โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกและไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก)

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกและไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก)

สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก vs. ไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก)

ัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก หรือที่นิยมเรียกทั่วไปว่า สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ (Amphibians) เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่อยู่ในชั้น Amphibia อาศัยอยู่ได้ทั้งในน้ำและบนบก มีลักษณะเฉพาะ คือ ผิวหนังมีต่อมเมือกทำให้ผิวหนังชุ่มชื้นตลอดเวลา ผิวหนังเปียกลื่นอยู่เสมอ ไม่มีเกล็ดตัวไม่แห้งหรือไม่มีขน หายใจด้วยเหงือก, ปอด, ผิวหนัง หรือผิวในปากในคอ โดยชั้นผิวหนังนั้นมีลักษณะพิเศษสามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้เนื่องจากมีโครงข่ายหลอดเลือดฝอยจำนวนมาก เพื่อใช้ในการหายใจ สืบพันธุ์โดยการผสมพันธุ์ภายนอกลำตัว สืบพันธุ์เมื่ออายุ 2–3 ปี ออกลูกเป็นไข่อยู่ในน้ำ ไม่มีเปลือก วางไข่เป็นกลุ่มในน้ำมีสารเป็นวุ้นหุ้ม ลูกอ่อนที่ออกจากไข่มีรูปร่างคล้ายปลาเรียกว่า "ลูกอ๊อด" อยู่ในน้ำหายใจด้วยเหงือก เมื่อเติบโตเต็มที่แล้วมีปอดหายใจ ขึ้นบกได้ แต่ต้องอยู่ใกล้น้ำ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกส่วนใหญ่จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างทั้งภายนอกและภายในอย่างสิ้นเชิง ไปตามวงจรชีวิต ตัวอ่อนอาศัยอยู่ในน้ำ หายใจด้วยเหงือก เมื่อโตขึ้นจะเปลี่ยนรูปร่างอาศัยอยู่บนบก หายใจด้วยปอดหรือผิวหนัง โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งในช่วงระหว่างฤดูหนาวถึงฤดูร้อน ส่วนใหญ่จะขุดรูจำศีล เพื่อหนีความแห้งแล้ง มิให้ผิวหนังแห้ง ถ้าผิวหนังแห้งจะหายใจไม่ได้และตายในที่สุด เพราะก๊าชจากอากาศต้องละลายไปกับน้ำเมือกที่ผิวหนัง แล้วจึงแพร่เข้าสู่กระแสโลหิต ระยะนี้จะใช้อาหารที่สะสมไว้ในร่างกายอย่างช้า ๆ นิวต์และซาลามานเดอร์ก็เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเหมือนกัน แต่แตกตางกันตรงที่นิวต์และซาลามานเดอร์จะยังคงหางของมันไว้ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกถือเป็นสัตว์เลือดเย็นเช่นเดียวกับสัตว์พวกปลา หรือแมลง หรือสัตว์เลื้อยคลาน ปัจจุบันมีการอนุกรมวิธานสัตว์ในชั้นแล้วกว่า 6,500 ชน. ำหรับสัตว์ประหลาดในเทพปกรณัมกรีก ดูที่: ไซเรน ไซเรน (Sirens) สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกจำพวกซาลาแมนเดอร์วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Sirenidae จัดอยู่ในอันดับย่อย Sirenoidea ไซเรน มีความแตกต่างจากซาลาแมนเดอร์จำพวกอื่น ๆ พอสมควร เนื่องจากมีลำตัวเรียวยาวคล้ายปลาไหลหรือเขียดงู ไม่มีขาคู่หลังและกระดูกเชิงกราน ขาคู่หน้าเล็กมากและนิ้วเท้าลดจำนวนลง ปากเป็นจะงอยแข็ง เมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ยังคงรูปโครงสร้างของระยะวัยอ่อนไว้หลายประการ เช่น ไม่มีเปลือกตา, มีเหงือก, มีช่องเปิดเหงือก 1 คู่ หรือ 3 ช่อง, ไม่มีฟัน, ไม่มีกระดูกแมคซิลลา หรือมีขนาดเล็กมาก รวมทั้งลักษณะโครงสร้างของผิวหนัง มีความยาวของลำตัวประมาณ 10–90 เซนติเมตร อาศัยอยู่ในน้ำตลอดเวลา เช่น บึง, ทะเลสาบ หรือแหล่งน้ำที่มีกระแสน้ำไม่แรง และมีพืชน้ำขึ้นหนาแน่น กินอาหารจำพวกสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็ก เช่น กุ้ง, ปู, แมลงน้ำ, หนอนแดง, ไส้เดือนน้ำ เป็นต้น โดยกินด้วยการดูด ในช่วงฤดูแล้งจะฝังตัวอยู่ใต้โคลน โดยสร้างปลอกหุ้มตัวคล้ายดักแด้ของแมลง การปฏิสนธิของไซเรน เกิดขึ้นภายนอกตัว และไม่พบมีพฤติกรรมเกี้ยวพาราสี และไม่มีต่อมโคลเอคัลซึ่งเป็นต่อมที่ตัวผู้ของซาลาแมนเดอร์จำพวกอื่นใช้สร้างสเปอร์มาโทฟอร์ และของตัวเมียใช้เก็บสเปิร์ม ตัวเมียวางไข่ติดกับพืชน้ำหรือสร้างรังอยู่ในกอของพืชน้ำที่อยู่ใต้น้ำ บางชนิดมีพฤติกรรมเฝ้.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกและไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก)

สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกและไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก) มี 15 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): การสูญพันธุ์ฤดูแล้งลิสแซมฟิเบียสกุล (ชีววิทยา)สัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสปีชีส์อันดับปลาไหลผิวหนังซาลาแมนเดอร์แมลงไข่เพศชายเทพปกรณัมกรีกเขียดงู

การสูญพันธุ์

ียน นกโดโด้ ตัวอย่างของการสูญพันธุ์ยุคใกล้ การสูญพันธุ์ (Extinction) ในทางชีววิทยาและนิเวศวิทยา คือการสิ้นสุดของการดำรงอยู่ของสปีชีส์หรือของสิ่งมีชีวิต ซึ่งทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง โดยทั่วไปแล้ว ถือว่าชั่วขณะของการสูญพันธุ์คือชั่วขณะความตายของสิ่งมีชีวิตตัวสุดท้ายในสปีชีส์นั้น แม้ว่าความสามารถในการผสมพันธุ์และฟื้นตัวอาจจะสูญเสียไปแล้วก่อนหน้านั้นก็ตาม.

การสูญพันธุ์และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก · การสูญพันธุ์และไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก) · ดูเพิ่มเติม »

ฤดูแล้ง

ฤดูแล้ง (อังกฤษ: dry season) เป็นฤดูในเขตร้อน เป็นช่วงที่มีอากาศแห้งและมีฝนตกน้อย ฤดูแล้งประกอบด้วยฤดูร้อนและฤดูหนาว ลแล้ง หมวดหมู่:ภูมิอากาศ.

ฤดูแล้งและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก · ฤดูแล้งและไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก) · ดูเพิ่มเติม »

ลิสแซมฟิเบีย

ลิสแซมฟิเบีย (ชั้นย่อย: Lissamphibia) เป็นชั้นย่อยของสัตว์มีกระดูกสันหลังในชั้นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ (Amphibia) โดยใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lissamphibia จากการศึกษาทางด้ายภายวิภาคศาสตร์และระดับโมเลกุลพบว่า ลิสแซมฟิเบียเป็นวิวัฒนาการเดี่ยวแยกจากสัตว์สี่เท้ากลุ่มอื่นที่ดำรงชีวิตและสืบทอดเผ่าพันธุ์มาจนปัจจุบัน กล่าวคือ เมื่อระยะเวลาราว 30 ล้านปีมาแล้ว ที่ได้มีสัตว์สี่เท้าถือกำเนิดขึ้นมา เป็นช่วงปลายยุคคาร์บอนิเฟอรัส ซึ่งช่วงนี้มีความสำคัญมากกับวิวัฒนาการของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำกลุ่มแรก รวมทั้งวิวัฒนาการของสัตว์กลุ่มแอมนิโอต เนื่องจากในช่วงนี้หลักฐานทางซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์สี่ขาหลายกลุ่มปะปนกัน เช่น เทมโนสปอนเดิล, แอนธราโคซอร์, แอมนิโอตกลุ่มแรก เป็นต้น ปัจจุบัน สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำทั้งหมดที่ยังคงดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน ต่างก็เป็นลิสแซมฟิเบียทั้งหมด คือ Anura, Caudata และGymnophiona และเชื่อว่ามีความสัมพันธ์กับสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำในยุคพาลีโอโซอิกตอนปลายอีกด้ว.

ลิสแซมฟิเบียและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก · ลิสแซมฟิเบียและไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก) · ดูเพิ่มเติม »

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

สกุล (ชีววิทยา)และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก · สกุล (ชีววิทยา)และไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก) · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

สัตว์และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก · สัตว์และไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก) · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

สัตว์มีแกนสันหลังและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก · สัตว์มีแกนสันหลังและไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก) · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

สปีชีส์และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก · สปีชีส์และไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก) · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาไหล

อันดับปลาไหล หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ในชื่อสามัญว่า ปลาไหล เป็นปลากระดูกแข็งจำพวกหนึ่ง จัดอยู่ในอันดับใหญ่ที่ใช้ชื่อว่า Anguilliformes มีรูปร่างโดยรวมยาวเหมือนงู พบได้ทั้งน้ำจืด, น้ำกร่อย หรือน้ำเค็ม สามารถแบ่งออกได้เป็นอีกหลายอันดับย่อย ในหลายวงศ์ เช่น ในวงศ์ปลาตูหนา (Anguillidae), วงศ์ปลาไหลมอเรย์ (Muraenidae), วงศ์ปลาไหลทะเล (Ophichthidae), วงศ์ปลาไหลยอดจาก (Muraenesocidae), วงศ์ปลาไหลสวน (Congridae) เป็นต้น เป็นปลาที่กินเนื้อเป็นอาหาร ผิวหนังโดยมากเกล็ดจะมีขนาดเล็กแทบมองไม่เห็นและฝังอยู่ใต้ผิวหนัง มีลักษณะลื่น ครีบทั้งหมดมีขนาดเล็กและสั้น มักจะซุกซ่อนตัวอยู่ในวัสดุใต้น้ำประเภทต่าง ๆ เช่น ปะการัง, ก้อนหิน, โพรงไม้ หรือ ซากเรือจม ปลาที่อยู่ในอันดับปลาไหลนี้ พบแล้วประมาณ 4 อันดับย่อย, 19 วงศ์, 110 สกุล และประมาณ 800 ชนิด อนึ่ง ปลาบางประเภทที่มีรูปร่างยาวคล้ายปลาไหล แต่มิได้จัดให้อยู่ในอันดับปลาไหลได้แก่ ปลาไหลนา (Monopterus albus) ที่จัดอยู่ในอันดับปลาไหลนา (Synbranchiformes), ปลาปอด ถูกจัดอยู่ในอันดับ Lepidosireniformes และ Ceratodontiformes, ปลาไหลไฟฟ้า (Electrophorus electricus) อยู่ในอันดับ Gymnotiformes, ปลาไหลผีอะบาอะบา (Gymnarchus niloticus) อยู่ในอันดับ Osteoglossiformes, ปลางู (Pangio spp.) อยู่ในอันดับ Cypriniformes หรือแม้กระทั่ง ปลาแลมป์เพรย์ และแฮคฟิช ถูกจัดอยู่ในชั้น Agnatha ซึ่งอยู่คนละชั้นเลยก็ตาม เป็นต้น.

สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกและอันดับปลาไหล · อันดับปลาไหลและไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก) · ดูเพิ่มเติม »

ผิวหนัง

ผิวหนัง คือ สิ่งปกคลุมชั้นนอกที่อ่อนของสัตว์มีกระดูกสันหลัง สิ่งปกคลุมสัตว์อื่น เช่น โครงร่างแข็งภายนอกของสัตว์ขาปล้องมีจุดกำเนิดการเจริญ โครงสร้างและองค์ประกอบทางเคมีต่างออกไป ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ผิวหนังเป็นอวัยวะใหญ่สุดของระบบผิวหนัง ซึ่งประกอบขึ้นจากเนื้อเยื่อเอ็กโทเดิร์มหลายชั้น และป้องกันกล้ามเนื้อ กระดูก เอ็นและอวัยวะภายในที่อยู่ข้างใต้ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดมีขนที่ผิวหนังด้วย ผิวหนังเป็นส่วนที่เปิดออกสู่สิ่งแวดล้อมและเป็นด่านป้องกันด่านแรกจากปัจจัยภายนอก ตัวอย่างเช่น ผิวหนังมีบทบาทสำคัญในการปกป้องร่างกายจากจุลชีพก่อโรคProksch E, Brandner JM, Jensen JM.

ผิวหนังและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก · ผิวหนังและไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก) · ดูเพิ่มเติม »

ซาลาแมนเดอร์

ซาลาแมนเดอร์ (salamander) เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่อยู่ในชั้นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ จัดอยู่ในอันดับ Caudata และ Urodela.

ซาลาแมนเดอร์และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก · ซาลาแมนเดอร์และไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก) · ดูเพิ่มเติม »

แมลง

แมลง (Insect) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จัดอยู่ในไฟลัมอาร์โทรโพดา จำแนกออกเป็นไฟลัมต่าง ๆ ได้ 13 กลุ่ม มีลักษณะสำคัญคือมีลำตัวเป็นปล้องคล้อง ซึ่งอาจแบ่งเป็น 2 หรือ 3 ส่วน สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ลำตัวทั้งสองด้านซ้ายขวามีความเหมือนและมีขนาดเท่ากัน มีเปลือกห่อหุ้มลำตัวด้วยสารไคติน (Chitinous Exoskeleton) ไม่มีขน หายใจแบบใช้เหงือกหรือใช้รูหายใจ มีวัฎจักรวงจรชีวิตในการเจริญเติบโตแบบไข่ มีการลอกคราบเป็นบางครั้งแล้วสร้างผนังหรือเปลือกห่อหุ้มลำตัวใหม่ มีรยางค์เป็นคู่และเป็นปล้อง ส่วนใหญ่นักกีฏวิทยามักใช้รยางค์ในการแบ่งเพศผู้เพศเมียของแมลง มีอวัยวะภายในที่มีท่อทางเดินอาหารเป็นท่อยาวตลอดจากปากไปถึงทวารหนัก ระบบเลือดเป็นแบบเปิดและมีท่อเลือดอยู่ทางด้านสันหลังเหนือระบบทางเดินอาหาร มีระบบประสาทที่ประกอบไปด้วยสมองอยู่เหนือท่ออาหาร มีเส้นประสาทขนาดใหญ่หนึ่งคู่เชื่อมต่อจากสมอง มีการรวมตัวเป็นระยะก่อเกิดเป็นปมประสาท เส้นประสาทขนาดใหญ่ของแมลง จะอยู่ทางด้านล่างของลำตัวใต้ท่ออาหาร มีกล้ามเนื้อแบบเรียบอยู่ตามลำตัวบทปฏิบัติการกีฎวิทยาเบื้องต้น, ภาควิชากีฎวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ร. ดร.สาวิตรี มาไลยพันธุ์, สำนักพิมพ์รั้วเขียว,..

สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกและแมลง · แมลงและไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก) · ดูเพิ่มเติม »

ไข่

อาจหมายถึง.

สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกและไข่ · ไข่และไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก) · ดูเพิ่มเติม »

เพศชาย

ัญลักษณ์เพศชาย เพศชาย (♂) หรือเพศผู้ คือเพศหนึ่งของสิ่งมีชีวิต ที่ผลิตเซลล์สืบพันธุ์ขนาดเล็กที่เรียกว่า อสุจิ โดยตัวอสุจิสามารถรวมกับเซลล์สืบพันธุ์ของเพศหญิงที่เรียกว่า เซลล์ไข่ เกิดขั้นตอนที่เรียกว่า การผสมพันธุ์ เพศชายไม่สามารถสืบพันธุ์ได้โดยปราศจากการเข้าถึงเซลล์ไข่ของเพศหญิงอย่างน้อย 1 เซลล์ แต่สิ่งมีชีวิตบางอย่างสามารถสืบพันธุ์ได้โดยอาศัยการสืบพันธุ์หรือไม่อาศัยการสืบพันธุ์ แต่ละสปีชีส์ไม่ได้มีระบบทางเพศที่เหมือนกัน ในมนุษย์และในสัตว์ส่วนใหญ่ การสืบพันธุ์ถือเป็นกลไกทางพันธุกรรมแต่ในบางสปีชีส์แล้วสามารถเกิดในจากทางด้านสังคม สิ่งแวดล้อมและปัจจัยอื่น.

สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกและเพศชาย · เพศชายและไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก) · ดูเพิ่มเติม »

เทพปกรณัมกรีก

รูปปั้นครึ่งตัวของซูส, ที่เมือง Otricoli พิพิธภัณฑ์ Pio-Clementino วาติกัน) เทพปกรณัมกรีก (ΜΥΘΟΛΟΓΊΑ ΕΛΛΗΝΙΚΉ) เป็นเรื่องปรัมปราและตำนานที่เกี่ยวข้องกับเทพเจ้า, วีรบุรุษ, ธรรมชาติของโลก รวมถึงจุดกำเนิดและความสำคัญของขนบ คติและจารีตพิธีในทางศาสนาของชาวกรีกโบราณ เทพปกรณัมกรีกเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาในกรีซโบราณ นักวิชาการสมัยใหม่มักอ้างถึงและศึกษาเรื่องปรัมปราเหล่านี้ เพื่อที่จะทราบเกี่ยวกับสถาบันทางศาสนา, สถาบันทางการเมืองในกรีซโบราณ, อารยธรรมของชาวกรีก และเพื่อเพิ่มความเข้าใจในธรรมชาติของการสร้างตำนานเทพปกรณัมขึ้น เทพปกรณัมกรีกได้ถูกรวบรวมขึ้นจากเรื่องเล่าและศิลปะที่แสดงออกในวัฒนธรรมกรีก เช่น การระบายสีแจกันและของแก้บน ตำนานกรีกอธิบายถึงการถือกำเนิดของโลก และรายละเอียดของเรื่องราวในชีวิต และการผจญภัยของบรรดาเทพเจ้า เทพธิดา วีรบุรุษ วีรสตรี และสิ่งมีชีวิตในตำนานอื่น ๆ ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้ในตอนแรกเป็นเพียงการสืบทอดผ่านบทกวีตามประเพณีมุขปาฐะเท่านั้น ซึ่งอาจสืบย้อนหลังไปได้ถึงสมัยไมนอส และสมัยไมซีนี ตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 ก่อน..

สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกและเทพปกรณัมกรีก · เทพปกรณัมกรีกและไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก) · ดูเพิ่มเติม »

เขียดงู

ียดงู (Caecilians) เป็นอันดับของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Apoda (ในบางข้อมูลจะจัดให้อยู่ในอันดับ Gymnophiona) มีลักษณะโดยรวมของรูปร่าง คือ ลำตัวเรียวยาวคล้ายงูหรือปลาไหล มีทั้งอาศัยอยู่บนบก ในโพรงดิน และในน้ำ โดยลดรูปโครงสร้างหลายประการซึ่งเป็นลักษณะที่พบกับสัตว์ที่มีลำตัวเรียวยาวหรืออาศัยอยู่ในโพรง กล่าว คือ หางมีขนาดเล็กมากหรือไม่มีเลย ไม่มีรยางค์ขาหรือฐานรยางค์ แต่ในสกุล Eocaecilia ที่เป็นซากดึกดำบรรพ์มีรยางค์ขา ตามีขนาดเล็กและบางชนิดอยู่ในร่องของกระดูกกะโหลกและถูกชั้นหนังปกคลุมไว้ ปอดข้างซ้ายมีขนาดเล็กหรือไม่มี ขณะที่บางวงศ์ที่อาศัยอยู่ในน้ำจะไม่มีปอด บางชนิดมีเกล็ดฝังตัวอยู่ในร่องที่แบ่งลำตัวเป็นปล้อง การปฏิสนธิเกิดขึ้นภายใน โดยตัวผู้จะมีอวัยวะถ่ายอสุจิเจริญจากผนังของห้องทวารร่วม บางชนิดวางไข่ในน้ำ และมีระยะเวลาของวัยอ่อนและบางชนิดวางไข่บนบกโดยไม่มีระยะวัยอ่อน ตัวเมียมีพฤติกรรมเฝ้าไข่ แต่เขียดงูส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 75 ออกลูกเป็นตัว วัยอ่อนภายในท่อนำไข่ได้รับสารอาหารจากสิ่งผลิตภายในท่อนำไข่ มีลักษณะเด่น คือ ลำตัวเป็นปล้อง ปล้องของลำตัวโดยทั่วไปมีจำนานเท่ากับจำนวนปล้องของกระดูกสันหลัง แต่บางชนิดอาจมีปล้องลำตัวจำนวนสองปล้องหรืออาจจะถึงสามปล้องต่อกระดูกสันหลังหนึ่งปล้อง โดยปล้องลำตัวปฐมภูมิเจริญขึ้นมาก่อนต่อจากนั้นจึงมีปล้องลำตัวทุติยภูมิหรือปล้องลำตัวตติยภูมิเจริญขึ้นมาเป็นลำดับต่อมา เกล็ดของเขียดงูประกอบด้วยคอลลาเจนหลายชั้นเรียงซ้อนกันและฝังตัวอยู่ในร่องตรงส่วนลึกที่สุดของปล้องลำตัวปฐมภูมิ โดยเรียงเป็นลำดับต่อเนื่องกันในแนวเฉียง กะโหลกของเขียดงูมีชิ้นของกระดูกยึดติดกันแข็งแรงและส่วนใหญ่ไม่มีช่องเปิดที่กะโหลก นอกจากช่องเปิดของอวัยวะรับความรู้สึก ได้แก่ ตา, จมูก, หนวด ในบางวงศ์มีช่องเปิดบริเวณขมับ กระดูกกะโหลกจึงขยับได้บ้าง ฟันที่ขากรรไกรบนอยู่บนกระดูกพรีแมคซิลลา กระดูกแมคซิลโลพาลาทีนและกระดูกโวเมอร์ มีอวัยวะรับรู้จำเพาะ คือ อวัยวะที่แลดูคล้ายหนวด ที่เจริญขึ้นมาจากช่องเปิดที่อยู่ระหว่างตากับช่องเปิดจมูก ตำแหน่งของช่องเปิดหนวดแตกต่างกันในแต่ละชนิด ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ใช้ในการอนุกรมวิธาน สัดส่วนความยาวของหนวดที่โผล่พ้นช่องเปิดออกมาก็แตกต่างกันในแต่ละวงศ์ โดยหนวดเป็นโครงสร้างเชิงซ้อนประกอบด้วยกล้ามเนื้อ, ต่อม และท่อ การเจริญของหนวดสัมพันธ์กับตาและอวัยวะจาคอบสัน ซึ่งทำหน้าที่รับรู้สารเคมี เขียดงูแบ่งออกได้เป็นทั้งหมด 9 วงศ์ ประมาณ 200 ชนิด (ในขณะที่บางข้อมูลแบ่งเพียง 6 วงศ์ หรือ 3 วงศ์) กระจายพันธุ์ทั่วไปในเขตร้อน ยกเว้นบนเกาะมาดากัสการ์และทางตะวันออกของเส้นสมมติวอลเลซ ในประเทศไทยพบได้ 1 วงศ์ เช่น เขียดงูเกาะเต่า (Ichthyophis kohtaoensis) เป็นต้น.

สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกและเขียดงู · เขียดงูและไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก) · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกและไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก)

สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก มี 71 ความสัมพันธ์ขณะที่ ไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก) มี 42 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 15, ดัชนี Jaccard คือ 13.27% = 15 / (71 + 42)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกและไซเรน (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก) หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »