โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ตักศิลา

ดัชนี ตักศิลา

ตักศิลา (Taxila; ตัก-กะ-สิ-ลา) หรือ ตักสิลา (Takkaśilā; ตัก-กะ-สิ-ลา) ในภาษาบาลี หรือ ตักษศิลา (Takṣaśilā; ตัก-สะ-สิ-ลา) ในภาษาสันสกฤต เป็นชื่อเมืองอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐปัญจาบ เป็นมหาวิทยาลัยและเป็นศูนย์กลางของศิลปวิชาการ ในอดีตของอินเดียตั้งแต่ก่อนพุทธกาล มีสำนักอาจารย์ทิศาปาโมกข์สั่งสอนศิลปวิทยาต่างๆ แก่ศิษย์ที่มาเล่าเรียนในแถบดินแดนชมพูทวีป บุคคลสำคัญและมีชื่อเสียงหลายท่านที่สำเร็จการศึกษาจากที่แห่งนี้ เช่น พระเจ้าปเสนทิโกศล หมอชีวกโกมารภัจจ์ องคุลีมาล ปัจจุบันนี้ตักศิลาอยู่ในเขตประเทศปากีสถาน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงอิสลามาบาด คงเหลือแต่ซากเมืองให้ได้เห็น มีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญคือ พิพิธภัณฑ์ตักศิลา ซึ่งได้เก็บรวบรวมหลักฐานเกี่ยวกับความเป็นอยู่และภูมิปัญญาของชาวตักศิลายุคต่าง ๆ เอาไว้อย่างเป็นระบบระเบียบ รวมถึง ซากสถูปเจดีย์ วัดวาอาราม และปฏิมากรรม แบบศิลปะคันธาระ จำนวนมาก อันเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของผู้คน จนรัฐบาลปากีสถานได้อนุรักษ์ไว้เป็นโบราณสถานภายใต้การสนับสนุนขององค์การยูเนสโก เมืองตักศิลาถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่ดึกดำบรรพ์เป็นนครหลวงแห่งแคว้นคันธาระ เป็นหนึ่งในบรรดา 16 แคว้นของชมพูทวีป สถาปนาขึ้นโดยชาวอารยัน ตักศิลาตกอยู่ภายใต้อารยธรรมมากมาย เช่น อารยธรรมกรีกโดยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช และอารยธรรมฮินดูหลายราชวงศ์ ในสมัยพุทธกาลมีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำแคว้นและรุ่งเรืองมานับพันปี โดยมีความรุ่งเรืองถึงขีดสุดในสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช พระองค์ได้สร้างตักศิลาให้มีชื่อเสียงพร้อมๆ กับการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ชนชาติเฮฟทาไลต์ (Hephthalite) ได้ยกทัพมาตีอินเดียและทำลายพระพุทธศาสนา ทำให้เมืองตักศิลาพินาศสูญสิ้นแต่บัดนั้น.

15 ความสัมพันธ์: ชานัคยาชีวกโกมารภัจจ์พญานาคพระองคุลิมาลเถระพระเจ้าอโศกมหาราชพระเจ้าปเสนทิโกศลราชวงศ์โมริยะรายชื่อแหล่งมรดกโลกในประเทศปากีสถานรายชื่อแหล่งมรดกโลกในเอเชียใต้ศาสนาพุทธในประเทศอัฟกานิสถานอาณาจักรในอินเดียโบราณอโศกมหาราช (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2558)อเล็กซานเดอร์มหาราชประวัติศาสตร์ของจิตรกรรมโปรุส ศึกสองราชันย์

ชานัคยา

นัคยาหรือจาณักยะ (ประมาณ 370–283 ก่อนคริสตกาล) เป็นครูนักปรัชญาของอินเดียและเป็นพระอาจารย์ทึ่ปรึกษาส่วนพระองค์ของกษัตริย์อินเดีย แต่เดิมชานัคยาเป็นศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์และวิทยาศาสตร์ทางการเมืองที่ตักศิลา ต่อมาเขาได้ช่วยพระเจ้าจันทรคุปต์ก่อตั้งจักรวรรดิเมารยะ ชานัคยาจึงได้เป็นที่ปรึกษาส่วนพระองค์ของพระเจ้าจันทรคุปต์ ต่อมาได้เป็นที่ปรึกษาของพระเจ้าพินทุสาร โอรสของพระเจ้าจันทรคุปต์ในเวลาต่อมา และเป็นผู้สนับสนุนพระเจ้าอโศกมหาราชในการขึ้นครองร.

ใหม่!!: ตักศิลาและชานัคยา · ดูเพิ่มเติม »

ชีวกโกมารภัจจ์

หมอ ชีวกโกมารภัจจ์ (อ่านว่า ชี-วะ-กะ-โก-มา-ระ-พัด) บรมครูแห่งการแพทย์แผนโบราณ เป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา เรื่องราวขีวิตของท่านมีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกและคัมภีร์อรรถกถา ตลอดชีวิตของหมอชีวกโกมารภัจจ์ ได้บำเพ็ญแต่คุณงามความดี ช่วยเหลือผู้เจ็บไข้โดยไม่เลือกฐานะ จนได้รับยกย่องจากพระพุทธองค์ว่า เป็นเอตทัคคะ ผู้เลิศกว่าอุบาสกทั้งปวงในทาง "เป็นที่รักของปวงชน".

ใหม่!!: ตักศิลาและชีวกโกมารภัจจ์ · ดูเพิ่มเติม »

พญานาค

ญานาค (नागराज นาคราช) หมายถึง นาคผู้เป็นใหญ่ นาคผู้เป็นหัวหน้า ตามความเชื่อในศาสนาแบบอินเดีย คล้ายกับพญามังกร (龍王 หลงหวัง) ตามคติศาสนาพื้นบ้านจีน.

ใหม่!!: ตักศิลาและพญานาค · ดูเพิ่มเติม »

พระองคุลิมาลเถระ

องคุลิมาล หรือ พระองคุลิมาลเถระ เป็นบุคคลสำคัญในยุคต้นแห่งพุทธศาสนา โดยเฉพาะตามพุทธประวัติพุทธฝ่ายเถรวาท เดิมนั้นเป็นโจรปล้นฆ่าคน แต่ภายหลังมีศรัทธาในพุทธศาสนา ได้กลับใจบวชเป็นพระภิกษุ และบรรลุเป็นพระอรหันต์ อีกทั้งมียังบทสวดของท่านอีกด้วย ชื่อ อังคุลิมาลปริตร คำว่า องคุลิมาล นั้นมาจากคำว่า อังคุลี (นิ้วมือ) + มาลา (มาลัย สร้อยคอ สาย แถว) แปลว่า ผู้มีนิ้วมือเป็นมาลัย แต่เดิมนั้นองคุลิมาลชื่อว่า อหิงสกะ เป็นบุตรของปุโรหิตของพระเจ้าปเสนทิโกศล เมืองสาวัตถี มารดาของชื่อ นางมันตานี อหิงสกะได้ไปเรียนวิชาที่เมืองตักกสิลา และสามารถเรียนได้รวดเร็วอีกทั้งยังปรนนิบัติอาจารย์อย่างดี จนเป็นที่รักใคร่ของอาจารย์อย่างมาก เป็นเหตุให้ศิษย์อื่นริษยา จึงยุยงอาจารย์ว่าองคุลิมาลคิดจะทำร้าย อาจารย์จึงคิดจะกำจัดองคุลิมาลเสีย โดยบอกกองคุลิมาลว่า ถ้าจะสำเร็จวิชาต้องฆ่าคนให้ได้ 1,000 คนเสียก่อน องคุลิมาลจึงออกเดินทางฆ่าคน แล้วตัดนิ้วหัวแม่มือมาคล้องที่คอเพื่อให้จำได้ว่าฆ่าไปกี่คนแล้ว เหตุนี้เอง อหิงสกะจึงได้รับสมญานามว่า องคุลิมาล เมื่อฆ่าจนครบ 999 คน ก็มาพบพระพุทธเจ้า และได้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ออกบวชเป็นพุทธสาวก เรื่องราวขององคุลิมาลมีการเล่าขยายความเอาไว้ในเรื่อง กามนิต ของคาร์ล อดอล์ฟ เจลเลอร์รุป กวีชาวเดนมาร์ก.

ใหม่!!: ตักศิลาและพระองคุลิมาลเถระ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าอโศกมหาราช

ระเจ้าอโศกมหาราช (अशोकः; พ.ศ. 240 - พ.ศ. 312 ครองราชย์ พ.ศ. 270 - พ.ศ. 311) เป็นจักรพรรดิอินเดียโบราณแห่ง ราชวงศ์โมริยะ หรือเมารยะผู้ปกครอง อนุทวีปอินเดีย เกือบทั้งหมดพระองค์เป็นราชนัดดา (หลาน) ของผู้ก่อตั้งราชวงศ์เมารยะคือ พระเจ้าจันทรคุปต์ ผู้สร้างหนึ่งในจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในอินเดียโบราณและจันทรคุปต์สละทั้งหมดแล้วบวชเป็นนักบวชเชน พระเจ้าอโศกเป็นหนึ่งในจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ของอินเดียพระองค์ขยายจักรวรรดิของพระเจ้าจันทรคุปต์และครอบครองเหนือดินแดนตั้งแต่ทางทิศตะวันตกคือพื้นที่ ประเทศอัฟกานิสถาน ในปัจจุบันขยายออกไปทางทิศตะวันออกถึงบังกลาเทศ เป็นพื้นที่ครอบคลุมอนุทวีปของชาวอินเดียทั้งหมดยกเว้นพื้นที่ที่เป็น รัฐทมิฬนาฑู ในปัจจุบัน คาร์นาตากาและรัฐเกรละ เมืองหลวงของจักรวรรดิคือเมืองปาฏลีบุตร (ในแคว้นมคธปัจจุบันนี้คือเมืองปัฏนะ)พร้อมด้วยเมืองหลวงต่างจังหวัดคือเมือง ตักศิลา และเมืองอุชเชน หรือ อุชเชนี ในครั้งพุทธกาล ประมาณ..

ใหม่!!: ตักศิลาและพระเจ้าอโศกมหาราช · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าปเสนทิโกศล

ปเสนทิ (ปะ-เส-นะ-ทิ; Pasenadi) หรือ ประเสนชิต (ปฺระ-เส-นะ-ชิด; Prasenajit) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งโกศลจากราชวงศ์อิกษวากุ เสวยราชย์อยู่ ณ เมืองสาวัตถี สืบต่อจากพระบิดา คือ พระเจ้าสัญชัยมหาโกศล ถือเป็นอุบาสกที่สำคัญพระองค์หนึ่งของพระพุทธเจ้า และทรงสร้างวิหารอารามไว้หลายแห่ง.

ใหม่!!: ตักศิลาและพระเจ้าปเสนทิโกศล · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์โมริยะ

มริยะ (เขียนตามภาษาบาลี) หรือ เมารยะ (เขียนตามภาษาสันสกฤต: मौर्य, เมารฺย) เป็นจักรวรรดิซึ่งมีเนื้อที่กว้างใหญ่และมีอิทธิพลมากที่สุดจักรวรรดิหนึ่งในอินเดีย ปกครองโดยราชวงศ์โมริยะ (मौर्य राजवंश, เมารฺย ราชวํศ) ตั้งแต..

ใหม่!!: ตักศิลาและราชวงศ์โมริยะ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อแหล่งมรดกโลกในประเทศปากีสถาน

องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลกของประเทศปากีสถานทั้งสิ้น 6 แหล่ง.

ใหม่!!: ตักศิลาและรายชื่อแหล่งมรดกโลกในประเทศปากีสถาน · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อแหล่งมรดกโลกในเอเชียใต้

องค์การยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนสถานที่สำคัญใน 6 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เป็นมรดกโลก ทั้งสิ้น 60 แห่ง, UNESCO World Heritage Sites official sites.

ใหม่!!: ตักศิลาและรายชื่อแหล่งมรดกโลกในเอเชียใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธในประเทศอัฟกานิสถาน

ทธศาสนาได้เผยแพร่เข้ามาตั้งแต่สมัยพุทธกาล โดยกลุ่มชาวศากยะที่หนีตายจากพระเจ้าวิฑฑูภะมีเจ้าชายองค์หนึ่งได้สมรสกับกับพระเทพธิดาพญานาค แล้วตั้งรกรากอยู่ที่แคว้นอุทยาน (Udyana) ทางตอนเหนือของอัฟกานิสถานในปัจจุบัน และต่อมาก็หลังทุติยสังคายนาก็มีพระกลุ่มมหาสังฆิกะได้เผยแพร่ในบริเวณแคว้นนครหาร (Nagarahara) ซึ่งใกล้แคว้นคันธาระทางทิศเหนือ แต่สองยุคนี้ ไม่ปรากฏแน่ชัดทางประวัติศาสตร.

ใหม่!!: ตักศิลาและศาสนาพุทธในประเทศอัฟกานิสถาน · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรในอินเดียโบราณ

อาณาจักรในอินเดียโบราณ หรือ มหาชนบททั้งสิบหก เป็นอาณาจักรในอินเดียโบราณ 16 อาณาจักร.

ใหม่!!: ตักศิลาและอาณาจักรในอินเดียโบราณ · ดูเพิ่มเติม »

อโศกมหาราช (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2558)

อโศกมหาราช (Chakravartin Ashoka Samrat) ละครโทรทัศน์อินเดียฟอร์มยักษ์แนวพีเรียดอิงประวัติศาสตร์ที่นำเสนอพระราชประวัติของ พระเจ้าอโศกมหาราช จักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่แห่ง ราชวงศ์เมารยะ ออกอากาศระหว่างวันที่ 2 กุมภาพัน..

ใหม่!!: ตักศิลาและอโศกมหาราช (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2558) · ดูเพิ่มเติม »

อเล็กซานเดอร์มหาราช

อเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่งมาเกโดนีอา (356-323 ปีก่อนคริสตกาล) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า อเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great, Μέγας Ἀλέξανδρος) เป็นกษัตริย์กรีกจากราชอาณาจักรมาเกโดนีอา ผู้สร้างชื่อเสียงมากที่สุดของราชวงศ์อาร์กีด เป็นผู้สร้างจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ยุคโบราณ เกิดที่เมืองเพลลา ตอนเหนือของมาเกโดนีอา เมื่อปีที่ 356 ก่อนคริสตกาล ได้รับการศึกษาตามแบบกรีกดั้งเดิมภายใต้การกำกับดูแลของอริสโตเติล นักปรัชญากรีกผู้มีชื่อเสียง สืบทอดราชบัลลังก์ต่อจาก พีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอา เมื่อปีที่ 336 ก่อนคริสตกาลหลังจากที่พระบิดาถูกลอบสังหาร สวรรคตในอีก 13 ปีต่อมาเมื่อพระชนมายุเพียง 32 พรรษา แม้ว่าราชบัลลังก์และจักรวรรดิของอเล็กซานเดอร์จะอยู่เพียงชั่วครู่ยาม แต่ผลกระทบจากการพิชิตดินแดนของพระองค์ส่งผลสืบเนื่องต่อมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ อเล็กซานเดอร์ถือเป็นหนึ่งในบุรุษผู้มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลกยุคโบราณ มีชื่อเสียงเลื่องลือในความสามารถทางการรบ ยุทธวิธี และการเผยแพร่อารยธรรมกรีกไปในดินแดนตะวันออก พระเจ้าพีลิปโปสทรงนำแว่นแคว้นกรีกโดยมากบนแผ่นดินใหญ่กรีซให้มาอยู่ภายใต้การปกครองของมาเกโดนีอา โดยใช้ทั้งกลวิธีทางการทูตและทางทหาร เมื่อพีลิปโปสสวรรคต อเล็กซานเดอร์จึงได้สืบทอดราชอาณาจักรที่เข้มแข็งและกองทัพที่เปี่ยมประสบการณ์ พระองค์เป็นที่ยอมรับในด้านการรบจากแว่นแคว้นกรีซ และได้เริ่มแผนการขยายอำนาจแผ่อาณาจักรตามที่บิดาเคยริเริ่มไว้ พระองค์ยกทัพรุกรานดินแดนเอเชียไมเนอร์ภายใต้การปกครองของอาณาจักรเปอร์เซีย และกระทำการรณยุทธ์อย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลาร่วมสิบปี อเล็กซานเดอร์เอาชนะชาวเปอร์เซียครั้งแล้วครั้งเล่า นำทัพข้ามซีเรีย อียิปต์ เมโสโปเตเมีย เปอร์เซีย และแบคเทรีย ทรงโค่นล้มกษัตริย์พระเจ้าดาไรอัสที่ 3 แห่งเปอร์เซีย และพิชิตจักรวรรดิเปอร์เซียได้ทั้งหมด พระองค์ไล่ตามความปรารถนาที่ต้องการเห็น "จุดสิ้นสุดของโลกและมหาสมุทรใหญ่ที่เบื้องปลาย" จึงยกทัพบุกอินเดีย แต่ต่อมาถูกบีบให้ต้องถอยทัพกลับโดยบรรดาทหารที่กำเริบขึ้นเนื่องจากเบื่อหน่ายการสงคราม การสูญเสียเฮฟีสเทียนทำให้อเล็กซานเดอร์ตรอมใจจนสวรรคตที่เมืองบาบิโลน ในปี 323 ก่อนคริสตกาล ก่อนจะเริ่มแผนการรบต่อเนื่องในการรุกรานคาบสมุทรอาระเบีย ในปีถัดจากการสวรรคตของอเล็กซานเดอร์ เกิดสงครามกลางเมืองทั่วไปจนอาณาจักรของพระองค์แตกเป็นเสี่ยงๆ ทำให้เกิดเป็นรัฐใหญ่น้อยมากมายปกครองโดยบรรดาขุนนางชาวมาเกโดนีอา แม้ความเป็นผู้พิชิตของพระองค์จะโดดเด่นอย่างยิ่ง แต่มรดกของอเล็กซานเดอร์ที่ยืนยงต่อมากลับมิใช่ราชบัลลังก์ กลายเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมที่ติดตามมาจากการพิชิตดินแดนเหล่านั้น การก่อร่างสร้างเมืองอาณานิคมกรีกและวัฒนธรรมกรีกที่เผยแพร่ไปในแดนตะวันออกทำให้เกิดเป็นวัฒนธรรมเฮเลนนิสติก ซึ่งยังคงสืบทอดต่อมาในจักรวรรดิไบแซนไทน์กระทั่งกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 อเล็กซานเดอร์เป็นบุคคลในตำนานในฐานะวีรบุรุษผู้ตามอย่างอคิลลีส มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมปรัมปราทั้งของฝ่ายกรีกและที่ไม่ใช่กรีก เป็นหลักเกณฑ์มาตรฐานซึ่งบรรดานายพลทั้งหลายใช้เปรียบเทียบกับตนเองแม้จนถึงปัจจุบัน โรงเรียนการทหารทั่วโลกยังคงใช้ยุทธวิธีการรบของพระองค์เป็นแบบอย่างในการเรียนการสอน.

ใหม่!!: ตักศิลาและอเล็กซานเดอร์มหาราช · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์ของจิตรกรรม

ียนก่อนประวัติศาสตร์บนผนังถ้ำเป็นรูปวัวที่ลาส์โกซ์ (Lascaux) ในประเทศฝรั่งเศส ประวัติศาสตร์ของจิตรกรรม (ภาษาอังกฤษ: History of painting) เริ่มสร้างกันมาตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์และเผยแพร่ไปในทุกวัฒนธรรมและทุกที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ในโลกจนกระทั่งปัจจุบันนี้ จนกระทั่งต้นคริสต์ศตวรรที่ 20 จิตรกรรมจะเป็นการเขียนศิลปะแสดงลักษณ์ (Representational art), ศิลปะศาสนา หรือศิลปะคลาสสิก หลังจากนั้นจึงมีการเริ่มเขียนจิตรกรรมที่เป็นแต่เพียงศิลปะนามธรรม (Abstract art) และต่อมาศิลป์มโนทัศน์ (Conceptual art) การวิวัฒนาการของจิตรกรรมตะวันตกคล้ายคลึงกับการวิวัฒนาการของจิตรกรรมตะวันออกโดยทั่วไปในสองสามร้อยปีหลัง ศิลปะแอฟริกา, ศิลปะอิสลาม, ศิลปะอินเดีย, ศิลปะจีน, และศิลปะญี่ปุ่น แต่ละอย่างที่กล่าวมาต่างก็มีอิทธิพลสำคัญต่อศิลปะตะวันตก และในที่สุดศิลปะก็กลับไปมีอิทธิพลต่อศิลปะตะวันออก.

ใหม่!!: ตักศิลาและประวัติศาสตร์ของจิตรกรรม · ดูเพิ่มเติม »

โปรุส ศึกสองราชันย์

ปรุส ศึกสองราชันย์ หรือชื่อเดิมว่า ศึกสองราชันย์ โปรุส VS อเล็กซานเดอร์ (Porus) ละครโทรทัศน์ฟอร์มยักษ์แห่งปี ค.ศ. 2017 จากประเทศอินเดียที่ใช้ทุนสร้างมหาศาลกล่าวถึงพระราชประวัติของพระเจ้าโปรุส และ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช โดยมีจุดสำคัญอยู่ที่ สงครามครั้งสุดท้ายในพระชนม์ชีพของ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ที่ยกทัพไปสู้กับ พระเจ้าโปรุส แห่งเปารวะ นำแสดงโดย ลักช์ ลาลวานี, โรหิต ปุโรหิต, รตี ปันเดย์, อทิตยา เรทิจ, สุหนี ธันกี ออกอากาศทางช่องเวิร์คพอยท์ ทุกวันจันทร์–วันพฤหัสบดี เวลา 21:45 - 22:30 น. และวันศุกร์ เวลา 22:00 - 22:30 น. เริ่มออกอากาศตอนแรกวันจันทร์ที่ 5 กุมภาพัน..

ใหม่!!: ตักศิลาและโปรุส ศึกสองราชันย์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ตักกสิลาตักสิลา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »