โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ไฮโดรซัว

ดัชนี ไฮโดรซัว

รซัว (Hydrozoa) เป็นชั้นหนึ่งในไฟลัมไนดาเรียเป็นคลาสที่ประกอบด้วยสัตว์ประมาณ 3,000 ชนิด ส่วนใหญ่อยู่ในทะเล ระยะเมดูซาของไฮโดรซัวจะมีขนาดเล็กมาก และจะมีเยื่อบางๆ เรียกเยื่อวีลัม (Velum) ติดอยู่ตามขอบ ซึ่งเยื่อนี้จะไม่พบในระยะเมดูซาของไซโฟซัว แบ่งเป็นสองกลุ่มคือ ไฮโดรซัวที่อยู่เป็นตัวเดี่ยว ได้แก่ ไฮดรา Sarsia Liriope โกนีโอนีมัส และไฮโดรซัวที่อยุ่เป็นโคโลนี ได้แก่ โอบีเลีย กะพรุนไฟ (Physalia).

10 ความสัมพันธ์: กะพรุนน้ำจืดการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ริชาร์ด โอเวนสหรัฐสัตว์ทะเลไฟลัมไฮดรา (สกุล)ไซโฟซัวไนดาเรีย

กะพรุนน้ำจืด

กะพรุนน้ำจืด หรือ แมงกะพรุนน้ำจืด (Freshwater jellyfish) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังสกุลหนึ่ง จัดอยู่ในพวกแมงกะพรุนที่อยู่ในชั้นไฮโดรซัว ต่างจากแมงกะพรุนที่พบในทะเลที่ส่วนมากจะอยู่ในชั้นไซโฟซัว ใช้ชื่อสกุลว่า Craspedacusta (/คราส-พี-ดา-คัส-ต้า/).

ใหม่!!: ไฮโดรซัวและกะพรุนน้ำจืด · ดูเพิ่มเติม »

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

ใหม่!!: ไฮโดรซัวและการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ริชาร์ด โอเวน

ริชาร์ด โอเวน เซอร์ ริชาร์ด โอเวน (Sir Richard Owen KCB) (20 ก.ค. ค.ศ. 1804 - 18 ธ.ค. ค.ศ. 1892) เป็นนักชีววิทยา, นักกายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบ, และนักบรรพชีวินวิทยา ชาวอังกฤษ หมวดหมู่:นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ หมวดหมู่:บุคคลจากมณฑลแลงคาสเชอร์.

ใหม่!!: ไฮโดรซัวและริชาร์ด โอเวน · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: ไฮโดรซัวและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ไฮโดรซัวและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

ทะเล

ทะเลโบฟอร์ต ทะเล เป็นแหล่งน้ำเค็มขนาดใหญ่ที่ล้อมรอบด้วยพื้นดินทั้งหมดหรือบางส่วน.

ใหม่!!: ไฮโดรซัวและทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ไฟลัม

ฟลัม (phylum) เป็นขั้นอนุกรมวิธานขั้นหนึ่งในการจำแนกสัตว์ในทางวิทยาศาสตร์ (ในทางพืชนิยมใช้คำว่า ส่วน แทนไฟลัม ไฟลัมถือเป็นการจัดกลุ่มในขั้นสูงที่สุดแยกตามสายวิวัฒนาการ แต่บางครั้งก็มีการรวมไฟลัมเป็นไฟลัมใหญ่ (superphylum) อีกทีหนึ่ง เช่น สัตว์ที่มีการลอกคราบในการเจริญเติบโต (Echdysozoa) ประกอบด้วยสัตว์มีเปลือกแข็งและหนอนตัวกลม และ สัตว์ที่มีช่องปากเกิดภายหลังช่องทวาร (Deuterostomia) ประกอบด้วยปลาดาวและสัตว์มีแกนสันหลัง ไฟลัมของสัตว์ที่รู้จักกันมากที่สุด ได้แก่ มอลลัสกา, ฟองน้ำ, ไนดาเรีย, หนอนตัวแบน, นีมาโทดา, หนอนปล้อง, สัตว์ขาปล้อง, เอคคิโนเดอร์มาทา และสัตว์มีแกนสันหลัง (ซึ่งมนุษย์อยู่ในไฟลัมนี้) ถึงแม้ว่าจะมีไฟลัมทั้งหมดประมาณ 35 ไฟล่า (หน่วยของไฟลัม) ไฟลัมที่กล่าวทั้ง 9 ตัวนี้ครอบคลุมสปีชีส์ส่วนใหญ่ และทุกไฟลัมยกเว้นหนอนกำมะหยี่ ต่างก็มีสมาชิกอาศัยในมหาสมุทร.

ใหม่!!: ไฮโดรซัวและไฟลัม · ดูเพิ่มเติม »

ไฮดรา (สกุล)

รา (Hydras) เป็นสัตว์น้ำชนิดหนึ่ง ลำตัวยาวประมาณ 0.5-1 นิ้ว สืบพันธุ์ด้วยการแตกหน่อ พบได้ในแหล่งน้ำนิ่งดำรงชีวิต อย่างง่าย ๆ ตามคูน้ำ หรือสระน้ำ ซึ่งมีระบบอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายไม่ยุ่งยากสลับซับซ้อน เราจัดไฮดราให้อยู่ในจำพวกเดียวกับแมงกะพรุนแต่มีขนาด ตัวเล็กกว่าแมงกะพรุนมาก โดยเฉพาะลำตัวไฮดราจะใสจึงยากแก่การสังเกตสามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ มีลำตัวยาวเป็นรูปทรงกระบอกสูง มีลักษณะสมมาตรแบบรัศมี ปลายด้านหนึ่งประกอบด้วยหนวดเส้นเล็กล้อมรอบปาก โดยไฮดราจะใช้หนวดมัดอาหารเข้าทางช่อง ปากเพื่อเข้าในช่องว่างภายในลำตัว อาหารของไฮดราคือ ไรน้ำ (Daphia) หรือลูกไร (Cyclops) นอกจากหนวดของไฮดราจะทำหน้าที่ช่วยในการเคลื่อนที่ และจับอาหารแล้ว บริเวณหนวดของไฮดรามีบางเซลล์เปลี่ยนไปเป็นเข็มพิษ เมื่อไฮดรา ต้องการล่าเหยื่อ หรือทำลายศัตรูก็จะใช้หนวดปกป้องตัวเอง โดยใช้หนวดรัดและปล่อยเข็ม พิษออกมา แต่เข็มพิษของไฮดรา ไม่ทำให้มนุษย์เกิดการเจ็บปวดแต่อย่างไร ลำตัวของไฮดราบางครั้งจะพบปุ่มเล็ก ๆ ยื่นยาวออกมาข้างลำตัว เรียกกันทั่วไปว่า หน่อ (Bud) หน่อเหล่านี้สามารถหลุดออกมาเจริญเป็นตัวไฮดราใหม่ได้ เรียกการสืบพันธุ์วิธีนี้ว่าการแตกหน่อ (Budding) แต่ไฮดราก็มีอวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้ (testis) ซึ่งเป็นปุ่มเล็ก ๆ อยู่ตอนบนของลำตัว และมีอวัยวะสืบพันธุ์เพศเมีย (Ovary) ซึ่งเป็นปุ่มเล็ก ๆ อยู่ตอนล่างไว้สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศได้อีกด้วย ลำตัวของไฮดราจะประกอบไปด้วยเซลล์หลาย ๆ เซลล์ จัดเรียงเป็นเนื้อเยื่อ 2 ชั้น ชั้นนอกสุด (ectoderm) จะมีเซลล์ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับรู้ในเรื่องการรับสัมผัส ส่วนเนื้อเยื่อชั้นใน (endoderm) จะมีเซลล์ทำหน้าที่เกี่ยวกับการย่อยสลายอาหาร ฮไดรา.

ใหม่!!: ไฮโดรซัวและไฮดรา (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

ไซโฟซัว

ซโฟซัว หรือ แมงกะพรุนแท้ เป็นชั้นของสัตวน้ำไม่มีกระดูกสันหลังในไฟลัมไนดาเรีย ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Scyphozoa.

ใหม่!!: ไฮโดรซัวและไซโฟซัว · ดูเพิ่มเติม »

ไนดาเรีย

ฟลัมไนดาเรีย หรือ เคยมีชื่อว่า ไฟลัมซีเลนเตอราตา หรือพวก ซีเลนเตอราตา เป็นกลุ่มสัตว์ที่มีรูปร่างทรงกระบอก มีโพรงในลำตัว และมีเข็มพิษ เช่น แมงกะพรุน ดอกไม้ทะเล ไฮดรา ส่วนใหญ่พบตามชายฝั่งลงไปจนถึงทะเลลึก บางชนิดพบในน้ำจืด กลางลำตัวเป็นท่อกลวง มีอวัยวะคล้ายหนวดหลายเส้น ภายในหนวดนี้มีเข็มพิษจำนวนมาก เมื่อสัมผัสจะทำให้ผิวหนังระคายเคืองและพิษจากเข็มพิษบางชนิดทำให้สัตว์เป็นอัมพาตได้ สัตว์กลุ่มนี้มีประโยชน์ต่อมนุษย์โดยเฉพาะพวกปะการัง เสมือนเป็นป่าใต้น้ำ ที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย ที่เจริญเติบโตและหลบภัยของสัตว์น้ำนานาชนิด สัตว์กลุ่มนี้ บางชนิดจะสืบพันธุ์ แบบไม่อาศัยเพศ โดยการแตกหน่อ เช่น ไฮดรา ปะการัง และกัลปังหา บางชนิดสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ เช่น แมงกะพรุน.

ใหม่!!: ไฮโดรซัวและไนดาเรีย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Hydrozoa

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »