โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ซิตตเว

ดัชนี ซิตตเว

ซิตตเว (စစ်တွေမြို့) เป็นเมืองท่าและเมืองหลักของรัฐยะไข่ ประเทศพม่า ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของประเทศ บนเกาะกลางชะวากทะเลของปากแม่น้ำกะลาดาน มายู และเล-มโย โดยแม่น้ำเหล่านี้ไหลลงสู่อ่าวเบงกอลซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเมือง ซิตตเวมีประชากร 147,899 คน (พ.ศ. 2557) เป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอซิตตเวและตำบลซิตตเว กลุ่มชาติพันธุ์ใหญ่ที่สุดคือชาวยะไข่ รองลงมาคือชาวพม่าซึ่งย้ายมาจากส่วนอื่นของประเทศ ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ฮินดู และนับถือผีสางตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีชาวโรฮีนจาซึ่งในอดีตเคยตั้งชุมชนมุสลิมในเมืองเรียกว่า "อองมีนกะลา" แต่ได้ถูกวางเพลิงและชาวมุสลิมได้ถูกขับไล่ออกไปในเหตุการณ์จลาจลเมื่อเดือนตุลาคม..

14 ความสัมพันธ์: ชะวากทะเลชาวพม่ายะไข่รัฐยะไข่รายชื่อนครในประเทศพม่าศาสนาพุทธศาสนาอิสลามศาสนาฮินดูอ่าวเบงกอลประเทศพม่าแม่น้ำมายูโรฮีนจาเวลามาตรฐานพม่าเถรวาท

ชะวากทะเล

ริเวณปากชะวากทะเล ชะวากทะเลบริเวณปากน้ำรีโอเดลาปลาตา (Río de la Plata) อเมริกาใต้ ชะวากทะเลบริเวณปากแม่น้ำนิท (Nith River) สกอตแลนด์ ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงลักษณะชะวากทะเล บริเวณปากแม่น้ำแอมะซอน ชะวากทะเล (Estuary) คือ บริเวณส่วนล่างของปากแม่น้ำที่มีความกว้างมากจนมีลักษณะคล้ายอ่าว ตอนบนของชะวากทะเลนั้นจะตอบแหลมเป็นรูปกรวยและจะค่อยขยายขนาดออกไปเมื่อเข้าหาในส่วนที่เป็นทะเลมากขึ้น บริเวณนี้เป็นบริเวณที่มีการผสมกันระหว่างน้ำจืดกับน้ำเค็ม เนื่องจากเป็นพื้นที่บริเวณปากแม่น้ำยุบตัวลงสู่แนวชายฝั่งทะเลจึงได้รับอิทธิพลของน้ำทะเล ตัวอย่างของชะวากทะเลในประเทศไทย ได้แก่ บริเวณปากแม่น้ำกระบุรี จังหวัดระนอง, ปากแม่น้ำเวฬุ จังหวัดจันทบุรี และปากแม่น้ำชุมพร จังหวัดชุมพร โดยชะวากทะเลที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ อ่าวเซนต์ลอว์เรนซ์ ในประเทศแคนาดา ที่มีความกว้างถึง 145 กิโลเมตร ชะวากทะเล เป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลที่มีแม่น้ำหรือลำธารไหลผ่านเชื่อมต่อลงสู่ทะเล ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เกิดขึ้นบริเวณรอยต่อระหว่างสภาพแวดล้อมแบบทางน้ำและสภาพแวดล้อมแบบทะเล จึงทำให้พื้นที่ในบริเวณนี้ได้รับทั้งอิทธิพลจากทะเลอันได้แก่ น้ำขึ้น - น้ำลง, คลื่นและการไหลเวียนของน้ำเกลือ รวมถึงอิทธิพลจากแม่น้ำอันได้แก่ ตะกอนและการไหลเวียนของน้ำจืด ซึ่งการที่มีน้ำจืดและน้ำเค็มไหลเวียนแบบนี้นั้นส่งผลให้พื้นที่ชะวากทะเลประกอบด้วยธาตุอาหารที่สำคัญจำนวนมาก จึงเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการเป็นแหล่งอาศัยของสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดได้ ชะวากทะเลที่พบในปัจจุบันนั้นส่วนใหญ่เป็นชะวากทะเลที่เกิดขึ้นในช่วงยุคโฮโลซีน (Holocene) โดยการไหลท่วมของแม่น้ำหรือการกัดเซาะจากธารน้ำแข็งในช่วงที่มีก่รเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลในช่วงประมาณ 10,000 - 12,000 ปีที่ผ่านมา และการจำแนกลักษณะของชะวากทะเลนั้นจะอาศัยลักษณะทางธรณีสัณฐานหรือรูปแบบการไหลของน้ำในการจำแนก ซึ่งหมายถึงการจำแนกเป็นอ่าว (Bay) หรือลากูน (Lagoon) เป็นต้น ชะวากทะเลเป็นพื้นที่มีประชากรมาอาศัยอยู่จำนวนมาก คือประมาณร้อยละ 60 จากประชากรทั้งหมดของโลกที่ชอบอาศัยตามแนวชายฝั่งทะเลและชะวากทะเล เป็นผลให้พื้นที่ชะวากทะเลนี้ได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก เพราะได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่างๆได้แก่ การตกตะกอนของตะกอนจากการพังทลายของหน้าดินเนื่องจากการตัดไม้ทำลายป่า การเพิ่มความเข้มข้นของปริมาณสารเคมีในระบบนิเวศจากสิ่งปฏิกูลและมูลสัตว์ (Eutrophication) มลพิษจากโลหะหนัก, สารพีซีบีเอส (PCBs), ธาตุกัมมันตรังสีและสารประกอบไฮโดรคาร์บอนจากสิ่งปฏิกูล และแนวกั้นน้ำหรือเขื่อนที่ใช้ในการควบคุมปริมาณการไหลของน้ำ.

ใหม่!!: ซิตตเวและชะวากทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ชาวพม่า

ม่า (บะหม่า หลุ มฺโย้, คำเมือง: ม่าน) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ส่วนใหญ่ในประเทศพม่า พบมากในประเทศพม่า ชาวพม่าส่วนใหญ่อาศัยอยู่แถบแม่น้ำอิรวดี ชาวพม่าส่วนใหญ่ใช้ภาษาพม่าเป็นภาษาที่พูดกันในชีวิตประจำวัน.

ใหม่!!: ซิตตเวและชาวพม่า · ดูเพิ่มเติม »

ยะไข่

ทความนี้เป็นบทความเกี่ยวกับชาติพันธุ์ สำหรับเขตการปกครอง ดูที่ รัฐยะไข่ สำหรับแคว้นโบราณ ดูที่ แคว้นยะไข่ ยะไข่, อะระกัน หรือ ระขึน (ရခိုင်လူမျိုး; IPA:; Rakhine) เป็นหนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์หลักกลุ่มหนึ่งในประเทศพม่า อาศัยในรัฐยะไข่ ชาวยะไข่ถือเป็นชาวพม่าพื้นถิ่นในรัฐยะไข่กลุ่มหนึ่ง ภาษาพูดของชาวยะไข่นั้นถือเป็นสำเนียงหนึ่งในภาษาพม่า และยังมีร่องรอยของภาษาพม่าโบราณหลงเหลืออยู่ อันมีเสียงบางเสียงซึ่งในภาษาพม่าสำเนียงย่างกุ้งไม่มีใช้แล้ว เช่น เสียง ร โดยภาษายะไข่นั้นยังรักษาเสียง ร ไว้ได้ครบแทบทุกตำแหน่ง หากต้องการสะกดคำที่มีอักษร ร จึงควรดูที่การออกเสียงของภาษายะไข่ ทั้งนี้เนื่องจากยะไข่ห่างไกลศูนย์กลางจากพม่า โดยมีเทือกเขาอาระกันโยมาขวางกั้นอยู่ อีกทั้งยะไข่เองก็เคยมีอิสรภาพในการปกครองตนเองเป็นอาณาจักรอยู่ร่วมหลายร้อยปี ภายหลังจากการมาของอังกฤษ ยะไข่ถูกมองว่าต่างจากชาวพม่าทั่วไป ดินแดนยะไข่จึงถูกกำหนดเป็นรัฐหนึ่งเฉกเช่นเดียวกับชนกลุ่มน้อยในพม.

ใหม่!!: ซิตตเวและยะไข่ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐยะไข่

ทความนี้เป็นบทความเกี่ยวกับเขตการปกครอง สำหรับชาติพันธุ์ ดูที่ ยะไข่ สำหรับแคว้นโบราณ ดูที่ แคว้นยะไข่ รัฐยะไข่ (ရခိုင်ပြည်နယ်, สำเนียงยะไข่ ระไข่ง์ เปร่เหน่, สำเนียงพม่า ยะไข่ง์ ปหฺยี่แหฺน่) ชื่อเดิม รัฐอาระกัน (Arakan) เป็นหนึ่งในรัฐที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของประเทศพม.

ใหม่!!: ซิตตเวและรัฐยะไข่ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อนครในประเทศพม่า

แผนที่ประเทศพม่า รายชื่อเมืองในประเทศพม.

ใหม่!!: ซิตตเวและรายชื่อนครในประเทศพม่า · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธ

ระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (buddhasāsana พุทฺธสาสนา, buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเอง ด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑. พระไตรปิฎกฉบับสยามรั.

ใหม่!!: ซิตตเวและศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาอิสลาม

นาอิสลาม (Islam) เป็นศาสนาเอกเทวนิยมและศาสนาอับราฮัม บัญญัติไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของอิสลามซึ่งสาวกถือว่าเป็นพระวจนะคำต่อคำของพระเป็นเจ้า (อัลลอฮฺ) และสำหรับสาวกส่วนใหญ่ เป็นคำสอนและตัวอย่างเชิงบรรทัดฐาน (เรียกว่า สุนัต และประกอบด้วยหะดีษ) ของมุฮัมมัด (ประมาณ 570–8 มิถุนายน 632)เป็นศาสดา (นบี) องค์สุดท้ายของพระเป็นเจ้า สาวกของศาสนาอิสลาม เรียกว่า มุสลิม มุสลิมเชื่อว่า พระเจ้าเป็นหนึ่งและหาที่เปรียบไม่ได้ และจุดประสงค์ของการดำรงอยู่ คือ เพื่อรักและรับใช้พระเป็นเจ้า มุสลิมยังเชื่อว่า ศาสนาอิสลามเป็นบรรพศรัทธาฉบับสมบูรณ์และเป็นสากลที่สุดซึ่งได้ประจักษ์มาหลายครั้งก่อนหน้านั้น ผ่านศาสดาซึ่งรวมอาดัม โนอาห์ อับราฮัม โมเสส และพระเยซู พวกเขายึดมั่นว่า สารและวิวรณ์ถูกแปลผิดหรือเปลี่ยนแปลงบางส่วนตามกาลดู.

ใหม่!!: ซิตตเวและศาสนาอิสลาม · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาฮินดู

ัญลักษณ์ “โอม” สัญลักษณ์ของศาสนาฮินดู หมายถึงพระตรีมูรติ เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ทั้ง 3 ศาสนาฮินดู (Hinduism) หรือ สนาตนธรรม เป็นศาสนาแบบพหุเทวนิยมที่พัฒนาการต่อมาจากศาสนาพราหมณ์ จึงมักเรียกรวมกันว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นศาสดา มีพระเวทเป็นคัมภีร์หลัก มีศาสนิกชนมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก มีจำนวนประมาณ 900 ล้านคน ศาสนานี้นับถือเทพเจ้าหลายองค์ เรียกว่า "พหุเทวนิยม" เทพเจ้าแต่ละองค์ในแต่ละยุคสมัย มีบทบาท และตำนานต่างกันไป ในแต่ละท้องถิ่นยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าองค์หนึ่งๆ แตกต่างกันไปด้วย โดยทั่วไปถือว่าชาวฮินดูเชื่อว่ามีเทพเจ้าสูงสุด ที่ได้อวตารแยกร่างออกมาเป็น 3 องค์ เรียกว่า "ตรีมูรติ" คือ.

ใหม่!!: ซิตตเวและศาสนาฮินดู · ดูเพิ่มเติม »

อ่าวเบงกอล

แผนที่แสดงตำแหน่งที่ตั้งอ่าวเบงกอล เรือประมงในอ่าวเบงกอล เกาะเซนต์มาร์ติน อ่าวเบงกอล ชายหาดมารีนา เจนไน อ่าวเบงกอล (Bay of Bengal) เป็นอ่าวที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของมหาสมุทรอินเดีย มีลักษณะคล้ายรูปสามเหลี่ยมล้อมรอบด้วยประเทศอินเดียและศรีลังกาทางด้านตะวันตก บังกลาเทศและรัฐเบงกอลตะวันตกของอินเดียทางด้านเหนือ (ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ) และประเทศพม่า ภาคใต้ของประเทศไทย หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ทางด้านตะวันออก อาณาเขตด้านใต้แผ่ถึงเส้นเขตจินตนาการที่ลากจากดอนดราเฮดตอนใต้ของศรีลังกาไปถึงปลายด้านเหนือของเกาะสุมาตรา อ่าวเบงกอลมีเนื้อที่ 2,172,000 กม² มีแม่น้ำสำคัญหลายสายไหลมาลงทะเล เช่น แม่น้ำคงคา แม่น้ำพรหมบุตร แม่น้ำอิรวดี แม่น้ำโคทาวรี แม่น้ำมหานที แม่น้ำกฤษณา และแม่น้ำกาเวรี เมืองท่าสำคัญของอ่าวเบงกอล ได้แก่ กัททะลูร์ เจนไน กากีนาทะ มะจิลีปัตนัม วิศาขปัตนัม พาราทิพ โกลกาตา จิตตะกอง และย่างกุ้ง.

ใหม่!!: ซิตตเวและอ่าวเบงกอล · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศพม่า

ม่า หรือ เมียนมา (မြန်မာ,, มฺยะหฺม่า) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า หรือ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (ပြည်ထောင်စု သမ္မတ မြန်မာနိုင်ငံတော်, ปหฺยี่เด่าง์ซุ ตัมมะดะ มฺยะหฺม่า ไหฺน่หฺงั่นด่อ) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดกับอินเดีย บังกลาเทศ จีน ลาว และไทย หนึ่งในสามของพรมแดนพม่าที่มีความยาว 1,930 กิโลเมตรเป็นแนวชายฝั่งตามอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามัน ด้วยพื้นที่ 676,578 ตารางกิโลเมตร ประเทศพม่าเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 40 ของโลก และใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำมะโนของประเทศในปี 2557 เผยว่าประเทศพม่ามีประชากรน้อยกว่าที่คาดการณ์ โดยมีบันทึกประชากร 51 ล้านคน มีเมืองหลวง คือ กรุงเนปยีดอ และนครใหญ่สุด คือ ย่างกุ้ง อารยธรรมช่วงต้นของประเทศพม่ามีนครรัฐปยูที่พูดภาษาตระกูลทิเบต-พม่าในพม่าตอนบน และราชอาณาจักรมอญในพม่าตอนล่าง ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ชาวพม่าได้เข้าครอบครองบริเวณลุ่มแม่น้ำอิรวดีตอนบน และสถาปนาราชอาณาจักรพุกามในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1050 ภาษาและวัฒนธรรมพม่าพร้อมด้วยศาสนาพุทธนิกายเถรวาทค่อย ๆ ครอบงำในประเทศ อาณาจักรพุกามล่มสลายเพราะการบุกครองของมองโกลและรัฐหลายรัฐกำเนิดขึ้น ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ราชวงศ์ตองอูสร้างเอกภาพอีกครั้ง และช่วงสั้น ๆ เป็นจักรวรรรดิใหญ่สุดในประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต้นศตวรรษที่ 19 ราชวงศ์คองบองได้ปกครองพื้นที่ประเทศพม่าและควบคุมมณีปุระและอัสสัมในช่วงสั้น ๆ ด้วย บริติชพิชิตพม่าหลังสงครามอังกฤษ-พม่าทั้งสามครั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และประเทศกลายเป็นอาณานิคมบริติช ประเทศพม่าได้รับเอกราชใน..

ใหม่!!: ซิตตเวและประเทศพม่า · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำมายู

การสู้รบที่ยะไข่ พ.ศ. 2486 ขบวนเรือที่แม่น้ำมายู แม่น้ำมายู (Mayu) เป็นแม่น้ำในรัฐยะไข่ ประเทศพม่า ตั้งชื่อตามเทือกเขามายู ชื่อเดิมของแม่น้ำนี้คือแม่น้ำมันลายูวดี เป็นแม่น้ำที่มีการใช้งานมากเป็นอันดับสามในยะไข่ ยาว 154 กิโลเมตร ไหลผ่านเมืองบูซีด่อง ราเซด่อง และไปออกทะเลที่อ่าวเบงกอลใกล้เมืองชิตตเว.

ใหม่!!: ซิตตเวและแม่น้ำมายู · ดูเพิ่มเติม »

โรฮีนจา

รฮีนจา (ရိုဟင်ဂျာ โรฮีนจา; โรฮีนจา: Ruáingga รูไอง์กา; রোহিঙ্গা, Rohingga) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์มุสลิมที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของรัฐยะไข่ (อาระกัน) ทางตะวันตกของประเทศพม่า และพูดภาษาโรฮีนจา ชาวโรฮีนจาและนักวิชาการบางส่วนกล่าวว่า โรฮีนจาเป็นชนพื้นเมืองในพื้นที่รัฐยะไข่ ในขณะที่นักประวัติศาสตร์บางส่วนอ้างว่า พวกเขาอพยพเข้าพม่าจากเบงกอลในสมัยการปกครองของสหราชอาณาจักรเป็นหลัก และนักประวัติศาสตร์ส่วนน้อยกล่าวว่า พวกเขาอพยพมาหลังจากพม่าได้รับเอกราชในปี 2491 และหลังจากบังกลาเทศทำสงครามประกาศเอกราชในปี 2514 ชาวมุสลิมตั้งถิ่นฐานในรัฐยะไข่ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 แต่ไม่สามารถประมาณจำนวนผู้ตั้งถิ่นฐานชาวมุสลิมก่อนการปกครองของสหราชอาณาจักรได้อย่างแม่นยำ หลังสงครามอังกฤษ-พม่าครั้งที่หนึ่งในปี 2369 สหราชอาณาจักรผนวกรัฐยะไข่และสนับสนุนให้มีการย้ายถิ่นจากเบงกอลเพื่อทำงานเป็นผู้ใช้แรงงานในไร่นา ประชากรมุสลิมอาจมีจำนวนถึงร้อยละ 5 ของประชากรรัฐยะไข่แล้วเมื่อถึงปี 2412 แต่จากการประเมินของปีก่อนหน้าก็พบว่ามีจำนวนสูงกว่านี้ ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ความรุนแรงระหว่างชุมชนก็ปะทุขึ้นระหว่างชาวยะไข่ซึ่งนับถือศาสนาพุทธกับหน่วยกำลังวี (V-Force) ชาวโรฮีนจาที่สหราชอาณาจักรติดอาวุธให้ และการแบ่งขั้วก็รุนแรงมากขึ้นในพื้นที่ ในปี 2525 รัฐบาลพลเอกเนวีนตรากฎหมายความเป็นพลเมืองซึ่งปฏิเสธความเป็นพลเมืองของชาวโรฮีนจา ในปี 2556 มีชาวโรฮีนจาประมาณ 735,000 คนอาศัยอยู่ในประเทศพม่า ส่วนใหญ่อยู่ในเมืองทางเหนือของรัฐยะไข่ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 80–98 ของประชากร สื่อระหว่างประเทศและองค์การสิทธิมนุษยชนกล่าวว่าชาวโรฮีนจาเป็นชนกลุ่มน้อยที่ถูกข่มเหงที่สุดกลุ่มหนึ่งในโลก ชาวโรฮีนจาจำนวนมากหนีไปอยู่ในย่านชนกลุ่มน้อยและค่ายผู้ลี้ภัยในประเทศเพื่อนบ้านอย่างบังกลาเทศ รวมทั้งพื้นที่ตามชายแดนไทย–พม่า ชาวโรฮีนจากว่า 100,000 คนยังอาศัยอยู่ในค่ายสำหรับผู้พลัดถิ่นในประเทศซึ่งทางการไม่อนุญาตให้ออกมา ชาวโรฮีนจาได้รับความสนใจจากนานาชาติในห้วงเหตุจลาจลในรัฐยะไข่ พ.ศ. 2555.

ใหม่!!: ซิตตเวและโรฮีนจา · ดูเพิ่มเติม »

เวลามาตรฐานพม่า

วลามาตรฐานพม่า (မြန်မာ စံတော်ချိန်; Myanmar Standard Time, MMT) เป็นเวลามาตรฐานในประเทศพม่า เร็วกว่าเวลาสากลเชิงพิกัดไป 6 ชั่วโมง 30 นาที (UTC+06:30) โดยอ้างอิงเวลาที่ลองจิจูด 97° 30' เวลามาตรฐานนี้ใช้ตลอดทั้งปีเนื่องจากพม่าไม่มีช่วงเวลาออมแสง.

ใหม่!!: ซิตตเวและเวลามาตรฐานพม่า · ดูเพิ่มเติม »

เถรวาท

รวาท (อ่านว่า เถ-ระ-วาด) (theravāda เถรวาท, स्थविरवाद sthaviravāda สฺถวิรวาท; Theravada) โดยศัพท์แปลว่า "ตามแนวทางของพระเถระ" เป็นชื่อของนิกายที่เก่าแก่ที่สุดในศาสนาพุทธ ฝ่ายมหายานเรียกนิกายนี้ว่า หีนยาน (บาลี/สันสกฤต: हीनयान) นิกายเถรวาทเป็นนิกายหลักที่ได้รับการนับถือในประเทศศรีลังกา (ประมาณ 70% ของประชากรทั้งหมด) และประเทศในแผ่นดินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย กัมพูชา ลาว และพม่า และเป็นส่วนน้อยในประเทศจีนและเวียดนาม โดยเฉพาะในมณฑลยูนนาน เนปาล บังกลาเทศที่เขตจิตตะกอง เวียดนามทางตอนใต้ใกล้ชายแดนกัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซียมีนับถือทางตอนเหนือของประเทศ มีศาสนิกส่วนใหญ่เป็นชาวไทยและชาวสิงหล ตัวเลขผู้นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทอยู่ที่ประมาณ 100 ล้านคน สำหรับประเทศไทยมีผู้นับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาทประมาณ 94% ของประชากรทั้งหมด (ข้อมูลจากกรมศาสนา เฉพาะประชากรอิสลามในประเทศไทยมีไม่น้อยกว่า 10 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนไม่น้อยกว่า 15% ของประชากรไทย ไม่นับผู้นับถือศาสนาคริสต์ ฮินดู สิกข์ และไม่มีศาสนา จึงเป็นไปได้ว่าชาวพุทธในประเทศไทย อาจมีไม่ถึง 80% ของจำนวนประชากรทั้งหมด) นิกายเถรวาทได้รับการนับถือคู่กับนิกายอาจริยวาท (คือนิกายมหายาน ในปัจจุบัน).

ใหม่!!: ซิตตเวและเถรวาท · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Sittweชิตตเว

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »