โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระเจ้าปเสนทิโกศล

ดัชนี พระเจ้าปเสนทิโกศล

ปเสนทิ (ปะ-เส-นะ-ทิ; Pasenadi) หรือ ประเสนชิต (ปฺระ-เส-นะ-ชิด; Prasenajit) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งโกศลจากราชวงศ์อิกษวากุ เสวยราชย์อยู่ ณ เมืองสาวัตถี สืบต่อจากพระบิดา คือ พระเจ้าสัญชัยมหาโกศล ถือเป็นอุบาสกที่สำคัญพระองค์หนึ่งของพระพุทธเจ้า และทรงสร้างวิหารอารามไว้หลายแห่ง.

13 ความสัมพันธ์: พระโคตมพุทธเจ้าพระเจ้ามหานามะพระเจ้าอชาตศัตรูมคธราชวงศ์อิกษวากุราชคฤห์สักกะสาวัตถีอวัธอุบาสก อุบาสิกาตักศิลาปุราณะเดลี

พระโคตมพุทธเจ้า

ระโคตมพุทธเจ้า มีพระนามเดิมในภาษาบาลีว่า สิทธัตถะ โคตมะ หรือในภาษาสันสกฤตว่า สิทฺธารฺถ เคาตมะ (อ่านว่า /สิดทาด —/) (เทวนาครี: सिद्धार्थ गौतम) เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ผู้เป็นศาสดาของศาสนาพุทธ สาวกของพระองค์ไม่นิยมออกพระนามโดยตรง แต่เรียกตามพระสมัญญาว่า "ภควา" (พระผู้มีพระภาคเจ้า) คัมภีร์พุทธศาสนาทั้งนิกายเถรวาทและนิกายมหายานบันทึกตรงกันว่า พระโคตมพุทธเจ้าทรงดำรงพระชนมชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปี ก่อนคริสตกาลตามตำราไทยซึ่งอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และตรงกับ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล พระโคตมพุทธเจ้าเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายาแห่งศากยวงศ์ โคตมโคตร อันเป็นราชสกุลวงศ์ที่ปกครองกรุงกบิลพัสดุ์มาช้านาน ก่อนออกผนวชทรงดำรงพระอิสสริยยศเป็นรัชทายาท เมื่อเสด็จออกผนวชและบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ทรงได้รับการถวายพระนามต่าง ๆ อาทิ พระศากยมุนี, พระพุทธโคดม, พระโคดมพุทธเจ้า ฯลฯ แต่ทรงเรียกพระองค์เองว่า ตถาคต แปลว่า พระผู้ไปแล้วอย่างนั้น คือ ทรงปฏิญาณว่า ทรงพ้นจากทุกข์ทั้งปวง สำเร็จแล้วซึ่งอรหัตผล.

ใหม่!!: พระเจ้าปเสนทิโกศลและพระโคตมพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้ามหานามะ

ระเจ้ามหานามศากยราชา เอตทัคคะผู้ถวายทานอันประณีต มีพระอนุชา 1 พระองค์ คือ เจ้าชายอนุรุทธะ เอตทัคคะผู้ได้ตาทิพย์ พระเจ้ามหานามะประสูติในพระราชวังกรุงกบิลพัสดุ์ โดยชื่อมหานามะนั้นสันนิษฐานว่าเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นตามชื่อของหนึ่งในปัญจวัคคีย์ที่อาศัยอยู่ในกรุงกบิลพัสดุ์คือท่านมหานามะซึ่งต่อมาได้เป็นท่านพระมหานามะเถระ สำหรับพระเจ้ามหานามะนั้นอดีตชาติของท่านในสมัยพระกัสสปพุทธเจ้าพระองค์เกิดเป็นมนุษย์และได้ฟังธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดงเกี่ยวกับเรื่องอายุขัยของมนุษย์และพระพุทธเจ้าองค์ต่อไปจึงเกิดความเลื่อมใสแล้วจึงตั้งจิตอธิษฐานเพื่อมาเกิดเป็นพระสาวกของพระโคตมพุทธเจ้า หลังจากที่ตายจากอัตภาพนั้นแล้วได้ท่องเที่ยวอยู่ในภพเทวดาและมนุษย์เท่านั้นและในครั้งพุทธกาลได้มาเกิดเป็นเจ้าศากยะพระนามว่ามหานาม.

ใหม่!!: พระเจ้าปเสนทิโกศลและพระเจ้ามหานามะ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าอชาตศัตรู

ูปพระเจ้าอชาตศัตรู เมืองราชคฤห์ พระเจ้าอชาตศัตรู (अजातशत्रु; ครองราชย์ 2 ปีก่อน พ.ศ.- พ.ศ. 83) พระราชาองค์ที่ 3 แห่งแคว้นมคธ ปกครองทางตอนเหนือของอินเดีย เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าพิมพิสารและพระนางเวเทหิ พระธิดาของพระเจ้ามหาโกศลแห่งแคว้นโกศลและพระภคินีของพระเจ้าปเสนทิโกศล พระเจ้าอชาตศัตรูเป็นอุบาสก และผู้อุปถัมภ์สังคายนาครั้งที่หนึ่งในศาสนาพุท.

ใหม่!!: พระเจ้าปเสนทิโกศลและพระเจ้าอชาตศัตรู · ดูเพิ่มเติม »

มคธ

มคธ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: พระเจ้าปเสนทิโกศลและมคธ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์อิกษวากุ

อิกษวากุ ในภาษาสันสกฤต (इक्ष्वाकु Ikṣvāku) หรือ โอกกากะ ในภาษาบาลี (Okkāka) แปลว่า ต้นขี้กาเทศ เป็นชื่อราชวงศ์ในวรรณกรรมปุราณะ ซึ่งมีผู้สถาปนา คือ พระเจ้าอิกษวากุ แต่เอกสารจากศาสนาพุทธว่า ผู้สถาปนา คือ พระเจ้ามหาสมมติ บรรพบุรุษพระองค์หนึ่งของพระเจ้าอิกษวากุ ซึ่งมหาชนสมมุติขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกแห่งปัจจุบันสมัย ราชวงศ์นี้ยังเป็นที่รู้จักด้วยชื่อ สุริยวงศ์ และถือกันว่า พระรามเป็นสมาชิกราชวงศ์ดังกล่าว ส่วนศาสนาเชนถือว่า ตีรถังกร 22 องค์ จากทั้งหมด 24 องค์ เป็นสมาชิกราชวงศ์นี้ ราชวงศ์อิกษาวกุมีสมาชิกสำคัญอีกหลายพระองค์ เช่น พระเจ้าทิลีป, พระเจ้าปเสนทิโกศล, พระเจ้ารัคหุ, พระเจ้าสัคระ, พระเจ้าหริศจันทร์, และพระพรต เอกสารฮินดูอย่าง ปุราณะ และเอกสารพุทธอีกหลายฉบับ นับพระเจ้าสุทโธทนะ, พระพุทธเจ้า, และพระราหุล เข้าในราชวงศ์นี้เช่นกัน.

ใหม่!!: พระเจ้าปเสนทิโกศลและราชวงศ์อิกษวากุ · ดูเพิ่มเติม »

ราชคฤห์

ราชคฤห์ (ราชคห; राजगिर ราชคริ; राजगीर ราชคีร; Rajgir; راجگیر) เป็นชื่อเมืองหลวงของแคว้นมคธสมัยพุทธกาล เป็นเมืองในหุบเขา มีภูเขาล้อมรอบ 5 ลูก จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เบญจคีรีนคร ราชคฤห์เป็นเมืองตั้งหลักพระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้า โดยพระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพระเจ้าพิมพิสารผู้ครองนคร เป็นเมืองที่มีประวัติความเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนามากที่สุด สถานที่ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าและพระสาวกยังปรากฏอยู่มากมาย เช่น พระคันธกุฎีบนยอดเขาคิชฌกูฏ วัดเวฬุวันซึ่งเป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา ถ้ำสุกรขาตาที่พระสารีบุตรได้บรรลุธรรม ถ้ำสัตบรรณคูหาที่ทำสังคายนาครั้งแรก เป็นต้น สถานะเมืองหลวงของราชคฤห์ถูกเปลี่ยนโอนไปอยู่ที่ปาฏลีบุตรตั้งแต่สมัยพระเจ้าอชาตศัตรู ส่งผลให้ราชคฤห์ในปัจจุบันเป็นเพียงเมืองเล็ก ๆ ในรัฐพิหาร มีผู้อยู่อาศัยไม่มาก มีสภาพเกือบเป็นป่า แต่เป็นสถานที่แสวงบุญของชาวพุทธทั่วโลกแห่งหนึ่ง ไฟล์:Rajgirbuddha.jpg|พระพุทธรูปยืนกลางมณฑลโบราณสถานวัดเวฬุวันมหาวิหาร เมืองราชคฤห์ ไฟล์:Vulturepeak.jpg|พระคันธกุฎี บนยอดเขาคิชกูฏ ไฟล์:Sattapanni.jpg|ถ้ำสัตบรรณคูหา สถานที่ทำปฐมสังคายนา ไฟล์:Tapodarama.jpg|ตโปธาราม บ่อน้ำโบราณอายุกว่า 2,500 ปี ไฟล์:Vulturepeak1.jpg|พระมูลคันธกุฎิยอดเขาคิชกูฏ เมื่อมองจากสันติสถูป.

ใหม่!!: พระเจ้าปเสนทิโกศลและราชคฤห์ · ดูเพิ่มเติม »

สักกะ

กยะ (शाक्य ศากฺย) หรือ สักกะ (Sakka, Sakya, Sākiya) เป็นราชสกุลและเชื้อชาติหนึ่งซึ่งสืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าโอกกากะ บรรพชนของตระกูลนี้ได้สร้างและครองกรุงกบิลพัสดุ์ พระโคตมพุทธเจ้าก็มาจากราชสกุลนี้ และเรียกแคว้นของชาวศากยะว่าสักกชนบท.

ใหม่!!: พระเจ้าปเสนทิโกศลและสักกะ · ดูเพิ่มเติม »

สาวัตถี

วัตถี (Sāvatthī สาวัตถี; श्रावस्ती Śrāvastī ศราวัสตี; Sravasti) คือเมืองโบราณในสมัยพุทธกาล มีความสำคัญในฐานะที่เป็นเมืองหลวงของแคว้นโกศล 1 ใน แคว้นมหาอำนาจใน 16 มหาชนบทในสมัยพุทธกาล เมืองนี้รุ่งเรืองจากการที่เป็นชุมนุมการค้าขาย การทหาร เป็นเมืองมหาอำนาจใหญ่ควบคู่กับเมืองราชคฤห์แห่งแคว้นมคธในสมัยโบราณ ปัจจุบันเมืองนี้เหลือเพียงซากโบราณสถาน คนอินเดียในปัจจุบันลืมชื่อเมืองสาวัตถี (ในภาษาบาลี) หรือ ศราวัสตี (ในภาษาสันสกฤต) ไปหมดแล้ว คงเรียกแถบตำบลที่ตั้งเมืองสาวัตถีนี้เพียงว่า สะเหถ-มะเหถ (Saheth-Maheth) ปัจจุบัน สะเหต-มะเหต ตั้งอยู่ในรัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย เมืองสวัตถีในสมัยพุทธกาลเป็นเมืองที่ใหญ่พอกับเมืองราชคฤห์และพาราณสี เป็นเมืองศูนย์กลางการค้าขายในสมัยพุทธกาล โดยในสมัยนั้นเมืองสาวัตถีมีพระเจ้าปเสนทิโกศลปกครองร่วมสมัยกับพระเจ้าพิมพิสาร นอกจากนี้เมืองสาวัตถีนับว่าเป็นเมืองสำคัญในการเป็นฐานในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้าที่สำคัญ เพราะเป็นเมืองที่พระพุทธเจ้าประทับนานที่สุดถึง 25 พรรษา เป็นที่ตรัสพระสูตรมากมายและเป็นเมืองที่พระพุทธศาสนามั่นคงที่สุด เพราะมีผู้อุปถัมภ์สำคัญ เช่น พระเจ้าปเสนทิโกศล อนาถบิณฑิกเศรษฐี นางวิสาขา เป็นต้น สาวัตถี ปัจจุบันยังมีซากโบราณสถานที่สำคัญปรากฏร่องรอยอยู่ คือวัดเชตวันมหาวิหาร (ซึ่งพระพุทธเจ้าเคยประทับอยู่ถึง 19 พรรษา), บริเวณวังของพระเจ้าปเสนทิโกศล, บ้านของอนาถบิณฑิกเศรษฐี (สถูป), บ้านบิดาขององคุลีมาล (สถูป), สถานที่พระเทวทัตถูกแผ่นดินสูบ (หน้าวัดพระเชตวันมหาวิหาร), ที่แสดงยมกปาฏิหาริย์ แล้วเสด็จไปจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อแสดงพระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา เป็นต้น.

ใหม่!!: พระเจ้าปเสนทิโกศลและสาวัตถี · ดูเพิ่มเติม »

อวัธ

อวัธ (Awadh; अवध, اودھ) หรืออูธเป็นแคว้นที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ทางตอนเหนือของอินเดียตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำระหว่างแม่น้ำยมุนาทางตะวันตกเฉียงใต้และแม่น้ำคันทักทางตะวันออก คำว่าอวัธมาจากอโยธยางเป็นชื่อเมืองของพระราม อังกฤษเข้ามายึดแคว้นนี้ไปทีละส่วนใน..

ใหม่!!: พระเจ้าปเสนทิโกศลและอวัธ · ดูเพิ่มเติม »

อุบาสก อุบาสิกา

อุบาสก แปลว่า ผู้นั่งใกล้พระรัตนตรัย หมายถึงผู้ใกล้ชิดพระพุทธศาสนา ผู้นับถือศาสนาอย่างมั่นคง ถ้าเป็นหญิง ใช้ว่า อุบาสิกา อุบาสก เรียกกร่อนไปว่า ประสก คำว่า อุบาสิกา เรียกกร่อนไปว่าสีกา ก็มี เรียกชายหญิงที่รักษาอุโบสถศีลโดยค้างคืนที่วัดในวันพระว่า อุบาสกอุบาสิกา อุบาสกอุบาสิกา ปกติหมายถึงชาวบ้านทั่วไปที่นับถือพระพุทธศาสนา บำเพ็ญบุญในพระพุทธศาสนา ไปวัดทำบุญให้ทาน ถือศีล อุปถัมภ์บำรุงวัด ช่วยเหลือกิจการของวัดเป็นประจำ.

ใหม่!!: พระเจ้าปเสนทิโกศลและอุบาสก อุบาสิกา · ดูเพิ่มเติม »

ตักศิลา

ตักศิลา (Taxila; ตัก-กะ-สิ-ลา) หรือ ตักสิลา (Takkaśilā; ตัก-กะ-สิ-ลา) ในภาษาบาลี หรือ ตักษศิลา (Takṣaśilā; ตัก-สะ-สิ-ลา) ในภาษาสันสกฤต เป็นชื่อเมืองอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐปัญจาบ เป็นมหาวิทยาลัยและเป็นศูนย์กลางของศิลปวิชาการ ในอดีตของอินเดียตั้งแต่ก่อนพุทธกาล มีสำนักอาจารย์ทิศาปาโมกข์สั่งสอนศิลปวิทยาต่างๆ แก่ศิษย์ที่มาเล่าเรียนในแถบดินแดนชมพูทวีป บุคคลสำคัญและมีชื่อเสียงหลายท่านที่สำเร็จการศึกษาจากที่แห่งนี้ เช่น พระเจ้าปเสนทิโกศล หมอชีวกโกมารภัจจ์ องคุลีมาล ปัจจุบันนี้ตักศิลาอยู่ในเขตประเทศปากีสถาน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงอิสลามาบาด คงเหลือแต่ซากเมืองให้ได้เห็น มีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญคือ พิพิธภัณฑ์ตักศิลา ซึ่งได้เก็บรวบรวมหลักฐานเกี่ยวกับความเป็นอยู่และภูมิปัญญาของชาวตักศิลายุคต่าง ๆ เอาไว้อย่างเป็นระบบระเบียบ รวมถึง ซากสถูปเจดีย์ วัดวาอาราม และปฏิมากรรม แบบศิลปะคันธาระ จำนวนมาก อันเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของผู้คน จนรัฐบาลปากีสถานได้อนุรักษ์ไว้เป็นโบราณสถานภายใต้การสนับสนุนขององค์การยูเนสโก เมืองตักศิลาถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่ดึกดำบรรพ์เป็นนครหลวงแห่งแคว้นคันธาระ เป็นหนึ่งในบรรดา 16 แคว้นของชมพูทวีป สถาปนาขึ้นโดยชาวอารยัน ตักศิลาตกอยู่ภายใต้อารยธรรมมากมาย เช่น อารยธรรมกรีกโดยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช และอารยธรรมฮินดูหลายราชวงศ์ ในสมัยพุทธกาลมีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำแคว้นและรุ่งเรืองมานับพันปี โดยมีความรุ่งเรืองถึงขีดสุดในสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช พระองค์ได้สร้างตักศิลาให้มีชื่อเสียงพร้อมๆ กับการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ชนชาติเฮฟทาไลต์ (Hephthalite) ได้ยกทัพมาตีอินเดียและทำลายพระพุทธศาสนา ทำให้เมืองตักศิลาพินาศสูญสิ้นแต่บัดนั้น.

ใหม่!!: พระเจ้าปเสนทิโกศลและตักศิลา · ดูเพิ่มเติม »

ปุราณะ

ระนางอัมพิกะ หรือทุรคา นำ'''มาตฤกา'''ทั้งแปด ไปรบกับอสูรชื่อ '''รักตพีช''' จากเรื่อง "เทวีมาหาตมยัม" ในคัมภีร์'''มารกัณเฑยปุราณะ''' ปุราณะ (पुराण, purāṇa, เก่าแก่, โบราณ) เป็นชื่อคัมภีร์ที่สำคัญประเภทหนึ่งในศาสนาฮินดู (หรือศาสนาเชน และพุทธศาสนา) โดยมากจะเป็นเรื่องเล่าว่าด้วยประวัติของจักรวาล นับตั้งแต่การสร้าง จนถึงการทำลาย (ประลัย) ลำดับพงศ์กษัตริย์ วีรบุรุษ ฤษี ทวยเทพ ตลอดจนจักรวาลวิทยา ปรัชญา และภูมิศาสตร์ของฮินดูด้วย เนื้อหาในปุราณะมักจะเน้นเทพเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งโดยเฉพาะ เด่นด้วยแนวคิดเชิงศาสนาและปรัชญา ดำเนินเรื่องให้มีบุคคล (มักจะเป็นฤษี) เป็นผู้เล่าเรื่องให้อีกคนหนึ่งฟัง คัมภีร์ปุราณะแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ มหาปุราณะ และอุปปุราณ.

ใหม่!!: พระเจ้าปเสนทิโกศลและปุราณะ · ดูเพิ่มเติม »

เดลี

ลี หรือในชื่อท้องถิ่นว่า ดิลลี (Delhi, दिल्ली, ਦਿੱਲੀ, دلّی) ชื่อเต็มคือ National Capital Territory of Delhi (NCT) เป็นมหานครที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของอินเดียและมีประชากรมากเป็นอันดับสองของประเทศ ครอบคลุมพื้นที่ เดลีเก่า และเดลีใหม่ (นิวเดลี) ซึ่งเป็นเมืองหลวงปัจจุบันของอินเดี.

ใหม่!!: พระเจ้าปเสนทิโกศลและเดลี · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Pasenadiพระเจ้าประเสนชิตพระเจ้าประเสนชิตโกศลพระเจ้าปเสนทิพระเจ้าโกศลประเสนชิต

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »