โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มังงะและอหังการ์ราชันย์ยักษ์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง มังงะและอหังการ์ราชันย์ยักษ์

มังงะ vs. อหังการ์ราชันย์ยักษ์

หน้าหนึ่งจากหนังสือการ์ตูนเรื่องมาร์มาเลดบอย ฉบับภาษาญี่ปุ่น เล่ม 1 มังงะ เป็นคำภาษาญี่ปุ่นสำหรับเรียกการ์ตูนช่อง สำหรับภายนอกประเทศญี่ปุ่น คำนี้ถูกใช้เรียกการ์ตูนช่องที่มาจากญี่ปุ่น มังงะพัฒนามาจากอุคิโยเอะและจิตรกรรมตะวันตก และเริ่มคงรูปแบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบันตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง มังงะที่ได้รับความนิยมสูงมักถูกนำไปสร้างเป็นอะนิเมะ เนื้อหาของมังงะเหล่านั้นมักถูกดัดแปลงเพื่อให้เหมาะสมต่อการแพร่ภาพทางโทรทัศน์และเพื่อให้ถูกรสนิยมของผู้ชมทั่วไปมากขึ้น. อหังการ์ราชันย์ยักษ์ (Ogre King โอเกอร์คิง) เป็นการ์ตูนไทยในรูปแบบมังงะหรือคอมมิค ซึ่งผู้สร้างสรรค์ผลงานคือนักวาดการ์ตูนชาวไทยสองคนได้แก่ มนตรี คุ้มเรือน เป็นผู้วาดภาพ และ อรุณทิวา วชิรพรพงศา เป็นผู้แต่งเรื่อง มีการจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มแบบพ็อคเก็ตบุ๊คขนาดไม่เกิน 200 หน้าและตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2552 โดยทีมงาน Cartoon Thai Studio ในเครือของ สยามอินเตอร์คอมิกส์ ปัจจุบันออกวางจำหน่ายแล้วจำนวน 13 เล่ม (ยังไม่จบ) และมีเล่มพิเศษอีก 1 เล่มในชื่อ Episode Zero:Shadow of The Knight การ์ตูนไทยเรื่องโอเกอร์คิงเป็นการ์ตูนแนวแฟนตาซีร่วมสมัย ฉากต่าง ๆ นั้นเกิดขึ้นในดินแดนที่ถูกสมมุติขึ้นมา และมีความเป็นไทยรวมถึงวัฒนธรรมไทยหลายอย่างสอดแทรกอยู่ภายในภาพและเนื้อหาตลอดทั้งเรื่อง จึงทำให้เป็นที่ติดอกติดใจของผู้อ่านการ์ตูนไทยหลายคน บางช่วงของเนื้อเรื่องยังมีการนำเอาประวัติศาสตร์ไทยมาดัดแปลงและวางบทบาทลงไปในเรื่องราวได้อย่างลงตัว โอเกอร์คิง มีเนื้อหาส่วนใหญ่เกี่ยวกับยักษ์ คาถาอาคมสมัยโบราณ และการผจญภัยของกลุ่มเพื่อน โดยมี "ชิน" เด็กน้อยวัย 15 ปี ซึ่งเป็นครึ่งคนครึ่งยักษ์เป็นตัวละครนำ ก่อนหน้าที่โอเกอร์คิงจะถูกรวมเล่ม การ์ตูนเรื่องนี้เคยถูกตีพิมพ์ลงในนิตยสารรายปักษ์ Mac X Big size แต่หลังจากที่นิตยสารเล่มนี้วางแผงออกมาได้เพียง 9 ฉบับ ก็หายสาบสูญไปจากแผงหนังสืออย่างไร้ร่องรอย แต่แม้กระนั้นฉบับรวมเล่มของโอเกอร์คิงก็ยังถูกตีพิมพ์ออกมาเรื่อยๆ และได้ออกภาคพิเศษในชื่อ Episode ZERO: Shadow of the knight ตีพิมพ์ลงในนิตสารรายสัปดาห์ C-Kids ฉบับที่ 10/209, 11/2009, 20/2009 และ 21/2009 รวมทั้งหมด 4 ตอน โอเกอร์คิง ผลงานของ "มนตรี คุ้มเรือน" กับ "อรุณทิวา วชิรพรพงศา" เป็นการร่วมงานกันของนักเขียนการ์ตูนไทยสองคนที่รู้จักและสนิทสนมกันมานาน เมื่อช่วงปี พ.ศ. 2547 ทั้งสองคนเคยเขียนการ์ตูนลงในนิตยสารการ์ตูนไทย CX ก่อนที่จะย้ายมาเขียนการ์ตูนความรู้สำหรับเด็กให้กับสำนักพิมพ์ E.Q.PLUS ซึ่งทั้งสองคนได้จับมือกันสร้างผลงานเลื่องชื่อ จนได้รับรางวัลในสาขาการ์ตูนจากกระทรวงศึกษาธิการ จากการ์ตูนเรื่อง มหากาพย์กู้แผ่นดิน ถึงสองปีซ้อน หลังจากเสร็จสิ้นภารกิจกับสำนักพิมพ์เดิม มนตรี และอรุณทิวา ก็ตัดสินใจร่วมงานกันอีกครั้ง ซึ่งคราวนี้ทั้งสองคนตั้งใจที่จะสร้างสรรค์ผลงานการ์ตูนไทยในรูปแบบของตัวเองอย่างเต็มตัว จนกลายมาเป็นโปรเจกต์การ์ตูนไทยเรื่องยาว โอเกอร์คิง ที่กำลังมัดใจผู้อ่านอยู่ในขณะนี้ ล่าสุด OGRE KING อหังการ์ราชันย์ยักษ์ ได้รับรางวัลการ์ตูนไทยยอดเยี่ยมประจำปี 2553 จากงาน Core Cartoon Award 2010 ซึ่งถือว่าเป็นรางวัลที่ยิ่งใหญ่รางวัลหนึ่งของวงการการ์ตูนไท.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง มังงะและอหังการ์ราชันย์ยักษ์

มังงะและอหังการ์ราชันย์ยักษ์ มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ซีคิดส์ เอ๊กซ์เพรสนักเขียนการ์ตูน

ซีคิดส์ เอ๊กซ์เพรส

ซี-คิดส์ เอ๊กซ์เพรส (C-Kids Express) หรือชื่อเดิมว่า ซี-คิดส์ (C-Kids) เป็นหนังสือการ์ตูนรายสัปดาห์ ของ สำนักพิมพ์สยามอินเตอร์คอมิกส์ ในเครือสยามกีฬา การ์ตูนในเล่มเป็นการ์ตูนที่ตีพิมพ์ลงในนิตยสารโชเน็นจัมป์รายสัปดาห์ ของสำนักพิมพ์ชูเอฉะ ที่ประเทศญี่ปุ่น โดยช่วงแรกของการวางจำหน่ายนั้นจะเป็นแบบเปิด ซ้ายไปขวา แต่พอมาถึงฉบับของวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ได้เปลี่ยนรูปโฉมมาเป็นอ่านแบบ ขวาไปซ้าย ตามต้นฉบับญี่ปุ่น โดยปกของเล่มที่เปิดจาก ขวาไปซ้าย อย่างสมบูรณ์เล่มแรกคือเรื่อง นักรบเหล็กเทว.

ซีคิดส์ เอ๊กซ์เพรสและมังงะ · ซีคิดส์ เอ๊กซ์เพรสและอหังการ์ราชันย์ยักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

นักเขียนการ์ตูน

นักวาดการ์ตูน (Cartoonist) คือบุคคลผู้มีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษในการเขียนการตูน ตามธรรมเนียมแล้วงานเขียนของนักเขียนการ์ตูนส่วนใหญ่จะเป็นแนวการ์ตูนขำขัน (ซึ่งปัจจุบันก็ยังคงเป็นเช่นนั้น) และมีจุดมุ่งหมายในการนำเสนอเบื้องต้นคือเพื่อความบันเทิง งานเขียนดังกล่าวมีเนื้อหาที่หลากหลาย นำเสนอในรูปแบบการ์ตูนช่องเดียวจบ และตีพิมพ์ในสื่อชนิดต่างๆ เช่น ในนิตยสารหรือในหนังสือพิมพ์รายวัน เป็นต้น คำว่านักเขียนการ์ตูนนี้ยังมีการประยุกต์ใช้ หมายถึงนักเขียนที่เขียนการ์ตูนประเภทหลายช่องจบ (comic strips) การ์ตูนคอมมิค (comic books) และการ์ตูนเรื่องยาวหรือนิยายภาพ (graphic novels) ด้ว.

นักเขียนการ์ตูนและมังงะ · นักเขียนการ์ตูนและอหังการ์ราชันย์ยักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง มังงะและอหังการ์ราชันย์ยักษ์

มังงะ มี 85 ความสัมพันธ์ขณะที่ อหังการ์ราชันย์ยักษ์ มี 19 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 1.92% = 2 / (85 + 19)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง มังงะและอหังการ์ราชันย์ยักษ์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »