โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เจดีย์ชเวมอดอ

ดัชนี เจดีย์ชเวมอดอ

ีย์ชเวมอดอ (ရွှေမောဓော ဘုရား; ကျာ်မုဟ်တ) เป็นเจดีย์สำคัญที่อยู่ในเมืองพะโค ประเทศพม่า มีความสูง ถือเป็นเจดีย์ที่สูงที่สุดในประเทศพม่า แต่เจดีย์ชเวดากอง ในเมืองย่างกุ้ง มักถูกบันทึกว่าเป็นเจดีย์ที่สูงที่สุดในประเทศ เพราะประดิษฐานบนเนินเขา เจดีย์ชเวมอดอเชื่อกันว่าเป็นมหาเจดีย์ที่บรรจุพระเกศาธาตุและพระเขี้ยวแก้วของพระโคตมพุทธเจ้า เจดีย์ชเวมอดอ เจดีย์ชเวดากอง และพระธาตุไจทีโย เป็นเจดีย์ที่มีชื่อเสียงที่ถูกสร้างโดยชาวมอญ เทศกาลประจำปีเฉลิมฉลองเจดีย์ชเวมอดอ มักจัดในช่วงเดือนตะกู (Tagu) ตามปฏิทินพม่าแบบดั้งเดิม.

28 ความสัมพันธ์: ชาวมอญพระธาตุไจทีโยพระโคตมพุทธเจ้าพระเจ้าบุเรงนองพระเจ้าราชาธิราชพระเจ้าธรรมเจดีย์พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้พระเจ้าปดุงพระเขี้ยวแก้วพะโคภาษามอญย่างกุ้งระฆังวัดปรมัยยิกาวาสศาสนาพุทธสมเด็จพระนเรศวรมหาราชอาณาจักรมอญอำเภอปากเกร็ดอำเภอเมืองนนทบุรีจังหวัดนนทบุรีคริสต์ศตวรรษที่ 10ประเทศพม่าแสงอาทิตย์ไทยสยามเกาะเกร็ดเจดีย์ชเวดากองเถรวาทเขตพะโค

ชาวมอญ

มอญ (မွန်လူမျိုး; မန် หรือ မည်; IPA:; อังกฤษ: Mon) เป็นชนชาติเจ้าของอารยธรรมอันเก่าแก่ในแผ่นดินพม่า พูดภาษาในตระกูลมอญ-เขมร.

ใหม่!!: เจดีย์ชเวมอดอและชาวมอญ · ดูเพิ่มเติม »

พระธาตุไจทีโย

ระธาตุไจทีโย หรือ พระธาตุอินทร์แขวน (ကျိုက်ထီးရိုးဘုရား,; ကျာ်သိယဵု) เป็นเจดีย์ที่จาริกแสวงบุญของพุทธศาสนิกชน ตั้งอยู่ในรัฐมอญ ประเทศพม่า เป็นพระเจดีย์ขนาดเล็ก สร้างขึ้นบนก้อนหินแกรนิตที่ปิดด้วยทองคำเปลวโดยผู้ที่นับถือศรัทธา เชื่อว่าพระธาตุไจทีโยเป็นที่ประดิษฐานพระเกศาธาตุของพระโคตมพุทธเจ้า ตั้งอยู่บริเวณหน้าผาสูงชันบนยอดเขาไจทีโยอย่างหมิ่นเหม่ เหมือนจะหล่นและท้าทายแรงดึงดูดของโลกโดยไม่ตกลงมา ตามตำนานระบุว่าฤๅษีติสสะเป็นผู้หนึ่งที่ได้รับพระเกศาจากพระพุทธเจ้าและนำมาไว้ในมวยผม ตั้งใจจะนำพระเกศาไปบรรจุไว้ในก้อนหินที่มีรูปร่างคล้ายกับศีรษะของฤๅษี ท้าวสักกเทวราช (พระอินทร์) จึงช่วยเสาะหาก้อนหินดังกล่าวจากใต้ท้องมหาสมุทรและนำมาวางไว้บนภูเขา พระธาตุไจทีโยนับเป็น 1 ใน 5 สิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุดของชาวพม่า ปัจจุบันผู้หญิงไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปด้านในบริเวณพระธาตุ ซึ่งดูแลโดยพนักงานรักษาความปลอดภัยซึ่งเฝ้าประตูรั้วรอบขอบชิด ผู้หญิงสามารถเข้าออกได้ที่ระเบียงด้านนอกและลานด้านล่างของก้อนหิน.

ใหม่!!: เจดีย์ชเวมอดอและพระธาตุไจทีโย · ดูเพิ่มเติม »

พระโคตมพุทธเจ้า

ระโคตมพุทธเจ้า มีพระนามเดิมในภาษาบาลีว่า สิทธัตถะ โคตมะ หรือในภาษาสันสกฤตว่า สิทฺธารฺถ เคาตมะ (อ่านว่า /สิดทาด —/) (เทวนาครี: सिद्धार्थ गौतम) เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ผู้เป็นศาสดาของศาสนาพุทธ สาวกของพระองค์ไม่นิยมออกพระนามโดยตรง แต่เรียกตามพระสมัญญาว่า "ภควา" (พระผู้มีพระภาคเจ้า) คัมภีร์พุทธศาสนาทั้งนิกายเถรวาทและนิกายมหายานบันทึกตรงกันว่า พระโคตมพุทธเจ้าทรงดำรงพระชนมชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปี ก่อนคริสตกาลตามตำราไทยซึ่งอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และตรงกับ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล พระโคตมพุทธเจ้าเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายาแห่งศากยวงศ์ โคตมโคตร อันเป็นราชสกุลวงศ์ที่ปกครองกรุงกบิลพัสดุ์มาช้านาน ก่อนออกผนวชทรงดำรงพระอิสสริยยศเป็นรัชทายาท เมื่อเสด็จออกผนวชและบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ทรงได้รับการถวายพระนามต่าง ๆ อาทิ พระศากยมุนี, พระพุทธโคดม, พระโคดมพุทธเจ้า ฯลฯ แต่ทรงเรียกพระองค์เองว่า ตถาคต แปลว่า พระผู้ไปแล้วอย่างนั้น คือ ทรงปฏิญาณว่า ทรงพ้นจากทุกข์ทั้งปวง สำเร็จแล้วซึ่งอรหัตผล.

ใหม่!!: เจดีย์ชเวมอดอและพระโคตมพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าบุเรงนอง

ระเจ้าบุเรงนอง หรือพระนามเต็มว่า พระเจ้าบุเรงนองกะยอดินนรธา (Bayinnaung Kyawhtin Nawrahta, ဘုရင့်နောင် ကျော်ထင်နော်ရထာ บะยิ่นเหน่าง์จ่อถิ่นหน่อยะถ่า; 16 มกราคม 2059 – 10 พฤศจิกายน 2124) หรือ พระเจ้าหงษานีพัตร เป็นพระมหากษัตริย์พม่าจากราชวงศ์ตองอู เสวยราชย์ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: เจดีย์ชเวมอดอและพระเจ้าบุเรงนอง · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าราชาธิราช

ระเจ้าราชาธิราช (ရာဇာဓိရာဇ်, หย่าซาดะยิต; ค.ศ. 1368–1421) มีพระนามเดิมว่า พญาน้อย (ဗညားနွဲ့) ทรงเป็นกษัตริย์มอญแห่งราชอาณาจักรหงสาวดี ระหว่างปี..

ใหม่!!: เจดีย์ชเวมอดอและพระเจ้าราชาธิราช · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าธรรมเจดีย์

ระเจ้าธรรมเจดีย์ (ဓမ္မစေတီ,; c. 1409–1492) กษัตริย์องค์ที่ 16 แห่ง อาณาจักรหงสาวดี ครองสิริราชสมบัติระหว่างปี..

ใหม่!!: เจดีย์ชเวมอดอและพระเจ้าธรรมเจดีย์ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้

ระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ หรือ ตะเบ็งเฉวฺ่ที (Tabinshwehti, တပင်ရွှေထီး; สำเนียงพม่าออกว่า "ตะเบ็งเฉวฺ่ที") เป็นพระมหากษัตริย์พม่ารัชกาลที่ 2 ในราชวงศ์ตองอู เป็นพระราชโอรสเพียงพระองค์เดียวในพระเจ้าเมงจีโย ซึ่งเป็นปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์ตองอู.

ใหม่!!: เจดีย์ชเวมอดอและพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าปดุง

ระเจ้าปดุง (Bodawpaya) เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 5 แห่งราชวงศ์อลองพญา (หรือเป็นองค์ที่ 6 หากนับรวมพระเจ้าหม่องหม่องด้วย) ราชวงศ์สุดท้ายของพม่า เป็นพระโอรสลำดับที่ 5 ใน 6 พระองค์ของพระเจ้าอลองพญา ขึ้นครองราชย์โดยการปราบดาภิเษกในปี พ.ศ. 2325 ปีเดียวกับการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ พระเจ้าปดุง เมื่อทรงครองราชย์มีพระนามว่า "ปโดงเมง" หมายถึง "พระราชาจากเมืองปโดง" แต่มีพระนามที่เป็นที่เรียกขานในพม่าภายหลังว่า "โบดอพญา" (ဘိုးတော်ဘုရား) แปลว่า "เสด็จปู่ ".

ใหม่!!: เจดีย์ชเวมอดอและพระเจ้าปดุง · ดูเพิ่มเติม »

พระเขี้ยวแก้ว

ระเขี้ยวแก้วจำลอง ในพิพิธภัณฑ์เมืองโคลอมโบ ศรีลังกา พระเขี้ยวแก้ว หรือ พระทาฐธาตุ คือพระทันตธาตุส่วนที่เป็นเขี้ยวของพระโคตมพุทธเจ้า ซึ่งตามลักขณสูตรในพระไตรปิฎกภาษาบาลี ได้กล่าวถึงมหาปุริสลักขณะ 32 ประการ มีข้อความตอนหนึ่งกล่าวถึง ลักษณะของพระทาฐะหรือเขี้ยวของบุคคลผู้มีลักษณะแห่งมหาบุรุษว่า "เขี้ยวพระทนต์ทั้งสี่งามบริสุทธิ์" ข้อมูลนี้จึงทำให้เชื่อกันว่า พระเขี้ยวแก้วมีทั้งหมด 4 อง.

ใหม่!!: เจดีย์ชเวมอดอและพระเขี้ยวแก้ว · ดูเพิ่มเติม »

พะโค

(ပဲခူးမြို့, Bago หรือ Pegu) หรือชื่อในอดีตคือ หงสาวดี (ဟံသာဝတီ, หงสาวะโตย; Hongsawatoi, Hanthawaddy, Hanthawady, Hanthawadi หรือ Handawaddy) เป็นเมืองหลวงของเขตหงสาวดี ตั้งอยู่ใกล้เมืองเมาะตะมะ ทางตอนใต้ของประเทศพม่า นครหงสาวดีเคยเป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรหงสาวดีของชาวมอญ และอาณาจักรตองอูของชาวพม.

ใหม่!!: เจดีย์ชเวมอดอและพะโค · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามอญ

ษามอญ (เพียซาโหม่น) เป็นภาษาในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก กลุ่มภาษามอญ-เขมร ซึ่งเป็นสายหนึ่งในตระกูลภาษามอญ-เขมร 12 สาย พูดโดยชาวมอญ ที่อาศัยอยู่ในพม่า และไทย ภาษาตระกูลมอญ-เขมรมีการใช้มานานประมาณ 3,000-4,000 ปีมาแล้ว มีผู้ใช้ภาษานี้อยู่ประมาณ 5,000,000 คน อักษรมอญ ที่เก่าแก่ที่สุดนั้น ค้นพบในประเทศไทย หลักฐานที่พบคือ จารึกวัดโพธิ์ร้าง พ.ศ. 1143 เป็นอักษรมอญโบราณที่เก่าแก่ที่สุด ในบรรดาจารึกภาษามอญที่ได้ค้นพบ ในแถบเอเซียอาคเนย์ เป็นจารึกที่เขียนด้วยตัวอักษรปัลลวะ ที่ยังไม่ได้ดัดแปลงให้เป็น อักษรมอญ และได้พบอักษรที่มอญประดิษฐ์เพิ่มขึ้น เพื่อให้พอกับเสียงในภาษามอญ ในจารึกเสาแปดเหลี่ยมที่ศาลสูง เมืองลพบุรี ข้อความที่จารึกเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา สันนิษฐานว่า จารึกในพุทธศตวรรษที่ 14 ราว..

ใหม่!!: เจดีย์ชเวมอดอและภาษามอญ · ดูเพิ่มเติม »

ย่างกุ้ง

งกุ้ง หรือ ยานโกน (ရန်ကုန်, MLCTS rankun mrui, ยานโกน มโย; "อวสานสงคราม") หรือ ร่างกุ้ง (Rangoon) เป็นเมืองหลวงของเขตย่างกุ้ง ย่างกุ้งเป็นเมืองหลวงของพม่าจนถึงปี..

ใหม่!!: เจดีย์ชเวมอดอและย่างกุ้ง · ดูเพิ่มเติม »

ระฆัง

ระฆังซิกมุนด์ ที่เมืองกราโกว์ ประเทศโปแลนด์ ระฆัง เป็นเครื่องดนตรีอย่างง่ายชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นท่อปลายเปิดหนึ่งด้าน มีตั้งแต่ขนาดเล็ก เช่นกระดิ่ง ไปจนถึงระฆังขนาดใหญ่ เช่นระฆังบิกเบน ที่แขวนในหอนาฬิกา ซึ่งตั้งอยู่ที่พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ ระฆังสามารถทำจากวัสดุ ตั้งแต่แก้ว เซรามิค แต่ที่นิยมที่สุดคือโลหะ ระฆัง มีลักษณะเป็นท่อปลายเปิดข้างเดียว แขวนด้านที่เปิดลงด้านล่าง อาจจะมีค้อนแขวนไว้ข้างในตัวระฆัง หรืออาจจะเอาไว้ด้านนอกก็ได้ แล้วแต่ว่าจะใช้วิธีแกว่งหรือตี เมื่อระฆังถูกตี พลังงานจากการชนของค้อนกับระฆังจะทำให้อากาศในระฆังเกิดการสั่นพ้องขึ้น ทำให้เกิดเสียงอันก้องกังวาน ในโลกตะวันตก ระฆังมักมีค้อนแขวนไว้ภายใน และแขวนไว้กับแกนที่หมุนได้ แกนที่หมุนได้จะมีเชือกโยงลงไป เวลาจะลั่นก็จะกระตุกเชือก ทำให้ระฆังแกว่ง และกระทบกับค้อนเกิดเป็นเสียงขึ้น บางทีระฆังอาจจะแขวนไว้เป็นราวก็ได้ ส่วนในโลกตะวันออก ระฆังมักใช้วิธีการกระแทกด้วยค้อนหรือไม้ท่อน แทนที่จะแกว่ง เทคนิคหลังนี้เป็นที่นิยมสำหรับหอนาฬิกาและหอระฆังโดยทั่วไป เพราะการแกว่งอาจทำให้หอเสียหายได้ ระฆังมักทำมาจากโลหะผสมทองแดงและดีบุก (ทองเหลือง) ในอัตราส่วนที่เหมาะสม โดยมากมักเป็น ทองแดง 3: ดีบุก 1 หลังจากที่หล่อเสร็จแล้ว ก็จะต้องถ่วงเสียง โดยการเพิ่มหรือลดเนื้อวัสดุภายในตัวระฆัง เทียบกับการเคาะส้อมเสียงเพื่อให้ได้เสียงที่ต้องการ.

ใหม่!!: เจดีย์ชเวมอดอและระฆัง · ดูเพิ่มเติม »

วัดปรมัยยิกาวาส

วัดปรมัยยิกาวาส เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ 51 หมู่ที่ 7 ตำบลเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี วัดปรมัยยิกาวาสเป็นวัดโบราณ น่าจะสร้างหลังจากพระเจ้าท้ายสระโปรดให้ขุดคลอง เมื่อ พ.ศ. 2264 ชาวเรือเรียก วัดปากอ่าว จนปี พ.ศ. 2307 พม่าบุกยึดเมืองนนทบุรี กลายเป็นวัดร้างเมื่อปี พ.ศ. 2317 ชาวมอญที่อพยพมาในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้บูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ คนมอญเรียกว่า "เภี่ยมู้เกี้ยเติ้ง" ในปี พ.ศ. 2417 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทอดกฐินวัดมอญ 4 วัด ได้แก่ วัดปากอ่าว วัดรามัญ (วัดเกาะพญาเจ่ง) วัดบางพัง และวัดสนาม (สนามเหนือ) ต่อมาทรงเห็นว่าวัดปากอ่าวทรุดโทรมมาก จึงโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดใหม่ทั้งวัดโดยรักษารูปแบบมอญไว้ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล สนองพระคุณพระเจ้าบรมมหัยยิกาเธอ กรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูร ผู้ทรงอภิบาลพระองค์มาแต่ทรงพระเยาว์ และได้พระราชทานนามวัดว่า วัดปรมัยยิกาวาส ซึ่งมีความหมายว่า "วัดของพระบรมอัยยิกา" สิ่งสำคัญภายในวัดมีพระอุโบสถที่มีภาพจิตรกรรมฝาผนังแบบไทยประยุกต์ บานประตูหน้าต่างประดับ ลายปูนปั้นเขียนด้วยสี กำแพงแก้วรอบพระอุโบสถมีลวดลายที่สวยงาม เป็นกำแพงเหล็กอย่างดีทำมาจากยุโรป อีกทั้งด้านหลังพระอุโบสถมีพระเจดีย์รูปทรงแบบมอญซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่พระมหารามัญเจดีย์นี้ เมื่อปี พ.ศ. 2427 และใกล้กันนั้นมีพระวิหารซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ขนาดใหญ่เป็นที่สามในอำเภอปากเกร็ด ส่วนด้านหน้าพระวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหินอ่อน ซึ่งพระปฏิมากรซานซิวซูนทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และมี "พระนนทมุนินท์" เป็นพระพุทธรูปปางขัดสมาธิเพชร หน้าตักกว้าง 1 เมตร สูง 1.65 เมตร หล่อด้วยโลหะ พระศาสนโสภณ (อ่อน) เจ้าคณะมณฑลกรุงเทพสร้างเป็นพระพุทธรูปประจำเมืองนนทบุรี พระยาราชสงครามเป็นผู้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ด้านใต้พระวิหารพระพุทธไสยาสน์ วัดปรมัยยิกาวาสวรวิหาร มีประเพณีของเมืองสืบมาว่า เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรีย้ายมาดำรงตำแหน่งใหม่ ได้จัดพิธีรับอย่างเป็นทางการพร้อมมีพิธีนมัสการพระพุทธรูปประจำเมืองนนทบุรีที่วัดแห่งนี้ สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นพระพุทธรูปประจำจังหวัดนนทบุรีประดิษฐานอยู่ในตู้กระจก ใต้พาไล ด้านหลังพระวิหารแห่งนี้ด้วย วัดมอญเก่าแก่แห่งนี้มีต้นไม้ใหญ่ให้ร่มเงามากมาย ทั้งยังมีม้านั่งสำหรับชมทัศนียภาพอันสวยงามริมเกาะอีกด้วย นับได้ว่า เป็นวัดที่เชิดหน้าชูตาของชาวเกาะเกร็ดเป็นอย่างมากทีเดียว.

ใหม่!!: เจดีย์ชเวมอดอและวัดปรมัยยิกาวาส · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธ

ระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (buddhasāsana พุทฺธสาสนา, buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเอง ด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑. พระไตรปิฎกฉบับสยามรั.

ใหม่!!: เจดีย์ชเวมอดอและศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

มเด็จพระนเรศวรมหาราช มีพระนามเดิมว่าพระนเรศ หรือ "พระองค์ดำ" เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหาธรรมราชาและพระวิสุทธิกษัตรีย์ (พระราชธิดาของสมเด็จพระศรีสุริโยทัยและสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ) เสด็จพระราชสมภพเมื่อ..

ใหม่!!: เจดีย์ชเวมอดอและสมเด็จพระนเรศวรมหาราช · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรมอญ

อาณาจักรมอญ หรือ รามัญประเทศ เป็นอาณาจักรของชนชาติมอญซึ่ง อาจแบ่งได้เป็น 3 ยุค ยุคแรกคือยุคราชวงศ์สะเทิม อาณาจักรสุธรรมวดี มีกษัตริย์ปกครอง 59 พระองค์ เริ่มจากสมัยพระเจ้าสีหราชา มาจนถึงสมัยพระเจ้ามนูหา เชื่อว่ายุคนี้ครอบครองพื้นที่ได้ ทั้งทวารวดีและสะเทิม ยุคแรกสิ้นสุดลงเมื่อพระเจ้าอโนรธาแห่งอาณาจักรพุกาม ยกทัพมาตีเมืองสะเทิมในสมัยพระเจ้ามนูหาHtin Aung 1967: 32–33 ซึ่งนักประวัติศาสตร์ไทยบางท่านเชื่อว่าพระเจ้าอโนรธาน่าจะยกมาตีถึงนครปฐม ยุคที่สองคือยุคราชวงศ์เมาะตะมะ-หงสาวดี หรือยุคอาณาจักรหงสาวดี‎ เริ่มจากสมัยที่พม่าซึ่งอ่อนแอจากการรุกรานของมองโกล พระเจ้าวาเรรูหรือพระเจ้าฟ้ารั่ว (มะกะโท) ได้ทรงกอบกู้เอกราชมอญจากพม่าและสถาปนาอาณาจักรหงสาวดี พระองค์มีมเหสีเป็นราชธิดาของพ่อขุนรามคำแหง กษัตริย์ของไทย มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมาะตะมะ ต่อมาในสมัยพญาอู่ ได้ย้ายราชธานีมาอยู่ ณ เมืองพะโคหรือหงสาวดี ราชบุตรของพระองค์คือพญาน้อย ซึ่งต่อมาก็คือพระเจ้าราชาธิราช ผู้ทำสงครามยาวนานกับกษัตริย์พม่าอาณาจักรอังวะ ในสมัยพระเจ้าฝรั่งมังศรีชวา กับสมัย พระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง ขุนพลสำคัญของพระเจ้าราชาธิราช คือ สมิงพระราม สมิงนครอินทร์ และแอมูน-ทยา ในสมัยของพระเจ้าราชาธิราชนั้นหงสาวดีกลายเป็นอาณาจักรที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ ครอบคลุมตั้งแต่ชายฝั่งทะเลอ่าวเบงกอลจากแม่น้ำอิรวดีขยายลงไปทางตะวันออกถึงแม่น้ำสาละวิน และเป็นศูนย์กลางทางการค้าที่ใหญ่โต มีเมืองท่าที่สำคัญหลายแห่งในหลายลุ่มน้ำ เช่น เมาะตะมะ สะโตง พะโค พะสิมHtin Aung 1967: 78–80 อาณาจักรมอญยุคนี้เจริญสูงสุดในสมัยพระนางเชงสอบูและสมัยพระเจ้าธรรมเจดีย์Myint-U 2006: 64–65 หลังจากนั้นในสมัยพระเจ้าสการะวุตพี หงสาวดีก็เสียแก่พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ ในปี..

ใหม่!!: เจดีย์ชเวมอดอและอาณาจักรมอญ · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอปากเกร็ด

ปากเกร็ด เป็นเป็นอำเภอที่มีตำบลมากที่สุดในจังหวัดนนทบุรี ที่ตั้งมีแม่น้ำเจ้าพระยาตัดผ่านตัวอำเภอ สภาพพื้นที่ทางฝั่งตะวันตกส่วนใหญ่เป็นสวนผลไม้ต่าง ๆ ไร่นา ท้องทุ่ง ปศุสัตว์ ดังเช่นในชนบท ส่วนทางฝั่งตะวันออกมีที่พักอาศัย อุตสาหกรรม ห้างสรรพสินค้า โรงภาพยนตร์ ซูเปอร์มาร์เก็ต และยังเป็นที่ตั้งหน่วยงานราชการส่วนกลางของประเทศ ในอดีตอำเภอปากเกร็ดเคยขึ้นกับจังหวัดพระนครอยู่ช่วงหนึ่ง และบางตำบลเคยอยู่ในอำเภอบางบัวทอง.

ใหม่!!: เจดีย์ชเวมอดอและอำเภอปากเกร็ด · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเมืองนนทบุรี

มืองนนทบุรี เป็นอำเภอศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา เศรษฐกิจ และการสาธารณสุขของจังหวัดนนทบุรี.

ใหม่!!: เจดีย์ชเวมอดอและอำเภอเมืองนนทบุรี · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดนนทบุรี

ังหวัดนนทบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นครั้งล่าสุดโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครนายก พุทธศักราช 2489 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม..

ใหม่!!: เจดีย์ชเวมอดอและจังหวัดนนทบุรี · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 10

ริสต์ศตวรรษที่ 10 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 901 ถึง ค.ศ. 1000.

ใหม่!!: เจดีย์ชเวมอดอและคริสต์ศตวรรษที่ 10 · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศพม่า

ม่า หรือ เมียนมา (မြန်မာ,, มฺยะหฺม่า) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า หรือ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (ပြည်ထောင်စု သမ္မတ မြန်မာနိုင်ငံတော်, ปหฺยี่เด่าง์ซุ ตัมมะดะ มฺยะหฺม่า ไหฺน่หฺงั่นด่อ) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดกับอินเดีย บังกลาเทศ จีน ลาว และไทย หนึ่งในสามของพรมแดนพม่าที่มีความยาว 1,930 กิโลเมตรเป็นแนวชายฝั่งตามอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามัน ด้วยพื้นที่ 676,578 ตารางกิโลเมตร ประเทศพม่าเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 40 ของโลก และใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำมะโนของประเทศในปี 2557 เผยว่าประเทศพม่ามีประชากรน้อยกว่าที่คาดการณ์ โดยมีบันทึกประชากร 51 ล้านคน มีเมืองหลวง คือ กรุงเนปยีดอ และนครใหญ่สุด คือ ย่างกุ้ง อารยธรรมช่วงต้นของประเทศพม่ามีนครรัฐปยูที่พูดภาษาตระกูลทิเบต-พม่าในพม่าตอนบน และราชอาณาจักรมอญในพม่าตอนล่าง ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ชาวพม่าได้เข้าครอบครองบริเวณลุ่มแม่น้ำอิรวดีตอนบน และสถาปนาราชอาณาจักรพุกามในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1050 ภาษาและวัฒนธรรมพม่าพร้อมด้วยศาสนาพุทธนิกายเถรวาทค่อย ๆ ครอบงำในประเทศ อาณาจักรพุกามล่มสลายเพราะการบุกครองของมองโกลและรัฐหลายรัฐกำเนิดขึ้น ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ราชวงศ์ตองอูสร้างเอกภาพอีกครั้ง และช่วงสั้น ๆ เป็นจักรวรรรดิใหญ่สุดในประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต้นศตวรรษที่ 19 ราชวงศ์คองบองได้ปกครองพื้นที่ประเทศพม่าและควบคุมมณีปุระและอัสสัมในช่วงสั้น ๆ ด้วย บริติชพิชิตพม่าหลังสงครามอังกฤษ-พม่าทั้งสามครั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และประเทศกลายเป็นอาณานิคมบริติช ประเทศพม่าได้รับเอกราชใน..

ใหม่!!: เจดีย์ชเวมอดอและประเทศพม่า · ดูเพิ่มเติม »

แสงอาทิตย์

แสงอาทิตย์ส่องผ่านเมฆ แสงอาทิตย์ เป็นรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าส่วนหนึ่งที่ปล่อยออกจากดวงอาทิตย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแสงในช่วงอินฟราเรด แสงที่ตามองเห็น และอัลตราไวโอเล็ต บนโลก แสงอาทิตย์ถูกกรองผ่านชั้นบรรยากาศโลก และเห็นชัดเป็นแสงกลางวันเมื่อดวงอาทิตย์อยู่เหนือเส้นขอบฟ้า แสงอาทิตย์มีสีขาว เกิดจากแสงทั้ง7สีมารวมกัน โดยแสงอาทิตย์จะมีความยาวคลื่นประมาณ 400-700nm แสงที่ความยาวคลื่นต่ำสุดคือสีม่วง สีน้ำเงิน จนมาถึงสีแดง ที่มีความยาวคลื่นประมาณ 700nm เมื่อรังสีจากดวงอาทิตย์โดยตรงไม่ถูกเมฆกั้น แสงอาทิตย์จะเป็นแสงจ้าและรังสีความร้อนประกอบกัน เมื่อรังสีจากดวงอาทิตย์โดยตรงถูกเมฆกั้นหรือสะท้อนออกไปโดยวัตถุอื่น จะเห็นไปแสงพร่ากระจาย (diffused light) แสงอาทิตย์ใช้เวลาเดินทางถึงโลกราว 8.3 นาที โดยเฉลี่ย ต้องใช้พลังงานระหว่าง 10,000 ถึง 170,000 ปีจึงจะออกจากภายในดวงอาทิตย์ แล้วค่อยถูกเปล่งจากพื้นผิวเป็นแสงได้ แสงอาทิตย์โดยตรงมีประสิทธิภาพความส่องสว่างอยู่ที่ราว 93 ลูเมนต่อวัตต์ของฟลักซ์การแผ่รังสี แสงอาทิตย์สว่างให้ความสว่างประมาณ 100,000 ลักซ์หรือลูเมนต่อตารางเมตรที่พื้นผิวโลก องค์ประกอบของแสงอาทิตย์ที่ระดับพื้นต่อตารางเมตร เมื่อดวงอาทิตย์อยู่ที่จุดเหนือศีรษะ อยู่ที่ราว 527 วัตต์ของรังสีอินฟราเรด 445 วัตต์ของแสงที่ตามองเห็น และ 32 วัตต์ของรังสีอัลตราไวโอเล็ต บนชั้นบรรยากาศ แสงอาทิตย์เข้มกว่าประมาณ 30% โดยมีสัดส่วนอัลตราไวโอเล็ตสูงกว่าสามเท่า รังสีอัลตราไวโอเล็ตที่เพิ่มขึ้นนี้ส่วนใหญ่ประกอบด้วยอัลตราไวโอเล็ตคลื่นสั้นที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต แสงอาทิตย์ เป็นพลังงานรูปแบบหนึ่ง ที่เกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวส์ชัน (Nuclear fusion)  บนดวงอาทิตย์  เกิดจากการหลอมรวมตัวกันของอะตอม ของธาตุไฮโดรเจน กลายเป็นอะตอมของธาตุฮีเลียม ในการเกิดปฏิกิริยานี้ จะให้พลังงานมหาศาล และพลังงานรูปหนึ่งที่เกิดขึ้นนี้ แผ่รังสีในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มายังโลกของเรา ที่เราพอสังเกตเห็นได้ในรูปของความร้อน และแสง ที่เราเรียกว่า แสงแดด หรือแสงอาทิตย์  คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่แผ่รังสีมาจากดวงอาทิตย์นี้มีความยาวคลื่นต่างๆ ตั้งแต่ความยาวคลื่นมากกว่า 1,000  ไมครอน  (Micron)  ต่อเนื่องกันจนถึงสั้นกว่า  0.2  ไมครอน  (200 นาโนเมตร)  ในบรรดาคลื่นแสงที่แผ่มาจากดวงอาทิตย์ทั้งหมด แสงสีเหลืองที่มีความยาวคลื่น  0.55  ไมครอน  (550 นาโนเมตร)  เป็นคลื่นแสงที่มี ปริมาตรความเข้มสูงสุด ดังแสดงด้วยเส้นกราฟสเปคตรัม  (Spectrum)  ของคลื่นแสง และแสงแดดเป็นคลื่นแสง ที่เหมาะสมที่พืชใช้ในการสังเคราะห์แสงสร้างชีวมวล (Biomass) และมี่ส่วนทำให้พืชและสัตว์ดำรงชีวิตอยู่บนโลกนี้ได้.

ใหม่!!: เจดีย์ชเวมอดอและแสงอาทิตย์ · ดูเพิ่มเติม »

ไทยสยาม

ทยสยาม (Thai Siam) โดยทั่วไปหมายถึง คือกลุ่มชาติพันธุ์ซึ่งพูดภาษาไทยกลาง หรือมี เชื้อชาติไทยสยามผสมอยู่ ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในประเทศไทย และอาศัยกระจายอยู่ในประเทศอื่นทั่วโลก โดยคนไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ รองลงมาคือ ศาสนาอิสลาม และ ศาสนาคริสต์ ในความหมายทางชาติพันธุ์ ใช้เฉพาะเจาะจงถึงคนไทยภาคกลาง หรือเดิมเรียกว่า ชาวสยาม แต่ในความหมายมุมกว้าง สามารถหมายความครอบคลุมถึง กลุ่มชาติพันธุ์ไทย อื่นๆ ทั้งนอกและในราชอาณาจักร เช่น ไทยโคราช ไทยอีสาน ไทยโยเดีย หรือ ไทยเกาะกง เช่นกัน.

ใหม่!!: เจดีย์ชเวมอดอและไทยสยาม · ดูเพิ่มเติม »

เกาะเกร็ด

กาะเกร็ด เป็นเกาะแม่น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง และมีฐานะเป็นตำบลหนึ่งในท้องที่อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี มีเนื้อที่ประมาณ 4.2 ตารางกิโลเมตรหรือ 2,625 ไร่ เป็นที่อยู่ของชาวไทยเชื้อสายมอญที่มีอาชีพปั้นเครื่องปั้นดินเผาเป็นส่วนใหญ่ เกาะเกร็ดเกิดจากการขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อปี พ.ศ. 2265 ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ คลองลัดดังกล่าวเรียกว่า "คลองลัดเกร็ดน้อย" หรือ "คลองเตร็ดน้อย"พระราชพงศาวดารกรุงสยามฉบับบริติชมิวเซียม.

ใหม่!!: เจดีย์ชเวมอดอและเกาะเกร็ด · ดูเพิ่มเติม »

เจดีย์ชเวดากอง

ีย์ชเวดากอง (ရွှေတိဂုံစေတီတော်, เฉว่ดะโก่งเส่ดี่ด่อ) ตั้งอยู่บริเวณเนินเขาเชียงกุตระ เมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า โดยคำว่า "ชเว" (ရွှေ) หมายถึง ทอง, "ดากอง" (ဒဂုံ แผลงเป็น တိဂုံ) คือชื่อดั้งเดิมของเมืองย่างกุ้ง เชื่อกันว่าเป็นมหาเจดีย์ที่บรรจุพระเกศาธาตุของพระโคตมพุทธเจ้าจำนวน 8 เส้น ยอดสุดของพระเจดีย์บริเวณลูกแก้วหรือหยาดน้ำข้างประดับด้วยเครื่องประดับต่างๆและเพชร 5,448 เม็ด ชั้นบนสุดมีทับทิม 2,317 เม็ดและเพชรเม็ดใหญ่ 76 กะรัต เพื่อรับลำแสงแรกและลำแสงสุดท้ายของดวงอาทิตย์ ผู้ที่เข้ามานมัสการหรือเยี่ยมชมจะต้องถอดรองเท้าทุกครั้ง.

ใหม่!!: เจดีย์ชเวมอดอและเจดีย์ชเวดากอง · ดูเพิ่มเติม »

เถรวาท

รวาท (อ่านว่า เถ-ระ-วาด) (theravāda เถรวาท, स्थविरवाद sthaviravāda สฺถวิรวาท; Theravada) โดยศัพท์แปลว่า "ตามแนวทางของพระเถระ" เป็นชื่อของนิกายที่เก่าแก่ที่สุดในศาสนาพุทธ ฝ่ายมหายานเรียกนิกายนี้ว่า หีนยาน (บาลี/สันสกฤต: हीनयान) นิกายเถรวาทเป็นนิกายหลักที่ได้รับการนับถือในประเทศศรีลังกา (ประมาณ 70% ของประชากรทั้งหมด) และประเทศในแผ่นดินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย กัมพูชา ลาว และพม่า และเป็นส่วนน้อยในประเทศจีนและเวียดนาม โดยเฉพาะในมณฑลยูนนาน เนปาล บังกลาเทศที่เขตจิตตะกอง เวียดนามทางตอนใต้ใกล้ชายแดนกัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซียมีนับถือทางตอนเหนือของประเทศ มีศาสนิกส่วนใหญ่เป็นชาวไทยและชาวสิงหล ตัวเลขผู้นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทอยู่ที่ประมาณ 100 ล้านคน สำหรับประเทศไทยมีผู้นับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาทประมาณ 94% ของประชากรทั้งหมด (ข้อมูลจากกรมศาสนา เฉพาะประชากรอิสลามในประเทศไทยมีไม่น้อยกว่า 10 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนไม่น้อยกว่า 15% ของประชากรไทย ไม่นับผู้นับถือศาสนาคริสต์ ฮินดู สิกข์ และไม่มีศาสนา จึงเป็นไปได้ว่าชาวพุทธในประเทศไทย อาจมีไม่ถึง 80% ของจำนวนประชากรทั้งหมด) นิกายเถรวาทได้รับการนับถือคู่กับนิกายอาจริยวาท (คือนิกายมหายาน ในปัจจุบัน).

ใหม่!!: เจดีย์ชเวมอดอและเถรวาท · ดูเพิ่มเติม »

เขตพะโค

ตพะโค (ပဲခူးတိုင်းဒေသကြီး) เป็นเขตการปกครองหนึ่งของประเทศพม่า ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ ทางเหนือของเขตติดต่อกับเขตมาเกวและเขตมัณฑะเลย์ ทางตะวันออกกับรัฐกะเหรี่ยง รัฐมอญ และอ่าวเมาะตะมะ ทางใต้กับเขตย่างกุ้ง และทางตะวันตกกับเขตอิรวดีและรัฐยะไข่ พิกัดภูมิศาสตร์ของเขตพะโคได้แก่ 46°45' เหนือ, 19°20' เหนือ, 94°35' ตะวันออก และ 97°10' ตะวันออก.

ใหม่!!: เจดีย์ชเวมอดอและเขตพะโค · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Shwemawdaw Pagodaมุเตาพระมหาธาตุเจดีย์ชเวมอดอพระมุเตาพระธาตุมุเตาพระเจดีย์มุเตา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »