โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การทัพ

ดัชนี การทัพ

การทัพ (Military campaign) ในทางวิทยาการทหาร หมายถึงการสงครามต่อเนื่องขนาดใหญ่หรือกระบวนการต่อสู้ทางทหารที่มีการตั้งจุดประสงค์หลัก การวางแผนโครงการการดำเนินการและการใช้ยุทธศาสตร์ทางทหารที่ใช้เวลานาน ที่เกี่ยวข้องกับปฏิบัติการทางทหาร และสงครามหรือยุทธการที่ต่อเนื่องและมีส่วนเกี่ยวพันกันทางจุดประสงค์โดยทั่วไปที่เรียกรวม ๆ กันว่าสงคราม เช่นการการรณรงค์ทางทหารในการขยายดินแดนเข้าไปยังทวีปเอเชียของสุลต่านสุลัยมานมหาราช คำว่า “Campaign” มาจากที่ราบ “Campania” ซึ่งเป็นสถานที่ที่กองทัพของสาธารณรัฐโรมันมาประกอบกิจการต่างๆ ทางทหารเป็นประจำทุกปี หมวดหมู่:สงคราม.

12 ความสัมพันธ์: ชาห์นาเดอร์กระบวนการปฏิบัติการรบการทัพหมู่เกาะโซโลมอนยุทธการที่โอกินาวะสุลัยมานผู้เกรียงไกรสงครามกอลสงครามอังกฤษ-สเปน (ค.ศ. 1585)สงครามต่อต้านการก่อการร้ายหลักนิยมทางทหารอัศวินเทมพลาร์อัตติลาอี ซุน-ชิน

ชาห์นาเดอร์

ห์นาเดอร์แห่งเปอร์เซีย หรือ ชาห์นาเดอร์มหาราช (تهماسپ قلی خان หรือ نادر قلی بیگ หรือ نادر شاه افشار; Nader Shah หรือ Nāder Shāh Afshār the Great หรือ Nāder Qoli Beg หรือ Tahmāsp Qoli Khān) (พฤศจิกายน ค.ศ. 1688 หรือ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1698 – 19 มิถุนายน ค.ศ. 1747) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งอิหร่านผู้ก่อตั้งราชวงศ์อาฟชาริยะห์ (Afsharid dynasty) ผู้ครองราชย์ระหว่างปี ค.ศ. 1736 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน ค.ศ. 1747 ชาห์นาเดอร์ที่มีพระปรีชาสามารถในทางการทหารที่ทำให้นักประวัติศาสตร์บางคนบรรยายพระองค์ว่าทรงเป็น “จักรพรรดินโปเลียนแห่งเปอร์เซีย” หรือ “อเล็กซานเดอร์ที่สอง” ชาห์นาเดอร์ทรงเป็นชาวเติร์กเมน เผ่าอาฟชาร์ (Afshar tribe) จากทางตอนเหนือของเปอร์เซีย ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่จัดความมีอำนาจทางการทหารให้แก่จักรวรรดิซาฟาวิยะห์มาตั้งแต่รัชสมัยของชาห์อิสมาอิลที่ 1 แห่งเปอร์เซีย ชาห์นาเดอร์ทรงทรงเรืองอำนาจขึ้นมาในระหว่างที่เปอร์เซียเป็นอนาธิปไตย หลังจากการแข็งข้อของอัฟกาน (Pashtun people) ผู้โค่นราชบัลลังก์ของชาห์ฮุสเซน และขณะที่ทั้งจักรวรรดิออตโตมัน และ จักรวรรดิรัสเซีย ต่างก็ยึดส่วนต่างๆ ของเปอร์เซียเป็นของตนเอง ชาห์นาเดอร์ทรงรวบรวมจักรวรรดิเปอร์เซียเข้าด้วยกันและทรงขจัดศัตรูออกจากจักรวรรดิ และทรงมีอำนาจพอที่จะตัดสินใจโค่นราชบัลลังก์ของชาห์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ซาฟาวิยะห์ที่ปกครองจักรวรรดิเปอร์เซียมากว่า 200 ปีและกลายเป็นชาห์ในปี ค.ศ. 1736 การรณรงค์ทางทหารของพระองค์ทำให้จักรวรรดิเปอร์เซียกลายเป็นจักรวรรดิอันยิ่งใหญ่ที่มีดินแดนไม่แต่ในอิหร่านปัจจุบัน แต่ยังครอบคลุมไปถึงอัฟกานิสถาน, ปากีสถาน, บางส่วนของภูมิภาคคอเคซัส และบางส่วนของเอเชียกลาง แต่ค่าใช้จ่ายทางการทหารมีผลต่อการทำลายทางเศรษฐกิจของ ชาห์นาเดอร์ทรงมีความชื่นชมในวีรบุรุษเช่นเจงกีส ข่าน และ ตีมูร์ ผู้พิชิตเอเชียกลางมาก่อนหน้าพระองค์ พระองค์ทรงเรียนรู้ยุทธวิธีทางการทหารจากทั้งสองพระองค์โดยเฉพาะในตอนปลายรัชสมัยของพระองค์—ความทารุณ การพิชิตดินแดนต่างๆ ของชาห์นาเดอร์ทำให้ทรงเป็นผู้นำของตะวันออกกลางผู้มีอำนาจมากที่สุดในยุคนั้น แต่จักรวรรดิของพระองค์ก็สลายตัวลงอย่างรวดเร็วหลังจากที่ทรงถูกลอบปลงพระชนม์ในปี ค.ศ. 1747 พระองค์ทรงได้รับการบรรยายว่าเป็น “ผู้นำทางการทหารผู้ยิ่งใหญ่คนสุดท้ายของเอเชีย”.

ใหม่!!: การทัพและชาห์นาเดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

กระบวนการปฏิบัติการรบ

กระบวนการปฏิบัติการรบ (Combat operations process) คือ กระบวนการซึ่งได้รับการปฏิบัติโดยกองกำลังติดอาวุธระหว่างการทัพ ปฏิบัติการทางทหาร ยุทธการ และยุทธนาการ เพื่อกำหนดวัตถุประสงค์ ทิศทางของการรบ และการประเมินกระบวนการของแผนปฏิบัติการทางทหาร รูปแบบพื้นฐานของกระบวนการปฏิบัติการรบประกอบด้วยห้าระยะ ซึ่งมุ่งไปยังการบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ การจัดสรรกองกำลังที่เหมาะสมเพื่อความสำเร็จของยุทธนาการนั้น การตัดสินใจที่มีต่อหลักนิยมทางทหาร การดำเนินการตามแผนการที่วางเอาไว้ระหว่างยุทธการ และการประเมินข่าวกรองภายหลังการรบถึงความสำเร็จหรือความล้มเหลวของแผนปฏิบัติการดังกล่าว.

ใหม่!!: การทัพและกระบวนการปฏิบัติการรบ · ดูเพิ่มเติม »

การทัพหมู่เกาะโซโลมอน

การทัพหมู่เกาะโซโลมอน เป็นการทัพหลักของสงครามมหาสมุทรแปซิฟิกในสงครามโลกครั้งที่สอง การทัพเริ่มต้นขึ้นเมื่อญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกและยึดครองดินแดนหลายแห่งในหมู่เกาะโซโลมอนบริเตนและเกาะบัวเกนวิลล์ (Bougainville) ในดินแดนแห่งนิวกินีระหว่าง 6 เดือนแรกของปี..

ใหม่!!: การทัพและการทัพหมู่เกาะโซโลมอน · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่โอกินาวะ

ทธการโอกินาวะ หรือชื่อรหัส ปฏิบัติการภูเขาน้ำแข็ง (Operation Iceberg) เป็นการสู้รบบนหมู่เกาะรีวกีวของโอกินาวะและเป็นสงครามสะเทินน้ำสะเทินบกขนาดใหญ่ที่สุดในสงครามมหาสมุทรแปซิฟิก การรบกินเวลาถึง 82 วันจากต้นเดือนเมษายนถึงกลางเดือนมิถุนายน..

ใหม่!!: การทัพและยุทธการที่โอกินาวะ · ดูเพิ่มเติม »

สุลัยมานผู้เกรียงไกร

ลต่านสุลัยมานที่ 1 (ตุรกีออตโตมัน: سلطان سليمان اول‎) พระองค์เป็นที่รู้จักในโลกตะวันตกว่า สุลัยมานผู้เกรียงไกร และเป็นที่รู้จักในโลกตะวันออกว่า สุลัยมานผู้ตรากฎหมาย ทรงเป็นประมุขของจักรวรรดิออตโตมันสมัยราชวงศ์ออสมันระหว่างปี ค.ศ. 1520 จนเสด็จสวรรคตเมื่อต้นเดือนกันยายนปี ค.ศ. 1566 เป็นสุลต่านพระองค์ที่ 10 และเป็นสุลต่านที่ทรงราชย์นานที่สุดของจักรวรรดิออตโตมัน เป็นเวลานานถึง 46 ปี สุลต่านสุลัยมานเสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1494 ที่ทราบซอนในประเทศตุรกี เป็นพระราชโอรสในสุลต่านเซลิมที่ 1 และฮาฟซา ฮาทุน (Hafsa Hatun) ทรงเสกสมรสตามกฎหมายกับร็อกเซลานา หรือเฮอร์เรมสุลต่าน พระองค์เสด็จสวรรคตเมื่อราววันที่ 5/6 กันยายน ค.ศ. 1566 ที่ Szigetvár ในประเทศฮังการีปัจจุบัน หลังจากพระองค์เสด็จสวรรคต พระราชโอรสของพระองค์กับเฮอร์เรมสุลต่านก็ขึ้นครองราชย์เป็นสุลต่านเซลิมที่ 2 สุลต่านสุลัยมานเป็นพระมหากษัตริย์องค์สำคัญของคริสต์ศตวรรษที่ 16 ผู้มีบทบาทสำคัญไม่เพียงแต่ในจักรวรรดิออตโตมันเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงททวีปยุโรปด้วย พระองค์มีพระบรมราชานุภาพอันยิ่งใหญ่ทางการทหารและทางเศรษฐกิจ ทรงเป็นผู้นำทัพด้วยพระองค์เองในการสงครามหลายครั้งและทรงได้รับชัยชนะในสงครามหลายครั้งที่รวมทั้งต่อเบลเกรด โรดส์ และ ฮังการีเกือบทั้งหมด แต่มาทางพ่ายแพ้ในการล้อมกรุงเวียนนาในปี..

ใหม่!!: การทัพและสุลัยมานผู้เกรียงไกร · ดูเพิ่มเติม »

สงครามกอล

งครามกอล เป็นชุดการทัพซึ่งจูเลียส ซีซาร์ โปรกงสุลโรมัน เป็นผู้ดำเนินต่อชนเผ่ากอลหลายเผ่า สงครามกินเวลาตั้งแต่ 58 ปีก่อน..

ใหม่!!: การทัพและสงครามกอล · ดูเพิ่มเติม »

สงครามอังกฤษ-สเปน (ค.ศ. 1585)

งครามอังกฤษ-สเปน..

ใหม่!!: การทัพและสงครามอังกฤษ-สเปน (ค.ศ. 1585) · ดูเพิ่มเติม »

สงครามต่อต้านการก่อการร้าย

งครามต่อต้านการก่อการร้าย (War on Terror) เป็นคำที่ใช้ทั่วไปกับการทัพทางทหารระหว่างประเทศซึ่งเริ่มต้นอันเป็นผลมาจากวินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 ต่อสหรัฐอเมริกา การทัพครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อกำจัดอัลกออิดะห์และองค์การก่อการร้ายอื่น ๆ สหราชอาณาจักร ประเทศสมาชิกนาโต้อื่น และประเทศนอกกลุ่มนาโต้เข้าร่วมในความขัดแย้งนี้ด้วยเช่นกัน คำว่า "สงครามต่อต้านการก่อการร้าย" นี้ ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช แห่งสหรัฐอเมริกา ใช้เป็นคนแรกเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2544 รัฐบาลบุชและสื่อตะวันตกได้ใช้คำดังกล่าวหมายถึงการต่อสู้ทางทหาร การเมือง ชอบด้วยกฎหมาย และเชิงความคิดทั่วโลก โดยมุ่งเป้าทั้งองค์การที่ถูกระบุว่าเป็นผู้ก่อการร้ายและรัฐบาลที่ถูกกล่าวหาว่าสนับสนุนการก่อการร้.

ใหม่!!: การทัพและสงครามต่อต้านการก่อการร้าย · ดูเพิ่มเติม »

หลักนิยมทางทหาร

หลักนิยมทางทหาร (Military doctrine) หมายถึง การจัดการกำลังทหารในการมีส่วนร่วมในการทัพ ปฏิบัติการทางทหาร ยุทธการและยุทธนาการต่าง ๆ โดยจะต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับทฤษฎี ประวัติศาสตร์ การทดลองและการปฏิบัติ และมีความคิดริเริ่มและสร้างสรรค์อีกด้วย หลักนิยมทางทหารเป็นแนวทางสำหรับการดำเนินการ โดยเป็นการวางโครงร่างให้กับกำลังทหารทั้งหมด ซึ่งเป็นประโยชน์ในการจัดมาตรฐานของปฏิบัติการ สร้างรูปแบบทั่วไปในการบรรลุเป้าหมายทางการทหาร เพื่อให้เกิดความง่ายและความคล่องแคล่ว และยังเป็นการวางพื้นฐานของการกำหนดรูปแบบการดำเนินการของปฏิบัติการทางทหาร สำหรับนักวางแผนทางการทหาร.

ใหม่!!: การทัพและหลักนิยมทางทหาร · ดูเพิ่มเติม »

อัศวินเทมพลาร์

ทหารผู้ยากแห่งพระคริสต์และพระวิหารแห่งโซโลมอน (Pauperes commilitones Christi Templique Solomonici) หรือที่รู้จักกันในชื่ออัศวินเทมพลาร์ หรือคณะแห่งพระวิหาร (Ordre du Temple หรือ Templiers) เป็นคณะทหารคริสตชนที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดMalcolm Barber, The New Knighthood: A History of the Order of the Temple.

ใหม่!!: การทัพและอัศวินเทมพลาร์ · ดูเพิ่มเติม »

อัตติลา

อัตติลา หรือที่ใช้อ้างอิงส่วนใหญ่ อัตติลาเดอะฮัน (Attila the Hun) (ค.ศ. 406 – ค.ศ. 453) เป็นจักรพรรดิชาวฮันผู้ครองจักรวรรดิฮัน (Hunnic Empire) ซึ่งประกอบไปด้วยกลุ่มชนเผ่าต่างๆทั้ง ฮัน ออสโตรกอท อลานส์ และเผ่าอนารยชนอื่นๆ ในดินแดนยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก ระหว่าง ค.ศ. 434 จนถึงเดือนมีนาคม ค.ศ. 453 ที่พระองค์ได้เสด็จสวรรคตลง ในรัชสมัยของพระองค์สามารถครอบครองดินแดนตั้งแต่ ประเทศเยอรมนีไปจนถึงแม่น้ำยูรัล และจากแม่น้ำดานูบไปจนถึงทะเลบอลติก กินพื้นที่มากกว่า 4 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นการครอบครองดินแดนที่มากที่สุดอาณาจักรหนึ่งในยุคมืด ในรัชสมัยการปกครองของอัตติลาทรงเป็นประมุขผู้สร้างความหวาดหวั่นและถือเป็นศัตรูที่อันตรายที่สุดแก่จักรวรรดิโรมันตะวันออกและจักรวรรดิโรมันตะวันตก พระองค์ทรงรุกรานคาบสมุทรบอลข่านถึงสองครั้ง แต่พระองค์ไม่สามารถรุกรานกรุงคอนสแตนติโนเปิลได้สำเร็จ และจากผลพวงของการพ่ายแพ้ในเปอร์เซีย ในปี..

ใหม่!!: การทัพและอัตติลา · ดูเพิ่มเติม »

อี ซุน-ชิน

อี ซุน-ชิน (28 เมษายน พ.ศ. 2087 – 16 ธันวาคม พ.ศ. 2141) คือแม่ทัพเรือของเกาหลีในยุคราชวงศ์โชซ็อน ที่มีชื่อเสียงจากการนำกองทัพเรือเกาหลีเข้าต่อสู้กับกองทัพเรือญี่ปุ่น ในการรุกรานเกาหลีของญี่ปุ่น (พ.ศ. 2135-2141) ในยุคราชวงศ์โชซ็อน เขาเข้าร่วมรบในฐานะผู้บัญชาการที่ 1 แห่งจังหวัดทหารเรือคย็องซัง, ช็อลลา และชุงช็อง ราชทินนามของเขาคือ "Samdo Sugun Tongjesa" (ฮันกึล: 삼도수군통제사, ฮันจา: 三道水軍統制使) ซึ่งแปลว่า ผู้บัญชาการ 3 จังหวัดทหารเรือ ซึ่งเป็นราชทินนามสำหรับผู้ที่ครองตำแหน่ง ผู้บัญชาการหน่วยรบทางทะเลของราชวงศ์โซซอน มาจนถึง พ.ศ. 2439 อี ซุน-ชินมีชื่อเสียงด้วยการเอาชนะกองทัพญี่ปุ่นในขณะที่ฝ่ายตนมีจำนวนน้อยกว่ามากได้ และการประดิษฐ์เรือรบเต่า (คอบุกซ็อน, 거북선) ซึ่งเป็นเรือรบหุ้มเกราะโลหะลำแรกของโลกอีกด้วย เขาได้รับการยกย่องในฐานะแม่ทัพเรือไร้พ่าย และอาจหาญด้วยวีรกรรมการที่ตนนั้นถูกกระสุนปืนไฟยิงแต่มีคำสั่งให้ลูกน้องมัดตนไว้กับเสากระโดงเรือจนกว่าจะตายและให้แม่ทัพรองสวมเกราะของตนเพื่อขวัญกำลังใจของทหารเรือเกาหลีซึ่งมีเพียงไม่กี่คนในโลกนี้ที่ได้รับการยกย่องเช่นนี้ เขาเสียชีวิตในยุทธนาวีที่โนรยัง (อ่านว่า โน-รยัง) จากการถูกยิงด้วยกระสุนปืนไฟหนึ่งนัด ในวันที่16 ธันวาคม พ.ศ. 2141 ราชสำนักโชซ็อนยกย่อง เขาด้วยการพระราชทานราชทินนาม และยศให้หลายตำแหน่ง รวมทั้งชื่อที่ตั้งให้เป็นเกียรติอย่าง "ชุงมูกง" (Chungmugong,충무공, 忠武公, ขุนศึกผู้จงรัก), "ซ็อนมูอิลดึงกงชิน" (Seonmu Ildeung Gongsin, 선무일등공신, 宣武一等功臣, นายทหารผู้ควรได้รับการยกย่องชั้น1แห่งราชวงศ์โซซอน) และตำแหน่งอีก 2 คือ "ย็องอึยจ็อง" (Yeongijeong, 영의정, 領議政, Prime Minister), และ "ท็อกพุงบูว็อนกุน" (Deokpung Buwongun, 덕풍부원군, 德豊府院君, เจ้าชายแห่งราชสำนักจากท็อกพุง) และได้รับพระราชทานราชทินนามจากจักรพรรดิว่านลี่แห่งราชวงศ์หมิงว่า "จอมพลเรือแห่งจักรวรรดิหมิง".

ใหม่!!: การทัพและอี ซุน-ชิน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Military campaignการรณรงค์ทางทหารการทัพทางทหาร

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »