โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เอ๋าไป้

ดัชนี เอ๋าไป้

กูวาลเจีย โอโปย (แมนจู: Gūwalgiya Oboi; กวาเอ่อร์เจีย เอ๋าไป้) (ค.ศ. 1610–1669) เป็นขุนนางฝ่ายทหารชาวแมนจูผู้รับใช้ ราชวงศ์ชิง ตั้งแต่ต้นราชวงศ์ เป็นหนึ่งในสี่ผู้สำเร็จราชการของจักรพรรดิคังซี แต่ท้ายสุดกลับถูกจำคุกด้วยข้อหา 24 ข้อ.

20 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2177พ.ศ. 2180กิมย้งภาษาแมนจูมณฑลเหลียวหนิงราชวงศ์ชิงราชวงศ์หมิงหฺวัง ไถจี๋อุ้ยเสี่ยวป้อจักรพรรดิยงเจิ้งจักรพรรดิหนูเอ่อร์ฮาชื่อจักรพรรดิคังซีจักรพรรดิซุ่นจื้อจักรพรรดิเฉียนหลงตัวเอ่อร์กุ่นปักกิ่งแม่น้ำยาลู่แปดกองธงเสิ่นหยางเหาเก๋อ

พ.ศ. 2177

ทธศักราช 2177 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: เอ๋าไป้และพ.ศ. 2177 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2180

ทธศักราช 2180 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: เอ๋าไป้และพ.ศ. 2180 · ดูเพิ่มเติม »

กิมย้ง

thumb กิมย้ง หรือชื่อจริง จา เลี้ยงย้ง (Louis Cha Leung-yung) เป็นนักเขียนนิยายกำลังภายในที่ได้รับความนิยมมาก มักเขียนนิยายโดยแฝงเนื้อหาทางการเมืองบางอย่างไว้ โดยเฉพาะการวิจารณ์ระบบกษัตริย์ พรรคคอมมิวนิสต์ และลัทธิเชื้อชาติฮั่นเป็นใหญ่ กิมย้งมีหนังสือพิมพ์เป็นของตัวเอง ชื่อ หมิงเป้า (明報) ปัจจุบัน กิมย้ง ยังมีชีวิตอยู่ และดูแลกิจการหนังสือพิม.

ใหม่!!: เอ๋าไป้และกิมย้ง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาแมนจู

ษาแมนจู (จีนกลาง: 满语; พินอิน: mǎn yǔ หมาน อวี่) เป็นภาษากลุ่มตังกูสิตใกล้สูญพันธุ์ซึ่งมีผู้พูดทางภาคเหนือของประเทศจีน เป็นภาษาแม่ของชาวแมนจู แต่ปัจจุบัน ชาวแมนจูส่วนมากพูดภาษาจีนกลาง และมีผู้พูดเป็นภาษาแม่และพูดได้บ้างน้อยกว่า 70 คน จากผู้มีเชื้อสายแมนจูรวมเกือบ 10 ล้านคน แม้ภาษาซิเบที่มีผู้พูด 40,000 คน แทบเหมือนกับภาษาแมนจูในทุกด้าน แต่ผู้พูดภาษาซิเบ ซึ่งอาศัยอยู่ในมณฑลซินเจียงทางตะวันตกไกล มีเชื้อสายแตกต่างจากชาวแมนจู ภาษาแมนจูเป็นภาษารูปคำติดต่อ เขียนจากบนลงล่าง คาดว่าพัฒนามาจากภาษาจูร์เชน มีคำยืมจากภาษามองโกเลียและภาษาจีนจำนวนมาก มีอักษรเป็นของตนเองเรียกว่าอักษรแมนจู ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับอักษรมองโกเลีย โครงสร้างประโยคเป็นแบบประธาน-กรรม-กร.

ใหม่!!: เอ๋าไป้และภาษาแมนจู · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลเหลียวหนิง

มณฑลเหลียวหนิง (จีนตัวย่อ: 辽宁省 จีนตัวเต็ม: 遼寧省) ชื่อย่อ เหลียว(辽)ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ทิศตะวันตกติดเหอเป่ย์ เหนือติดจี๋หลิน มองโกเลียใน ทิศตะวันออกเฉียงใต้มีแม่น้ำยาลู่ว์เจียงกั้นเขตแดนกับประเทศเกาหลีเหนือ ทางใต้เป็นทะเลเหลืองและทะเลป๋อไฮ่ มีเมืองหลวงชื่อ เฉิ่นหยาง มีเนื้อที่ 145,900 ก.ม.

ใหม่!!: เอ๋าไป้และมณฑลเหลียวหนิง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ชิง

ราชวงศ์ชิง (พ.ศ. 2187 - 2455)(ภาษาแมนจู: 16px daicing gurun; ภาษาจีน:清朝; พินอิน: qīng cháo ชิงเฉา) หรือบางครั้งเรียกว่า ราชวงศ์แมนจู ปกครองแผ่นดินจีนต่อจากราชวงศ์หมิง และถือเป็นราชวงศ์สุดท้ายของประเทศจีน ตั้งแต..

ใหม่!!: เอ๋าไป้และราชวงศ์ชิง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์หมิง

ราชวงศ์หมิง หรือ ราชวงศ์เบ๋ง (ฮกเกี้ยน) หรือ ราชวงศ์เม้ง (แต้จิ๋ว) หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ จักรวรรดิต้าหมิง เป็นราชวงศ์ที่ปกครองจักรวรรดิจีน ระหว่าง พ.ศ. 1911 (ค.ศ. 1368) ถึง พ.ศ. 2187 (ค.ศ. 1644) ดำรงอยู่เป็นเวลารวม 276 ปี โดยปกครองต่อจากราชวงศ์หยวนของชาวมองโกล และพ่ายแพ้ให้กับราชวงศ์ชิงของชาวแมนจูในภายหลัง ราชวงศ์หมิงเป็นราชวงศ์ที่รุ่งเรืองในด้านวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก ในยุคนี้มีการสำรวจทางทะเลอย่างกว้างขวาง ราชวงศ์หมิงในตอนต้น (1368 - 1464) ถือเป็นอาณาจักรที่ก้าวหน้าที่สุดในโลก ณ ช่วงเวลานั้น ราชวงศ์หมิงถือเป็นหนึ่งในยุคที่ถูกจัดโดยนักวิชาการชาวตะวันตกว่ามีการปกครองที่เป็นระบบและสังคมที่มีเสถียรภาพในประวัติศาสตร์มนุษย์ชาติก่อนที่จะล่มสลาย ราชวงศ์หมิงถือเป็นราชวงศ์ที่ปกครองประเทศจีนราชวงศ์สุดท้ายที่ปกครองโดยชาวฮั่น ปฐมจักรพรรดิต้าหมิง จูหยวนจาง หรือ จักรพรรดิหงหวู่ หลังจากที่ได้ทรงประกาศปลดแอกชาวฮั่นจากภายใต้การปกครองของราชวงศ์หยวนของชาวมองโกล ได้สถาปนาราชวงศ์หมิงขึ้น พระองค์ได้ทรงพยายามปฏิรูปการปกครองอาณาจักรเสียใหม่ ทรงพยายามสร้างระบบสังคมชุมชนชนบทแบบพึ่งพาตนเอง ปฏิรูประบบราชการ, กฎหมาย จักรพรรดิหงหวู่ได้สร้างระบบที่เป็นระเบียบที่ยืดหยุ่นเปลี่ยนแปลงได้ที่จะสามารถรองรับและสนับสนุนการทหารของราชวงศ์หมิงอย่างยั่งยืน ทำให้ด้านการทหารในช่วงนั้นราชวงศ์หมิงประสบความสำเร็จมีกองทัพภาคพื้นดินเกินกว่า 1 ล้านคนและกองทัพเรือมีอู่ต่อเรือที่หนานจิงเป็นอู่ต่อเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลกในขณะนั้น พระองค์ยังได้ทรงตระหนักถึงการลดทอนอำนาจของเหล่าขันทีในราชสำนักCrawford, Robert.

ใหม่!!: เอ๋าไป้และราชวงศ์หมิง · ดูเพิ่มเติม »

หฺวัง ไถจี๋

ฉงเต๋อ (28 พฤศจิกายน 1592 – 21 กันยายน 1643) หรือชื่อตัวว่า หฺวัง ไถจี๋ (黃台吉) หรือ หง ไท่จี๋ (洪太極) เป็นพระเจ้าแผ่นดินจีนในราชวงศ์ชิง ซึ่งรวมแผ่นดินจีนที่นู่เอ๋อร์ฮาชื่อ (努爾哈赤) บิดา ก่อตั้งขึ้นแต่ตายเสียก่อนการจะสำเร็จ หฺวัง ไถจี๋ ยังได้เปลี่ยนนามชนชาตินฺหวี่เจิน (女眞; Jurchen) เป็นหมั่นจู๋ (滿族; Manchu) คือ แมนจู และเปลี่ยนนามราชวงศ์จินตอนปลายที่บิดาตั้งไว้เป็นราชวงศ์ชิง ราชวงศ์นี้ดำรงอยู่ต่อมาถึงปี 1912 เนื่องจากนู่เอ๋อร์ฮาชื่อยังไม่ทันได้ตั้งตัวเป็นเจ้าขณะมีชีวิตอยู่ หฺวัง ไถจี๋ จึงเฉลิมยศพระมหากษัตริย์ให้บิดาในภายหลัง ฉะนั้น จึงถือกันว่า นู่เอ๋อร์ฮาชื่อเป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ชิง และหฺวัง ไถจี๋ เป็นทุติยกษัตร.

ใหม่!!: เอ๋าไป้และหฺวัง ไถจี๋ · ดูเพิ่มเติม »

อุ้ยเสี่ยวป้อ

อุ้ยเสี่ยวป้อ เริ่มนำลงในหนังสือพิมพ์หมิงเป้า เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม..1969 จวบกระทั่ง วันที่ 23 กันยายน..

ใหม่!!: เอ๋าไป้และอุ้ยเสี่ยวป้อ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิยงเจิ้ง

มเด็จพระจักรพรรดิยงเจิ้ง ทรงพระราชสมภพเมื่อ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2221 (คังซีปีที่ 17) เป็นพระโอรสลำดับที่ 4 ในจักรพรรดิคังซี มีพระนามเดิมว่า อิ้นเจิน, อิ้นเจวิน (ภาษาจีน: 胤禛) เล่ากันว่า พระองค์ร่วมวางแผนกับหลงเคอตัว ปลอมแปลงลายพระหัตถ์ของจักรพรรดิคังซีจากคำว่าองค์ชาย 14 (十四) เป็นคำว่าให้กับองค์ชาย 4 (于四) องค์ชาย 4 ขึ้นครองราชย์สืบต่อ อันเนื่องจากเหตุการณ์ความวุ่นวายในการแย่งชิงราชสมบัติกันเองระหว่างพี่น้อง ปลายรัชสมัยจักรพรรดิคังซี แต่เรื่องนี้เป็นเพียงความเชื่อที่บอกต่อกันมา ไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ยืนยันแต่ประการใด แต่นั่นก็ทำให้พระองค์ได้ฉายาว่าเป็น "จักรพรรดิบัลลังก์เลือด" หรือ "จักรพรรดิทรราช" (ซึ่งความตรงนี้นักประวัติศาสตร์ยุคปัจจุบันมีความเห็นว่าเป็นไปไม่ได้ เพราะพินัยกรรมของจักรพรรดิคังซีแม้จะเปลี่ยนแปลงก็เปลี่ยนได้เฉพาะฉบับที่เป็นตัวอักษรฮั่นเท่านั้น แต่ฉบับอักษรแมนจูที่มีการเขียนคู่กันด้วยไม่สามารถแก้ไขได้ อีกทั้งอักษร 于 นั้นเป็นการเขียนอย่างย่อ ซึ่งปกติจะไม่ใช้ในเอกสารราชการ) เมื่อจักรพรรดิยงเจิ้งขึ้นครองราชย์ สิ่งแรกที่พระองค์กระทำคือ การเปลี่ยนแปลงวิธีการแต่งตั้งองค์รัชทายาทจากการแต่งตั้งโดยเปิดเผยอันเป็นสิ่งปฏิบัติมาแต่อดีตเป็นแต่งตั้งโดยเป็นความลับโดยเงยพระพักตร์ขึ้นทอดพระเนตรเพดานท้องพระโรงและจารึกพระนามขององค์รัชทายาทใช้หลังป้ายแผ่นหนึ่งที่มีชื่อเรียกว่า เจิ้งต้ากวางหมิง (正大光明) 2 ชุด ชุดแรกเก็บไว้กับตัวพระองค์เองอีกชุดนึงเก็บไว้ซึ่งเก็บไว้ในหีบลับปิดผนึกแล้ววางไว้ที่ป้ายโลหะหน้าท้องพระโรง และให้เปิดทั้ง 2 ป้ายนี้อ่านพร้อมกันเมื่อพระองค์สวรรคตแต่ในระหว่างที่ครองราชย์ต้องพบกับปัญหากบฏหลายต่อหลายครั้งจากบรรดาขุนนางและเหล่าองค์ชายทั้งหลายที่เป็นพี่น้องด้วยกันยงเจิ้งนับว่าเป็นจักรพรรดิที่ขยันขันแข็งมากและได้ปฏิรูปรูปแบบการปกครองการบริหารเอาไว้หลายด้านกิจวัตรของพระองค์ที่ปฏิบัติเป็นประจำคือ ตื่นบรรทมแต่ก่อนรุ่ง เข้าบรรทมในยามดึกเพราะอ่านฎีกาจนดึกดื่น รวบอำนาจ จัดสรรระบบภาษี การเงินการคลัง และขจัดการฉ้อราษฎร์บังหลวงจนถือว่าเป็นช่วงสืบทอดยุคความรุ่งเรืองต่อมาใน 3 รัชกาลนี้ (คังซี-ยงเจิ้ง-เฉียนหลง) จนสามารถยังผลให้ประเทศจีนรุ่งเรืองถึงขีดสุดในยุคของจักรพรรดิเฉียนหลง พระโอรสของพระองค์ที่ครองราชสมบัติต่อ ซึ่งในส่วนของเหตุการณ์แย่งชิงราชสมบัติระหว่างพี่น้องด้วยกันเองนั้น ที่เรียกกันว่า "ศึกสายเลือด" ได้ถูกเล่าขานสืบมาจนปัจจุบัน และนำไปเสริมเติมแต่งเพื่อสร้างเป็นละครโทรทัศน์หรือภาพยนตร์หลายต่อหลายครั้ง จักรพรรดิย่งเจิ้งสิ้นพระชนม์อย่างกะทันหัน ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2278 ภายหลังจากการสิ้นพระชนม์อย่างกะทันหัน โดยมีสาเหตุคล้ายกับการสิ้นพระชนม์ของจิ๋นซีอ่องเต้ รัชทายาทที่สืบทอดบัลลังก์ต่อ คือ องค์ชายลำดับที่ 4 คือ เจ้าชายหงลี่ ซึ่งพระนามเมื่อครั้งขึ้นครองราชย์ คือ จักรพรรดิเฉียนหลง.

ใหม่!!: เอ๋าไป้และจักรพรรดิยงเจิ้ง · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิหนูเอ่อร์ฮาชื่อ

หนูเอ่อร์ฮาชื่อ(แมนจู: 1 30px;; 21 กุมภาพันธ์ 1559 – 30 กันยายน 1626) หรืออ้ายซินเจว๋หลัวหนูเอ่อร์ฮาชื่อ(Chinese: Aixin-Jueluo Nǔ'ěrhāchì 愛新覺羅努爾哈赤)หรือสมเด็จพระจักรพรรดิชิงไท่จู่ เป็นปฐมจักรพรรดิราชวงศ์ชิง.

ใหม่!!: เอ๋าไป้และจักรพรรดิหนูเอ่อร์ฮาชื่อ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิคังซี

ักรพรรดิคังซี (Enkh Amgalan Khaan) หรือพระนามเต็ม อ้ายซินเจฺว๋หลัวเสฺวียนเย่ (愛新覺羅玄燁 Àixīn-Juéluó Xuányè) จักรพรรดิองค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์ชิง เป็นพระโอรสของจักรพรรดิซุ่นจื้อ จักรพรรดิองค์ที่ 3 ขึ้นครองราชย์ตั้งแต่พระชนมายุเพียง 8 พรรษา ในปี พ.ศ. 2204 (ค.ศ. 1661) ภายหลังการสวรรคตของพระราชบิดา จักรพรรดิคังซีมีพระปรีชาสามารถตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ทรงฉายแววความเป็นผู้นำมาตั้งแต่เด็ก โดยโปรดการเรียนรู้ศิลปะ วิทยาการต่าง ๆ ทั้งของในประเทศ และนอกประเทศ โดยพระองค์อยู่ภายใต้การอุปการะดูแลของไท่หวงไทเฮา ผู้เป็นพระอัยยิกาของพระองค์ ในรัชสมัยซุ่นจื่อปีที่ 18 เกิดโรคฝีดาษระบาดที่กรุงปักกิ่ง ได้ระบาดมาในนครต้องห้าม ช่วงนั้นองค์ซุนจื่อ ติดโรคร้ายนี้สวรรคต ก่อนสวรรคตได้ตั้งพระราชโอรสองค์ที่3 เสฺวียนเย เป็นองค์รัชทายาทและได้ตั้งองคมนตรี สี่คนซึ่งเป็นขุนนางที่ไว้ใจที่สุด สี่องคมนตรีได้แก่ เอ๋าไป้ สั่วหนี ซัวเค่อซ่าฮ่า เอ่อปี๋หลง เมื่อพระองค์ทรงออกว่าราชการเองเมื่อพระชนมายุได้ 13 พรรษา เมื่อพระชนมายุได้ 19 พรรษา สั่วหนี ประธานองคมนตรีได้ถึงแก่กรรม เอ๋าไป้ (鳌拜) ซึ่งเป็นขุนนางที่รับราชการมาแต่ครั้งจักรพรรดิไท่จง จักรพรรดิองค์ที่ 2 ของราชวงศ์ชิง เอ๋าไป้ เป็นขุนนางที่สำคัญตนว่าเป็นผู้นำองคมนตรีในตอนนั้นมีผู้ให้การยอมรับนับถือจำนานมาก จึงได้กระทำการอย่างไม่เหมาะสมทั้งต่อหน้าและลับหลังพระองค์หลายครั้ง จนในที่สุดก็ก่อการกบฏขึ้น แต่แผนการทั้งหมดได้ถูกทำลายลงโดย อู๋หลิวยิ สั่วเอ๋อถู และกลุ่มขุนนางภักดี รัชสมัยของจักรพรรดิคังซีนับเป็นระยะเวลาวิกฤตของราชวงศ์ชิง เพราะมีการต่อสู้ระหว่างชาวฮั่นที่ต้องการกู้ราชวงศ์หมิง รวมถึงชนเผ่าอื่น ๆ ที่ต้องการก่อกบฏ จักรพรรดิคังซีทำสงครามภายในประเทศยาวนานถึง 8 ปี จึงพิชิตแคว้นต่าง ๆ ได้ราบคาบ ก่อนที่พระองค์จะมีพระชนมายุ 30 พรรษา ทั้งขยายอาณาเขตถึงมองโกเลียและทิเบต หนึ่งในนโยบายสร้างความมั่นคงก็คือ สร้างสัมพันธ์กับชาวแมนจูที่อาศัยทางเหนือแต่เดิมให้แข็งแกร่ง ส่งอาวุธและกำลังพลไปรักษาชายแดนแถบนี้บ่อยครั้งเพื่อป้องกันการรุกรานจากชนเผ่าอื่น อีกทั้งยังทรงออกทัพเอง และได้ทำสงครามกับรัสเซียในยุคสมัยของพระเจ้าปีเตอร์มหาราช และได้รับชัยชนะด้วย ซึ่งสงครามได้จบลงที่การสร้างสัมพันธไมตรีต่อกัน รวมถึงการยกทัพบุกพม่า ทำให้จีนในยุคนี้เข้มแข็งและยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ริ้วขบวนบางส่วนของจักรพรรดิคังซีเสด็จนิวัติกรุงปักกิ่ง หลังจากเสด็จประพาสแดนใต้ ขณะเดียวกันเสด็จประพาสดินแดนทางใต้ถึง 6 ครั้ง เพื่อทอดพระเนตรความเจริญ รุ่งเรืองด้านศิลปะและวิชาการของแดนใต้ และสำรวจปัญหาน้ำท่วมไร่นาของชาวนา ซึ่งต่อมาทรงส่งเสริม การสร้างเขื่อนและให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตรกับชาวนา จักรพรรดิคังซีฉลองพระองค์เครื่องแบบทหาร จักรพรรดิคังซีนับเป็นอัจฉริยบุคคล ทรงศึกษาความผิดพลาดของพวกมองโกล ช่วงที่ปกครองชาวฮั่น จึงเปลี่ยนจากวิธีการใช้ไม้แข็งเป็นไม้อ่อน เกลี้ยกล่อมให้เหล่าปราชญ์ราชบัณฑิตที่หนีภัยยุคต้นราชวงศ์สิ้นอำนาจกลับมารับราชการใหม่ ทรงสถาปนากรมจิตรกรรมที่รู้จักในนาม สถาบันจิตรกรรมหัวหยวน คล้ายที่เคยมีในสมัยราชวงศ์ซ่ง นอกจากนี้ทรงดูแลเหล่าปราชญ์และศิลปินอย่างเกษมสำราญ มอบหมายงานให้ทำอย่างเต็มที่ ไม่ว่าด้านสถาปัตยกรรมหรือประวัติศาสตร์ โดยชิ้นที่สำคัญที่สุด คือการจัดทำ พจนานุกรมรวบรวมภาษาจีน ที่เรียกกันว่า พจนานุกรมคังซี ชีวิตส่วนพระองค์ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นจักรพรรดินักรักพระองค์หนึ่ง มีพระสนมราว 35 คน พระโอรสและพระธิดาราว 55 องค์ จนปลายรัชสมัยเกิดการชิงบัลลังก์เป็นที่วุ่นวาย ผลสุดท้ายองค์ชาย 4 ได้ขึ้นครองบัลลังก์เป็นจักรพรรดิหย่งเจิ้งในเวลาต่อมา รัชสมัยของจักพรรดิคังซีตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชและราชวงศ์บ้านพลูหลวงของอาณาจักรอยุธยา จักรพรรดิคังซีสวรรคตในปี พ.ศ. 2265 (ค.ศ. 1722) รวมระยะเวลาครองราชย์ยาวนานถึง 61 ปี นับเป็นจักรพรรดิที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดพระองค์หนึ่งในประวัติศาตร์จีน ในยุคสมัยของพระองค์มีเรื่องการเกิดขึ้นต่าง ๆ มากมายเช่น ในนวนิยายต่างๆ ระบุว่าพระองค์นั้นสวรรคตจากการปลงพระชนม์ขององค์ชายสี่ หรือหย่งเจิ้น แต่ปัจจุบันมีการสันนิษฐานว่าพระองค์สวรรคตจากชราภาพเอง เป็นที่เลื่องลือจนถึงปัจจุบัน มีวรรณกรรมต่าง ๆ มากมายที่บอกเล่าถึงยุคสมัยนี้ ไม่ว่าจะเป็น นิยาย ละครโทรทัศน์ หรือ ภาพยนตร์ ที่มีการจัดสร้างหลายต่อหลายครั้งแม้ในปัจจุบัน เรื่องที่มีชื่อเสียงมากคือ นิยายกำลังภายในอิงประวัติศาสตร์ของ กิมย้ง เรื่อง อุ้ยเสี่ยวป้อ.

ใหม่!!: เอ๋าไป้และจักรพรรดิคังซี · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิซุ่นจื้อ

มเด็จพระจักรพรรดิซุ่นจื้อ จักรพรรดิองค์ที่ 3 ของราชวงศ์ชิง แต่ในบางครั้งจะนับพระองค์เป็น ปฐมจักรพรรดิ ของราชวงศ์ชิง ด้วยทรงเป็นจักรพรรดิแมนจูพระองค์แรกที่ได้ประทับในพระราชวังต้องห้ามที่กรุงปักกิ่ง และราชวงศ์หมิงถึงกาลสิ้นสุดอย่างแท้จริง มีพระนามเดิมว่า อ้ายซินเจี๋ยว์หลอ ฝูหลิน (爱新觉罗福临) ซึ่งเป็นพระโอรสคนที่ 9 ของหวงไท่จี๋ ทรงขึ้นครองราชย์เพียงพระชนมพรรษา 6 ขวบ ในปี พ.ศ. 2186 (ค.ศ. 1643) หลังการสวรรคตของจักรพรรดิหวงไถจี๋ พระราชบิดา และ เซี่ยวจวงก็เลื่อนศักดิ์ขึ้นมาเป็นไทเฮา โดยมีตัวเอ่อกุ่นที่มีศักดิ์เป็นพระปิตุลาเป็นผู้สำเร็จราชการ (摄政王) และมีเจิ้งชินหวัง (郑亲王) คอยให้การช่วยเหลือ ตั่วเอ่อกุ่นได้พยายามยึดกุมอำนาจปกครองอันแท้จริงเอาไว้ อีกทั้งยังตั้งตนเองเป็นพระราชบิดา ควบคุมกองทัพกองธงไว้ถึง 3 กองธง ในขณะที่ฮ่องเต้ปกครองอยู่เพียง 2 กองธง พระองค์ต้องอยู่ใต้การสำเร็จราชการแผ่นดินของตั่วเอ่อกุ่น พระอนุชาต่างพระมารดาของพระราชบิดา ซึ่งตั่วเอ่อกุ่นนับว่าเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลอย่างมาก อีกทั้งยังมีสิทธิ์ที่จะได้ขึ้นครองราชย์อีกด้วย ตั่วเอ่อกุ่นได้กระทำการหลายอย่างที่จะไม่ให้พระองค์เจริญชันษามาด้วยความปรีชาสามารถ เช่น ไม่สนับสนุนให้ทรงเล่าเรียน เป็นต้น แต่ทว่า อำนาจของตั่วเอ่อกุ่นก็ถูกคานจาก พระนางเสี้ยวจวงไทเฮา (孝庄太后)พระมารดา กระทั่งปี..1650 เมื่อตัวเอ่อกุ่นเสียชีวิตลง ซุ่นจื้อที่เริ่มหลุดจากการเป็นหุ่นเชิด ได้ประกาศราชโองการยกเลิกตำแหน่ง บรรดาศักดิ์ และริบทรัพย์ทั้งหมดของตัวเอ่อกุ่นเป็นการลงโทษในข้อหาใช้อำนาจบาตรใหญ่ในขณะที่มีชีวิตอยู่ นอกจากนั้นยังลือกันว่ามีการขุดศพของตัวเอ่อกุ่นขึ้นมาทำการตีด้วยไม้และโบยด้วยแส้อีกด้วย หลังจากนั้น เพื่อให้อำนาจกลับคืนสู่ฮ่องเต้อย่างแท้จริง ซุ่นจื้อยังได้ทำการปลดองค์ชายและเชื้อพระวงศ์หลายคนที่เคยดูแลหน้าที่ในกระทรวงต่างๆ อีกทั้งเพื่อลดความขัดแย้งระหว่างชนชาติ จึงทรงมีรับสั่งให้มีการหยุดการเวนคืนที่ดินจากประชาชน ผ่อนปรนกฎหมายคนหลบหนี ผลักดันวัฒนธรรมชาวฮั่น ซึ่งการยกย่องวัฒนธรรมของชาวฮั่นกับความคิดในการปฏิรูปเพื่อให้แมนจูกับชาวฮั่นสามารถอยู่ร่วมกันของซุ่นจื้อ ได้ก่อให้เกิดความขัดแย้งกับขุนนางใหญ่จำนวนไม่น้อย ความผิดหวังในทางการเมือง ได้ทำให้ซุ่นจื้อหันมาทุ่มเทให้กับความรักให้กับพระมเหสีต่งเอ้อ พระสนมต่งเอ้อ โดยเล่าขานกันว่า พระมเหสีต่งเอ้อเดิมเป็นน้องสะใภ้ของซุ่นจื้อ เป็นภรรยาของป๋อมู่ป๋อกั่วเอ่อ (博穆博果尔) แต่มีความสนิทสนมใกล้ชิดกับซุ่นจื้อมาก หลังป๋อกั่วเอ่อเสียชีวิตในปีซุ่นจื้อที่ 13 ฮ่องเต้ซุ่นจื้อจึงได้แต่งตั้งนางให้เป็นพระสนมของตน หลังจากเป็นสนมของซุ่นจื้อได้หนึ่งปี พระมเหสีต่งเอ้อก็ได้ให้กำเนิดพระโอรส ซึ่งเดิมจะได้รับการแต่งตั้งเป็นรัชทายาท ทว่าพระโอรสพระองค์นี้กลับเสียชีวิตไปเมื่ออายุได้เพียง 3 เดือน ทำให้พระมเหสีต่งเอ้อตรอมใจจนสิ้นพระชนม์ และได้รับการอวยยศตามหลังจากเซี่ยวจวงฮองไทเฮา ให้เป็นเสี้ยวเซี่ยนตวนจิ้งฮองเฮา จักรพรรดิซุ่นจื้อครองราชย์ถึงปีที่ 18 (ค.ศ. 1661) ก็สวรรคตไปด้วยพระชนมายุเพียง 24 พรรษา ทว่าการสวรรคตของพระองค์กลับเป็นปริศนาถูกกล่าวขานไว้หลายรูปแบบ โดยบ้างระบุว่าพระองค์เสียพระทัยกับการสูญเสียพระสนมและพระโอรส ทำให้ร่างกายและจิตใจได้รับความกระทบกระเทือน และสิ้นพระชนม์ด้วยโรคฝีดาษ (ไข้ทรพิษ)ในปี พ.ศ. 2204 (ค.ศ. 1661) ในขณะที่บันทึกของชาวบ้านกลับระบุว่า พระองค์ทรงมีความฝักใฝ่ในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า สุดท้ายเมื่อสูญเสียพระสนมอันเป็นที่รัก จึงได้ออกผนวช ณ เขาอู่ไถ (五台山) และต่อมาพระโอรสลำดับที่ 3 ของพระองค์ ที่ประสูติแต่ พระมเหสีคัง คือ องค์ชายเสวียนเยว่ (玄燁) พระชนมายุเพียง 8 พรรษา ได้ขึ้นครองราชย์เป็นฮ่องเต้คังซีตามพระพินัยกรรมของซุ่นจื้อในนาม จักรพรรดิคังซี ซึ่งต่อมาทรงเป็นจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ของราชวงศ์ชิง และพระนางเสี้ยวจวงก็เป็นผู้อุปการะพระองค์มาโดยตลอด และได้เลื่อนพระอิสริยยศเป็นไท่หวงไท.

ใหม่!!: เอ๋าไป้และจักรพรรดิซุ่นจื้อ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิเฉียนหลง

มเด็จพระจักรพรรดิเฉียนหลง (จักรพรรดิชิงเกาจง) (เฉียนหลง) จักรพรรดิองค์ที่ 6 ของราชวงศ์ชิง ประสูติเมื่อ ปี พ.ศ. 2254 (ค.ศ. 1711) เดิมมีพระนามว่าหงลี่ (ภาษาจีน: 弘曆) เป็นพระราชโอรสในจักรพรรดิยงเจิ้ง และเป็นพระราชนัดดาองค์โปรดของจักรพรรดิคังซี เพราะมีความเฉลียวฉลาดมาแต่ยังเด็ก จักรพรรดิเฉียนหลงขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2278 (ค.ศ. 1735) ขณะมีพระชนมายุได้ 25 พรรษา ทรงพระนามว่า ชิงเกาจงฮ่องเต้ และใช้ชื่อศักราชว่า เฉียนหลง จักรพรรดิเฉียนหลงได้สร้างความเจริญมากมายให้กับประเทศจีน โดยเฉพาะการจัดทำสารานุกรม ซื่อคู่เฉวียนซู ขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2316 (ค.ศ. 1773) - พ.ศ. 2325 (ค.ศ. 1782) ถือเป็นมรดกโลกที่สำคัญชิ้นหนึ่ง รัชสมัยของจักรพรรดิเฉียนหลงมีเรื่องราวที่เป็นสีสัน เล่าขาน เป็นตำนานต่าง ๆ มากมาย ทั้งเรื่องที่ลือกันว่าแท้ที่จริงแล้วมิได้เป็นพระโอรสของจักรพรรดิหย่งเจิ้น หรือเรื่องราวที่ชอบแปลงตนเองเป็นสามัญชนท่องเที่ยวไปในสถานที่ต่าง ๆ จนได้ฉายาว่า "จักรพรรดิเจ้าสำราญ" ส่วนเรื่องคำกล่าวที่ว่าสมเด็จพระพันปีหลวงซึ่งเป็นพระราชมารดาของสมเด็จพระจักรพรรดิเฉียนหลงไม่โปรดพระมเหสีหรง ถึงขั้นสั่งประหาร ก็ไม่เป็นความจริงเช่นกัน เพราะสมเด็จพระพันปีหลวงเสด็จสู่สวรรคาลัยไปก่อนพระมเหสีหรงเฟยถึง11ปี ฉะนั้น สมเด็จพระพันปีหลวงจึงมาสั่งประหารไม่ได้แน่นอน จักรพรรดิเฉียนหลงมีคนสนิทที่ทรงใกล้ชิดอยู่คนหนึ่ง ชื่อ เหอเซิน ที่มักคอยเอาอกเอาใจอยู่ตลอด และมักชวนจักรพรรดิเฉียนหลงเสเพลอยู่เสมอ ๆ จักรพรรดิเฉียนหลงโปรดเหอเซินมากถึงขนาดยกพระธิดาองค์หนึ่งให้เป็นคู่หมั้นของลูกชายเหอเซินตั้งแต่ยังเด็ก ทำให้เหอเซินเหิมเกริม กระทำการทุจริตต่าง ๆ นานา ยิ่งโดยเฉพาะในปลายรัชสมัยมีการจับจ่ายใช้เงินทองจำนวนมากเพื่อความสำราญของคนในพระราชวัง กล่าวว่า นี่เป็นส่วนหนึ่งของความอ่อนแอลงเรื่อย ๆ ของราชวงศ์ชิงด้วย หลังจากรัชสมัยของจักรพรรดิเฉียนหลงแล้ว จักรพรรดิเฉียนหลงมีพระโอรสที่ปรีชาสามารถมากคือเจ้าชายหย่งฉี พระโอรสองค์ที่ 5 ซึ่งประสูติแต่พระชายาหยู (愉貴妃) เจ้าชายหย่งฉีเป็นผู้ที่ปรีชาสามารถทั้งบุ๋นและบู๊ เป็นความหวังว่าจะได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระองค์ แต่กลับสิ้นพระชนม์เสียก่อนตั้งแต่ยังหนุ่ม ในปี พ.ศ. 2338 (ค.ศ. 1795) ปีที่ 60 ที่ทรงครองราชย์จักรพรรดิเฉียนหลงได้สละราชสมบัติให้พระโอรสที่ชื่อ หย่งเยี๋ยน พระโอรสองค์ที่ 15 ขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิเจี่ยชิ่ง ด้วยไม่ทรงปรารถนาจะครองราชย์ยาวนานเกินกว่าจักรพรรดิคังซีผู้เป็นพระอัยกา (ปู่) อย่างไรก็ตามแม้จะสละราชบัลลังก์แล้วแต่อำนาจที่แท้จริงยังคงอยู่กับพระองค์ โดยทรงขึ้นดำรงตำแหน่งเป็น พระบิดาหลวง หรือ จักพรรดิสูงสุด (ไท่ซั่งหวง, 太上皇帝) ในปี พ.ศ. 2342 (ค.ศ. 1799) จักรพรรดิเฉียนหลงเสด็จสวรรคต จักรพรรดิเจี่ยชิ่งจึงได้ครองราชย์อย่างแท้จริง และพระองค์ก็เริ่มกำจัดเหอเซินทันที และบังคับให้เขาฆ่าตัวตาย หลังสิ้นสุดยุคของจักรพรรดิเฉียนหลงแล้ว จักรพรรดิองค์ต่อ ๆ มาของราชวงศ์ชิงต่างไม่มีองค์ไหนมีความสามารถโดดเด่น ทำให้ราชวงศ์ชิงอ่อนแอลงเรื่อยๆ และประเทศจีนเริ่มถูกต่างชาติเข้าแทรกแซงยึดครอง ตลอดยุคสมัยที่ยาวนานกว่า 60 ปี ของจักรพรรดิเฉียนหลงเต็มไปด้วยเรื่องราวที่มีสีสันจนเลื่องลือมาถึงปัจจุบัน มีวรรณกรรมมากมายที่บอกเล่าถึงยุคสมัยของพระองค์ รวมทั้งภาพยนตร์ และละครโทรทัศน์ ที่จัดสร้างหลายครั้งหลายหนกล่าวถึงเนื้อหาต่างๆ เช่น เรื่องที่เล่าลือกันว่า พระองค์แท้ที่จริงมิใช่พระโอรสของจักรพรรดิหย่งเจิ้น แต่เป็นบุตรชายของอำมาตย์คนหนึ่ง เมื่อพระมเหสีของจักรพรรดิหย่งเจิ้นให้ประสูติกาลบุตรออกมาเป็นบุตรสาว จึงสลับลูกกันกับอำมาตย์ผู้นี้ ดังที่ปรากฏในเรื่อง จอมใจจอมยุทธ์และ เรื่องราวในรัชสมัยพระองค์ยังถูกนำมาแสดงเป็นภาพยนตร์เรื่อง องค์หญิงกำมะลอ ซึ่งเป็นเรื่องขององค์หญิงหวนจู ซึ่งดัดแปลงมาจากพระธิดาบุญธรรมขององค์จักรพรรดิมาเป็นองค์หญิงหวนจู.

ใหม่!!: เอ๋าไป้และจักรพรรดิเฉียนหลง · ดูเพิ่มเติม »

ตัวเอ่อร์กุ่น

ตัวเอ่อร์กุ่น (多尔衮; Dorgon) เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 14 ของจักรพรรดินู่เอ๋อร์ฮาชื่อที่ประสูติจากพระนางอาปาไฮ่ พระองค์มีพระอนุชาร่วมพระมารดาสองพระองค์คือเจ้าชายอาจี้เก๋อและเจ้าชายตัวตั๋ว และยังเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในจักรพรรดิซุ่นจื้อ โดยในช่วงต้นรัชกาลได้สถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิอี้ (義皇帝) แต่ถูกถอดจากตำแหน่งในปี..1651 หลังการสิ้นพระชนม.

ใหม่!!: เอ๋าไป้และตัวเอ่อร์กุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ปักกิ่ง

ปักกิ่ง หรือ เป่ย์จิง (จีน:, พินอิน: Běijīng) เป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาชนจีน มีชื่อย่อว่า จิง ตั้งอยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ ที่ราบหวาเป่ย์ ชื่อเดิมคือ จี่ (冀) สมัยวสันตสารท (春秋)และสมัยรณรัฐ (战国)เป็นเมืองหลวงของแคว้นเยียน สมัยราชวงศ์เหลียว เป็นเมืองหลวงรอง ชื่อ เยียนจิง เป็นเมืองหลวงของจีนตั้งแต่สมัยราชวงศ์จิน หยวน หมิง ชิงจนถึง สาธารณรัฐจีน เคยใช้ชื่อจงตู ต้าตู เป่ย์ผิงและเป่ย์จิง โดยมีชื่อเรียกทั้งหมดกว่า 60 ชื่อ เริ่มตั้งเป็นเมืองตั้งแต่ปี 1928 ปัจจุบัน แบ่งเป็น 16 เขตและ 2 อำเภอ เป็นนครที่ขึ้นตรงต่อส่วนกลาง พื้นที่ทั่วกรุงปักกิ่งมีถึง 16,800 ตารางกิโลเมตร ถึงสิ้นปี..

ใหม่!!: เอ๋าไป้และปักกิ่ง · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำยาลู่

ูมิศาสตร์แม่น้ำยาลู แม่น้ำยาลู่ (鴨綠江, 鸭绿江 Yālù Jiāng; Yalu River) หรือ แม่น้ำอัมนก (Amnok River) เป็นแม่น้ำที่เป็นพรมแดนธรรมชาติกั้นระหว่างจีน และเกาหลีเหนือ และมีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์เกาหลีอย่างมาก.

ใหม่!!: เอ๋าไป้และแม่น้ำยาลู่ · ดูเพิ่มเติม »

แปดกองธง

แปดกองธง (จีน: 八旗, พินอิน: baqí) เป็นกองกำลังทหารในยุคราชวงศ์ชิงในประวัติศาสตร์จีน เป็นการจัดการบริหารและวางกองกำลังต่อสู้ของราชวงศ์ชิง โดยผู้ที่สถาปนากองทัพนี้ คือ จักรพรรดินู่เอ๋อร์ฮาชื่อ (ค.ศ. 1559-ค.ศ. 1629) ปฐมจักรพรรดิของราชวงศ์ โดยมีสัญลักษณ์เป็นธงที่มีสีสันต่าง ๆ แตกต่างออกไป และเป็นกำลังสำคัญในการป้องกันเมืองหลวง คือ ปักกิ่ง ซึ่งการจัดกำลังออกเป็น 8 ส่วนนี้ จะใช้ผู้คุมกำลังเป็นผู้ที่สัมพันธ์หรือเป็นญาติกันในตระกูลอ้ายซินเจว๋หลัว ซึ่งเป็นตระกูลของจักรพรรดิและพระญาติวงศ์ในราชวงศ์ชิง ซึ่งผู้ที่เคยเป็นผู้บังคับบัญชาแปดกองธงนี้บุคคลหนึ่ง ก็คือ อาปาไห่ หรือต่อมาก็คือ จักรพรรดิหวงไถจี๋ (ค.ศ. 1592-ค.ศ. 1643) ซึ่งเป็นราชบุตรลำดับที่ 8 และได้ครองราชย์ในเวลาต่อมา โดยเริ่มจากหัวหน้าชนเผ่าแมนจูต่าง ๆ ที่นู๋เอ๋อร์ฮาชื้อเคยปราบมา ก่อนจะรวบรวมชาวแมนจูเป็นหนึ่งเดียวโค่นราชวงศ์หมิงได้สำเร็จ มีการเก็บภาษีและการระดมพลก็ระดมผ่านกองธงต่าง ๆ ไล่มาจากหัวหน้าหน่วยบริหารระดับล่างขึ้นมาข้างบน ซึ่งกระบวนการนี้ช่วยลดความแตกต่างของชนเผ่าและตระกูลนอกด่านทั้งหลายไปได้มาก นั่นทำให้นายทหารผู้บังคับหมวด นายทหารผู้บังคับกอง นายทหารคุมกองพัน และระดับแม่ทัพ จะต้องทำหน้าที่เป็นทั้งผู้บริหารและทหารไปพร้อม ๆ กัน แต่ทั้งหมดอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกันกับที่นู๋เอ๋อร์ฮาชื้อตราขึ้นมา และยังส่งผลต่อความสัมพันธ์ที่ดีกับชาวมองโกล รวมถึงชาวฮั่นที่อยู่ในแถบตะวันออกด้วย ซึ่งถือได้ว่าทั้ง 3 ชนเผ่ามีส่วนร่วมในการก่อตั้งกองทัพแปดกองธงขึ้นมา จนสามารถแบ่งได้ถึง 24 กองธง เฉลี่ยกองธงละ 7,500 คน.

ใหม่!!: เอ๋าไป้และแปดกองธง · ดูเพิ่มเติม »

เสิ่นหยาง

นหยาง เดิมชื่อ มุกเดน (แมนจู: 17px) หรือ เฟิ่งเถียน เป็นเมืองเอกของมณฑลเหลียวหนิง ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสาธารณรัฐประชาชนจีน มีพื้นที่ 12,924 ตารางกิโลเมตร และประชากร 7.2 ล้านคน ในเขตเมืองมีพื้นที่ 7,400 ตารางกิโลเมตร และประชากร 5.53 ล้านคนในอดีตเคยเป็นราชธานีของอาณาจักรโฮ่วจินหรือราชวงศ์ชิงก่อนที่จะย้ายมายังปักกิ่ง หมวดหมู่:เมืองในประเทศจีน หมวดหมู่:มณฑลเหลียวหนิง.

ใหม่!!: เอ๋าไป้และเสิ่นหยาง · ดูเพิ่มเติม »

เหาเก๋อ

ซู่ชินหวัง พระนามเดิมเหาเก๋อ (1609 – 1648) เป็นพระราชโอรสพระองค์แรกของจักรพรรดิฉงเต๋อกับพระชายาจี้ สกุลอูลาน่าลา พระองค์ทรงได้รับศึกษาด้านการทหารตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ทรงเคยออกรบร่วมกับพระราชบิดาหลายครั้ง อีกทั้งยังทรงเคยเป็นแม่ทัพเองอีกด้วย ปี..1636 พระองค์ได้รับการแต่งตั้งเป็นซู่ชินหวัง (肃武亲王) ซึ่งเป็นพระอิสริยยศชั้นอ๋องพระมาลาเหล็ก แต่ด้วยความเยาว์วัยและอ่อนประสบการณ์จึงทรงประมาททำให้เกิดความผิดพลาด เป็นเหตุให้ทรงถูกปลดจากตำแหน่งอ๋องหลายครั้ง ในปี..

ใหม่!!: เอ๋าไป้และเหาเก๋อ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

AobaiOboiเอ๋าไป๋

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »