โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มหาสนุกและสามก๊ก มหาสนุก

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง มหาสนุกและสามก๊ก มหาสนุก

มหาสนุก vs. สามก๊ก มหาสนุก

ปกนิตยสารมหาสนุก ฉบับที่ 929 ประจำวันที่ 14-21 มกราคม พ.ศ. 2552 ภาพปกโดย สุพล เมนาคม (ต้อม) มหาสนุก เป็นนิตยสารการ์ตูนรายสัปดาห์ซึ่งได้รับความนิยมอย่างสูงเล่มหนึ่งในประเทศไทย จัดพิมพ์และจัดจำหน่ายโดยสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น เริ่มตีพิมพ์ฉบับแรกในปี พ.ศ. 2518 หลังจากที่ก่อนหน้านั้นบรรลือสาส์นได้ออกนิตยสารขายหัวเราะในปี พ.ศ. 2516 และได้ประสบความสำเร็จอย่างสูง โดยมีวิธิต อุตสาหจิต เป็นบรรณาธิการ รูปแบบและเนื้อหาของนิตยสารมหาสนุกนั้นคล้ายคลึงกับนิตยสารขายหัวเราะ กล่าวคือ เน้นการตีพิมพ์การ์ตูนแก๊กเป็นหลัก (โดยทีมงานนักเขียนการ์ตูนในนิตยสารเล่มนี้ใช้ทีมเดียวกับที่เขียนในขายหัวเราะ) เนื้อหาอาจเป็นได้ทั้งเรื่องราวในชีวิตประจำวัน เศรษฐกิจ การเมือง หรือกระแสความนิยมต่างๆ ในสังคมไทยและต่างประเทศ มีการตีพิมพ์ขำขัน ภาพตลกจากต่างประเทศ สาระน่ารู้ต่างๆ แต่ส่วนที่ต่างไปจากขายหัวเราะคือ การตีพิมพ์เรื่องสั้นในมหาสนุกนั้นจะตีพิมพ์เพียงเรื่องเดียวต่อฉบับ และมีการ์ตูนเรื่องสั้นหรือนิยายภาพชุดต่างๆ จากฝีมือของนักเขียนการ์ตูนบรรลือสาส์นลงพิมพ์ฉบับละ 2 เรื่อง ในท้ายเล่มยังมีเกมชิงรางวัลรูปแบบต่างๆ และการตอบจดหมายของผู้อ่านโดยนักเขียนการ์ตูน (ปัจจุบันได้มีการเลิกตีพิมพ์หน้าตอบจดหมายแล้ว) จากนั้นได้เพิ่มอีก 3 เกม อย่างเช่น "คิดดีๆ มีรางวัล" "ตาไวๆ ได้รางวัล" และ "ปริศนาอักษรไขว์" เฉพาะการ์ตูนเรื่องสั้นซึ่งตีพิมพ์ในนิตยสารมหาสนุกนั้น การ์ตูนชุดใดที่ได้รับความนิยมจากผู้อ่านมากก็จะได้รับการตีพิมพ์เป็นนิตยสารรวมเล่มในชื่อชุด "มหกรรมมินิซีรีส์" เริ่มพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2535 ซึ่งการ์ตูนบางชุดก็ยังคงได้รับความนิยมจากผู้อ่านมาอย่างต่อเนื่องและมีการตีพิมพ์ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน เช่น การ์ตูนชุด "ไอ้ตัวเล็ก" ของภักดี แสนทวีสุข การ์ตูนชุด "บ้าครบสูตร" และ "สาวดอกไม้กะนายกล้วยไข่" ของอารีเฟน ฮะซานี เป็นต้น แม้ว่าผู้เขียนจะไม่ได้นำการ์ตูนเรื่องสั้นชุดของตนเองลงพิมพ์ในนิตยสารมหาสนุกแล้วก็ตาม ส่วนขนาดรูปเล่มของมหาสนุก ในสมัยเริ่มแรกมีรูปเล่มขนาดใหญ่เท่ากระดาษ A4 เช่นเดียวกับขายหัวเราะ ต่อมาในเดือนมกราคม ปี พ.ศ. 2532 จึงได้เริ่มปรับขนาดหนังสือให้เล็กลง โดยใช้ชื่อหนังสือเล่มเล็กว่า "มหาสนุกฉบับกระเป๋า" มีขนาดเท่ากระดาษ B5 ซึ่งเป็นขนาดของหนังสือมหาสนุกในปัจจุบัน ส่วนมหาสนุกเล่มใหญ่ยังคงทยอยออกมาอีกระยะหนึ่งจึงเลิกจัดพิมพ์ กำหนดการออกนิตยสารนั้นเดิมกำหนดออกเป็นรายปักษ์ (ราย 15 วัน) ภายหลังจึงปรับให้ออกเป็นรายสิบวัน และรายสัปดาห์ตามลำดับพร้อมกับขายหัวเราะ โดยขายหัวเราะมีกำหนดออกในวันอังคาร ส่วนมหาสนุกออกจำหน่ายในวันศุกร์ ต่อมาจึงปรับกำหนดออกอีกครั้งให้เป็นวันพุธทั้งสองฉบับ และปรับราคาจำหน่ายของมหาสนุกในปี (พ.ศ. 2552) อยู่ที่เล่มละ 15 บาท ปัจจุบัน (พ.ศ. 2560) มหาสนุก ได้ปรับการวางแผงเป็นรายเดือน และปรับราคาอยู่ที่ เล่มละ 20 บาท. มก๊ก มหาสนุก เป็นงานเขียนการ์ตูนเรื่องยาวจากวรรณกรรมอิงประวัติศาสตร์จีนเรื่อง สามก๊ก (แต่งโดย หลอกว้านจง) โดย สุชาติ พรหมรุ่งโรจน์ (หมู นินจา) ตีพิมพ์ในนิตยสารมหาสนุกตั้งแต่ พ.ศ. 2548 จนถึง พ.ศ. 2550 ได้พิมพ์รวมเล่มเป็นการ์ตูนสีรวมทั้งหมด 45 เล่ม และบริษัทวิธิตาได้นำเรื่องสามก๊กมาสร้างเป็นการ์ตูนแอนิเมชั่นมาแล้ว 2 ภาค ออกฉายทางช่อง 7 ล่าสุดได้รับการแปลเป็นภาษาเกาหลีแล้ว ซึ่งจัดจำหน่ายโดย บริษัท พีเอ็มจี โฮลดิ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด และบริษัท ซัมซุง บุ๊ค พับลิเชอร์ สามก๊ก มหาสนุกที่เป็นหนังสือการ์ตูนนั้น ใช้ชื่อว่า "การ์ตูนมหาสนุก ฉบับ สามก๊ก" ส่วนสามก๊ก มหาสนุกที่เป็นการ์ตูนแอนิเมชันนั้นใช้ชื่อว่า "สามก๊ก มหาสนุก".

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง มหาสนุกและสามก๊ก มหาสนุก

มหาสนุกและสามก๊ก มหาสนุก มี 3 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): การ์ตูนสำนักพิมพ์บรรลือสาส์นสุชาติ พรหมรุ่งโรจน์

การ์ตูน

ตัวอย่างการ์ตูน ตัวอย่างแอนิเมชัน การ์ตูน (cartoon) คือทัศนศิลป์สองมิติรูปแบบหนึ่ง ซึ่งความหมายที่เฉพาะเจาะจงแปรเปลี่ยนไปตามเวลา ความหมายในสมัยใหม่โดยทั่วไปหมายถึง การวาดเส้นหรือจิตรกรรมแบบกึ่งสัจนิยมหรืออสัจนิยม (กึ่งเหมือนจริงหรือไม่เหมือนจริง) เพื่อการเสียดสี การล้อเลียน ความขบขัน หรือการแสดงออกซึ่งกระบวนแบบเชิงศิลปะ ศิลปินผู้วาดการ์ตูนเรียกว่านักเขียนการ์ตูน (cartoonist) ในยุคอดีต การ์ตูนหมายถึงภาพร่างหรือภาพวาดที่ใช้การเรียนการศึกษาแทนการใช้ภาพจริง ในปัจจุบันการ์ตูนมักจะหมายถึงแอนิเมชัน ซึ่งเป็นเทคนิคในการสร้างการ์ตูนในยุคปัจจุบัน ที่มีการฉายทางโทรทัศน์ หรือภาพยนตร์ ในความหมายอื่น การ์ตูนใช้แทนรายการสำหรับเด็กที่มีการใช้สัตว์หรือสิ่งมีชีวิตอย่างอื่นเคลื่อนไหวในลักษณะเหมือนมนุษย์ การ์ตูนปัจจุบันจะพบได้จากหนังสือ, หนังสือพิมพ์ (ซึ่งมักเป็นเรื่องเกี่ยวกับข่าว การเมือง บันเทิง), โปสเตอร์, ภาพยนตร์ เป็นต้น นายแพทย์ ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ เคยกล่าวถึงการ์ตูนว่า "หน้าที่หนึ่งของการ์ตูน คือกระตุกความคิดของเยาวชน ไม่ต้องสอน".

การ์ตูนและมหาสนุก · การ์ตูนและสามก๊ก มหาสนุก · ดูเพิ่มเติม »

สำนักพิมพ์บรรลือสาส์น

หัวเราะ หนึ่งในนิตยสารการ์ตูนที่มีชื่อเสียงของบรรลือสาส์น วิธิต อุตสาหจิต สำนักพิมพ์บรรลือสาส์น เป็นสำนักพิมพ์ที่มีบทบาทในด้านการ์ตูนไทย จากการจัดพิมพ์นิยายชุดและหนังสือการ์ตูนยอดนิยมหลายชุดทั้งในอดีตและปัจจุบัน เช่น หัสนิยายชุด พล นิกร กิมหงวน ขายหัวเราะ มหาสนุก ปังปอนด์ หนูหิ่นอินเตอร์ เป็นต้น และเป็นผู้บุกเบิกการทำภาพยนตร์แอนิเมชั่น 3 มิติ เป็นรายแรกของประเทศไท.

มหาสนุกและสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น · สามก๊ก มหาสนุกและสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น · ดูเพิ่มเติม »

สุชาติ พรหมรุ่งโรจน์

ติ พรหมรุ่งโรจน์ (หมู นินจา) สุชาติ พรหมรุ่งโรจน์ เป็นนักเขียนการ์ตูนในสังกัดสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น ผู้เป็นที่รู้จักกันในนามปากกา "หมู นินจา" เจ้าของผลงานการ์ตูนชุด บ้านนี้ 4 โชะ กระบี่หยามยุทธภพ และสามก๊ก มหาสนุก.

มหาสนุกและสุชาติ พรหมรุ่งโรจน์ · สามก๊ก มหาสนุกและสุชาติ พรหมรุ่งโรจน์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง มหาสนุกและสามก๊ก มหาสนุก

มหาสนุก มี 33 ความสัมพันธ์ขณะที่ สามก๊ก มหาสนุก มี 80 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 3, ดัชนี Jaccard คือ 2.65% = 3 / (33 + 80)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง มหาสนุกและสามก๊ก มหาสนุก หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »