ("ว่านหลี่ฉางเฉิง") สำนักงานมรดกวัฒนธรรมแห่งชาติจีน ประกาศเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ว่านักโบราณคดีได้ตรวจวัดความยาวของสิ่งก่อสร้างจากน้ำมือมนุษย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกหรือ "กำแพงเมืองจีน" อย่างเป็นทางการนานร่วม 5 ปี ตั้งแต่ 2008-2012 และพบว่ายาวกว่าที่บันทึกไว้เดิมกว่า 2 เท่า หรือ 21,196.18 กิโลเมตร จากเดิม 8,850 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 15 มณฑลทั่วประเทศ และนับเป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก ยุคกลาง ด้วย มีความเชื่อกันว่า หากมองเมืองจีนจากอวกาศจะสามารถเห็นกำแพงเมืองจีนได้ ซึ่งในความเป็นจริงไม่สามารถมองเห็นจากอวกาศได้.

ใหม่!!: ชาวฮันและกำแพงเมืองจีน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฮัน

ภาษาฮัน เป็นภาษาที่ตายแล้วของชาวฮัน ความสัมพันธ์กับภาษาอื่น ๆ ยังไม่ชัดเจน โดยทั่วไปจัดให้อยู่ในตระกูลภาษาตระกูลภาษาอัลไตอิก ใกล้เคียงกับภาษาชูวาส ซึ่งเป็นตระกูลภาษาอัลไตอิกที่ได้รับอิทธิพลจากตระกูลภาษาฟินโน-ยูราลลิก (เช่นภาษาฮังการี) โดยทั้งสองภาษานี้เป็นลูกหลานของกลุ่มภาษาเตอร์กิกชนิด r และ l เหมือนกัน ในขณะที่ ภาษากลุ่มเตอร์กิกอื่นๆจัดอยู่ในชนิด z และ s ฮัน.

ใหม่!!: ชาวฮันและภาษาฮัน · ดูเพิ่มเติม »

วาลคิรี

วาด "Valkyrie's Vigil" ในตำนานนอร์ส วาลคิรี (อังกฤษ: valkyrie, นอร์ส: valkyrja) เป็นเทพธิดาที่รับใช้ โอดินโดยมีหน้าที่นำนักรบที่ตายในสงครามไปที่ วัลฮัลลา (Valhalla) เพื่อพบกับโอดิน และมาเป็น Einherjar สู้ศึกในสงครามแร็กนาร็อก สงครามสิ้นโลกระหว่างเทพเจ้าและปีศาจ ในทางศิลปะ วาลคิรีมักจะถูกกล่าวถึงในสัญลักษณ์ของความสวยงาม โดยจะมีลักษณะนางฟ้าหญิง สวมหมวกนักรบถือหอกและขี่บนหลังม้าที่มีปีก วาลคิรีนั้นสามารถแปลงร่างเป็นหงส์ได้ วาลคิรีนั้นสามารถแต่งงานกับมนุษย์ได้ แต่นั่นจะทำให้เสียอำนาจวิเศษของเทพธิดาไป.

ใหม่!!: ชาวฮันและวาลคิรี · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐาน

ลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐาน (Migration Period art) เป็นงานศิลปะของกลุ่มชนเจอร์มานิคระหว่างสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานในยุโรป ระหว่าง ค.ศ. 300 จนถึง ค.ศ. 900 ที่รวมทั้งศิลปะของกลุ่มชนเจอร์มานิคเองบนภาคพื้นยุโรป และ “ศิลปะไฮเบอร์โน-แซ็กซอน” หรือ “ศิลปะเกาะ” ซึ่งเป็นศิลปะผสานระหว่างศิลปะของชาวแองโกล-แซ็กซอน และ ชาวเคลต์บนหมู่เกาะบริติช ลักษณะของศิลปะก็ครอบคลุมหลายลักษณะตั้งแต่ “ลักษณะพหุรงค์” และ “ลายรูปสัตว์” ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานเป็นสมัยประวัติศาสตร์ศิลปะที่สำคัญของศิลปะยุคกลาง.

ใหม่!!: ชาวฮันและศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐาน · ดูเพิ่มเติม »

สมัยกลาง

แบบจำลองของหมวกหุ้มเกราะซึ่งถูกพบที่ซัททันฮู ในหลุมศพของผู้นำชาวแองโกล-แซกซัน สันนิษฐานว่าเป็นกษัตริย์ราวปี ค.ศ. 620 ในช่วงต้นสมัยกลางNees ''Early Medieval Art'' pp. 109–112 สมัยกลาง หรือ ยุคกลาง (Middle Ages) คือช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ยุโรป ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยปกติแล้วเริ่มนับตั้งแต่การล่มสลายลงของจักรวรรดิโรมันตะวันตก (การสิ้นสุดของสมัยคลาสสิก) จนถึงจุดเริ่มตั้นของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และยุคแห่งการสำรวจ ซึ่งเป็นยุคที่นำไปสู่สมัยใหม่ในเวลาต่อมา สมัยกลางคือช่วงเวลาตรงกลางของกระบวนการเปลี่ยนผ่านในประวัติศาสตร์ตะวันตกคือ สมัยคลาสสิก สมัยกลาง และสมัยใหม่ นอกจากนี้สมัยกลางยังถูกแบ่งออกเป็นสามช่วงเวลาคือ ต้นสมัยกลาง (Early Middle Ages), สมัยกลางยุครุ่งโรจน์ (High Middle Ages) และปลายสมัยกลาง (Late Middle Ages) ในยุคกลางตอนต้น การลดลงของประชากร, การหดตัวของเมือง และการรุกรานจากอนารยชน เริ่มต้นขึ้นในยุคโบราณตอนปลายและดำเนินไปอย่างรวดเร็ว เหล่าอนารยชนผู้บุกรุกเข้าตั้งอาณาจักรของตนในส่วนที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 แอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันตะวันออก ได้กลายไปเป็นจักรวรรดิอิสลามหลังจากถูกยึดครองโดยผู้สืบทอดของนบีมุฮัมมัด แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและโครงสร้างทางการเมืองมากมาย แต่ก็ไม่ได้เปลี่ยนไปจากยุคโบราณคลาสสิคอย่างสิ้นเชิง จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ยังคงอยู่รอดและรักษาอำนาจของตนเอาไว้ได้ นอกจากนี้แล้วอาณาจักรเกิดใหม่ส่วนใหญ่ยังคงเกี่ยวพันอยู่กับสถาบันที่หลงเหลืออยู่ของชาวโรมัน ในขณะที่วัดวาอารามของคริสต์ศาสนาได้แผ่ขยายไปทั่วยุโรปตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 และ 8 ชาวแฟรงก์ภายใต้การปกครองของราชวงศ์การอแล็งเฌียงได้สถาปนาจักรวรรดิขึ้นซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันตกมีนามว่า จักรวรรดิการอแล็งเฌียง ซึ่งยืนยงไปจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 9 เมื่อจักรวรรดิล่มสลายลงจากแรงงกดดันของการรุกรานจากภายนอก เช่น ชาวไวกิงจากทางเหนือ ชาวแมกยาร์จากทางตะวันออก และชาวซาราเซนจากทางใต้ ช่วงต้นสมัยกลางซึ่งเริ่มขึ้นหลังคริสต์ศตวรรษที่ 10 ประชากรของยุโรปขยายตัวอย่างมากจากการที่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีและทางการเกษตรทำให้การค้าขายเจริญรุ่งเรืองและการทำเรือกสวนไร่นาขยายตัว ระบบมาเนอร์ - องค์กรของชาวนาตามหมู่บ้านที่ติดค้างค่าเช่าที่ดินและหน้าที่ด้านแรงงานแก่ขุนนาง และระบบเจ้าขุนมูลนาย - โครงสร้างทางการเมืองที่ซึ่งอัศวินและขุนนางศักดิ์ต่ำกว่าติดค้างหน้าที่ด้านการทหารแก่เจ้านายผู้มีศักดิ์สูงกว่าของพวกเขาแลกกับสิทธิ์ในการเก็บค่าเช่าที่ดินและชาวนาใต้ปกครอง สองระบบนี้คือระเบียบของสังคมที่ใช้กันในยุคกลางตอนกลาง ต่อมาอาณาจักรเริ่มรวมศูนย์อำนาจมากขึ้นภายหลังการล่มสลายลงของจักรวรรดิคาโรแล็งเชียง สงครามครูเสดซึ่งเริ่มขึ้นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: ชาวฮันและสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐเวนิส

รณรัฐอันสงบสุขเป็นที่สุดแห่งเวนิส หรือ สาธารณรัฐเวนิส (Republic of Venice หรือ Venetian Republic, Serenissima Repubblica di Venezia) เป็นรัฐที่เริ่มขึ้นในเมืองเวนิสที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศอิตาลี สาธารณรัฐเวนิสรุ่งเรืองอยู่กว่าหนึ่งพันปีตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 7 จนกระทั่งถึงปี..

ใหม่!!: ชาวฮันและสาธารณรัฐเวนิส · ดูเพิ่มเติม »

สงครามกอธิค (ค.ศ. 376-382)

งครามกอธิค (ค.ศ. 376–382) (Gothic War (376–382)) เป็นสงครามระหว่าง จักรวรรดิโรมันที่นำโดยจักรพรรดิวาเลนส์และจักรพรรดิธีโอโดเซียสที่ 1ฝ่ายหนึ่งและกอธ ชนอลัน และ ฮั่น ที่นำโดยฟริติเกิร์น, อลาเธียส, ซาแฟร็กซ และ ฟาร์โนเบียสอีกฝ่ายหนึ่ง สงครามกอธิคเริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 376 และสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 382 ผลของสงครามกอธ อลัน และ ฮั่นได้รับความพ่ายแพ้อย่างย่อยยับ สงครามกอธิคเป็นสงครามต่อเนื่องที่เกิดจากการที่ชนกอธเข้ารุกรานและปล้นสดมในบริเวณตะวันออกของจักรวรรดิโรมันในคาบสมุทรบอลข่าน สงครามครั้งนี้โดยเฉพาะในยุทธการอาเดรียโนเปิลเป็นจุดที่เปลี่ยนประวัติศาสตร์ของจักรวรรดิโรมัน การรุกรานของอนารยชนเป็นครั้งแรกที่ต่อเนื่องกันมาหลังจากนั้นเป็นเวลาอีกหนึ่งร้อยปีเป็นปัจจัยสำคัญในการนำมาซึ่งการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันในที.

ใหม่!!: ชาวฮันและสงครามกอธิค (ค.ศ. 376-382) · ดูเพิ่มเติม »

อัตติลา

อัตติลา หรือที่ใช้อ้างอิงส่วนใหญ่ อัตติลาเดอะฮัน (Attila the Hun) (ค.ศ. 406 – ค.ศ. 453) เป็นจักรพรรดิชาวฮันผู้ครองจักรวรรดิฮัน (Hunnic Empire) ซึ่งประกอบไปด้วยกลุ่มชนเผ่าต่างๆทั้ง ฮัน ออสโตรกอท อลานส์ และเผ่าอนารยชนอื่นๆ ในดินแดนยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก ระหว่าง ค.ศ. 434 จนถึงเดือนมีนาคม ค.ศ. 453 ที่พระองค์ได้เสด็จสวรรคตลง ในรัชสมัยของพระองค์สามารถครอบครองดินแดนตั้งแต่ ประเทศเยอรมนีไปจนถึงแม่น้ำยูรัล และจากแม่น้ำดานูบไปจนถึงทะเลบอลติก กินพื้นที่มากกว่า 4 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นการครอบครองดินแดนที่มากที่สุดอาณาจักรหนึ่งในยุคมืด ในรัชสมัยการปกครองของอัตติลาทรงเป็นประมุขผู้สร้างความหวาดหวั่นและถือเป็นศัตรูที่อันตรายที่สุดแก่จักรวรรดิโรมันตะวันออกและจักรวรรดิโรมันตะวันตก พระองค์ทรงรุกรานคาบสมุทรบอลข่านถึงสองครั้ง แต่พระองค์ไม่สามารถรุกรานกรุงคอนสแตนติโนเปิลได้สำเร็จ และจากผลพวงของการพ่ายแพ้ในเปอร์เซีย ในปี..

ใหม่!!: ชาวฮันและอัตติลา · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารตูล

อาสนวิหารตูล (Cathédrale de Toul) เรียกชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญสเทเฟนแห่งตูล (Cathédrale Saint-Étienne de Toul) เป็นอาสนวิหารในนิกายโรมันคาทอลิก สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญสเทเฟน (ปฐมมรณสักขี) ตั้งอยู่ในเขตเมืองเก่าของตูล จังหวัดเมอร์เตมอแซล ในแคว้นกร็องแต็สต์ ประเทศฝรั่งเศส เป็นที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลน็องซี-ตูลร่วมกับอาสนวิหารแม่พระรับสารและนักบุญซีฌแบร์แห่งน็องซี อาสนวิหารแห่งนี้เป็นหนึ่งตัวอย่างของอาคารกอทิกที่สวยงามและสมบูรณ์ โดยเฉพาะหน้าบันทางเข้าทิศตะวันตก อีกทั้งยังเป็นงานสถาปัตยกรรมชิ้นเอกแบบกอทิกแบบฟล็องบัวย็องซึ่งรวมถึงระเบียงคดแบบกอทิก ซึ่งถือว่าเป็นระเบียงคดแห่งที่ใหญ่ที่สุดอันดับสองในประเทศฝรั่งเศส นอกจากนั้นยังมีชาเปลแบบสถาปัตยกรรมฟื้นฟูศิลปวิทยาอีก 2 แห่งด้วย อาสนวิหารแห่งนี้ได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ. 1840 (รายชื่อครั้งที่ 1).

ใหม่!!: ชาวฮันและอาสนวิหารตูล · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิฮัน

ักรวรรดิฮัน (Hunnic Empire) เป็นจักรวรรดิที่ก่อตั้งโดยชาวฮัน ฮันเป็นสมาพันธ์ของกลุ่มชนยูเรเชียที่ส่วนใหญ่อาจจะพูดภาษากลุ่มเตอร์กิกที่มีลักษณะอื่นที่มาจากภาษากลุ่มอื่นผสม ฮันที่มาจากทุ่งหญ้าสเตปป์ในเอเชียกลางเป็นกลุ่มชนที่มีความสามารถทางการใช้อาวุธที่ก้าวหน้ากว่าชนกลุ่มอื่นในช่วงเวลานั้นซึ่งทำให้สามารถเข้ารุกรานและยึดครองอาณาบริเวณต่างๆ ของชนเผ่าอื่น ได้เป็นจำนวนมหาศาล หลังจากกลางคริสต์ศตวรรษที่ 4 ชนฮันก็เริ่มอพยพเข้ามาในบริเวณยุโรปจากทางแม่น้ำวอลกา มาเริ่มการรุกรานโดยการโจมตีชนอาลานี (Alani) ผู้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณที่ราบระหว่างแม่น้ำวอลกาและแม่น้ำดอน หลังจากนั้นก็สามารถโค่นจักรวรรดิของออสโตรกอธที่ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำดอน และแม่น้ำนีสเตอร์ได้ ราวปี ค.ศ. 376 ฮันก็ได้รับชัยชนะต่อวิซิกอธผู้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณโรเมเนียปัจจุบันซึ่งก็เท่ากับมาถึงเขตแดนแม่น้ำดานูบของจักรวรรดิโรมัน การโยกย้ายถิ่นฐานครั้งใหญ่เข้ามาในยุโรปของฮันที่นำโดยอัตติลาเป็นการนำมาซึ่งความวุ่นวายทางการเมืองและการเปลี่ยนแปลงทางชาติพันธุ์ครั้งสำคัญของยุโรป.

ใหม่!!: ชาวฮันและจักรวรรดิฮัน · ดูเพิ่มเติม »

ทรานซิลเวเนีย

ทรานซิลเวเนียสีเหลืองบนแผนที่ของโรมาเนียกับเขตแดนของประเทศต่างๆ ภูมิภาคประวัติศาสตร์ บานัต, คริซานา และ มารามัวร์ส สีเหลืองเข้ม ทรานซิลเวเนีย (Transylvania, Ardeal หรือ Transilvania; Erdély) เป็นภูมิภาคประวัติศาสตร์ที่ตั้งอยู่ทางตอนกลางของโรมาเนีย โดยมีเขตแดนด้านตะวันออกและทางใต้ติดต่อกับ เทือกเขาคาร์เพเธียน (Carpathian mountains) ทางตะวันตกจรดเทือกเขาอพูเซนิ (Apuseni Mountains) แต่ “ทรานซิลเวเนีย” ที่ใช้กันมักจะรวมบริเวณที่เลยไปจากตัวทรานซิลเวเนียเองและภูมิภาคประวัติศาสตร์ของบริเวณบานัต, คริซานา (Crişana) และ มารามัวร์ส (Maramureş) ทรานซิลเวเนียเดิมเป็นศูนย์กลางของราชอาณาจักรดาเซีย (82 ก.ค.ศ. - ค.ศ. 106) ในปี..

ใหม่!!: ชาวฮันและทรานซิลเวเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ต้นสมัยกลาง

ักรพรรดินีธีโอโดรา พระอัครมเหสีในจักรพรรดิจัสติเนียนที่ 1 ในงานโมเสกของคริสต์ศตวรรษที่ 6 ภายในมหาวิหารซันวีตาเล เมืองราเวนนา หนังสือสำหรับพิธีศาสนาจากคริสต์ศตวรรษที่ 8 (หอสมุดวาติกัน, Reg. Lat. 316. foll. 131v/132r) ต้นสมัยกลาง (Early Middle Ages) เป็นสมัยหนึ่งในประวัติศาสตร์ยุโรป เริ่มขึ้นหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันและดำเนินต่อเนื่องกันเป็นเวลาประมาณห้าร้อยปีโดยเริ่มตั้งแต่ราวปี ค.ศ. 500 จนกระทั่งมาถึงราวปี ค.ศ. 1000 ต้นสมัยกลางสิ้นสุดแล้วจึงต่อด้วยสมัยกลางยุครุ่งโรจน.

ใหม่!!: ชาวฮันและต้นสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ซฺยงหนู

thumb ซฺยงหนู ตามสำเนียงกลาง หรือ เฮงโน้ว ตามสำเนียงฮกเกี้ยน เป็นชื่อเรียกกลุ่มชนโบราณซึ่งมีพวกร่อนเร่เป็นพื้น และตั้งตัวกันเป็นรัฐหรือสหพันธรัฐ อยู่ในภาคเหนือของประเทศจีน ข้อมูลข่าวสารส่วนใหญ่เกี่ยวกับพวกซฺยงหนูจึงมาจากจีน กับทั้งชื่อเสียงเรียงนามของคนเหล่านั้นก็เป็นที่ทราบกันไม่มาก จึงใช้ตามที่จีนทับศัพท์มาจากภาษาซฺยงหนูอีกทอดหนึ่ง อัตลักษณ์ของแกนกลางทางชาติพันธุ์ซฺยงหนูนั้นเป็นแต่สมมุมติฐานกันไปในหลายทาง เพราะภาษาซฺยงหนู โดยเฉพาะชื่อแซ่บุคคลนั้น ปรากฏในแหล่งข้อมูลจีนน้อยมาก นักวิชาการเสนอว่า คนซฺยงหนูอาจใช้ภาษาเติร์ก (Turkic), มองโกล (Mongolic), เยนีเซย์ (Yeniseian), Beckwith 2009: 404-405, nn.

ใหม่!!: ชาวฮันและซฺยงหนู · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์เอเชียกลาง

แผนที่เอเชียกลางแสดงเขตแดนตามคำนิยามที่ต่างกัน 3 แบบ ''Equus przewalskii'' หรือม้าป่ามองโกเลีย, หรือทาคี, อาจเป็นบรรพบุรุษของม้าบ้าน. ประวัติศาสตร์เอเชียกลาง คือ ประวัติศาสตร์ของดินแดนเอเชียกลาง ซึ่งเป็นบริเวณที่ทำการเกษตรได้ยากและอยู่ห่างไกลจากทะเล ทำให้ถูกตัดขาดจากเส้นทางการค้า เมืองใหญ่ๆจึงเกิดขึ้นน้อย ชนร่อนเร่ที่เชี่ยวชาญการขี่ม้าเป็นกลุ่มชนหลักในทุ่งหญ้าสเตปป์ และความสัมพันธ์ระหว่างชนร่อนเร่และกลุ่มชนอื่นๆในเอเชียกลางเต็มไปด้วยความขัดแย้ง ทักษะในการขี่ม้าของพวกเขาทำให้กลายเป็นนักรบที่มีประสิทธิภาพกลุ่มหนึ่งของโลก ผู้นำเผ่าจะเป็นผู้จัดการนำเผ่าย่อย ๆ มารวมกันเป็นกองทัพ ตัวอย่างของกลุ่มชนเหล่านี้ เช่น ชาวฮันที่เข้ารุกรานยุโรป กลุ่มชนเตอร์กิกที่อพยพเข้าสู่ทรานโซเซียนา(Transoxiana) พวกหูทั้ง 5 ชนกลุ่ม(Five Barbarians)ที่โจมตีจักรวรรดิฮั่น และชาวมองโกลที่มีอิทธิพลในเอเชียและยุโรป ความโดดเด่นของชนร่อนเร่สิ้นสุดลงในพุทธศตวรรษที่ 21 เมื่ออาวุธสมัยใหม่เข้ามามีบทบาทในสงคราม จักรวรรดิรัสเซีย ราชวงศ์หมิงของจีน และมหาอำนาจอื่นเข้าครอบครองเอเชียกลางทั้งหมดในพุทธศตวรรษที่ 24 หลังการปฏิวัติรัสเซี..

ใหม่!!: ชาวฮันและประวัติศาสตร์เอเชียกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเยอรมนี

ประเทศเยอรมนี (Germany; Deutschland ดอยฺชลันฺท) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Federal Republic of Germany; Bundesrepublik Deutschland) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐแบบรัฐสภาในยุโรปกลาง มีรัฐองค์ประกอบ 16 รัฐ มีพื้นที่ 357,021 ตารางกิโลเมตร และมีภูมิอากาศตามฤดูกาลแบบอบอุ่นเป็นส่วนใหญ่ มีประชากรประมาณ 82 ล้านคน ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในสหภาพยุโรป ประเทศเยอรมนีเป็นจุดหมายการเข้าเมืองยอดนิยมอันดับสองในโลกรองจากสหรัฐ เมืองหลวงและมหานครใหญ่สุดของประเทศคือ กรุงเบอร์ลิน ขณะที่เขตเมืองขยายใหญ่สุด คือ รูร์ โดยมีศูนย์กลางหลักดอร์ทมุนด์และเอสเซิน นครหลักอื่นของประเทศ ได้แก่ ฮัมบวร์ค มิวนิก โคโลญ แฟรงก์เฟิร์ต ชตุทท์การ์ท ดึสเซิลดอร์ฟ ไลพ์ซิจ เบรเมิน เดรสเดิน ฮันโนเฟอร์และเนือร์นแบร์ก ประเทศนี้มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเชิงเสรีภาพและรัฐสวัสดิการ พรมแดนทางทิศเหนือติดทะเลเหนือ เดนมาร์ก และทะเลบอลติก ทิศตะวันออกติดโปแลนด์และเช็กเกีย ทิศใต้ติดออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ ทิศตะวันตกติดฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ มีเมืองหลวงและเมืองใหญ่ของประเทศคือเบอร์ลิน เยอรมนีมีประชากรประมาณ 80 ล้านคนและเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นประชากรสูงสุดแห่งหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นประเทศที่มีคนย้ายถิ่นมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก หลังจากที่สหรัฐอเมริกาเยอรมนีเป็นปลายทางการย้ายถิ่นที่สองได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก เยอรมนีเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและยังก่อตั้งสหภาพการเงินกับสมาชิกในสหภาพยุโรปอีก 17 ประเทศ โดยใช้ชื่อว่ายูโรโซน เยอรมนีเป็นสมาชิกของกลุ่ม UNO, OECD, NATO, G7 และ G20 เยอรมนีเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อประเทศอื่นๆในยุโรปและเป็นประเทศที่มีความสามารถที่จะแข่งขันในระดับโลก หากวัดจากผลผลิตมวลรวมภายในประเทศแบบปกติแล้ว เยอรมนีเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก ในปี 2012 เป็นประเทศที่มีการนำเข้าส่งออกมากที่สุดเป็นอันดับสาม ดัชนีการพัฒนามนุษย์ถือว่าสูงมาก.

ใหม่!!: ชาวฮันและประเทศเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

นักบุญสเทเฟน

นักบุญสเทเฟนกำลังเทศน์ นักบุญสเทเฟน (Saint Stephen; Στέφανος Stephanos) เป็นนักบุญและมรณสักขีในศาสนาคริสต์ เสียชีวิตเมื่อราว..

ใหม่!!: ชาวฮันและนักบุญสเทเฟน · ดูเพิ่มเติม »

โอซีเยก

อซีเยก (Osijek; Eszék; Esseg) คือเมืองใหญ่อันดับที่สี่ของประเทศโครเอเชีย ตั้งอยู่ในภูมิภาคทางทิศตะวันออกของโครเอเชียที่เรียกว่าสลาโวเนีย (Slavonija; Slavonia) ใกล้กับชายแดนประเทศฮังการีและประเทศเซอร์เบีย มีแม่น้ำดราวาเป็นแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่านเมือง ได้รับการยกย่องอย่างไม่เป็นทางการว่าเป็นเมืองหลวงของภูมิภาคสลาโวเนีย ด้านประวัติศาสตร์โอซีเยกมีอายุยืนยาวติดต่อกันมากว่า 800 ปี ผ่านการปกครองจากหลายอาณาจักรทั้งราชอาณาจักรฮังการี, อาณาจักรออตโตมัน, ฮับส์บูร์ก, ออสเตรีย-ฮังการี รวมถึง ยูโกสลาเวีย ในช่วงทศวรรษที่ 90 โอซีเยกเป็นหนึ่งในเมืองซึ่งได้รับความเสียหายมากที่สุดในสงครามการประกาศอิสรภาพของโครเอเชีย ทำให้เมืองซึ่งเคยเฟื่องฟูในฐานะเมืองอุตสาหกรรมหลักแห่งนึงของรัฐโครเอเชียในสหพันธรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวียประสบกับปัญหาความซบเซาทางเศรษฐกิจ แม้กระทั่งทุกวันนี้ก็ยังไม่ฟื้นตัวดีนัก ปัจจุบันนี้ด้วยประชากรราวๆ 108,000 คน โอซีเยกจึงเป็นศูนย์กลางการปกครองของเขตโอซีเยก-บารานยา เป็นที่ตั้งของสนามบินเพียงแห่งเดียวในภูมิภาคสลาโวเนียตะวันออก มีความสำคัญในฐานะศูนย์รวมความเจริญทางเศรษฐกิจ การศึกษา วัฒนธรรม ศาสนา การคมนาคม และการท่องเที่ยว.

ใหม่!!: ชาวฮันและโอซีเยก · ดูเพิ่มเติม »

เซมุน

ซมุน (Zemun.; Земун.) เป็นแขวงย่อย 1 ในทั้งหมด 17 แขวงซึ่งประกอบกันเข้าเป็นเขตปกครองพิเศษใต้อำนาจการปกครองของกรุงเบลเกรด โดยอยู่ทางทิศตะวันตกของใจกลางกรุงเบลเกรดข้ามแม่น้ำซาวาไปทางฝั่งซ้ายและมีแม่น้ำดานูบเป็นเส้นแบ่งเขตของแขวงเซมุนออกจากแขวงปาลิลูลาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ แต่เดิมมา ประวัติศาสตร์ของเซมุนนั้นเป็นเมืองซึ่งแยกออกจากเบลเกรดโดยสิ้นเชิง เคยเป็นเมืองชายแดนระหว่างรัฐมาหลายยุค โดยเฉพาะความสำคัญที่สุดของเซมุนในหน้าประวัติศาสตร์คือช่วงตั้งแต่หลังสนธิสัญญาเบลเกรดในปี..

ใหม่!!: ชาวฮันและเซมุน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

HunHunnicHunnishHunsชนฮันชนฮั่น

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »