โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กระดูกสะบัก

ดัชนี กระดูกสะบัก

ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ กระดูกสะบัก (Scapula) เป็นกระดูกแบบแบน (flat bone) ชิ้นหนึ่งที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูกส่วนไหล่ (shoulder girdle) โดยมีส่วนที่ติดต่อกับกระดูกไหปลาร้า (clavicle) และกระดูกต้นแขน (humerus) นอกจากนี้ยังเป็นที่ยึดเกาะของเอ็นเพื่อประกอบเป็นข้อต่อไหล่ (shoulder joint) และมีกล้ามเนื้อหลายมัดที่มีพื้นผิวบนกระดูกสะบักเป็นจุดเกาะต้น (origin) และจุดเกาะปลาย (insertion) อีกด้วย ดังนั้นกระดูกสะบักจึงเป็นกระดูกที่มีความสำคัญยิ่งในการเคลื่อนไหวของแขนรอบข้อต่อไหล.

26 ความสัมพันธ์: กระดูกต้นแขนกระดูกซี่โครงกระดูกโอบอกกระดูกไหปลาร้ากล้ามเนื้อกล้ามเนื้อทราพีเซียสกล้ามเนื้อเดลทอยด์กายวิภาคศาสตร์มนุษย์มุมด้านบนของกระดูกสะบักมุมด้านล่างของกระดูกสะบักมุมด้านข้างของกระดูกสะบักรอยเว้าเหนือแนวสันกระดูกสะบักจะงอยบ่าจุดเกาะต้นจุดเกาะปลายขอบด้านบนของกระดูกสะบักขอบด้านข้างของกระดูกสะบักขอบแนวกลางของกระดูกสะบักข้อต่อกลีโนฮิวเมอรัลปุ่มกระดูกหัวไหล่ปุ่มใต้แอ่งกลีนอยด์ปุ่มเหนือแอ่งกลีนอยด์แอ่งกลีนอยด์แอ่งใต้กระดูกสะบักแนวสันกระดูกสะบักเอ็น

กระดูกต้นแขน

ในกายวิภาคศาสตร์ กระดูกต้นแขน (Humerus) เป็นกระดูกแบบยาวที่เป็นแกนของส่วนต้นแขน (Arm) หรือต้นขาหน้าในสัตว์สี่เท้า กระดูกต้นแขนจะอยู่ระหว่างกระดูกสะบัก (scapula) ที่อยู่ในบริเวณไหล่ กับกระดูกของส่วนปลายแขน (forearm) คือกระดูกเรเดียส (Radius) และกระดูกอัลนา (Ulna) พื้นผิวด้านต่างๆของกระดูกต้นแขนยังเป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อจากบริเวณต่างๆที่ช่วยในการเคลื่อนไหวของแขนอีกด้ว.

ใหม่!!: กระดูกสะบักและกระดูกต้นแขน · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกซี่โครง

กระดูกซี่โครง (Ribs) เป็นส่วนหนึ่งของโครงกระดูกมนุษย์ที่อยู่ในบริเวณส่วนอก ซึ่งจะเชื่อมต่อระหว่างกระดูกสันหลังส่วนอก (Thoracic vertebral column) ทางด้านหลัง กับกระดูกอก (Sternum) ทางด้านหน้า และประกอบขึ้นเป็นโครงร่างของผนังช่องอกและช่วยในการป้องกันอวัยวะภายในของช่องอกที่สำคัญ เช่นปอดและหัวใจ โดยทั่วไปแล้วในผู้ใหญ่จะมีกระดูกซี่โครงทั้งหมด 12 คู่ หรือ 24 ซี่ ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย อย่างไรก็ตามในบางคนอาจมีจำนวนของกระดูกซี่โครงที่มากกว่าหรือน้อยกว่าปกติได้เล็กน้อ.

ใหม่!!: กระดูกสะบักและกระดูกซี่โครง · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกโอบอก

กระดูกโอบอก หรือ กระดูกโอบไหล่ (pectoral girdle or shoulder girdle) เป็นกลุ่มของกระดูกที่เชื่อมโครงกระดูกแกน (axial skeleton) และรยางค์บน (upper limb) ทั้ง 2 ข้าง ในมนุษย์จะประกอบด้วยกระดูกไหปลาร้า (clavicle) และกระดูกสะบัก (scapula) ส่วนในสัตว์บางชนิดจะมีกระดูกโอบอก 3 ชนิด คือมีกระดูกโคราคอยด์ (coracoid) เพิ่มขึ้นมา ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมบางชนิด (เช่น สุนัข หรือม้า) จะวิวัฒนาการจนมีกระดูกโอบอกเพียงชิ้นเดียวคือ กระดูกสะบัก ในมนุษย์ ข้อต่อเพียงข้อต่อเดียวที่เชื่อมระหว่างกระดูกโอบไหล่และโครงกระดูกแกนคือ ข้อต่อสเตอร์โนคลาวิคิวลาร์ (sternoclavicular) ส่วนระหว่างกระดูกสะบักและกระดูกซี่โครงจะไม่มีข้อต่อแต่มีกล้ามเนื้อที่เชื่อมระหว่างกันซึ่งช่วยในการเคลื่อนไหวของกระดูกโอบไหล่ได้มากเมื่อเทียบกับกระดูกโอบเชิงกราน (pelvic girdle) สำหรับในสัตว์ที่มีเฉพาะกระดูกสะบัก จะไม่มีข้อต่อที่เชื่อมระหว่างรยางค์หน้าและอก จะมีเฉพาะกล้ามเนื้อที่ยึดระหว่างกันเท่านั้น.

ใหม่!!: กระดูกสะบักและกระดูกโอบอก · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกไหปลาร้า

ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ กระดูกไหปลาร้า (Clavicle) เป็นกระดูกแบบยาว (long bone) ชิ้นหนึ่งที่เป็นส่วนประกอบของกระดูกส่วนไหล่ (shoulder girdle) ชื่อของกระดูกไหปลาร้าในภาษาอังกฤษ Clavicle เป็นคำที่มาจากภาษาลาติน clavicula ซึ่งแปลว่า กุญแจเล็กๆ เนื่องจากกระดูกชิ้นนี้จะมีการหมุนรอบแกน ในแนวนอนคล้ายกับการไขกุญแจ ขณะที่แขนกางออก กระดูกไหปลาร้ายังเป็นกระดูกที่สามารถมองเห็น แนวของกระดูกได้จากภายนอกอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในเพศหญิงซึ่งมีไขมันในบริเวณรอบๆกระดูกน้อยกว่า นอกจากในมนุษย์แล้ว กระดูกไหปลาร้ายังพบในสัตว์สี่ขา (tetrapods) ชนิดอื่นๆ แต่อาจมีรูปร่างเล็กกว่าหรืออาจไม่พบเลย กระดูกไหปลาร้าจะเจริญในสัตว์ที่ใช้ส่วนรยางค์หน้าในการหยิบจับ แต่จะไม่เจริญมากนักในสัตว์ที่ใช้รยางค์หน้าในการรองรับน้ำหนักหรือการวิ่ง กระดูกไหปลาร้าเปรียบเสมือนไม้ค้ำ ประคองแขนทั้งสองข้างไว้ ทำให้แขนสามารถเคลื่อนไหว ได้อย่างเป็นอิสระอยู่บนลำตัว กระดูกชิ้นนี้อยู่ในตำแหน่ง ที่ง่ายต่อการกระแทก บาดเจ็บ และรับแรงกระแทกที่ส่งผ่านมาจาก แขนไปสู่ลำตัว กระดูกไหปลาร้าจึงเป็นกระดูกชิ้นที่หักบ่อยที่สุดในร่างกาย โดยมักจะหักเนื่องจาก ล้มหรือตกจากที่สูง โดยลงกระแทกบริเวณไหล่ หรือกระแทกในท่าแขนที่เหยียดออก แรงจะส่งผ่านไปตามแขน ไหล่ ไปสู่กระดูกไหปลาร้า และจะหักในส่วนที่อ่อนแอที่สุด (คือรอยต่อระหว่าง 1/3กลาง กับ 1/3ด้านนอก) หลังจากหักจะถูกกล้ามเนื้อและน้ำหนักของแขนดึงให้ผิดรูปไป.

ใหม่!!: กระดูกสะบักและกระดูกไหปลาร้า · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อ

การจัดลำดับของกล้ามเนื้อโครงสร้าง กล้ามเนื้อ (muscle; มาจากภาษาละติน musculus "หนูตัวเล็ก") เป็นเนื้อเยื่อที่หดตัวได้ในร่างกาย เปลี่ยนแปลงมาจากเมโซเดิร์ม (mesoderm) ของชั้นเนื้อเยื่อในตัวอ่อน และเป็นระบบหนึ่งของร่างกายที่สำคัญต่อการเคลื่อนไหวทั้งหมดของร่างกาย แบ่งออกเป็นกล้ามเนื้อโครงร่าง (skeletal muscle), กล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle), และกล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle) ทำหน้าที่หดตัวเพื่อให้เกิดแรงและทำให้เกิดการเคลื่อนที่ (motion) รวมถึงการเคลื่อนที่และการหดตัวของอวัยวะภายใน กล้ามเนื้อจำนวนมากหดตัวได้นอกอำนาจจิตใจ และจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น การบีบตัวของหัวใจ หรือการบีบรูด (peristalsis) ทำให้เกิดการผลักดันอาหารเข้าไปภายในทางเดินอาหาร การหดตัวของกล้ามเนื้อที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจมีประโยชน์ในการเคลื่อนที่ของร่างกาย และสามารถควบคุมการหดตัวได้ เช่นการกลอกตา หรือการหดตัวของกล้ามเนื้อควอดริเซ็บ (quadriceps muscle) ที่ต้นขา ใยกล้ามเนื้อ (muscle fiber) ที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจแบ่งกว้างๆ ได้เป็น 2 ประเภทคือ กล้ามเนื้อ fast twitch และกล้ามเนื้อ slow twitch กล้ามเนื้อ slow twitch สามารถหดตัวได้เป็นระยะเวลานานแต่ให้แรงน้อย ในขณะที่กล้ามเนื้อ fast twitch สามารถหดตัวได้รวดเร็วและให้แรงมาก แต่ล้าได้ง.

ใหม่!!: กระดูกสะบักและกล้ามเนื้อ · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อทราพีเซียส

ในกายวิภาคศาสตร์มนุษย์ กล้ามเนื้อทราพีเซียส (Trapezius) เป็นกล้ามเนื้อในชั้นตื้นที่อยู่ด้านหลังของมนุษย์ เลี้ยงโดยเส้นประสาทแอกเซสซอรี (accessory nerve) หรือเส้นประสาทสมองคู่ที่ 11 และโดยแขนงประสาทด้านท้องของเส้นประสาทสันหลังส่วนคอที่ 3 และ 4 ซึ่งนอกจากจะเลี้ยงกล้ามเนื้อนี้แล้วยังเลี้ยงกล้ามเนื้อสเตอร์โนไคลโดมาสตอยด์ด้วย เนื่องจากใยกล้ามเนื้อนี้วางตัวในหลายทิศทาง กล้ามเนื้อทราพีเซียสจึงทำหน้าที่ได้หลากหลาย ได้แก.

ใหม่!!: กระดูกสะบักและกล้ามเนื้อทราพีเซียส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อเดลทอยด์

กล้ามเนื้อเดลทอยด์ (Deltoid muscle) ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ หมายถึงกล้ามเนื้อรูปสามเหลี่ยมที่เป็นส่วนสำคัญของกล้ามเนื้อในบริเวณไหล่ และเป็นกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของแขนที่มีข้อต่อไหล่เป็นจุดหมุน นอกจากนี้ยังนิยมใช้กล้ามเนื้อนี้ในการฉีดยาเข้าทางกล้ามเนื้อ (intramuscular injection) อีกด้วย ในตำรากายวิภาคศาสตร์บางเล่มอาจใช้คำว่า เดลทอยเดียส (deltoideus) ในการกล่าวถึงกล้ามเนื้อมัดนี้ อย่างไรก็ตาม ทั้งคำว่าเดลทอยด์และเดลทอยเดียส ต่างมาจากอักษรเดลตา (Delta) ในภาษากรีก ซึ่งเป็นอักษรรูปสามเหลี่ยม.

ใหม่!!: กระดูกสะบักและกล้ามเนื้อเดลทอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

กายวิภาคศาสตร์มนุษย์

รูปแสดงระบบกล้ามเนื้อของมนุษย์ในลักษณะธรรมชาติ จากหนังสือ ''Fabrica'' โดยแอนเดรียส เวซาเลียส กายวิภาคศาสตร์มนุษย์ (Human anatomy) เป็นสาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่เน้นทางด้านการศึกษาโครงสร้างต่างๆที่ประกอบกันเป็นร่างกายของมนุษย์ และเป็นหนึ่งในศาสตร์ที่มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน การศึกษากายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์สามารถแบ่งออกได้เป็นสี่สาขาหลัก ได้แก่ มหกายวิภาคศาสตร์ (Gross anatomy) จุลกายวิภาคศาสตร์ (Histology) ประสาทกายวิภาคศาสตร์ (Neuroanatomy) และกายวิภาคศาสตร์การเจริญเติบโต (Developmental anatomy) ในปัจจุบันการศึกษากายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์จะเน้นไปในด้านการประยุกต์ใช้ และการนำเอาเทคโนโลยีทางด้านอณูชีววิทยามาใช้ในการศึกษากายวิภาคศาสตร์ในระดับเซลล์และเนื้อเยื่อ.

ใหม่!!: กระดูกสะบักและกายวิภาคศาสตร์มนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

มุมด้านบนของกระดูกสะบัก

มุมด้านบนของกระดูกสะบัก เป็นมุมที่เกิดจากขอบด้านบนและขอบแนวกลางของกระดูกสะบัก มีลักษณะบาง เรียบ โค้งมน เอนไปทางด้านข้างลำตัว และเป็นที่ยึดเกาะของใยกล้ามเนื้อบางใยของกล้ามเนื้อลีเวเตอร์ สแคปูเล (Levator scapulae).

ใหม่!!: กระดูกสะบักและมุมด้านบนของกระดูกสะบัก · ดูเพิ่มเติม »

มุมด้านล่างของกระดูกสะบัก

มุมด้านล่างของกระดูกสะบัก เป็นมุมที่มีความหนาและขรุขระ เกิดจากการทำมุมกันของขอบแนวกลางและขอบด้านข้างของกระดูกสะบัก พื้นผิวด้านหลังเป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อเทเรส เมเจอร์ (Teres major) และอาจมีใยบางส่วนของกล้ามเนื้อแลททิสซิมุส ดอร์ไซ (Latissimus dorsi).

ใหม่!!: กระดูกสะบักและมุมด้านล่างของกระดูกสะบัก · ดูเพิ่มเติม »

มุมด้านข้างของกระดูกสะบัก

มุมด้านข้างของกระดูกสะบัก หรือ หัวกระดูกสะบัก (head of the scapula) เป็นส่วนที่หนาที่สุดของกระดูกสะบัก บริเวณนี้มีพื้นผิวที่เป็นข้อต่อ มีลักษณะตื้น รูปชมพู่หรือลูกแพร์ เรียกว่า แอ่งกลีนอยด์ (glenoid cavity) ซึ่งชี้ไปทางด้านข้างลำตัวและด้านหน้า เป็นข้อต่อกับส่วนหัวของกระดูกต้นแขน (head of the humerus) พื้นผิวของแอ่งนี้ปกคลุมด้วยกระดูกอ่อน ที่ขอบซึ่งยกสูงขึ้นเล็กน้อยยึดติดกับโครงสร้างที่เป็นไฟโบรคาร์ทิเลจ (fibrocartilage) เรียกว่า กลีนอยด์ ลาบรัม (glenoid labrum) ซึ่งช่วยในการยกขอบให้แอ่งนี้ลึกขึ้น ที่ยอดของแอ่งมีการยกสูงเล็กน้อยเป็นปุ่มเรียกว่า ปุ่มเหนือแอ่งกลีนอยด์ (supraglenoid tuberosity) เป็นจุดเกาะของปลายจุดเกาะต้นด้านยาว (long head) ของกล้ามเนื้อไบเซ็ปส์ เบรคิไอ (biceps brachii) ที่คอของกระดูกสะบัก (neck of the scapula) มีลักษณะคอดเล็กน้อย ซึ่งบริเวณด้านล่างและด้านหลังจะแตกต่างกับด้านบนและด้านหน้าอย่างชัดเจน.

ใหม่!!: กระดูกสะบักและมุมด้านข้างของกระดูกสะบัก · ดูเพิ่มเติม »

รอยเว้าเหนือแนวสันกระดูกสะบัก

รอยเว้าเหนือแนวสันกระดูกสะบัก (suprascapular notch; scapular notch) เป็นรอยเว้าในส่วนด้านนอกลำตัวของขอบบนของกระดูกสะบัก (scapula) ติดกับฐานของโคราคอยด์ โพรเซส (coracoid process) รอยเว้านี้จะถูกคลุมด้านบนปิดด้วยเอ็นซุพีเรียร์ทรานสเวิร์ส (superior transverse ligament) กลายเป็นช่องซึ่งให้เส้นประสาทเหนือกระดูกสะบัก (suprascapular nerve) (แต่หลอดเลือดแดงเหนือกระดูกสะบักไม่วิ่งผ่านช่องนี้) ในบางครั้งเอ็นนี้จะเปลี่ยนเป็นกระดูก.

ใหม่!!: กระดูกสะบักและรอยเว้าเหนือแนวสันกระดูกสะบัก · ดูเพิ่มเติม »

จะงอยบ่า

ราคอยด์ โพรเซส (Coracoid process) หรือ จะงอยบ่า เป็นโครงสร้างคล้ายตะขอยื่นออกมาจากกระดูกสะบักชี้ไปทางด้านหน้า คำว่า โคราคอยด์ มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก แปลว่า ลักษณะคล้ายจะงอยปากนกกาเรเวน (Korax แปลว่า นกการาเวน).

ใหม่!!: กระดูกสะบักและจะงอยบ่า · ดูเพิ่มเติม »

จุดเกาะต้น

กาะต้น (origin) ของกล้ามเนื้อเป็นจุดที่กล้ามเนื้อยึดเกาะกับกระดูกหรือกล้ามเนื้อมัดอื่นๆ โครงสร้างที่จุดเกาะต้นของกล้ามเนื้อจะไม่เคลื่อนที่เมื่อเกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อ ปลายอีกด้านหนึ่งของกล้ามเนื้อเราจะเรียกว่า จุดเกาะปลาย (insertion) โดยทั่วไป จุดเกาะต้นมักจะอยู่ส่วนต้น (proximal) มากกว่าจุดเกาะปลาย แต่เนื่องจากร่างกายมีความสามารถในการเคลื่อนไหวสลับทิศทางกันได้ จึงไม่จำเป็นที่จุดนั้นๆ จะเป็นจุดเกาะต้นเสมอไป.

ใหม่!!: กระดูกสะบักและจุดเกาะต้น · ดูเพิ่มเติม »

จุดเกาะปลาย

กาะปลาย (insertion) เป็นจุดที่กล้ามเนื้อเกาะกับผิวหนัง, กระดูก หรือกล้ามเนื้อมัดอื่นๆ ตำแหน่งจุดเกาะปลายเป็นโครงสร้างที่จะเคลื่อนที่เมื่อเกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อมัดนั้นๆ โดยทั่วไปแล้วจุดเกาะปลายของกล้ามเนื้อจะเป็นจุดที่เอ็นกล้ามเนื้อ (tendon) มาเกาะกับกระดูก ปลายอีกด้านหนึ่งของกล้ามเนื้อเราจะเรียกว่า จุดเกาะต้น (origin) โดยทั่วไป จุดเกาะปลายมักจะอยู่ส่วนปลาย (distal) มากกว่าจุดเกาะต้น แต่เนื่องจากร่างกายมีความสามารถในการเคลื่อนไหวสลับทิศทางกันได้ จึงไม่จำเป็นที่จุดนั้นๆ จะเป็นจุดเกาะปลายเสมอไป.

ใหม่!!: กระดูกสะบักและจุดเกาะปลาย · ดูเพิ่มเติม »

ขอบด้านบนของกระดูกสะบัก

อบด้านบนของกระดูกสะบัก (Superior border of scapula) เป็นขอบที่สั้นและบางที่สุดที่บรรดาขอบกระดูกสะบักทั้งสาม มีลักษณะเว้า เชื่อมตั้งแต่มุมด้านบนของกระดูกสะบัก (medial angle) ไปยังฐานของโคราคอยด์ โพรเซส (coracoid process) ที่ส่วนด้านข้างลำตัวของขอบนี้มีลักษณะลึก เป็นร่องรูปครึ่งวงกลม เรียกว่า รอยเว้าเหนือแนวสันกระดูกสะบัก (scapular notch) โดยมีฐานของโคราคอยด์โพรเซสเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ประกอบขึ้นเป็นร่องนี้ รอยเว้านี้จะถูกคลุมด้านบนปิดด้วยเอ็นซุพีเรียร์ทรานสเวิร์ส (superior transverse ligament) กลายเป็นช่องซึ่งให้เส้นประสาทเหนือกระดูกสะบัก (suprascapular nerve) (แต่หลอดเลือดแดงเหนือกระดูกสะบักไม่วิ่งผ่านช่องนี้) ในบางครั้งเอ็นนี้จะเปลี่ยนเป็นกระดูก ส่วนที่ติดกันของขอบด้านบนของกระดูกสะบักเป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อโอโมไฮออยด์ (Omohyoideus).

ใหม่!!: กระดูกสะบักและขอบด้านบนของกระดูกสะบัก · ดูเพิ่มเติม »

ขอบด้านข้างของกระดูกสะบัก

อบด้านข้างของกระดูกสะบัก หรือ ขอบด้านรักแร้ของกระดูกสะบัก เป็นขอบที่หนาที่สุดในบรรดาขอบทั้งสามของกระดูกสะบัก เริ่มจากด้านบนของของล่างของแอ่งกลีนอยด์ (glenoid cavity) และวิ่งมาในแนวเฉียงลงและไปทางด้านหลังไปยังมุมด้านล่างของกระดูกสะบัก (inferior angle) ด้านล่างของแอ่งกลีนอยด์เป็นรอยประทับขรุขระเรียกว่า ปุ่มใต้แอ่งกลีนอยด์ (infraglenoid tuberosity) ยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร ซึ่งเป็นจุดเกาะของปลายจุดเกาะต้นด้านยาว (long head) ของกล้ามเนื้อไตรเซ็ปส์ เบรคิไอ (triceps brachii) ด้านหน้าของปุ่มนี้เป็นร่องแนวนอน ซึ่งกว้างไปถึงด้านล่าง 1/3 ของขอบนี้ เป็นจุดเกาะต้นของส่วนของกล้ามเนื้อใต้กระดูกสะบัก (Subscapularis) ด้านล่าง 1/3 (inferior third) มีลักษณะบางและแหลม ด้านหลังเป็นจุดเกาะของใยกล้ามเนื้อบางใยของกล้ามเนื้อเทเรส เมเจอร์ (Teres major) และด้านหน้าเป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อใต้กระดูกสะบัก (Subscapularis).

ใหม่!!: กระดูกสะบักและขอบด้านข้างของกระดูกสะบัก · ดูเพิ่มเติม »

ขอบแนวกลางของกระดูกสะบัก

อบแนวกลางของกระดูกสะบัก หรือ ขอบด้านกระดูกสันหลังของกระดูกสะบัก เป็นขอบที่ยาวที่สุดในบรรดาขอบทั้งสามของกระดูกสะบัก เชื่อมตั้งแต่มุมด้านบน (medial angle) ลงมาถึงมุมด้านล่างของกระดูกสะบัก (inferior angle) ขอบนี้มีลักษณะโค้ง มีความหนามากกว่าขอบด้านบนแต่บางกว่าขอบด้านข้าง และส่วนของขอบที่อยู่เหนือแนวสันกระดูกสะบัก (spine) ทำมุมป้านกับส่วนด้านล่าง ขอบนี้ประกอบด้วยแนวด้านหน้า (anterior lip) และแนวด้านหลัง (posterior lip) และมีบริเวณแคบๆ ระหว่างแนวทั้งสอง แนวด้านหน้า เป็นจุดยึดเกาะของกล้ามเนื้อเซอร์ราตัส แอนทีเรียร์ (Serratus anterior) และแนวด้านหลัง แบ่งออกเป็นส่วนที่เหนือแนวสันกระดูกสะบัก เป็นจุดยึดเกาะของกล้ามเนื้อซุปปราสไปนาตัส (Supraspinatus) และส่วนใต้แนวสันกระดูกสะบักเป็นจุดยึดเกาะของกล้ามเนื้ออินฟราสไปนาตัส (Infraspinatus) ส่วนบริเวณระหว่างแนวทั้งสองเป็นจุดยึดเกาะของกล้ามเนื้อหลายมัด ส่วนเหนือบริเวณรูปสามเหลี่ยมซึ่งเป็นจุดเริ่มของแนวสันกระดูกสะบักเป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อลีเวเตอร์ สแคปูเล (Levator scapulæ) ที่ขอบของพื้นผิวนั้นเป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อรอมบอยด์ ไมเนอร์ (Rhomboideus minor) และส่วนใต้ลงมาเป็นที่เกาะของกล้ามเนื้อรอมบอยด์ เมเจอร์ (Rhomboideus major) ซึ่งมีลักษณะเป็นโค้งพังผืด (fibrous arch) เชื่อมส่วนบนของพื้นผิวรูปสามเหลี่ยมส่วนล่างที่ฐานของแนวสันกระดูกสะบัก และส่วนล่างของบริเวณล่างขอบนี้.

ใหม่!!: กระดูกสะบักและขอบแนวกลางของกระดูกสะบัก · ดูเพิ่มเติม »

ข้อต่อกลีโนฮิวเมอรัล

้อต่อกลีโนฮิวเมอรัล (Glenohumeral joint) หรือข้อต่อไหล่ (Shoulder joint) เป็นข้อต่อที่สำคัญที่สุดของบริเวณไหล่ และเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเคลื่อนไหวของต้นแขน ข้อต่อนี้เป็นข้อต่อซินโนเวียล (Synovial joint) ชนิดเบ้า (ball and socket) โดยมีแอ่งกลีนอยด์ (glenoid fossa) ของกระดูกสะบัก ทำหน้าที่เป็นเบ้ารองรับส่วนหัวของกระดูกต้นแขน และยังมีโครงสร้างของเอ็นรอบกระดูกและกล้ามเนื้อกลุ่มโรเตเตอร์ คัฟฟ์ (rotator cuff muscles) คอยค้ำจุน ข้อต่อนี้จึงเป็นข้อต่อที่มีอิสระในการเคลื่อนไหวมากที่สุดในร่างกายมนุษ.

ใหม่!!: กระดูกสะบักและข้อต่อกลีโนฮิวเมอรัล · ดูเพิ่มเติม »

ปุ่มกระดูกหัวไหล่

อโครเมียน โพรเซส (acromion process) หรือย่อว่า อโครเมียน (acromion) หรือ ปุ่มกระดูกหัวไหล่ เป็นลักษณะทางกายวิภาคของกระดูกสะบัก (scapula).

ใหม่!!: กระดูกสะบักและปุ่มกระดูกหัวไหล่ · ดูเพิ่มเติม »

ปุ่มใต้แอ่งกลีนอยด์

ปุ่มใต้แอ่งกลีนอยด์ (infraglenoid tubercle) เป็นส่วนของกระดูกสะบักที่อยู่ใต้แอ่งกลีนอยด์ (gleniod cavity) เป็นจุดเกาะของปลายจุดเกาะต้นด้านยาว (long head) ของกล้ามเนื้อไตรเซ็ปส์ เบรคิไอ (triceps brachii).

ใหม่!!: กระดูกสะบักและปุ่มใต้แอ่งกลีนอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

ปุ่มเหนือแอ่งกลีนอยด์

ปุ่มเหนือแอ่งกลีนอยด์ (Supraglenoid tubercle) เป็นส่วนของกระดูกสะบักที่อยู่เหนือแอ่งกลีนอยด์ (gleniod cavity) เป็นจุดเกาะของปลายจุดเกาะต้นด้านยาว (long head) ของกล้ามเนื้อไบเซ็ปส์ เบรคิไอ (biceps brachii).

ใหม่!!: กระดูกสะบักและปุ่มเหนือแอ่งกลีนอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

แอ่งกลีนอยด์

แอ่งกลีนอยด์ (glenoid cavity; glenoid fossa of scapula) เป็นพื้นผิวที่เป็นข้อต่อ มีลักษณะตื้น รูปชมพู่หรือลูกแพร์ อยู่ที่มุมด้านข้างของกระดูกสะบัก แอ่งนี้เป็นข้อต่อที่รับกับหัวของกระดูกต้นแขน (humerus) ฐานล่างของแอ่งนี้กว้างกว่ายอดบน พื้นผิวของแอ่งนี้ปกคลุมด้วยกระดูกอ่อน ที่ขอบซึ่งยกสูงขึ้นเล็กน้อยยึดติดกับโครงสร้างที่เป็นไฟโบรคาร์ทิเลจ (fibrocartilage) เรียกว่า กลีนอยด์ ลาบรัม (glenoid labrum) ซึ่งช่วยในการยกขอบให้แอ่งนี้ลึกขึ้น.

ใหม่!!: กระดูกสะบักและแอ่งกลีนอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

แอ่งใต้กระดูกสะบัก

แอ่งใต้กระดูกสะบัก (subscapular fossa) เป็นแอ่งเว้าขนาดใหญ่ที่อยู่ทางด้านหน้าหรือด้านกระดูกซี่โครงของกระดูกสะบัก เป็นบริเวณที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อใต้กระดูกสะบัก (subscapularis muscle).

ใหม่!!: กระดูกสะบักและแอ่งใต้กระดูกสะบัก · ดูเพิ่มเติม »

แนวสันกระดูกสะบัก

แนวสันกระดูกสะบัก (Spine of scapula) เป็นแผ่นกระดูกที่ยื่นออกมา วางตัวเป็นแนวเฉียง ใกล้กลางลำตัว 4 ใน 5 (medial four-fifths) ของพื้นผิวด้านหลังของกระดูกสะบักส่วนบน แบ่งระหว่างแอ่งเหนือแนวสันกระดูกสะบัก (Supraspinatous fossa) และแอ่งใต้แนวสันกระดูกสะบัก (infraspinatous fossa) แนวนี้เริ่มจากขอบแนวตั้ง เป็นบริเวณเรียบรูปสามเหลี่ยม ซึ่งมีเอ็นของจุดเกาะปลายของกล้ามเนื้อทราพีเซียสส่วนล่างคลุม และค่อยๆ ยกตัวขึ้นจนมาสุดที่อโครเมียน (acromion) ซึ่งยื่นออกมาเป็นข้อต่อไหล่ แนวสันกระดูกสะบักเป็นรูปสามเหลี่ยม และแบนลงจากด้านบนลงมา ยอดสามเหลี่ยมยื่นเข้าไปในขอบแนวกลาง (vertebral border).

ใหม่!!: กระดูกสะบักและแนวสันกระดูกสะบัก · ดูเพิ่มเติม »

เอ็น

อ็น หรือ เอ็นยึด (ligament) เป็นคำกว้างๆ หมายถึง กลุ่มหรือมัดเส้นใยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันซึ่งเรียงตัวในทิศทางเดียว เห็นได้ชัดและไม่มีกล้ามเนื้อยึดที่ปลาย ทั้งนี้เอ็นมีความหมายถึงโครงสร้างได้ 3 ชนิด โดยทั่วไปเอ็นหมายถึงเนื้อเยื่อเส้นใยที่ยึดระหว่างกระดูก เรียกว่า "เอ็นข้อต่อ" (articular ligament, articular larua) "เอ็นเส้นใย" (fibrous ligaments) หรือ "เอ็นแท้" (true ligaments) นอกจากนี้ เอ็น อาจหมายถึง.

ใหม่!!: กระดูกสะบักและเอ็น · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Scapula

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »