โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก)

ดัชนี ไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก)

ำหรับสัตว์ประหลาดในเทพปกรณัมกรีก ดูที่: ไซเรน ไซเรน (Sirens) สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกจำพวกซาลาแมนเดอร์วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Sirenidae จัดอยู่ในอันดับย่อย Sirenoidea ไซเรน มีความแตกต่างจากซาลาแมนเดอร์จำพวกอื่น ๆ พอสมควร เนื่องจากมีลำตัวเรียวยาวคล้ายปลาไหลหรือเขียดงู ไม่มีขาคู่หลังและกระดูกเชิงกราน ขาคู่หน้าเล็กมากและนิ้วเท้าลดจำนวนลง ปากเป็นจะงอยแข็ง เมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ยังคงรูปโครงสร้างของระยะวัยอ่อนไว้หลายประการ เช่น ไม่มีเปลือกตา, มีเหงือก, มีช่องเปิดเหงือก 1 คู่ หรือ 3 ช่อง, ไม่มีฟัน, ไม่มีกระดูกแมคซิลลา หรือมีขนาดเล็กมาก รวมทั้งลักษณะโครงสร้างของผิวหนัง มีความยาวของลำตัวประมาณ 10–90 เซนติเมตร อาศัยอยู่ในน้ำตลอดเวลา เช่น บึง, ทะเลสาบ หรือแหล่งน้ำที่มีกระแสน้ำไม่แรง และมีพืชน้ำขึ้นหนาแน่น กินอาหารจำพวกสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็ก เช่น กุ้ง, ปู, แมลงน้ำ, หนอนแดง, ไส้เดือนน้ำ เป็นต้น โดยกินด้วยการดูด ในช่วงฤดูแล้งจะฝังตัวอยู่ใต้โคลน โดยสร้างปลอกหุ้มตัวคล้ายดักแด้ของแมลง การปฏิสนธิของไซเรน เกิดขึ้นภายนอกตัว และไม่พบมีพฤติกรรมเกี้ยวพาราสี และไม่มีต่อมโคลเอคัลซึ่งเป็นต่อมที่ตัวผู้ของซาลาแมนเดอร์จำพวกอื่นใช้สร้างสเปอร์มาโทฟอร์ และของตัวเมียใช้เก็บสเปิร์ม ตัวเมียวางไข่ติดกับพืชน้ำหรือสร้างรังอยู่ในกอของพืชน้ำที่อยู่ใต้น้ำ บางชนิดมีพฤติกรรมเฝ้.

42 ความสัมพันธ์: ฟันพืชน้ำการสูญพันธุ์การตั้งชื่อทวินามการปฏิสนธิกุ้งฤดูแล้งลิสแซมฟิเบียวัยเริ่มเจริญพันธุ์สกุล (ชีววิทยา)สกุลไซเรนสมัยโฮโลซีนสหรัฐสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกสัตว์ประหลาดสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังสปีชีส์หนอนแดงอสุจิอันดับปลาไหลผิวหนังทะเลสาบดักแด้ซาลาแมนเดอร์ประเทศเม็กซิโกปูน้ำแมลงแม่น้ำมิสซิสซิปปีแหล่งน้ำไส้เดือนน้ำไข่ไซเรนไซเรนแคระเชิงกรานเพศชายเมตรเอ็มบริโอเทพปกรณัมกรีกเขียดงู

ฟัน

แสดงโครงสร้างของเหงือกและฟัน ฟัน เป็นอวัยวะที่อยู่ภายในช่องปากของคนและสัตว์ มีส่วนรากติดอยู่กับขากรรไกรและมีตัวฟันโผล่พ้นเหงือกออกมา ฟันเป็นอวัยวะที่เจริญมาจากเนื้อเยื้อชั้นนอก (Ectoderm) เช่นเดียวกับผิวหนังหรือเกล็ดปลา ฟันเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งในระบบย่อยอาหาร หน้าที่หลักของฟันคือ ฉีก บด อาหารให้คลุกเคล้ากับน้ำลาย และนอกจากนี้ยังมีส่วนสำคัญในการพูดออกเสียงด้วย ลักษณะของฟันมีส่วนเกี่ยวข้องกับลักษณะอาหารของสัตว์แต่ละประเภทเช่นเดียวกับวิวัฒนาการ ตัวอย่างเช่น พืชนั้นยากที่จะย่อยดังนั้น สัตว์กินพืช (Herbivore) จึงต้องมีฟันกรามหลายซี่เพื่อใช้ในการเคี้ยว ส่วนสัตว์กินเนื้อ (Carnivore) ต้องมีฟันเขี้ยวเพื่อฆ่าและฉีกเหยื่อและเนื้อนั้นให้ย่อยง่าย พวกมันจึงกลืนได้โดยที่ไม่ต้องใช้ฟันกรามเคี้ยวมากนัก.

ใหม่!!: ไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก)และฟัน · ดูเพิ่มเติม »

พืชน้ำ

ัวทั่วไป ใบอยู่ผิวน้ำ ดอกอยู่เหนือน้ำ พืชน้ำ หรือ พรรณไม้น้ำ (aquatic plant, aquatic weed, water plant) เป็นพืชที่อาศัยหรือเจริญเติบโตในน้ำ หรือมีช่วงหนึ่งที่เจริญเติบโตอยู่ในน้ำ อาจอยู่ใต้น้ำทั้งหมดหรือมีบางส่วนขึ้นสู่บริเวณผิวน้ำ ลอยอยู่ตามผิวน้ำ เจริญเติบโตบริเวณที่มีน้ำตามแนวชายฝั่ง พืชที่เจริญเติบโตในที่มีน้ำขัง พื้นที่ชื้นแฉะ ทั้ง น้ำจืด น้ำกร่อย น้ำเค็ม โดยสามารถแยกเป็นสี่ประเภทหลัก พืชใต้น้ำ (submerged plant) เป็นพืชที่เจริญเติบโตใต้น้ำทั้งหมด หรือหมายถึงพืชที่ทั้งราก ลำต้น ใบ อยู่ใต้น้ำทั้งหมด ทั้งนี้รากอาจยึดกับพื้นดินใต้น้ำหรือไม่ก็ได้ โครงสร้างลำต้นและใบจะมีช่องว่างมากสำหรับใช้เป็นที่สะสมก๊าซ และช่วยให้ลอยตัวอยู่ในน้ำได้ ส่วนใบมักจะกรอบและบาง ไม่มีปากใบและคิวติน พืชจำพวกนี้พบมากในกลุ่มสาหร่ายต่าง ๆ พืชโผล่เหนือน้ำ (emerged plant) เป็นพืชที่เจริญเติบโตในน้ำเพียงบางส่วน เช่น รากและลำต้น ส่วนรากอาจยึดพื้นดินใต้น้ำหรือไม่ก็ได้ มีใบหรือดอกโผล่พ้นน้ำหรืออาจอยู่ที่ผิวน้ำ บางชนิดอาจมีทั้งใบใต้น้ำและใบเหนือน้ำในลำต้นเดียวกัน ลำต้นมีลักษณะแข็งแรงกว่าพืชใต้น้ำมีคิวตินมีปากใบและคิวติน พบมากในพืชกลุ่มบัวต่าง ๆ ผักตับเต่า แว่นแก้ว สาหร่ายญี่ปุ่น พืชลอยน้ำ (floating plant) เป็นพืชที่เจริญเติบโตได้โดยลอยอยู่บริเวณผิวน้ำ รากจะอยู่ใต้น้ำ ส่วนของลำต้น ใบ และดอก อยู่เหนือน้ำหรือผิวน้ำ สามารถลอยไปมาได้ หากพืชเหล่านี้อยู่บริเวณน้ำตื้นรากของพืชชนิดนี้อาจยึดอยู่กับพื้นดินใต้น้ำได้ พืชจำพวกนี้ได้แก่ ผักตบไทย ผักตบชวา จอกหูหนู กระจับ ผำ ผักบุ้ง พืชชายน้ำ (merginal plant) เป็นพืชที่เจริญเติบโตบริเวณริมน้ำหรือริมตลิ่ง ทั้งบริเวณหนองน้ำ ริมคลอง บริเวณที่มีน้ำขัง โดยรากจะฝังในดิน ส่วนลำต้น ใบ และดอก จะอยู่เหนือน้ำ.

ใหม่!!: ไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก)และพืชน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

การสูญพันธุ์

ียน นกโดโด้ ตัวอย่างของการสูญพันธุ์ยุคใกล้ การสูญพันธุ์ (Extinction) ในทางชีววิทยาและนิเวศวิทยา คือการสิ้นสุดของการดำรงอยู่ของสปีชีส์หรือของสิ่งมีชีวิต ซึ่งทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง โดยทั่วไปแล้ว ถือว่าชั่วขณะของการสูญพันธุ์คือชั่วขณะความตายของสิ่งมีชีวิตตัวสุดท้ายในสปีชีส์นั้น แม้ว่าความสามารถในการผสมพันธุ์และฟื้นตัวอาจจะสูญเสียไปแล้วก่อนหน้านั้นก็ตาม.

ใหม่!!: ไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก)และการสูญพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

การตั้งชื่อทวินาม

ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม (Binomial nomenclature) เป็นระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ชื่อแต่ละชื่อในระบบนี้เรียกว่า ชื่อทวินาม (Binomial name) หรือ ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) คือชื่อที่ใช้เรียกแทนสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์ต่าง ๆ อย่างเป็นทางการ ชื่อทวินามจะเป็นภาษาละติน ประกอบด้วยคำศัพท์ 2 คำ คือ สกุล และ สปีชีส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับสิ่งมีชีวิตที่ต้องการระบุ โดยรายละเอียดปลีกย่อยอาจแตกต่างกันออกไปบ้าง.

ใหม่!!: ไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก)และการตั้งชื่อทวินาม · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิสนธิ

การเข้าปฏิสนธิของสเปิร์ม การปฏิสนธิ (Fertilisation) หมายถึง การหลอมรวมระหว่างนิวเคลียสของเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้กับเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย การปฏิสนธิในสัตว์และพืชเป็นดังนี้.

ใหม่!!: ไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก)และการปฏิสนธิ · ดูเพิ่มเติม »

กุ้ง

กุ้ง จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ชั้น Crustacea อันดับ Decapoda มีด้วยกันหลายวงศ์ กุ้งเป็นสัตว์น้ำ หายใจด้วยเหงือก ลำตัวยาว แบนหรือกลม แบ่งเป็นปล้องๆ เปลือกที่หุ้มท่อนหัวและอกคลุมมาถึงอกปล้องที่ 8 ส่วนใหญ่กรีมีลักษณะแบนข้าง ก้ามและขาอยู่ที่ส่วนหัวและอก มี 10 ขา มีทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม โดยปกติชอบหลบซ่อนตัวอยูเงียบ ๆ ตามพื้นน้ำหรือในซอกมืด ๆ จะออกหากินในเวลากลางคืน กุ้งกินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร เช่น กิน กุ้งด้วยกันเอง ลูกปลา ไส้เดือน สัตว์หน้าดินขนาดเล็กชนิดต่าง ๆ ข้าว เนื้อมะพร้าวตลอดจนซากสัตว์ สามารถแบ่งออกได้หลายชนิด เช่น กุ้งกุลาดำ กุ้งก้ามกราม กุ้งนาง กุ้งหลวง กุ้งก้ามเกลี้ยง กุ้งตะกาด กุ้งตะเข็บ กุ้งฝอย กุ้งหัวแข็ง กุ้งหัวโขน กุ้งขาว กุ้งรู กุ้งหิน กุ้งดีดขัน กุ้งแชบ๊วย กุ้งเครย์ฟิช ส่วนประกอบของเปลือกกุ้งส่วนใหญ่เป็นไคติน รองลงมาก็เป็นจำพวกแร่ธาตุ โปรตีน ส่วนของไขมัน เป็นต้น.

ใหม่!!: ไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก)และกุ้ง · ดูเพิ่มเติม »

ฤดูแล้ง

ฤดูแล้ง (อังกฤษ: dry season) เป็นฤดูในเขตร้อน เป็นช่วงที่มีอากาศแห้งและมีฝนตกน้อย ฤดูแล้งประกอบด้วยฤดูร้อนและฤดูหนาว ลแล้ง หมวดหมู่:ภูมิอากาศ.

ใหม่!!: ไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก)และฤดูแล้ง · ดูเพิ่มเติม »

ลิสแซมฟิเบีย

ลิสแซมฟิเบีย (ชั้นย่อย: Lissamphibia) เป็นชั้นย่อยของสัตว์มีกระดูกสันหลังในชั้นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ (Amphibia) โดยใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lissamphibia จากการศึกษาทางด้ายภายวิภาคศาสตร์และระดับโมเลกุลพบว่า ลิสแซมฟิเบียเป็นวิวัฒนาการเดี่ยวแยกจากสัตว์สี่เท้ากลุ่มอื่นที่ดำรงชีวิตและสืบทอดเผ่าพันธุ์มาจนปัจจุบัน กล่าวคือ เมื่อระยะเวลาราว 30 ล้านปีมาแล้ว ที่ได้มีสัตว์สี่เท้าถือกำเนิดขึ้นมา เป็นช่วงปลายยุคคาร์บอนิเฟอรัส ซึ่งช่วงนี้มีความสำคัญมากกับวิวัฒนาการของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำกลุ่มแรก รวมทั้งวิวัฒนาการของสัตว์กลุ่มแอมนิโอต เนื่องจากในช่วงนี้หลักฐานทางซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์สี่ขาหลายกลุ่มปะปนกัน เช่น เทมโนสปอนเดิล, แอนธราโคซอร์, แอมนิโอตกลุ่มแรก เป็นต้น ปัจจุบัน สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำทั้งหมดที่ยังคงดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน ต่างก็เป็นลิสแซมฟิเบียทั้งหมด คือ Anura, Caudata และGymnophiona และเชื่อว่ามีความสัมพันธ์กับสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำในยุคพาลีโอโซอิกตอนปลายอีกด้ว.

ใหม่!!: ไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก)และลิสแซมฟิเบีย · ดูเพิ่มเติม »

วัยเริ่มเจริญพันธุ์

วัยเริ่มเจริญพันธุ์ เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพซึ่งกายของเด็กเจริญเต็มที่สู่กายผู้ใหญ่ เป็นการเปลี่ยนแปลงทางอวัยวะสืบพันธุ์เพื่อให้พร้อมแก่การปฏิสนธิได้ วัยเริ่มเจริญพันธุ์เริ่มจากสัญญาณฮอร์โมนจากสมองไปยังต่อมบ่งเพศ คือ รังไข่ในเด็กหญิงและอัณฑะในเด็กชาย ต่อมบ่งเพศสนองต่อสัญญาณดังกล่าวโดยผลิตฮอร์โมนซึ่งกระตุ้นความต้องการทางเพศ (libido) และการเติบโต การทำหน้าที่และการแปรรูปของสมอง กระดูก กล้ามเนื้อ เลือด ผิวหนัง ขน หน้าอกและอวัยวะเพศ การเติบโตทางกาย ความสูงและน้ำหนัก เร่งเร็วขึ้นในครึ่งแรกของวัยเริ่มเจริญพันธุ์และเสร็จเมื่อเด็กนั้นพัฒนากายผู้ใหญ่ ความแตกต่างระหว่างเด็กชายและเด็กหญิงก่อนวัยเริ่มเจริญพันธุ์อย่างเดียว คือ อวัยวะเพศภายนอก จนกว่ามีการเจริญเต็มที่ของสมรรถภาพสืบพันธุ์ โดยเฉลี่ย เด็กหญิงเริ่มวัยเริ่มเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 10–11 ปี เด็กชายเริ่มที่อายุ 11–12 ปี ปกติเด็กหญิงเสร็จวัยริ่มเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 15–17 ขณะที่เด็กชายปกติเสร็จเมื่ออายุ 16–17 ปี จุดกำหนดสำคัญของวัยเริ่มเจริญพันธุ์ของหญิง คือ การเริ่มแรกมีระดู หรือการเริ่มมีประจำเดือน ซึ่งโดยเฉลี่ยเกินระหว่างอายุ 12–13 ปี สำหรับชายเป็นการหลั่งน้ำกามครั้งแรก ซึ่งเฉลี่ยเกิดเมื่ออายุ 13 ปี ในคริสต์ศตวรรษที่ 21 อายุเฉลี่ยซึ่งเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กหญิง ถึงวัยเริ่มเจริญพันธุ์น้อยกว่าเมื่อเทียบกับคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งได้แก่ 15 ปีสำหรับเด็กหญิง และ 16 ปีสำหรับเด็กชาย การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเนื่องจากหลายปัจจัย รวมถึงโภชนาการที่ดีขึ้นซึ่งส่งผลให้ร่างกายเติบโตอย่างรวดเร็ว น้ำหนักและการสะสมไขมันเพิ่มขึ้น หรือการสัมผัสกับตัวรบกวนฮอร์โมน เช่น ซีโนเอสโตรเจน ซึ่งบางครั้งอาจเนื่องจากการบริโภคอาหารหรือปัจจัยสิ่งแวดล้อมอื่น วัยเริ่มเจริญพันธุ์ที่เริ่มเร็วกว่าปกติ เรียก ภาวะเริ่มเจริญพันธุ์ก่อนวัย ส่วนวัยเริ่มเจริญพันธุ์ซึ่งเริ่มช้ากว่าปกติ เรียก ภาวะเริ่มเจริญพันธุ์ล่าช้า การเปลี่ยนแปลงกายสัณฐานวิทยาในขนาด รูปทรง องค์ประกอบและการทำหน้าที่ของกายวัยเริ่มเจริญพันธุ์ที่โดดเด่น คือ การพัฒนาลักษณะทางเพศทุติยภูมิ คือ การเปลี่ยนจากกายเด็ก จากเด็กหญิงเป็นหญิงสาว จากเด็กชายเป็นชายหนุ่ม คำว่า วัยเริ่มเจริญพันธุ์อธิบายการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพสู่การเจริญเต็มที่ทางเพศ มิใช่การเจริญเต็มที่ทางจิตสังคมและวัฒนธรรมซึ่งแสดงด้วยคำว่า "พัฒนาการเยาวชน" ในวัฒนธรรมตะวันตก ซึ่งเยาวชน คือ ช่วงการเปลี่ยนผ่านทางจิตใจจากวัยเด็กสู่วัยผู้ใหญ่ ซึ่งทับซ้อนกับช่วงวัยเริ่มเจริญพันธุ์เสียมาก หมวดหมู่:เยาวชน หมวดหมู่:การเจริญของมนุษย์ หมวดหมู่:เพศสภาพกับอายุ.

ใหม่!!: ไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก)และวัยเริ่มเจริญพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

ใหม่!!: ไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก)และสกุล (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

สกุลไซเรน

กุลไซเรน (Siren, Aquatic salamander) เป็นสกุลของซาลาแมนเดอร์ ในวงศ์ Sirenidae ใช้ชื่อสกุลว่า Siren มีรูปร่างเรียวยาวเหมือนงูหรือปลาไหล ลำตัวเรียวยาว ไม่มีขาคู่หลัง ไม่มีฟัน มีกระดูกแมคซิลลาขนาดเล็กมาก ขาคู่หน้าเล็กมาก อาศัยและดำรงชีวิตในน้ำตลอดชีวิต พบกระจายพันธุ์เฉพาะลุ่มแม่น้ำมิสซิสซิปปีในทวีปอเมริกาเหนือ ขนาดยาวที่สุดพบได้ถึง 90 เซนติเมตร กินสัตว์น้ำจำพวกสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเป็นอาหาร จำแนกออกได้เป็น 2 ชนิด และมีบางชนิดที่สูญพันธุ์ไปแล้วตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ได้แก่ หน้า 308, วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก โดย วีรยุทธ์ เลาหะจินดา (พ.ศ. 2552) ISBN 978-616-556-016-0.

ใหม่!!: ไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก)และสกุลไซเรน · ดูเพิ่มเติม »

สมัยโฮโลซีน

อุณหภูมิเฉลี่ยของบรรยากาศโลกในสมัยโฮโลซีน โฮโลซีน (Holocene) เป็นสมัย (epoch) ทางธรณีวิทยา ที่เริ่มขึ้นหลังจากการสิ้นสุดของไพลสโตซีน (11,700 ปีก่อนปัจจุบัน ตามปีปฏิทิน) มาจนถึงปัจจุบัน สมัยโฮโลซีนเป็นส่วนหนึ่งของยุคควอเทอร์นารี โดยนับตั้งแต่ปลายยุคน้ำแข็งครั้งล่าสุด ชื่อโฮโลซีน มาจากรากศัพท์ภาษากรีก ὅλος (holos แปลว่า ทั้งหมด) และ καινός (kainos แปลว่า ใหม่) ซึ่งแปลว่า "ใหม่ทั้งหมด" ได้รับการบัญญัติโดยสภาธรณีวิทยาสากล ในปี..

ใหม่!!: ไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก)และสมัยโฮโลซีน · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: ไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก)และสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก)และสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: ไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก)และสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก

ัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก หรือที่นิยมเรียกทั่วไปว่า สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ (Amphibians) เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่อยู่ในชั้น Amphibia อาศัยอยู่ได้ทั้งในน้ำและบนบก มีลักษณะเฉพาะ คือ ผิวหนังมีต่อมเมือกทำให้ผิวหนังชุ่มชื้นตลอดเวลา ผิวหนังเปียกลื่นอยู่เสมอ ไม่มีเกล็ดตัวไม่แห้งหรือไม่มีขน หายใจด้วยเหงือก, ปอด, ผิวหนัง หรือผิวในปากในคอ โดยชั้นผิวหนังนั้นมีลักษณะพิเศษสามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้เนื่องจากมีโครงข่ายหลอดเลือดฝอยจำนวนมาก เพื่อใช้ในการหายใจ สืบพันธุ์โดยการผสมพันธุ์ภายนอกลำตัว สืบพันธุ์เมื่ออายุ 2–3 ปี ออกลูกเป็นไข่อยู่ในน้ำ ไม่มีเปลือก วางไข่เป็นกลุ่มในน้ำมีสารเป็นวุ้นหุ้ม ลูกอ่อนที่ออกจากไข่มีรูปร่างคล้ายปลาเรียกว่า "ลูกอ๊อด" อยู่ในน้ำหายใจด้วยเหงือก เมื่อเติบโตเต็มที่แล้วมีปอดหายใจ ขึ้นบกได้ แต่ต้องอยู่ใกล้น้ำ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกส่วนใหญ่จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างทั้งภายนอกและภายในอย่างสิ้นเชิง ไปตามวงจรชีวิต ตัวอ่อนอาศัยอยู่ในน้ำ หายใจด้วยเหงือก เมื่อโตขึ้นจะเปลี่ยนรูปร่างอาศัยอยู่บนบก หายใจด้วยปอดหรือผิวหนัง โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งในช่วงระหว่างฤดูหนาวถึงฤดูร้อน ส่วนใหญ่จะขุดรูจำศีล เพื่อหนีความแห้งแล้ง มิให้ผิวหนังแห้ง ถ้าผิวหนังแห้งจะหายใจไม่ได้และตายในที่สุด เพราะก๊าชจากอากาศต้องละลายไปกับน้ำเมือกที่ผิวหนัง แล้วจึงแพร่เข้าสู่กระแสโลหิต ระยะนี้จะใช้อาหารที่สะสมไว้ในร่างกายอย่างช้า ๆ นิวต์และซาลามานเดอร์ก็เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเหมือนกัน แต่แตกตางกันตรงที่นิวต์และซาลามานเดอร์จะยังคงหางของมันไว้ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกถือเป็นสัตว์เลือดเย็นเช่นเดียวกับสัตว์พวกปลา หรือแมลง หรือสัตว์เลื้อยคลาน ปัจจุบันมีการอนุกรมวิธานสัตว์ในชั้นแล้วกว่า 6,500 ชน.

ใหม่!!: ไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก)และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ประหลาด

รา หนึ่งในสัตว์ประหลาดของเทพปกรณัมกรีกที่มีชื่อเสียง สัตว์ประหลาด หรือ อสูรกาย (Monster, Cryptid) หมายถึงสิ่งมีชีวิตที่ผิดแปลกจากสภาพแวดล้อมโดยทั่ว ๆ ไป หรือสัตว์ที่มนุษย์ไม่เป็นที่รู้จัก สัตว์ประหลาดถูกกล่าวถึงในตำนานหรือนิทานของชนชาติต่าง ๆ มาแต่อดีตแล้ว โดยคำว่า Monster ที่หมายถึง สัตว์ประหลาด หรือ อสูรกาย ในภาษาอังกฤษนั้นมาจากภาษาละตินคำว่า Monstrum ซึ่งหมายถึง การเกิดสิ่งผิดปกติทางชีววิทยามักจะที่ถูกนำมาเป็นสัญลักษณ์ว่าสิ่งที่ถูกต้องภายในเพื่อธรรมชาติ ความหมายของคำว่า Monster ไม่เหมือนกับปีศาจ ซึ่งหมายถึง ความชั่วร้าย โดยปกติแล้ว Monster หรือ สัตว์ประหลาด จะหมายถึงสิ่งที่น่ารังเกียจหรือผิดศีลธรรม หรือความผิดปกติทางร่างกายหรือจิตใจอย่างน่าเกลียด หรือความวิปริตทางธรรมชาติ นอกจากนี้แล้วยังนำมาใช้เปรียบเปรยกับผู้ที่มีลักษณะโลภโมโทสันหรือบุคคลที่แลดูน่ากลัวด้วย นอกจากนี้แล้ว สัตว์ประหลาดยังปรากฏตัวในสื่อวัฒนธรรมร่วมสมัยทั้งการ์ตูน ภาพยนตร์ และวิดีโอเกม โดยทั่วไปแล้ว สัตว์ประหลาดมักมีลักษณะน่ากลัวและดุร้าย แต่ในสื่อสารมวลชนยุคใหม่ก็มีสัตว์ประหลาดที่มีบทบาทในลักษณะของอสูรกายที่เป็นมิตรหรือถูกเข้าใจผิด เช่น คิงคอง หรือ อสูรกายของแฟรงเกนสไตน์ เป็นต้น ในภาพยนตร์มีเนื้อหาเกี่ยวกับสัตว์ประหลาดอยู่มากมาย อาทิ Godzilla ของฮอลลีวู้ดในปี ค.ศ. 1998 ที่ดัดแปลงมาจากตัวละครเอกคือ ก็อตซิลล่า ของญี่ปุ่น, The Mist ในปี ค.ศ. 2008 หรือแม้แต่ในภาพยนตร์ไทย เช่น มันมากับความมืด ในปี ค.ศ. 1971 จากการกำกับโดย หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล, มาห์ ในปี ค.ศ. 1991 หรือ ปักษาวายุ ในปี ค.ศ. 2004 เป็นต้น ในวัฒนธรรมไทย ก็มีสัตว์ประหลาดอยู่มากมาย ตามคติจักรวาลวิทยาทางศาสนาพราหมณ์-ฮินดูหรือพุทธศาสนา มีป่าหิมพานต์ซึ่งเป็นป่าศักดิ์สิทธิ์อยู่เชิงเขาไกรลาศ มีสัตว์ประหลาดมากมาย เรียกว่า สัตว์หิมพานต์ ซึ่งมักปรากฏภาพเป็นจิตรกรรมฝาผนังตามวัดต่าง ๆ ในเชิงวิชาการ มีศาสตร์แขนงหนึ่งของสัตววิทยาที่ศึกษาเกี่ยวกับสัตว์ประหลาดโดยเฉพาะ เรียกว่า สัตว์ประหลาดวิทยา หรือ สัตว์ลึกลับวิทยา (Cryptozoology) ซึ่งคำว่า Cryptozoology มาจากภาษากรีกคำว่า Kρυπτός (Kryptos) หมายถึง "ซ่อนอยู่" ผสมกับ Zoology ก็คือ สัตววิทยา นั่นเอง โดยนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับศาสตร์ประเภทนี้ เรียกว่า นักสัตว์ประหลาดวิทยา นักสัตว์ประหลาดวิทยาที่มีชื่อเสียง ได้แก่ คาร์ล ชูเกอร์ ชาวอังกฤษ, เบอร์นาร์ด ฮูเวลมานส์ ชาวเบลเยียม ที่ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งศาสตร์แขนงนี้และเป็นผู้ตั้งศาสตร์แขนงนี้ด้ว.

ใหม่!!: ไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก)และสัตว์ประหลาด · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

Invertebrata สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง (Invertebrates) หมายความรวมถึงสัตว์ที่ไม่มีแท่งกระดูกสันหลังสำหรับยึดติดให้เป็นส่วนเดียวกันของร่างกาย จัดเป็นสัตว์ประเภทที่ไม่มีกระดูก และไม่มีกระดูกอ่อนอยู่ภายในร่างกาย มีความแตกต่างจากสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง ที่ทั้งหมดถูกจัดอยู่ในไฟลัมเดียวในอาณาจักรสัตว์ แต่สำหรับสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง มีจำนวนมากมายหลากหลายไฟลัม และมีจำนวนมากกว่าสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังมากที่สุดในโลกบพิธ - นันทพร จารุพันธุ์, สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เล่ม 1, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2545 หน้า 1 สัตว์จำพวกไม่มีกระดูกสันหลังมีจำนวนมากว่าสัตว์พวกมีกระดูกสันหลัง แบ่งเป็น.

ใหม่!!: ไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก)และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: ไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก)และสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

หนอนแดง

หนอนแดง หรือ หนอนเลือด (Blood worm) เป็นชื่อสามัญของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหลายจำพวก ได้แก.

ใหม่!!: ไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก)และหนอนแดง · ดูเพิ่มเติม »

อสุจิ

อสุจิ สามารถหมายถึงสารผสมระหว่าง.

ใหม่!!: ไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก)และอสุจิ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาไหล

อันดับปลาไหล หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ในชื่อสามัญว่า ปลาไหล เป็นปลากระดูกแข็งจำพวกหนึ่ง จัดอยู่ในอันดับใหญ่ที่ใช้ชื่อว่า Anguilliformes มีรูปร่างโดยรวมยาวเหมือนงู พบได้ทั้งน้ำจืด, น้ำกร่อย หรือน้ำเค็ม สามารถแบ่งออกได้เป็นอีกหลายอันดับย่อย ในหลายวงศ์ เช่น ในวงศ์ปลาตูหนา (Anguillidae), วงศ์ปลาไหลมอเรย์ (Muraenidae), วงศ์ปลาไหลทะเล (Ophichthidae), วงศ์ปลาไหลยอดจาก (Muraenesocidae), วงศ์ปลาไหลสวน (Congridae) เป็นต้น เป็นปลาที่กินเนื้อเป็นอาหาร ผิวหนังโดยมากเกล็ดจะมีขนาดเล็กแทบมองไม่เห็นและฝังอยู่ใต้ผิวหนัง มีลักษณะลื่น ครีบทั้งหมดมีขนาดเล็กและสั้น มักจะซุกซ่อนตัวอยู่ในวัสดุใต้น้ำประเภทต่าง ๆ เช่น ปะการัง, ก้อนหิน, โพรงไม้ หรือ ซากเรือจม ปลาที่อยู่ในอันดับปลาไหลนี้ พบแล้วประมาณ 4 อันดับย่อย, 19 วงศ์, 110 สกุล และประมาณ 800 ชนิด อนึ่ง ปลาบางประเภทที่มีรูปร่างยาวคล้ายปลาไหล แต่มิได้จัดให้อยู่ในอันดับปลาไหลได้แก่ ปลาไหลนา (Monopterus albus) ที่จัดอยู่ในอันดับปลาไหลนา (Synbranchiformes), ปลาปอด ถูกจัดอยู่ในอันดับ Lepidosireniformes และ Ceratodontiformes, ปลาไหลไฟฟ้า (Electrophorus electricus) อยู่ในอันดับ Gymnotiformes, ปลาไหลผีอะบาอะบา (Gymnarchus niloticus) อยู่ในอันดับ Osteoglossiformes, ปลางู (Pangio spp.) อยู่ในอันดับ Cypriniformes หรือแม้กระทั่ง ปลาแลมป์เพรย์ และแฮคฟิช ถูกจัดอยู่ในชั้น Agnatha ซึ่งอยู่คนละชั้นเลยก็ตาม เป็นต้น.

ใหม่!!: ไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก)และอันดับปลาไหล · ดูเพิ่มเติม »

ผิวหนัง

ผิวหนัง คือ สิ่งปกคลุมชั้นนอกที่อ่อนของสัตว์มีกระดูกสันหลัง สิ่งปกคลุมสัตว์อื่น เช่น โครงร่างแข็งภายนอกของสัตว์ขาปล้องมีจุดกำเนิดการเจริญ โครงสร้างและองค์ประกอบทางเคมีต่างออกไป ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ผิวหนังเป็นอวัยวะใหญ่สุดของระบบผิวหนัง ซึ่งประกอบขึ้นจากเนื้อเยื่อเอ็กโทเดิร์มหลายชั้น และป้องกันกล้ามเนื้อ กระดูก เอ็นและอวัยวะภายในที่อยู่ข้างใต้ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดมีขนที่ผิวหนังด้วย ผิวหนังเป็นส่วนที่เปิดออกสู่สิ่งแวดล้อมและเป็นด่านป้องกันด่านแรกจากปัจจัยภายนอก ตัวอย่างเช่น ผิวหนังมีบทบาทสำคัญในการปกป้องร่างกายจากจุลชีพก่อโรคProksch E, Brandner JM, Jensen JM.

ใหม่!!: ไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก)และผิวหนัง · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลสาบ

ทะเลสาบกลางสวนเบญจกิตติ ขนาด 200x800 เมตร เมืองชิคาโก และทะเลสาบมิชิแกน 1 ในทะเลสาบทั้ง 5 ทางตอนเหนือของสหรัฐอเมริกา ทะเลสาบ หรือ บึง เป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ที่ล้อมรอบด้วยผืนดิน โดยทั่วไปทะเลสาบจะไม่มีทางไหลออกสู่ทะเล และมีน้ำจืด เรียกกันว่า "ทะเลสาบน้ำจืด" แต่ทะเลสาบบางแห่งอาจไหลออกสู่ทะเลได้ และมีน้ำเค็ม จึงเรียกกันว่า "ทะเลสาบน้ำเค็ม" คำว่า "ทะเลสาบ" ยังครอบคลุมถึงแหล่งน้ำที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ เช่น ทะเลสาบขนาดเล็กในสนามกอล์ฟ หรือ ทะเลสาบขนาดเล็กในสวนสาธารณะขนาดใหญ่ หรือ แอ่งเก็บน้ำเหนือเขื่อน และ อ่างเก็บน้ำ ซึ่งนับเป็นทะเลสาบขนาดใหญ.

ใหม่!!: ไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก)และทะเลสาบ · ดูเพิ่มเติม »

ดักแด้

ักแด้ของแมงอีนูน ดักแด้ เป็นช่วงชีวิตการเจริญเติบโตช่วงหนึ่งของแมลงหลายชนิด พัฒนามาจากหนอน หนอนที่เติบโตเต็มที่จะสร้างเส้นใยขึ้นเพื่อห่อหุ้มตนเอง แล้วอยู่นิ่งในถุงเส้นใยเพื่อพัฒนาร่างกายระยะหนึ่ง หลังจากที่ดักแด้พัฒนาแล้วก็จะออกจากถุงกลายเป็นตัวเต็มวัย ส่วนมากถุงดักแด้จะมีสีเหลือง สีน้ำตาล หรือสีดำ.

ใหม่!!: ไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก)และดักแด้ · ดูเพิ่มเติม »

ซาลาแมนเดอร์

ซาลาแมนเดอร์ (salamander) เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่อยู่ในชั้นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ จัดอยู่ในอันดับ Caudata และ Urodela.

ใหม่!!: ไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก)และซาลาแมนเดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเม็กซิโก

ม็กซิโก (Mexico; México) หรือชื่อทางการคือ สหรัฐเม็กซิโก (United Mexican States; Estados Unidos Mexicanos) เป็นประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ มีพรมแดนทางทิศเหนือจรดสหรัฐอเมริกา ทิศใต้และทิศตะวันตกจรดมหาสมุทรแปซิฟิก ทิศตะวันออกเฉียงใต้จรดกัวเตมาลา เบลีซ และทะเลแคริบเบียน ส่วนทิศตะวันออกจรดอ่าวเม็กซิโก เนื่องจากครอบคลุมพื้นที่ถึงเกือบ 2 ล้านตารางกิโลเมตร เม็กซิโกจึงเป็นประเทศที่มากที่สุดเป็นอันดับที่ 5 ของทวีปอเมริกา และเป็นอันดับที่ 15 ของโลก นอกจากนี้ยังมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 10 ของโลก โดยมีการประมาณไว้ว่า เมื่อ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 ประเทศนี้มีจำนวนประชากร 128,632,000 ล้านคน.

ใหม่!!: ไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก)และประเทศเม็กซิโก · ดูเพิ่มเติม »

ปู

ปู เป็นสัตว์พวกเท้าปล้องชนิดหนึ่ง อยู่ในไฟลัมอาโทรโพดา ในอันดับฐานบราชีอูรา (Brachyura) มีลักษณะสิบขา มีหลายชนิดที่อยู่ทั้งน้ำจืดและทะเล รวมถึงอยู่แต่เฉพาะบนบก ปูจะมีกระดองซึ่งเป็นแคลเซียมแข็ง มีลักษณะสมมาตร แอบโดเมนพับลงไปอยู่ใต้กระดอง ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของอันดับฐานนี้ มีก้ามใหญ่ 1 คู่ มีขาเดิน 5 คู่ แตกออกเป็นรัศมีไปทางด้านข้างลำตัว หนวดคู่ที่ 2 อยู่ระหว่างตา ส่วนหาง ไม่มีหน้าที่ชัดเจน และไม่มีแพนหาง ปูในแนวปะการังมีหลายกลุ่มหลายรูปร่างโดยสัมพันธ์กับพฤติกรรม ปูหลายชนิดอาศัยตามพื้นทราย จะมีขาว่ายน้ำหรือกรรเชียงคล้ายปูม้า บางชนิดตัวใหญ่ มีกระดองแข็งคล้ายปูทะเล มีขาสั้นและแข็งแรงเพื่อเกาะยึดกับหิน เช่นปูใบ้ก้ามดำ ปูบางชนิดมีรูปร่างแปลกเพื่อพรางตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม บางชนิดมีสีและลักษณะกระดองเหมือนกัลปังหา ปะการังอ่อน หรือดาวขนนก ในจำนวนนี้ยังมีปูที่นำฟองน้ำหรือสาหร่ายมาติดตามตัวเพื่อใช้พรางกาย ปูกลุ่มหนึ่งที่มีวิวัฒนาการมากกว่ากลุ่มอื่นคือ ปูเสฉวนจะเปลี่ยนส่วนท้องให้นิ่มและขดงอเพื่อสามารถเข้าไปอยู่ในเปลือกหอย นำเปลือกหอยติดตัวไปด้วยตลอดเวลา ซึ่งจะจัดอยู่ในอันดับฐานปูปลอม (Anomura) ปัจจุบันปูได้รับการจำแนกไว้แล้วกว่า 6,000 ชนิด ส่วนใหญ่พบในแถบอินโด-แปซิฟิก ในประเทศไทยพบแล้วรวม 824 ชน.

ใหม่!!: ไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก)และปู · ดูเพิ่มเติม »

น้ำ

น้ำในสองสถานะ: ของเหลว (รวมทั้งก้อนเมฆซึ่งเป็นตัวอย่างของละอองลอย) และของแข็ง (น้ำแข็ง) น้ำเป็นสิ่งที่โปร่งใส ไม่มีรส ไม่มีกลิ่น และเกือบจะไม่มีสี ซึ่งเป็นสารเคมีที่เป็นองค์ประกอบหลักของลำธาร, แม่น้ำ, และมหาสมุทรในโลก เป็นต้น และยังเป็นของเหลวในสิ่งมีชีวิต มีสูตรเคมีคือ H2O โมเลกุลของน้ำประกอบด้วยออกซิเจน 1 อะตอมและไฮโดรเจน 2 อะตอมเชื่อมติดกันด้วยพันธะโควาเลนต์ น้ำเป็นของเหลวที่อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน แต่พบบนโลกที่สถานะของแข็ง (น้ำแข็ง) และสถานะแก๊ส (ไอน้ำ) น้ำยังมีในสถานะของผลึกของเหลวที่บริเวณพื้นผิวที่ขอบน้ำ นอกจากนี้ยังสามารถเกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น หิมะ, ธารน้ำแข็ง, และภูเขาน้ำแข็ง, ก้อนเมฆ, หมอก, น้ำค้าง, ชั้นหินอุ้มน้ำ และ ความชื้นในบรรยากาศ น้ำปกคลุม 71% บนพื้นผิวโลก และเป็นปัจจัยสำคัญต่อชีวิต น้ำบนโลก 96.5% พบในมหาสมุทร 1.7% ในน้ำใต้ดิน 1.7% ในธารน้ำแข็งและชั้นน้ำแข็งของทวีปแอนตาร์กติกาและเกาะกรีนแลนด์ ซึ่งเป็นเศษส่วนเล็กน้อยบนผิวน้ำขนาดใหญ่ และ 0.001% พบในอากาศเป็นไอน้ำ ก้อนเมฆ (ก่อตัวขึ้นจากอนุภาคน้ำในสถานะของแข็งและของเหลวแขวนลอยอยู่บนอากาศ) และหยาดน้ำฟ้า น้ำบนโลกเพียง 2.5% เป็นน้ำจืด และ 98.8% ของน้ำจำนวนนั้นพบในน้ำแข็งและน้ำใต้ดิน น้ำจืดน้อยกว่า 0.3% พบในแม่น้ำ ทะเลสาบ และชั้นบรรยากาศ และน้ำจืดบนโลกในปริมาณที่เล็กลงไปอีก (0.003%) พบในร่างกายของสิ่งมีชีวิตและผลิตภัณฑ์ น้ำบนโลกเคลื่อนที่ต่อเนื่องตามวัฏจักรของการระเหยเป็นไอและการคายน้ำ (การคายระเหย) การควบแน่น การตกตะกอน และการไหลผ่าน โดยปกติจะไปถึงทะเล การระเหยและการคายน้ำนำมาซึ่งการตกตะกอนลงสู่พื้นดิน น้ำดื่มสะอาดเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ แม้ว่าน้ำจะไม่มีแคลอรีหรือสารอาหารที่เป็นสารประกอบอินทรีย์ใดๆ การเข้าถึงน้ำดื่มสะอาดได้เปลี่ยนแปลงไปในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมาในเกือบทุกส่วนของโลก แต่ประชากรประมาณ 1 พันล้านคนยังคงขาดแคลนน้ำดื่มสะอาดและกว่า 2.5 พันล้านคนขาดแคลนสุขอนามัยที่เพียงพอ มีความเกี่ยวพันกันเรื่องน้ำสะอาดและค่า GDP ต่อคน อย่างไรก็ดี นักสังเกตบางคนประมาณไว้ว่าภายในปี..

ใหม่!!: ไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก)และน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

แมลง

แมลง (Insect) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จัดอยู่ในไฟลัมอาร์โทรโพดา จำแนกออกเป็นไฟลัมต่าง ๆ ได้ 13 กลุ่ม มีลักษณะสำคัญคือมีลำตัวเป็นปล้องคล้อง ซึ่งอาจแบ่งเป็น 2 หรือ 3 ส่วน สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ลำตัวทั้งสองด้านซ้ายขวามีความเหมือนและมีขนาดเท่ากัน มีเปลือกห่อหุ้มลำตัวด้วยสารไคติน (Chitinous Exoskeleton) ไม่มีขน หายใจแบบใช้เหงือกหรือใช้รูหายใจ มีวัฎจักรวงจรชีวิตในการเจริญเติบโตแบบไข่ มีการลอกคราบเป็นบางครั้งแล้วสร้างผนังหรือเปลือกห่อหุ้มลำตัวใหม่ มีรยางค์เป็นคู่และเป็นปล้อง ส่วนใหญ่นักกีฏวิทยามักใช้รยางค์ในการแบ่งเพศผู้เพศเมียของแมลง มีอวัยวะภายในที่มีท่อทางเดินอาหารเป็นท่อยาวตลอดจากปากไปถึงทวารหนัก ระบบเลือดเป็นแบบเปิดและมีท่อเลือดอยู่ทางด้านสันหลังเหนือระบบทางเดินอาหาร มีระบบประสาทที่ประกอบไปด้วยสมองอยู่เหนือท่ออาหาร มีเส้นประสาทขนาดใหญ่หนึ่งคู่เชื่อมต่อจากสมอง มีการรวมตัวเป็นระยะก่อเกิดเป็นปมประสาท เส้นประสาทขนาดใหญ่ของแมลง จะอยู่ทางด้านล่างของลำตัวใต้ท่ออาหาร มีกล้ามเนื้อแบบเรียบอยู่ตามลำตัวบทปฏิบัติการกีฎวิทยาเบื้องต้น, ภาควิชากีฎวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ร. ดร.สาวิตรี มาไลยพันธุ์, สำนักพิมพ์รั้วเขียว,..

ใหม่!!: ไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก)และแมลง · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำมิสซิสซิปปี

แม่น้ำมิสซิสซิปปี ภาพถ่ายจากสวนสาธารณะในรัฐมินนิโซตา แม่น้ำมิสซิสซิปปี (Mississippi River) อยู่ตอนกลางของสหรัฐอเมริกา เป็นเครือข่ายสาขาแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาเหนือ(เครือข่ายแม่น้ำมิสซิสซิปปี-มิสซูรี) มีความยาวทั้งสิ้น 3,334 กม.

ใหม่!!: ไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก)และแม่น้ำมิสซิสซิปปี · ดูเพิ่มเติม »

แหล่งน้ำ

ฟยอร์ดในประเทศนอร์เวย์ แหล่งน้ำ หรือ พื้นที่น้ำ (water body) คือบริเวณที่มีการสะสมของน้ำบนพื้นผิวโลกหรือบนผิวดาวเคราะห์ เช่น มหาสมุทร ทะเล แม่น้ำ ไปจนถึง คลอง หรือ พื้นที่ชุ่มน้ำ แหล่งน้ำแบ่งได้เป็นสองประเภทตามการกำเนิดคือ แหล่งน้ำที่เกิดโดยธรรมชาติเช่น มหาสมุทร ทะเล แม่น้ำ และแหล่งน้ำที่เกิดจากการสร้างโดยมนุษย์เช่น อ่างเก็บน้ำ คลอง นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งได้ตามการเคลื่อนที่ของน้ำ เช่น แม่น้ำ และคลอง กล่าวถึงแหล่งน้ำมีการไหลจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง ในขณะที่ ทะเลสาบ น้ำจะไม่มีการไหลไปแหล่งอื่น แหล่งน้ำที่มีการสัญจรจะถูกเรียกว่าทางน้ำ สำหรับส่วนบริเวณของภูมิประเทศที่มีน้ำเป็นจำนวนหนึ่งแต่ไม่เรียกว่าแหล่งน้ำเช่น น้ำตก และไกเซอร.

ใหม่!!: ไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก)และแหล่งน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

ไส้เดือนน้ำ

้เดือนน้ำ (Tubiflex worm) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่เป็นสัตว์พวกหนอนปล้องชนิดหนึ่ง มีการดำรงชีวิตอยู่ตามแหล่งน้ำจืดต่าง ๆ โดยกินอาหารจำพวกอินทรียวัตถุที่เน่าเปื่อยในดินชั้นล่างของแหล่งน้ำที่อาศัย จะขุดรูคล้ายท่อหรือหลอดในโคลนโดยทิ้งให้ส่วนหัวอยู่ด้านล่าง และยื่นออกมาเฉพาะส่วนท้ายของหางโผล่ออกมาจากดิน ส่วนของหางจะทำหน้าที่ในการโบกกลับไปมา ทำให้เกิดการหมุนเวียนของกระแสน้ำเพื่อแลกเปลี่ยนออกซิเจนในการหายใจด้วย ดังนั้นจะเห็นไส้เดือนน้ำมักรวมกลุ่มกันเป็นก้อนโบกตัวไปมาใต้พื้นน้ำ ไส้เดือนน้ำนิยมให้เป็นอาหารปลา โดยเฉพาะปลาสวยงาม มีคุณค่าทางสารอาหาร คือ ประกอบไปด้วยโปรตีนร้อยละ 60, ไขมันร้อยละ 6.50, ความชื้นร้อยละ 6, ไฟเบอร์ร้อยละ 0.30 ถือว่ามีคุณค่าทางสารอาหารสูงกว่าหนอนแดงเสียอีก แต่ทว่าไส้เดือนน้ำมักมีความสกปรก เมื่อนำไปให้ปลากิน ปลามักจะป่วยหรือตายได้ง่าย ๆ ฉะนั้นก่อนจะให้ ผู้เลี้ยงจึงต้องทำความสะอาดด้วยการล้างด้วยน้ำเปล่าสะอาด ๆ หลายครั้ง อีกทั้งการเก็บรักษาก็ยุ่งยากกว่าอาหารปลาที่เป็นอาหารสดทั่วไป โดยต้องให้ออกซิเจนตลอดเวลา จึงมักเก็บไว้ในภาชนะที่มีระบบน้ำไหลผ่านตลอดเวลา ไม่เช่นนั้นไส้เดือนน้ำจะตายได้และจะทับถมกันจนน้ำเน่าเสีย ส่งกลิ่นเหม็น.

ใหม่!!: ไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก)และไส้เดือนน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

ไข่

อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก)และไข่ · ดูเพิ่มเติม »

ไซเรน

ำหรับสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำจำพวกซาลาแมนเดอร์ ดูที่ ไซเรน จอห์น วิลเลี่ยม วาเตอร์เฮาส์ ไซเรน (Siren; กรีก: Σειρήν, Σειρῆνες) เป็นปีศาจในเทพปกรณัมกรีก โดยปรากฏบทบาทอย่างยิ่งจากตำนานเรื่องเจสันและเรืออาร์โกและโอดิสซีย์ ไซเรน มีลักษณะของสัตว์ผสม 3 อย่าง คือ คล้ายนางเงือก มีขาเป็นครีบปลา มีปีกและเสียงเหมือนนก แต่บ้างก็ว่า ไซเรน เป็นมนุษย์ครึ่งนกเหมือนกินร กินรี ในวรรณคดีไทย จากบทประพันธ์ตอนหนึ่ง ระบุว่า ไซเรน มีเสียงอันไพเราะ รูปร่างที่งดงามรองจากเงือกเล็กน้อย มีความสามารถในการสะกดจิตให้ผู้อื่น ทำตามในสิ่งที่ตนเองต้องการ เสียงของไซเรนไพเราะเพราะพริ้งจนทำให้คนที่เดินเรือผ่านมายังบริเวณใกล้เคียงที่ไซเรนอาศัยอยู่หลงทางเข้ามาตามเสียงเพลงของไซเรน ผู้ที่ทนฟังเสียงของนางไซเรนได้โดยไม่เสียสติจะได้รับปัญญาในการรู้จุดอ่อนของตน ในลุ่มแม่น้ำไรน์ในประเทศเยอรมนี มีอุบัติเหตุทางเรือเกิดขึ้นบ่อย ๆ เชื่อว่าเกิดจากไซเรน ที่เรียกว่า "ผู้หญิงแห่งแม่น้ำไรน์" ซึ่งปรากฏอยู่ในคติชนนิยมและวรรณกรรมต่าง ๆ ไซเรน ได้ถูกอ้างอิงถึงในวัฒนธรรมร่วมสมัยมากมาย เช่น เป็นตัวละครหนึ่งในการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่อง เซนต์เซย่า ที่ชื่อ ไซเรน โซเรนต.

ใหม่!!: ไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก)และไซเรน · ดูเพิ่มเติม »

ไซเรนแคระ

ซเรนแคระ (Dwarf sirens, Mud sirens) เป็นสกุลของซาลาแมนเดอร์ จำพวกไซเรน (Sirenidae) สกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Pseudobranchus ไซเรนในสกุลนี้ มีรูปร่างแตกต่างจากไซเรนในสกุล Siren คือ มีลำตัวสั้นป้อมกว่า และไม่มีกระดูกแมคซิลลา พบกระจายพันธุ์ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ.

ใหม่!!: ไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก)และไซเรนแคระ · ดูเพิ่มเติม »

เชิงกราน

งกราน (pelvis) เป็นโครงสร้างกระดูกของร่างกายที่อยู่ปลายล่างของกระดูกสันหลัง จัดเป็นส่วนหนึ่งของโครงกระดูกรยางค์ (appendicular skeleton) กระดูกเชิงกรานประกอบด้วยกระดูกสะโพก (hipbone), กระดูกใต้กระเบนเหน็บ (sacrum), และกระดูกก้นกบ (coccyx) กระดูกสะโพกประกอบด้วยกระดูกย่อยๆ 3 ชิ้น ได้แก่ กระดูกปีกสะโพก (ilium), กระดูกก้น (ischium), และกระดูกหัวหน่าว (pubis) กระดูกปีกสะโพกเป็นกระดูกที่ใหญ่ที่สุดและเป็นส่วนบนสุด กระดูกก้นเป็นส่วนที่อยู่ด้านหลังเยื้องด้านล่าง และกระดูกหัวหน่าวเป็นส่วนหน้าของกระดูกสะโพก กระดูกสะโพก 2 ชิ้นจะมาเชื่อมกันทางด้านหน้าเป็นแนวประสานหัวหน่าว (symphysis pubis) และเชื่อมด้านหลังกับกระดูกใต้กระเบนเหน็บ เชิงกรานจะประกอบกันเป็นเบ้าของข้อต่อสะโพก เกิดเป็นกระดูกโอบรยางค์ล่าง (หรือรยางค์หลัง).

ใหม่!!: ไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก)และเชิงกราน · ดูเพิ่มเติม »

เพศชาย

ัญลักษณ์เพศชาย เพศชาย (♂) หรือเพศผู้ คือเพศหนึ่งของสิ่งมีชีวิต ที่ผลิตเซลล์สืบพันธุ์ขนาดเล็กที่เรียกว่า อสุจิ โดยตัวอสุจิสามารถรวมกับเซลล์สืบพันธุ์ของเพศหญิงที่เรียกว่า เซลล์ไข่ เกิดขั้นตอนที่เรียกว่า การผสมพันธุ์ เพศชายไม่สามารถสืบพันธุ์ได้โดยปราศจากการเข้าถึงเซลล์ไข่ของเพศหญิงอย่างน้อย 1 เซลล์ แต่สิ่งมีชีวิตบางอย่างสามารถสืบพันธุ์ได้โดยอาศัยการสืบพันธุ์หรือไม่อาศัยการสืบพันธุ์ แต่ละสปีชีส์ไม่ได้มีระบบทางเพศที่เหมือนกัน ในมนุษย์และในสัตว์ส่วนใหญ่ การสืบพันธุ์ถือเป็นกลไกทางพันธุกรรมแต่ในบางสปีชีส์แล้วสามารถเกิดในจากทางด้านสังคม สิ่งแวดล้อมและปัจจัยอื่น.

ใหม่!!: ไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก)และเพศชาย · ดูเพิ่มเติม »

เมตร

มตร อักษรย่อ ม. (mètre → metre meter The Metric Conversion Act of 1975 gives the Secretary of Commerce of the US the responsibility of interpreting or modifying the SI for use in the US., m) เป็นหน่วยฐานเอสไอของความยาวในหน่วยเอสไอ แต่เดิมนิยามว่าหนึ่งเมตรเท่ากับ 1/10,000,000 ของระยะทางจากเส้นศูนย์สูตรของโลกไปยังขั้วโลกเหนือวัดจากเส้นรอบวงที่ผ่านเมืองปารีส แต่เนื่องจากความแม่นยำทางมาตรวิทยา ที่มีมากขึ้น ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 ความยาวหนึ่งเมตรจึงถูกนิยามไว้ให้เท่ากับความยาวที่แสงเดินทางได้ในสุญญากาศ ในช่วงเวลา วินาที.

ใหม่!!: ไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก)และเมตร · ดูเพิ่มเติม »

เอ็มบริโอ

อ็มบริโอของมนุษย์อายุ 6 สัปดาห์ เอ็มบริโอ (แปลว่า สิ่งที่เติบโต) คือระยะแรกในพัฒนาการของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์จำพวกยูคาริโอต ซึ่งนับตั้งแต่เริ่มมีการแบ่งเซลล์จนกระทั่งเกิด, ฟักออกจากไข่, หรืองอกในกรณีของพืช สำหรับในมนุษย์ระยะเอ็มบริโอเริ่มหลังจากการปฏิสนธิจนกระทั่งสิ้นสุดสัปดาห์ที่ 8 ซึ่งหลังจากนั้นจะเรียกสิ่งมีชีวิตว่าระยะทารกในครรภ์ หรือฟีตัส (fetus).

ใหม่!!: ไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก)และเอ็มบริโอ · ดูเพิ่มเติม »

เทพปกรณัมกรีก

รูปปั้นครึ่งตัวของซูส, ที่เมือง Otricoli พิพิธภัณฑ์ Pio-Clementino วาติกัน) เทพปกรณัมกรีก (ΜΥΘΟΛΟΓΊΑ ΕΛΛΗΝΙΚΉ) เป็นเรื่องปรัมปราและตำนานที่เกี่ยวข้องกับเทพเจ้า, วีรบุรุษ, ธรรมชาติของโลก รวมถึงจุดกำเนิดและความสำคัญของขนบ คติและจารีตพิธีในทางศาสนาของชาวกรีกโบราณ เทพปกรณัมกรีกเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาในกรีซโบราณ นักวิชาการสมัยใหม่มักอ้างถึงและศึกษาเรื่องปรัมปราเหล่านี้ เพื่อที่จะทราบเกี่ยวกับสถาบันทางศาสนา, สถาบันทางการเมืองในกรีซโบราณ, อารยธรรมของชาวกรีก และเพื่อเพิ่มความเข้าใจในธรรมชาติของการสร้างตำนานเทพปกรณัมขึ้น เทพปกรณัมกรีกได้ถูกรวบรวมขึ้นจากเรื่องเล่าและศิลปะที่แสดงออกในวัฒนธรรมกรีก เช่น การระบายสีแจกันและของแก้บน ตำนานกรีกอธิบายถึงการถือกำเนิดของโลก และรายละเอียดของเรื่องราวในชีวิต และการผจญภัยของบรรดาเทพเจ้า เทพธิดา วีรบุรุษ วีรสตรี และสิ่งมีชีวิตในตำนานอื่น ๆ ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้ในตอนแรกเป็นเพียงการสืบทอดผ่านบทกวีตามประเพณีมุขปาฐะเท่านั้น ซึ่งอาจสืบย้อนหลังไปได้ถึงสมัยไมนอส และสมัยไมซีนี ตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 ก่อน..

ใหม่!!: ไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก)และเทพปกรณัมกรีก · ดูเพิ่มเติม »

เขียดงู

ียดงู (Caecilians) เป็นอันดับของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Apoda (ในบางข้อมูลจะจัดให้อยู่ในอันดับ Gymnophiona) มีลักษณะโดยรวมของรูปร่าง คือ ลำตัวเรียวยาวคล้ายงูหรือปลาไหล มีทั้งอาศัยอยู่บนบก ในโพรงดิน และในน้ำ โดยลดรูปโครงสร้างหลายประการซึ่งเป็นลักษณะที่พบกับสัตว์ที่มีลำตัวเรียวยาวหรืออาศัยอยู่ในโพรง กล่าว คือ หางมีขนาดเล็กมากหรือไม่มีเลย ไม่มีรยางค์ขาหรือฐานรยางค์ แต่ในสกุล Eocaecilia ที่เป็นซากดึกดำบรรพ์มีรยางค์ขา ตามีขนาดเล็กและบางชนิดอยู่ในร่องของกระดูกกะโหลกและถูกชั้นหนังปกคลุมไว้ ปอดข้างซ้ายมีขนาดเล็กหรือไม่มี ขณะที่บางวงศ์ที่อาศัยอยู่ในน้ำจะไม่มีปอด บางชนิดมีเกล็ดฝังตัวอยู่ในร่องที่แบ่งลำตัวเป็นปล้อง การปฏิสนธิเกิดขึ้นภายใน โดยตัวผู้จะมีอวัยวะถ่ายอสุจิเจริญจากผนังของห้องทวารร่วม บางชนิดวางไข่ในน้ำ และมีระยะเวลาของวัยอ่อนและบางชนิดวางไข่บนบกโดยไม่มีระยะวัยอ่อน ตัวเมียมีพฤติกรรมเฝ้าไข่ แต่เขียดงูส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 75 ออกลูกเป็นตัว วัยอ่อนภายในท่อนำไข่ได้รับสารอาหารจากสิ่งผลิตภายในท่อนำไข่ มีลักษณะเด่น คือ ลำตัวเป็นปล้อง ปล้องของลำตัวโดยทั่วไปมีจำนานเท่ากับจำนวนปล้องของกระดูกสันหลัง แต่บางชนิดอาจมีปล้องลำตัวจำนวนสองปล้องหรืออาจจะถึงสามปล้องต่อกระดูกสันหลังหนึ่งปล้อง โดยปล้องลำตัวปฐมภูมิเจริญขึ้นมาก่อนต่อจากนั้นจึงมีปล้องลำตัวทุติยภูมิหรือปล้องลำตัวตติยภูมิเจริญขึ้นมาเป็นลำดับต่อมา เกล็ดของเขียดงูประกอบด้วยคอลลาเจนหลายชั้นเรียงซ้อนกันและฝังตัวอยู่ในร่องตรงส่วนลึกที่สุดของปล้องลำตัวปฐมภูมิ โดยเรียงเป็นลำดับต่อเนื่องกันในแนวเฉียง กะโหลกของเขียดงูมีชิ้นของกระดูกยึดติดกันแข็งแรงและส่วนใหญ่ไม่มีช่องเปิดที่กะโหลก นอกจากช่องเปิดของอวัยวะรับความรู้สึก ได้แก่ ตา, จมูก, หนวด ในบางวงศ์มีช่องเปิดบริเวณขมับ กระดูกกะโหลกจึงขยับได้บ้าง ฟันที่ขากรรไกรบนอยู่บนกระดูกพรีแมคซิลลา กระดูกแมคซิลโลพาลาทีนและกระดูกโวเมอร์ มีอวัยวะรับรู้จำเพาะ คือ อวัยวะที่แลดูคล้ายหนวด ที่เจริญขึ้นมาจากช่องเปิดที่อยู่ระหว่างตากับช่องเปิดจมูก ตำแหน่งของช่องเปิดหนวดแตกต่างกันในแต่ละชนิด ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ใช้ในการอนุกรมวิธาน สัดส่วนความยาวของหนวดที่โผล่พ้นช่องเปิดออกมาก็แตกต่างกันในแต่ละวงศ์ โดยหนวดเป็นโครงสร้างเชิงซ้อนประกอบด้วยกล้ามเนื้อ, ต่อม และท่อ การเจริญของหนวดสัมพันธ์กับตาและอวัยวะจาคอบสัน ซึ่งทำหน้าที่รับรู้สารเคมี เขียดงูแบ่งออกได้เป็นทั้งหมด 9 วงศ์ ประมาณ 200 ชนิด (ในขณะที่บางข้อมูลแบ่งเพียง 6 วงศ์ หรือ 3 วงศ์) กระจายพันธุ์ทั่วไปในเขตร้อน ยกเว้นบนเกาะมาดากัสการ์และทางตะวันออกของเส้นสมมติวอลเลซ ในประเทศไทยพบได้ 1 วงศ์ เช่น เขียดงูเกาะเต่า (Ichthyophis kohtaoensis) เป็นต้น.

ใหม่!!: ไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก)และเขียดงู · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

SirenidaeSirenoidea

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »