โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ความเป็นพลเมือง

ดัชนี ความเป็นพลเมือง

วามเป็นพลเมือง (citizenship) คือ สถานภาพของบุคคลที่จารีตประเพณีหรือกฎหมายของรัฐรับรองซึ่งให้แก่สิทธิและหน้าที่แห่งความเป็นพลเมืองแก่บุคคล (เรียก พลเมือง) ซึ่งอาจรวมสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง การทำงานและอาศัยอยู่ในประเทศ สิทธิกลับประเทศ สิทธิครอบครองอสังหาริมทรัพย์ การคุ้มครองทางกฎหมายต่อรัฐบาลของประเทศ และการคุ้มครองผ่านกองทัพหรือการทูต พลเมืองยังมีหน้าที่บางอย่าง เช่น หน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมายของรัฐ จ่ายภาษี หรือรับราชการทหาร บุคคลอาจมีความเป็นพลเมืองมาก และบุคคลที่ไม่มีความเป็นพลเมือง เรียก ผู้ไร้สัญชาติ (stateless) สัญชาติมักใช้เป็นคำพ้องกับความเป็นพลเมืองในภาษาอังกฤษ ที่สำคัญในกฎหมายระหว่างประเทศ แม้คำนี้บางครั้งเข้าใจว่าหมายถึงการเป็นสมาชิกชาติ (กลุ่มชาติพันธุ์ขนาดใหญ่) ของบุคคล ในบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร สัญชาติและความเป็นพลเมืองมีความหมายต่างกัน หมวดหมู่:สัญชาติ หมวดหมู่:การปกครอง หมวดหมู่:มโนทัศน์ทางการเมือง หมวดหมู่:กฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง.

29 ความสัมพันธ์: การพัฒนาการเมืองการกระจายอย่างเป็นธรรมการปฏิวัติฝรั่งเศสการนับรวมทุกกลุ่มคนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2492การเข้าเมืองมุมมองทางการเมืองของโนม ชอมสกีรายชื่อรัฐและดินแดนของสหรัฐเรียงตามจำนวนประชากรสิทธิชนพื้นเมืองสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองสถาบันนิยมสโมสรฟุตบอลอันยางหลักนิติธรรมอำนาจอธิปไตยของปวงชนธงชาติความมั่นคงแห่งชาติความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านความเสมอภาคทางสังคมความเป็นพลเมืองคนต่างด้าวประชาสังคมประชาธิปไตยประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือประชาธิปไตยเชิงเนื้อหาปริมณฑลสาธารณะไพร่เศรษฐกิจสีเขียวเสรีภาพ15 กันยายน

การพัฒนาการเมือง

การพัฒนาการเมือง (อังกฤษ: Political Development) เป็นคำที่เริ่มใช้กันในวงวิชาการรัฐศาสตร์เมื่อทศวรรษที่ 1960 โดยพัฒนามาจากการเรียนการสอนวิชาการเมืองเปรียบเทียบ (comparative politics) การพัฒนาการเมืองใช้เป็นมาตรฐานทางความเชื่อในทางการเมืองในเรื่องที่ว่า การเมืองในประเทศต่างๆต่างก็สามารถพัฒนาเข้าสู่สภาวะทางการเมืองที่ “ดีกว่า” แบบหนึ่ง การวัดการพัฒนาการทางการเมืองบางทีก็เรียกว่า “การทำการเมืองให้มีความทันสมัย (political modernization) ” การศึกษาวิชาการพัฒนาการเมืองมีมโนทัศน์หลักที่สำคัญคือสถาบันทางการเมือง และวัฒนธรรมทางการเมือง.

ใหม่!!: ความเป็นพลเมืองและการพัฒนาการเมือง · ดูเพิ่มเติม »

การกระจายอย่างเป็นธรรม

การกระจายอย่างเป็นธรรม (Distributive Justice) เป็นหลักการพื้นฐานที่สุดที่ใช้กำกับหรือกำหนดโครงสร้างความสัมพันธ์ของคนและสถาบันในสังคม อันเกี่ยวข้องกับการกระจายประโยชน์ และสิ่งที่มีคุณค่าในสังคม การเข้าถึงทรัพยากร รวมถึงโอกาสที่จะได้รับสิทธิบางอย่าง และการกำหนดภาระหน้าที่ให้แก่สมาชิกในสังคม (Kurian, 2011: 446; Rawls, 1971: 4) การกระจายอย่างเป็นธรรมมีหลายแนวคิดแตกต่างกันออกไป เช่น หลักการกระจายที่เน้นความเท่าเทียมกันอย่างเด็ดขาด (Strict Egalitarianism) หลักการกระจายแบบประโยชน์นิยม (Utilitarianism–Based Principle) หลักที่มีฐานจากความแตกต่าง (Difference-Based Principle) หลักการกระจายแบบเสรีภาพนิยม ที่ขึ้นอยู่กับความสามารถของคนบุคคล (Libertarian Principle) และหลักการกระจายตามความเหมาะสม (Desert-based Principle) เป็นต้น.

ใหม่!!: ความเป็นพลเมืองและการกระจายอย่างเป็นธรรม · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิวัติฝรั่งเศส

การปฏิวัติฝรั่งเศส (Révolution française) ระหว่าง..

ใหม่!!: ความเป็นพลเมืองและการปฏิวัติฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

การนับรวมทุกกลุ่มคน

การนับรวมทุกกลุ่มคน (Inclusiveness or Inclusion) หมายถึง การเปิดช่องทางให้ปัจเจกบุคคลและกลุ่มทุกกลุ่มเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสังคมของพลเมือง มีความเท่าเทียมกันทางสังคมในด้านสิทธิเสรีภาพ มีโอกาสและความเสมอภาคในกระบวนการอภิปรายถกเถียงและการตัดสินใจในทางการเมือง โดยการนับประชาชนทุกคนในสังคมให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นพลเมืองที่มีสิทธิเสรีภาพอย่างเสมอหน้ากัน ทุกคนสามารถเข้าถึงอำนาจตามกฎหมายในการมีส่วนร่วมทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง อย่างไม่ถูกเลือกปฏิบัติ ความเป็นส่วนหนึ่งของสังคมของพลเมืองจึงเป็นการรวมประชาชนทุกฝั่งฝ่ายเข้าเป็นสังคมเดียว ความหมายดังกล่าวจึงตรงข้ามกับความเหนือกว่าเฉพาะกลุ่มหรือเฉพาะบุคคล (exclusiveness) ซึ่งหมายถึงการให้สิทธิพิเศษแก่คนบางกลุ่ม จนกลายเป็นอภิสิทธิชนในสังคม.

ใหม่!!: ความเป็นพลเมืองและการนับรวมทุกกลุ่มคน · ดูเพิ่มเติม »

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2492

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป..

ใหม่!!: ความเป็นพลเมืองและการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2492 · ดูเพิ่มเติม »

การเข้าเมือง

อัตราการย้ายถิ่นสุทธิในปี 2559: บวก (สีน้ำเงิน), ลบ (สีส้ม), เสถียร (สีเขียว) และไม่มีข้อมูล (สีเทา) การเข้าเมืองหรือการย้ายถิ่นเข้าประเทศ (immigration) เป็นการเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศของบุคคลสู่ประเทศจุดหมายโดยที่มิใช่คนพื้นเมืองหรือมิได้ถือครองความเป็นพลเมืองเพื่อตั้งถิ่นฐานหรืออยู่อาศัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นผู้อยู่อาศัยถาวรหรือพลเมืองโดยการแปลงสัญชาติ หรือการเข้าทำงานเป็นคนงานต่างถิ่นหรือชั่วคราวเป็นคนงานต่างด้าว ผู้เข้าเมืองมีแรงจูงใจออกจากประเทศเดิมที่ตนเป็นพลเมืองหรือเป็นที่อยู่อาศัยตามปรกติด้วยหลายสาเหตุ รวมถึงการขาดการเข้าถึงทรัพยากรท้องถิ่น ความปรารถนาความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ เพื่อแสวงหรือเข้าทำงานที่มีค่าตอบแทน เพื่อยกระดับมาตรฐานการครองชีพ การกลับมารวมกันของครอบครัว การเกษียณ การย้ายถิ่นที่ชักนำโดยภูมิอากาศหรือสิ่งแวดล้อม การลี้ภัย การหลบหนีความเดียดฉันท์ ความขัดแย้งหรือภัยธรรมชาติ หรือเพียงต้องการเปลี่ยนคุณภาพชีวิตของตน ผู้ไปกลับเป็นประจำ นักท่องเที่ยวหรือการพำนักระยะสั้นในประเทศจุดหมายไม่ตกอยู่ในนิยามการเข้าเมืองหรือการย้ายถิ่น แต่บางทีก็นับรวมการเข้าเมืองของคนงานตามฤดูกาลด้วย ในปี 2556 สหประชาชาติประเมินว่ามีผู้เข้าเมือง 231,522,215 คนในโลก (ประมาณ 3.25% ของประชากรโลก) สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มีสัดส่วนคนเข้าเมืองมากที่สุดในโลก ตามด้วยกาตาร.

ใหม่!!: ความเป็นพลเมืองและการเข้าเมือง · ดูเพิ่มเติม »

มุมมองทางการเมืองของโนม ชอมสกี

นม ชอมสกี เป็นผู้มีชื่อเสียงในฐานะปัญญาชน นักปฏิบัติการ (หรือนักกิจกรรม) ทางการเมือง และนักวิจารณ์ เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาและรัฐบาลอื่น ๆ เขาเรียกตัวเองว่า นักสังคมนิยมแบบอิสรนิยม ผู้สนับสนุนสหการนิยมแบบอนาธิปไตย (anarcho-syndicalism) และมองว่า เป็นผู้รอบรู้สำคัญคนหนึ่งในการเมืองฝ่ายซ้ายของสหรัฐ โนม ชอมสกี ในการประท้วงต่อต้านสงครามในเมืองแวนคูเวอร์ พ.ศ. 2547.

ใหม่!!: ความเป็นพลเมืองและมุมมองทางการเมืองของโนม ชอมสกี · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อรัฐและดินแดนของสหรัฐเรียงตามจำนวนประชากร

แผนที่แสดงความเปลี่ยนแปลงของจำนวนประชากรในสหรัฐอเมริการะหว่างเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2550 และเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2551 Map of each state's population as of 2013 2.0% col-end รายชื่อด้านล่างนี้คือรัฐในสหรัฐอเมริกาเรียงตามจำนวนประชากร (รวมเขตอำนาจไม่ใช่รัฐที่มีผู้อยู่อาศัยเพื่อการเปรียบเทียบ) เมื่อวันที่ 1 เมษายน..

ใหม่!!: ความเป็นพลเมืองและรายชื่อรัฐและดินแดนของสหรัฐเรียงตามจำนวนประชากร · ดูเพิ่มเติม »

สิทธิชนพื้นเมือง

ทธิชนพื้นเมือง (Indigenous Rights) หมายถึงสิทธิของกลุ่มชนซึ่งเป็นชนพื้นเมืองอยู่แต่ดั้งเดิมมาก่อนที่ประชาชนซึ่งเป็นชนส่วนใหญ่ในปัจจุบันจะอพยพมาตั้งถิ่นฐานหรือทำการรุกรานจับจองเป็นอาณานิคม เช่น ชาวอเมริกันพื้นเมือง (อินเดียนแดง) เผ่าต่าง ๆ ในอเมริกา ชาวอะบอริจินในออสเตรเลีย ชาวมาวรีในนิวซีแลนด์ เป็นต้น โดยที่คำว่าชนพื้นเมือง หมายถึงกลุ่มชนซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่ก่อนการก่อตั้งอาณานิคมหรือรัฐชาติและมีระบบการเมืองและวัฒนธรรมต่างไปจากการเมืองและวัฒนธรรมหลักของรัฐซึ่งพื้นที่ของชนพื้นเมืองนั้นตั้งอยู่ หลักเกณฑ์ที่สหประชาชาติใช้ในการพิจารณาชนพื้นเมือง คือ (อ้างอิงจาก สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ).

ใหม่!!: ความเป็นพลเมืองและสิทธิชนพื้นเมือง · ดูเพิ่มเติม »

สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

ทธิพลเมือง (Civil Rights) หมายถึง การที่พลเมืองของรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัฐสมัยใหม่สามารถกระทำได้ภายใต้กรอบของกฎหมายบ้านเมืองของสังคมนั้นๆ ด้วยเหตุนี้ สิทธิพลเมืองจึงซ้อนทับอยู่กับสิทธิทางการเมือง (political rights) เนื่องจากในสังคม และการเมืองการปกครองสมัยใหม่นั้น เสรีภาพจัดได้ว่าเป็นคุณธรรมรากฐานประการหนึ่งที่ระบบการเมือง และระบบกฎหมายจะต้องธำรงรักษาไว้ ทว่าหากพลเมืองทุกคนมีเสรีภาพอย่างไม่จำกัดแล้วไซร้ การใช้เสรีภาพของพลเมืองคนหนึ่งๆ ก็อาจนำมาซึ่งการละเมิดการมีเสรีภาพของพลเมืองคนอื่นๆ ในรัฐได้เช่นกัน ดังนั้น เสรีภาพของพลเมืองจึงต้องอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมายที่รัฐกำหนดว่า สิ่งใดที่พลเมืองไม่อาจกระทำเพราะจะเป็นการละเมิดเสรีภาพของผู้อื่น หรือ สิ่งใดที่พลเมืองสามารถกระทำได้อย่างอิสระโดยปราศจากการควบคุมของรัฐ เป็นที่มาของการเกิดสิ่งซึ่งเรียกว่า สิทธิทางการเมือง หรือ สิทธิพลเมือง (Kurian, 2011: 235) ซึ่งในแง่นี้สิทธิพลเมืองจะมีความหมายและขอบเขตแคบกว่าสิทธิมนุษยชน (Human Rights) เพราะสิทธิพลเมืองจะเป็นสิทธิที่พลเมืองทุกๆ คนมีในฐานะพลเมืองของรัฐ ซึ่งอาจแตกต่างกันไปตามความคุ้มครองโดยกฎหมายของรัฐที่ตนเป็นพลเมืองอยู่ แต่สิทธิมนุษยชนนั้นเป็นสิทธิสากลที่มนุษย์ทุกผู้คนบนโลกนี้ พึงมีเหมือนๆ กันไม่ว่าเขาจะอยู่ที่ใด หรือ เป็นพลเมืองของรัฐใดก็ตาม สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง หรือ สิทธิทางแพ่งและสิทธิทางการเมือง คือความคุ้มครองและสิทธิประโยชน์ที่มอบให้พลเมืองทุกคนตามกฎหมาย สิทธิพลเมืองนั้นเป็นสิทธิที่แยกออกจาก "สิทธิมนุษยชน" และ "สิทธิธรรมชาติ" กล่าวคือสิทธิพลเมืองเป็นสิทธิที่มอบให้โดยชาติและมีอยู่ภายในเขตแดนนั้น ในขณะที่สิทธิธรรมชาติหรือสิทธิมนุษยชนนั้น เป็นสิทธิที่นักวิชาการจำนวนมากอ้างว่าปัจเจกบุคคลมีอยู่แต่กำเนิดโดยธรรมชาต.

ใหม่!!: ความเป็นพลเมืองและสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง · ดูเพิ่มเติม »

สถาบันนิยม

ันนิยม (Institutionalism) เป็นแนวคิดที่ใช้อธิบายชีวิตทางสังคมการเมือง ภายใต้กรอบความคิดว่าพฤติกรรมของมนุษย์หรือตัวแสดงทางการเมืองต่าง ๆ จะถูกกำหนดและกำกับโดยบริบทเชิง “สถาบัน” ที่คอยจัดความสัมพันธ์ที่มีอยู่ในสังคม ซึ่งสถาบันจะมีกฎ ระเบียบ กติกา และบรรทัดฐานบางอย่างในการกำกับมนุษย์ในสังคม และมนุษย์จะแสดงพฤติกรรมผ่านสถานภาพและบทบาทของตัวเองออกมาเป็นหน้าที่ของตน ทั้งบทบาทและหน้าที่ดังกล่าวจะถูกกำกับโดยองค์กร หรือสถาบันทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เช่น สถาบันการเมือง สถาบันศาสนา สถาบันการศึกษา องค์กรเศรษฐกิจ เป็นต้น และมนุษย์หนึ่งคนสามารถอยู่ในความสัมพันธ์ของหลายสถาบันและจะมีบทบาทหน้าที่หลายอย่างควบคู่กันไป ตัวอย่างเช่น ชายไทยอายุ 20 ปี ภายใต้สถาบันการเมืองจะมีบทบาทเป็นพลเมือง มีสิทธิและหน้าที่ในการไปเลือกตั้ง ภายใต้สถาบันศาสนาอาจมีบทบาทเป็นพุทธมามกะ หรือผู้สืบสานศาสนาอื่นใดที่นับถือ ภายใต้สถาบันการศึกษามีบทบาทเป็นนิสิตนักศึกษาจึงมีหน้าที่ในการเรียน และมีหน้าที่ต้องไปเกณฑ์ทหารหรือเรียนรักษาดินแดน เนื่องจากกฎหมายที่ออกโดยรัฐบาลซึ่งเป็นสถาบันการเมืองกำหนดเช่นนั้น (Peters, 2005: 1-3).

ใหม่!!: ความเป็นพลเมืองและสถาบันนิยม · ดูเพิ่มเติม »

สโมสรฟุตบอลอันยาง

มสรฟุตบอลอันยาง (ฮันกุล: 안양시민프로축구단) เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพเกาหลีใต้ ตั้งอยู่ที่เมืองอันยาง ก่อตั้งในปี..

ใหม่!!: ความเป็นพลเมืองและสโมสรฟุตบอลอันยาง · ดูเพิ่มเติม »

หลักนิติธรรม

หลักนิติธรรม (Rule of Law) หากพิจารณาในฐานะแนวคิดของชาวตะวันตกนั้นก็จะพบว่ามีรากเหง้ามาแต่ครั้งสมัยกรีกโบราณจากข้อถกเถียงสำคัญที่ว่า การปกครองที่ดีนั้นควรจะเป็นการปกครองด้วยสิ่งใด ระหว่างกฎหมายที่ดีที่สุด กับ สัตบุรุษ (คนดี) โดยอริสโตเติล (Aristotle) ได้สรุปว่า กฎหมายเท่านั้นที่ควรจะเป็นผู้ปกครองสูงสุดในระบอบการเมือง (Aristotle, 1995: 127) และจากข้อสรุปของอริสโตเติลตรงนี้นี่เอง ที่ได้พัฒนาไปสู่แนวคิดพื้นฐานสำคัญของรัฐสมัยใหม่ในอีกหลายพันปีถัดมาว่า การปกครองที่ดีนั้นควรจะต้องให้กฎหมายอยู่สูงสุด (supremacy of law) และทุกๆ คนต้องมีสถานะที่เสมอภาค และเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย กล่าวคือ แม้ตามหลักการของการแบ่งแยกอำนาจ ผู้ปกครองจะมีอำนาจอันชอบธรรมในการออกและบังคับใช้กฎหมาย แต่ตัวผู้ปกครอง หรือ รัฐเองก็จะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายที่พวกเขาออก และบังคับใช้ด้วยเฉกเช่นเดียวกันกับพลเมืองคนอื่นๆ ในรัฐ เพื่อที่จะทำให้การเมืองนั้นวางอยู่บนรากฐานของกฎหมาย และรัฐบาลนั้นเป็นรัฐบาลที่จำกัด (limited government) โดยตัวกฎหมายเป็นสำคัญ.

ใหม่!!: ความเป็นพลเมืองและหลักนิติธรรม · ดูเพิ่มเติม »

อำนาจอธิปไตยของปวงชน

อำนาจอธิปไตยของปวงชน (Sovereignty of the People or Popular Sovereignty) หมายถึงแนวคิดที่ว่าแหล่งที่มาของอำนาจสูงสุดของรัฐ หรือ อำนาจอธิปไตยมีที่มาจากพลเมืองทุกๆคนภายในรัฐ จึงทำให้บางครั้งแนวคิดนี้ถูกเรียกว่าอธิปไตยของมหาชน (popular sovereignty) ซึ่งก็มีความหมายในลักษณะเดียวกัน เพียงแต่เน้นให้เห็นถึงรากฐานของอำนาจอธิปไตยที่มีความโยงใยกับประชาชนจำนวนมากในสังคมในระบอบประชาธิปไตย หรือ ก็คือแนวคิดที่ว่า “อำนาจเป็นของปวงประชามหาชน” (power belongs to the people) (Kurian, 2011: 1580-1581).

ใหม่!!: ความเป็นพลเมืองและอำนาจอธิปไตยของปวงชน · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติ

งของจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 กลางธงมีตรานกอินทรีแห่งนโปเลียน. ธงชาติประจำประเทศต่างๆ ธงชาติเดนมาร์ก เป็นธงราชการที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน ธงชาติ คือธงที่แสดงถึงสัญลักษณ์ของประเทศและดินแดนต่างๆ ปกติแล้วรัฐบาลของประเทศต่างๆ ย่อมเป็นผู้กำหนดแบบธงชาติและข้อบังคับการใช้ธงชาติ หากแต่พลเมืองในแต่ละประเทศก็สามารถใช้ธงชาติในดินแดนของตนเองได้เช่นกัน โดยขึ้นอยู่กับข้อบังคับการใช้ธงตามที่รัฐบาลกำหนดไว้ ธงชาตินิยมใช้ชักตามสถานที่ต่างๆ ทั้งของเอกชนและของรัฐ เช่น โรงเรียน และศาลาว่าการเมือง แต่ในบางประเทศ ได้มีข้อกำหนดการใช้ธงชาติว่าจะชักอยู่บนอาคารอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาคารทางทหารได้ในวันที่กำหนดให้ชักธงบางวันเท่านั้น ตามหลักสากล นิยมแบ่งลักษณะการใช้ธงชาติออกเป็น 3 ประเภทสำหรับใช้บนแผ่นดิน และอีก 3 ประเภทสำหรับใช้ในภาคพื้นทะเล แม้ว่าหลายประเทศมักจะใช้ธงชาติเพียงแบบเดียวในการใช้ธงหลายๆ ลักษณะ และบางทีก็ใช้ธงชาติในหน้าที่ทั้ง 6 ประเภทก็ตาม.

ใหม่!!: ความเป็นพลเมืองและธงชาติ · ดูเพิ่มเติม »

ความมั่นคงแห่งชาติ

อาคารรัฐสภาในกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร บล็อกคอนกรีตหนักเหล่านี้ออกแบบมาเพื่อป้องกันคาร์บอมบ์หรืออุปกรณ์อื่นมิให้ทะลวงเข้าไปในอาคาร ความมั่นคงแห่งชาติ เป็นมโนทัศน์ว่ารัฐบาล ตลอดจนรัฐสภา ควรพิทักษ์รัฐและพลเมืองของรัฐต่อวิกฤตการณ์ "แห่งชาติ" ทุกชนิดโดยใช้การแสดงอำนาจ (power projection) ต่าง ๆ เช่น อำนาจทางการเมือง การทูต อำนาจทางเศรษฐกิจ แสนยานุภาพ เป็นต้น มีการพัฒนามโนทัศน์ดังกล่าวเป็นหลักในสหรัฐหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เดิมทีมุ่งเน้นแสนยานุภาพ แต่ปัจจุบันครอบคลุมแง่มุมต่าง ๆ ซึ่งล้วนกระทบต่อความมั่นคงที่มิใช่ทางทหารหรือเศรษฐกิจของชาติ และค่านิยมที่ความมั่นคงแห่งชาติรับมาใช้ ฉะนั้น เพื่อให้มีความมั่นคงแห่งชาติ ชาติจึงจำเป็นต้องมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ความมั่นคงทางพลังงาน ความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม ฯลฯ ภัยคุกคามความมั่นคงมิได้มีเฉพาะข้าศึกตามแบบ เช่น รัฐชาติอื่นเท่านั้น แต่ยังมีตัวแสดงที่มิใช่รัฐ (non-state actor) เช่น ตัวแสดงที่มิใช่รัฐรุนแรง พ่อค้ายาเสพติด บรรษัทข้ามชาติและองค์การนอกภาครัฐ ทางการบางแห่งยังรวมภัยพิบัติธรรมชาติและเหตุการณ์ซึ่งก่อความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรงอยู่ในหมวดนี้ด้วย มาตรการที่ดำเนินเพื่อประกันความมั่นคงแห่งชาติ ได้แก.

ใหม่!!: ความเป็นพลเมืองและความมั่นคงแห่งชาติ · ดูเพิ่มเติม »

ความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน

วามยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน (Transitional Justice) เป็นการผสานแนวคิดสองประการเข้าด้วยกัน คือ "การเปลี่ยนผ่าน" (transition) กับ "ความยุติธรรม" (justice) โดยการเปลี่ยนผ่าน คือ สภาวะที่สังคมได้เกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงระบอบทางการเมือง (political transformation/regime change) จากรูปแบบหนึ่งไปสู่รูปแบบใหม่อย่างมีนัยสำคัญ เช่น จากระบอบอำนาจนิยม (authoritarian) หรือการปกครองแบบกดขี่ (repressive rule) ไปสู่ระบอบประชาธิปไตย (democracy) หรือใช้ในความหมายของการเปลี่ยนผ่านจากความขัดแย้งของคนในสังคมไปสู่สันติภาพและความมั่นคง ความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน จะหมายรวมถึง กระบวนการที่รัฐใช้ในการค้นหาความจริงจากการที่บุคคลหรือองค์กรของรัฐ หรือ องค์กรที่รัฐให้การสนับสนุนใช้กำลังเข้าสังหารหรือก่อความรุนแรงต่อพลเมืองของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นในรูปของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ การสังหารหมู่ การทรมาน การลักพาตัว (Kurian, 2011: 1679-1680) อย่างไรก็ตาม การค้นหาความจริงดังกล่าวจะเกิดขึ้นภายหลังที่มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลเก่ามาสู่รัฐบาลใหม่ หรือ เปลี่ยนจากรัฐบาลในระบอบเผด็จการมาสู่ระบอบประชาธิปไตย สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เนื่องจากรัฐบาลเก่าเป็นผู้ใช้ความรุนแรงจึงไม่มีความจำเป็นที่จะค้นหาความผิดที่ตนเองเป็นผู้กระทำ หรือในบางครั้งรัฐบาลเก่าก็พยายามที่จะตั้งกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งเพื่อทำการฟอกตัวให้กับรัฐบาลเอง ยกตัวอย่างเช่น ในสมัยของ อิดี้ อามิน (Idi Amin) ผู้นำของยูกานดาที่ใช้กำลังทหารเข้าปราบปรามประชาชน แต่เมื่อมีการกดดันจากนานาชาติ อิดี้ อามิน ตั้งกรรมการขึ้นมาตรวจสอบแต่สุดท้ายก็ไม่ได้ข้อสรุปอะไร ด้วยเหตุนี้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลมาสู่รัฐบาลในระบอบประชาธิปไตย รัฐบาลใหม่จึงจำเป็นต้องมีภาระในการที่จะตรวจสอบเหตุการณ์ย้อนหลัง การตรวจสอบดังกล่าวจะเป็นการสถาปนาความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน คือเปลี่ยนจากระบอบหนึ่งมาเป็นอีกระบอบหนึ่ง หรือเปลี่ยนจากรัฐบาลที่โหดร้ายมาสู่รัฐบาลอื่นๆ (ประจักษ์, 2533) ซึ่งบางครั้งในกระบวนการตรวจสอบย้อนหลังดังกล่าวก็อาจนำไปสู่การจัดให้มีการนิรโทษกรรมทางการเมืองขึ้นก็เป็นได้ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะสามารถทำให้กระบวนการเปลี่ยนผ่านของประเทศนั้นสามารถเดินหน้าต่อไปได้อย่างราบรื่น และสมานฉันท์ สำหรับจุดมุ่งหมายของหลักการความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านนั้นก็คือ ความพยายามของสังคมในการป้องกันไม่ให้เหตุการณ์อันโหดร้ายกลับมาเกิดขึ้นอีกครั้ง นอกจากนี้ยังมีจุดมุ่งหมายเพื่อคืนความยุติธรรมให้กับผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของการใช้ความรุนแรง ตลอดจนยังเป็นการสถาปนาหลักนิติรัฐและหลักสิทธิมนุษยชนให้ลงหลักปักฐานในสังคมด้วย อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันแนวคิดในเรื่องความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านได้กลายมาเป็นแนวทางการศึกษา (approach) ที่สำคัญแนวทางหนึ่ง ภายใต้ทฤษฎีการสร้างประชาธิปไตย (democratization theory).

ใหม่!!: ความเป็นพลเมืองและความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน · ดูเพิ่มเติม »

ความเสมอภาคทางสังคม

วามเสมอภาค (Equality) เป็นมโนทัศน์พื้นฐานที่สุดเรื่องหนึ่งไม่ว่าจะกล่าวในมิติทางการเมืองหรือในทางเศรษฐกิจ คนทั่วไปมักสับสนคำว่า “เสมอภาค” กับ “เหมือนกัน” (sameness) กล่าวคือ คิดว่าการรับรองความเสมอภาคของมนุษย์เท่ากับการทำให้มนุษย์ทุกคนเท่ากัน จนมักโต้แย้งว่าความเสมอภาคไม่มีทางเป็นไปได้ จึงควรทำความเข้าใจเบื้องต้นว่าหลักการของความเสมอภาค ไม่ได้และไม่เคยเรียกร้องให้มนุษย์ทุกคนต้องเหมือนกันหมด เพราะมนุษย์ย่อมแตกต่างกันเป็นธรรมชาติทั้งโดยชาติพันธุ์ รูปร่าง ผิวพรรณ เพศสภาพ บุคลิก ความเชื่อ ศาสนา วัฒนธรรม และอื่นๆ แต่ความแตกต่างนั้นไม่ได้เป็นเหตุผลทำให้มนุษย์ต้องไม่เสมอภาคกัน เพราะความเสมอภาค (Equality) ตรงข้ามกับความไม่เสมอภาค (Inequality) ไม่ได้ตรงข้ามกับคำว่าความแตกต่าง (Difference) อย่างที่หลายคนทึกทัก นั่นหมายความว่า มนุษย์เราแตกต่างกันโดยธรรมชาติ แต่ก็สามารถและควรเท่าเทียมกันได้ (different but Equal) ดังนั้นเมื่อกล่าวว่า คนเสมอภาคกัน จึงไม่ได้หมายความว่าคนเหมือนกันทุกด้านไม่ว่าจะเป็นชาติตระกูล หน้าตา ความสามารถ สติปัญญา แต่การที่บอกว่าเสมอภาคกันมีความหมายว่า มนุษย์เท่าเทียมกันทั้งในความเป็นมนุษย์ และตามกฎหมายของรัฐ (Kurian, 2011: 515) ดังที่มีวลีสำคัญที่สะท้อนความเสมอภาคคือ “Equality Before the Law” ซึ่งหมายความว่าบุคคลทุกผู้ทุกนามย่อมมีสิทธิได้รับความคุ้มครองตามกระบวนของกฎหมายอย่างเป็นธรรม หรือความเสมอภาคกันในทางการเมืองคือ พลเมืองที่มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนดย่อมสามารถใช้สิทธิเลือกตั้งได้อย่างเท่าเทียมกัน ในบางกรณี ที่ความเสมอภาคยึดโยงเข้ากับหลักความเป็นธรรม (Justice) จะนำไปสู่การปฏิบัติต่อผู้คนที่แตกต่างกันด้วยมาตรการเฉพาะเพื่อช่วยให้ความแตกต่างกันโดยธรรมชาติได้รับการแก้ไขให้เกิดความเสมอภาคมากขึ้น เช่น มาตรการช่วยเหลือคนด้อยโอกาส คนทุพพลภาพ เพื่อความเสมอภาคในสังคม ดังนั้น การมองอย่างฉาบฉวยว่าการเรียกร้องให้คนเท่ากันหมายถึงการเรียกร้องให้คนเหมือนกันนั้น จึงเป็นความเข้าใจผิดในประเด็นพื้นฐาน.

ใหม่!!: ความเป็นพลเมืองและความเสมอภาคทางสังคม · ดูเพิ่มเติม »

ความเป็นพลเมือง

วามเป็นพลเมือง (citizenship) คือ สถานภาพของบุคคลที่จารีตประเพณีหรือกฎหมายของรัฐรับรองซึ่งให้แก่สิทธิและหน้าที่แห่งความเป็นพลเมืองแก่บุคคล (เรียก พลเมือง) ซึ่งอาจรวมสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง การทำงานและอาศัยอยู่ในประเทศ สิทธิกลับประเทศ สิทธิครอบครองอสังหาริมทรัพย์ การคุ้มครองทางกฎหมายต่อรัฐบาลของประเทศ และการคุ้มครองผ่านกองทัพหรือการทูต พลเมืองยังมีหน้าที่บางอย่าง เช่น หน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมายของรัฐ จ่ายภาษี หรือรับราชการทหาร บุคคลอาจมีความเป็นพลเมืองมาก และบุคคลที่ไม่มีความเป็นพลเมือง เรียก ผู้ไร้สัญชาติ (stateless) สัญชาติมักใช้เป็นคำพ้องกับความเป็นพลเมืองในภาษาอังกฤษ ที่สำคัญในกฎหมายระหว่างประเทศ แม้คำนี้บางครั้งเข้าใจว่าหมายถึงการเป็นสมาชิกชาติ (กลุ่มชาติพันธุ์ขนาดใหญ่) ของบุคคล ในบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร สัญชาติและความเป็นพลเมืองมีความหมายต่างกัน หมวดหมู่:สัญชาติ หมวดหมู่:การปกครอง หมวดหมู่:มโนทัศน์ทางการเมือง หมวดหมู่:กฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง.

ใหม่!!: ความเป็นพลเมืองและความเป็นพลเมือง · ดูเพิ่มเติม »

คนต่างด้าว

ในทางกฎหมาย คนต่างด้าว เป็นบุคคลในประเทศซึ่งมิใช่พลเมืองของประเทศนั้น โดยมีนิยามและศัพทวิทยาแตกต่างกันอยู่บ้าง.

ใหม่!!: ความเป็นพลเมืองและคนต่างด้าว · ดูเพิ่มเติม »

ประชาสังคม

ประชาสังคม หรือ Civil Society เป็นแนวคิดที่มีเป้าหมายเพื่อการมีสังคมและชุมชนที่เข้มแข็ง ด้วยเป็นแนวคิดที่กว้าง จึงมีผู้ให้คำนิยามไว้หลากหลาย โดยทั่วไปประชาสังคม หมายถึง พื้นที่หรือส่วนของสังคมที่มีประชาชนเป็นผู้แสดงบทบาทหลัก พื้นที่ดังกล่าวจึงไม่ใช่ภาครัฐ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่โดยมีกฎหมายรองรับ และภาคธุรกิจเอกชนที่เน้นดำเนินงานโดยมุ่งแสวงหาผลกำไรในพื้นที่ประชาสังคม ประชาชนทั่วไปเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการดำเนินการที่เป็นอิสระจากภาครัฐ และอยู่นอกบริบทการแข่งขันทางการเมือง ซึ่งกลุ่มและผู้กระทำการทางสังคม อาจมีวัฒนธรรม วิถีชีวิต วิธีคิดอันหลากหลายมาร่วมกันในกิจกรรมที่มีเป้าหมายเพื่อแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูล ถกเถียงแลกเปลี่ยนความคิด สร้างเอกลักษณ์และความเห็นร่วมกัน รวมถึงต้องมีจุดมุ่งหมายร่วมในการพิทักษ์หรือเพิ่มพูนผลประโยชน์สาธารณะบางประการให้กับสังคม โดยลักษณะของพื้นที่ดังกล่าวสามารถเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์กับพื้นที่ทางการเมือง และทางเศรษฐกิจ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจระหว่างสามพื้นที่ดังกล่าวนี้ด้ว.

ใหม่!!: ความเป็นพลเมืองและประชาสังคม · ดูเพิ่มเติม »

ประชาธิปไตย

รัฐที่มิได้มองว่าตนปกครองระบอบประชาธิปไตย ได้แก่ นครรัฐวาติกัน ประเทศซาอุดิอาระเบีย UAE กาตาร์ โอมาน ฟิจิและบรูไน ประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองแบบหนึ่งซึ่งการบริหารอำนาจรัฐมาจากเสียงข้างมากของพลเมือง ผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย โดยพลเมืองอาจใช้อำนาจของตนด้วยตนเองหรือผ่านผู้แทนที่เลือกไปใช้อำนาจแทนก็ได้ ประชาธิปไตยยังเป็นอุดมคติที่ว่าพลเมืองทุกคนในชาติร่วมกันพิจารณากฎหมายและการปฏิบัติของรัฐ และกำหนดให้พลเมืองทุกคนมีโอกาสแสดงความยินยอมและเจตนาของตนเท่าเทียมกัน ประชาธิปไตยเกิดขึ้นในบางนครรัฐกรีกโบราณช่วงศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเอเธนส์หลังการก่อการกำเริบเมื่อ 508 ปีก่อนคริสตกาล ประชาธิปไตยแบบนี้เรียกว่า ประชาธิปไตยทางตรง ซึ่งพลเมืองเกี่ยวข้องในกระบวนการทางการเมืองโดยตรง แต่ประชาธิปไตยในปัจจุบันเป็นประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน โดยสาธารณะออกเสียงในการเลือกตั้งและเลือกนักการเมืองเป็นผู้แทนตนในรัฐสภา จากนั้น สมาชิกสภาจะเป็นผู้ตัดสินใจด้วยเสียงข้างมาก ประชาธิปไตยทางตรงยังมีอยู่ในระดับท้องถิ่นหลายประเทศ เช่น การเลือกตั้งสมาชิกเทศบาล อย่างไรก็ดี ในระดับชาติ ความเป็นประชาธิปไตยทางตรงมีเพียงการลงประชามติ การริเริ่มออกกฎหมายและการถอดถอนผู้ได้รับเลือกตั้ง แม้ในปัจจุบัน ประชาธิปไตยจะยังไม่มีนิยามที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วกันก็ตาม แต่มีการระบุว่าความเสมอภาคและอิสรภาพเป็นคุณลักษณะสำคัญของประชาธิปไตยนับแต่โบราณกาลR.

ใหม่!!: ความเป็นพลเมืองและประชาธิปไตย · ดูเพิ่มเติม »

ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ

ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ (Deliberative Democracy) เป็นรูปแบบหนึ่งของระบอบประชาธิปไตย โดยมีนัยหมายถึงกระบวนการทางประชาธิปไตยที่มีความเชื่อมั่นในพลังอำนาจจากการให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางการเมืองมากยิ่งขึ้น โดยการปรึกษาหารือ ร่วมถกแถลงอภิปรายข้อปัญหาต่างๆ อย่างเป็นระบบ เพื่อโน้มน้าวพลเมืองคนอื่น และกลุ่มคนที่มีผลประโยชน์และความเห็นแตกต่างกันด้วยข้อมูลและเหตุผล อันจะนำไปสู่การแสวงหาทางออกที่เห็นพ้องต้องกัน หรือ ฉันทามติ ในการแก้ไขปัญหาสาธารณะ ตลอดจนการตัดสินใจทางการเมืองต่างๆ (Kurian, 2011: 385).

ใหม่!!: ความเป็นพลเมืองและประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ · ดูเพิ่มเติม »

ประชาธิปไตยเชิงเนื้อหา

ประชาธิปไตยเชิงเนื้อหา (Substantive Democracy) เป็นรูปแบบหนึ่งของประชาธิปไตยที่เน้นเรื่องของผลลัพธ์ (outcome) ของกระบวนการและกลไกต่างๆ ในระบอบประชาธิปไตย โดยเกณฑ์หรือมาตรวัดความเป็นประชาธิปไตยเชิงเนื้อหามักประกอบด้ว.

ใหม่!!: ความเป็นพลเมืองและประชาธิปไตยเชิงเนื้อหา · ดูเพิ่มเติม »

ปริมณฑลสาธารณะ

ปริมณฑลสาธารณะ (Public Sphere) หมายถึง พื้นที่ที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปพบปะพูดคุยกันในประเด็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสาธารณะ หรือ ประเด็นสาธารณะ (Habermas, 1989).

ใหม่!!: ความเป็นพลเมืองและปริมณฑลสาธารณะ · ดูเพิ่มเติม »

ไพร่

ในสังคมไทยสมัยโบราณ ไพร่ หมายถึง สามัญชนทั่วไปที่ไม่ได้อยู่ในฐานะทาส หรือเจ้าขุนมูลนาย มีอิสระในการประกอบอาชีพ การตั้งบ้านเรือน มีครอบครัว มีศักดินา 10-25 ไร่ และต้องสังกัดมูลนาย จะโยกย้ายสังกัดไม่ได้ ไพร่ที่ขึ้นสังกัดหรือสักเลกแล้ว จะปรากฏเครื่องหมายสังกัดที่ข้อมือ หากสามัญชนผู้ใดไม่ได้สังกัดมูลนายจะไม่ได้รับการคุ้มครองจากกฎหมาย ไพร่มีหน้าที่ในการถูกเกณฑ์แรงงาน หรือเสีย "ส่วย" และถูกเกณฑ์ทหารในยามที่มีศึกสงคราม มีสองประเภทคือ ไพร่หลวง และ ไพร่สม ไพร่หลวง คือไพร่ที่สังกัดกรมกองต่างๆ เป็นไพร่ของพระมหากษัตริย์โดยตรง ประเภทที่ต้องถูกเกณฑ์มาทำงานตามราชการกำหนด และประเภทที่ต้องเสียเงินหรือสิ่งของมาแทนการเกณฑ์แรงงานหรือที่เรียกว่า "ไพร่ส่วย" การส่งเงินมาแทนการเกณฑ์แรงงาน เงินที่ส่งมาเรียกว่า "เงินค่าราชการ" ไพร่สม เป็นไพร่ที่พระมหากษัตริย์พระราชทานให้มูลนายและขุนนางที่มีตำแหน่งทางราชการเพื่อผลประโยชน์ตอบแทน มูลนายจะมีไพร่มากน้อยขึ้นอยู่กับ ยศ ตำแหน่ง ศักดินา ไพร่สมต้องทำงานให้ราชสำนักปีละ 1 เดือน ส่วนเวลาที่เหลือรับใช้มูลนายหรือส่งเงินแทน เมื่อถึงยามสงครามทุกคนต้องเป็นทหารป้องกันอาณาจักร เมื่อมูลนายถึงแก่กรรมไพร่สมจะถูกโอนมาเป็นไพร่หลวง นอกจากบุตรจะขอควบคุมไพร่สมต่อจากบิดา ระบบไพร่ดำรงอยู่จนกระทั่งถึงกลางสมัยรัตนโกสินทร์ จนในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่มีการเลิกไพร่อย่างเป็นทางการ เมื่อมีการนำระบบภาษีอากร และระบบเกณฑ์ทหารสมัยใหม่มาใช้แทน.

ใหม่!!: ความเป็นพลเมืองและไพร่ · ดูเพิ่มเติม »

เศรษฐกิจสีเขียว

รษฐกิจสีเขียว (Green Economy) เป็นเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นให้เกิดความกินดีอยู่ดีของมนุษย์และความเท่าเทียมทางสังคมโดยลดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและทรัพยากรของระบบนิเวศน์เป็นผลลัพธ์ โดยทั่วไปแล้วเศรษฐกิจสีเขียวเป็นความพยายามในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์พร้อมกับการดูแลสิ่งแวดล้อมและการลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติแทนการแสวงหาผลกำไรเพียงอย่างเดียวและการดำเนินธุรกิจที่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลืองและก่อมลพิษ โดยดำเนินระบบหรือทำการพัฒนาโดยตั้งอยู่บนฐานของการพัฒนาแบบยั่งยืนและคำนึงถึงความสัมพันธ์ของระบบนิเวศน์และเศรษฐกิจ (Cheng Siwei, 2011: 2).

ใหม่!!: ความเป็นพลเมืองและเศรษฐกิจสีเขียว · ดูเพิ่มเติม »

เสรีภาพ

รีภาพ, อิสรภาพ หรือเสรีธรรม ในทางปรัชญา หมายถึง เจตจำนงเสรี ซึ่งตรงข้ามกับนิยัตินิยม ในทางการเมือง เสรีภาพประกอบด้วยเสรีภาพทางสังคมและการเมืองที่รับประกันแก่พลเมืองทุกคน ในทางเทววิทยา เสรีภาพ คือ อิสรภาพจากพันธะบาป.

ใหม่!!: ความเป็นพลเมืองและเสรีภาพ · ดูเพิ่มเติม »

15 กันยายน

วันที่ 15 ก.. เป็นวันที่ 258 ของปี (วันที่ 259 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 107 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ความเป็นพลเมืองและ15 กันยายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

พลเมือง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »