โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จักรพรรดิเฉียนหลง

ดัชนี จักรพรรดิเฉียนหลง

มเด็จพระจักรพรรดิเฉียนหลง (จักรพรรดิชิงเกาจง) (เฉียนหลง) จักรพรรดิองค์ที่ 6 ของราชวงศ์ชิง ประสูติเมื่อ ปี พ.ศ. 2254 (ค.ศ. 1711) เดิมมีพระนามว่าหงลี่ (ภาษาจีน: 弘曆) เป็นพระราชโอรสในจักรพรรดิยงเจิ้ง และเป็นพระราชนัดดาองค์โปรดของจักรพรรดิคังซี เพราะมีความเฉลียวฉลาดมาแต่ยังเด็ก จักรพรรดิเฉียนหลงขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2278 (ค.ศ. 1735) ขณะมีพระชนมายุได้ 25 พรรษา ทรงพระนามว่า ชิงเกาจงฮ่องเต้ และใช้ชื่อศักราชว่า เฉียนหลง จักรพรรดิเฉียนหลงได้สร้างความเจริญมากมายให้กับประเทศจีน โดยเฉพาะการจัดทำสารานุกรม ซื่อคู่เฉวียนซู ขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2316 (ค.ศ. 1773) - พ.ศ. 2325 (ค.ศ. 1782) ถือเป็นมรดกโลกที่สำคัญชิ้นหนึ่ง รัชสมัยของจักรพรรดิเฉียนหลงมีเรื่องราวที่เป็นสีสัน เล่าขาน เป็นตำนานต่าง ๆ มากมาย ทั้งเรื่องที่ลือกันว่าแท้ที่จริงแล้วมิได้เป็นพระโอรสของจักรพรรดิหย่งเจิ้น หรือเรื่องราวที่ชอบแปลงตนเองเป็นสามัญชนท่องเที่ยวไปในสถานที่ต่าง ๆ จนได้ฉายาว่า "จักรพรรดิเจ้าสำราญ" ส่วนเรื่องคำกล่าวที่ว่าสมเด็จพระพันปีหลวงซึ่งเป็นพระราชมารดาของสมเด็จพระจักรพรรดิเฉียนหลงไม่โปรดพระมเหสีหรง ถึงขั้นสั่งประหาร ก็ไม่เป็นความจริงเช่นกัน เพราะสมเด็จพระพันปีหลวงเสด็จสู่สวรรคาลัยไปก่อนพระมเหสีหรงเฟยถึง11ปี ฉะนั้น สมเด็จพระพันปีหลวงจึงมาสั่งประหารไม่ได้แน่นอน จักรพรรดิเฉียนหลงมีคนสนิทที่ทรงใกล้ชิดอยู่คนหนึ่ง ชื่อ เหอเซิน ที่มักคอยเอาอกเอาใจอยู่ตลอด และมักชวนจักรพรรดิเฉียนหลงเสเพลอยู่เสมอ ๆ จักรพรรดิเฉียนหลงโปรดเหอเซินมากถึงขนาดยกพระธิดาองค์หนึ่งให้เป็นคู่หมั้นของลูกชายเหอเซินตั้งแต่ยังเด็ก ทำให้เหอเซินเหิมเกริม กระทำการทุจริตต่าง ๆ นานา ยิ่งโดยเฉพาะในปลายรัชสมัยมีการจับจ่ายใช้เงินทองจำนวนมากเพื่อความสำราญของคนในพระราชวัง กล่าวว่า นี่เป็นส่วนหนึ่งของความอ่อนแอลงเรื่อย ๆ ของราชวงศ์ชิงด้วย หลังจากรัชสมัยของจักรพรรดิเฉียนหลงแล้ว จักรพรรดิเฉียนหลงมีพระโอรสที่ปรีชาสามารถมากคือเจ้าชายหย่งฉี พระโอรสองค์ที่ 5 ซึ่งประสูติแต่พระชายาหยู (愉貴妃) เจ้าชายหย่งฉีเป็นผู้ที่ปรีชาสามารถทั้งบุ๋นและบู๊ เป็นความหวังว่าจะได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระองค์ แต่กลับสิ้นพระชนม์เสียก่อนตั้งแต่ยังหนุ่ม ในปี พ.ศ. 2338 (ค.ศ. 1795) ปีที่ 60 ที่ทรงครองราชย์จักรพรรดิเฉียนหลงได้สละราชสมบัติให้พระโอรสที่ชื่อ หย่งเยี๋ยน พระโอรสองค์ที่ 15 ขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิเจี่ยชิ่ง ด้วยไม่ทรงปรารถนาจะครองราชย์ยาวนานเกินกว่าจักรพรรดิคังซีผู้เป็นพระอัยกา (ปู่) อย่างไรก็ตามแม้จะสละราชบัลลังก์แล้วแต่อำนาจที่แท้จริงยังคงอยู่กับพระองค์ โดยทรงขึ้นดำรงตำแหน่งเป็น พระบิดาหลวง หรือ จักพรรดิสูงสุด (ไท่ซั่งหวง, 太上皇帝) ในปี พ.ศ. 2342 (ค.ศ. 1799) จักรพรรดิเฉียนหลงเสด็จสวรรคต จักรพรรดิเจี่ยชิ่งจึงได้ครองราชย์อย่างแท้จริง และพระองค์ก็เริ่มกำจัดเหอเซินทันที และบังคับให้เขาฆ่าตัวตาย หลังสิ้นสุดยุคของจักรพรรดิเฉียนหลงแล้ว จักรพรรดิองค์ต่อ ๆ มาของราชวงศ์ชิงต่างไม่มีองค์ไหนมีความสามารถโดดเด่น ทำให้ราชวงศ์ชิงอ่อนแอลงเรื่อยๆ และประเทศจีนเริ่มถูกต่างชาติเข้าแทรกแซงยึดครอง ตลอดยุคสมัยที่ยาวนานกว่า 60 ปี ของจักรพรรดิเฉียนหลงเต็มไปด้วยเรื่องราวที่มีสีสันจนเลื่องลือมาถึงปัจจุบัน มีวรรณกรรมมากมายที่บอกเล่าถึงยุคสมัยของพระองค์ รวมทั้งภาพยนตร์ และละครโทรทัศน์ ที่จัดสร้างหลายครั้งหลายหนกล่าวถึงเนื้อหาต่างๆ เช่น เรื่องที่เล่าลือกันว่า พระองค์แท้ที่จริงมิใช่พระโอรสของจักรพรรดิหย่งเจิ้น แต่เป็นบุตรชายของอำมาตย์คนหนึ่ง เมื่อพระมเหสีของจักรพรรดิหย่งเจิ้นให้ประสูติกาลบุตรออกมาเป็นบุตรสาว จึงสลับลูกกันกับอำมาตย์ผู้นี้ ดังที่ปรากฏในเรื่อง จอมใจจอมยุทธ์และ เรื่องราวในรัชสมัยพระองค์ยังถูกนำมาแสดงเป็นภาพยนตร์เรื่อง องค์หญิงกำมะลอ ซึ่งเป็นเรื่องขององค์หญิงหวนจู ซึ่งดัดแปลงมาจากพระธิดาบุญธรรมขององค์จักรพรรดิมาเป็นองค์หญิงหวนจู.

31 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2254พ.ศ. 2278พ.ศ. 2316พ.ศ. 2325พ.ศ. 2338พ.ศ. 2339พ.ศ. 2342พระราชวังต้องห้ามกลุ่มภาษาจีนราชวงศ์ชิงสิบการทัพใหญ่สนมเสาวคนธ์หย่งหลินหย่งหวงหย่งฉีหย่งเฉิงจอมใจจอมยุทธ์จักรพรรดิยงเจิ้งจักรพรรดิจีนจักรพรรดิคังซีจักรพรรดินีจี้จักรพรรดินีเซี่ยวอี๋ฉุนจักรพรรดินีเซี่ยวเชิ่งเซี่ยนจักรพรรดินีเซี่ยวเสียนฉุนจักรพรรดิเจียชิ่งจิ้นเฟย์ตุนเฟย์ซุ่นกุ้ยเหรินเหอเซินเฉิงผิน7 กุมภาพันธ์

พ.ศ. 2254

ทธศักราช 2254 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและพ.ศ. 2254 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2278

ทธศักราช 2278 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและพ.ศ. 2278 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2316

ทธศักราช 2316 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและพ.ศ. 2316 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2325

ทธศักราช 2325 ตรงกับคริสต์ศักราช 1782 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคาร ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินจูเลียน.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและพ.ศ. 2325 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2338

ทธศักราช 2338 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและพ.ศ. 2338 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2339

ทธศักราช 2339 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1796 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและพ.ศ. 2339 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2342

ทธศักราช 2342 ตรงกับคริสต์ศักราช 1779 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคาร ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินจูเลียน.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและพ.ศ. 2342 · ดูเพิ่มเติม »

พระราชวังต้องห้าม

อู่เหมิน ไท่เหอเหมิน ตงหวาเหมิน แม่น้ำทอง 280px 190px พระราชวังต้องห้าม (จีน: 紫禁城; พินอิน: Zǐjìn Chéng จื่อจิ้นเฉิง; อังกฤษ: Forbidden City) หรือพระราชวังกู้กง จากชื่อภาษาจีน แปลตามตัวอักษรได้ว่า "เมืองต้องห้ามสีม่วง" พระราชวังต้องห้ามตั้งอยู่ใจกลางของกรุงปักกิ่ง เมืองหลวงของประเทศจีน เป็นพระราชวังหลวงมาตั้งแต่สมัยกลางราชวงศ์หมิงจนถึงราชวงศ์ชิง พระราชวังต้องห้ามยังรู้จักกันในนาม พิพิธภัณฑ์พระราชวัง (ภาษาจีน: 故宫博物院; พินอิน: Gùgōng Bówùyùan) ครอบคลุมพื้นที่ 720,000 ตารางเมตร อาคาร 800 หลัง มีห้องทั้งหมด 9,999 ห้อง และมีพระที่นั่ง 75 องค์ หอพระสมุด ห้องหับต่างๆอีกมาก รวมทั้งยังมีสวน ลานกว้าง ทางเดินเชื่อมกันโดยตลอด มีคูและกำแพงที่สูงถึง 11 เมตร ล้อมรอบ ใช้ระยะก่อสร้างประมาณ 14 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 1949 จนถึง พ.ศ. 1963 พระราชวังต้องห้ามตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจตุรัสเทียนอันเหมิน นักท่องเที่ยวสามารถเข้าสู่พระราชวังต้องห้ามได้ทางจตุรัสนี้ ผ่านประตูเทียนอันเหมิน บริเวณรอบจตุรัสเทียนอันเหมิน เรียกว่า อาณาเขตหลวง โดยมีสิ่งก่อสร้างสำคัญอยู่โดยรอบ เช่น มหาศาลาประชาคม ในอดีต พระราชวังแห่งนี้ เป็นเขตหวงห้ามไม่ไห้ประชาชนเข้า แม้ข้าราชการชั้นสูง ยังต้องขออนุญาต เป็นกรณีพิเศษ จึงเรียกพระราชวังนี้ว่า "พระราชวังต้องห้าม" จักรพรรดิจะทรงประทับอยู่ในพระราชวังแห่งนี้ กั้นพระองค์จากโลกภายนอก โดยมีสนมกำนัล ขันที และข้าหลวงรับใช้ซึ่งคนเหล่านี้ต้องอาศัยอยู่ในนครต้องห้ามตลอดชีวิต เพื่อความสำราญของจักรพรรดิ ในวังจะมีวิเสท 6,000 คน ประกอบพระกระยาหาร มีสนมกำนัล 9,000 นาง ซึ่งมีขันที 70,000 คน คอยดูแลให้ มีคำเล่าลือกันว่า พระนางซูสีไทเฮา เวลาเสวยก็จะมีพระกระยาหารถึง 148 ชุด และทรงส่งขันทีไปเสาะหาชายหนุ่มซึ่งเข้าวังแล้วจะไม่มีผู้ใดพบเห็นอีกเลย แม้ว่าประเทศจีนจะไม่มีสถาบันพระมหากษัตริย์แล้ว พระราชวังต้องห้ามก็ยังคงเป็นสัญลักษณ์ของประเทศจีน และภาพประตูเทียนอันเหมินก็ยังปรากฏอยู่ในตราประจำสาธารณรัฐประชาชนจีนอีกด้วย นอกจากนี้ พระราชวังต้องห้ามยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งไม่นานมานี้ ทางรัฐบาลจีนได้มีนโยบายจำกัดปริมาณนักท่องเที่ยวเพื่อจะอนุรักษ์สภาพของอาคารและสวนหย่อมไว้ ยูเนสโกได้ประกาศให้พระราชวังต้องห้ามร่วมกับพระราชวังเสิ่นหยางเป็นหนึ่งในมรดกโลกในนาม พระราชวังหลวงแห่งราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงในปักกิ่งและเสิ่นหยาง เมื่อ พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987).

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและพระราชวังต้องห้าม · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาจีน

ัฒนาการของภาษาจีนสำเนียงต่างๆ ภาษาจีน (汉语 - 漢語 - Hànyǔ - ฮั่นอวี่, 华语 - 華語 - Huáyǔ - หัวอวี่ หรือ 中文 - Zhōngwén - จงเหวิน) เป็นหนึ่งในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ชาวจีนส่วนใหญ่ถือภาษาจีนพูดชนิดต่าง ๆ ว่าเป็นภาษาเดียว โดยทั่วไปแล้ว ภาษาพูดในกลุ่มภาษาจีนเป็นภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์และไม่อ่านเนื่องเสียง อย่างไรก็ดี ยังมีความแตกต่างกันในภาษาพูดแต่ละภาษาอยู่มาก ความต่างเหล่านี้เทียบได้กับ ความแตกต่างระหว่างภาษาของภาษากลุ่มโรมานซ์ เราอาจแบ่งภาษาพูดของจีนได้ 6 ถึง 12 กลุ่ม ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่ง ที่เป็นที่รู้จักดี เช่น กลุ่มแมนดาริน กลุ่มหวู และกลุ่มกวางตุ้ง ยังเป็นที่โต้เถียงกันถึงปัจจุบันว่าภาษาพูดบางกลุ่มควรจัดเป็น "ภาษา" หรือเป็นแค่ "สำเนียง" ประชากรประมาณ 1/5 ของโลกพูดภาษาจีนแบบใดแบบหนึ่งเป็นภาษาแม่ ทำให้เป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากที่สุด สำเนียงพูดที่ถือเป็นมาตรฐาน คือ สำเนียงปักกิ่ง หรือ ภาษาฮั่น ซึ่งอยู่ในกลุ่มภาษาแมนดาริน ภาษาจีนกลาง หรือ ภาษาจีนแมนดาริน (Standard Mandarin) เป็นภาษาทางการของสาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐจีนหรือไต้หวัน เป็นหนึ่งในภาษาทางการ 4 ภาษาทางการของประเทศสิงคโปร์ (ร่วมกับ ภาษาอังกฤษ ภาษามลายู และภาษาทมิฬ) และเป็นหนึ่งใน 6 ภาษาที่ใช้ในองค์การสหประชาชาติ (ร่วมกับ ภาษาอังกฤษ ภาษาอาหรับ ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย และภาษาสเปน) ภาษาจีนกวางตุ้ง เป็นภาษาทางการของ ฮ่องกง (ร่วมกับภาษาอังกฤษ) และมาเก๊า (ร่วมกับภาษาโปรตุเกส) นอกจากนี้ ภาษาเขียนยังได้เปลี่ยนแปลงตามระยะเวลา แต่การเปลี่ยนแปลงของภาษาเขียน ช้ากว่าการเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดอย่างมาก จึงไม่ถูกจำกัดโดยความเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดโดยส่วนใหญ่ ในปัจจุบัน ภาษาจีนใช้อักษรมาตรฐาน 2 รูปแบบทั่วโลก ได้แก่ อักษรจีนตัวเต็ม และ อักษรจีนตัวย่อ แผ้นที่แสดงพื้นที่ที่มีกลุ่มคนพูดภาษาจีนต่างๆ ในประเทศจีน.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและกลุ่มภาษาจีน · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ชิง

ราชวงศ์ชิง (พ.ศ. 2187 - 2455)(ภาษาแมนจู: 16px daicing gurun; ภาษาจีน:清朝; พินอิน: qīng cháo ชิงเฉา) หรือบางครั้งเรียกว่า ราชวงศ์แมนจู ปกครองแผ่นดินจีนต่อจากราชวงศ์หมิง และถือเป็นราชวงศ์สุดท้ายของประเทศจีน ตั้งแต..

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและราชวงศ์ชิง · ดูเพิ่มเติม »

สิบการทัพใหญ่

222px 222px 222px สิบการทัพใหญ่ (Ten Great Campaigns) เป็นชุดสงครามในรัชสมัยจักรพรรดิเฉียนหลง ซึ่งมีประกาศในหนังสือประจำปีทางการของราชวงศ์ชิง สิบการทัพใหญ่ได้แก่ สามการทัพเพื่อขยายอาณาเขตการควบคุมของจีนในเอเชียกลาง แบ่งเป็นสองครั้งต่อดซุงการ์ (1755–1757) และการปราบปรามซินเจียง (1758–1759) อีกเจ็ดการทัพที่เหลือนั้น มีลักษณะเป็นการรักษาความสงบเรียบร้อย (police action) ตรงแนวพรมแดนที่สถาปนาไว้ก่อนแล้ว แบ่งเป็น สองครั้งเพื่อปราบปรามกบฏจินฉวนในเสฉวน หนึ่งครั้งต่อกบฏในไต้หวัน (1787–1788) และการรบนอกประเทศอีกสี่ครั้ง ต่อพม่า (1765–1769) เวียดนาม (1788–1789) และชาวกุรข่าที่ชอบทำสงครามในเนปาลตรงชายแดนระหว่างทิเบตกับอินเดีย (1790–1792) ซึ่งนับเป็นสองการทั.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและสิบการทัพใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

สนมเสาวคนธ์

สนมเสาวคนธ์ (Fragrant Concubine) เป็นบุคคลในตำนาจจีนซึ่งเชื่อกันว่า พระเจ้าเฉียนหลงรับเป็นภรรยาในช่วงศตวรรษที่ 18 หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2277 หมวดหมู่:พระสนมราชวงศ์ชิง.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและสนมเสาวคนธ์ · ดูเพิ่มเติม »

หย่งหลิน

งชินหวัง พระนามเดิมหย่งหลิน (17 มิถุนายน ค.ศ.1766 - 25 เมษายน ค.ศ.1820) เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 17 ในจักรพรรดิเฉียนหลงกับจักรพรรดินีเซี่ยวอี๋ฉุน และยังเป็นพระอนุชาร่วมพระราชมารดาในจักรพรรดิเจียชิ่ง ปีเฉียนหลงที่ 54 (ค.ศ.1789) หย่งหลินได้รับแต่งตั้งเป็นเป้ยเล่อ (貝勒) จากการช่วยจักรพรรดิเจียชิ่งบริหารราชการแผ่นดินจึงได้รับแต่งตั้งเป็นชิ่งจวิ้นหวัง (慶郡王) ในปีเจียชิ่งที่ 4 (ค.ศ. 1799) สุดท้ายในปีเจียชิ่งที่ 25 (ค.ศ. 1820) หย่งหลินได้รับการแต่งตั้งเป็นชิ่งซีชินหวัง (慶僖親王) แต่ก็สิ้นพระชนม์ในปีเดียวกัน ปีกวางสูที่ 24 เชื้อสายของเจ้าชายหย่งหลินได้รับสถาปนาเป็นชั้นอ๋องพระมาลาเหล็กและได้ถือให้เจ้าชายหย่งหลินเป็นอ๋องพระมาลาเหล็กสายเหอซั่วชิ่งชินหวังพระองค์แรก.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและหย่งหลิน · ดูเพิ่มเติม »

หย่งหวง

ติ้งชินหวัง พระนามเดิมหย่งหวง (永璜) เป็นเจ้าชายในราชวงศ์ชิง ประสูติวันที่ 5 กรกฎาคม..1728 เป็นพระโอรสพระองค์ใหญ่ในจักรพรรดิเฉียนหลงกับเจ๋อหมิ่นหวงกุ้ยเฟย์ ตระกูลฟู่ฉา ในปี..1748 พระจักรพรรดิเฉียนหลงเสด็จประพาสทางภาคใต้ของประเทศจีน และจักรพรรดินีเซี่ยวเสียนฉุน ตระกูลฟู่ฉาสวรรคตอย่างกะทันหัน พระจักรพรรดิจึงทรงมอบหมายให้เจ้าชายหย่งหวงในฐานะที่เป็นเจ้าชายพระองค์ใหญ่เป็นผู้ดูแลงานพระราชพิธีพระศพของพระจักรพรรดินีพร้อมด้วยเจ้าชายสามหย่งจาง แต่เพราะเจ้าชายทั้งสองพระองค์ไม่ได้มีท่าทีที่โศกเศร้าแต่อย่างใดกับการสวรรคตลยเป็นเหตุให้พระจักรพรรดิพิโรธหนัก จนทรงตำหนิเจ้าชายทั้งสองอย่างร้ายแรงถึงขั้นทรงลบรายชื่อเจ้าชายทั้งสองออกจากการคัดเลือกรัชทายาท เจ้าชายหย่งหวงทรงเป็นสมาชิกสังกัดกองธงน้ำเงิน สิ้นพระชนม์วันที่ 21 เมษายน..1750 ขณะพระชันษาได้ 22 ปี ภายหลังสิ้นพระชนม์จึงได้รับพระอิสริยยศเป็นติ้งอันชินหวัง (定安親王).

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและหย่งหวง · ดูเพิ่มเติม »

หย่งฉี

หรงฉุนชินหวัง พระนามเดิมหย่งฉี (永琪) เป็นเจ้าชายแห่งจักรวรรดิต้าชิง เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ห้าในจักรพรรดิเฉียนหลง ที่ประสูติกับยฺหวีกุ้ยเฟย์ (愉貴妃) เจ้าชายหย่งฉีเป็นคนรอบคอบและขยันหมั่นเพียรตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ในบรรดาเจ้าชายทั้งหมด ทรงเป็นท่านแรกที่ไปถึงสถานที่เรียนเสมอ ทรงสนิทสนมกับเจ้าชายหย่งเหยี่ยน พระอนุชาต่างพระมารดา ทรงปรีชาสามารถในการตรัสภาษาแมนจูและภาษามองโกลอย่างคล่องแคล่ว และยังทรงรอบรู้ด้านดาราศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และการคำนวณปฏิทินจันทรคติ ทรงมีผลงานคือหนังสือเรื่อง เจียวถง เถิงเก่า (蕉桐幐稿) นอกจากนี้ยังทรงปรีชาสามารถในด้านการแต่งบทกวี ประดิษฐ์ตัวอักษร และอีกทั้งยังทรงมีฝีพระหัตถ์ในด้านการขี่ม้าและยิงธนู จากพรสวรรค์เหล่านี้ทำให้พระองค์ทรงเป็นที่สนิทเสน่หาของพระบิดายิ่งนัก ใน..1763 เกิดไฟไหม้ในพระราชวังฤดูร้อนเก่า และเจ้าชายหย่งฉีได้ทรงแบกพระบิดาไว้บนหลังและพาไปที่ปลอดภัย สองปีต่อมาจักรพรรดิเฉียนหลงได้ทรงสถาปนาพระองค์ขึ้นเป็น “หรงชินหวัง” (榮親王) และเป็นพระราชโอรสพระองค์แรกที่ได้รับพระนามอย่างเป็นทางการ นอกจากนี้ตัวอักษรคำว่า “หรง” (榮) นั้นหมายถึง “บารมี” หรือ “เกียรติ” ซึ่งแสดงให้เห็นว่าจักรพรรดิเฉียนหลง ทรงตั้งความหวังไว้สูงมากกับพระราชโอรสองค์นี้.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและหย่งฉี · ดูเพิ่มเติม »

หย่งเฉิง

ลฺหวี่ตวนชินหวัง พระนามเดิมหย่งเฉิง (永珹) เป็นเจ้าชายแห่งต้าชิง ประสูติวันที่ 21 กุมภาพัน..1739 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สี่ของพระจักรพรรดิเฉียนหลงกับชูเจียหวงกุ้ยเฟย์ ตระกูลจินเจีย ในรัชสมัยเฉียนหลงปีที่ 28 (ค.ศ.1763) ได้สืบทอดพระอิสริยยศ "ลฺหวี่ชินหวัง" ต่อจากเจ้าชายอิ้นเถา พระราชโอรสในพระจักรพรรดิคังซี โดยมีพระอิสริยยศเป็นลฺหวี่ตวนชินหวัง (履端親王) เจ้าชายหย่งเฉิงสิ้นพระชนม์วันที่ 5 เมษายน..1777 สิริพระชันษาด้ 38 ปี.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและหย่งเฉิง · ดูเพิ่มเติม »

จอมใจจอมยุทธ์

อมใจจอมยุทธ์ หรือ ตำนานอักษรกระบี่ (The Book and the Sword) เป็นผลงานเรื่องแรกของ กิมย้ง หรือในชื่อ จือเกี่ยมอึ้งชิ้วลก (Shu Jian En Chau Lu: จอมใจจอมยุทธ์) ซึ่งเขียนขึ้นครั้งแรกราว..

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและจอมใจจอมยุทธ์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิยงเจิ้ง

มเด็จพระจักรพรรดิยงเจิ้ง ทรงพระราชสมภพเมื่อ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2221 (คังซีปีที่ 17) เป็นพระโอรสลำดับที่ 4 ในจักรพรรดิคังซี มีพระนามเดิมว่า อิ้นเจิน, อิ้นเจวิน (ภาษาจีน: 胤禛) เล่ากันว่า พระองค์ร่วมวางแผนกับหลงเคอตัว ปลอมแปลงลายพระหัตถ์ของจักรพรรดิคังซีจากคำว่าองค์ชาย 14 (十四) เป็นคำว่าให้กับองค์ชาย 4 (于四) องค์ชาย 4 ขึ้นครองราชย์สืบต่อ อันเนื่องจากเหตุการณ์ความวุ่นวายในการแย่งชิงราชสมบัติกันเองระหว่างพี่น้อง ปลายรัชสมัยจักรพรรดิคังซี แต่เรื่องนี้เป็นเพียงความเชื่อที่บอกต่อกันมา ไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ยืนยันแต่ประการใด แต่นั่นก็ทำให้พระองค์ได้ฉายาว่าเป็น "จักรพรรดิบัลลังก์เลือด" หรือ "จักรพรรดิทรราช" (ซึ่งความตรงนี้นักประวัติศาสตร์ยุคปัจจุบันมีความเห็นว่าเป็นไปไม่ได้ เพราะพินัยกรรมของจักรพรรดิคังซีแม้จะเปลี่ยนแปลงก็เปลี่ยนได้เฉพาะฉบับที่เป็นตัวอักษรฮั่นเท่านั้น แต่ฉบับอักษรแมนจูที่มีการเขียนคู่กันด้วยไม่สามารถแก้ไขได้ อีกทั้งอักษร 于 นั้นเป็นการเขียนอย่างย่อ ซึ่งปกติจะไม่ใช้ในเอกสารราชการ) เมื่อจักรพรรดิยงเจิ้งขึ้นครองราชย์ สิ่งแรกที่พระองค์กระทำคือ การเปลี่ยนแปลงวิธีการแต่งตั้งองค์รัชทายาทจากการแต่งตั้งโดยเปิดเผยอันเป็นสิ่งปฏิบัติมาแต่อดีตเป็นแต่งตั้งโดยเป็นความลับโดยเงยพระพักตร์ขึ้นทอดพระเนตรเพดานท้องพระโรงและจารึกพระนามขององค์รัชทายาทใช้หลังป้ายแผ่นหนึ่งที่มีชื่อเรียกว่า เจิ้งต้ากวางหมิง (正大光明) 2 ชุด ชุดแรกเก็บไว้กับตัวพระองค์เองอีกชุดนึงเก็บไว้ซึ่งเก็บไว้ในหีบลับปิดผนึกแล้ววางไว้ที่ป้ายโลหะหน้าท้องพระโรง และให้เปิดทั้ง 2 ป้ายนี้อ่านพร้อมกันเมื่อพระองค์สวรรคตแต่ในระหว่างที่ครองราชย์ต้องพบกับปัญหากบฏหลายต่อหลายครั้งจากบรรดาขุนนางและเหล่าองค์ชายทั้งหลายที่เป็นพี่น้องด้วยกันยงเจิ้งนับว่าเป็นจักรพรรดิที่ขยันขันแข็งมากและได้ปฏิรูปรูปแบบการปกครองการบริหารเอาไว้หลายด้านกิจวัตรของพระองค์ที่ปฏิบัติเป็นประจำคือ ตื่นบรรทมแต่ก่อนรุ่ง เข้าบรรทมในยามดึกเพราะอ่านฎีกาจนดึกดื่น รวบอำนาจ จัดสรรระบบภาษี การเงินการคลัง และขจัดการฉ้อราษฎร์บังหลวงจนถือว่าเป็นช่วงสืบทอดยุคความรุ่งเรืองต่อมาใน 3 รัชกาลนี้ (คังซี-ยงเจิ้ง-เฉียนหลง) จนสามารถยังผลให้ประเทศจีนรุ่งเรืองถึงขีดสุดในยุคของจักรพรรดิเฉียนหลง พระโอรสของพระองค์ที่ครองราชสมบัติต่อ ซึ่งในส่วนของเหตุการณ์แย่งชิงราชสมบัติระหว่างพี่น้องด้วยกันเองนั้น ที่เรียกกันว่า "ศึกสายเลือด" ได้ถูกเล่าขานสืบมาจนปัจจุบัน และนำไปเสริมเติมแต่งเพื่อสร้างเป็นละครโทรทัศน์หรือภาพยนตร์หลายต่อหลายครั้ง จักรพรรดิย่งเจิ้งสิ้นพระชนม์อย่างกะทันหัน ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2278 ภายหลังจากการสิ้นพระชนม์อย่างกะทันหัน โดยมีสาเหตุคล้ายกับการสิ้นพระชนม์ของจิ๋นซีอ่องเต้ รัชทายาทที่สืบทอดบัลลังก์ต่อ คือ องค์ชายลำดับที่ 4 คือ เจ้าชายหงลี่ ซึ่งพระนามเมื่อครั้งขึ้นครองราชย์ คือ จักรพรรดิเฉียนหลง.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและจักรพรรดิยงเจิ้ง · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิจีน

มเด็จพระเจ้ากรุงจีน หรือ จักรพรรดิจีน (หวงตี้; ฮกเกี้ยน:ฮ่องเต้; แต้จิ๋ว:อ้วงตี่) คือประมุขจักรวรรดิจีน โดยมีจิ๋นซีฮ่องเต้เป็นฮ่องเต้พระองค์แรก ก่อนสมัยราชวงศ์ฉิน ประเทศจีนได้ถูกแบ่งเป็นแว่นแคว้นต่าง ๆ มากมาย และแต่ละแคว้นจะมีผู้ปกครอง เรียกว่า อ๋อง (王; พินอิน:wáng) ซึ่งแปลว่า พระมหากษัตริย์ แต่ต่อมาหลังจากอ๋องแห่งแคว้นฉินได้รวบรวมแว่นแคว้นต่าง ๆ เป็นหนึ่งเดียวจึงสถาปนาแผ่นดินเป็นจักรวรรดิจีน และประกาศใช้เป็นพระนามคำนำหน้าว่าจักรพรรดิหรือฮ่องเต้ คือฉินซือหวงตี้ หรือจิ๋นซีฮ่องเต้ ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฉิน ฮ่องเต้ได้รับการเคารพในฐานะโอรสแห่งสวรรค์ คือเปรียบเสมือนได้รับอำนาจจากสวรรค์มาให้ปกครองประชาชน ตามหลักการ "สูงสุดโอรสสวรรค์ ล่างสุดนั้นประชาราษฎร" (最高的是天子,最低的是人民) การสืบทอดตำแหน่งฮ่องเต้มักอยู่ในรูปแบบจากบิดาไปยังบุตร โดยคำว่า ฮ่องเต้ หรือ หวงตี้ ถ้าแปลตรงตัวจะสามารถแปลได้ว่า "ผู้ปกครองที่ยิ่งใหญ่" (หวง 皇 - ผู้ทรงศักดิ์/Imperial, ตี้ 帝 - องค์อธิปัตย์/Sovereign) โดยนำมาจากพระนามฮ่องเต้องค์แรก คือ ฉินซือหวงตี้ (秦始皇帝) หลังจากนั้นตำแหน่งฮ่องเต้ก็ดำรงอยู่มานับพันปีซึ่งตั้งแต่ราชวงศ์ฉิน ราชวงศ์ฮั่น ราชวงศ์จิ้น ราชวงศ์สุย ราชวงศ์ถัง ราชวงศ์ซ่ง ราชวงศ์หยวน ราชวงศ์หมิง โดยมาสิ้นสุดที่ราชวงศ์ชิง เนื่องจากบริหารบ้านเมืองล้มเหลว และยังถูกประเทศต่างชาติรุกราน เป็นเหตุให้ประเทศจีนเกิดการปฏิรูปการปกครองจากระบอบระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ ตำแหน่งฮ่องเต้จึงสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1912 ฮ่องเต้พระองค์สุดท้ายของประเทศจีนคือ จักรพรรดิฮงเซี่ยนหรือหยวน ซื่อไข่ แต่ไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชน โดยฮ่องเต้พระองค์สุดท้ายที่ได้รับการยอมรับจากประชาชนคือ สมเด็จพระจักรพรรดิผู่อี๋แห่งราชวงศ์ชิง.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและจักรพรรดิจีน · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิคังซี

ักรพรรดิคังซี (Enkh Amgalan Khaan) หรือพระนามเต็ม อ้ายซินเจฺว๋หลัวเสฺวียนเย่ (愛新覺羅玄燁 Àixīn-Juéluó Xuányè) จักรพรรดิองค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์ชิง เป็นพระโอรสของจักรพรรดิซุ่นจื้อ จักรพรรดิองค์ที่ 3 ขึ้นครองราชย์ตั้งแต่พระชนมายุเพียง 8 พรรษา ในปี พ.ศ. 2204 (ค.ศ. 1661) ภายหลังการสวรรคตของพระราชบิดา จักรพรรดิคังซีมีพระปรีชาสามารถตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ทรงฉายแววความเป็นผู้นำมาตั้งแต่เด็ก โดยโปรดการเรียนรู้ศิลปะ วิทยาการต่าง ๆ ทั้งของในประเทศ และนอกประเทศ โดยพระองค์อยู่ภายใต้การอุปการะดูแลของไท่หวงไทเฮา ผู้เป็นพระอัยยิกาของพระองค์ ในรัชสมัยซุ่นจื่อปีที่ 18 เกิดโรคฝีดาษระบาดที่กรุงปักกิ่ง ได้ระบาดมาในนครต้องห้าม ช่วงนั้นองค์ซุนจื่อ ติดโรคร้ายนี้สวรรคต ก่อนสวรรคตได้ตั้งพระราชโอรสองค์ที่3 เสฺวียนเย เป็นองค์รัชทายาทและได้ตั้งองคมนตรี สี่คนซึ่งเป็นขุนนางที่ไว้ใจที่สุด สี่องคมนตรีได้แก่ เอ๋าไป้ สั่วหนี ซัวเค่อซ่าฮ่า เอ่อปี๋หลง เมื่อพระองค์ทรงออกว่าราชการเองเมื่อพระชนมายุได้ 13 พรรษา เมื่อพระชนมายุได้ 19 พรรษา สั่วหนี ประธานองคมนตรีได้ถึงแก่กรรม เอ๋าไป้ (鳌拜) ซึ่งเป็นขุนนางที่รับราชการมาแต่ครั้งจักรพรรดิไท่จง จักรพรรดิองค์ที่ 2 ของราชวงศ์ชิง เอ๋าไป้ เป็นขุนนางที่สำคัญตนว่าเป็นผู้นำองคมนตรีในตอนนั้นมีผู้ให้การยอมรับนับถือจำนานมาก จึงได้กระทำการอย่างไม่เหมาะสมทั้งต่อหน้าและลับหลังพระองค์หลายครั้ง จนในที่สุดก็ก่อการกบฏขึ้น แต่แผนการทั้งหมดได้ถูกทำลายลงโดย อู๋หลิวยิ สั่วเอ๋อถู และกลุ่มขุนนางภักดี รัชสมัยของจักรพรรดิคังซีนับเป็นระยะเวลาวิกฤตของราชวงศ์ชิง เพราะมีการต่อสู้ระหว่างชาวฮั่นที่ต้องการกู้ราชวงศ์หมิง รวมถึงชนเผ่าอื่น ๆ ที่ต้องการก่อกบฏ จักรพรรดิคังซีทำสงครามภายในประเทศยาวนานถึง 8 ปี จึงพิชิตแคว้นต่าง ๆ ได้ราบคาบ ก่อนที่พระองค์จะมีพระชนมายุ 30 พรรษา ทั้งขยายอาณาเขตถึงมองโกเลียและทิเบต หนึ่งในนโยบายสร้างความมั่นคงก็คือ สร้างสัมพันธ์กับชาวแมนจูที่อาศัยทางเหนือแต่เดิมให้แข็งแกร่ง ส่งอาวุธและกำลังพลไปรักษาชายแดนแถบนี้บ่อยครั้งเพื่อป้องกันการรุกรานจากชนเผ่าอื่น อีกทั้งยังทรงออกทัพเอง และได้ทำสงครามกับรัสเซียในยุคสมัยของพระเจ้าปีเตอร์มหาราช และได้รับชัยชนะด้วย ซึ่งสงครามได้จบลงที่การสร้างสัมพันธไมตรีต่อกัน รวมถึงการยกทัพบุกพม่า ทำให้จีนในยุคนี้เข้มแข็งและยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ริ้วขบวนบางส่วนของจักรพรรดิคังซีเสด็จนิวัติกรุงปักกิ่ง หลังจากเสด็จประพาสแดนใต้ ขณะเดียวกันเสด็จประพาสดินแดนทางใต้ถึง 6 ครั้ง เพื่อทอดพระเนตรความเจริญ รุ่งเรืองด้านศิลปะและวิชาการของแดนใต้ และสำรวจปัญหาน้ำท่วมไร่นาของชาวนา ซึ่งต่อมาทรงส่งเสริม การสร้างเขื่อนและให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตรกับชาวนา จักรพรรดิคังซีฉลองพระองค์เครื่องแบบทหาร จักรพรรดิคังซีนับเป็นอัจฉริยบุคคล ทรงศึกษาความผิดพลาดของพวกมองโกล ช่วงที่ปกครองชาวฮั่น จึงเปลี่ยนจากวิธีการใช้ไม้แข็งเป็นไม้อ่อน เกลี้ยกล่อมให้เหล่าปราชญ์ราชบัณฑิตที่หนีภัยยุคต้นราชวงศ์สิ้นอำนาจกลับมารับราชการใหม่ ทรงสถาปนากรมจิตรกรรมที่รู้จักในนาม สถาบันจิตรกรรมหัวหยวน คล้ายที่เคยมีในสมัยราชวงศ์ซ่ง นอกจากนี้ทรงดูแลเหล่าปราชญ์และศิลปินอย่างเกษมสำราญ มอบหมายงานให้ทำอย่างเต็มที่ ไม่ว่าด้านสถาปัตยกรรมหรือประวัติศาสตร์ โดยชิ้นที่สำคัญที่สุด คือการจัดทำ พจนานุกรมรวบรวมภาษาจีน ที่เรียกกันว่า พจนานุกรมคังซี ชีวิตส่วนพระองค์ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นจักรพรรดินักรักพระองค์หนึ่ง มีพระสนมราว 35 คน พระโอรสและพระธิดาราว 55 องค์ จนปลายรัชสมัยเกิดการชิงบัลลังก์เป็นที่วุ่นวาย ผลสุดท้ายองค์ชาย 4 ได้ขึ้นครองบัลลังก์เป็นจักรพรรดิหย่งเจิ้งในเวลาต่อมา รัชสมัยของจักพรรดิคังซีตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชและราชวงศ์บ้านพลูหลวงของอาณาจักรอยุธยา จักรพรรดิคังซีสวรรคตในปี พ.ศ. 2265 (ค.ศ. 1722) รวมระยะเวลาครองราชย์ยาวนานถึง 61 ปี นับเป็นจักรพรรดิที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดพระองค์หนึ่งในประวัติศาตร์จีน ในยุคสมัยของพระองค์มีเรื่องการเกิดขึ้นต่าง ๆ มากมายเช่น ในนวนิยายต่างๆ ระบุว่าพระองค์นั้นสวรรคตจากการปลงพระชนม์ขององค์ชายสี่ หรือหย่งเจิ้น แต่ปัจจุบันมีการสันนิษฐานว่าพระองค์สวรรคตจากชราภาพเอง เป็นที่เลื่องลือจนถึงปัจจุบัน มีวรรณกรรมต่าง ๆ มากมายที่บอกเล่าถึงยุคสมัยนี้ ไม่ว่าจะเป็น นิยาย ละครโทรทัศน์ หรือ ภาพยนตร์ ที่มีการจัดสร้างหลายต่อหลายครั้งแม้ในปัจจุบัน เรื่องที่มีชื่อเสียงมากคือ นิยายกำลังภายในอิงประวัติศาสตร์ของ กิมย้ง เรื่อง อุ้ยเสี่ยวป้อ.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและจักรพรรดิคังซี · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดินีจี้

ักรพรรดินีจี้ ตระกูลอูลาน่าลา (繼皇后烏喇納喇氏 Jì Huánghòu Wūlānàlā Shì) หรือที่รู้จักกันในไทยว่า "จี้ฮองเฮา " จากภาพยนตร์ชื่อดังเรื่อง องค์หญิงกำมะลอ เป็นพระอัครมเหสีพระองค์ที่สองในจักรพรรดิเฉียนหลง.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและจักรพรรดินีจี้ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดินีเซี่ยวอี๋ฉุน

องค์ชายหยงเหยี๋นพระราชโอรส จักรพรรดินีเสี้ยวอี้ฉุน (孝儀純皇后Empress_Xiaoyichun ') หรือที่รู้จักกันในไทยขณะทรงพระยศเป็นพระมเหสีว่า "พระมเหสีหลิง " จากภาพยนตร์ชื่อดังเรื่อง องค์หญิงกำมะลอ เป็นพระมเหสีในจักรพรรดิเฉียนหลง และเป็นพระราชมารดาในจักรพรรดิเจียชิ่ง.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและจักรพรรดินีเซี่ยวอี๋ฉุน · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดินีเซี่ยวเชิ่งเซี่ยน

ักรพรรดินีเสี้ยวเชิ่งเซี่ยน (1 มกราคม 1693 - 2 มีนาคม 1777) เป็นพระมเหสีในจักรพรรดิยงเจิ้งและเป็นที่รู้จักดีในฐานะพระราชมารดาในจักรพรรดิเฉียนหลง.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและจักรพรรดินีเซี่ยวเชิ่งเซี่ยน · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดินีเซี่ยวเสียนฉุน

ระสาทิสลักษณ์พระอัครมเหสีฟู่ฉาในฉลองพระองค์ช่วงพระราชพิธีช่วงเช้า พระสาทิสลักษณ์พระอัครมเหสีเสี้ยวเสียนชุน จักรพรรดินีเสี้ยวเสียนชุน เป็นพระอัครมเหสีพระองค์แรกในจักรพรรดิเฉียนหลง.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและจักรพรรดินีเซี่ยวเสียนฉุน · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิเจียชิ่ง

มเด็จพระจักรพรรดิเจียชิ่ง (จักรพรรดิชิงเหรินจง) (13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2303 – 2 กันยายน พ.ศ. 2363) เป็นโอรสองค์ที่ 15 ของจักรพรรดิเฉียนหลง เดิมมีพระนามว่า หย่งเยี๋ยน (顒琰) เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อปี พ.ศ. 2339 (ค.ศ. 1796) เมื่อพระชนมายุได้ 37 พรรษา ภายหลังการสละราชสมบัติของจักรพรรดิเฉียนหลง พระราชบิดา แต่อำนาจในการปกครองแผ่นดินแท้จริงยังอยู่ในจักรพรรดิเฉียนหลง เมื่อจนถึงปีที่ 3 ที่ทรงครองราชย์ พ.ศ. 2342 (ค.ศ. 1799) จักรพรรดิเฉียนหลงได้สวรรคต และพระองค์จึงได้อำนาจในการปกครองอย่างแท้จริง เมื่อทรงได้อำนาจเต็มแล้ว ทรงได้กำจัดเหอเซิน ที่เป็นขุนนางกังฉิน โกงกินชาติ ซึ่งเป็นคนสนิทของจักรพรรดิเฉียนหลง ทรงรวบรวมขุนนางและบรรดาผู้ที่จงรักภักดีเพื่อกำจัดเหอเซิน โดยบุคคลสำคัญผู้หนึ่งที่มีบทบาทในการครั้งนี้คือ อ๋องเฉิน ซึ่งเป็นพระเชษฐา (พี่ชาย) ของพระองค์และเป็นพระโอรสลำดับที่ 11 ของจักรพรรดิเฉียนหลง เมื่อได้ยึดทรัพย์เหอเซินแล้ว พบว่าเงินจำนวนที่เหอเซินยักยอกไว้นั้นมีมูลค่าเท่ากับรายได้ประเทศชาติถึง 10 ปี แต่เมื่อจับกุมเหอเซินได้แล้วกลับลังเลพระทัยที่จะประหารชีวิต เนื่องจากทรงเคยรับคำพระราชบิดา จักรพรรดิเฉียนหลงเอาไว้ว่าจะไว้ชีวิตเหอเซิน เมื่อพระองค์สวรรคต แต่ได้ถูกอ๋องเฉินและบรรดาขุนนางทูลทัดทาน จึงได้ตัดสินพระทัยบังคับให้เหอเซินผูกคอตาย ตลอดรัชสมัย ทรงพบกับการก่อกบฏและเรื่องทางความมั่นคงมากมาย เช่น กบฏพรรคบัวขาว, กบฏโจรสลัดไต้หวัน กบฏพรรคเที่ยงธรรม เป็นต้น ซึ่งกบฏเหล่านี้ส่วนใหญ่ เป็นกบฏชาวฮั่นที่รวบรวมคนไว้เพื่อโค่นล้มราชวงศ์ชิงกอบกู้ราชวงศ์หมิงนั่นเอง มีพระโอรส 3 พระองค์ พระโอรสองค์โตเกิดจากพระอัครมเหสีฮีตียา ซึ่งเป็นพระอัครมเหสีที่ทรงรักยิ่ง แต่พระนางสิ้นพระชนม์ไปก่อนเมื่ออายุยังน้อย และพระโอรสอีก 2 พระองค์ ที่เกิดจากพระมเหสีหนิวฮูลู่ พระอัครมเหสีองค์ใหม่ที่ทรงแต่งตั้งขึ้นมาจากการเป็นพระมเหสี ซึ่งพระองค์ไม่เคยโปรดพระนางเลย แต่ต้องทรงสถาปนาเนื่องจากเหตุผลทางการเมือง ด้วยต้องการให้เหล่าขุนนางและประชาราษฎร์เห็นถึงพระทัยเมตตาของพระองค์ เหตุที่ไม่โปรดพระมเหสีหนิวฮูลู่ นี้ เพราะพระนางเป็นบุตรสาวของขุนนางที่เคยเป็นพรรคพวกเหอเซินมาก่อน จึงไม่ไว้วางพระทัย ในรัชสมัยของจักรพรรดิเจี่ยชิ่ง ปรากฏกรณีที่กระทบต่อความมั่นคงของชาติมาตลอด เช่น เกิดกบฏต่างๆ การที่เวียดนามขอแยกออกไปเป็นประเทศเอกราช เป็นต้น ซึ่งพระองค์ทรงใช้ทั้งนโยบายที่ผ่อนปรนและแข็งกร้าวสลับกันไป เช่น การห้ามชาวแมนจูแต่งงานกับชาวฮั่นเด็ดขาด หรือ การห้ามชาวคริสต์เผยแพร่ศาสนาเด็ดขาด รวมทั้งการห้ามราษฎรสูบฝิ่นด้วย เป็นต้น ซึ่งสิ่งทั้งหมดเหล่านี้จะส่งผลต่อความมั่นคงตามมาในภายหลัง ในปลายรัชสมัย มีพระพลานามัยอ่อนแอ ด้วยทรงสูงพระชันษาประกอบกับการกลัดกลุ้มพระทัยอยู่บ่อยครั้งเกี่ยวกับราชภารกิจ สวรรคตในปี พ.ศ. 2363 (ค.ศ. 1820) พระชนมายุ 61 พรรษา รวมระยะเวลาที่ได้ทรงครองราชย์ 24 ปี และผู้ที่ครองราชย์สืบต่อมาคือ องค์ชายเหมี่ยนหนิง ภายหลังขึ้นครองราชย์ทรงพระนามว่า สมเด็จพระจักรพรรดิเต้ากวง.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและจักรพรรดิเจียชิ่ง · ดูเพิ่มเติม »

จิ้นเฟย์

ระอัครชายาจิ้น หรือ จิ้นเฟย ทรงเป็นพระอัครชายาในพระจักรพรรดิเฉียนหลง ประสูติในปี..1740 ในตระกูลฟู่ฉาของแมนจู ทรงเป็นธิดาของฟู่ฉา เต๋อเค่อจิงเอ๋อ และทรงเป็นลูกพี่ลูกน้องกับสมเด็จพระจักรพรรดินีเสี้ยวเสียนฉุน พระจักรพรรดินีองค์แรกของพระจักรพรรดิเฉียนหลง ทรงเข้าวังถวายองค์เมื่อปี..1763 ได้รับพระยศเป็นพระสนมจิ้นขั้นกุ้ยเหริน และคงพระยศจนกระทั้งสิ้นรัชกาลของพระสวามี จนเมื่อพระจักรพรรดิเจียชิ่งครองราชย์พระนางก็ไม่ได้รับการเลื่อนพระยศแต่อย่างใด พระนางพระชนม์ยืนจนกระทั้งถึงรัชสมัยของพระจักรพรรดิเต้ากวงซึ่งเป็นพระนัดดาของพระจักรพรรดิเฉียนหลง พระจักรพรรดิเต้ากวงจึงทรงเลื่อนพระยศของพระนางให้ขึ้นเป็นพระอัครชายาจิ้น (จิ้นเฟย) พระนางสิ้นพระชนม์ในปี..1822 ซึ่งเป็นปีที่สองแห่งการครองราชย์ของพระจักรพรรดิเต้ากวง รวมพระชนม์ได้ 82 ชันษา.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและจิ้นเฟย์ · ดูเพิ่มเติม »

ตุนเฟย์

ระอัครชายาตุน หรือ ตุนเฟย (Consort Dun,, 27 มีนาคม 1746 – 6 มีนาคม 1806) พระอัครชายาในพระจักรพรรดิเฉียนหลงประสูติเมื่อวันที่ 27 มีนาคม..1746 เป็นธิดาของ หวังซื่อเก๋อ ผู้บัญชาการกองธงขาวหนึ่งในแปดกองธงของราชวงศ์ชิงเข้าวังถวายตัวเมื่อ..1764 และได้รับพระยศเป็นพระสนมหย่งขั้นฉางไจ้และได้รับเลื่อนพระยศอีกครั้งเป็นพระสนมหย่งขั้นกุ้ยเหรินและใน..1770 ก็ได้รับเลื่อนพระยศเป็นพระชายาตุน (ตุนผิน) และใน..1774 ก็ได้รับพระยศเป็นพระอัครชายาตุน (ตุนเฟย) และมีประสูติกาลองค์หญิงกู้หลุนหอเสี้ยวซึ่งเป็นพระธิดาองค์สุดท้ายในพระจักรพรรดิเฉียนหลงและพระจักรพรรดิก็โปรดปรานพระธิดาองค์นี้เป็นอย่างมาก ใน..1778 พระนางทำร้ายร่างกายนางกำนัลส่วนพระองค์ในตำหนักจนเสียชีวิตซึ่งการทำร้ายผู้อื่นจนตายถือเป็นความผิดร้ายแรงและโทษของพระนางก็ร้ายแรงมากแต่เพราะพระนางเป็นพระมารดาขององค์หญิงกู้หลุนเหอเสี้ยวพระจักรพรรดิจึงลดพระยศของพระนางจากตำแหน่งเฟยลงมาเป็นตำแหน่งผินและต้องรับผิดชอบต่อครอบครัวของนางกำนัลที่เสียชีวิตสองปีถัดมาคือ..1780 พระนางก็ได้รับพระยศเป็นเฟยดังเดิมพระนางสิ้นพระชนม์วันที่ 6 มีนาคม..1806 รวมพระชนม์ได้ 59 ชันษา หมวดหมู่:บุคคลในยุคราชวงศ์ชิง.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและตุนเฟย์ · ดูเพิ่มเติม »

ซุ่นกุ้ยเหริน

ระสนมซุ่น หรือ ซุ่นกุ้ยเหริน พระสนมในพระจักรพรรดิเฉียนหลง ประสูติปี..1748 เป็นธิดาของหนิ่วฮู่ลู่ อ้ายปี้ต๋า และเป็นหลานสาวของหนิ่วฮู่ลู่ เอ้อปี้หลง เข้าวังถวายตัวใน..1766 เป็นพระสนมฉางขั้นกุ้ยเหริน และใน..1768 ก็ได้รับพระยศเป็นพระชายาซุ่น (ซุ่นผิน) และได้รับการเลื่อนพระยศเป็นพระอัครชายาซุ่น (ซุ่นเฟย) ใน..1776 แต่เพราะสมเด็จพระพันปีหลวงฉงชิ่งสิ้นพระชนม์พระนางจึงได้รับการเลื่อนพระยศอย่างเป็นทางการในปี..1777 ในปี..1788 พระนางก็ถูกลดขั้นจากขั้นเฟยลงมาเป็นเพียงพระสนมซุ่นขั้นกุ้ยเหรินตามเดิมโดยไม่สามารถหาเหตุผลในการที่ถูกลดขั้นพระยศได้เลยและต่อมาไม่นานพระนางก็สิ้นพระชนม์ในปีเดียวกันรวมพระชนม์ได้ 40 ชันษา หมวดหมู่:บุคคลในยุคราชวงศ์ชิง.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและซุ่นกุ้ยเหริน · ดูเพิ่มเติม »

เหอเซิน

หอเซิน (Heshen,, 1 กรกฎาคม 1750 – 22 กุมภาพันธ์ 1799) ขุนนางคนสำคัญในรัชสมัย จักรพรรดิเฉียนหลง แห่ง ราชวงศ์ชิง เขาเป็นสมาชิกของ กองธงแดง ซึ่งเป็นหนึ่งใน แปดกองธง และเป็นที่รู้จักจากการเป็นขุนนางที่ทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวงที่สุดในประวัติศาสตร์จีน เมื่ออดีตจักรพรรดิเฉียนหลงซึ่งขณะนั้นเป็น ไท่ซ่างหวง หรือพระเจ้าหลวงสวรรคตในวันที่ 7 กุมภาพัน..

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและเหอเซิน · ดูเพิ่มเติม »

เฉิงผิน

ระชายาเฉิง หรือ เฉิงผิน (Imperial Concubine Cheng, ? – 1784) พระชายาในพระจักรพรรดิเฉียนหลงประสูติปีใดไม่ปรากฏเป็นธิดาของ หนิ่วฮู่ลู่ มู่เค่อเติง เข้าวังถวายตัวใน..1757 เป็นพระสนมหลานตำแหน่งกุ้ยเหริน และใน..1776 จึงได้รับพระยศเป็นพระชายาเฉิง (เฉิงผิน) พระนางสิ้นพระชนม์อย่างกะทันหันใน..1784 จากการพลัดตกน้ำจึงจมน้ำสิ้นพระชนม์ในขณะที่เสด็จประพาสทางใต้กับพระจักรพรรดิเฉียนหลง หมวดหมู่:บุคคลในยุคราชวงศ์ชิง.

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและเฉิงผิน · ดูเพิ่มเติม »

7 กุมภาพันธ์

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 38 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 327 วันในปีนั้น (328 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: จักรพรรดิเฉียนหลงและ7 กุมภาพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Qianlong Emperorสมเด็จพระจักรพรรดิเฉียนหลงจักรพรรดิ์เฉียนหลงเฉียนหลง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »