โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อหังการ์ราชันย์ยักษ์

ดัชนี อหังการ์ราชันย์ยักษ์

อหังการ์ราชันย์ยักษ์ (Ogre King โอเกอร์คิง) เป็นการ์ตูนไทยในรูปแบบมังงะหรือคอมมิค ซึ่งผู้สร้างสรรค์ผลงานคือนักวาดการ์ตูนชาวไทยสองคนได้แก่ มนตรี คุ้มเรือน เป็นผู้วาดภาพ และ อรุณทิวา วชิรพรพงศา เป็นผู้แต่งเรื่อง มีการจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มแบบพ็อคเก็ตบุ๊คขนาดไม่เกิน 200 หน้าและตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2552 โดยทีมงาน Cartoon Thai Studio ในเครือของ สยามอินเตอร์คอมิกส์ ปัจจุบันออกวางจำหน่ายแล้วจำนวน 13 เล่ม (ยังไม่จบ) และมีเล่มพิเศษอีก 1 เล่มในชื่อ Episode Zero:Shadow of The Knight การ์ตูนไทยเรื่องโอเกอร์คิงเป็นการ์ตูนแนวแฟนตาซีร่วมสมัย ฉากต่าง ๆ นั้นเกิดขึ้นในดินแดนที่ถูกสมมุติขึ้นมา และมีความเป็นไทยรวมถึงวัฒนธรรมไทยหลายอย่างสอดแทรกอยู่ภายในภาพและเนื้อหาตลอดทั้งเรื่อง จึงทำให้เป็นที่ติดอกติดใจของผู้อ่านการ์ตูนไทยหลายคน บางช่วงของเนื้อเรื่องยังมีการนำเอาประวัติศาสตร์ไทยมาดัดแปลงและวางบทบาทลงไปในเรื่องราวได้อย่างลงตัว โอเกอร์คิง มีเนื้อหาส่วนใหญ่เกี่ยวกับยักษ์ คาถาอาคมสมัยโบราณ และการผจญภัยของกลุ่มเพื่อน โดยมี "ชิน" เด็กน้อยวัย 15 ปี ซึ่งเป็นครึ่งคนครึ่งยักษ์เป็นตัวละครนำ ก่อนหน้าที่โอเกอร์คิงจะถูกรวมเล่ม การ์ตูนเรื่องนี้เคยถูกตีพิมพ์ลงในนิตยสารรายปักษ์ Mac X Big size แต่หลังจากที่นิตยสารเล่มนี้วางแผงออกมาได้เพียง 9 ฉบับ ก็หายสาบสูญไปจากแผงหนังสืออย่างไร้ร่องรอย แต่แม้กระนั้นฉบับรวมเล่มของโอเกอร์คิงก็ยังถูกตีพิมพ์ออกมาเรื่อยๆ และได้ออกภาคพิเศษในชื่อ Episode ZERO: Shadow of the knight ตีพิมพ์ลงในนิตสารรายสัปดาห์ C-Kids ฉบับที่ 10/209, 11/2009, 20/2009 และ 21/2009 รวมทั้งหมด 4 ตอน โอเกอร์คิง ผลงานของ "มนตรี คุ้มเรือน" กับ "อรุณทิวา วชิรพรพงศา" เป็นการร่วมงานกันของนักเขียนการ์ตูนไทยสองคนที่รู้จักและสนิทสนมกันมานาน เมื่อช่วงปี พ.ศ. 2547 ทั้งสองคนเคยเขียนการ์ตูนลงในนิตยสารการ์ตูนไทย CX ก่อนที่จะย้ายมาเขียนการ์ตูนความรู้สำหรับเด็กให้กับสำนักพิมพ์ E.Q.PLUS ซึ่งทั้งสองคนได้จับมือกันสร้างผลงานเลื่องชื่อ จนได้รับรางวัลในสาขาการ์ตูนจากกระทรวงศึกษาธิการ จากการ์ตูนเรื่อง มหากาพย์กู้แผ่นดิน ถึงสองปีซ้อน หลังจากเสร็จสิ้นภารกิจกับสำนักพิมพ์เดิม มนตรี และอรุณทิวา ก็ตัดสินใจร่วมงานกันอีกครั้ง ซึ่งคราวนี้ทั้งสองคนตั้งใจที่จะสร้างสรรค์ผลงานการ์ตูนไทยในรูปแบบของตัวเองอย่างเต็มตัว จนกลายมาเป็นโปรเจกต์การ์ตูนไทยเรื่องยาว โอเกอร์คิง ที่กำลังมัดใจผู้อ่านอยู่ในขณะนี้ ล่าสุด OGRE KING อหังการ์ราชันย์ยักษ์ ได้รับรางวัลการ์ตูนไทยยอดเยี่ยมประจำปี 2553 จากงาน Core Cartoon Award 2010 ซึ่งถือว่าเป็นรางวัลที่ยิ่งใหญ่รางวัลหนึ่งของวงการการ์ตูนไท.

19 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2547พ.ศ. 2552พญานาคกระทรวงศึกษาธิการ (ประเทศไทย)การ์ตูนไทยมหากาพย์กู้แผ่นดินมังงะมนตรี คุ้มเรือนยักษ์วัฒนธรรมไทยสยามอินเตอร์มัลติมีเดียหนังสือการ์ตูนอรุณทิวา วชิรพรพงศาจินตนิมิตซีคิดส์ เอ๊กซ์เพรสประวัติศาสตร์ไทยประเทศไทยนักเขียนการ์ตูนนิตยสาร

พ.ศ. 2547

ทธศักราช 2547 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2004 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน เป็นปีอธิกมาส ปกติวาร ตามปฏิทินไทยจันทรคติ และกำหนดให้เป็น.

ใหม่!!: อหังการ์ราชันย์ยักษ์และพ.ศ. 2547 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2552

ทธศักราช 2552 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2009 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีสุดท้ายในคริสต์ทศวรรษ 2000.

ใหม่!!: อหังการ์ราชันย์ยักษ์และพ.ศ. 2552 · ดูเพิ่มเติม »

พญานาค

ญานาค (नागराज นาคราช) หมายถึง นาคผู้เป็นใหญ่ นาคผู้เป็นหัวหน้า ตามความเชื่อในศาสนาแบบอินเดีย คล้ายกับพญามังกร (龍王 หลงหวัง) ตามคติศาสนาพื้นบ้านจีน.

ใหม่!!: อหังการ์ราชันย์ยักษ์และพญานาค · ดูเพิ่มเติม »

กระทรวงศึกษาธิการ (ประเทศไทย)

กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานราชการไทยประเภทกระทรวง มีหน้าที่ส่งเสริมการศึกษาให้กับประชาชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม สร้างความเสมอภาคและโอกาสทางการศึกษา ส่งเสริมให้หน่วยงานต่าง ๆ ได้มีส่วนร่วมทางการศึกษา ส่งเสริมการศึกษาวิชาชีพ ให้เอกชนมีส่วนร่วมในการศึกษา เน้นให้นิสิตนักศึกษามีโอกาสศึกษาต่อสูงขึ้นทั้งในท้องถิ่นและสถาบันเปิด เน้นการเรียนรู้ตลอดชีวิต ให้บริการแก่สังคม พัฒนาบุคลากรทางการศึกษา ส่งเสริมผู้ที่มีความสามารถพิเศษให้ได้เรียนและแสดงออกในทางที่เหมาะสม.

ใหม่!!: อหังการ์ราชันย์ยักษ์และกระทรวงศึกษาธิการ (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

การ์ตูนไทย

การ์ตูนไทย ประวัติจากคำบอกเล่า เริ่มต้นจากเป็นการ์ตูนแนวนิยายพื้นบ้าน ผี และแนวจักร ๆ วงศ์ ๆ ราคาเล่มละหนึ่งบาท โดยมีนักเขียนการ์ตูนที่มีชื่อเสียงสมัยนั้น เช่น จุก เบี้ยวสกุล ต่อมาเริ่มมีการ์ตูนแนวตลกสั้น ๆ ในลักษณะ การ์ตูน 3 ช่องจบ ออกมาเพิ่ม เช่น เบบี้ หนูจ๋า ขายหัวเราะ และ มหาสนุก ส่วนการ์ตูนไทยในลักษณะมังงะอย่างที่พบเห็นทั่วไปในปัจจุบันนั้น น่าจะมีมาไม่ถึงยี่สิบปี โดยนิตยสารการ์ตูนไทยในแนวมังงะยุคบุกเบิกได้แก่ ไทคอมมิค (Thai Comic) ของสำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ และ เอ-คอมมิค (a-comic) และ cartoon thai studio ของ สยามอินเตอร์คอมม.

ใหม่!!: อหังการ์ราชันย์ยักษ์และการ์ตูนไทย · ดูเพิ่มเติม »

มหากาพย์กู้แผ่นดิน

มหากาพย์กู้แผ่นดิน เป็นหนังสือการ์ตูนไทยแนวอิงประวัติศาสตร์ไทยเกี่ยวกับพระราชประวัติของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์คลีเนทีฟในเครืออีคิวพลัส (Cleanative/E.Q.Plus) สตอรี่บอร์ดและเนื้อเรื่อง โดย อรุณทิวา วชิรพรพงศา วาดภาพโดย มนตรี คุ้มเรือน มีจำนวน 5 เล่ม การ์ตูนชุดนี้ยังได้รับรางวัลชมเชยจากรางวัลการ์ตูนนานาชาติ (International Manga Award) ที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกใน..

ใหม่!!: อหังการ์ราชันย์ยักษ์และมหากาพย์กู้แผ่นดิน · ดูเพิ่มเติม »

มังงะ

หน้าหนึ่งจากหนังสือการ์ตูนเรื่องมาร์มาเลดบอย ฉบับภาษาญี่ปุ่น เล่ม 1 มังงะ เป็นคำภาษาญี่ปุ่นสำหรับเรียกการ์ตูนช่อง สำหรับภายนอกประเทศญี่ปุ่น คำนี้ถูกใช้เรียกการ์ตูนช่องที่มาจากญี่ปุ่น มังงะพัฒนามาจากอุคิโยเอะและจิตรกรรมตะวันตก และเริ่มคงรูปแบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบันตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง มังงะที่ได้รับความนิยมสูงมักถูกนำไปสร้างเป็นอะนิเมะ เนื้อหาของมังงะเหล่านั้นมักถูกดัดแปลงเพื่อให้เหมาะสมต่อการแพร่ภาพทางโทรทัศน์และเพื่อให้ถูกรสนิยมของผู้ชมทั่วไปมากขึ้น.

ใหม่!!: อหังการ์ราชันย์ยักษ์และมังงะ · ดูเพิ่มเติม »

มนตรี คุ้มเรือน

มนตรี คุ้มเรือน เป็นนักวาดการ์ตูนชาวไทย ชื่อของมนตรีนั้นเป็นที่รู้จักของนักอ่านการ์ตูนไทยหลายคนจากการ์ตูนไทยเรื่อง บางระจันสปิริต ซึ่งลงตีพิมพ์ในนิตยสารการ์ตูน CX เมื่อช่วงปี พ.ศ. 2547 ก่อนที่นิตยสารฉบับนี้จะปิดตัวลง หลังจากนั้นจึงได้หันเหไปเขียนการ์ตูนเด็กแทน และมีผลงานออกมาไม่ต่ำกว่า 10 เล่ม ปัจจุบันกำลังเขียนการ์ตูนเรื่อง Ogre King อหังการ์ราชันย์ยักษ์ ร่วมกับนักเขียนการ์ตูนอีกคนคือ อรุณทิวา ลงในนิตยสารรายสัปดาห์ C-Kids และทั้งสองคนนี้ยังได้ร่วมกันเขียน Idol Berryz การ์ตูนเรื่องสั้นความยาวตอนละ 5 หน้าลงในนิตยสารวัยรุ่น Berry ซึ่งวางแผงเป็นรายเดือนในปัจจุบันอีกด้ว.

ใหม่!!: อหังการ์ราชันย์ยักษ์และมนตรี คุ้มเรือน · ดูเพิ่มเติม »

ยักษ์

รูปปั้นยักษ์ '''ทศกัณฐ์''' ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งเป็นยักษ์จากเรื่องรามเกียรติ์ ยักษ์ เป็นอมนุษย์ชนิดหนึ่งที่มีกล่าวถึงทั้งในทางศาสนาและวรรณคดี ยักษ์ในความเชื่อของไทยมักได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธ ในขณะที่ความเชื่อในบริเวณอื่นๆของโลกก็มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับอมนุษย์ที่มีร่างกายใหญ่โต ชอบของสดคาว ซึ่งเทียบได้กับยักษ์ในความเชื่อของคนไทยเช่นกัน.

ใหม่!!: อหังการ์ราชันย์ยักษ์และยักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

วัฒนธรรมไทย

วัฒนธรรมไทยได้รับอิทธิพลหลักจากวัฒนธรรมอินเดีย จีน ขอม ตลอดจนวิญญาณนิยม ศาสนาพุทธและศาสนาฮินดู วัฒนธรรมแห่งชาติของไทยเป็นการสร้างสรรค์ใหม่ซึ่งสิ่งที่ปัจจุบันถือเป็นวัฒนธรรมไทยเดิมไม่มีอยู่ในรูปแบบนั้นเมื่อกว่าร้อยปีก่อน บ่อเกิดสามารถสืบย้อนไปได้ถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง หลวงพิบูลสงครามสนับสนุนการส่งเสริมวัฒนธรรมไทยกลางเป็นวัฒนธรรมแห่งชาตินิยามและยับยั้งมิให้ชนกลุ่มน้อยแสดงออกซึ่งวัฒนธรรมของตน วัฒนธรรมพลเมืองรุ่นปัจจุบันซึ่งส่วนใหญ่ยึดรุ่นอุดมคติของวัฒนธรรมไทยกลางเป็นการสร้างสรรค์ใหม่ซึ่งรวมลักษณะชาตินิยมสมัยรัชกาลที่ 5 ราชย์กัมพูชา และลัทธิอิงสามัญชนที่นิยมบุคคลลักษณะ หรือสรุปคือ วัฒนธรรมพลเมืองของไทยปัจจุบันนิยามว่าประเทศไทยเป็นดินแดนของคนไทยกลาง มีศาสนาเดียวคือ พุทธนิกายเถรวาท และปกครองโดยราชวงศ์จักรีOtto F. von Feigenblatt.

ใหม่!!: อหังการ์ราชันย์ยักษ์และวัฒนธรรมไทย · ดูเพิ่มเติม »

สยามอินเตอร์มัลติมีเดีย

ริษัท สยาม อินเตอร์ มัลติมีเดีย จำกัด (มหาชน) (Siam Inter Multimedia Public Company Limited).

ใหม่!!: อหังการ์ราชันย์ยักษ์และสยามอินเตอร์มัลติมีเดีย · ดูเพิ่มเติม »

หนังสือการ์ตูน

หนังสือการ์ตูน เป็นหนังสือที่ตีพิมพ์ภาพและคำพูดประกอบ บอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ตามเนื้อเรื่องที่เขียนขึ้น มีทั้งที่อ้างอิงจากความจริง และเกิดจากความคิดของนักวาดการ์ตูน หรือนักแต่งการ์ตูน เป็นผู้วางเอาไว้ สำหรับการ์ตูนญี่ปุ่นอาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มังงะ โดยส่วนใหญ่ หนังสือการ์ตูน จะเป็นการรวมเล่มของการ์ตูนที่ตีพิมพ์ในหนังสือการ์ตูนรายสัปดาห์ เช่น บูม, ซีคิดส์, KC Weekly เป็นต้น ยังมีการ์ตูนที่แต่งเป็นพิเศษ หรือล้อเลียนการ์ตูนที่เขียนขึ้นแล้ว เพื่อความบันเทิงส่วนตัว หรือแต่งเพื่อกลุ่มคนที่ชอบในรูปแบบเดียวกัน เรียกว่า โดจิน หรือโดจิน.

ใหม่!!: อหังการ์ราชันย์ยักษ์และหนังสือการ์ตูน · ดูเพิ่มเติม »

อรุณทิวา วชิรพรพงศา

Aruntiwa อรุณทิวา หรือ อรุณทิวา วชิรพรพงศา ชื่อเล่นว่า เอ เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพัน..

ใหม่!!: อหังการ์ราชันย์ยักษ์และอรุณทิวา วชิรพรพงศา · ดูเพิ่มเติม »

จินตนิมิต

นตนิมิต (fantasy) เป็นงานวรรณศิลป์ประเภทหนึ่งที่มีเค้าโครงหรือเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเวทมนตร์และเรื่องเหนือจริง มักมีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในยุคกลางของยุโรป หรือมีลักษณะที่แสดงถึงยุคเดียวกันนั้น เช่นสถาปัตยกรรม สิ่งก่อสร้าง เครื่องแต่งกาย หรือเทคโนโลยี โลกแห่งจินตนิมิตมักยอมรับสภาวะเหนือจริงและเวทมนตร์ต่างๆ เหมือนเป็นเรื่องปกติ ความแตกต่างระหว่างจินตนิมิต กับนิยายวิทยาศาสตร์หรือนิยายสยองขวัญ คือลักษณะของเทคโนโลยีและวิธีการนำเสนอเกี่ยวกับความตาย งานจินตนิมิตประกอบด้วยผลงานประพันธ์ของนักเขียน ศิลปิน นักดนตรี หรือนักสร้างภาพยนตร์มากมาย นับแต่อดีตกาลประหนึ่งปกรณัมหรือตำนานลี้ลับ สืบต่อมาจนถึงปัจจุบันที่เผยแพร่แก่ผู้คนจำนวนมาก.

ใหม่!!: อหังการ์ราชันย์ยักษ์และจินตนิมิต · ดูเพิ่มเติม »

ซีคิดส์ เอ๊กซ์เพรส

ซี-คิดส์ เอ๊กซ์เพรส (C-Kids Express) หรือชื่อเดิมว่า ซี-คิดส์ (C-Kids) เป็นหนังสือการ์ตูนรายสัปดาห์ ของ สำนักพิมพ์สยามอินเตอร์คอมิกส์ ในเครือสยามกีฬา การ์ตูนในเล่มเป็นการ์ตูนที่ตีพิมพ์ลงในนิตยสารโชเน็นจัมป์รายสัปดาห์ ของสำนักพิมพ์ชูเอฉะ ที่ประเทศญี่ปุ่น โดยช่วงแรกของการวางจำหน่ายนั้นจะเป็นแบบเปิด ซ้ายไปขวา แต่พอมาถึงฉบับของวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ได้เปลี่ยนรูปโฉมมาเป็นอ่านแบบ ขวาไปซ้าย ตามต้นฉบับญี่ปุ่น โดยปกของเล่มที่เปิดจาก ขวาไปซ้าย อย่างสมบูรณ์เล่มแรกคือเรื่อง นักรบเหล็กเทว.

ใหม่!!: อหังการ์ราชันย์ยักษ์และซีคิดส์ เอ๊กซ์เพรส · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์ไทย

การศึกษาประวัติศาสตร์ไทยมักเริ่มนับตั้งแต่สมัยอาณาจักรสุโขทัยเป็นต้นมา หากแต่ในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบัน พบหลักฐานของมนุษย์ซึ่งมีอายุเก่าแก่ที่สุดถึงห้าแสนปี ตลอดจนหลักฐานของอารยธรรมและรัฐโบราณเป็นจำนวนมาก ภูมิภาคสุวรรณภูมิเคยถูกชาวมอญ เขมร และมลายูปกครองมาก่อน ต่อมา คนไทยได้สถาปนาอาณาจักรของตนเอง เช่น อาณาจักรสุโขทัย ไล่เลี่ยกันกับอาณาจักรล้านนา อาณาจักรเชียงแสน และอาณาจักรอยุธยา อาณาจักรสุโขทัยเจริญรุ่งเรืองในช่วงเวลาค่อนข้างสั้นประมาณ 200 ปี ก็ถูกผนวกรวมกับอาณาจักรอยุธยา อาณาจักรอยุธยาเป็นอาณาจักรที่รุ่งเรืองมั่งคั่ง เป็นศูนย์กลางการค้าระดับนานาชาติ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงปฏิรูปการปกครอง ซึ่งบางส่วนใช้สืบมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และยังทรงตราพระราชกำหนดศักดินา ทำให้อยุธยาเป็นสังคมศักดินา อยุธยาเริ่มติดต่อกับชาติตะวันตกเมื่อ..

ใหม่!!: อหังการ์ราชันย์ยักษ์และประวัติศาสตร์ไทย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: อหังการ์ราชันย์ยักษ์และประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

นักเขียนการ์ตูน

นักวาดการ์ตูน (Cartoonist) คือบุคคลผู้มีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษในการเขียนการตูน ตามธรรมเนียมแล้วงานเขียนของนักเขียนการ์ตูนส่วนใหญ่จะเป็นแนวการ์ตูนขำขัน (ซึ่งปัจจุบันก็ยังคงเป็นเช่นนั้น) และมีจุดมุ่งหมายในการนำเสนอเบื้องต้นคือเพื่อความบันเทิง งานเขียนดังกล่าวมีเนื้อหาที่หลากหลาย นำเสนอในรูปแบบการ์ตูนช่องเดียวจบ และตีพิมพ์ในสื่อชนิดต่างๆ เช่น ในนิตยสารหรือในหนังสือพิมพ์รายวัน เป็นต้น คำว่านักเขียนการ์ตูนนี้ยังมีการประยุกต์ใช้ หมายถึงนักเขียนที่เขียนการ์ตูนประเภทหลายช่องจบ (comic strips) การ์ตูนคอมมิค (comic books) และการ์ตูนเรื่องยาวหรือนิยายภาพ (graphic novels) ด้ว.

ใหม่!!: อหังการ์ราชันย์ยักษ์และนักเขียนการ์ตูน · ดูเพิ่มเติม »

นิตยสาร

นิตยสาร (magazine) คือสิ่งพิมพ์รายคาบที่ออกเป็นระยะสำหรับผู้อ่านทั่วไป มีเนื้อหาหลากหลาย มุ่งทั้งให้ความรู้และความบันเทิง ความรู้มักเป็นไปในลักษณะที่ให้ความรอบรู้ มีการหารายได้จากการโฆษณาและวางขายทั่วไป ผู้อ่านสามารถบอกรับเป็นสมาชิกได้ คำว่า "นิตยสาร" มาจากรากศัพท์ คือ นิตย (สม่ำเสมอ) และสาร (เนื้อหา) คำว่า "นิตยสาร" โดยทั่วไปอาจมีความหมายคาบเกี่ยวกับคำว่า วารสาร ซึ่งออกตามกำหนดเวลาที่แน่นอนเช่นกัน แต่ในทางบรรณารักษศาสตร์ ปัจจุบัน เมื่อมีการใช้อินเทอร์เน็ต ทำให้มีนิตยสารในอินเทอร์เน็ต ซึ่งมิใช่สิ่งพิมพ์ แต่ก็ยังเรียกกันว่า "นิตยสาร" เป็นที่น่าสังเกตว่า นิตยสารบางชื่อ ไม่ได้ใช้คำว่า นิตยสาร แต่ก็น่าจะจัดเป็นนิตยสารได้ เช่น "อนุสาร อ..ท." ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ขณะที่สิ่งพิมพ์บางชนิด มีความก่ำกึ่ง ระหว่างหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ และนิตยสารรายสัปดาห์ เช่น มติชนรายสัปดาห์ สยามรัฐรายสัปดาห์ เนชั่นรายสัปดาห์ เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพราะเนื้อหาในเล่ม มีทั้งข่าว วิเคราะห์ข่าว และบันเทิง ในสัดส่วนที่พอๆ กัน โดยทั่วไปนิตยสารมักจะมีลักษณะผ่อนคลาย เล่าเรื่อง ไม่นิยมเขียนในลักษณะตำรา เว้นแต่ละแทรกอยู่เป็นบางส่วนของเล่ม นิตยสารสำหรับคนอ่านเฉพาะกลุ่มฉบับแรกของโลกตีพิมพ์ในกรุงลอนดอนเมื่อ พ.ศ. 2274 (สมัยพระเจ้าท้ายสระ) ชื่อ "นิตยสารสุภาพบุรุษ" (The Gentleman's Magazine) เลิกกิจการไปเมื่อ พ.ศ. 2450 นิตยสารสำหรับผู้บริโภคฉบับแรกของโลกคือ "นิตยสารสกอต" (The Scots Magazine) ตีพิมพ์ในสกอตแลนด์เมื่อปี พ.ศ. 2282 ซึ่งตรงกับสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ และยังคงตีพิมพ์อยู่จนถึงในปัจจุบัน.

ใหม่!!: อหังการ์ราชันย์ยักษ์และนิตยสาร · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Ogre KingOgre kingOgrekingโอเกอร์คิง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »