โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คตินิยมศิลปะญี่ปุ่น

ดัชนี คตินิยมศิลปะญี่ปุ่น

มพ์โปสเตอร์โดยอ็องรี เดอ ตูลูซ-โลแทร็ก ค.ศ. 1892 คตินิยมศิลปะญี่ปุ่น (Japonism หรือ Japonisme) เดิมมาจากภาษาฝรั่งเศสที่ใช้ในภาษาอังกฤษด้วย เป็นคำที่หมายถึงศิลปะตะวันตกที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะของญี่ปุ่น คำนี้ใช้เป็นครั้งแรกโดยชูลส์ แคลตีในหนังสือ L'Art Français en 1872 (ศิลปะฝรั่งเศสของปี ค.ศ. 1872) ที่ตีพิมพ์ในปีเดียวกันColta F. Ives, "The Great Wave: The Influence of Japanese Woodcuts on French Prints", 1974, The Metropolitan Museum of Art, ISBN 0-87099-098-5 งานที่ถ่ายทอดจากพื้นฐานของศิลปะญี่ปุ่นโดยตรงในศิลปะตะวันตกโดยเฉพาะงานที่สร้างโดยศิลปินชาวฝรั่งเศสเรียกว่า "japonesque" ("แบบญี่ปุ่น") ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1860 ภาพพิมพ์แกะไม้ภาพอุกิโยะ (ukiyo-e) ของญี่ปุ่นกลายเป็นแหล่งของแรงบันดาลใจสำหรับจิตรกรสมัยอิมเพรสชันนิสม์ชาวยุโรปในฝรั่งเศสและในประเทศตะวันตกและในที่สุดก็รวมไปถึงจิตรกรนวศิลป์และบาศกนิยม (cubism) ต่อมา สิ่งที่กระทบความรู้สึกของศิลปินของศิลปะญี่ปุ่นคือการละการใช้ทัศนมิติและเงา, การใช้สีจัดในบริเวณภาพที่ราบ, เสรีภาพในการจัดองค์ประกอบในการวางหัวเรื่องของภาพจากศูนย์กลางของภาพ ที่ส่วนใหญ่อยู่ในมุมทแยงด้านต่ำจากฉากหลัง.

33 ความสัมพันธ์: ชาวฝรั่งเศสบาศกนิยมฟินเซนต์ ฟัน โคคพ.ศ. 2430พิพิธภัณฑ์บริติชกามีย์ ปีซาโรกามีย์ แซ็ง-ซ็องส์กุสตาฟ คลิมต์ภาพพิมพ์แกะไม้ภาพอุกิโยะมาดามบัตเตอร์ฟลายยะมะโตะยุคเอะโดะลัทธิประทับใจศิลปะตะวันออกศิลปะตะวันตกอ็องรี เดอ ตูลูซ-โลแทร็กฮิโระชิเงะจาโกโม ปุชชีนีทัศนมิติคะสึชิกะ โฮะกุไซปอล โกแก็งปารีสปีแยร์ บอนาร์ปีแยร์-โอกุสต์ เรอนัวร์นวศิลป์แฟรงก์ ลอยด์ ไรต์แมรี เคแซตแอดการ์ เดอกาแอนต์เวิร์ปโกลด มอแนโตเกียวเจมส์ แม็คนีลล์ วิสต์เลอร์

ชาวฝรั่งเศส

วฝรั่งเศส (อังกฤษ: French, ฝรั่งเศส: Français) คือกลุ่มผสมของชาวเคลต์ ชาวเยอรมัน ชาวอิตาลี โดยมีประชากรประมาณ 85 ล้านคนทั่วโลก โดยมีประมาณ 66 ล้านคนในประเทศฝรั่งเศส ในสหรัฐอเมริกา 8.3-11 ล้านคน ในประเทศแคนาดา ประมาณ 4.7 ล้านคน และในประเทศแอฟริกาใต้ ประมาณ 2 ล้านคน และที่อื่นๆ ทั่วโลก โดยมีการขยายสังคมเพิ่มในช่วงการล่าอาณานิคม.

ใหม่!!: คตินิยมศิลปะญี่ปุ่นและชาวฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

บาศกนิยม

ผลงานแบบบาศกนิยม บาศกนิยม (cubism) เป็นลัทธิการสร้างสรรค์ศิลปะที่ได้รับผลสะท้อนมาจากอิทธิพลด้านความเจริญทางวิทยาศาสตร์ และจากลักษณะรูปแบบหน้ากากของชนเผ่าดั้งเดิมในแอฟริกา ซึ่งได้ปลุกเร้าการสร้างสรรค์แบบใหม่ รวมทั้งลักษณะการของศิลปินสมัยใหม่ที่พยายามแสวงหาลักษณะเฉพาะตัวให้กับตนเอง เพื่อไม่ให้ทับซ้อนกับลักษณะรูปแบบศิลปะกลุ่มอื่นที่ผ่านมาหรือที่มีอยู่ในยุคนั้น ซึ่งมีหลักสุนทรียภาพที่แสดงรูปทรงศิลปะในลักษณะผันแปรความจริง โดยให้มีลักษณะเป็นเหลี่ยมมุม เป็นลูกบาศก์ เป็นทรงเรขาคณิต เพื่อสร้างความคิดรวบยอดเชิงสามมิติให้ปรากฏในผืนระนาบสองมิติหรือสามมิติ แสดงออกทั้งงานจิตรกรรมและประติมากรรม หากเป็นงานจิตรกรรมรูปแบบผลงานก็จะสามารถแสดงลักษณะปรากฏทั้งด้านหน้า ด้านข้าง และด้านหลังบนพื้นระนาบไปพร้อมกัน บางทีก็แสดงการทับซ้อนและปิดบังระหว่างกัน รวมทั้งมีการตัดทอนรูปทรงให้ดูง่ายขึ้นกว่ารูปจริงของวัตถุหรือสภาวะที่แท้จริงของรูปทรงนั้น ๆ ด้ว.

ใหม่!!: คตินิยมศิลปะญี่ปุ่นและบาศกนิยม · ดูเพิ่มเติม »

ฟินเซนต์ ฟัน โคค

ฟินเซนต์ วิลเลิม ฟัน โคค (Vincent Willem van Gogh; 30 มีนาคม ค.ศ. 1853 — 29 กรกฎาคม ค.ศ. 1890)คำอ่านในภาษาอังกฤษบริติชมีทั้ง แวน โกค หรือบ้าง แวน กอฟ พจนานุกรมสหรัฐลงว่า แวน โก คนไทยมักเรียก วินเซนต์ แวน โก๊ะ เป็นจิตรกรชาวดัตช์ในลัทธิประทับใจยุคหลัง ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้มีชื่อเสียงและอิทธิพลมากที่สุดในประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตก เขาสร้างสรรค์งานศิลป์กว่า 2,100 ชิ้นในเวลาเพียงสิบปีกว่า ในจำนวนนี้เป็นภาพสีน้ำมัน 860 ชิ้น ซึ่งส่วนใหญ่ผลิตขึ้นในสองปีสุดท้ายของชีวิตเขา ผลงานของเขามีทั้งภาพภูมิประเทศ ภาพนิ่ง ภาพคนเหมือน และภาพเหมือนตนเอง ซึ่งล้วนมีลักษณะเด่นเป็นสีสันจัดจ้านและงานพู่กันที่ฉวัดเฉวียนแฝงอารมณ์ชวนประทับใจอันช่วยสร้างรากฐานให้แก่ศิลปะสมัยใหม่ หลังทนทุกข์เพราะไข้ใจและความจนมานานหลายปี เขาปลิดชีวิตตนเองเมื่ออายุได้ 37 ปี เขาเกิดในครอบครัวชนชั้นกลางค่อนไปทางชั้นสูง เขาเป็นเด็กที่เคร่งขรึม พูดน้อย แต่คิดมาก เมื่อโตเป็นหนุ่ม เขาทำงานเป็นนายหน้าขายศิลปกรรม จึงเดินทางบ่อย แต่เมื่อต้องย้ายบ้านไปอยู่ลอนดอน เขาก็ตกอยู่ในภาวะซึมเศร้า จึงหันไปหาศาสนา ปฏิบัติศาสนกิจในฐานะมิชชันนารีแห่งโปรเตสแตนต์ทางภาคใต้ของเบลเยียม ชีวิตเขาล่องลอยไปมาระหว่างสุขภาพอันทรุดโทรมกับความโดดเดี่ยวอ้างว้าง กระทั่งมาจับงานวาดเขียนเอาใน..

ใหม่!!: คตินิยมศิลปะญี่ปุ่นและฟินเซนต์ ฟัน โคค · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2430

ทธศักราช 2430 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1887 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: คตินิยมศิลปะญี่ปุ่นและพ.ศ. 2430 · ดูเพิ่มเติม »

พิพิธภัณฑ์บริติช

้านหน้าของ '''บริติช มิวเซียม''' ใจกลางของพิพิธภัณฑ์มีการรื้อพัฒนาใหม่ใน ปี พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) ให้เป็นมหาราชสำนักของสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 ล้อมรอบห้องอ่านหนังสือเดิม ห้องสมุดอันโด่งดังภายในบริติชมิวเซียม บริติชมิวเซียม หรือที่นิยมเรียกกันว่า พิพิธภัณฑ์อังกฤษ (British Museum) ในกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร เป็นหนึ่งในพิพิธภัณฑ์ด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของมนุษยที่สำคัญที่สุดและใหญ่ที่สุดในโลก มีการก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2296 (ค.ศ. 1753) ในเบื้องต้นวัตถุที่เก็บรวบรวมไว้ส่วนใหญ่เป็นของสะสมของเซอร์ แฮนส์ สโลน (Hans Sloane) ซึ่งเป็นแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เปิดให้บริการแก่สาธารณะเป็นครั้งแรกในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2302 (ค.ศ. 1759) ในมงตากูเฮาส์ เมืองบลูมส์เบอร์รี กรุงลอนดอน อันเป็นสถานที่ตั้งของอาคารพิพิธภัณฑ์ในปัจจุบัน บริติชมิวเซียมเป็นแหล่งรวบรวมวัตถุต่างๆ จากทุกทวีป จำนวนกว่า 7 ล้านชิ้น ซึ่งล้วนมีชื่อเสียง และมีการบันทึกเรื่องราวของวัฒนธรรมมนุษน์จากจุดเริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน วัตถุจำนวนมากถูกเก็บไว้ในชั้นใต้ดินของพิพิธภัณฑ์ เนื่องจากไม่มีเนื้อที่เพียงพอ ประธานอำนวยการพิพิธภัณฑ์คนปัจจุบัน คือเซอร์ จอห์น บอยด์ (John Boyd) และผู้อำนวยการคือ นีล แมกกรีเกอร์ (Neil MacGregor) บริติชมิวเซียมนั้นคล้ายกับพิพิธภัณฑ์ขนาดใหญ่และหอศิลปะอื่นๆ ในอังกฤษ นั่นคือ ไม่คิดค่าเข้าชม แต่อาจคิดค่าธรรมเนียมพิเศษสำหรับการจัดแสดงพิเศษชั่วคราว บริติชมิวเซียมนับว่าให้ประสบการณ์การเรียนรู้แก่ทุกคน นับตั้งแต่นักเรียน ครอบครัว จนถึงผู้ใหญ่ และยังมีประกาศนียบัตรหลังปริญญาตรี ที่เน้นศิลปะยุคคลาสสิกและศิลป์ตกแต่งของเอเชียด้ว.

ใหม่!!: คตินิยมศิลปะญี่ปุ่นและพิพิธภัณฑ์บริติช · ดูเพิ่มเติม »

กามีย์ ปีซาโร

“ภาพเหมือนตนเอง” ค.ศ. 1898 “Avenue de l'Opera” ค.ศ. 1898 “Bäuerin” ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 กามีย์ ปีซาโร (Camille Pissarro) หรือ ฌากอบ-อาบราอาม-กามีย์ ปีซาโร (Jacob-Abraham-Camille Pissarro; 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1830 - 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1903) เป็นจิตรกรสมัยอิมเพรสชันนิสม์แบบฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพสีน้ำมัน ความสำคัญของกามีย์ ปีซาโรมิใช่เพียงการเขียนภาพแบบอยู่ที่อิมเพรสชันนิสม์แต่ยังเป็นศิลปินคนสำคัญของขบวนการที่รวมทั้งปอล เซซาน และปอล โกแก็ง.

ใหม่!!: คตินิยมศิลปะญี่ปุ่นและกามีย์ ปีซาโร · ดูเพิ่มเติม »

กามีย์ แซ็ง-ซ็องส์

ร์ล กามีย์ แซ็ง-ซ็องส์ ชาร์ล กามีย์ แซ็ง-ซ็องส์ (Charles Camille Saint-Saëns;; 9 ตุลาคม พ.ศ. 2378–16 ธันวาคม พ.ศ. 2464) เป็นคีตกวีและนักดนตรีชาวฝรั่ง.

ใหม่!!: คตินิยมศิลปะญี่ปุ่นและกามีย์ แซ็ง-ซ็องส์ · ดูเพิ่มเติม »

กุสตาฟ คลิมต์

กุสตาฟ คลิมต์ กุสตาฟ คลิมต์ (เกิด 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2405 ถึงแก่กรรม 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2461) จิตรกรชาวออสเตรียและมัณฑนากรหัวก้าวหน้าแห่งออสเตรียในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 อันเป็นช่วงเวลาที่ศิลปะแนวใหม่ หรือ Art Nouveau กำลังงอกงามในยุโรป ผลงานของเขาแสดงให้เห็นถึงจุดเหลื่อมระหว่างศิลปะประยุกต์ ที่สร้างเพื่อการตกแต่ง กับงานวิจิตรศิลป์ที่ศิลปินสร้างขึ้นเพื่อเสนอสาระและคุณค่าในตัวงาน.

ใหม่!!: คตินิยมศิลปะญี่ปุ่นและกุสตาฟ คลิมต์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาพพิมพ์แกะไม้

''Four horsemen of the Apocalypse'' โดย อัลเบรชท์ ดือเรอร์ ภาพพิมพ์แกะไม้ (Woodcut) เป็นศิลปะการพิมพ์แบบนูน โดยที่ภาพที่จะพิมพ์ใช้แกะบนผิวไม้ เมื่อต้องการพิมพ์ก็จะทาส่วนพิมพ์ด้วยลูกกลิ้งมือ ทำให้หมึกเกาะบริเวณที่ต้องการจะพิมพ์แต่ไม่เกาะบนส่วนอื่นๆ ของพิมพ์ที่ไม่ต้องการจะพิมพ์ การพิมพ์หลายสีก็ใช้พิมพ์ไม้หลายพิมพ์ แต่ละสีก็จะใช้พิมพ์ต่างจากสีอื่น ศิลปะการแกะไม้สำหรับภาพพิมพ์แกะไม้เรียกว่า การแกะพิมพ์สำหรับภาพพิมพ์แกะไม้ (Woodcut printmaking) มักจะไม่ใช้ในการแกะเฉพาะแต่ละภาพ แต่มักจะใช้สำหรับการแกะพิมพ์ที่มีทั้งตัวหนังสือแล.

ใหม่!!: คตินิยมศิลปะญี่ปุ่นและภาพพิมพ์แกะไม้ · ดูเพิ่มเติม »

ภาพอุกิโยะ

ทิวทัศน์ของภูเขาฟูจิภาพหนึ่งในชุด “สถานี 53 สถานีบนเส้นทางโทไกโด” (Fifty-three Stations of the Tōkaidō) โดยฮิโระชิเงะ ตีพิมพ์ ค.ศ. 1850 ภาพอุกิโยะ (浮世絵, Ukiyo-e) คือกลุ่ม (genre) ของภาพศิลปะของของญี่ปุ่นที่เกิดขึ้นในยุคเอะโดะ (Edo) ซึ่งเป็นภาพที่แสดงความเกี่ยวเนื่องกับชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของคนชั้นกลางในยุคนั้น โดยมีหัวข้อเกี่ยวกับสิ่งบันเทิงเริงรมย์ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงการขับร้อง สตรีในแหล่งเริงรมย์ ภูมิทัศน์ แต่มีบางส่วนที่อยู่ในหัวข้อของประวัติศาสตร์ ราชสำนัก และศาสนาด้วย โดยภาพศิลปะในกลุ่มนี้ มีทั้งภาพเขียนด้วยมือ (肉筆画) ซึ่งมีราคาสูงกว่าเพราะแต่ละภาพมีเพียงชิ้นเดียว และ ภาพที่พิมพ์จากแม่พิมพ์ไม้ (木版画) ที่มีราคาถูกกว่าเนื่องจากสามารถพิมพ์ได้จำนวนมากกว่า คนทั่วไปสามารถซื้อหาได้ง่าย ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปจะเป็นภาพพิมพ์จากแม่พิมพ์ไม้นี้ คำว่า “อุกิโยะ” (ukiyo) ความหมายแต่เดิมได้รับอิทธิพลจากศาสนาพุทธ เขียนเป็นตัวหนังสือภาษาญี่ปุ่นว่า 憂世 หมายถึง โลกนี้มีแต่ความทุกข์ หลังจากนั้นรับความหมายจากภาษาจีนของคำว่า 浮生 ซึ่งหมายถึง ชีวิตนี้ไม่เที่ยง (แปรปรวน) เข้ามารวมกัน กลายเป็นตัวเขียนใหม่คือ 浮世 ซึ่งหมายถึง โลกนี้ไม่เที่ยง ผู้คนในยุคหลังที่ใช้ชีวิตบันเทิงเริงรมย์ และหันหลังให้ความเคร่งครัดทางศาสนาในยุคก่อนหน้า มองว่าในเมื่อโลกนี้ไม่มีอะไรที่เที่ยงแท้แน่นอน ก็ควรปล่อยตัวปล่อยใจไปกับสิ่งที่บันเทิงใจ (浮かれる ukareru) จึงนำศัพท์นี้มาใช้ในความหมายบันเทิงเริงรมย์ ซึ่งตรงกันข้ามกับความหมายในยุคแรก ภาพที่วาดออกมาตามแนวนี้ จึ่งเป็นภาพของสิ่งบันเทิงใจในสมัยนั้น ไม่ว่าจะเกี่ยวกับละครคะบุกิ ซูโม่ เกอิชา หญิิงงามเมืองทั้งระดับทั่วๆ ไป และระดับสูงที่อยู่บริเวณ Yoshimura ซึ่งมีชื่อเรียกว่า Oira (花魁) ไปจนถึงภาพที่แสดงการเสพกามที่เรียกว่า ชุงงะ (春画 shunga) ลักษณะดังกล่าวทำให้ “ukiyo-e” หรือ “ภาพของโลกที่น่าบันเทิงใจ” เป็นกลุ่มภาพที่มีเอกลักษณ์ของตนเองต่างไปจากภาพเขียนประเภทอื่น นักประพันธ์ร่วมสมัยอะซะอิ เรียวอิ (Asai Ryōi) ได้บรรยายถึง เรื่องราวความเปลี่ยนแปลงของความหมายตามยุคสมัยของคำว่า “อุกิโยะ” ในนิยายชื่อ Ukiyo monogatari (浮世物語 หรือ "ตำนานของ อุกิโยะ") ที่เขียนในปี..

ใหม่!!: คตินิยมศิลปะญี่ปุ่นและภาพอุกิโยะ · ดูเพิ่มเติม »

มาดามบัตเตอร์ฟลาย

ปสเตอร์อุปรากรเรื่อง มาดามบัตเตอร์ฟลาย ของ จาโกโม ปุชชีนี (วาดโดยอดอลโฟ โฮเฮนสตน์, 1854–1928) มาดามบัตเตอร์ฟลาย (Madama Butterfly) เป็นอุปรากรความยาว 3 องก์ (บทประพันธ์ดั้งเดิมมี 2 องก์) ประพันธ์โดย จาโกโม ปุชชีนี คีตกวีชาวอิตาลี คำร้องโดยลุยจิ อิลลิกา (1857 – 1919) เปิดการแสดงครั้งแรกเมื่อปี 1904 เนื้อหากล่าวถึงเรื่องราวโศกนาฏกรรมความรักระหว่างหญิงสาวชาวญี่ปุ่นกับนายทหารเรือชาวอเมริกัน ในไทยได้มีการสร้างเป็นละครเวทีในชื่อเรื่อง "โจโจ้ซัง" และได้มีการดัดแปลงเป็นบทละครเรื่องสาวเครือฟ้า นักวิชาการคนหนึ่งระบุว่า เรื่องราวของอุปรากรดังกล่าวอิงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในนะงะซะกิในต้นคริสต์ทศวรรษ 1890 รุ่นดั้งเดิมของอุปรากรซึ่งมี 2 องก์ แสดงรอบปฐมทัศน์เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 1904 ที่โรงอุปรากรลา สกาลาในมิลาน ได้รับการยอมรับน้อยมากแม้จะมีนักร้องที่มีชื่อเสียงหลายคนรับบทนำ ส่วนใหญ่เป็นเพราะเสร็จช้าและเวลาฝึกซ้อมไม่เพียงพอ ปุชชีนีทบทวนอุปรากร แบ่งองก์ที่สองเป็นสององก์ และเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ วันที่ 28 พฤษภาคม 1904 รุ่นนี้มีการแสดงในเบรสเซียและประสบความสำเร็จอย่างสูง มาดามบัตเตอร์ฟลาย อยู่ในรายการอุปรากรที่มีการแสดงทั่วโลกมากที่สุด อันดับที่ 7 ของโอเปร.

ใหม่!!: คตินิยมศิลปะญี่ปุ่นและมาดามบัตเตอร์ฟลาย · ดูเพิ่มเติม »

ยะมะโตะ

มะโตะ เป็นคำทับศัพท์จากภาษาญี่ปุ่น (ในประเทศไทยบางครั้งเขียนเป็น "ยามาโตะ") สามารถหมายถึง.

ใหม่!!: คตินิยมศิลปะญี่ปุ่นและยะมะโตะ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคเอะโดะ

อะโดะ หรือยุคที่เรียกว่า ยุคโทะกุงะวะ (徳川時代 Tokugawa-jidai) ค.ศ. 1603 - ค.ศ. 1868 คือยุคที่มีไดเมียวตระกูลโทะกุงะวะเป็นโชกุน เริ่มเมื่อโทะกุงะวะ อิเอะยะซุ ได้รวบอำนาจและตั้งรัฐบาลโชกุนขึ้นที่เอโดะ (ปัจจุบันคือโตเกียว) ใน..

ใหม่!!: คตินิยมศิลปะญี่ปุ่นและยุคเอะโดะ · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิประทับใจ

''Avenue de l'Opéra'') โดยกามีย์ ปีซาโร ลัทธิประทับใจ หรือ อิมเพรสชันนิซึม (impressionism) เป็นขบวนการศิลปะที่เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งเริ่มต้นจากการรวมตัวกันอย่างหลวม ๆ ของจิตรกรทั้งหลายที่มีนิวาสถานอยู่ในกรุงปารีส พวกเขาเริ่มจัดแสดงงานศิลปะในช่วงทศวรรษที่ 1860 ชื่อของขบวนการนี้มีที่มาจากภาพวาดของโกลด มอแน ที่มีชื่อว่า Impression, Sunrise ("Impression, soleil levant" ในภาษาฝรั่งเศส) และนักวิจารณ์ศิลปะนามว่าหลุยส์ เลอรัว (Louis Leroy) ก็ได้ให้กำเนิดคำคำนี้ขึ้นมาอย่างไม่ตั้งใจในบทวิจารณ์ศิลปะเชิงเสียดสีซึ่งตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์เลอชารีวารี (Le Charivari) อิทธิพลของลัทธิประทับใจยังแผ่ออกจากวงการศิลปะไปยังดนตรีและวรรณกรรม.

ใหม่!!: คตินิยมศิลปะญี่ปุ่นและลัทธิประทับใจ · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะตะวันออก

ทั่วไปแล้วมักจะลงความเห็นกันว่า ศิลปะตะวันออกเป็นศิลปะอุดมคติ อันเป็นศิลปะที่มิได้ยึดถือเอาความจริงตามธรรมชาติเป็นหลักจนเกินไป หรือทำเหมือนธรรมชาติทุกกระเบียดนิ้ว และแม้ว่าจะใช้ลักษณะรูปแบบของธรรมชาติเป็นพื้นฐาน แต่ก็มิได้เน้นจนเกิดความสำคัญเท่ากับลักษณะรูปแบบที่สร้างสรรค์โดยจินตนาการ เพราะฉะนั้นเมื่อสร้างสรรค์รูปที่ประสงค์จะเอาไว้สักการบูชา จึงพยายามถ่ายทอดแนวคิดออกมาให้มีลักษณะที่สูงกว่าธรรมชาติ สังเกตได้จากพระพุทธรูป ซึ่งมีส่วนประกอบพระวรกาย เช่นเดียวกับมนุษย์ แต่ก็มิได้คล้อยตามลักษณะอันแท้จริงของมนุษย์ตามธรรมชาติ ศิลปะตะวันออก เป็นศิลปะที่มีลักษณะเด่นชัดในเรื่องของเอกลักษณ์ อันเนื่องมาจากความคิดที่ประดิษฐ์ขึ้นอย่างวิจิตรบรรจงของคนในชาติ นอกจากนั้นศิลปะยังแบ่งออกตามฐานะของบุคคล เช่น ในราชสำนักก็ย่อมจะต้องประณีตวิจิตรตระการตา เพราะเป็นสิ่งของใกล้ชิดกับกษัตริย์ ส่วนศิลปะของบุคคลทั่วไปก็แสดงฐานะที่แตกต่างกันอีกด้วย เช่น สิ่งของเครื่องใช้ของเศรษฐีกับสามัญชนทั่วไป เป็นต้น ที่เป็นไปตามฐานะของบุคคลเช่นนี้ ก็เพื่อความเหมาะสมกับโอกาสที่จะใช้ด้วย เช่น เครื่องราชูปโภคของกษัตริย์ ก็เพื่อแสดงความสง่างามสมศักดิ์ศรีของการเป็นกษัตริย์ อันเป็นประมุขของประเทศ เพราะกษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะเป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นเอกราชของชาติอีกด้วย ศิลปะตะวันออกได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นอย่างฉลาดและแฝงไว้ด้วยแนวคิดและรูปแบบอันสร้างสรรค์ขึ้นเฉพาะเป็นเรื่อง ๆ ไป เช่น การสร้างสถูปเจดีย์ในพระพุทธศาสนา ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาร..

ใหม่!!: คตินิยมศิลปะญี่ปุ่นและศิลปะตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะตะวันตก

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: คตินิยมศิลปะญี่ปุ่นและศิลปะตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

อ็องรี เดอ ตูลูซ-โลแทร็ก

อ็องรี เดอ ตูลูซ-โลแทร็ก “ลากูลู (หลุยส์ เวเบ) มาถึงมูแล็งรูฌ” (La Goulue arriving at the Moulin Rouge) (ค.ศ. 1892) อ็องรี มารี แรมง เดอ ตูลูซ-โลแทร็ก-มงฟา (Henri Marie Raymond de Toulouse-Lautrec-Monfa; 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 1864 - 9 กันยายน ค.ศ. 1901) เป็นจิตรกร ช่างพิมพ์ ช่างเขียนแบบ และอิลลัสเตรเตอร์ (Illustrator) สมัยอิมเพรสชันนิสม์สมัยหลังคนสำคัญของประเทศฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนโปสเตอร์ของชีวิตผู้คนในบริเวณมงมาตร์ และผู้ชอบใช้ชีวิตในวงการของความฟุ้งเฟ้อและโรงละครในสมัยปลายคริสต์ศตวรรษ (fin de siècle) ของปารี.

ใหม่!!: คตินิยมศิลปะญี่ปุ่นและอ็องรี เดอ ตูลูซ-โลแทร็ก · ดูเพิ่มเติม »

ฮิโระชิเงะ

อุตะงะวะ ฮิโระชิเงะ (ภาษาญี่ปุ่น: 歌川広重, ภาษาอังกฤษ: Hiroshige หรือ Utagawa Hiroshige หรือ Andō Hiroshige (安藤広重)) (ค.ศ. 1797 - 12 ตุลาคม ค.ศ. 1858) เป็นจิตรกรคนสำคัญของประเทศญี่ปุ่นในคริสต์ศตวรรษที่ 17 มีความเชี่ยวชาญทางการสร้างภาพพิมพ์แกะไม้ (woodcut) สมัยที่เรียกว่า “ภาพอุกิโยะ” ซึ่งเป็นภาพพิมพ์แกะไม้ที่สร้างระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 17 ถึง 20 ที่เป็นภาพภูมิทัศน์ ตำนานจากประวัติศาสตร์ การละคร และจากชีวิตความสนุก ฮิโระชิเงะเกิดเมื่อปี..

ใหม่!!: คตินิยมศิลปะญี่ปุ่นและฮิโระชิเงะ · ดูเพิ่มเติม »

จาโกโม ปุชชีนี

กโม ปุชชีนี จาโกโม อันโตนีโอ โดเมนีโก มีเกเล เซกอนโด มารีอา ปุชชีนี (Giacomo Puccini 22 ธันวาคม พ.ศ. 2401 - 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2467) เป็นคีตกวีชาวอิตาเลียน เกิดที่เมืองลูคคา ประเทศอิตาลี เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2401 (ค.ศ. 1858) เขาเป็นที่รู้จักในนามของ ปุชชินี และได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในคีตกวีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 20 อุปรากรที่โด่งดังของเขาได้แก่เรื่อง มาดามบัตเตอร์ฟลาย และ ทอสก้า ปุชชินีเสียชีวิตที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม ในวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2467 (ค.ศ. 1924).

ใหม่!!: คตินิยมศิลปะญี่ปุ่นและจาโกโม ปุชชีนี · ดูเพิ่มเติม »

ทัศนมิติ

ทัศนมิติแบบสองจุด ทัศนมิติ (perspective) หรือทับศัพท์ว่าเพอร์สเปกทีฟ คือการเขียนภาพให้ปรากฏออกมาในลักษณะที่เหมือนการมองเห็นจริง โดยปรกติมักจะใช้เพื่อการนำเสนอภาพจำลองของแนวความคิดในการออกแบบผลงาน เช่นภาพงานอาคารในงานสถาปัตยกรรม ภาพการตกแต่งภายในสำหรับงานมัณฑนศิลป เป็นต้น.

ใหม่!!: คตินิยมศิลปะญี่ปุ่นและทัศนมิติ · ดูเพิ่มเติม »

คะสึชิกะ โฮะกุไซ

กุไซ หรือ คะสึชิกะ โฮะกุไซ (葛飾北斎?, Hokusai หรือ Katsushika Hokusai) (ตุลาคม หรือ พฤศจิกายน ค.ศ. 1760 - 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1849Nagata) เป็นจิตรกรภาพอุกิโยะและภาพพิมพ์แกะไม้ชาวญี่ปุ่นของสมัยเอะโดะของคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมจีน โฮะกุไซเกิดที่เอะโดะ (ปัจจุบันคือโตเกียว) งานที่มีชื่อเสียงของโฮะกุไซที่เป็นที่รู้จักกันดีคือภาพพิมพ์แกะไม้ชุด “ทัศนียภาพ 36 มุมของภูเขาฟูจิ” (富嶽三十六景) ที่รวมภาพ “คลื่นยักษ์นอกฝั่งคะนะงะวะ” ซึ่งเป็นภาพสัญลักษณะอันเป็นที่รู้จักกันดีไปทั่วโลกที่เขียนในคริสต์ทศวรรษ 1820 โฮะกุไซ “ทัศนียภาพ 36 มุม” เพื่อเป็นทั้งการตอบสนองความต้องการของกิจการท่องเที่ยวภายในประเทศที่ขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว และความหลงใหลส่วนตัวในการวาดภาพภูเขาฟู.

ใหม่!!: คตินิยมศิลปะญี่ปุ่นและคะสึชิกะ โฮะกุไซ · ดูเพิ่มเติม »

ปอล โกแก็ง

ออแฌน อ็องรี ปอล โกแก็ง (Eugène Henri Paul Gauguin, 7 มิถุนายน ค.ศ. 1848 - 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1903) เป็นจิตรกรสมัยอิมเพรสชันนิสม์สมัยหลังชาวฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพเขียนสีน้ำมัน โกแก็งเกิดเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ. 1848 ที่ปารีสในประเทศฝรั่งเศส และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1903 ที่เกาะในเฟรนช์โปลินีเซีย นอกจากการเป็นจิตรกรสมัยลัทธิประทับใจยุคหลังแล้ว โกแก็งยังทดลองการเขียนที่ใช้สีฉูดฉาดที่นำไปสู่การเขียนแบบสังเคราะห์นิยม (Synthetist) ของศิลปะสมัยใหม่ การเขียนของโกแก็งเป็นวิธีที่มีอิทธิพลมาจากลัทธิคลัวซอนนิสม์ที่นำไปสู่งานเขียนที่เป็นแบบที่เรียกว่าบรรพกาลนิยม (Primitivism) และกลับไปสู่จิตรกรรมท้องทุ่ง (pastoral) นอกจากนั้นโกแก็งก็ยังมีอิทธิพลต่อภาพพิมพ์ลายแกะ (engraving) และภาพพิมพ์แกะไม้ที่ยกระดับขึ้นเป็นงานศิลป.

ใหม่!!: คตินิยมศิลปะญี่ปุ่นและปอล โกแก็ง · ดูเพิ่มเติม »

ปารีส

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: คตินิยมศิลปะญี่ปุ่นและปารีส · ดูเพิ่มเติม »

ปีแยร์ บอนาร์

ปีแยร์ บอนาร์ (Pierre Bonnard) (3 ตุลาคม ค.ศ. 1867 - 23 มกราคม ค.ศ. 1947) เป็นจิตรกรชาวฝรั่งเศสของคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรม และสร้างศิลปะการพิมพ์ (printmaking) ผู้เป็นผู้ก่อตั้งกลุ่มเลเนบีส์ (Les Nabis) คนหนึ่ง.

ใหม่!!: คตินิยมศิลปะญี่ปุ่นและปีแยร์ บอนาร์ · ดูเพิ่มเติม »

ปีแยร์-โอกุสต์ เรอนัวร์

อกุสต์ เรอนัวร์ ปีแยร์-โอกุสต์ เรอนัวร์ (Pierre-Auguste Renoir; 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2383 - 3 ธันวาคม พ.ศ. 2462) เป็นจิตรกรชาวฝรั่งเศส เป็นที่รู้กันว่าเขาคือหนึ่งในศิลปินในกลุ่มอิมเพรสชันนิสม์ที่ให้ความสำคัญกับการใช้สีสันที่สะท้อนอารมณ์ความรู้สึกของศิลปินในแบบฉับพลัน งานของเรอนัวร์ ส่วนมากจะเน้นที่สวยงาม อ่อนหวานของธรรมชาติและผู้หญิง ภาพของเรอนัวร์ยังสะท้อนวิถีชีวิตและวิพากษ์ระบบศักดินาของฝรั่งเศสช่วงปลายศตวรรษที่ 18 บิดาเป็นช่างตัดเสื้อ เป็นบุตรคนที่ 6 จาก 7 คน ต่อมาในอายุ 23 ปี เรอนัวร์สมัครใจที่จะเป็นนักวาดภาพอิสระ เรอนัวร์เป็นจิตรกรที่ประสบความลำบากอยู่มากมาย เพราะเรอนัวร์เป็นผู้ที่ชอบวาดภาพเปลือย ในช่วง 1890 เป็นต้นไป เรอนัวร์จะวาดภาพเปลือยอย่างอิสระ ในช่วงที่เป็นไขข้ออักเสบ ถึงจะนั่งรถเข็นหรือเอาพู่กันมาติดมือข้างแข็งไว้ก็ตาม เขาก็ให้คนอื่นระบายภาพให้ คำว่า "ดอกไม้" คือคำสุดท้ายที่เรอนัวร์ได้พูดก่อนที่จะเสียชีวิตในขณะที่เขาจัดแบบที่เขาเขียน เรอนัวร์ได้เสียชีวิตอย่างสงบในวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2462.

ใหม่!!: คตินิยมศิลปะญี่ปุ่นและปีแยร์-โอกุสต์ เรอนัวร์ · ดูเพิ่มเติม »

นวศิลป์

นวศิลป์ หรือ อาร์นูโว ("ศิลปะใหม่") รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า ยูเกินท์ชตีล ("แบบอย่างของวารสารศิลปะที่มีชื่อว่ายูเกินท์") เป็นลักษณะศิลปะ สถาปัตยกรรม และศิลปะประยุกต์ ซึ่งได้รับความนิยมสูงสุดในช่วง..

ใหม่!!: คตินิยมศิลปะญี่ปุ่นและนวศิลป์ · ดูเพิ่มเติม »

แฟรงก์ ลอยด์ ไรต์

แฟรงก์ ลอยด์ ไรต์ แฟรงก์ ลอยด์ ไรต์ (Frank Lloyd Wright) (8 มิถุนายน พ.ศ. 2410 — 9 เมษายน พ.ศ. 2502) สถาปนิกคนสำคัญคนหนึ่งของโลกในศตวรรษที่ 20 แฟรงค์ ลอยด์ ไรต์ เกิดที่ เมืองริชแลนด์เซนเตอร์ ใน รัฐวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกา เข้าเรียนสาขาวิศวกรรมศาสตร์จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน และลาออกไปทำงานด้านสถาปัตยกรรมทั้งที่เรียนไม่จบ เขาอาศัยและตั้งสำนักงานอยู่ที่เมืองโอกพาร์ก บริเวณชานเมืองชิคาโก ในรัฐอิลลินอยส์ ปัจจุบันกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมที่สำคัญ เนื่องจากเป็นที่รวบรวมบ้านพักที่เขาออกแบบไว้กว่า 50 หลังรวมทั้งตัวสำนักงานและบ้านพักของเขาด้วย ผลงานการออกแบบในช่วงแรกของไรต์มีลักษณะเฉพาะที่เรียกว่า "Prairie Houses" ไรต์มีผลงานทั้งหมด 362 ชิ้น และประมาณการว่ายังคงอยู่ในปัจจุบัน (ปี 2005) ประมาณ 300 ชิ้น.

ใหม่!!: คตินิยมศิลปะญี่ปุ่นและแฟรงก์ ลอยด์ ไรต์ · ดูเพิ่มเติม »

แมรี เคแซต

แมรี สตีเวนสัน เคแซต (Mary Stevenson Cassatt; 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1844 - 14 มิถุนายน ค.ศ. 1926) เป็นจิตรกรสมัยอิมเพรสชันนิสม์คนสำคัญของสหรัฐอเมริกาในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึง 20 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพสีน้ำมัน และการทำภาพพิมพ์ มักจะวาดภาพชีวิตทั้งทางการสังคมและการส่วนตัวของผู้หญิงโดยเน้นความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งระหว่างแม่และลูก แมรี เคแซตใช้เวลาส่วนใหญ่ในประเทศฝรั่งเศส และเมื่อย้ายไปอยู่ปารีสแมรีก็ทำความรู้จักกับแอดการ์ เดอกา ผู้มีอิทธิพลต่องานเขียนของเคแซต ต่อมาแมรีก็ได้แสดงผลงานร่วมกับจิตรกรอิมเพรสชันนิสม์คนอื่น.

ใหม่!!: คตินิยมศิลปะญี่ปุ่นและแมรี เคแซต · ดูเพิ่มเติม »

แอดการ์ เดอกา

“ภาพเหมือน” (ราวปี ค.ศ. 1854) โดย แอดการ์ เดอกา แอดการ์ เดอกา (Edgar Degas, 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2377 - 27 กันยายน พ.ศ. 2460) จิตรกร ประติมากร ช่างภาพพิมพ์ และช่างวาด สมัยอิมเพรสชันนิสม์คนสำคัญของประเทศฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 19-20 เดอกาเป็นผู้หนึ่งที่มีส่วนก่อตั้งศิลปะแบบอิมเพรสชันนิสม์แต่เดอกามาหันหลังให้และชอบให้เรียกตนเองว่าศิลปินสัจนิยม (Realist) มากกว่ากอร์ดอนและฟอร์จ,..

ใหม่!!: คตินิยมศิลปะญี่ปุ่นและแอดการ์ เดอกา · ดูเพิ่มเติม »

แอนต์เวิร์ป

มืองแอนต์เวิร์ป แอนต์เวิร์ป (Antwerp), อันต์แวร์เปิน (Antwerpen) หรือ อ็องแวร์ส (Anvers) เป็นเมืองในประเทศเบลเยียมและเป็นเมืองหลวงของจังหวัดแอนต์เวิร์ปในฟลานเดอส์ หนึ่งในสามบริเวณของเบลเยียม แอนต์เวิร์ปมีประชากรทั้งสิ้น 472,071 (1 มกราคม 2008) Population of all municipalities in Belgium, as of 1 January 2008.

ใหม่!!: คตินิยมศิลปะญี่ปุ่นและแอนต์เวิร์ป · ดูเพิ่มเติม »

โกลด มอแน

กลด มอแน (Claude Monet) หรือ อ็อสการ์-โกลด มอแน (Oscar-Claude Monet; 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1840 - 5 ธันวาคม ค.ศ. 1926) giverny.org.

ใหม่!!: คตินิยมศิลปะญี่ปุ่นและโกลด มอแน · ดูเพิ่มเติม »

โตเกียว

ตเกียว หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่ามหานครโตเกียว (Tokyo Metropolis) หรือเรียกเอะโดะหรือเอโดะ เป็นเมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่น มีระบบการปกครองแบบพิเศษซึ่งรวมการปกครองในรูปแบบจังหวัดและเมืองไว้ด้วยกัน ทั้งนี้ เขตอภิมหานครโตเกียวจัดว่าเป็นเขตเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยรวมเขตปริมณฑลแล้วมีประชากรอาศัยอยู่ราว 35,237,000 คน) เฉพาะในตัวเมืองโตเกียว 23 แขวงการปกครองพิเศษ มีประชากรในเขตเมืองประมาณ 12 ล้านคน ถือเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในโลกเมืองหนึ่ง ประชากรทั้งหมดของโตเกียวมีทั้งหมดกว่า 35 ล้านคน โตเกียวตั้งอยู่บริเวณภูมิภาคคันโตของญี่ปุ่น คำว่า "โตเกียว" หมายถึง "นครหลวงตะวันออก" ในโตเกียวยังเป็นที่ตั้งของพระราชวังหลวงของสมเด็จพระจักรพรรดิ กรุงโตเกียวเคยเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกปี 1964 และจะเป็นเจ้าภาพครั้งที่ 2 ในปี 2020 ระหว่างวันที่ 24 กรกฎาคม – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2563.

ใหม่!!: คตินิยมศิลปะญี่ปุ่นและโตเกียว · ดูเพิ่มเติม »

เจมส์ แม็คนีลล์ วิสต์เลอร์

มส์ แม็คนีลล์ วิสต์เลอร์ (ภาษาอังกฤษ: James Abbott McNeill Whistler) (11 กรกฎาคม ค.ศ. 1834 - 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1903) เป็นจิตรกรชาวอเมริกันที่ตั้งถิ่นฐานในอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมสีน้ำมัน เจมส์ แม็คนีลล์ วิสต์เลอร์เกิดเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม ค.ศ. 1834 ที่เมืองโลเวลล์ในรัฐแมสซาชูเซตส์ในสหรัฐอเมริกา และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1903 ที่เมืองลอนดอนในอังกฤษ วิสต์เลอร์เป็นผู้นำในความคิดที่ว่า “ศิลปะเพื่อศิลปะ” (art for art's sake) ลายเซ็นที่มีชื่อเสียงของวิสต์เลอร์เป็นภาพผีเสื้อที่มีหางยาว ลายเซ็นเหมาะกับบุคลิกและลักษณะงานเขียนซึ่งเป็นลักษณะที่ละเอียดอ่อนแต่เป็นผู้ที่ชอบการเผชิญหน้า วิสต์เลอร์มองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างจิตรกรรมและดนตรีซึ่งจะเห็นจากการตั้งชื่อภาพเขียนที่ใช้ศัพท์ทางดนตรีเช่น “arrangements” “harmonies” หรือ “nocturnes” และเน้นงานเขียนในด้านความผสานของโทนสี งานชิ้นที่สำคัญที่สุดของวิสต์เลอร์คือภาพ “มารดาของวิสต์เลอร์” (Whistler's Mother) ที่มีศิลปะที่ทำล้อเลียนกันมาก วิสต์เลอร์เป็นผู้มีปฏิภาณดีและไม่อายที่จะส่งเสริมตนเอง แต่ก็ผู้มีอิทธิพลต่อศิลปะและวัฒนธรรมร่วมสมัยและมีความสัมพันธ์กับและมีอิทธิพลต่อศิลปินและนักเขียนคนอื่นๆ ในสมัยนั้นเป็นอันมาก.

ใหม่!!: คตินิยมศิลปะญี่ปุ่นและเจมส์ แม็คนีลล์ วิสต์เลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

JaponismJaponismeศิลปะแบบญี่ปุ่น

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »