โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มหาสนุกและสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง มหาสนุกและสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น

มหาสนุก vs. สำนักพิมพ์บรรลือสาส์น

ปกนิตยสารมหาสนุก ฉบับที่ 929 ประจำวันที่ 14-21 มกราคม พ.ศ. 2552 ภาพปกโดย สุพล เมนาคม (ต้อม) มหาสนุก เป็นนิตยสารการ์ตูนรายสัปดาห์ซึ่งได้รับความนิยมอย่างสูงเล่มหนึ่งในประเทศไทย จัดพิมพ์และจัดจำหน่ายโดยสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น เริ่มตีพิมพ์ฉบับแรกในปี พ.ศ. 2518 หลังจากที่ก่อนหน้านั้นบรรลือสาส์นได้ออกนิตยสารขายหัวเราะในปี พ.ศ. 2516 และได้ประสบความสำเร็จอย่างสูง โดยมีวิธิต อุตสาหจิต เป็นบรรณาธิการ รูปแบบและเนื้อหาของนิตยสารมหาสนุกนั้นคล้ายคลึงกับนิตยสารขายหัวเราะ กล่าวคือ เน้นการตีพิมพ์การ์ตูนแก๊กเป็นหลัก (โดยทีมงานนักเขียนการ์ตูนในนิตยสารเล่มนี้ใช้ทีมเดียวกับที่เขียนในขายหัวเราะ) เนื้อหาอาจเป็นได้ทั้งเรื่องราวในชีวิตประจำวัน เศรษฐกิจ การเมือง หรือกระแสความนิยมต่างๆ ในสังคมไทยและต่างประเทศ มีการตีพิมพ์ขำขัน ภาพตลกจากต่างประเทศ สาระน่ารู้ต่างๆ แต่ส่วนที่ต่างไปจากขายหัวเราะคือ การตีพิมพ์เรื่องสั้นในมหาสนุกนั้นจะตีพิมพ์เพียงเรื่องเดียวต่อฉบับ และมีการ์ตูนเรื่องสั้นหรือนิยายภาพชุดต่างๆ จากฝีมือของนักเขียนการ์ตูนบรรลือสาส์นลงพิมพ์ฉบับละ 2 เรื่อง ในท้ายเล่มยังมีเกมชิงรางวัลรูปแบบต่างๆ และการตอบจดหมายของผู้อ่านโดยนักเขียนการ์ตูน (ปัจจุบันได้มีการเลิกตีพิมพ์หน้าตอบจดหมายแล้ว) จากนั้นได้เพิ่มอีก 3 เกม อย่างเช่น "คิดดีๆ มีรางวัล" "ตาไวๆ ได้รางวัล" และ "ปริศนาอักษรไขว์" เฉพาะการ์ตูนเรื่องสั้นซึ่งตีพิมพ์ในนิตยสารมหาสนุกนั้น การ์ตูนชุดใดที่ได้รับความนิยมจากผู้อ่านมากก็จะได้รับการตีพิมพ์เป็นนิตยสารรวมเล่มในชื่อชุด "มหกรรมมินิซีรีส์" เริ่มพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2535 ซึ่งการ์ตูนบางชุดก็ยังคงได้รับความนิยมจากผู้อ่านมาอย่างต่อเนื่องและมีการตีพิมพ์ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน เช่น การ์ตูนชุด "ไอ้ตัวเล็ก" ของภักดี แสนทวีสุข การ์ตูนชุด "บ้าครบสูตร" และ "สาวดอกไม้กะนายกล้วยไข่" ของอารีเฟน ฮะซานี เป็นต้น แม้ว่าผู้เขียนจะไม่ได้นำการ์ตูนเรื่องสั้นชุดของตนเองลงพิมพ์ในนิตยสารมหาสนุกแล้วก็ตาม ส่วนขนาดรูปเล่มของมหาสนุก ในสมัยเริ่มแรกมีรูปเล่มขนาดใหญ่เท่ากระดาษ A4 เช่นเดียวกับขายหัวเราะ ต่อมาในเดือนมกราคม ปี พ.ศ. 2532 จึงได้เริ่มปรับขนาดหนังสือให้เล็กลง โดยใช้ชื่อหนังสือเล่มเล็กว่า "มหาสนุกฉบับกระเป๋า" มีขนาดเท่ากระดาษ B5 ซึ่งเป็นขนาดของหนังสือมหาสนุกในปัจจุบัน ส่วนมหาสนุกเล่มใหญ่ยังคงทยอยออกมาอีกระยะหนึ่งจึงเลิกจัดพิมพ์ กำหนดการออกนิตยสารนั้นเดิมกำหนดออกเป็นรายปักษ์ (ราย 15 วัน) ภายหลังจึงปรับให้ออกเป็นรายสิบวัน และรายสัปดาห์ตามลำดับพร้อมกับขายหัวเราะ โดยขายหัวเราะมีกำหนดออกในวันอังคาร ส่วนมหาสนุกออกจำหน่ายในวันศุกร์ ต่อมาจึงปรับกำหนดออกอีกครั้งให้เป็นวันพุธทั้งสองฉบับ และปรับราคาจำหน่ายของมหาสนุกในปี (พ.ศ. 2552) อยู่ที่เล่มละ 15 บาท ปัจจุบัน (พ.ศ. 2560) มหาสนุก ได้ปรับการวางแผงเป็นรายเดือน และปรับราคาอยู่ที่ เล่มละ 20 บาท. หัวเราะ หนึ่งในนิตยสารการ์ตูนที่มีชื่อเสียงของบรรลือสาส์น วิธิต อุตสาหจิต สำนักพิมพ์บรรลือสาส์น เป็นสำนักพิมพ์ที่มีบทบาทในด้านการ์ตูนไทย จากการจัดพิมพ์นิยายชุดและหนังสือการ์ตูนยอดนิยมหลายชุดทั้งในอดีตและปัจจุบัน เช่น หัสนิยายชุด พล นิกร กิมหงวน ขายหัวเราะ มหาสนุก ปังปอนด์ หนูหิ่นอินเตอร์ เป็นต้น และเป็นผู้บุกเบิกการทำภาพยนตร์แอนิเมชั่น 3 มิติ เป็นรายแรกของประเทศไท.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง มหาสนุกและสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น

มหาสนุกและสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น มี 18 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): บรรณาธิการพ.ศ. 2516พ.ศ. 2518ภักดี แสนทวีสุขวิธิต อุตสาหจิตศุภมิตร จันทร์แจ่มสามก๊ก มหาสนุกสุชาติ พรหมรุ่งโรจน์สุพล เมนาคมหนูหิ่น อินเตอร์อารีเฟน ฮะซานีผดุง ไกรศรีขายหัวเราะณรงค์ จรุงธรรมโชติซน แสบ ใส แต่ใจเดียวกันประเทศไทยปังปอนด์นิพนธ์ เสงี่ยมศักดิ์

บรรณาธิการ

รรณาธิการ (คำสนธิ: บรรณ (หนังสือ) + อธิการ (เจ้าการ); Editor) เป็นบุคคลซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบ ในการจัดทำ รวบรวม ตรวจแก้ คัดเลือก หรือควบคุม เนื้อหาและภาพทั้งหมด ที่จะตีพิมพ์เป็นหนังสือ หรือเป็นสิ่งพิมพ์ที่มีกำหนดว่าจะออกเรื่อยไปตามลำดับ โดยใช้ชื่อเดิม เช่น หนังสือพิมพ์ และนิตยสารต่างๆ และนิยมใช้เป็นคำย่ออย่างไม่เป็นทางการว่า “.ก.” ส่วนคำที่ใช้เรียกกระบวนการลักษณะดังกล่าว คือ บรรณาธิกร (Editing) พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้ความหมายของ บรรณาธิการ ไว้ว่า ผู้จัดเลือกเฟ้น รวบรวม ปรับปรุง และรับผิดชอบเรื่องลงพิมพ์ และในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการพิมพ์ พุทธศักราช 2550 ระบุว่า บรรณาธิการ หมายความถึง บุคคลผู้รับผิดชอบ ในการจัดทำ และควบคุมเนื้อหา ข้อความ หรือภาพ ที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ รวมทั้งวัสดุ หรือเอกสาร ที่แทรกในหนังสือพิมพ์ โดยความเห็นชอบของบรรณาธิการด้วย เมื่อหนังสือพิมพ์ มีความหมายรวมไปถึง นิตยสาร วารสาร สิ่งพิมพ์ ที่เรียกชื่ออย่างอื่น ในทำนองเดียวกัน.

บรรณาธิการและมหาสนุก · บรรณาธิการและสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2516

ทธศักราช 2516 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1973 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

พ.ศ. 2516และมหาสนุก · พ.ศ. 2516และสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2518

ทธศักราช 2518 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1975 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน.

พ.ศ. 2518และมหาสนุก · พ.ศ. 2518และสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น · ดูเพิ่มเติม »

ภักดี แสนทวีสุข

ักดี แสนทวีสุข หรือ '''ต่าย ขายหัวเราะ''' ตัวละครของภักดี แสนทวีสุข (วาดโดยตนเอง) ภักดี แสนทวีสุข หรือ ต่าย ขายหัวเราะ นักเขียนการ์ตูนไทยสังกัดสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น ผู้เป็นส่วนหนึ่งในการบุกเบิกหนังสือการ์ตูนขายหัวเราะและมหาสนุก และเป็นเจ้าของผลงานชุด "ปังปอนด์" ในปัจจุบันออกแบบประเทศไท.

ภักดี แสนทวีสุขและมหาสนุก · ภักดี แสนทวีสุขและสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น · ดูเพิ่มเติม »

วิธิต อุตสาหจิต

วิธิต อุตสาหจิต (Vithit Utsahajit) บรรณาธิการหนังสือการ์ตูนในเครือบรรลือสาส์น ผู้ก่อตั้งนิตยสารขายหัวเราะและมหาสนุก และผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง ผีหัวขาด เขายังเป็นผู้บุกเบิกการสร้างภาพยนตร์แอนิเมชั่นสามมิติเป็นผู้แรกในประเทศไทย มีผู้ให้สมญานามแก่เขาว่า “ราชาแห่งการ์ตูนไทย” ในยุคปัจจุบัน แฟนการ์ตูนบรรลือสาส์นรู้จักกันดีในนาม “.ก.วิติ๊ด”.

มหาสนุกและวิธิต อุตสาหจิต · วิธิต อุตสาหจิตและสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น · ดูเพิ่มเติม »

ศุภมิตร จันทร์แจ่ม

มิตร จันทร์แจ่ม หรือ ปุ๋ย เดวิล เป็นนักเขียนการ์ตูนในสังกัดสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น เกิดวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2508 ที่ จังหวัดกาญจนบุรี จบการศึกษาจาก วิทยาเขต เพาะช่าง (ราชมงคล) กรุงเทพ เข้าสู่วงการการ์ตูนโดยเขียนการ์ตูนให้กับนิตยสารสวนเด็ก หนูจ๋า เบบี้ ขายหัวเราะ และ มหาสนุก ของสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น เมื่อ พ.ศ. 2531 โดยเขียนการ์ตูนตลก 3 ช่อง (ตีพิมพ์ทั้งขายหัวเราะ มหาสนุก สวนเด็ก) รวมทั้งการ์ตูนเรื่องสั้นในตอน ชุด สติแตก...สุดขอบฟ้า! ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกในมหาสนุกเล่มใหญ่ ช่วงปลายปี พ.ศ. 2532 และรวมเล่มในปี 2539 และยังเขียนเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน และยังมีเรื่องสั้นชุดอื่นๆอีกมากมายเช่น ผี! วิญญาณและความผูกพัน เค้าโครงจากเหม เวชกร ซึ่งขณะนี้ ปุ๋ย เดวิล ก็ได้เขียนการ์ตูนเรื่องสั้นขายทางออนไลน์ ในชุด ผี! OUT OF CONTROL และ การ์ตูนเรื่องสั้น ซีรีส์ หิมพานต์ New Generation อีกด้วยครั....

มหาสนุกและศุภมิตร จันทร์แจ่ม · ศุภมิตร จันทร์แจ่มและสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น · ดูเพิ่มเติม »

สามก๊ก มหาสนุก

มก๊ก มหาสนุก เป็นงานเขียนการ์ตูนเรื่องยาวจากวรรณกรรมอิงประวัติศาสตร์จีนเรื่อง สามก๊ก (แต่งโดย หลอกว้านจง) โดย สุชาติ พรหมรุ่งโรจน์ (หมู นินจา) ตีพิมพ์ในนิตยสารมหาสนุกตั้งแต่ พ.ศ. 2548 จนถึง พ.ศ. 2550 ได้พิมพ์รวมเล่มเป็นการ์ตูนสีรวมทั้งหมด 45 เล่ม และบริษัทวิธิตาได้นำเรื่องสามก๊กมาสร้างเป็นการ์ตูนแอนิเมชั่นมาแล้ว 2 ภาค ออกฉายทางช่อง 7 ล่าสุดได้รับการแปลเป็นภาษาเกาหลีแล้ว ซึ่งจัดจำหน่ายโดย บริษัท พีเอ็มจี โฮลดิ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด และบริษัท ซัมซุง บุ๊ค พับลิเชอร์ สามก๊ก มหาสนุกที่เป็นหนังสือการ์ตูนนั้น ใช้ชื่อว่า "การ์ตูนมหาสนุก ฉบับ สามก๊ก" ส่วนสามก๊ก มหาสนุกที่เป็นการ์ตูนแอนิเมชันนั้นใช้ชื่อว่า "สามก๊ก มหาสนุก".

มหาสนุกและสามก๊ก มหาสนุก · สามก๊ก มหาสนุกและสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น · ดูเพิ่มเติม »

สุชาติ พรหมรุ่งโรจน์

ติ พรหมรุ่งโรจน์ (หมู นินจา) สุชาติ พรหมรุ่งโรจน์ เป็นนักเขียนการ์ตูนในสังกัดสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น ผู้เป็นที่รู้จักกันในนามปากกา "หมู นินจา" เจ้าของผลงานการ์ตูนชุด บ้านนี้ 4 โชะ กระบี่หยามยุทธภพ และสามก๊ก มหาสนุก.

มหาสนุกและสุชาติ พรหมรุ่งโรจน์ · สำนักพิมพ์บรรลือสาส์นและสุชาติ พรหมรุ่งโรจน์ · ดูเพิ่มเติม »

สุพล เมนาคม

ผลงานของสุพล เมนาคม (ต้อม) ที่มีอย่างสม่ำเสมอ คือการเขียนปกนิตยสารมหาสนุก (ในภาพ เป็นปกนิตยสารมหาสนุก ฉบับที่ 929 ประจำวันที่ 14-21 มกราคม พ.ศ. 2552) สุพล เมนาคม (13 ตุลาคม พ.ศ. 2502 — 21 มกราคม พ.ศ. 2561) เจ้าของนามปากกา "ต้อม" (หรือที่เรียกทั่วไปว่า ต้อม ขายหัวเราะ) เป็นนักเขียนการ์ตูนไทยสังกัดสำนักพิมพ์บรรลือสาส์นผู้มีลายเส้นและสีสันที่งดงามคนหนึ่งของเมืองไทย เขาเป็นผู้วาดปกนิตยสารมหาสนุก และเป็นเจ้าของตัวการ์ตูนที่มีชื่อเสียงอย่าง "ไก่ย่างวัลลภ" ซึ่งต่อมาได้มีการนำมาดัดแปลงเป็นการ์ตูนเรื่องสั้นชุด "วิลลี่ เดอะ ชิกเก้น".

มหาสนุกและสุพล เมนาคม · สำนักพิมพ์บรรลือสาส์นและสุพล เมนาคม · ดูเพิ่มเติม »

หนูหิ่น อินเตอร์

หนูหิ่น...อินเตอร์ เป็นผลงานชุดการ์ตูนเรื่องสั้นของ ผดุง ไกรศรี หรือ "เอ๊าะ" ตีพิมพ์ตอนแรกลงในหนังสือการ์ตูน มหาสนุก ฉบับที่ 156 (ฉบับกระเป๋าในช่วงต้นปี พ.ศ. 2538) ต่อมาได้มีการตีพิมพ์รวมเล่มเมื่อ พ.ศ. 2539 โดยออกเป็นนิตยสารรายสะดวกในช่วงแรกและออกรายเดือนตั้งแต่ฉบับที่ 21 เป็นต้นมา ต่อมาได้นำกลับมารวมเล่มในชื่อ หนูหิ่นสเปเชียล วางแผงเป็นรายสะดวก ปัจจุบันมีออกมาทั้งสิ้น 4 เล่ม ภายหลังทางสำนักพิมพ์ได้รวมเล่มออกมาอีกครั้งในชื่อ หนูหิ่น in the city ประกอบไปด้วยหนูหิ่น 4 ตอนที่เคยลงในหนูหิ่น...อินเตอร์นำมาพิมพ์ 4 สีทั้งเล่ม นอกจากนี้ยังได้มีการรวมเล่มการ์ตูน หนูหิ่นอินโนนหินแห่ ซึ่งเป็นเรื่องราวของหนูหิ่นในวัยเด็กอีกด้วย การ์ตูนชุดหนูหิ่นที่กล่าวไปได้รับความนิยม โดยเฉพาะชาวกรุงเทพและชาวอีสานที่ตั้งถิ่นฐานตามที่ต่างๆ ทั่วประเทศ จนมีการนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ หนูหิ่น เดอะ มูฟวี่ ใน พ.ศ. 2549 ปัจจุบันหนูหิ่น...อินเตอร์ ได้วางจำหน่ายฉบับเป็นเดือนเว้นเดือน.

มหาสนุกและหนูหิ่น อินเตอร์ · สำนักพิมพ์บรรลือสาส์นและหนูหิ่น อินเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อารีเฟน ฮะซานี

อารีเฟน ฮะซานี (เฟน สตูดิโอ) อารีเฟน ฮะซานี หรือในนามปากกา เฟน สตูดิโอ (เกิด 17 มิถุนายน พ.ศ. 2500) นักเขียนการ์ตูนชาวไทย ประจำสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น ในหนังสือการ์ตูนมหาสนุก สาวดอกไม้กะนายกล้วยไข่ รามาวตาร และ ศึกมหาภารต.

มหาสนุกและอารีเฟน ฮะซานี · สำนักพิมพ์บรรลือสาส์นและอารีเฟน ฮะซานี · ดูเพิ่มเติม »

ผดุง ไกรศรี

ผดุง ไกรศรี หรือ เอ๊าะ เป็นนักเขียนการ์ตูนในสังกัดสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น เจ้าของผลงานการ์ตูนชุด หนูหิ่น อินเตอร์ ซึ่งได้รับความนิยมอย่างสูงจนได้รับการสร้างเป็นภาพยนตร์ในปี พ.ศ. 2549.

ผดุง ไกรศรีและมหาสนุก · ผดุง ไกรศรีและสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น · ดูเพิ่มเติม »

ขายหัวเราะ

ปกหนังสือขายหัวเราะ สมัยราคา 12 บาท ผลงานของวัฒนา เพ็ชรสุวรรณ ขายหัวเราะ เป็นชื่อของนิตยสารการ์ตูนไทยรายสัปดาห์ จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น ภายใต้การบริหารงานของ วิธิต อุตสาหจิต และเป็นหนังสือการ์ตูนที่ได้รับความนิยมมากที่สุดเล่มหนึ่งในประเทศไทย ควบคู่ไปกับนิตยสารมหาสนุก ซึ่งจัดพิมพ์โดยบรรลือสาส์นเช่นกัน เริ่มตีพิมพ์ฉบับแรกเมื่อ พ.ศ. 2516 ในเวลาต่อมา ทางบันลือกรุ๊ป ได้ใช้งบ 10 ล้านบาทสำหรับการจัดทำขายหัวเราะในรูปแบบอีแม็กกาซีน โดยเวอร์ชันทดลองแรกเริ่ม มียอดดาวน์โหลดกว่า 2 หมื่นครั้ง ภายในช่วงระยะเวลา 4 วัน นอกจากนี้ ขายหัวเราะยังจัดเป็นนิตยสารการ์ตูนไทยที่สามารถทำยอดขายได้กว่าล้านเล่มของแต่ละเดือนสามทหาร.

ขายหัวเราะและมหาสนุก · ขายหัวเราะและสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น · ดูเพิ่มเติม »

ณรงค์ จรุงธรรมโชติ

ณรงค์ จรุงธรรมโชติ หรือ ขวด นักเขียนการ์ตูนชาวไทย มีผลงานการ์ตูนลงในขายหัวเราะและมหาสนุก และหนังสือพิมพ์เดลินิว.

ณรงค์ จรุงธรรมโชติและมหาสนุก · ณรงค์ จรุงธรรมโชติและสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น · ดูเพิ่มเติม »

ซน แสบ ใส แต่ใจเดียวกัน

ซน แสบ ใส แต่ใจเดียวกัน เป็นการ์ตูนไทยผลงานของ ผดุง ไกรศรี หรือ "เอ๊าะ" เริ่มจากเขียนครั้งแรกลงในนิตยสารหนูจ๋า ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม พ.ศ. 2535 จากนั้นได้ตีพิมพ์ลงในหนังสือมหาสนุกประจำวันพุธที่ 4 - 10 มกราคม พ.ศ. 2543 ต่อมาย้ายตีพิมพ์ลงในหนังสือ "หนูหิ่น อินเตอร์" ฉบับเดือนมีนาคม พ.ศ. 2545 การ์ตูนชุดซนแสบใสได้เป็นฉบับรวมเล่มครั้งแรกเดือนกุมภาพัน..

ซน แสบ ใส แต่ใจเดียวกันและมหาสนุก · ซน แสบ ใส แต่ใจเดียวกันและสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ประเทศไทยและมหาสนุก · ประเทศไทยและสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น · ดูเพิ่มเติม »

ปังปอนด์

ปังปอนด์ เป็นชื่อชุดการ์ตูนไทยซึ่งเป็นผลงานของ ภักดี แสนทวีสุข (ต่าย ขายหัวเราะ) เดิมใช้ชื่อการ์ตูนชุดนี้ว่า ไอ้ตัวเล็กแสตมป์น่าสนใจในอดีต.

ปังปอนด์และมหาสนุก · ปังปอนด์และสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น · ดูเพิ่มเติม »

นิพนธ์ เสงี่ยมศักดิ์

นิพนธ์ เสงี่ยมศักดิ์ เกิดวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2499 ที่ จังหวัดนครราชสีมา รู้จักกันดีในชื่อ "นิค ขายหัวเราะ" นักเขียนการ์ตูนไทยชื่อดังในสังกัดสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น มีผลงานการ์ตูนประจำอยู่ในนิตยสารขายหัวเราะและมหาสนุกตั้งแต่ยุคบุกเบิกจนถึงปัจจุบันเป็นเวลานานกว่า 25 ปี คาแรคเตอร์ของนิพนธ์ เสงี่ยมศักดิ์ในการ์ตูน มีลักษณะคล้ายเค้าหน้าจริง ผมยาวกึ่งสั้น และอ้วนลงพุง มักปรากฏเป็นตัวเดินเรื่องในการ์ตูนแก๊กทั้งแบบช่องเดียวจบและสามช่องจบทั้งนี้ นิพนธ์ยังได้ใช้คาแรคเตอร์ของเขาเองเป็นตัวละครหลักในการ์ตูนเรื่องสั้นของเขาเองด้วย ได้แก่ การ์ตูนชุด "คนอลเวง" และ "พีพีไอ้ตี๋ซ่า" ในการ์ตูนแก๊กต่างๆ ของนิค และการ์ตูนเรื่องสั้นบางชุด นิพนธ์จะเขียนตัวการ์ตูนของเขาเป็นตัวเดินเรื่องหรือแทรกเป็นตัวประกอบอยู่ในการ์ตูนของเขาเสมอ โดยมีลักษณะคล้ายเค้าหน้าจริงและอ้วนลงพุง เขาได้เปิดเผยว่าได้รับแนวคิดในการเขียนการ์ตูนต่างๆมาจากการดูโทรทัศน์ แล้วประมวลผลออกมาเป็นผลงานในแบบของตัวเอง รวมถึงในปัจจุบัน เขายังได้รับไอเดียจากอินเทอร์เน็ตมาประกอบการเขียนด้วยเช่นกัน.

นิพนธ์ เสงี่ยมศักดิ์และมหาสนุก · นิพนธ์ เสงี่ยมศักดิ์และสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง มหาสนุกและสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น

มหาสนุก มี 33 ความสัมพันธ์ขณะที่ สำนักพิมพ์บรรลือสาส์น มี 38 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 18, ดัชนี Jaccard คือ 25.35% = 18 / (33 + 38)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง มหาสนุกและสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »