โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อัตติลา

ดัชนี อัตติลา

อัตติลา หรือที่ใช้อ้างอิงส่วนใหญ่ อัตติลาเดอะฮัน (Attila the Hun) (ค.ศ. 406 – ค.ศ. 453) เป็นจักรพรรดิชาวฮันผู้ครองจักรวรรดิฮัน (Hunnic Empire) ซึ่งประกอบไปด้วยกลุ่มชนเผ่าต่างๆทั้ง ฮัน ออสโตรกอท อลานส์ และเผ่าอนารยชนอื่นๆ ในดินแดนยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก ระหว่าง ค.ศ. 434 จนถึงเดือนมีนาคม ค.ศ. 453 ที่พระองค์ได้เสด็จสวรรคตลง ในรัชสมัยของพระองค์สามารถครอบครองดินแดนตั้งแต่ ประเทศเยอรมนีไปจนถึงแม่น้ำยูรัล และจากแม่น้ำดานูบไปจนถึงทะเลบอลติก กินพื้นที่มากกว่า 4 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นการครอบครองดินแดนที่มากที่สุดอาณาจักรหนึ่งในยุคมืด ในรัชสมัยการปกครองของอัตติลาทรงเป็นประมุขผู้สร้างความหวาดหวั่นและถือเป็นศัตรูที่อันตรายที่สุดแก่จักรวรรดิโรมันตะวันออกและจักรวรรดิโรมันตะวันตก พระองค์ทรงรุกรานคาบสมุทรบอลข่านถึงสองครั้ง แต่พระองค์ไม่สามารถรุกรานกรุงคอนสแตนติโนเปิลได้สำเร็จ และจากผลพวงของการพ่ายแพ้ในเปอร์เซีย ในปี..

13 ความสัมพันธ์: ชาวฮันชนบัลการ์การพบปะระหว่างพระสันตะปาปาเลโอกับอัตติลามหึมาพิพิธภัณฑ์ ดับเบิ้ลมันส์ทะลุโลกรายชื่อสิ่งมีชีวิตที่ตั้งชื่อตามผู้มีชื่อเสียงห้องราฟาเอลอติล่า กานโยซ์จักรวรรดิฮันจัสตา กราตา โฮโนเรียจูเซปเป แวร์ดีประวัติศาสตร์ฝรั่งเศสปริสกุสเจอราร์ด บัตเลอร์

ชาวฮัน

จักรวรรดิฮันทางตะวันตกที่ครอบคลุมตั้งแต่สเต็ปป์ของเอเชียกลางไปจนถึงเยอรมนีปัจจุบันและตั้งแต่ทะเลดำไปจนถึงทะเลบอลติก ชาวฮัน (Huns) หรือ ชาวซฺยง (匈人 ซฺยงเหริน) เป็นกลุ่มชาติพันธ์เร่ร่อนในทุ่งกว้างที่ปรากฏตั้งแต่เลยจากแม่น้ำวอลกาออกไปผู้โยกย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานในยุโรปตั้งแต่ราว..

ใหม่!!: อัตติลาและชาวฮัน · ดูเพิ่มเติม »

ชนบัลการ์

ัยชนะของทหารบัลการ์ในการต่อสู้กับทหารฝ่ายไบแซนไทน์ในคริสต์ศตวรรษที่ 10 ชนบัลการ์ หรือ ชนโบลการ์ (Bulgars, หรือ Bolgars, หรือ Bulghars, หรือ Proto-Bulgarians, ภาษาฮั่น-Bulgars) เป็นกลุ่มชาติพันธ์กึ่งเร่ร่อนที่อาจจะสืบเชื้อสายมาจากชนเตอร์กิกที่เดิมมาจากเอเชียกลาง ที่มาเริ่มเข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณต่างๆ ในยุโรปตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 2 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 ชนบัลการ์ก่อก่อตั้งรัฐเกรตบัลแกเรีย, วอลกาบัลแกเรีย และ จักรวรรดิบัลแกเรียที่ 1 ในบริเวณต่างๆ ในยุโรปสามบริเวณ ภาษาบัลการ์ที่ใช้ในพูดกันในบรรดาชนชั้นสูงเป็นภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มเตอร์กิกซึ่งกับภาษาฮั่น คาซาร์ และ เตอร์กิกอวาร์เป็นหนึ่งในสาขาOghuricของภาษากลุ่มเตอร์กิกEncyclopaedia Britannica Online - หลังจากการโยกย้าถิ่นฐานมาจากเอเชียกลางชนบัลการ์ก็มาตั้งถิ่นฐานในบริเวณเสต็ปป์ (steppe) ทางตอนเหนือของCaucasusและในบริเวณรอบฝั่งแม่น้ำวอลกา (ต่อมา คอเคซัส) ระหว่าง..

ใหม่!!: อัตติลาและชนบัลการ์ · ดูเพิ่มเติม »

การพบปะระหว่างพระสันตะปาปาเลโอกับอัตติลา

ูบทความหลักที่ ห้องราฟาเอล การพบปะระหว่างพระสันตะปาปาเลโอกับอัตติลา (ภาษาอังกฤษ: The Meeting of Leo the Great and Attila) เป็นจิตรกรรมฝาผนังที่เขียนโดยราฟาเอลผู้เป็นจิตรกรสมัยเรอเนซองส์ คนสำคัญชาวอิตาลีที่เขียนในปี ค.ศ. 1514 เป็นภาพหนึ่งในชุดภาพที่ราฟาเอลได้รับสัญญาให้วาดสำหรับวังพระสันตะปาปาในนครรัฐวาติกัน ซึ่งเป็นงานจิตรกรรมสำหรับตกแต่งห้องชุดที่ปัจจุบันเรียกว่า “ห้องราฟาเอล” ราฟาเอลเขียนภาพนี้โดยมีจุยลิโอ โรมาโนเป็นผู้ช่วย ภาพนี้ตั้งอยู่ภายใน “ห้องเอลิโอโดโร” (Stanza di Eliodoro) ที่ตั้งชื่อตามภาพ “การขับเฮลิโอโดรัสจากวัด” “การพบปะระหว่างพระสันตะปาปาเลโอกับอัตติลา” ตั้งอยู่ภายใน“ห้องคอนแสตนติน” (Sala di Costantino) เป็นภาพที่แสดงการพบปะระหว่างสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 1 และอัตติลา โดยมีนักบุญปีเตอร์และนักบุญพอลแห่งทาซัสปรากฏอยู่บนท้องฟ้าถือดาบ ในตอนแรกราฟาเอลใช้ใบหน้าของสมเด็จพระสันตะปาปาจูเลียสที่ 2 เป็นแบบสำหรับพระสันตะปาปาเลโอ แต่เมื่อพระสันตะปาปาจูเลียสสิ้นพระชนม์ ราฟาเอลก็เปลี่ยนใบหน้าเป็นพระสันตะปาปาองค์ใหม่--สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10.

ใหม่!!: อัตติลาและการพบปะระหว่างพระสันตะปาปาเลโอกับอัตติลา · ดูเพิ่มเติม »

มหึมาพิพิธภัณฑ์ ดับเบิ้ลมันส์ทะลุโลก

มหึมาพิพิธภัณฑ์ ดับเบิ้ลมันส์ทะลุโลก (Night at The Museum: Battle of the Smithsonian) เป็นภาพยนตร์ภาคต่อจากคืนมหัศจรรย์...พิพิธภัณฑ์มันส์ทะลุโลก โดยเล่าถึงลาร์รี่ ยามหนุ่มผู้ต้องเข้ามาช่วยกู้โลกโดยได้รับความร่วมมือจากเหล่ารูปปั้นเพื่อนเก่า ของ.

ใหม่!!: อัตติลาและมหึมาพิพิธภัณฑ์ ดับเบิ้ลมันส์ทะลุโลก · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อสิ่งมีชีวิตที่ตั้งชื่อตามผู้มีชื่อเสียง

ในการตั้งชื่อทางชีววิทยา สิ่งมีชีวิตมักได้รับชื่อทางวิทยาศาสตร์ที่ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่บุคคล ชั้นอนุกรมวิธาน (taxon) (ตัวอย่างเช่น สปีชีส์ หรือ สกุล) ที่ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่สิ่งอื่นอื่นเรียกว่า eponymous taxon ส่วนชื่อที่ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่บุคคลใดบุคคลนึง หรือกลุ่มคน เรียกว่า patronymic ปกติแล้วชื่อทางวิทยาศาสตร์ได้รับการตีพิมพ์อย่างเป็นทางการในวารสารที่มีการตรวจสอบโดยคณะผู้เชี่ยวชาญ โดยมีคำบรรยายชื่อชั้นอนุกรมวิธานและวิธีบอกความแตกต่างกับชั้นอนุกรมวิธานอื่น ตามกฎของไวยากรณ์ภาษาละตินชื่อสปีชีส์หรือชนิดย่อยที่มาจากชื่อผู้ชายส่วนใหญ่ลงท้ายด้วย -i หรือ -ii หากตั้งชื่อตามคนบุคคลและ -orum หากตั้งชื่อตามกลุ่มผู้ชายหรือชายหญิง เช่น ครอบครัว ในทางคล้ายกัน ชื่อที่ตั้งตามผู้หญิงล้วนลงท้ายด้วย -ae หรือ -arum สำหรับผู้หญิงสองคนหรือมากกว่า รายชื่อนี้มีสิ่งมีชีวิตที่ตั้งชื่อตามบุคคลหรือคณะที่มีชื่อเสียง (รวมไปถึงวงดนตรี และคณะนักแสดง) แต่ไม่รวมบริษัท สถาบัน กลุ่มชาติพันธุ์หรือชาติ และสถานที่ซึ่งมีคนอยู่มาก ไม่รวมถึงสิ่งมีชีวิตที่ตั้งชื่อตามตัวละครในนวนิยาย นักชีววิทยา หรือนักวิทยาศาสตร์อื่น ๆ หรือคนในครอบครัวของนักวิจัยที่อาจไม่เป็นที่รู้จัก ชื่อวิทยาศาสตร์อยู่ในรูปแบบที่บรรยายไว้ดั้งเดิม.

ใหม่!!: อัตติลาและรายชื่อสิ่งมีชีวิตที่ตั้งชื่อตามผู้มีชื่อเสียง · ดูเพิ่มเติม »

ห้องราฟาเอล

“อาดัมและอีฟ” จิตรกรรมฝาผนังบนเพดานใน “ห้องเซนยาทูรา” แม้ว่างานส่วนใหญ่ในห้องราฟาเอลจะเชื่อกันว่าเป็นงานเขียนของผู้ช่วยของราฟาเอลแต่เชื่อกันว่าภาพนี้เขียนโดยราฟาเอลเอง “เทพีแห่งความยุติธรรม”จิตรกรรมฝาผนังบนเพดานใน “ห้องเซนยาทูรา” ห้องราฟาเอล (ภาษาอังกฤษ: Raphael Rooms หรือ Stanze di Raffaello) เป็นห้องชุดสี่ห้องภายในห้องชุดที่ประทับของพระสันตะปาปาภายในวังพระสันตะปาปาในนครรัฐวาติกัน เป็นห้องชุดที่มีชื่อเสียงจากจิตรกรรมฝาผนังที่เขียนโดยราฟาเอลและผู้ช่วย จิตรกรรมฝาผนังในห้องราฟาเอลและในชาเปลซิสตินโดยไมเคิล แอนเจโลถือกันว่าเป็นงานชิ้นเอกของศิลปะเรอเนซองส์ในกรุงโรม “ห้อง” (Stanze) ที่ใช้เรียกเดิมตั้งใจจะเป็นห้องที่ประทับของสมเด็จพระสันตะปาปาจูเลียสที่ 2 พระองค์ทรงจ้างราฟาเอลผู้ขณะนั้นยังเป็นจิตรกรที่ยังหนุ่มจากเออร์บิโนและผู้ช่วยระหว่างปี ค.ศ. 1508 - ค.ศ. 1509 ให้ตกแต่งภายในห้องชุดใหม่ทั้งหมด ซึ่งอาจจะทรงประสงค์ที่จะทำให้ดีกว่าพระสันตะปาปาองค์ก่อนสมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 ผู้ทรงเป็นปรปักษ์ เพราะห้องเหล่านี้อยู่เหนือห้องบอร์เจีย (Borgia Apartment) ของพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์โดยตรงพอดี ห้องชุดราฟาเอลอยู่บนชั้นสามที่มีทิวทัศน์ทางด้านใต้ของลานเบลเวเดียร์ (Cortile del Belvedere) ที่ตั้งของห้องสี่ห้องตั้งจากตะวันออกไปตะวันตกซึ่งทำให้การชมภาพจะไม่ต่อเนื่องตามหัวเรื่องที่เขียนไว้ ห้องชุดสี่ชุดได้แก่ หลังจากการสิ้นพระชนม์ของพระสันตะปาปาจูเลียสในปี ค.ศ. 1513 หลังจากที่ตกแต่งห้องสองห้องเสร็จแล้ว สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10 ก็ทรงดำเนินโครงการต่อ และหลังจากการเสียชีวิตของราฟาเอลในปี ค.ศ. 1520 จานฟรานเชสโค เพ็นนิ, จุยลิโอ โรมาโน และราฟาเอลลิโน เดล โคลเลผู้ช่วยของราฟาเอลก็เขียนภาพในห้อง “ห้องคอนแสตนติน” ต่อจนเสร็.

ใหม่!!: อัตติลาและห้องราฟาเอล · ดูเพิ่มเติม »

อติล่า กานโยซ์

อาร์เธอร์ อภิชาติ กานโยซ์ (Arthur Apichaht Gagnaux; 7 เมษายน พ.ศ. 2535) เป็นที่รู้จักในชื่อ อติล่า (Attila) เป็นนายแบบและครูสอนกังฟูลูกครึ่งไทย-สวิตเซอร์แลนด์ มีชื่อเสียงจากการประกวดรายการเดอะเฟซเมนไทยแลนด์เมื่อปี..

ใหม่!!: อัตติลาและอติล่า กานโยซ์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิฮัน

ักรวรรดิฮัน (Hunnic Empire) เป็นจักรวรรดิที่ก่อตั้งโดยชาวฮัน ฮันเป็นสมาพันธ์ของกลุ่มชนยูเรเชียที่ส่วนใหญ่อาจจะพูดภาษากลุ่มเตอร์กิกที่มีลักษณะอื่นที่มาจากภาษากลุ่มอื่นผสม ฮันที่มาจากทุ่งหญ้าสเตปป์ในเอเชียกลางเป็นกลุ่มชนที่มีความสามารถทางการใช้อาวุธที่ก้าวหน้ากว่าชนกลุ่มอื่นในช่วงเวลานั้นซึ่งทำให้สามารถเข้ารุกรานและยึดครองอาณาบริเวณต่างๆ ของชนเผ่าอื่น ได้เป็นจำนวนมหาศาล หลังจากกลางคริสต์ศตวรรษที่ 4 ชนฮันก็เริ่มอพยพเข้ามาในบริเวณยุโรปจากทางแม่น้ำวอลกา มาเริ่มการรุกรานโดยการโจมตีชนอาลานี (Alani) ผู้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณที่ราบระหว่างแม่น้ำวอลกาและแม่น้ำดอน หลังจากนั้นก็สามารถโค่นจักรวรรดิของออสโตรกอธที่ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำดอน และแม่น้ำนีสเตอร์ได้ ราวปี ค.ศ. 376 ฮันก็ได้รับชัยชนะต่อวิซิกอธผู้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณโรเมเนียปัจจุบันซึ่งก็เท่ากับมาถึงเขตแดนแม่น้ำดานูบของจักรวรรดิโรมัน การโยกย้ายถิ่นฐานครั้งใหญ่เข้ามาในยุโรปของฮันที่นำโดยอัตติลาเป็นการนำมาซึ่งความวุ่นวายทางการเมืองและการเปลี่ยนแปลงทางชาติพันธุ์ครั้งสำคัญของยุโรป.

ใหม่!!: อัตติลาและจักรวรรดิฮัน · ดูเพิ่มเติม »

จัสตา กราตา โฮโนเรีย

ัสตา กราตา โฮโนเรีย (Justa Grata Honoria) จัสตา กราตา โฮโนเรียเป็นพระขนิษฐาของจักรพรรดิวาเล็นติเนียนที่ 3 แห่งจักรวรรดิโรมันตะวันตก จากเหรียญกษาปณ์ทำให้ทราบได้ว่าโฮโนเรียได้รับแต่งตั้งให้เป็น “ออกัสตา” ซึ่งเป็นตำแหน่งสำหรับสตรีเทียบเท่าตำแหน่ง “ออกัสตัส”.

ใหม่!!: อัตติลาและจัสตา กราตา โฮโนเรีย · ดูเพิ่มเติม »

จูเซปเป แวร์ดี

Verdi จูเซปเป ฟอร์ตูนีโน ฟรันเชสโก แวร์ดี (Giuseppe Verdi) เป็นคีตกวีชาวอิตาลี เกิดเมื่อวันที่10 ตุลาคม พ.ศ. 2356 (ค.ศ. 1813) เสียชีวิตเมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2444 (ค.ศ. 1901) โด่งดังจากอุปรากรเรื่อง ลา ทราเวียตตา ไอด้า โอเทลโล ผลงานของเขาได้รับความนิยมอย่างสูงเมื่อเขายังมีชีวิตอยู่ และต่อเนื่องจวบจนปัจจุบัน แวร์ดีเกิดที่หมู่บ้าน Le Roncole ในอำเภอตาโร ซึ่งขณะนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของจักรพรรดินโปเลียน โบนาปาร์ต ในปี พ.ศ. 2367 (ค.ศ. 1824) เขาได้ย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่เมืองบุสเชโต ที่ซึ่งเขาได้เรียนดนตรีกับเฟอร์ดินานโด โปรแวร์สิ เขาได้ประพันธ์ซิมโฟนี ขึ้นมาบทหนึ่งจากเพลงโหมโรงของอุปรากรเรื่อง กัลบกแห่งเมืองเซวิลล์ (Il barbiere di Siviglia) ของ จิโออัคคิโน รอสสินี จากนั้นก็ได้ย้ายไปอยู่ที่นครมิลาน เพื่อสมัครเข้าเรียนที่วิทยาลัยดนตรีแต่ก็ถูกปฏิเสธ เขาจึงเรียนแบบส่วนตัวกับวินเซนโซ ลาวินยา ผลงานประพันธ์อุปรากรเรื่องแรกของเขาคือ Oberto, conte di San Bonifacio (เปิดการแสดงครั้งแรกที่กรุงมิลาน เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2382) ตามด้วยเรื่อง Un giorno di regno (ซึ่งเป็นความพยายามประพันธ์อุปรากรชวนหัวเพียงครั้งเดียว ซึ่งมีเพียง Falstaff อีกเรื่องในช่วงบั้นปลายชีวิตของเขา) แต่เขาประสบความสำเร็จครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2385 (ค.ศ. 1842) จากเรื่อง Nabucco ที่ได้เปิดแสดงที่โรงละครลา สกาล่า ในนครมิลาน โดยมีนักแสดงนำได้แก่จูเซปปินา สเตร็ปโปนี ร้องเสียงโซปราโน ในบทของอาบิไก นักร้องสาวได้กลายเป็นภรรยาน้อยของแวร์ดี เขาได้แต่งงานกับหล่อนในอีกหลายปีให้หลัง ภายหลังการเสียชีวิตของภรรยาของเขา หลังจากที่อุปรากรเรื่อง I Lombardi alla prima crociata (เปิดแสดงครั้งแรกที่นครมิลาน เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2386) ที่มีเนื้อหาบางส่วนเกี่ยวข้องกับสถานการณ์การเมือง เรื่องErnani ก็ประสบความสำเร็จในการเปิดแสดงที่โรงละครลา เฟนิกซ์ ในนครเวนีซเช่นกัน ในปีต่อมา อุปรากรเรื่อง Giovanna d'Arco และ La Forza del Destino ก็ตอกย้ำความโด่งดังของแวร์ดี แต่เขาเห็นว่าการแสดงงานของเขาที่โรงละครลา สกาล่านั้นยังไม่เข้าขั้น เป็นเหตุให้เขาปฏิเสธการเปิดแสดงอุปรากรเรื่องต่อ ๆ มาในมิลาน อันได้แก่เรื่อง Atilla, Alzira และ แมคเบ็ท ในได้ถูกนำออกแสดงในเมืองต่าง ๆ ทั่ว ประเทศอิตาลี ส่วนเรื่อง I Masnadieri นั้นได้ถูกประพันธ์ขึ้นที่กรุงลอนดอน ในขณะที่นครมิลาน พ่ายแพ้และถูกจักรวรรดิออสเตรียเข้ายึดครอง แวร์ดีได้ประพันธ์อุปรากรเรื่อง Il Corsaro, La Battaglia di Legnano และ Luisa Miller รวมทั้งเรื่อง Manon Lescaut ที่แต่งไม่จบ หลังจากข่าวอื้อฉาวเกี่ยวกับบทประพันธ์เรื่อง Stiffelio ในปี พ.ศ. 2394 (ค.ศ. 1851) เรื่อง Rigoletto ก็ประสบความสำเร็จอย่างท่วมท้นในการเปิดแสดงที่โรงละครลา เฟนิกซ์ ในนครเวนีซ ในปี พ.ศ. 2396 (ค.ศ. 1853) เขาประสบความสำเร็จครั้งสำคัญอีกครั้งจากเรื่องIl Trovatore ที่โรงละครอพอลโลในกรุงโรม แต่การเปิดการแสดงภาคภาษาฝรั่งเศสในนครเวนีซไม่ประสบความสำเร็จเท่าใดนัก อุปรากรเรื่องอื่น ๆ ที่ประพันธ์ขึ้นในช่วงนี้ ได้แก่ งูพิษแห่งเกาะซิซิลี (เปิดแสดงที่กรุงปารีส) Aroldo (งานที่สร้างขึ้นมาจากเรื่อง Stiffelioเดิม) และเรื่อง Simon Boccanegra กับ Un ballo in maschera (ที่ถูกห้ามนำออกแสดง) แวร์ดีได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างมากในการรวมชาติของประเทศอิตาลี (เขาได้ประพันธ์บทเพลง Inno delle Nazioni ซึ่งได้รวมเอาเพลงชาติต่าง ๆ ในยุโรปไว้ด้วยกัน เช่น เพลง Fratelli d'Italia Marseillaise และ God Save the King ในปี พ.ศ. 2405 (ค.ศ. 1862) และได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งวุฒิสมาชิก จากนั้นก็ได้นำผลงานเก่ามาแก้ไขเล็กน้อย จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2409 (ค.ศ. 1866) เมื่อDon Carlos ได้ถูกนำออกแสดงครั้งแรกที่กรุงปารีส ในปี พ.ศ. 2415 (ค.ศ. 1872) เมื่อเขานำเรื่องไอด้า ออกแสดงที่โรงละครลา สกาล่าก็ประสบความสำเร็จอย่างท่วมท้น เขาได้ประพันธ์ให้แก่ผู้สำเร็จราชการแห่งอียิปต์กับเนื่องในโอกาสพิธีเปิดโรงละครแห่งใหม่ในกรุงไคโร และสำหรับการเปิดคลองสุเอซ ผลงานของแวร์ดีมีความเป็นชาตินิยมของชาวอิตาลีอยู่ในตัว (เป็นต้นว่าเพลงชาวยิวสำหรับกลุ่มนักร้องประสานเสียงขับร้องในเรื่อง Nabucco ที่มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า Va Pensiero นั้น ได้รับการเสนอให้เป็นเพลงชาติอิตาลีมาอย่างสม่ำเสมอ โดยไม่ได้มีความหมายในเชิงเหยียดเชื้อชาติ) เป็นที่น่าประหลาดใจ เมื่อมีคนพบว่าชื่อของเขา Verdi เป็นตัวอักษรย่อของคำว่า Vittorio Emanuele Re D’Italia (วิคเตอร์ เอ็มมานูเอล กษัตริย์แห่งอิตาลี) ในช่วงเวลาที่ชาวเมืองมิลาน (ซึ่งยังตกอยู่ภายใต้การปกครองของออสเตรีย) ได้เริ่มหันมาสนับสนุนความพยายามรวมชาติอิตาลีของวิคเตอร์ เอ็มมานูเอล กลุ่มแนวร่วมหลบหนีเข้าเมืองได้เริ่มคบคิดที่จะให้กษัตริย์ Sardaigne บุกมิลาน เนื่องจากการกดขี่ของชาวออสเตรียนั้นรุนแรงเกินไป กลุ่มคนเหล่านี้ได้เริ่มการปลุกระดมที่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า « Viva VERDI » (« V.E.R.D.I. จงเจริญ ») แวร์ดีทราบเรื่องการนำชื่อของเขาไปใช้ ซึ่งโดยหลักแล้วเขาควรจะห้าม แต่เขาก็ไม่ได้ห้าม เรื่องราวอื่น ๆ ที่เกี่ยวพันกับการเมืองของแวร์ดีได้ถูกนำเสนอในบทอุปรากรเรื่อง I Lombardi แวร์ดีเสียชีวิตอย่างกะทันหันในปี พ.ศ. 2444 (ค.ศ. 1901) ที่นครมิลาน หลังจากการก่อสร้างคฤหาสน์ Casa di Riposo เสร็จสิ้น (เขาตั้งใจให้เป็นที่พักชั่วคราวของเหล่าศิลปินตกยาก) พีธีศพของเขาจัดขึ้นอย่างอลังการ ผู้เข้าร่วมราว 250,000 คนได้มาแสดงความคารวะต่อปูชนียบุคคลผู้หนึ่งของวงการดนตรีอิตาลี.

ใหม่!!: อัตติลาและจูเซปเป แวร์ดี · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส

ฝรั่งเศสเป็นดินแดนที่เคยอยู่ใต้การปกครองของจักรวรรดิโรมันมาก่อน โดยรู้จักกันในชื่อของชนเผ่า หรือแคว้นกอล ซึ่งเป็นกลุ่มชนเผ่าขนาดใหญ่ที่พูดภาษาเคลท์ ในช่วงท้ายก่อนที่จักรวรรดิโรมันจะล่มสลายลง ดินแดนกอลถูกรุกรานจากทั้งการโจมตีของกลุ่มอนารยชนและการอพยพของกลุ่มคนเร่ร่อน โดยเฉพาะชาวแฟรงก์เชื้อสายเจอร์มานิค พระมหากษัตริย์แฟรงก์นามว่า โคลวิสที่ 1 ได้ทรงรวบรวมดินแดนส่วนมากของกอลภายใต้การปกครองของพระองค๋ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5 นับเป็นจุดเริ่มต้นของอิทธิพลชาวแฟรงก์ในภูมิภาคนี้ที่ดำเนินต่อไปอีกหลายร้อยปี อำนาจของแฟรงก์ดำเนินมาถึงจุดสูงสุดในช่วงของพระเจ้าชาร์เลอมาญ ราชอาณาจักรฝรั่งเศสยุคกลางก็ได้ถือกำเนิดขึ้นจากการเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งทางทิศตะวันตกของจักรวรรดิการอแล็งเฌียงของชาร์เลอมาญ ซึ่งรู้จักกันในนาม ฟรังเกียตะวันตก และเพิ่มพูนอิทธิพลของตนขึ้นเรื่อยมาภายใต้การปกครองของตระกูลกาแปซึ่งก่อตั้งโดยอูก กาแปในปี..

ใหม่!!: อัตติลาและประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ปริสกุส

ปริสกุส (Priscus) เป็นนักการทูต, นักวาทศิลป์, นักโซฟิสต์ และนักประวัติศาสตร์ชาวโรมันในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ปริสกุสเดินทางติดตามมักซิมินุผู้เป็นทูตของจักรพรรดิธีโอโดเซียสที่ 2 ไปยังราชสำนักของอัตติลาในปี..

ใหม่!!: อัตติลาและปริสกุส · ดูเพิ่มเติม »

เจอราร์ด บัตเลอร์

อราร์ด เจมส์ บัตเลอร์ เกิดเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: อัตติลาและเจอราร์ด บัตเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Atila the HunAtillaAttilaAttila the Hunอัตติลาเดอะฮั่น

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »