เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ไม้โท

ดัชนี ไม้โท

ไม้โท (-้) เป็นวรรณยุกต์ตัวหนึ่งของไทย ใช้เติมเหนือพยัญชนะต้นของคำ และเหนือสระบนขึ้นไปอีกถ้ามี เพื่อให้เกิดการผันเสียงวรรณยุกต์ซึ่งขึ้นอยู่กับไตรยางศ์ และเปลี่ยนความหมายของคำให้เป็นอย่างอื่น พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์ไม้โทในภาษาไทย เพื่อให้เกิดความแตกต่างจากอักษรขอมและอักษรตระกูลภาษาอินเดียอื่นๆ ที่ทรงยืมมาใช้ โดยเริ่มแรกไม้โทมีลักษณะเป็นรูปกากบาทเหมือนไม้จัตวา (-๋) แต่ปัจจุบันมีลักษณะคล้ายเลขอารบิก (2) ที่หางชี้ขึ้นข้างบน หมวดหมู่:อักษรไทย.

สารบัญ

  1. 8 ความสัมพันธ์: พยัญชนะพ่อขุนรามคำแหงมหาราชภาษาไทยวรรณยุกต์สระตัวเลขอารบิกไม้จัตวาไตรยางศ์

พยัญชนะ

พยัญชนะ (วฺยญฺชน, consonant) ในทางภาษาศาสตร์ หมายถึง เสียงแบบหนึ่งในภาษา ออกเสียงให้แตกต่างได้จากลักษณะของอวัยวะออกเสียงในช่องปาก และลักษณะอื่น ๆ เช่น การพ่นลม หรือเสียงก้อง ไม่ก้อง นอกจากนี้ยังหมายถึงตัวอักษรที่ใช้แทนเสียงพยัญชนะด้วย ขณะที่ผู้ใช้ภาษาทั่วไปมักจะเข้าใจว่า 'พยัญชนะ' คือตัวอักษรแทนเสียงพยัญชนะเพียงอย่างเดียว.

ดู ไม้โทและพยัญชนะ

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

อขุนรามคำแหงมหาราช หรือ พญาร่วง หรือ พระบาทกมรเตงอัญศรีรามราช เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 3 ในราชวงศ์พระร่วงแห่งราชอาณาจักรสุโขทัย เสวยราชย์ประมาณ พ.ศ.

ดู ไม้โทและพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

ภาษาไทย

ษาไทย เป็นภาษาราชการของประเทศไทย ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไท ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได สันนิษฐานว่า ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์บางส่วนเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน และตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีน และออกเสียงแยกคำต่อคำ.

ดู ไม้โทและภาษาไทย

วรรณยุกต์

วรรณยุกต์ (tone) หรือ วรรณยุต หมายถึง ระดับเสียง หรือเครื่องหมายแทนระดับเสียง ที่กำกับพยางค์ของคำในภาษา เสียงวรรณยุกต์หนึ่งอาจมีระดับเสียงต่ำ เสียงสูง เพียงอย่างเดียว หรือเป็นการทอดเสียงจากระดับเสียงหนึ่ง ไปยังอีกระดับเสียงหนึ่ง ก็ได้ ภาษาในโลกนี้มีทั้งที่ใช้วรรณยุกต์ และไม่ใช้วรรณยุกต์ เสียงวรรณยุกต์หนึ่งๆ อาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อมีการประสมคำหรือเปลี่ยนตำแหน่งการเน้นเสียง.

ดู ไม้โทและวรรณยุกต์

สระ

ระ อาจหมายถึง.

ดู ไม้โทและสระ

ตัวเลขอารบิก

ลขอารบิก เป็นสัญลักษณ์ตัวเลขที่นิยมใช้กันมากที่สุดในโลก และนับว่าเป็นส่วนสำคัญในชีวิตประจำวัน มีหลักฐานพอที่จะสืบประวัติไปได้ ว่า เกิดริเริ่มเป็นกำหนดนับแพร่หลายมาถึงปัจจุบัน จากนักปราชญ์แห่งอาหรับ ชาวแบกแดด (อิรัก) ชื่อ มุฮัมมัด อิบน์ มูซา อัลคอวาริซมีย์ ซึ่งมีช่วงชีวิตในประวัติศาสตร์ราว ปี..

ดู ไม้โทและตัวเลขอารบิก

ไม้จัตวา

ไม้จัตวา (-๋) เป็นวรรณยุกต์ตัวหนึ่งของไทย ใช้เติมเหนือพยัญชนะต้นของคำ และเหนือสระบนขึ้นไปอีกถ้ามี เพื่อให้เกิดการผันเสียงวรรณยุกต์ซึ่งขึ้นอยู่กับไตรยางศ์ และเปลี่ยนความหมายของคำให้เป็นอย่างอื่น ไม้จัตวาไม่ปรากฏอยู่ในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ไม้จัตวามีลักษณะคล้ายรูปกากบาท หรือเครื่องหมายบวก (+) หมวดหมู่:อักษรไทย.

ดู ไม้โทและไม้จัตวา

ไตรยางศ์

ตรยางศ์ หรือ อักษรสามหมู่ คือระบบการจัดหมวดหมู่อักษรไทย (เฉพาะรูปพยัญชนะ) ตามลักษณะการผันวรรณยุกต์ ของพยัญชนะแต่ละหมวด เนื่องจากพยัญชนะไทย เมื่อกำกับด้วยวรรณยุกต์หนึ่งๆ แล้วจะมีเสียงวรรณยุกต์ที่แตกต่างกัน การจัดหมวดพยัญชนะ ทำให้การเรียนภาษาไทยง่ายขึ้น ด้วยเหตุนี้ จึงเชื่อว่า ในชั้นแรกนั้น การแบ่งหมวดหมู่พยัญชนะน่าจะทำขึ้นเพื่อประโยชน์ในการแต่งตำราสอนภาษาไทยแก่นักเรียน คำว่า ไตรยางศ์ มาจากคำในภาษาสันสกฤตว่า ตฺรย (ไตร) ซึ่งแปลว่า สาม รวมกับ อํศ (องศ์) ซึ่งแปลว่า ส่วน ดังนั้น ไตรยางศ์ จึงแปลรวมกันได้ว่าว่า สามส่วน.

ดู ไม้โทและไตรยางศ์

หรือที่รู้จักกันในชื่อ ้